สารบัญ
7 ความสัมพันธ์: รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครสี่กั๊กพระยาศรีถนนตรีเพชรถนนตีทองแยกพาหุรัดแยกอุณากรรณเสาชิงช้า
รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร
รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก.
ดู แยกเฉลิมกรุงและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร
สี่กั๊กพระยาศรี
ี่กั๊กพระยาศรี หรืออาจเรียกว่า สี่กั๊ก เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนเฟื่องนคร และถนนบ้านหม้อ ในสมัยรัชกาลที่ 4 บริเวณบ้านของพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) อยู่เชิงสะพานมอญ สี่กั๊กพระยาศรีในสมัยรัชกาลที่ 5 สี่แยกนี้ได้ชื่อมาจากคำว่า กั๊ก (角; จีนกลางออกเสียงว่า เจียว) ซึ่งแปลว่า แยก หรือ มุม ในภาษาจีนฮกเกี้ยนและแต้จิ๋ว เจ๊กลากรถในสมัยนั้นจะเรียกสามแยกว่า ซากั๊ก และสี่แยกว่า สี่กั๊ก และเมื่อเรียกรถมาบริเวณนี้จึงเรียกว่าไป สี่กั๊กบ้านพระยาศรี มาจนถึงปัจจุบัน สี่กั๊กพระยาศรี ยังเป็นสถานที่ตั้งของร้านกาแฟแห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย ชื่อร้าน "Red Cross Tea Room" โดย แหม่มโคล (เอ็ดนา เอส.
ดู แยกเฉลิมกรุงและสี่กั๊กพระยาศรี
ถนนตรีเพชร
นนตรีเพชร ช่วงแยกเฉลิมกรุง หน้าศาลาเฉลิมกรุง ถนนตรีเพชร (Thanon Tri Phet) เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนเจริญกรุง (แยกเฉลิมกรุง ตรงข้ามถนนตีทอง) ไปทางทิศใต้ ตัดกับถนนพาหุรัดที่แยกพาหุรัด แล้วตรงไปถึงเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งถนนจักรเพชรตัดผ่าน ถนนตรีเพชรเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง พระราชโอรสซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ และสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.
ถนนตีทอง
นนตีทอง (Thanon Ti Thong) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบำรุงเมือง (แยกเสาชิงช้า) ท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ ไปจนถึงถนนเจริญกรุง (แยกเฉลิมกรุง) ถนนตีทองสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นถนนสายสั้น ๆ เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนสายนี้ตัดผ่านย่านของชุมชนที่มีอาชีพทำทองคำเปลว จึงเรียกว่า "ถนนตีทอง" โดยบรรพบุรุษของชาวชุมชนนั้นเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์และหลวงพระบาง ตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถนนตีทองมีความยาว 525 เมตร ต้นถนนจดถนนบำรุงเมืองก่อนถึงลานเสาชิงช้า หัวมุมถนนด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดสุทัศนเทพวราราม ฟากตะวันตกของถนนมีซอย ซึ่งยังเหลือชื่อว่าเป็นแหล่งทำทองคือ "ซอยเฟื่องทอง" และปัจจุบันเป็นแหล่งรวมร้านค้าเสื้อผ้าเครื่องแบบและยศประดับของข้าราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะทหาร และตำรวจ รวมถึงถ้วยรางวัลต่าง ๆ อีกด้ว.
แยกพาหุรัด
แยกพาหุรัด (Phahurat Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนตรีเพชร และถนนพาหุรัด ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใจกลางย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแหล่งใหญ่ และเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับตลาดบ้านหม้อ ซึ่งเป็นย่านค้าขายอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า ลำโพงและเครื่องเสียง รวมไปถึงร้านขายเครื่องเพชร อัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนี้บริเวณแยกพาหุรัดยังเป็นย่านการค้าที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ในอดีตเคยมีตลาดมิ่งเมืองเป็นแหล่งค้าผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บที่มีชื่อเสียง ปัจจุบันได้กลายเป็นศูนย์การค้าดิโอลด์สยาม ซึ่งเป็นศูนย์การค้าสมัยใหม่ที่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นย่านเก่าของกรุงเทพฯ และยังมีห้างไนติงเกล ห้างสรรพสินค้ายุคเก่าที่ยังคงเปิดให้บริการจนถึงปัจจุบันอยู่ที่แยกพาหุรั.
แยกอุณากรรณ
แยกอุณากรรณ (Unakan Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนเจริญกรุง, ถนนอุณากรรณ และถนนบูรพา ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เคียงกับแยกเฉลิมกรุง ที่ตั้งของโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง, ย่านการค้าเก่าแก่วังบูรพา และย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งใหญ่ นอกจากนี้ บริเวณแยกอุณากรรณยังเป็นย่านร้านค้าอาวุธปืนที่มีชื่อเสียง เนื่องจากมีร้านจำหน่ายปืนรวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกีฬายิงปืนเป็นจำนวนมาก.
เสาชิงช้า
งช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม นอกจากนี้ ใน ประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม.