โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เสาชิงช้า

ดัชนี เสาชิงช้า

งช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม นอกจากนี้ ใน ประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติด สายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี.

35 ความสัมพันธ์: ชาญ เย็นแขบ้านซอยสวนพลูพ.ศ. 2327พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระอภิเนาว์นิเวศน์พระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช)พระแม่คงคากรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยรายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)รายชื่อเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพรายการแหล่งมรดกโลกในประเทศไทยวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนครสี่กั๊กเสาชิงช้าสนิท โกศะรถจังหวัดนครศรีธรรมราชถนนบำรุงเมืองถนนอุณากรรณถนนดินสอถนนตีทองขนมปังขิงประเทศไทยใน พ.ศ. 2327แยกสำราญราษฎร์แยกอุณากรรณแยกเฉลิมกรุงแสนชัยเมืองจำลองพัทยาเทวสถานโบสถ์พราหมณ์เขตพระนครเดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้างผิดคนโกงเปรต8 เมษายน

ชาญ เย็นแข

ญ เย็นแข (10 กันยายน พ.ศ. 2469 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2531) เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง ที่มีชื่อเสียงจากเพลง "ค่าน้ำนม" ชาญ เย็นแข เกิดที่กรุงเทพมหานคร ที่ย่านเสาชิงช้า จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ แล้วเริ่มเป็นนักร้องประกวดตามงานวัดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ใช้ชื่อว่า "เอี่ยวพญา" โดยเพลงที่ประกวดงานวัดครั้งแรกในชีวิตของเขาเกิดขึ้นในปี..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและชาญ เย็นแข · ดูเพิ่มเติม »

บ้านซอยสวนพลู

้านซอยสวนพลู บ้านซอยสวนพลู เป็นชื่อที่ใช้เรียกขานบ้านพักของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตั้งอยู่ในเลขที่ 19 ซอยพระพินิจ ซึ่งเป็นซอยย่อยของซอยสวนพลู (ซอยสาทร 3) ถนนสาทรใต้ เขตสาทร บ้านซอยสวนพลูตั้งบนพื้นที่ 5 ไร่ ที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ซื้อไว้ตั้งแต..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและบ้านซอยสวนพลู · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2327

ทธศักราช 2327 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพ.ศ. 2327 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระอภิเนาว์นิเวศน์

ระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพ ณ พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระอภิเนาว์นิเวศน์ เป็นพระราชมนเทียร (เรือนหลวง) ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง โดยทรงเลือกบริเวณที่เรียกว่า "สวนขวา" เป็นที่จัดสร้างพระราชมนเทียรขึ้นใหม่ สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมของชาติตะวันตก ทั้งนี้เพื่อจะใช้เป็นที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมื่อและเป็นที่แสดงเครื่องบรรณาการที่ประเทศแถบยุโรปส่งมาถวาย และเป็นพระเกียรติยศของพระองค์อีกประการหนึ่ง พระราชมนเทียรแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากใช้เป็นที่ประทับ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของพระองค์ ประกอบด้วย พระที่นั่ง 8 องค์ และหอ 3 หอ รวมทั้งหมด 11 หลัง แต่การตั้งนามพระที่นั่งและอาคารต่าง ๆ นั้น ได้รวมเอานามพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทและพระที่นั่งไชยชุมพลเข้ามาเป็นหมู่พระที่นั่งเดียวกันด้วย เมื่อสิ้นรัชกาลแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้ประทับ ณ หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ ประกอบกับพระราชมนเทียรแห่งนี้สร้างด้วยเครื่องไม้ประกอบอิฐ ปูนเป็นหลัก เมื่อเวลาผ่านไปจึงผุกร่อนจนต้องรื้อลงเกือบทั้งหมดและปรับพื้นที่เป็นสวนดังเช่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นามของพระที่นั่งภายในพระอภิเนาว์นิเวศน์บางองค์ก็นำไปใช้เป็นนามพระที่นั่งองค์ต่าง ๆ ในภายหลัง เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในพระราชวังดุสิต, พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระอภิเนาว์นิเวศน์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช)

รองหัวหมื่นพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) มีชื่อจีนว่า "ยี่กอฮง" หรือ "ตี้ยัง แซ่แต้" เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่คงคา

ตรกรรมถอดแบบจากจิตรกรรมโบราณของอินเดียภาคเหนือ ของพระแม่คงคาทรงเทววาหนะมกร พระแม่คงคา เป็นพระเทวีองค์หนึ่งในคติของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยเป็นพระเทวีแห่งแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยและได้รับการนับถือจากชาวฮินดูเพราะเชื่อกันว่าถ้าใครได้ลงอาบแม่น้ำคงคาถือว่าเป็นการชำระล้างบาปออกไปจากตัวอีกด้ว.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและพระแม่คงคา · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.; Bangkok Metropolitan Administration, BMA) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

ต่อไปนี้ เป็นรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เรียงตามรายชื่อ 76 จังหวัด พร้อมกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)

ราณสถานที่มีรายชื่อในหน้านี้ตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดงบนแผนที.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและรายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

การเดินรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี และนครปฐม) แบ่งเป็นเส้นทางรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีทั้งหมด 8 เขตการเดินรถ จำนวน 126 เส้นทาง, เส้นทางรถโดยสารประจำทางร่วมบริการ จำนวน 115 เส้นทาง และเส้นทางที่มีรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และรถโดยสารประจำทางร่วมบริการ ให้บริการร่วมกัน จำนวน 26 เส้นทาง รวมทั้งหมด 216 เส้นทาง โดยเริ่มให้บริการประจำวัน ตั้งแต่ราว 02:30-05:00 น. และยุติการให้บริการประจำวัน ตั้งแต่ราว 21:00-01:00 น. นอกจากนี้ ยังมีรถให้บริการตลอดคืน ซึ่งจะคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจากปกต.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและรายชื่อเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

รายการแหล่งมรดกโลกในประเทศไทย

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยทั้งสิ้น 5 แหล่ง ประกอบด้วยมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แหล่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและรายการแหล่งมรดกโลกในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวั.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

ลพระกาฬ เป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ก่อนถูกดัดแปลงเป็นพุทธสถานในยุคต่อมา ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกตะแลงแกงบนเกาะเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณเกือบกึ่งกลางเกาะเมืองและเป็นย่านตลาดที่มีผู้คนพลุกพล่านมาก และหากมีการประหารนักโทษก็จะมีการเสียบหัวประจานให้ประชาชีเห็นจะได้เกรงกลัวมิเอาเยี่ยงอย่าง ปัจจุบันศาลพระกาฬหลงเหลือเพียงรากฐานของอิฐเท่านั้น สุจิตต์ วงษ์เทศให้คำอธิบายว่าศาลพระกาฬในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้เป็นแบบอย่างในการสร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์และเสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารในกรุงเทพมหานครด้ว.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร

ลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร:(ตัวเต็ม:打惱路玄天上帝廟, ตัวย่อ: 打恼路玄天上帝庙, พินอิน: Dǎ nǎo lù xuán tiān shàngdì miào ตานาวลู่เฉียงเทียนซ่างตี่เมี่ยว, ฮกเกี้ยน: ต้านาวหล่อเอี่ยนเถี้ยนซ่งเต้เบี้ยว) หรือ ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ศาลเจ้าพ่อเสือ เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ซึ่งตั้งอยู่บนถนนตะนาว ใกล้เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชาวจีนเรียกศาลเจ้านี้ว่า "ตั่วเหล่าเอี้ย" (เทพเจ้าใหญ่) โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี้ยนส่งเต้, รูปเจ้าพ่อเสือ, รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าพ่อเสือ ว่ากันว่าตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้ขยายถนนบำรุงเมือง ได้โปรดให้ย้ายศาลมาไว้ที่ทางสามแพร่งถนนตะนาว จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร · ดูเพิ่มเติม »

สี่กั๊กเสาชิงช้า

ี่กั๊กเสาชิงช้า เป็นสี่แยกหนึ่งในพื้นที่แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดกันระหว่างถนนตะนาว, ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร โดยเป็นจุดเริ่มของถนนตะนาว และอยู่ใกล้กับแพร่งภูธร ซึ่งบริเวณนี้จะสามารถมองเห็นเสาชิงช้าได้อย่างชัดเจนจากทางด้านถนนบำรุงเมือง ชื่อ "สี่กั๊ก" นั้นมาจากภาษาแต้จิ๋วจากคำที่ออกเสียงว่า ซี้กั๊ก (อักษรจีน: 四角; จีนกลางออกเสียง ซื่อเจี่ยว) มีความหมายถึง "สี่แยก" โดยเป็นคำเรียกขานของชาวจีนที่ลากรถเจ๊กในอดีต ใช้เรียกสถานที่แห่งนี้เมื่อลากรถผ่าน เช่นเดียวกับสี่กั๊กพระยาศรี ที่อยู่ใกล้เคียงออกไปทางถนนเฟื่องนคร ทางทิศใต้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันทางแยกที่ยังคงเรียกว่า "สี่กั๊ก" เหลือเพียงแค่สองที่นี้เท่านั้น ในอดีต ที่ยังคงมีพระราชพิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ที่เสาชิงช้า ขบวนของพิธีก็ตั้งต้นขึ้นที่นี่ อาคารบ้านเรือนของบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้า โดยเฉพาะที่ถนนบำรุงเมืองนั้นจะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ที่มีสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเกส โดยลอกแบบมาจากประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีความสวยงาม และมีจุดเด่นคือ ไม่มีบาทวิถี หรือฟุตบาท เหมือนเช่นถนนอื่น ๆ ส่วนบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้านั้น จะมีลักษณะเป็นวงเวียน ตัวอาคารที่อยู่ที่นี่จึงถูกออกแบบให้มีความโค้งตามไปด้วยเช่นกัน ปัจจุบัน บริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้าเป็นแหล่งรวมของร้านค้าเครื่องสังฆภัณฑ์ ตลอดจนพระพุทธรูปและเทวรูปต่าง ๆ ซึ่งเปิดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีต และยังมีร้านอาหาร, ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาโรเล็กซ์ และเป็นบริเวณด้านหลังของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงร้านจำหน่ายชาที่นำเข้าจากประเทศจีนอีกด้ว.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและสี่กั๊กเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

สนิท โกศะรถ

นิท โกศะรถ (พ.ศ. 2473 - ธันวาคม พ.ศ. 2518) เป็นนักเขียนอาชญนิยายชุด เหยี่ยวราตรี เจ้าของนามปากกา ". เนาวราช" เป็นผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสารสตรี ขวัญเรือน เคยสร้างและกำกับภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514) จันทร์เพ็ญ (2515) และ กระสือสาว (2516) สนิท โกศะรถ เกิดและเติบโตแถวย่านสะพานดำ กรุงเทพ เรียนชั้นมัธยมต้น เริ่มทำงานเป็นช่างเรียงพิมพ์ที่โรงพิมพ์เจริญธรรม ย่านเสาชิงช้าอยู่หลายปี และเริ่มเขียนเรื่องสั้นส่งไปตีพิมพ์ตามนิตยสาร และได้รับการสนับสนุนจากนาย "ฮ่องบุ๊น" หลานชายเจ้าของโรงพิมพ์เจริญธรรม สนับสนุนให้เป็นนักเขียน ตั้งสำนักพิมพ์อักษรสมิต เพื่อตีพิมพ์นิยายเรื่อง เหยี่ยวราตรี ของสนิท โกศะรถ โดยใช้นามปากกา ". เนาวราช" โดยเฉพาะ เมื่อมีชื่อเสียง สนิท โกศะรถ ได้เขียนนวนิยายเรื่อง "18 มงกุฎ" ด้วยนามปากกา "ธัญ ธาตรี" แล้วย้ายไปเขียนหนังสือให้กับสำนักพิมพ์บางกอก และสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ของบรรลือ อุตสาหจิต และเป็นผู้ริเริ่มออกนิตยสาร "ศรีสยาม" และนิตยสารสตรี "ขวัญเรือน" ที่ยังมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน สนิท โกศะรถ เสียชีวิตเมื่อเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและสนิท โกศะรถ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครศรีธรรมราช

นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดในประเทศไทย มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ในอดีต มีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ เช่น ในคัมภีร์มหานิเทศของอินเดีย ที่เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 เรียกว่า "ตามพรลิงก์" หรืออาณาจักรตามพรลิงก์, บันทึกโบราณของเมืองจีนเรียก "เซี้ยะ-โท้ว (ถู-กวั่ว) ", "รักตะมฤติกา" (จารึกภาษาสันสกฤต) ซึ่งล้วนหมายถึง "ดินแดนที่มีดินสีแดง", ตะวันตกนิยมเรียกกันมา จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต มีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาห.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและจังหวัดนครศรีธรรมราช · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบำรุงเมือง

นนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง (Thanon Bamrung Mueang) ตั้งต้นจากถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฟื่องนครและถนนตะนาว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชย (แยกสำราญราษฎร์) ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร (แยกเมรุปูน) ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (แยกยุคล 2) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (แยกอนามัย) ไปจนถึงถนนกรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพระรามที่ 1 ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ. 2406 รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ จีน-โปรตุเกส มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ อาเขด ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ถนนช่วงตั้งแต่สี่กั๊กเสาชิงช้าจนถึงแยกเสาชิงช้า รวมถึงฝั่งถึงแยกสำราญราษฎร์ เป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถีอย่างถนนอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนนรู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไปจึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนนและทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้ตลอด ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้จึงไม่มีบาทวิถีเพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ภายหลังเจ้าของอาคารแต่ละหลังก็ได้ซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้อย่างแต่ก่อน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและถนนบำรุงเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอุณากรรณ

นนอุณากรรณ (Thanon Unakan) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 3–4 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 19.50 เมตร ระยะทางยาว 446 เมตร เริ่มต้นจากทางแยกอุณากรรณ (จุดตัดกับถนนเจริญกรุง) ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ มุ่งไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนศิริพงษ์ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าพื้นที่แขวงวัดราชบพิธ ตัดกับถนนลงท่า ตรงไปทางทิศเดิมโดยขนานไปกับถนนศิริพงษ์และเลียบกำแพงวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ไปสิ้นสุดที่ทางแยกเสาชิงช้า (จุดตัดกับถนนบำรุงเมือง) ชื่อถนนอุณากรรณมีที่มาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาเปี่ยม โดยเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมได้อุทิศเงินจำนวน 100 ชั่งของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย ให้นำไปสร้างถาวรวัตถุที่เป็นสาธารณประโยชน์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พระองค์ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษา 18 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการสร้างถนนสายสั้น ๆ ขนาดถนนข้าวสาร โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดสรรงบประมาณมาสมทบด้วยกนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและถนนอุณากรรณ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนดินสอ

ลาว่าการกรุงเทพมหานคร ถนนดินสอ (Thanon Dinso) ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนเสาชิงช้าที่ถนนบำรุงเมือง บริเวณหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และทอดยาวออกไปยังถนนราชดำเนินกลางผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปสิ้นสุดลงที่แยกสะพานวันชาติ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ โดยเป็นถนนที่เป็นเส้นตรงตลอดทั้งสาย มีความยาวทั้งสิ้น 850 เมตร ถนนดินสอ เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เหตุที่ได้ชื่อว่า "ดินสอ" เนื่องจากแถบนี้ในช่วงกรุงศรีอยุธยา ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่มีอาชีพทำดินสอและกระดาษ จนได้ชื่อว่า "ย่านป่าดินสอ" ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารจากหอหลวง เรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ ความว่า "ย่านป่าดินสอ ริมวัดพระงาม มีร้ายขายดินสอศิลาอ่อนแก่ แลดินสอขาวเหลือง ดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ" จนล่วงมาถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาชีพทำดินสอของผู้คนแถบนี้ก็ยังคงอยู่ และถูกเรียกว่า "ย่านดินสอ" หรือ "บ้านดินสอ" ต่อมามีการสร้างถนนขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและถนนดินสอ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนตีทอง

นนตีทอง (Thanon Ti Thong) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบำรุงเมือง (แยกเสาชิงช้า) ท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ ไปจนถึงถนนเจริญกรุง (แยกเฉลิมกรุง) ถนนตีทองสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นถนนสายสั้น ๆ เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนสายนี้ตัดผ่านย่านของชุมชนที่มีอาชีพทำทองคำเปลว จึงเรียกว่า "ถนนตีทอง" โดยบรรพบุรุษของชาวชุมชนนั้นเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์และหลวงพระบาง ตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถนนตีทองมีความยาว 525 เมตร ต้นถนนจดถนนบำรุงเมืองก่อนถึงลานเสาชิงช้า หัวมุมถนนด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดสุทัศนเทพวราราม ฟากตะวันตกของถนนมีซอย ซึ่งยังเหลือชื่อว่าเป็นแหล่งทำทองคือ "ซอยเฟื่องทอง" และปัจจุบันเป็นแหล่งรวมร้านค้าเสื้อผ้าเครื่องแบบและยศประดับของข้าราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะทหาร และตำรวจ รวมถึงถ้วยรางวัลต่าง ๆ อีกด้ว.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและถนนตีทอง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมปังขิง

นมขิงตำรับเมืองนูเรมเบิร์ก ข้าวไรย์ คนอบขนมขิงในราวๆค.ศ.1520 การห่อบรรจุภัณฑ์ในโรงงานผลิตขนมขิงโวล์ฟ ในเมืองนูเรมเบิร์ก ค.ศ.1959 ขนมขิงรูปหัวใจ มนุษย์ขนมขิง ขนมขิงตำรับเมืองอาคเคน บ้านขนมขิง ขนมขิงตำรับธอร์นเนอร์ คาทรินเช็น ขนมขิงรูปหัวใจของเดนมาร์ก ขนมขิงที่ใช้ทำน้ำซอส ในภาษาไทย อาจเรียก ขนมขิง ว่า ขนมปังขิง ตามความคุ้นเคย เนื่องจากแปลตรงตัวมาจากคำภาษาอังกฤษที่ว่า Ginger bread (ginger หมายถึง ขิง และ bread หมายถึง ขนมปัง แปลเป็นภาษาไทยจึงได้คำรวมว่า ขนมปังขิง) แต่ขนมขิงเองมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากขนมปังที่เรารู้จักกันทั่วไป (bread) โดยสิ้นเชิง โดยเป็นขนมอบคนละรูปแบบกับขนมปัง (bread) ขนมขิง หรือที่เรียกว่า ขนมขิงพริกไทย ขนมขิงเครื่องเทศ หรือขนมขิงน้ำผึ้ง เป็นขนมอบที่มีรูปแบบหลากหลาย และมักอบรับประทานกันโดยเฉพาะในช่วงหนึ่งเดือนก่อนเทศกาลคริสต์มาสและในเทศกาลคริสต์ม.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและขนมปังขิง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทยใน พ.ศ. 2327

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2327 ในประเทศไท.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและประเทศไทยใน พ.ศ. 2327 · ดูเพิ่มเติม »

แยกสำราญราษฎร์

แยกสำราญราษฎร์ (Samran Rat Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนบำรุงเมืองและถนนมหาไชย ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งสำราญราษฎร์เป็นชื่อที่ทางการตั้งให้แทนชื่อย่านที่เรียกดั้งเดิมว่า ประตูผี.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและแยกสำราญราษฎร์ · ดูเพิ่มเติม »

แยกอุณากรรณ

แยกอุณากรรณ (Unakan Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนเจริญกรุง, ถนนอุณากรรณ และถนนบูรพา ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เคียงกับแยกเฉลิมกรุง ที่ตั้งของโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง, ย่านการค้าเก่าแก่วังบูรพา และย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งใหญ่ นอกจากนี้ บริเวณแยกอุณากรรณยังเป็นย่านร้านค้าอาวุธปืนที่มีชื่อเสียง เนื่องจากมีร้านจำหน่ายปืนรวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกีฬายิงปืนเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและแยกอุณากรรณ · ดูเพิ่มเติม »

แยกเฉลิมกรุง

แยกเฉลิมกรุง (Chaloem Krung Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนตรีเพชร, ถนนตีทอง และถนนเจริญกรุง ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เคียงกับย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแหล่งใหญ่ และย่านบ้านหม้อ ย่านค้าขายอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า ลำโพงและเครื่องเสียง รวมไปถึงร้านขายเครื่องเพชร อัญมณีและเครื่องประดับ บริเวณแยกเฉลิมกรุงเป็นที่ตั้งของศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นที่มาของชื่อทางแยก และอยู่ถัดจากศูนย์การค้าดิโอลด์สยาม ศูนย์การค้าสมัยใหม่ที่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นย่านเก่าไว้.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและแยกเฉลิมกรุง · ดูเพิ่มเติม »

แสนชัย

แสนชัย มีชื่อจริงคือ ศุภชัย แสนพงษ์ เกิดวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 ที่บ้านโนนสูง ตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ชื่นชอบกีฬาชกมวยมาตั้งแต่เด็ก เคยเป็นนักมวยไทยที่ได้รับการยอมรับว่าเก่งที่สุดในยุคนี้เมื่อเทียบปอนด์ต่อปอนด์ สถิติการชกมวยสากล 5 ครั้ง ชนะ 5 (น็อค 2) แสนชัยเป็นนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงซึ่งเคยชกมวยสากล รวมถึงเคยเป็นนักฟุตบอลอาชีพโดยเล่นให้แก่สโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ดในฐานะตัวสำรองอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับไปชกมวยไทยอีกในภายหลัง.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและแสนชัย · ดูเพิ่มเติม »

เมืองจำลองพัทยา

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แบบจำลองขนาดเล็กในเมืองจำลองพัทยา เมืองจำลอง หรือ Mini Siam เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งรวบรวมแบบจำลองขนาดย่อส่วนซึ่งจำลองมาจากสถานที่สำคัญทั่วโลก เมืองจำลองตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท หลักกิโลเมตรที่ 143 เลยสี่แยกตลาดนาเกลือ ประมาณ 500 เมตร เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2529.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและเมืองจำลองพัทยา · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์

ทวสถาน กรุงเทพมหานคร เทวสถาน สำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) หรือที่นิยมเรียกกันว่า เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เป็นโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใกล้เสาชิงช้า และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้างผิดคนโกง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บนเวทีเดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้างผิดคนโกง อย่างเป็นทางการครั้งแรก ที่ลานคนเมือง ใกล้กับเสาชิงช้า และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้างผิดคนโกง เป็นกิจกรรมการปราศรัยของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในวันสุดสัปดาห์ ช่วงกลางปี พ.ศ. 2555 จนถึงปี พ.ศ. 2556 ที่จัดขึ้นในระหว่างที่รัฐสภาปิดสมัยการประชุม โดยเนื้อหาที่ปราศรัยเป็นการเชิญชวนให้ประชาชนต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมและการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ. 2550 โดยทางฝ่ายพรรคเพื่อไทย (พท.) และรัฐบาล ที่ทางพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าเป็นการออกกฎหมายเพื่อนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่กระทำผิดในช่วงเหตุการณ์วิกฤตทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น โดยกิจกรรมนี้ ผู้ริเริ่ม คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคเป็นผู้จัดการและออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด โดยที่มิได้ใช้งบประมาณของพรรคแต่ประการใด โดยผู้ปราศรัย ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกพรรคที่สำคัญ อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายชวน หลีกภัย, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายกรณ์ จาติกวณิช และเสริมด้วยบุคคลอื่น ๆ เช่น นักวิชาการ เช่น นายแก้วสรร อติโพธิ, นักศึกษา และผู้จัดรายการสายล่อฟ้า เป็นต้น โดยมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ผ่านสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ได้แก่ บลูสกายแชนแนล, ทีนิวส์ และไทยทีวีดี โดยถ่ายทอดสดทุกวันเสาร์ เวลา 16.30 - 21.00 น. หรือจนกว่าจนจบเวทีการปราศรัยเวทีเดินผ่าความจริง โดยก่อนหน้าที่จะเป็นเดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้างผิดคนโกง นั้น กิจกรรมนี้ใช้ชื่อว่า "สานเสวนาเวทีประชาชน" มาก่อน โดยการจัดเวทีปราศรัยได้เริ่มต้นในพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: เสาชิงช้าและเดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้างผิดคนโกง · ดูเพิ่มเติม »

เปรต

วาดเปรตแบบญี่ปุ่น เปรต (प्रेत เปฺรต; peta เปต) หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและเปรต · ดูเพิ่มเติม »

8 เมษายน

วันที่ 8 เมษายน เป็นวันที่ 98 ของปี (วันที่ 99 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 267 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เสาชิงช้าและ8 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระเสาชิงช้าแยกเสาชิงช้าแยกเสาชิงช้า (1)เสาชิงช้า (2)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »