โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟรีบีเอสดี

ดัชนี ฟรีบีเอสดี

ฟรีบีเอสดี (FreeBSD) คือซอฟต์แวร์เสรีซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) สืบทอดมาจาก AT&T UNIX ผ่านทางสายของ Berkeley Software Distribution (BSD) คือ 386BSD และ 4.4BSD ฟรีบีเอสดีรองรับการทำงานบนซีพียูตระกูลหลักๆ หลายตระกูลด้วยกัน นอกจากตระกูล X86 ของอินเทลที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็ยังมี DEC Alpha, UltraSPARC ของ Sun Microsystems, Itanium (IA-64), AMD64 และ PowerPC ส่วนของตระกูลรองได้แก่คอมพิวแตอร์สถาปัตยกรรมแบบ PC-98 การรองรับสำหรับตระกูล ARM และ MIPS กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา จุดเด่นที่สำคัญของฟรีบีเอสดีคือประสิทธิภาพและเสถียรภาพ โลโก้ดั้งเดิมและตัวมาสคอตของโครงการฟรีบีเอสดีคือตัวดีม่อนสีแดงซึ่ง มาร์แชล เคิร์ก แมคคูสิก (Marshall Kirk McKusick) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การพัฒนาฟรีบีเอสดีเป็นแบบเบ็ดเสร็จทั้งระบบปฏิบัติการ กล่าวคือทั้งเคอร์เนล ยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้เช่น เชลล์ และดีไวซ์ไดรเวอร์อยู่ในทรีของระบบควบคุมเวอร์ชันของซอร์สโค้ด (CVS) เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากลินุกซ์ที่มีการพัฒนาเฉพาะส่วนของเคอร์เนลโดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ส่วนของยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้พัฒนาโดยกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มในโครงการของกนูและนำมารวมเข้าด้วยกันกับโปรแกรมประยุกต์กลายเป็นดิสทริบิวท์ชั่นซึ่งนำมาเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ใช้กัน ฟรีบีเอสดีได้รับการยกย่องว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงทางด้านเสถียรภาพและความอึด (แต่ไม่อืด) จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รันเซิร์ฟเวอร์อย่างแพร่หลาย ข้อยืนยันนี้ดูได้จากรายงานอัพไทม์ (เวลาจากการรีบูตครั้งล่าสุด) ในรายการ 50 อันดับของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีอัพไทม์นานที่สุดก็มฟรีบีเอสดีและBSD/OS ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความมั่นคงของฟรีบีเอสดีว่า ตลอดเวลาการปฏิบัติงานอันยาวนานนี้นอกจากจะไม่มีการแครชแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีการอัปเดตเคอร์เนลแต่อย่างใด (หลังจากอัพเกรดเคอร์เนลจำเป็นต้องรีบูต).

23 ความสัมพันธ์: กนูยูนิกซ์รหัสต้นฉบับระบบปฏิบัติการระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ลินุกซ์หน่วยประมวลผลกลางตัวนำโชคตัวแบบโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์เสรีซันไมโครซิสเต็มส์โอเพนบีเอสดีโปรแกรมประยุกต์เชลล์เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชันเพาเวอร์พีซีเอกซ์86เอกซ์86-64เครื่องหมายการค้าเคอร์เนลเน็ตบีเอสดีMIPS386BSD

กนู

ำหรับ กนู ที่เป็นสัตว์ป่าแอฟริกา ดูที่: เครื่องหมายการค้าของกนู โครงการ กนู (GNU) เป็นชื่อของโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ริเริ่มโดยริชาร์ด สตอลแมน เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ โครงการกนู ประกอบไปด้วย เคอร์เนล ไลบรารี คอมไพเลอร์ โปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ คำว่า กนู (IPA: /ɡəˈnuː/ เกอะนู หรือ /ˈnjuː/ นยู ในบางประเทศ) เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ มาจากคำเต็มว่า GNU's Not Unix (กนูไม่ใช่ยูนิกซ์) เพราะระบบกนูพัฒนาให้เหมือนระบบยูนิกซ์แต่ไม่ได้ใช้ซอร์สโคดของยูนิกซ์เล..

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและกนู · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิกซ์

ูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รหัสต้นฉบับ

ตัวอย่างรหัสต้นฉบับของ HTML ผสมกับ จาวาสคริปต์ รหัสต้นฉบับ หรือ รหัสต้นทาง หรือ ซอร์ซโค้ด (source code) หรืออาจจะเรียกว่า ซอร์ซ หรือ โค้ด คือข้อความที่เป็นชุดที่ถูกเขียนขึ้น และสามารถอ่านและเข้าใจได้ ใช้สำหรับภาษาโปรแกรม ในการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ รหัสต้นฉบับนิยมเก็บไว้ในไฟล์หลายไฟล์แยกจากกัน เพื่อให้ง่ายในการเรียกใช้ส่วนย่อยของคำสั่งนั้น ถึงแม้ว่ารหัสต้นฉบับถูกเขียนขึ้นในลักษณะที่ให้อ่านและแก้ไขได้ง่าย รหัสต้นฉบับจะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์โดยคอมไพเลอร์สำหรับโปรแกรมนั้น หรือ คำนวณในทันทีโดยใช้อินเตอร์พรีเตอร์เข้ามาช่ว.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและรหัสต้นฉบับ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและระบบปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ (Unix-like operating system) เป็นคำเรียกระบบปฏิบัติการที่คล้ายคลึงกับยูนิกซ์ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องตรงตามนิยามหรือได้รับการรับรองตาม Single UNIX Specification ก็ได้ คำว่า "ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์" ครอบคลุม.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและหน่วยประมวลผลกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ตัวนำโชค

ตัวนำโชค หรือ การ์ตูนสัญลักษณ์ หรือ แมสคอต หรือ มาสคอต (mascot) คือสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งของบางอย่าง (โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นสัตว์หรือตัวละครที่เป็นมนุษย์) ที่ถูกใช้นำมานำเสนอหรือเป็นตัวแทนสู่สาธารณชน ส่วนใหญ่แล้วมักจะถูกใช้โดยโรงเรียน มหาวิทยาลัย (ในประเทศไทย บริษัทธุรกิจต่าง ๆ ได้มีการใช้แมสคอทเช่นกัน) ตัวนำโชคยังถูกเรียกแทนชื่อโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เลยก็ได้เช่นกัน (ตัวอย่าง ช้าง สามารถใช้เรียกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น) ในวงการกีฬา เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) ได้มีการจัดทำตัวนำโชคแตกต่างกันไปในแต่ละปีเพื่อสื่อถึงที่มาและความสำคัญของประเทศเจ้าภาพ เช่น เอเชียนเกมส์ 2010 ณ เมืองกว่างโจว ประเทศจีน ได้จัดทำตัวนำโชคเป็นแพะ 5 ตัว ซึ่งหมายถึง "สันติภาพ, สามัคคี และความสุข ในทุก ๆ อย่างที่คุณปรารถนา".

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและตัวนำโชค · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013).

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

ซันไมโครซิสเต็มส์

ัญลักษณ์ของ Sun Microsystems เป็นตัวอักษร Sun สี่ชุด ที่มองจากมุมไหนก็ได้ ซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems) เป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ สารกึ่งตัวนำและซอฟต์แวร์ ที่ตั้งอยู่ในซิลิคอนแวลลีย์ เมืองแซนตาแคลรา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์เด่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปของซัน ได้แก่ เครื่องเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชัน ที่ใช้หน่วยประมวลผลสปาร์ค (SPARC), ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris), ระบบไฟล์บนเครือข่าย NFS, และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาจาวา และแพลตฟอร์มจาวา นอกจากนี้ ซันยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของ โครงการโอเพ่นออฟฟิศดอทอ็อก (OpenOffice.org) ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงานแบบโอเพนซอร.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและซันไมโครซิสเต็มส์ · ดูเพิ่มเติม »

โอเพนบีเอสดี

อเพนบีเอสดี (OpenBSD) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) ที่สืบทอดมาจาก BSD แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและโอเพนบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมประยุกต์

OpenOffice.org Writer โปรแกรมประยุกต์ (application program) หรือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น (application software) ในบางครั้งเรียกย่อว่า แอปพลิเคชั่น หรือ แอป คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบให้รับรองการทำงานหรือกิจกรรมหลายด้านเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ ตัวอย่างแอปพลิเคชั่นได้แก่ โปรแกรมประมวลคำ (word processor), แผ่นตารางทำการ (spreadsheet), แอปพลิเคชั่นบัญชี (accounting application), เว็บเบราว์เซอร์, แอปพลิเคชั่นเล่นคลิปสื่อ (media player), โปรแกรมจำลองการบิน (flight simulator), เกมคอนโซล, หรือ โปรแกรมตัดต่อภาพ คำว่าซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นหมายถึงแอปพลิเคชั่นทั้งหมด ส่วนคำว่าซอฟต์แวร์ระบบ (system software) มักหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ แอปที่ถูกสร้างสำหรับใช้งานบนมือถือเรียกว่าแอปมือถือ (mobile app).

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและโปรแกรมประยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

เชลล์

ลล์ (shell) ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง โปรแกรมที่โต้ตอบผู้ใช้ และมักหมายถึงระหว่างผู้ใช้กับระบบปฏิบัติการ สามารถแบ่งได้เป็น แบบชุดคำสั่ง หรือคอมมานด์ไลน์ (command line interface, CLI) และแบบกราฟิก (graphic user interface, GUI) แบบคำสั่งและแบบกราฟิกต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แบบกราฟิกจะใช้ง่ายและเหมาะกับงานประเภทตกแต่งภาพและวิดีโอ ส่วนแบบคำสั่งเหมาะกับงานบางอย่าง โดยสามารถระบุต้องเจาะจงโดยละเอียดเช่นย้ายไฟล์โดยใช้ไวลด์การ์ด * เป็นต้น เชลล์ที่ใช้ในไมโครซอฟท์วินโดวส์รุ่นหลัง ๆ จะเป็นวินโดวส์เอกซ์พลอเรอร์ ในขณะที่ในรุ่นเก่า ๆ จะเป็นโปรแกรมเมเนเยอร์ สำหรับยูนิกซ์ เชลล์มักหมายถึงเชลล์ยูนิกซ์ ที่ใช้สั่งทางคอมมานด์ไลน์ ตัวอย่างยูนิกซ์เชลล์ที่นิยม เช่น บอร์นเชลล์ คอร์นเชลล์ และ C เชลล.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและเชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

ร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชั่น (Berkeley Software Distribution -BSD; Berkeley Unix) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มต้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 ชื่อบีเอสดียังคงมีอยู่ในระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากดิสทริบิวชั่นนี้ เช่น FreeBSD, NetBSD, และ OpenBSD เป็นต้น บีเอสดีจัดว่าเป็นยูนิกซ์ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชันในยุคนั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสัญญาอนุญาตใช้งานของบีเอสดีนั้นไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทอื่น ๆ นำเทคโนโลยีไปพัฒนาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 80 จนสร้างความคุ้นเคยในวงกว้าง ถึงแม้ว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 90 บีเอสดีจะถูกแทนที่ด้วย System V รีลีส 4.x และ OSF/1 แต่ในระยะหลังนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้ซอร์สโค้ดที่เปิดเผยของบีเอสดีเป็นแกนหลัก.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

เพาเวอร์พีซี

วอร์พีซี (PowerPC) เป็นสถาปัตยกรรมไมโครโพรเซสเซอร์แบบ RISC ซึ่งร่วมกันสร้างโดยพันธมิตร AIM (Apple-IBM-Motorola) เมื่อ ค.ศ. 1991 ในช่วงแรกนั้นเพาเวอร์พีซีออกแบบมาสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ภายหลังเพาเวอร์พีซีก็ได้รับความนิยมในวงการคอมพิวเตอร์ฝังตัว และคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงเช่นกัน เพาเวอร์พีซีถูกในไปใช้ในเครื่องแมคอินทอชของแอปเปิล รุ่นที่ออกระหว่าง ค.ศ. 1994-ค.ศ. 2005 และเครื่องเล่นวิดีโอเกมหลายรุ่น เช่น นินเทนโด เกมคิวบ์, เอ็กซ์บ็อกซ์ 360, เพลย์สเตชัน 3 และนินเทนโด วี สถาปัตยกรรมเพาเวอร์พีซีนั้นพัฒนาต่อมาจากสถาปัตยกรรม POWER ของไอบีเอ็มเอง.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและเพาเวอร์พีซี · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์86

ปเพนเทียม 4 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม x86 ในยุคหลัง เอกซ์86 (x86) เป็นชื่อทั่วไปของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สำหรับไมโครโพรเซสเซอร์ที่สร้างโดยบริษัทอินเทล ปัจจุบันสถาปัตยกรรมแบบ x86 เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป, โน้ตบุ๊คและเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก นับตั้งแต่เริ่มใช้ในไอบีเอ็มพีซี ช่วงทศวรรษที่ 80 ชื่อสถาปัตยกรรมถูกเรียกว่า "x86" เนื่องจากชื่อเรียกของไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกๆ จะลงท้ายด้วยตัวเลข 86 ได้แก่ 8086, 80186, 80286, 386 และ 486 ในภายหลังอินเทลได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อ "เพนเทียม" (Pentium) (ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า "80586") แทนเนื่องจากไม่สามารถจดเครื่องหมายการค้าในชื่อตัวเลขได้ ใน..

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและเอกซ์86 · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์86-64

AMD64 ถูกสร้างมาเพื่อเป็นคู่แข่งกับสถาปัตยกรรม IA64 ของบริษัทอินเทลและเอชพี ข้อแตกต่างที่สำคัญมีดังนี้.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและเอกซ์86-64 · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายการค้า

รื่องหมายการค้า (Trademark) หมายถึง ตราสินค้าหรือส่วนหนึ่งของตราสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น เจ้าของมีสิทธิตามกฎหมายเพียงผู้เดียว เราไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นและบุคคลอื่นก็ไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของเราได้ จังต้องมีการออกแบบโลโก้ เว้นแต่จะมีสัญญาและข้อตกลงต่อกัน (เช่นการควบกิจการ) สัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ หรือหลายส่วนร่วมกัน โดยมีความหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องหมายแสดงถึง ชื่อสินค้าเฉพาะอย่าง หรือทุกประเภทในเครื่องหมายการค้าจะเป็นการแสดงภาพเครื่องหมาย ชื่อ ตราสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึง อ้างถึง มีความหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ตามที่มีความเกี่ยวข้องกัน เครื่องหมายการค้าที่เป็นสัญลักษณ์สากล คือการกำกับด้วย ™ หมายถึงเครื่องหมายการค้าที่มิได้จดทะเบียน หรือ ® หมายถึงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ซึ่งจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหม.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและเครื่องหมายการค้า · ดูเพิ่มเติม »

เคอร์เนล

อร์เนลเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ เคอร์เนล (kernel อ่านว่า เคอร์เนิล เนื่องจากตัว e ไม่ออกเสียง) หมายถึง ส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ ซึ่งคอยดูแลบริหารทรัพยากรของระบบ และติดต่อกับฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ เนื่องจากว่าเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ เคอร์เนล นั้นเป็นฐานล่างสุดในการติดต่อกับทรัพยากรต่างๆ เช่น หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง และ อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและเคอร์เนล · ดูเพิ่มเติม »

เน็ตบีเอสดี

น็ตบีเอสดี (NetBSD) คือระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) โดยสืบทอดมาจาก BSD โดย NetBSD เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยเป็นระบบปฏิบัติการตัวที่สองในตระกูล BSD ที่เปิดเผยซอร์สโค้ดสู่สาธารณะ (หลังจาก 386BSD) และพัฒนายังคงต่อเนื่องเรื่อยมา จุดเด่นที่สำคัญของ NetBSD คือ สามารถรันได้บนแพลทฟอร์มจำนวนมาก และการออกแบบระบบที่ดี NetBSD จึงถูกนำไปใช้กับระบบฝังตัว (embedded systems) นอกจากนี้มันยังเป็นจุดเริ่มต้นในการพอร์ตระบบปฏิบัติการอื่นไปสู่สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบใหม่อีกด้ว.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและเน็ตบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

MIPS

MIPS อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและMIPS · ดูเพิ่มเติม »

386BSD

386BSD หรือ JOLIX เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์BSDฟรี สำหรับเครื่องอินเทล 80386.

ใหม่!!: ฟรีบีเอสดีและ386BSD · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

FreeBSD

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »