โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เสาชิงช้า

ดัชนี เสาชิงช้า

งช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม นอกจากนี้ ใน ประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติด สายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี.

55 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2327พ.ศ. 2463พ.ศ. 2490พ.ศ. 2492พ.ศ. 2502พ.ศ. 2513พ.ศ. 2539พ.ศ. 2548พ.ศ. 2549พญานาคพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวายพระศิวะพระอาทิตย์พระจันทร์พระธรณีพระปารวตีพระแม่คงคาพุทราจีนกรมศิลปากรกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารศาสนาฮินดูสมาคมฮินดูสมาชสายล่อฟ้าสีแดงสี่กั๊กเสาชิงช้าสถาปัตยกรรมอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถนนบำรุงเมืองถนนศิริพงษ์ถนนอุณากรรณถนนดินสอถนนตีทองประเทศไทยแยกสำราญราษฎร์แยกอุณากรรณแยกเฉลิมกรุงโบราณสถานโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์เทวสถานเทวสถานโบสถ์พราหมณ์เทศบาลนครนครศรีธรรมราช...เขตพระนคร12 เมษายน22 พฤศจิกายน30 กันยายน8 เมษายน ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

พ.ศ. 2327

ทธศักราช 2327 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพ.ศ. 2327 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2463

ทธศักราช 2463 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1920 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพ.ศ. 2463 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2490

ทธศักราช 2490 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1947.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพ.ศ. 2490 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2492

ทธศักราช 2492 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1949.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพ.ศ. 2492 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2502

ทธศักราช 2502 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1959 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพ.ศ. 2502 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2513

ทธศักราช 2513 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1970 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพ.ศ. 2513 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

พญานาค

ญานาค (नागराज นาคราช) หมายถึง นาคผู้เป็นใหญ่ นาคผู้เป็นหัวหน้า ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดีย คล้ายกับพญามังกร (龍王 หลงหวัง) ตามคติศาสนาพื้นบ้านจีน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพญานาค · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอาทิตย์

ระอาทิตย์ (เทวนาครี: सूर्य สูรฺย) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง มีอำนาจเหนือกว่าเทวดานพเคราะห์ทั้งหลาย ในคติไทย พระอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาจากราชสีห์ ๖ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีแดง แล้วเสก ได้เป็นพระอาทิตย์ มีสีวรกายแดง ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และแสดงถึงสระทั้งหมดในภาษาบาลี (อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) พระอาทิตย์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางก้าวร้าวรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอาทิตย์ หรือมีพระอาทิตย์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์รุนแรง ตัดสินใจไว เฉียบขาด รักอิสระ แต่ซื่อสัตย์ ตามนิทานชาติเวร พระอาทิตย์เป็นมิตรกับพระพฤหัสบดี และเป็นศัตรูกับพระอังคาร ในโหราศาสตร์ไทย พระอาทิตย์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๑ (เลขหนึ่งไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากราชสีห์ ๖ ตัวนี้เอง จึงทำให้มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๖ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ก็คือ ปางถวายเนตร นอกจากราชสีห์แล้ว พระอาทิตย์ยังมีราชรถเทียมม้าขาว ๗ ตัวโดยมีสารถีชื่ออรุณ เป็นเทวพาหนะอีกอย่าง เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระอาทิตย์เทียบได้กับ ฟีบัส หรือ อพอลโล ตามเทพปกรณัมกรีกและเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระจันทร์

ระจันทร์ (เทวนาครี: चंद्र จํทฺร หรือ चन्द्र จนฺทฺร หมายถึง "ส่องแสงสว่าง") เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งอันมีที่มาจากเทพปกรณัมฮินดูในอินเดีย ในคติไทย พระจันทร์ถูกสร้างขึ้นมาจากเทวธิดา (นางฟ้า) ๑๕ องค์ บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล แล้วเสกได้เป็นพระจันทร์ มีสีวรกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออก และแสดงถึงอักษรวรรค กะ (ก ข ค ฅ ฆ ง) พระจันทร์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางนุ่มนวลอ่อนโยน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันจันทร์ หรือมีพระจันทร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร (แต่อาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก) ตามนิทานชาติเวร พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี ในโหราศาสตร์ไทย พระจันทร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๒ (เลขสองไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากนางฟ้า ๑๕ องค์ จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์ก็คือ ปางห้ามสมุทร เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระจันทร์เทียบได้กับอาร์เทมีสในเทพปกรณัมกรีก และไดอานาในเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระธรณี

วัดท่าสุทธาวาส พระแม่ธรณี หรือ พระศรีวสุนธรา ภาษากะเหรี่ยงว่า ซ่งทะรี่ เป็นเทพีแห่งพื้นแผ่นดิน ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในคติของศาสนาฮินดูให้ความเคารพนับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า "ธรณิธริตริ" แปลว่า "ผู้ค้ำจุนพระธรณี" แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่นแต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของแม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ในพระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณีให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครองวิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุก ๆ เดือนชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้ เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของพระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็นชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ ในพุทธศาสนา พระแม่ธรณีปรากฏกายเพื่อบีบน้ำจากมวยผมให้ท่วมทัพท้าววสวัตตีที่มาผจญพระโคตมพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระธรณี · ดูเพิ่มเติม »

พระปารวตี

ปารวตี (पार्वती Pārvatī) หรือ อุมา (उमा Umā) เป็นเทวดาสตรีในศาสนาฮินดู เป็นเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์Suresh Chandra (1998), Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses,, pp 245-246 ถือกันว่า พระนางเป็นด้านอ่อนโยนและเอาใจใส่ของเทวีศักติ พระนางยังแสดงพระองค์เป็นหลายด้าน เรียกว่า "ปาง" แต่ละปางเป็นที่รู้จักด้วยหลายชื่อหลายเรื่องราวKeller and Ruether (2006), Encyclopedia of Women and Religion in North America, Indiana University Press,, pp 663 พระนาง พร้อมด้วยพระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรือง และพระสรัสวดี เทวีแห่งความรู้ ประกอบกันเป็นองค์สาม (trinity) ของเทวีฮินดู เรียกว่า ตรีเทวี พระนางเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาสรรพชีวิตและทำลายล้างความชั่วร้ายEdward Balfour,, The Encyclopaedia of India and of Eastern and Southern Asia, pp 153 พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัต เทพแห่งภูเขา กับพระนางไมนาวติ ผู้เป็นพระชายาH.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin,, pp 11 พระนางทรงให้กำเนิดพระคเณศกับพระขันทกุมาร คัมภีร์ปุราณะยังกล่าวว่า พระนางเป็นพระพี่นางหรือน้องนางของพระวิษณุ และของพระคงคาWilliam J. Wilkins,, Hindu Mythology - Vedic and Puranic, Thacker Spink London, pp 295 พระนางกับพระสวามีทรงเป็นเทพศูนย์กลางแห่งไศวนิกาย หรือลัทธิซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ ศาสนาฮินดูยังเชื่อว่า พระนางทรงเป็นพลังงานและอำนาจแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ของพระสวามี เป็นรากเหง้าของพันธะที่รัดรึงสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณในเทวาลัยฮินดูที่สร้างถวายพระนางและพระสวามี มักใช้โยนี (อวัยวะเพศหญิง) เป็นสัญลักษณ์แทนพระนาง.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระปารวตี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่คงคา

ตรกรรมถอดแบบจากจิตรกรรมโบราณของอินเดียภาคเหนือ ของพระแม่คงคาทรงเทววาหนะมกร พระแม่คงคา เป็นพระเทวีองค์หนึ่งในคติของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยเป็นพระเทวีแห่งแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยและได้รับการนับถือจากชาวฮินดูเพราะเชื่อกันว่าถ้าใครได้ลงอาบแม่น้ำคงคาถือว่าเป็นการชำระล้างบาปออกไปจากตัวอีกด้ว.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระแม่คงคา · ดูเพิ่มเติม »

พุทราจีน

พุทราจีนแห้ง พุทราจีน (jujube; พันธุ์ที่มีเปลือกสีน้ำตาลเข้มเรียก red date; Chinese date) ภาคอีสานเรียก บักทันหรือหมากกะทัน ภาคเหนือเรียกมะตัน มะตันหลวง นางต้มต้น ภาษาจีนเรียก เป้กเลี้ยบ อินเดียเรียก เบอร์.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพุทราจีน · ดูเพิ่มเติม »

กรมศิลปากร

กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาต.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและกรมศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.; Bangkok Metropolitan Administration, BMA) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวั.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมฮินดูสมาช

มาคมฮินดูสมาช หรือ วัดเทพมณเฑียร เสาชิงช้า เป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไวษณพ ตั้งอยู่ด้านบนของโรงเรียนภารตวิทยาลัย ถนนศิริพงษ์ แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของพระวิษณุและเทพเจ้าในศาสนาฮินดู.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและสมาคมฮินดูสมาช · ดูเพิ่มเติม »

สายล่อฟ้า

ม้ที่ติดตั้งสายล่อฟ้าและสายดินฟ้าผ่าสร้างความตื่นตระหนกแก่มนุษย์ในช่วงแรกๆอย่างมากและผู้คนในปัจจุบันยังคงกลัวฟ้าผ่าอยู่ ซึ่งประกายฟ้าที่เกิดขึ้นสามารถทำลายสิ่งที่มันผ่าได้มากมาย อีกทั้งมันยังสามารถผ่าคนได้ ซึ่งส่วนใหญ่ คนที่ถูกผ่านั้นเสียชีวิตอุปกรณ์ที่เรียกว่า "Machina meteorologica" ประดิษฐ์โดยพรอคอป ดิวิช ทำงานคล้ายกับสายล่อฟ้า สายล่อฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่คิดประดิษฐ์ขึ้นโดย เบนจามิน แฟรงคลินไม่เข้าใจฟ้าผ่าจึงสร้างเครื่องมือ ที่เรียกว่า “สายล่อฟ้า” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจากก้อนเมฆ โดยตรงปลายแหลมของสายล่อฟ้าจะมีสนามไฟฟ้าที่ค่อนข้างแรงกว่าที่อื่น สนามไฟฟ้านี้จะเหนี่ยวนำโมเลกุลของอากาศให้เข้ามาใกล้ ๆ แล้วรับประจุไฟฟ้าส่วนเกินไป ทำให้ลดความต่างศักย์ที่เกิดขึ้นระหว่างก้อนเมฆและหลังคาลง โดยการนำผ่านสายเหนี่ยวนำลงสู่พื้นดิน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและสายล่อฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

สี่กั๊กเสาชิงช้า

ี่กั๊กเสาชิงช้า เป็นสี่แยกหนึ่งในพื้นที่แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดกันระหว่างถนนตะนาว, ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร โดยเป็นจุดเริ่มของถนนตะนาว และอยู่ใกล้กับแพร่งภูธร ซึ่งบริเวณนี้จะสามารถมองเห็นเสาชิงช้าได้อย่างชัดเจนจากทางด้านถนนบำรุงเมือง ชื่อ "สี่กั๊ก" นั้นมาจากภาษาแต้จิ๋วจากคำที่ออกเสียงว่า ซี้กั๊ก (อักษรจีน: 四角; จีนกลางออกเสียง ซื่อเจี่ยว) มีความหมายถึง "สี่แยก" โดยเป็นคำเรียกขานของชาวจีนที่ลากรถเจ๊กในอดีต ใช้เรียกสถานที่แห่งนี้เมื่อลากรถผ่าน เช่นเดียวกับสี่กั๊กพระยาศรี ที่อยู่ใกล้เคียงออกไปทางถนนเฟื่องนคร ทางทิศใต้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันทางแยกที่ยังคงเรียกว่า "สี่กั๊ก" เหลือเพียงแค่สองที่นี้เท่านั้น ในอดีต ที่ยังคงมีพระราชพิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ที่เสาชิงช้า ขบวนของพิธีก็ตั้งต้นขึ้นที่นี่ อาคารบ้านเรือนของบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้า โดยเฉพาะที่ถนนบำรุงเมืองนั้นจะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ที่มีสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเกส โดยลอกแบบมาจากประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีความสวยงาม และมีจุดเด่นคือ ไม่มีบาทวิถี หรือฟุตบาท เหมือนเช่นถนนอื่น ๆ ส่วนบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้านั้น จะมีลักษณะเป็นวงเวียน ตัวอาคารที่อยู่ที่นี่จึงถูกออกแบบให้มีความโค้งตามไปด้วยเช่นกัน ปัจจุบัน บริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้าเป็นแหล่งรวมของร้านค้าเครื่องสังฆภัณฑ์ ตลอดจนพระพุทธรูปและเทวรูปต่าง ๆ ซึ่งเปิดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีต และยังมีร้านอาหาร, ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาโรเล็กซ์ และเป็นบริเวณด้านหลังของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงร้านจำหน่ายชาที่นำเข้าจากประเทศจีนอีกด้ว.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและสี่กั๊กเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล อันเป็นแบบที่ชนะการประกวดการออกแบบอนุสาวรีย์แห่งนี้ การออกแบบได้นำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสาน ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า นอกจากการเป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงประชาธิปไตยนั้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ ยังเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ใช้เป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง อาทิ การชุมนุมของประชาชนและนักศึกษาใน เหตุการณ์ 14 ตุลา, การชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553, การชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ พ.ศ. 2556 เป็นต้น.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบำรุงเมือง

นนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง (Thanon Bamrung Mueang) ตั้งต้นจากถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฟื่องนครและถนนตะนาว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชย (แยกสำราญราษฎร์) ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร (แยกเมรุปูน) ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (แยกยุคล 2) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (แยกอนามัย) ไปจนถึงถนนกรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพระรามที่ 1 ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ. 2406 รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ จีน-โปรตุเกส มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ อาเขด ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ถนนช่วงตั้งแต่สี่กั๊กเสาชิงช้าจนถึงแยกเสาชิงช้า รวมถึงฝั่งถึงแยกสำราญราษฎร์ เป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถีอย่างถนนอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนนรู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไปจึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนนและทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้ตลอด ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้จึงไม่มีบาทวิถีเพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ภายหลังเจ้าของอาคารแต่ละหลังก็ได้ซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้อย่างแต่ก่อน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและถนนบำรุงเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนศิริพงษ์

อาคารพาณิชย์ริมถนนศิริพงษ์ ช่วงตัดกับถนนบำรุงเมือง ถนนศิริพงษ์ (Thanon Siri Phong) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในพื้นที่แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นจากด้านข้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ทอดผ่านจุดตัดระหว่างถนนบำรุงเมือง และขนานไปกับถนนอุณากรรณ เลียบข้างวัดสุทัศนเทพวราราม ทอดผ่านโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าพื้นที่แขวงสำราญราษฎร์ ผ่านหน้าโรงเรียนภารตวิทยาลัยและสมาคมฮินดูสมาช, สวนรมณีนาถ ไปสิ้นสุดที่จุดบรรจบกับถนนอุณากรรณ ที่มาจากแยกอุณากรรณ โดยชื่อ "ศิริพงษ์" มาจากการแปลงพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาบัว ซึ่งทรงเคยมีวังที่ประทับ ณ ที่ ๆ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและถนนศิริพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอุณากรรณ

นนอุณากรรณ (Thanon Unakan) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 3–4 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 19.50 เมตร ระยะทางยาว 446 เมตร เริ่มต้นจากทางแยกอุณากรรณ (จุดตัดกับถนนเจริญกรุง) ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ มุ่งไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนศิริพงษ์ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าพื้นที่แขวงวัดราชบพิธ ตัดกับถนนลงท่า ตรงไปทางทิศเดิมโดยขนานไปกับถนนศิริพงษ์และเลียบกำแพงวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ไปสิ้นสุดที่ทางแยกเสาชิงช้า (จุดตัดกับถนนบำรุงเมือง) ชื่อถนนอุณากรรณมีที่มาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาเปี่ยม โดยเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมได้อุทิศเงินจำนวน 100 ชั่งของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย ให้นำไปสร้างถาวรวัตถุที่เป็นสาธารณประโยชน์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พระองค์ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษา 18 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการสร้างถนนสายสั้น ๆ ขนาดถนนข้าวสาร โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดสรรงบประมาณมาสมทบด้วยกนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและถนนอุณากรรณ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนดินสอ

ลาว่าการกรุงเทพมหานคร ถนนดินสอ (Thanon Dinso) ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนเสาชิงช้าที่ถนนบำรุงเมือง บริเวณหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และทอดยาวออกไปยังถนนราชดำเนินกลางผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปสิ้นสุดลงที่แยกสะพานวันชาติ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ โดยเป็นถนนที่เป็นเส้นตรงตลอดทั้งสาย มีความยาวทั้งสิ้น 850 เมตร ถนนดินสอ เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เหตุที่ได้ชื่อว่า "ดินสอ" เนื่องจากแถบนี้ในช่วงกรุงศรีอยุธยา ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่มีอาชีพทำดินสอและกระดาษ จนได้ชื่อว่า "ย่านป่าดินสอ" ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารจากหอหลวง เรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ ความว่า "ย่านป่าดินสอ ริมวัดพระงาม มีร้ายขายดินสอศิลาอ่อนแก่ แลดินสอขาวเหลือง ดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ" จนล่วงมาถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาชีพทำดินสอของผู้คนแถบนี้ก็ยังคงอยู่ และถูกเรียกว่า "ย่านดินสอ" หรือ "บ้านดินสอ" ต่อมามีการสร้างถนนขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและถนนดินสอ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนตีทอง

นนตีทอง (Thanon Ti Thong) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบำรุงเมือง (แยกเสาชิงช้า) ท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ ไปจนถึงถนนเจริญกรุง (แยกเฉลิมกรุง) ถนนตีทองสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นถนนสายสั้น ๆ เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนสายนี้ตัดผ่านย่านของชุมชนที่มีอาชีพทำทองคำเปลว จึงเรียกว่า "ถนนตีทอง" โดยบรรพบุรุษของชาวชุมชนนั้นเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์และหลวงพระบาง ตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถนนตีทองมีความยาว 525 เมตร ต้นถนนจดถนนบำรุงเมืองก่อนถึงลานเสาชิงช้า หัวมุมถนนด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดสุทัศนเทพวราราม ฟากตะวันตกของถนนมีซอย ซึ่งยังเหลือชื่อว่าเป็นแหล่งทำทองคือ "ซอยเฟื่องทอง" และปัจจุบันเป็นแหล่งรวมร้านค้าเสื้อผ้าเครื่องแบบและยศประดับของข้าราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะทหาร และตำรวจ รวมถึงถ้วยรางวัลต่าง ๆ อีกด้ว.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและถนนตีทอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แยกสำราญราษฎร์

แยกสำราญราษฎร์ (Samran Rat Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนบำรุงเมืองและถนนมหาไชย ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งสำราญราษฎร์เป็นชื่อที่ทางการตั้งให้แทนชื่อย่านที่เรียกดั้งเดิมว่า ประตูผี.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและแยกสำราญราษฎร์ · ดูเพิ่มเติม »

แยกอุณากรรณ

แยกอุณากรรณ (Unakan Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนเจริญกรุง, ถนนอุณากรรณ และถนนบูรพา ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เคียงกับแยกเฉลิมกรุง ที่ตั้งของโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง, ย่านการค้าเก่าแก่วังบูรพา และย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งใหญ่ นอกจากนี้ บริเวณแยกอุณากรรณยังเป็นย่านร้านค้าอาวุธปืนที่มีชื่อเสียง เนื่องจากมีร้านจำหน่ายปืนรวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกีฬายิงปืนเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและแยกอุณากรรณ · ดูเพิ่มเติม »

แยกเฉลิมกรุง

แยกเฉลิมกรุง (Chaloem Krung Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนตรีเพชร, ถนนตีทอง และถนนเจริญกรุง ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เคียงกับย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแหล่งใหญ่ และย่านบ้านหม้อ ย่านค้าขายอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า ลำโพงและเครื่องเสียง รวมไปถึงร้านขายเครื่องเพชร อัญมณีและเครื่องประดับ บริเวณแยกเฉลิมกรุงเป็นที่ตั้งของศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นที่มาของชื่อทางแยก และอยู่ถัดจากศูนย์การค้าดิโอลด์สยาม ศูนย์การค้าสมัยใหม่ที่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นย่านเก่าไว้.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและแยกเฉลิมกรุง · ดูเพิ่มเติม »

โบราณสถาน

ีย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตัวอย่างโบราณสถาน แหล่งโบราณคดี (archaeological site) เป็นสถานที่ที่ก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์หรือสถานที่ที่พบร่องรอยของกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตที่มีคุณค่าในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและโบราณสถาน · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถาน

ทวสถาน หรือ เทวาลัย คือศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อเป็นที่สมมุติว่าเป็นที่ประทับของเทพเจ้าหรือเทวดา เทวสถาน ในประเทศไทยหรือประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ มักเป็นโบสถ์พราหมณ์ สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏมักเป็นปราสาทหิน ปรางค์ หรือวัดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เทวสถาน ในต่างประเทศอื่น ๆ จะเป็นศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อบูชาเทพเจ้าตามลัทธิความเชื่อของประเทศเหล่านั้น เช่น วิหารพาร์เธนอน ในประเทศกรีซ สร้างขึ้นเพื่อบูชาและสักการะเทพเจ้ากรีก, วิหารลักซอร์ ในประเทศอียิปต์ สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและเทวสถาน · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์

ทวสถาน กรุงเทพมหานคร เทวสถาน สำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) หรือที่นิยมเรียกกันว่า เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เป็นโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใกล้เสาชิงช้า และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

นครศรีธรรมราช เป็นเทศบาลนครที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเมืองที่เจริญเติบโตมายาวนาน และได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของภาคใต้ เทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้รับการยกฐานะเมื่อปี..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและเทศบาลนครนครศรีธรรมราช · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

12 เมษายน

วันที่ 12 เมษายน เป็นวันที่ 102 ของปี (วันที่ 103 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 263 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและ12 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

22 พฤศจิกายน

วันที่ 22 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 326 ของปี (วันที่ 327 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 39 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและ22 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

30 กันยายน

วันที่ 30 กันยายน เป็นวันที่ 273 ของปี (วันที่ 274 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 92 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและ30 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

8 เมษายน

วันที่ 8 เมษายน เป็นวันที่ 98 ของปี (วันที่ 99 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 267 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและ8 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระเสาชิงช้าแยกเสาชิงช้าแยกเสาชิงช้า (1)เสาชิงช้า (2)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »