โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนบำรุงเมือง

ดัชนี ถนนบำรุงเมือง

นนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง (Thanon Bamrung Mueang) ตั้งต้นจากถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฟื่องนครและถนนตะนาว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชย (แยกสำราญราษฎร์) ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร (แยกเมรุปูน) ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (แยกยุคล 2) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (แยกอนามัย) ไปจนถึงถนนกรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพระรามที่ 1 ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ. 2406 รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ จีน-โปรตุเกส มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ อาเขด ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ถนนช่วงตั้งแต่สี่กั๊กเสาชิงช้าจนถึงแยกเสาชิงช้า รวมถึงฝั่งถึงแยกสำราญราษฎร์ เป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถีอย่างถนนอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนนรู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไปจึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนนและทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้ตลอด ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้จึงไม่มีบาทวิถีเพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ภายหลังเจ้าของอาคารแต่ละหลังก็ได้ซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้อย่างแต่ก่อน.

46 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2406พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช)พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)กรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยราชภัฏรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในเขตพระนครรายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมศาลเจ้าพ่อเสือ พระนครสะพานช้างโรงสีสะพานสมมตอมรมารคสี่กั๊กเสาชิงช้าสถานีกษัตริย์ศึกส้วมในประเทศไทยถนนบริพัตรถนนพระรามที่ 1ถนนพลับพลาไชยถนนกรุงเกษมถนนกัลยาณไมตรีถนนมหาไชยถนนวรจักรถนนศิริพงษ์ถนนสีลมถนนหลวงถนนอุณากรรณถนนดินสอถนนตะนาวถนนตีทองถนนเฟื่องนครถนนเจริญกรุงประเทศไทยใน พ.ศ. 2406ป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวังแยกกษัตริย์ศึกแยกยุคล 2แยกสำราญราษฎร์แยกแม้นศรีโรงพยาบาลหัวเฉียวเสาชิงช้าเขตพระนครเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย12 ตุลาคม22 ตุลาคม26 เมษายน

พ.ศ. 2406

ทธศักราช 2406 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1863.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและพ.ศ. 2406 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

ระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์; ประสูติ: 4 กันยายน พ.ศ. 2405 — สิ้นพระชนม์: 24 มิถุนายน พ.ศ. 2472) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดีและเจ้าจอมมารดาจีน ทรงเข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระอรรคชายาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับพระเชษฐภคินีร่วมพระบิดามารดาคือ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา · ดูเพิ่มเติม »

พระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช)

รองหัวหมื่นพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) มีชื่อจีนว่า "ยี่กอฮง" หรือ "ตี้ยัง แซ่แต้" เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ..

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) · ดูเพิ่มเติม »

พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)

ระปรีชากลการ มีชื่อตัวว่า สำอาง อมาตยกุล (15 สิงหาคม พ.ศ. 2384 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422) ขุนนางชาวไทย สมรสกับสตรีลูกครึ่งอังกฤษ คือ แฟนนี่ น็อกซ์ ท่านถูกกล่าวหาว่า "ฆ่าคนตายและทารุณกรรม แก่คนไทยที่เมืองกบินทร์บุรี" โทมัส ยอร์ช น็อกซ์ ผู้เป็นพ่อตา ซึ่งเป็นกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย จึงได้ข่มขู่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และสมุหพระกลาโหม ว่าจะนำเรือรบอังกฤษมาข่มขู่ให้ปล่อยลูกเขยของตน แต่กลับไม่สำเร็จ และปิดท้ายด้วยการประหารพระปรีชากลการ เรื่องราวของพระปรีชากลการถูกแต่งเป็นนิยายเรื่อง Fanny & Regent of Siam ("แฟนนี่และผู้สำเร็จราชการแห่งสยาม") ซึ่งรจนาโดยอาร.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและพระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครู หลังจากนั้น ได้รับพระราชทานนาม "ราชภัฏ" จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้ง พระราชทาน พระราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีอยู่ทั้งสิ้น 38 แห่ง ทั่วประเท.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและมหาวิทยาลัยราชภัฏ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในเขตพระนคร

รายชื่อทางแยกในเขตพระนคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ หมวดหมู่:ทางแยกในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและรายชื่อทางแยกในเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

รายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ หมวดหมู่:ทางแยกในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและรายชื่อทางแยกในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 2 หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม หรือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจะครอบคลุมพื้นที่ทั้งฝั่งพระนคร และฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร

ลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร:(ตัวเต็ม:打惱路玄天上帝廟, ตัวย่อ: 打恼路玄天上帝庙, พินอิน: Dǎ nǎo lù xuán tiān shàngdì miào ตานาวลู่เฉียงเทียนซ่างตี่เมี่ยว, ฮกเกี้ยน: ต้านาวหล่อเอี่ยนเถี้ยนซ่งเต้เบี้ยว) หรือ ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ศาลเจ้าพ่อเสือ เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ซึ่งตั้งอยู่บนถนนตะนาว ใกล้เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชาวจีนเรียกศาลเจ้านี้ว่า "ตั่วเหล่าเอี้ย" (เทพเจ้าใหญ่) โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี้ยนส่งเต้, รูปเจ้าพ่อเสือ, รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าพ่อเสือ ว่ากันว่าตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้ขยายถนนบำรุงเมือง ได้โปรดให้ย้ายศาลมาไว้ที่ทางสามแพร่งถนนตะนาว จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร · ดูเพิ่มเติม »

สะพานช้างโรงสี

ประติมากรรมรูปหัวสุนัขของสะพานช้างโรงสี แยกสะพานช้างโรงสี ซึ่งเป็นต้นถนนบำรุงเมือง สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานและทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นสี่แยก เป็นจุดเริ่มต้นของถนนบำรุงเมือง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานที่สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมระหว่างถนนราชินี บริเวณหลังกระทรวงกลาโหม กับถนนอัษฎางค์ ด้านหน้ากระทรวงมหาดไทย ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สะพานช้างโรงสีเป็นสะพานที่สร้างสำหรับกองทัพช้างศึกที่กลับมาจากการทำศึกสงครามเดินข้ามเพื่อเข้าเขตราชธานี ซึ่งเดิมมีสะพานที่สร้างสำหรับช้างเดินข้ามมีทั้งสิ้น 3 สะพาน คือ สะพานช้างวังหน้า ซึ่งปัจจุบันคือ บริเวณเชิงลาดสะพานพระปิ่นเกล้า, สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมบริเวณปากคลองตลาด ซึ่งปัจจุบัน คือ สะพานเจริญรัช 31 และสะพานช้างโรงสีแห่งนี้ ซึ่งในอดีตตั้งอยู่ใกล้กับโรงสีข้าวของฉางหลวงแห่งพระนคร ผู้คนในสมัยนั้นจึงเรียกกันติดปากว่า "สะพานช้างโรงสี" และได้เป็นสะพานเพียงแห่งเดียวที่ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่ จนเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงบูรณะจากเดิมที่เป็นสะพานไม้แผ่นหนาวางพาดเปลี่ยนเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ราวสะพานทำเป็นลูกแก้วปูนหล่อ ช่วงปลายสะพานทั้งสี่มุมเป็นประติมากรรมปูนปั้นรูปหัวสุนัข มีจารึกคำว่า ศก ๑๒๙ อันหมายถึง ปีจอ และรัตนโกสินทร์ศก 129 (พ.ศ. 2453) ซึ่งเป็นทั้งปีนักษัตรประสูติของพระองค์และตรงกับปีที่บูรณะซ่อมแซมสะพานอีกด้ว.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและสะพานช้างโรงสี · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสมมตอมรมารค

นสมมตอมรมารค สะพานสมมตอมรมารค (/สมมดอะมอนมาก/) เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุงในส่วนของคลองบางลำพู ตั้งอยู่บนถนนบำรุงเมือง ในพื้นที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร และแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นสะพานไม้ที่มีโครงเหล็กรองรับพื้นที่ชักเลื่อนออกจากกัน มีชื่อเรียกโดยผู้คนที่อาศัยอยู่แถบนี้ว่า "สะพานเหล็กประตูผี" เนื่องจากตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของประตูพระบรมมหาราชวัง หรือที่นิยมเรียกกันว่า "ประตูผี" อันเป็นทางที่ใช้สำหรับขนถ่ายศพของผู้เสียชีวิตในพระบรมมหาราชวังออกมาปลงศพด้านนอก ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะพานแห่งนี้มีความทรุดโทรมมาก จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะใหม่ พร้อม ๆ กับการสร้างถนนและสะพานอีกหลายแห่งเพื่อรองรับความเจริญของบ้านเมือง โดยเป็นสะพานปูนปั้นเสริมโครงเหล็กเหมือนแบบเก่า และพระราชทานชื่อให้ว่า "สะพานสมมตอมรมารค" เมื่อแล้วเสร็จเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและสะพานสมมตอมรมารค · ดูเพิ่มเติม »

สี่กั๊กเสาชิงช้า

ี่กั๊กเสาชิงช้า เป็นสี่แยกหนึ่งในพื้นที่แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดกันระหว่างถนนตะนาว, ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร โดยเป็นจุดเริ่มของถนนตะนาว และอยู่ใกล้กับแพร่งภูธร ซึ่งบริเวณนี้จะสามารถมองเห็นเสาชิงช้าได้อย่างชัดเจนจากทางด้านถนนบำรุงเมือง ชื่อ "สี่กั๊ก" นั้นมาจากภาษาแต้จิ๋วจากคำที่ออกเสียงว่า ซี้กั๊ก (อักษรจีน: 四角; จีนกลางออกเสียง ซื่อเจี่ยว) มีความหมายถึง "สี่แยก" โดยเป็นคำเรียกขานของชาวจีนที่ลากรถเจ๊กในอดีต ใช้เรียกสถานที่แห่งนี้เมื่อลากรถผ่าน เช่นเดียวกับสี่กั๊กพระยาศรี ที่อยู่ใกล้เคียงออกไปทางถนนเฟื่องนคร ทางทิศใต้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันทางแยกที่ยังคงเรียกว่า "สี่กั๊ก" เหลือเพียงแค่สองที่นี้เท่านั้น ในอดีต ที่ยังคงมีพระราชพิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ที่เสาชิงช้า ขบวนของพิธีก็ตั้งต้นขึ้นที่นี่ อาคารบ้านเรือนของบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้า โดยเฉพาะที่ถนนบำรุงเมืองนั้นจะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ที่มีสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเกส โดยลอกแบบมาจากประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีความสวยงาม และมีจุดเด่นคือ ไม่มีบาทวิถี หรือฟุตบาท เหมือนเช่นถนนอื่น ๆ ส่วนบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้านั้น จะมีลักษณะเป็นวงเวียน ตัวอาคารที่อยู่ที่นี่จึงถูกออกแบบให้มีความโค้งตามไปด้วยเช่นกัน ปัจจุบัน บริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้าเป็นแหล่งรวมของร้านค้าเครื่องสังฆภัณฑ์ ตลอดจนพระพุทธรูปและเทวรูปต่าง ๆ ซึ่งเปิดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีต และยังมีร้านอาหาร, ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาโรเล็กซ์ และเป็นบริเวณด้านหลังของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงร้านจำหน่ายชาที่นำเข้าจากประเทศจีนอีกด้ว.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและสี่กั๊กเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

สถานีกษัตริย์ศึก

นีกษัตริย์ศึก เป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสีลม ส่วนต่อขยายสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนก โดยจะเป็นสถานีแรกของส่วนต่อขยายด้านตะวันตกของรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งใช้ระบบใต้ดิน และมีแนวเส้นทางเข้าสู่พื้นที่อนุรักษ์เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันตามแผนแม่บทฯ ฉบับใหม่ โครงการในส่วนนี้ได้ถูกยกเลิกทั้งโครงการ และได้ทำการเปลี่ยนชื่อสถานีจากกษัตริย์ศึกเป็นยศเสแทน และปรับให้กลับไปเป็นโครงสร้างยกระดับตามเดิม เพื่อให้สถานียศเสแห่งนี้สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มได้ที่สถานี.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและสถานีกษัตริย์ศึก · ดูเพิ่มเติม »

ส้วมในประเทศไทย

้วมชักโครกของส้วมสาธารณะ ในประเทศไทย ส้วมในประเทศไทย มีมาแต่โบราณ โดยในสมัยก่อน ผู้ที่ใช้ส้วมแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มของกษัตริย์ เจ้านาย ขุนนางและผู้มีฐานะดี กลุ่มของพระที่อยู่ภายใต้พระธรรมวินัย กลุ่มของชาวบ้านที่เป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม โดยกลุ่มชาวบ้านมักจะไปถ่ายทุกข์ตามที่เหมาะ ๆ เนื่องจากยังไม่มีส้วมใช้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2440 รัฐได้ออก มีผลบังคับให้คนไทยต้องขับถ่ายในส้วม กระทั่งช่วงปี พ.ศ. 2460-2471 ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์และสาธารณสุขจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลเอกชนของสหรัฐอเมริกา โดยส่งเสริมให้มีการสร้างส้วมในจังหวัดต่าง ๆ และยังเกิดการประดิษฐ์คิดค้นส้วมรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของไทย เช่น "ส้วมหลุมบุญสะอาด" ที่มีกลไกป้องกันปัญหาการลืมปิดฝาหลุมถ่ายและส้วมคอห่านที่ใช้ร่วมกับระบบบ่อเกรอะบ่อซึม ต่อมาเริ่มมีผู้ใช้ส้วมชักโครกมากขึ้นในช่วงที่มีการก่อสร้างบ้านแบบสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระทั่งต้นพุทธทศวรรษ 2500 โถส้วมชนิดนี้ก็ได้รับความนิยม มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนในปัจจุบัน จากอดีตที่ผ่านมาส้วมสาธารณะในประเทศไทยเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญทางด้านสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และทางกรมอนามัยเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนี้ มีการสำรวจและประเมินผลมาตรฐานส้วมสาธารณะ พบว่าส้วมสาธารณะในประเทศไทยผ่านเกณฑ์มาตรฐานไม่มาก ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ งานประชุมส้วมโลก 2006 หรือ World Toilet Expo & Forum 2006 ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในการพัฒนาส้วมสาธารณะ และมีโครงการหลายโครงการเกี่ยวกับส้วมสาธารณะอีกหลายโครงการ ประเทศไทยได้ใช้มาตรการหลายอย่าง รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายซึ่งมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับส้วม ปรากฏอยู่ในกฎหมายหลายฉบับที่เริ่มมีการออกพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกเกี่ยวกับการสุขาภิบาลของคนกรุงเทพฯ และต่อมาได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รวมถึงกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ. 2548.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและส้วมในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบริพัตร

นนบริพัตร (Thanon Paribatra) ถนนสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตัดตรงในลักษณะขวางตัดกับถนนสายอื่น ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ที่ถนนดำรงรักษ์ บริเวณด้านข้างพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พื้นที่แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ทอดผ่านสะพานมหาดไทยอุทิศ ข้ามคลองมหานาค ผ่านวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ผ่านแยกเมรุปูนจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร จากนั้นตัดผ่านถนนหลวง ที่เชิงสะพานระพีพัฒนภาค ข้ามคลองรอบกรุง จากนั้นผ่านเชิงสะพานดำรงสถิต ข้ามคลองโอ่งอ่าง บริเวณคลองถม และไปสิ้นสุดที่ถนนเยาวราช บริเวณเชิงสะพานภาณุพันธ์ ที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ชื่อ "บริพัตร" นั้นตั้งขึ้นเพื่อเป็นพระเกียรติแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือทูลกระหม่อมบริพัตร พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี องค์ผู้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนบริพัตร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 1

นนพระรามที่ 1 ช่วงสยามสแควร์ ถนนพระรามที่ 1 (Thanon Rama I) เริ่มต้นจากถนนกรุงเกษม (สี่แยกกษัตริย์ศึก) ซึ่งต่อเนื่องมาจากถนนบำรุงเมือง บริเวณสะพานกษัตริย์ศึก (ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม และทางรถไฟสายเหนือ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนรองเมือง (ทางแยกกลางสะพานกษัตริย์ศึก) ถนนพระรามที่ 6 และทางพิเศษศรีรัช (สี่แยกพงษ์พระราม) ข้ามคลองสวนหลวงและตัดกับถนนบรรทัดทอง (สี่แยกเจริญผล) ถนนพญาไท (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองอรชร (สะพานเฉลิมเผ่า 52) และตัดกับถนนอังรีดูนังต์ (สามแยกเฉลิมเผ่า) ไปสิ้นสุดที่แยกตัดถนนราชดำริ (สี่แยกราชประสงค์ ต่อเนื่องไปยังถนนเพลินจิต) อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนพระรามที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย ในมุมมองจากถนนหลวง ถนนพลับพลาไชยคือถนนที่เป็นจุดตัด ถนนพลับพลาไชย (Thanon Phlapphla Chai) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มที่แยกแปลงนาม อันเป็นทางแยกที่ตัดระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนแปลงนาม ที่แขวงป้อมปราบ จากนั้ันทอดยาวไปจนถึงแยกพลับพลาไชย อันเป็นห้าแยกที่เป็นจุดตัดกับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ และไปสิ้นสุดที่แยกอนามัย อันเป็นจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ที่แขวงวัดเทพศิรินทร์ รวมความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร ถนนพลับพลาไชย เป็นถนนที่มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่งตั้งอยู่ เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1 และ 2 (สน.พลับพลาไชย 1 และ 2) ที่ดูแลพื้นที่ย่านเยาวราชทั้งหมด และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียง เช่น วงเวียน 22 กรกฎาคม, โรงพยาบาลหัวเฉียว, โรงพยาบาลกลาง เป็นต้น, วัดคณิกาผล, ศาลเจ้าหลี่ตี้เมี่ยว, วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร, องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ภาคประชาชน), สมาคมส่งเสริมวิชาชีพ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ (แห่งประเทศไทย) เป็นต้น โดยชื่อ "พลับพลาไชย" มาจากชื่อของวัดพลับพลาไชย อันเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ มีประวัติมาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี โดยในอดีตสถานที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นโคกหรือเนินดินขนาดใหญ่ และมีการตั้งคอกวัวไว้ที่นี่ด้วย จึงนิยมเรียกกันว่า "วัดโคก" หรือ "วัดคอก" จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามของวัดแห่งนี้ใหม่ เป็น "วัดพลับพลาชัย" เนื่องจากเป็นสถานที่ตั้งพลับพลาในการซ้อมรบของกองเสือป่ารักษาดินแดน ถนนพลับพลาไชย ในปี..

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนพลับพลาไชย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกรุงเกษม

นนกรุงเกษมช่วงโบ๊เบ๊ ถนนกรุงเกษม (Thanon Krung Kasem) เป็นถนนเลียบคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้ เริ่มจากบริเวณท่าเรือเทเวศร์ในพื้นที่แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนสามเสน (แยกเทเวศร์) เข้าสู่พื้นที่แขวงบางขุนพรหม จากนั้นตัดกับถนนประชาธิปไตย (แยกประชาเกษม) และตัดกับถนนราชดำเนินนอก (แยกมัฆวานรังสรรค์) เข้าสู่พื้นที่แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนนครสวรรค์ (แยกเทวกรรม) ถนนหลานหลวง (แยกสะพานขาว) เข้าสู่พื้นที่แขวงคลองมหานาค จากนั้นโค้งลงมาทางทิศใต้ตัดกับถนนบำรุงเมือง และถนนพระรามที่ 1 (แยกกษัตริย์ศึก) เข้าสู่พื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์ และตัดกับถนนหลวง (แยกนพวงศ์-โรงเรียนเทพศิรินทร์) เข้าสู่พื้นที่แขวงป้อมปราบ จนกระทั่งไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 4 (แยกไมตรีจิตต์) ถนนกรุงเกษมเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2435 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2441 มีความยาวตลอดสาย 4.5 กิโลเมตร ตั้งต้นจากปากคลองผดุงกรุงเกษมทางด้านเหนือเลียบริมคลองมาจนถึงเชิงสะพานพิทยเสถียรซึ่งจะข้ามไปหัวลำโพง ถนนเส้นนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการขุดคลอง และสร้างถนนขนาบข้าง และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนกรุงเกษม".

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนกรุงเกษม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกัลยาณไมตรี

อาคารกระทรวงกลาโหม ด้านถนนกัลยาณไมตรี ถนนกัลยาณไมตรี (Thanon Kanlayanamaitri) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร เป็นถนนสายสั้น ๆ เชื่อมระหว่างถนนสนามไชยบริเวณแยกกัลยาณไมตรี กับถนนอัษฎางค์และถนนบำรุงเมือง ที่สะพานช้างโรงสีบริเวณแยกสะพานช้างโรงสี ถนนกัลยาณไมตรี เป็นถนนที่อยู่ระหว่างอาคารกระทรวงกลาโหม กับกรมแผนที่ทหาร ตั้งชื่อเป็นเป็นเกียรติแก่พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์) ชาวอเมริกันที่เข้ามารับราชการในประเทศไทย และมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเดิมวังสราญรมย์ที่อยู่ใกล้เคียง เคยเป็นที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้แล้ว ตัวอาคารของกระทรวงกลาโหมที่อยู่ข้างถนนกัลยาณไมตรี ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอมีความสวยงาม โดดเด่นด้วยตัวอาคารสีเหลือง มีหน้าต่างเป็นจำนวนนับร้อยบาน จึงนิยมใช้เป็นสถานที่ถ่ายรูป หรือใช้สำหรับถ่ายทำโฆษณาหรือภาพยนตร์ต่าง.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนกัลยาณไมตรี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมหาไชย

นนมหาไชยช่วงใกล้กับสามแยกเรือนจำ ถนนมหาไชย (Thanon Maha Chai) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนราชดำเนินกลางที่สี่แยกป้อมมหากาฬ ในท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชนัดดาเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ผ่านวัดเทพธิดาราม ตัดกับถนนบำรุงเมือง (สี่แยกสำราญราษฎร์) และถนนหลวง (สามแยกเรือนจำ) ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ ตัดกับถนนเจริญกรุง (สี่แยกสามยอด) จนกระทั่งไปบรรจบกับถนนพีระพงษ์ ถนนเยาวราช และถนนจักรเพชร (สี่แยกวังบูรพา) ถนนมหาไชยเป็นถนนที่ได้นามมาจากชื่อป้อมปราการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี นับเป็น 1 ใน 14 ป้อมปราการที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นความจำเป็นในการมีป้อมปราการไว้ป้องกันพระนครก็หมดไป ป้อมมหาไชยจึงถูกรื้อถอน และปัจจุบันชื่อป้อมมหาไชยได้กลายมาเป็นชื่อถนนมหาไชย เนื่องจากเป็นถนนที่ตัดผ่านบริเวณที่เป็นป้อมมห.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนมหาไชย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวรจักร

นนวรจักรบริเวณแยกเอส. เอ. บี. ถนนวรจักร (Thanon Worachak) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีจุดเริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (ทางแยกเอส. เอ. บี.) และตัดกับถนนหลวง (ทางแยกวรจักร) ก่อนจะสิ้นสุดลงที่ถนนบำรุงเมือง (ทางแยกแม้นศรี) โดยเป็นเส้นแบ่งพื้นที่การปกครองระหว่างแขวงบ้านบาตรกับแขวงป้อมปราบและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนวรจักรเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ปรากฏในเอกสารของกระทรวงโยธาธิการใน พ.ศ. 2439 ว่า ทรงสอบถามเรื่องการตัดถนนวรจักรจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งได้กราบบังคมทูลว่า กรมโยธาธิการยังไม่ได้รับที่ดินที่ถนนจะตัดผ่านจากกระทรวงนครบาลและยังไม่ได้ประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนเพราะยังทำแผนที่และบัญชีบ้านเรือนที่จะต้องรื้อถอนยังไม่เสร็จ จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 การเวนคืนที่ดินก็ยังไม่เรียบร้อย เช่น ยังติดขัดที่เรือนหม่อมเจ้าดำรงค์ หม่อมเจ้าอเนก และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งกีดขวางแนวถนน รวมทั้งสะพานเฉลิมยศ 45 ก็อยู่ในแนวถนนวรจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาจึงได้มีการประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนออกจากแนวถนนเพื่อให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนน ซึ่งพระราชทานนามไว้ว่าถนนวรจักร จนสำเร็จ นามถนนวรจักรมาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (พระองค์เจ้าปราโมช) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาอัมพา ในรัชกาลที่ 2 และเป็นต้นราชสกุลปราโมช ปัจจุบัน รอบ ๆ ถนนวรจักรเป็นแหล่งรวมร้านค้าขายอะไหล่รถยนต์ รวมถึงรถจักรยานยนต์ และจักรยาน โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคลองถมด้ว.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนวรจักร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนศิริพงษ์

อาคารพาณิชย์ริมถนนศิริพงษ์ ช่วงตัดกับถนนบำรุงเมือง ถนนศิริพงษ์ (Thanon Siri Phong) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในพื้นที่แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นจากด้านข้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ทอดผ่านจุดตัดระหว่างถนนบำรุงเมือง และขนานไปกับถนนอุณากรรณ เลียบข้างวัดสุทัศนเทพวราราม ทอดผ่านโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าพื้นที่แขวงสำราญราษฎร์ ผ่านหน้าโรงเรียนภารตวิทยาลัยและสมาคมฮินดูสมาช, สวนรมณีนาถ ไปสิ้นสุดที่จุดบรรจบกับถนนอุณากรรณ ที่มาจากแยกอุณากรรณ โดยชื่อ "ศิริพงษ์" มาจากการแปลงพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาบัว ซึ่งทรงเคยมีวังที่ประทับ ณ ที่ ๆ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนศิริพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสีลม

ประติมากรรมเครื่องสีลมที่สร้างขึ้นใหม่ ถนนสีลม (Thanon Si Lom) ถนนสำคัญในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนคอนกรีตขนาดกว้าง 6 ช่องทางจราจร มีช่องจอดรถและบาทวิถีทั้งสองข้าง ความยาวประมาณ 2.78 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (แยกบางรัก) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนมเหสักข์-ถนนสุรศักดิ์ (แยกสุรศักดิ์) ถนนประมวญ (แยกประมวญ) ถนนเดโช (แยกเดโช) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกสีลม-นราธิวาส) และถนนคอนแวนต์ (แยกคอนแวนต์) และไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 4 (แยกศาลาแดง) สีลมเป็นถนนที่มีเกาะกลางและมีต้นไม้ใหญ่ปลูกเรียงรายไปตลอดแนวถนนจำนวน 483 ต้น และเป็นถนนสำคัญสายแรกที่เดินสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ไว้ใต้ดิน ถนนสีลมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อม ๆ กับถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร เดิมเรียกชื่อว่า "ถนนขวาง" เดิมเป็นคันดินที่เกิดจากการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรง คันดินจึงกลายเป็นถนนที่เรียกกันว่าถนนขวาง ชาวต่างประเทศได้นำเครื่อง สีลม ซึ่งใช้สำหรับการวิดน้ำมาติดตั้งที่ถนนขวาง โดยที่บริเวณทั่วไปยังเป็นทุ่งนาโล่ง เครื่องสีลมวิดน้ำจึงดูเด่นและกลายเป็นชื่อเรียกของถนนมาถึงปัจจุบัน ถนนสีลมเมื่อครั้งจัดเป็นถนนคนเดิน ใช้ชื่อว่า โครงการ 7 มหัศจรรย์ที่สีลม (7 Wonders @ Silom Street) ในปี 2544 ปัจจุบันถนนสีลมนับเป็นถนนธุรกิจสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีผู้ขนานนามถนนสีลมว่า "วอลล์สตรีตของกรุงเทพฯ" ถนนสีลมมีสำนักงานใหญ่ธนาคาร โรงแรม อาคารสำนักงาน ตลอดจนศูนย์การค้าขนาดใหญ่เรียงรายอยู่ทั้งสองฟากถนน เป็นถนนท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งซื้อสินค้าและขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวตามบาทวิถีในเวลากลางคืน รวมทั้งใน "ซอยละลายทรัพย์" นอกจากนี้ ยังเคยมีโครงการวัฒนธรรมปิดเป็นถนนคนเดินในวันอาทิตย์ ถนนสีลมยังได้ชื่อว่าเป็นถนนการเมืองยุคใหม่จากการเดินขบวนของนักธุรกิจเพื่อขับไล่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถนนสีลมมีรถไฟฟ้าแล่นผ่านจากถนนพระรามที่ 4 ขึ้นลงที่สถานีศาลาแดงและเลี้ยวออกไปถนนสาทรที่สถานีช่องนนทรี ช่วงสถานี สาธรภาพจากมุมสูง หมวดหมู่:รัชกาลที่ 4 สีลม สีลม หมวดหมู่:ย่านในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนสีลม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนหลวง

250px ถนนหลวง (Thanon Luang) เป็นถนนเส้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนมหาไชย (สามแยกเรือนจำ) ในท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จากนั้นตัดกับถนนวรจักร (สี่แยกวรจักร) ถนนยุคล 2 (สี่แยกโรงพยาบาลกลาง) และถนนพลับพลาไชย (ห้าแยกพลับพลาไชย) โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงป้อมปราบกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ จนกระทั่งไปจรดถนนกรุงเกษมที่ห้าแยกนพวงศ์ ถนนหลวงเป็นถนนที่สร้างในปี พ.ศ. 2436 โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ควรจะตัดถนนใหม่ระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ตั้งต้นตั้งแต่ป้อมเสือทยานไปบรรจบถนนริมคลองผดุงกรุงเกษมโดยข้ามคลองคูพระนคร ตรงไปออกถนนหน้าวัดเทพศิรินทราวาส ถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งชื่อว่าถนนหลวง อันมีควาหมายว่า "ถนนของพระเจ้าแผ่นดิน" ทรงให้เหตุผลในการตัดถนนสายนี้ว่า เพื่อสำหรับผู้ที่จะไปขึ้นรถไฟ เพื่อเดินทางไปนครราชสีมาได้สะดวก และเป็นที่งดงามและแสดงถึงความเจริญของบ้านเมืองด้วย โดยสร้างเป็นถนนสำหรับคนเดินและรถม้า ระหว่างการก่อสร้างถนนหลวงใน พ.ศ. 2440 ปรากฏว่ามีผู้ขัดขวางการสร้างถนน โดยทำร้ายกุลีชาวจีนที่ก่อสร้างจนไม่สามารถก่อสร้างได้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล โดยทรงต่อว่ากระทรวงนครบาลซึ่งส่งมอบที่ดินให้กระทรวงโยธาธิการ เข้าใจว่าทรงจัดการเรื่องการเวนคืนที่ดินเรียบร้อยแล้ว และถือว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงนครบาลที่จะป้องกันระงับการทะเลาะวิวาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงนครบาลไม่ได้อารักขาการสร้างถนน ทำให้เกิดเหตุขึ้นและปล่อยให้เรื่องล่าช้าจนหมดเขตฟ้องร้อง ต้องจ่ายพระราชทรัพย์ทำขวัญกุลี ในการก่อสร้างถนนหลวงนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานนพวงศ์ขึ้นด้วย โดยมีพระราชปรารภให้เปิดสะพานทันวันเฉลิมพระชนมพรรษาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2440 ซึ่งเป็นวันที่มีพระชนมพรรษาเท่าพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์) จึงต้องเร่งดำเนินการสร้างถนนหลวง ให้เสร็จทันเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานนพวง.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอุณากรรณ

นนอุณากรรณ (Thanon Unakan) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 3–4 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 19.50 เมตร ระยะทางยาว 446 เมตร เริ่มต้นจากทางแยกอุณากรรณ (จุดตัดกับถนนเจริญกรุง) ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ มุ่งไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนศิริพงษ์ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าพื้นที่แขวงวัดราชบพิธ ตัดกับถนนลงท่า ตรงไปทางทิศเดิมโดยขนานไปกับถนนศิริพงษ์และเลียบกำแพงวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ไปสิ้นสุดที่ทางแยกเสาชิงช้า (จุดตัดกับถนนบำรุงเมือง) ชื่อถนนอุณากรรณมีที่มาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาเปี่ยม โดยเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมได้อุทิศเงินจำนวน 100 ชั่งของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย ให้นำไปสร้างถาวรวัตถุที่เป็นสาธารณประโยชน์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พระองค์ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษา 18 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการสร้างถนนสายสั้น ๆ ขนาดถนนข้าวสาร โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดสรรงบประมาณมาสมทบด้วยกนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนอุณากรรณ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนดินสอ

ลาว่าการกรุงเทพมหานคร ถนนดินสอ (Thanon Dinso) ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนเสาชิงช้าที่ถนนบำรุงเมือง บริเวณหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และทอดยาวออกไปยังถนนราชดำเนินกลางผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปสิ้นสุดลงที่แยกสะพานวันชาติ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ โดยเป็นถนนที่เป็นเส้นตรงตลอดทั้งสาย มีความยาวทั้งสิ้น 850 เมตร ถนนดินสอ เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เหตุที่ได้ชื่อว่า "ดินสอ" เนื่องจากแถบนี้ในช่วงกรุงศรีอยุธยา ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่มีอาชีพทำดินสอและกระดาษ จนได้ชื่อว่า "ย่านป่าดินสอ" ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารจากหอหลวง เรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ ความว่า "ย่านป่าดินสอ ริมวัดพระงาม มีร้ายขายดินสอศิลาอ่อนแก่ แลดินสอขาวเหลือง ดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ" จนล่วงมาถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาชีพทำดินสอของผู้คนแถบนี้ก็ยังคงอยู่ และถูกเรียกว่า "ย่านดินสอ" หรือ "บ้านดินสอ" ต่อมามีการสร้างถนนขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนดินสอ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนตะนาว

นนตะนาวช่วงบางลำพู ใกล้ถนนข้าวสาร ถนนตะนาว (Thanon Tanao) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมืองที่สี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงศาลเจ้าพ่อเสือกับแขวงเสาชิงช้า ข้ามคลองหลอดวัดราชนัดดาเข้าสู่ท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ จากนั้นตัดข้ามถนนราชดำเนินกลางที่สี่แยกคอกวัว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดบวรนิเวศกับแขวงตลาดยอด จนไปจดแยกที่ถนนบวรนิเวศน์ ถนนสิบสามห้าง และถนนตานีบรรจบกัน แต่เดิมถนนตะนาวเป็นส่วนหนึ่งของถนนเฟื่องนครที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2406-2407 มีการสันนิษฐานว่าชื่อถนนตะนาวน่าจะตั้งตามชาวตะนาวศรีที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้มาตั้งถิ่นฐาน เรียกกันว่า ถนนบ้านตะนาวศรี ถนนบ้านตะนาวหรือถนนตะนาว ปัจจุบัน ถนนตะนาวเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ศาลเจ้าจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และยังได้รับความนับถือแม้กระทั่งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และยังเป็นแหล่งของร้านอาหารอร่อยที่ขึ้นชื่ออีกจำนวนมากเช่นเดียวกับถนนมหรรณพ, แพร่งภูธร และแพร่งนรา ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาและเย็นตาโฟ, ราดหน้าและหมูสะเต๊ะ, เผือกทอด, กวยจั๊บ บางร้านยังเป็นร้านที่ได้รับการแนะนำหรือบีบกูร์ม็องจากมิชลินไกด์อีกด้ว.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนตะนาว · ดูเพิ่มเติม »

ถนนตีทอง

นนตีทอง (Thanon Ti Thong) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบำรุงเมือง (แยกเสาชิงช้า) ท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ ไปจนถึงถนนเจริญกรุง (แยกเฉลิมกรุง) ถนนตีทองสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นถนนสายสั้น ๆ เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนสายนี้ตัดผ่านย่านของชุมชนที่มีอาชีพทำทองคำเปลว จึงเรียกว่า "ถนนตีทอง" โดยบรรพบุรุษของชาวชุมชนนั้นเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์และหลวงพระบาง ตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถนนตีทองมีความยาว 525 เมตร ต้นถนนจดถนนบำรุงเมืองก่อนถึงลานเสาชิงช้า หัวมุมถนนด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดสุทัศนเทพวราราม ฟากตะวันตกของถนนมีซอย ซึ่งยังเหลือชื่อว่าเป็นแหล่งทำทองคือ "ซอยเฟื่องทอง" และปัจจุบันเป็นแหล่งรวมร้านค้าเสื้อผ้าเครื่องแบบและยศประดับของข้าราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะทหาร และตำรวจ รวมถึงถ้วยรางวัลต่าง ๆ อีกด้ว.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนตีทอง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเฟื่องนคร

นนเฟื่องนคร (Thanon Fueang Nakhon) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมือง (สี่กั๊กเสาชิงช้า) ในท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธ เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ จนถึงถนนเจริญกรุง (สี่กั๊กพระยาศรี) รวมระยะทางประมาณ 0.5 กิโลเมตร ถนนเฟื่องนครเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก โดยเริ่มตั้งแต่กำแพงเมืองด้านใต้ คือใต้ปากคลองตลาด ผ่านบ้านหม้อ บ้านญวนตัดกับถนนเจริญกรุงเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กพระยาศรี และตัดกับถนนบำรุงเมืองเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กเสาชิงช้า ผ่านวัดมหรรณพาราม โรงเลี้ยงวัวหลวง หรือบ้านท้าวประดู่ในวรรณกรรมระเด่นลันได ซึ่งปัจจุบันนี้คือ สี่แยกคอกวัว สวนหลวง ไปจนถึงกำแพงเมืองด้านเหนือที่ข้างวัดบวรนิเวศวิหาร โดยเริ่มทำพร้อมถนนบำรุงเมืองใน พ.ศ. 2406 และสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2407 จากนั้นได้พระราชทานนามว่า "ถนนเฟื่องนคร" ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง อันสอดคล้องกับชื่อถนนเจริญกรุง และถนนบำรุงเมือง.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทยใน พ.ศ. 2406

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2406 ในประเทศไท.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและประเทศไทยใน พ.ศ. 2406 · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง

ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร ป้อมเผด็จดัสกร ป้อมสัญจรใจวิง ป้อมอนันตคีรี ป้อมพิศาลสีมา และประตูวิจิตรบรรจง ป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีทั้งสิ้น 17 ป้อม สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจำนวน 10 ป้อม และสร้างเพิ่มเติมในภายหลัง แต่เดิมเป็นป้อมมีหอรบ มีหลังคามุงกระเบื้องโบกปูนทั.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง · ดูเพิ่มเติม »

แยกกษัตริย์ศึก

แยกกษัตริย์ศึก (Kasat Suek Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงคลองมหานาคและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่เป็นจุดกันระหว่างถนนพระราม 1, ถนนกรุงเกษม และถนนบำรุงเมือง ชื่อทางแยกมาจาก "สะพานกษัตริย์ศึก" ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่อยู่ตรงทางแยกฝั่งถนนพระราม 1 เดิมสะพานนี้มีชื่อที่เรียกกันว่า "สะพานยศเส" ซึ่งเป็นสะพานไม้ ต่อมาสะพานยศเสมีความชำรุด ในปี..

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและแยกกษัตริย์ศึก · ดูเพิ่มเติม »

แยกยุคล 2

แยกยุคล 2 (Yukol Song Junction) หรือที่รู้จักกันในนาม สามแยกยุคล หรือ สามแยกสวนมะลิ เป็นทางสามแยกจุดตัดถนนบำรุงเมือง และถนนยุคล 2 ในพื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์และแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในย่านสวนมะล.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและแยกยุคล 2 · ดูเพิ่มเติม »

แยกสำราญราษฎร์

แยกสำราญราษฎร์ (Samran Rat Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนบำรุงเมืองและถนนมหาไชย ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งสำราญราษฎร์เป็นชื่อที่ทางการตั้งให้แทนชื่อย่านที่เรียกดั้งเดิมว่า ประตูผี.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและแยกสำราญราษฎร์ · ดูเพิ่มเติม »

แยกแม้นศรี

แยกแม้นศรี (Maen Si Intersection) เป็นสี่แยกหนึ่งที่เป็นทางตัดกันระหว่างถนนบำรุงเมือง, ถนนวรจักร และถนนจักรพรรดิพงษ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ชื่อ "แม้นศรี" มาจากชื่อของหม่อมห้ามท่านหนึ่งในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) คือ "หม่อมแม้น" เมื่อหม่อมแม้นถึงแก่อนิจกรรม พระองค์ได้จัดพิธีศพให้อย่างยิ่งใหญ่ เนื่องจากเป็นหม่อมที่ทรงโปรดมาก และได้อุทิศเงินซึ่งได้รับจากผู้ช่วยพิธีศพ สร้างสะพานข้ามคลองเล็ก ๆ ด้านถนนบำรุงเมือง ซึ่งขบวนพิธีต้องผ่าน เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ และอุทิศส่วนกุศลให้กับหม่อมแม้น คือ "สะพานแม้นศรี" โดยเปิดใช้เมื่อวันที่ 31 มกราคม..

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและแยกแม้นศรี · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลหัวเฉียว

รงพยาบาลหัวเฉียว (华侨; พินอิน: Huáqiáo) เป็นโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป ก่อตั้งโดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตั้งอยู่ที่ 665 ถนนบำรุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการในปี..

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและโรงพยาบาลหัวเฉียว · ดูเพิ่มเติม »

เสาชิงช้า

งช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม นอกจากนี้ ใน ประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติด สายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

12 ตุลาคม

วันที่ 12 ตุลาคม เป็นวันที่ 285 ของ.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและ12 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

22 ตุลาคม

วันที่ 22 ตุลาคม เป็นวันที่ 295 ของปี (วันที่ 296 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 70 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและ22 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

26 เมษายน

วันที่ 26 เมษายน เป็นวันที่ 116 ของปี (วันที่ 117 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 249 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ถนนบำรุงเมืองและ26 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถ.บำรุงเมือง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »