โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยูนิโคด

ดัชนี ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

109 ความสัมพันธ์: พยางค์การเล่นแร่แปรธาตุภาษาภาษาจาวายูนิกซ์ยูโรรหัสอักขระระบบการเขียนระบบปฏิบัติการรูปีอินเดียลินุกซ์วินโดวส์ 2000วินโดวส์เอกซ์พีวินโดวส์เอ็นทีสัญรูปอารมณ์อักษรชวาอักษรบาหลีอักษรบาตักอักษรบูฮิดอักษรฟราเซอร์อักษรฟินิเชียอักษรพม่าอักษรพราหมีอักษรพักส์-ปาอักษรกรีกอักษรกลาโกลิติกอักษรกะยาอักษรกันนาดาอักษรมองโกเลียอักษรมันดาอิกอักษรมาลายาลัมอักษรมณีปุระอักษรยูการิติกอักษรรูปลิ่มอักษรรูนอักษรละตินอักษรลาวอักษรลิมบูอักษรลิเชียอักษรลิเดียอักษรลนตาราอักษรศารทาอักษรสิงหลอักษรสิเลฏินาครีอักษรอาร์มีเนียอักษรอาหรับอักษรอิตาลีโบราณอักษรอึนโกอักษรอี๋อักษรอเวสตะ...อักษรฮันกึลอักษรฮานูโนโออักษรฮีบรูอักษรจอร์เจียอักษรจามอักษรธรรมล้านนาอักษรทมิฬอักษรทานะอักษรทิฟินาคอักษรทิเบตอักษรขโรษฐีอักษรคอปติกอักษรคาเรียอักษรคุชราตอักษรคุรมุขีอักษรตักบันวาอักษรซีริลลิกอักษรซีรีแอกอักษรโอริยาอักษรโอคัมอักษรไบบายินอักษรไลเนียร์บีอักษรไวอักษรไทยอักษรไทลื้ออักษรไทใต้คงอักษรไทเวียดอักษรไซปรัสอักษรเบรลล์อักษรเชอโรกีอักษรเบงกาลีอักษรเรชังอักษรเลปชาอักษรเอธิโอเปียอักษรเทวนาครีอักษรเขมรอักษรเตลูกูอี้จิงองค์การไม่แสวงหาผลกำไรฮิระงะนะจู้อินข้อความธรรมดาดอตเน็ตเฟรมเวิร์กคอมพิวเตอร์คะตะกะนะซอฟต์แวร์ประเทศฟิลิปปินส์แมคโอเอสแอสกีแผนที่ไบต์ไพ่ป๊อกไพ่นกกระจอกไมโครซอฟท์ วินโดวส์ไฮเออโรกลีฟอียิปต์เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชันเอกซ์เอ็มแอลTIS-620UTF-16/UCS-2 ขยายดัชนี (59 มากกว่า) »

พยางค์

งค์ หมายถึงหน่วยหนึ่งขององค์ประกอบในลำดับของเสียงที่ใช้สื่อสารด้วยคำพูด พยางค์โดยทั่วไปเกิดขึ้นจากแกนพยางค์ (syllable nucleus) ซึ่งมักจะเป็นเสียงสระ และอาจมีเสียงขึ้นต้นและเสียงลงท้ายเป็นเสียงพยัญชนะในพยางค์ พยางค์ถูกจัดว่าเป็นส่วนประกอบของคำในการศึกษาระบบเสียงในภาษา (phonology) ซึ่งมีอิทธิพลต่อจังหวะในภาษา ฉันทลักษณ์ ลักษณะคำประพันธ์ รูปแบบการเน้นเสียง เป็นต้น คำหนึ่งคำอาจอบขึ้นจากพยางค์เพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ การเขียนสัญลักษณ์แทนพยางค์เริ่มมีขึ้นเมื่อไม่กี่ร้อยปีก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรก สัญลักษณ์แทนพยางค์ในสมัยนั้นถูกบันทึกลงบนแผ่นจารึกเมื่อประมาณ 2,800 ปีก่อนคริสตกาลโดยชาวสุเมเรียน สิ่งนี้เป็นตัวผลักดันให้อักษรภาพที่เขียนกันมาแต่เดิมถูกเปลี่ยนเป็นการเขียนแทนพยางค์ ซึ่งเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของระบบการเขียน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและพยางค์ · ดูเพิ่มเติม »

การเล่นแร่แปรธาตุ

การเล่นแร่แปรธาตุ การเล่นแร่แปรธาตุ หรือ รสายนเวท (alchemy) เป็นแบบแผนประเพณีทางปรัชญาทรงอิทธิพล ซึ่งผู้ปฏิบัติแต่โบราณอ้างว่าเป็นการตั้งต้นอำนาจที่ลึกซึ้ง วัตถุประสงค์ซึ่งนิยามการเล่นแร่แปรธาตุนั้นมีมากมาย แต่ในประวัติศาสตร์ มักรวมเอาเป้าหมายต่อไปนี้ คือ การสร้างศิลานักปราชญ์ ความสามารถเปลี่ยนโลหะฐานเป็นโลหะมีสกุล การพัฒนาน้ำอมฤต ซึ่งจะมอบความเยาว์และอายุยืนยาว การเล่นแร่แปรธาตุต่างจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตรงที่รวมเอาหลักและการปฏิบัติอันเกี่ยวข้องกับปรัมปราวิทยา เวทมนตร์ ศาสนาและเจตสภาพ (spirituality) ถือกันว่าเป็นศาสตร์ก่อนวิทยาศาสตร์ (protoscience) ซึ่งเอื้อต่อการ พัฒนาการของเคมีและแพทยศาสตร์สมัยใหม่ นักเล่นแร่แปรธาตุพัฒนาโครงสร้างเทคนิคห้องปฏิบัติการ ทฤษฎี ศัพทวิทยา และวิธีการทดลองพื้นฐาน ซึ่งบางอย่างยังใช้มาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและการเล่นแร่แปรธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษา

ษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การพูดอะไรก็ได้ที่เป็นภาษาเช่น สวัสดี คน สวย ให้ พี่ ไป ส่ง ป่าว เป็นราก...

ใหม่!!: ยูนิโคดและภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจาวา

ลโก้ของภาษาจาวา ภาษาจาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้.

ใหม่!!: ยูนิโคดและภาษาจาวา · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิกซ์

ูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy.

ใหม่!!: ยูนิโคดและยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโร

ูโร (euro, €; รหัสธนาคาร EUR) เป็นสกุลเงินที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 19 ประเทศ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ตกลงใช้ร่วมกัน เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 (บางประเทศใช้ตามในภายหลัง) 1 ยูโรแบ่งออกเป็น 100 เซนต์ แต่ชื่อเรียกของเซนต์อาจแตกต่างกันในแต่ละประเท.

ใหม่!!: ยูนิโคดและยูโร · ดูเพิ่มเติม »

รหัสอักขระ

รหัสอักขระ (character encoding) หรือ ชุดอักขระ (character set) หมายถึงสัญลักษณ์ ที่กำหนดให้ใช้เป็นรหัสแทนอักขระ หรือมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่มีการตกลงกันไว้ เป็นต้นว่า ตารางรหัสแอสกี (ASCII table) และรหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) โปรแกรมสำเร็จบางโปรแกรมใช้รหัสเหล่านี้ผสมกับตัวอักขระบางตัวเป็นรหัสคำสั่งให้เป็นการขีดเส้นใต้ หรือ ทำตัวเอน เป็นต้น.

ใหม่!!: ยูนิโคดและรหัสอักขระ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการเขียน

ระบบการเขียนในปัจจุบัน ระบบการเขียน (writing system) คือลักษณะสัญลักษณ์หรือตัวอักษรที่ใช้ในการแสดงความหมายที่ใช้ในภาษาต่างๆ ระบบการเขียนแตกต่างจากระบบสัญลักษณ์ทั่วไปคือ บุคคลที่ใช้ระบบเดียวกันสามารถอ่านและเข้าใจภาษานั้นได้ตรงกันโดยไม่จำเป็น ต้องมีความรู้เฉพาะทางสำหรับดึงความหมายของสัญลักษณ์นั้น ต่างกับสัญลักษณ์ใน ภาพวาด แผนที่ ป้าย คณิตศาสตร์และสัญลักษณ์ต่างๆ หมวดหมู่:การเขียน หมวดหมู่:การเรียงพิมพ์.

ใหม่!!: ยูนิโคดและระบบการเขียน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและระบบปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

รูปีอินเดีย

ความหมายอื่น โปรดดูที่ รูปีเนปาล รูปีอินเดีย เป็นสกุลเงินที่ใช้ในประเทศอินเดีย มีราคาหน้าเหรียญ หรือธนบัตร ดังนี้ 5 รูปี 10 รูปี 20 รูปี 50 รูปี 100 รูปี 500 รูปี และ 1,000 รูปี หมวดหมู่:สกุลเงินเอเชีย หมวดหมู่:ประเทศอินเดีย.

ใหม่!!: ยูนิโคดและรูปีอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: ยูนิโคดและลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์ 2000

วินโดวส์ 2000 (Windows 2000) เป็นระบบปฏิบัติการมาจากสายผลิตภัณฑ์วินโดวส์เอ็นทีโดยออกแบบสำหรับธุรกิจ ซึ่งเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์เอ็นที 4.0 ซึ่งได้ออกในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) จากนั้นวินโดวส์เอกซ์พี ได้รับช่วงต่อในปี พ.ศ. 2544 และวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ในปี พ.ศ. 2546 วินโดวส์ 2000 ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้.

ใหม่!!: ยูนิโคดและวินโดวส์ 2000 · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์เอกซ์พี

มโครซอฟท์ วินโดวส์เอกซ์พี (Microsoft Windows XP, ชื่อรหัส: Whistler) เป็นระบบปฏิบัติการที่ไมโครซอฟท์ได้ผลิตออกมาในปี พ.ศ. 2544 โดย XP นั้นคือตัวอักษรที่ย่อมาจาก Experience (เอกซ์พีเรียนซ์) ซึ่งมีความหมายว่า ประสบการณ์ ความรู้ที่มีโดยประสบการณ์ ปัจจุบัน วินโดวส์เอกซ์พีได้สิ้นสุดการสนับสนุนแล้วเมื่อวันที่8 เมษายน พ.ศ. 2557.

ใหม่!!: ยูนิโคดและวินโดวส์เอกซ์พี · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์เอ็นที

วินโดวส์เอ็นที (Windows NT) เป็นกลุ่มสายผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการพัฒนาโดยไมโครซอฟท์ ซึ่งรุ่นแรกออกเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2536 (ค.ศ. 1993) โดยแรกเริ่มได้ออกแบบให้มีสมรรภาพสูง ไม่ขึ้นอยู่กับหน่วยประมวลผล และรองรับหลายหน่วยประมวลผล หลายผู้ใช้พร้อมๆกัน วินโดวส์เอ็นทียังเป็นรุ่นแรกที่เป็น 32-บิตเต็มตัว ซึ่งวินโดวส์ 10 และ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2016 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดที่ใช้ฐานเอ็นที แม้ว่าปัจจุบันนี้ไม่ใช่ชื่อเอ็นทีแล้วก็ตาม.

ใหม่!!: ยูนิโคดและวินโดวส์เอ็นที · ดูเพิ่มเติม »

สัญรูปอารมณ์

ัญรูปอารมณ์ (emoticon) คือชุดของสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น), ^-^, หรือ:-) หรือภาพขนาดเล็ก ที่มีจุดประสงค์เพื่อแสดงสีหน้าของมนุษย์ และสื่อถึงอารมณ์ สัญรูปอารมณ์เป็นรูปแบบหนึ่งของลักษณะน้ำเสียงที่ใช้กันแพร่หลายในข้อความอีเมล, ในกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์, และในห้องคุย คำว่า emoticon ในภาษาอังกฤษ มาจากการผสมคำว่า emotion (อารมณ์) และ icon (สัญรูป) เข้าด้วยกัน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและสัญรูปอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรชวา

อักษรชวา (ภาษาชวา: 110px อักซาราจาวา) หรือ ฮานาจารากา (90px) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาชวา โดยก่อนหน้าที่จะใช้อักษรชวาเขียน ราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรชวา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรบาหลี

อักษรบาหลี หรือ จารากัน (Carakan) พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะ หรืออักษรกวิโบราณ จารึกเก่าสุดในภาษาบาหลี มีอายุราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรบาหลี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรบาตัก

อักษรบาตัก (Karo Batak syllabic alphabet) หรือ ซูรัตบาตัก พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะและอักษรกวิรุ่นเก่า เขียนจากล่างขึ้นบนในแนวตั้ง เริ่มจากซ้ายไปขวา มีที่มาจาการเขียนบนไม้ไผ่ เฉพาะนักบวชเท่านั้นที่อ่านเขียนอักษรนี้ได้ มีความแตกต่างกันเล็กน้อยสำหรับอักษรที่ใช้เขียนภาษาต่างกัน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรบาตัก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรบูฮิด

อักษรบูฮิดหรือมังยัน พัฒนามาจากอักษรกวิของชวา บาหลี และสุมาตรา ซึ่งมาจากอักษรปัลลวะอีกทีหนึ่ง อักษรนี้ยังใช้อยู่ในฟิลิปปินส์ โดยชาวบูฮิดในมินโดโร เขียนจากซ้ายไปขวา ในแนวนอน อักษรแต่ละตัวมีเสียงสระเกาะอยู่ และจะเปลี่ยนเสียงสระเมื่อเพิ่มเครื่องหมายบนพยัญชน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรบูฮิด · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟราเซอร์

อักษรฟราเซอร์ (Fraser) หรือ อักษรลีสู่ (Lisu) ประดิษฐ์เมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรฟราเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพม่า

ตัวพยัญชนะพม่า ตั้งแต่ กะ ถึง อะ (ถอดเป็นอักษรไทยตามรูป จากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง) ก,ข, ค, ฆ, ง, จ, ฉ, ช, ฌ, ญ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ต, ถ, ท, ธ, น, ป, ผ, พ, ภ, ม, ย, ร, ล, ว, ส, ห, ฬ, อ อักษรพม่า (မြန်မာအက္ခရာ) เป็นอักษรในตระกูลอักษรพราหฺมี ใช้ในประเทศพม่าสำหรับการเขียนภาษาพม่า ในสมัยโบราณ การเขียนอักษรพม่าจะกระทำโดยการจารลงในใบลาน ตัวอักษรพม่าจึงมีลักษณะโค้งกลมเพื่อหลบร่องใบลาน อักษรพม่าเขียนจากซ้ายไปขวาเหมือนอักษรไทย และอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรพม่าประกอบด้วยพยัญชนะ และสระ โดยมีพยัญชนะ 33 ตัว ตั้งแต่ (กะ) ถึง (อะ) ซึ่งเสียงของพยัญชนะจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยสระที่เขียนเหนือ, ใต้, หรือข้าง ๆ พยัญชนะ เหมือนกับอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรพม่าใกล้เคียงกับอักษรมอญมาก แต่วิธีการออกเสียงเมื่อประสมสระต่างกัน ทั้งนี้เพราะความแตกต่างของทั้ง 2 ภาษา เช่นภาษาพม่ามีวรรณยุกต์แต่ภาษามอญไม่มี กล่าวกันว่าพม่ารับเอาอักษรมอญมาดัดแปลงเมื่อเข้าครอบครองอาณาจักรมอญโบราณ ในทำนองเดียวกันเมื่อพม่าเข้าครอบครองอาณาจักรไทใหญ่ ชาวไทใหญ่ได้นำอักษรพม่าบางตัวไปเขียนภาษาบาลีเพราะอักษรไทใหญ่มีไม่พอ.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรพม่า · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพราหมี

อักษรพราหมี อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) เป็นต้นกำเนิดของอักษรในอินเดียมากมาย รวมทั้งอักษรเขมรและอักษรทิเบตด้วย พบในอินเดียเมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพักส์-ปา

อกสารเขียนด้วยอักษรพักส์-ปา อักษรพักส์-ปา (Phags-pa alphabet) กุบไลข่านมอบหมายให้พระลามะจากทิเบตชื่อ มติธวจะ ศรีภัทร (1782 – 1823) ประดิษฐ์อักษรใหม่สำหรับภาษามองโกเลียขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรพักส์-ปา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกลาโกลิติก

อักษรกลาโกลิติก (Glagolitic alphabet) ประดิษฐ์เมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรกลาโกลิติก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกะยา

อักษรกะยา หรือ อักษรคยาห์ ได้รับอิทธพลจากอักษรพม่าและอักษรไทย แท บู แพ (Htae Bu Phae) เป็นผู้ประดิษฐ์ในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรกะยา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกันนาดา

ป้ายบอกทางเขียนด้วยอักษรกันนาดา อักษรกันนาดา หรือ อักษรกานนาดา ใช้เขียนภาษากันนาดาและภาษาอื่นๆเช่น ภาษาตูลู ในรัฐทางใต้ของอินเดีย ใกล้เคียงกับอักษรเตลุกุมาก พัฒนามาจากอักษรกทัมพะและอักษรจลุกยะที่พัฒนามาจากอักษรพราหมีของอินเดียโบราณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 -7 อีกต่อหนึ่ง อักษรกาทัมพาและอักษรจาลุกยา พัฒนามาเป็นอักษรกันนาดาโบราณ และเป็นอักษรกันนาดากับอักษรเตลุกุในที่สุด อิทธิพลจากมิชชันนารีชาวตะวันตกทำให้อักษรทั้ง 2 ชนิดมีการปรับมาตรฐานใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 -20 และใช้มาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรกันนาดา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรมองโกเลีย

อักษรมองโกเลีย (17px Mongγol bičig, ซีริลลิก: Монгол бичиг, Mongol bichig) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษามองโกเลีย เมื่อ..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรมันดาอิก

อักษรมันดาอิก แสดงการถอดรูปเป็นอักษรโรมัน(Trans.) และการออกเสียง(Pronun.) อักษรมันดาอิก พัฒนามาจากอักษรอราเมอิก ปรากฏครั้งแรกราว พ.ศ. 743 เขียนจากขวาไปซ้ายแนวนอน อักษรบางตัวเปลี่ยนรูปไปเมื่อรวมกับอักษรอีกตัวหนึ่ง.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรมันดาอิก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรมาลายาลัม

อักษรมาลายาลัม หรือ อักษรมาลายะลัม ใช้เขียนภาษามาลายาลัม ปรากฏครั้งแรกในจารึก อายุราว พ.ศ. 1373 พัฒนามาจากอักษรวัตเตศุถุ ซึ่งมาจากอักษรพราหมีอีกต่อหนึ่ง เนื่องจากรูปแบบของอักษรมาลายาลัมไม่เหมาะกับการพิมพ์ จึงมีการปรับรูปแบบให้ง่ายเข้าในช่วง..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรมาลายาลัม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรมณีปุระ

อักษรมณีปุระ (Manipuri alphabet), อักษรเมไตมาเยก (Meetei Mayek) หรือ อักษรไมไตมาเยก (Meitei Mayek) เป็นอักษรที่ใช้ในรัฐมณีปุระ ความเป็นมาไม่แน่นอน เนื่องจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ถูกเผาทำลายในสมัยกษัตริย์ปัมเฮยบา เมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรมณีปุระ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรยูการิติก

อักษรยูการิติก อักษรยูการิติก ตั้งชื่อตามนครรัฐยูการิตซึ่งใช้อักษรนี้ คาดว่าน่าจะประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 857 ปี ก่อนพุทธศักราช นครรัฐนี้ปรากฏขึ้นเมื่อ 857 ปี ก่อนพุทธศักราช ถูกทำลายลงเมื่อราว 637 – 627 ปี ก่อนพุทธศักราช การค้นพบนครรัฐนี้ เริ่มเมื่อ..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรยูการิติก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรูปลิ่ม

อักษรยูการิติก อักษรรูปลิ่มที่เป็นระบบพยัญชนะ อักษรรูปลิ่ม (Cuneiform script) เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ-พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน และอื่น ๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรรูปลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรูน

รึกอักษรฟูทาร์กใหม่บน Vaksala Runestone อักษรรูน หรือ อักษรรูนิก ในภาษาพื้นเมืองเรียกฟูทาร์ก ซึ่งหมายถึงตัวอักษร ข้อความ หรือจารึก ในภาษาเยอรมันเก่าหมายถึง ประหลาดหรือความลับ อักษรนี้มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของอักษรรูน ได้แก่ อักษรนี้ถูกออกแบบโดยอิสระ ไม่ขึ้นกับอักษรอื่น การเขียนเริ่มขึ้นในยุโรปใต้และถูกนำไปทางเหนือโดยเผ่าเยอรมัน เป็นแบบให้อักษรละตินและอักษรอีทรัสคัน จารึกอักษรรูนที่เก่าที่สุดพบราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรรูน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลาว

อักษรลาว เป็นชื่ออักษรที่รัฐบาลลาวรับรองให้ใช้เขียนภาษาลาว ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการในปัจจุบัน มีพัฒนาการมาจากอักษรลาวเดิม (หรือในอีกชื่อหนึ่ง คือ อักษรไทน้อย) ซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นในสมัยราชวงศ์ล้านช้าง เมื่อราว พ.ศ. 1900 โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรลาวโบราณสมัยรัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้มเป็นต้นมา ซึ่งที่มาจากอักษรมอญและอักษรเขมร (อักษรขอม) อีกต่อหนึ่ง ลักษณะการใช้งานยังคงมีระบบการเขียนคล้ายอักษรไทยโบราณ ที่ไม่ใช้แล้วในอักษรไทยปัจจุบัน เช่น การใช้ไม้กงแทนเสียงสระโอะเมื่อมีตัวสะกด หรือการใช้ตัวเชิงของอักษร ย แทนสระเอียเมื่อมีตัวสะกด เป็นต้น.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรลาว · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลิมบู

อักษรลิมบู หรือ กิรัต หรือ ศรีชนคะ อาจเป็นต้นแบบของอักษรเลปชาโดยผ่านทางอักษรทิเบตอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ศรีชนคะประดิษฐ์อักษรกิรัต-ศรีชนคะ เมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรลิมบู · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลิเชีย

อักษรลิเชีย (Lycian) พัฒนามาจากอักษรกรีกรูปโค้ง มีอักษรที่ประดิษฐ์เองเพียงไม่กี่ตัวหรืออาจจะยืมมาจากอักษรอื่น พบจารึกอักษรนี้ราว 180 ชิ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรลิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลิเดีย

อักษรลิเดีย (Lydian) พัฒนามาจากตัวเขียนของอักษรกรีก อักษรส่วนใหญ่มาจากอักษรกรีก มีสิบตัวที่ประดิษฐ์ใหม่สำหรับเสียงเฉพาะในภาษาลิเดีย การออกเสียงของอักษรบางตัวยังไม่ จารึกอักษรลิเดียราว 100 ชิ้น พบในช่วง..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรลิเดีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลนตารา

อักษรลนตารา หรือ อักษรมากาซาร์ (Lontara or Makasar alphabet) พัฒนามาจากอักษรพราหมี คำว่าลนตาราเป็นภาษามลายูหมายถึงชื่อของใบปาล์มลนตราที่ใช้เขียนหนังสือในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย ตรงกับใบลานในภาษาไทยใช้เขียน ภาษาบูกิส ภาษามากาซาร์ และภาษามันดาร์ ภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในเกาะซูลาเวซี ปัจจุบันใช้เขียนเฉพาะภาษามากาซาร.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรลนตารา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรศารทา

อักษรศารทา (शारदा Śāradā) พัฒนามาจากอักษรพราหมี จารึกอักษรศารทาเก่าสุดอายุราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรศารทา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรสิงหล

อักษรสิงหล พัฒนามาจากอักษรพราหมี เมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรสิงหล · ดูเพิ่มเติม »

อักษรสิเลฏินาครี

อักษรสิเลฏินาครี ใกล้เคียงกับอักษรไกถีของรัฐพิหาร จุดกำเนิดยังไม่แน่ชัด เริ่มพบครั้งแรกเมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรสิเลฏินาครี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาร์มีเนีย

อักษรอาร์มีเนียใช้เขียนภาษาอาร์มีเนีย เมสรอพ แมชทอทส์ เป็นผู้ประดิษฐ์ในช่วง พ.ศ. 947 - 949 ต้นแบบของอักษรอาร์มีเนียมีหลายชนิดเช่น อักษรปะห์ลาวี อักษรซีเรียค และอักษรฟินิเชีย ในระหว่าง..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอิตาลีโบราณ

อักษรอิตาลีโบราณ (Old Italic alphabets)พัฒนามาจากอักษรกรีกตะวันตกซึ่งเข้าสู่อิตาลีผ่านทางอาณานิคมของกรีซที่เกาะซิซิลี และตามชายฝั่งตะวันออกของอิตาลี ชาวอีทรัสคันปรับปรุงอักษรกรีกมาใช้เขียนภาษาอีทรัสคันเมื่อ ราว 57 ปีก่อนพุทธศักราช หรือก่อนหน้านั้น อักษรที่ใช้ในอิตาลีส่วนใหญ่มาจากอักษรอีทรัสคัน อักษรในกลุ่มนี้ได้แก.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรอิตาลีโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอึนโก

อักษรอึนโก (N'Ko alphabet) ประดิษฐ์โดย โซฮูเลไมต์ คานท์ แห่งกันกัน (Soulemayne Kante of Kankan) กีเนีย เมื่อ..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรอึนโก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอี๋

อักษรอี๋ (Yi Syllabary) ต้นกำเนิดของอักษรอี๋ไม่แน่นอน แต่อาจเป็นไปได้ว่าได้รับอิทธิพลจากอักษรจีน อักษรอี๋ที่เก่าที่สุดมีอายุราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรอี๋ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอเวสตะ

อักษรอเวสตะ (Avestan alphabet)ประดิษฐ์เมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรอเวสตะ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮันกึล

"ฮันกึล" จะเห็นว่าใน 1 คำ ประกอบด้วยพยัญชนะและสระ ภาพส่วนหนึ่งของเอกสาร "ฮูมิน จองอึม" ฮันกึล (한글, Hangeul, Hangul) เป็นชื่อเรียกตัวอักษรของเกาหลีที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นใช้แทนตัวอักษรฮันจา ฮันจานั้นหมายถึงตัวอักษรจีนที่ใช้ในภาษาเกาหลีก่อนที่จะมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้แทนโดยพระเจ้าเซจงมหาราช (세종대왕).

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรฮันกึล · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮานูโนโอ

อักษรฮานูโนโอ (Hanunó'o) หรืออักษรมังยัน ใช้ในฟิลิปปินส์เมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรฮานูโนโอ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮีบรู

อรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขียนโดย Elijah Levita อักษรฮีบรูเป็นอักษรตระกูลเซมิติกไร้สระชนิดหนึ่ง ใช้ในการเขียนงานในภาษาฮีบรู ในยุคแรกๆอักษรฮีบรูโบราณพัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ, เมม, นุน, ฟี และซาดดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยตัว อะเลฟ, วาว และโยด/ยุด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาต.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจอร์เจีย

อักษรจอร์เจีย เป็นอักษรที่ใช้ในภาษาจอร์เจีย ปรากฏครั้งแรก ราวพ.ศ. 973 ในจารึกที่พบที่โบสถ์ ในปาเลสไตน์ ขณะนั้น เขียนด้วยอักษรที่รู้จักกันในชื่อ Asomtavruli (อักษรตัวใหญ่) หรือ Mrglovani (อักษรตัวกลม) ซึ่งใช้ต่อมาจนถึงราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจาม

อักษรจาม อักษรจาม พัฒนามาจากอักษรพราหมี จารึกอักษรจามพบครั้งแรกราว พ.ศ. 1543.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรจาม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรธรรมล้านนา

ป้ายชื่อวัดหม้อคำตวง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เขียนด้วยอักษรธรรมล้านนา'''ถอดเป็นอักษรไทย:''' "วัดหฺมฺ้อฅำทฺวง์"'''คำอ่าน:''' "วัดหม้อคำตวง" อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง (210px อักขรธัมม์ล้านนา รฤ ตัวเมือง; ᦒᧄ, ธรรม, "คัมภีร์") หรือ อักษรยวน ภาษาไทยกลางในอดีตเรียกว่า ไทยเฉียง เป็นอักษรที่ใช้ในสามภาษา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ, ภาษาไทลื้อและภาษาเขิน นอกเหนือจากนี้ อักษรล้านนายังใช้กับลาวธรรม (หรือลาวเก่า) และภาษาถิ่นอื่นในคัมภีร์ใบลานพุทธและสมุดบันทึก อักษรนี้ยังเรียก อักษรธรรมหรืออักษรยวน ภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นภาษาใกล้ชิดกับภาษาไทยและเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาเชียงแสน มีผู้พูดเกือบ 6,000,000 คนในภาคเหนือของประเทศไทย และหลายพันคนในประเทศลาว ซึ่งมีจำนวนน้อยที่รู้อักษรล้านนา อักษรนี้ยังใช้อยู่ในพระสงฆ์อายุมาก ภาษาไทยถิ่นเหนือมีหกวรรณยุกต์ ขณะที่ภาษาไทยมีห้าวรรณยุกต์ ทำให้การถอดเสียงเป็นอักษรไทยมีปัญหา มีความสนใจในอักษรล้านนาขึ้นมาอีกบ้างในหมู่คนหนุ่มสาว แต่ความยุ่งยากเพิ่มขึ้น คือ แบบภาษาพูดสมัยใหม่ ที่เรียก คำเมือง ออกเสียงต่างจากแบบเก.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรธรรมล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรทมิฬ

'''ตัวอย่างของตลกาปปิยัมเขียนด้วยอักษรทมิฬ''' อักษรทมิฬ พัฒนามาจากอักษรพราหมีของอินเดียโบราณ จารึกอักษรทมิฬเก่าสุดมีอายุราว พ.ศ. 43 วรรณคดีภาษาทมิฬ เก่าสุด คือ ตลกาปปิยัม (Tolkāppiyam) แต่งขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 343.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรทานะ

อักษรทานะ (ތާނަ) ใช้เขียนภาษามัลดีฟส์ เริ่มใช้ในเอกสารราชการของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ตั้งแต่ พ.ศ. 2246 โดยใช้แทนอักษรเดิมคืออักษรดิเวส อกุร.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรทานะ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรทิฟินาค

อักษรทิฟินาค (ⵜⵉⴼⵉⵏⴰⵖ, Tifinaɣ Tifinagh) พัฒนามาจากอักษรเบอร์เบอร์โบราณ คำว่า “ทิฟินาค” หมายถึงอักษรฟินิเชีย หรืออาจมาจากภาษากรีก “pínaks” หมายถึง การเขียนป้าย อักษรนี้ใช้ในการเขียนบันทึกส่วนตัว จดหมายและการประดับตกแต่ง ส่วนเอกสารในระดับสาธารณะใช้อักษรอาหรับ นักเรียนระดับประถมศึกษาในโมร็อกโกต้องเรียนภาษาทามาไซต์ด้วยอักษรชนิดนี้ตั้งแต่ เดือนกันยายน..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรทิฟินาค · ดูเพิ่มเติม »

อักษรทิเบต

ระอักษรทิเบต ในช่วง..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

อักษรขโรษฐี

อักษรขโรษฐี (Kharoṣṭhī alphabet) ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 2,487 ปีก่อนพุทธศักราช อาจจะมาจากอักษรอราเมอิก ใช้กันอย่างกว้างขวางทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และเอเชียกลาง สมัยเดียวกับอักษรพราหมี อักษรนี้ใช้มาจนถึงราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรขโรษฐี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรคอปติก

ตัวอักษรคอปติกเขียนในแบบโบไฮริก อักษรคอปติก (Coptic alphabet) เป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรกรีก โดยเพิ่มอักษรพิเศษสำหรับเสียงที่ไม่มีในภาษากรีก รูปที่เพิ่มนำมาจากอักษรอียิปต์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เริ่มปรากฏเมื่อ..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรคอปติก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรคาเรีย

อักษรคาเรีย (Carian) พบจารึกราว 100 ชิ้น ในเขตของชาวคาเรียในอียิปต์ พบอักษรนี้บนแผ่นดินเหนียว เหรียญ และจารึกตามอนุสาวรีย์ด้วย อาจจะมาจากอักษรฟินิเชีย การถอดความอักษรคาเรียเริ่มเมื่อ..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรคาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรคุชราต

อักษรคุชราต พัฒนามาจากอักษรเทวนาครี เพื่อใช้เขียนภาษาคุชราต เอกสารเก่าสุดพบเมื่อ พ.ศ. 2135 และเอกสารพิมพ์เก่าสุด พบเมื่อ พ.ศ. 2340 กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 อักษรคุชราต ใช้ในการเขียนจดหมายและบันทึกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนอักษรเทวนาครีใช้ในวรรณคดีและงานทางวิชาการ ใช้เขียนภาษาคุชราตและภาษากัจฉิ (Kachchi) ในประเทศอินเดี.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

อักษรคุรมุขี

อักษรคุรมุขี หรือ อักษรกูร์มูคี หรือ อักษรเกอร์มุกห์ เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาปัญจาบ ประดิษฐ์โดยคุรุนานักเทพ คุรุคนแรกของศาสนาซิกข์ และเผยแพร่โดยคุรุอังกัตเทพ คุรุคนที่ 2 เมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรคุรมุขี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรตักบันวา

อักษรตักบันวา ใช้ในฟิลิปปินส์เมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรตักบันวา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีรีแอก

หนังสือเขียนด้วยอักษรซีรีแอก อักษรซีรีแอก (Syriac script) เป็นอักษรที่ใช้ในวรรณคดีทางศาสนาของชาวคริสต์ในซีเรีย ราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรซีรีแอก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรโอริยา

อักษรโอริยา (Oriya alphabet) พัฒนามาจากอักษรกลิงคะที่มาจากอักษรพราหมีอีกทอดหนึ่ง พบจารึกภาษาโอริยาครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรโอริยา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรโอคัม

อักษรโอคัมหรืออักษรออกฮัม ตั้งชื่อตามเทพเจ้าของไอริช จารึกอักษรออกฮัมราว 500 ชิ้น พบในไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ เวลส์ และอังกฤษ อายุอยู่ในช่วง..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรโอคัม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไบบายิน

อักษรไบบายิน (Baybayin alphabet) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาตากาล็อกและภาษาอีโลกาโน ได้ต้นแบบมาจากอักษรกวิ คาดว่าเริ่มใช้เมื่อราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรไบบายิน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไลเนียร์บี

อักษรไลเนียร์บีเป็นอักษรโบราณชนิดหนึ่งที่พบในประเทศกรีซและบริเวณใกล้เคียง มมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรไลเนียร์เอ.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรไลเนียร์บี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไว

ใน..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรไว · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทลื้อ

อักษรไทลื้อ เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทลื้อ มี 2 แ.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรไทลื้อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทใต้คง

อักษรไทใต้คง (Dehong Dai, Tai Dehong), อักษรไทเหนือ (Tai Nüa) หรือ อักษรไตเหลอ (Tai Le) พัฒนามาจากอักษรไทโบราณ ซึ่งมาจากอักษรที่เรียกไป่ยี่ มีกำเนิดตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด โดยหลักฐานจากอาหมบุราณจีระบุว่ามีมาก่อน..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรไทใต้คง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทเวียด

อักษรไทเวียด (Tai Viet) ต้นกำเนิดยังไม่ทราบแน่ชัด พยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุด คือเสียงสูงและเสียงต่ำ มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ 2 ตัว ใช้กำหนดเสียง 6 เสียง รูปพยัญชนะที่เป็นตัวสะกด แม่เกอว เกย กม กน และ กง ใช้รูปอักษรเสียงต่ำ ส่วนแม่ กกใช้รูปอักษรเสียงสูง ไม่มีรูปแบบการเรียงพยัญชนะที่แน่นอน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรไทเวียด · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไซปรัส

อักษรไซปรัส คาดว่าพัฒนามาจากอักษรไลเนียร์เอ ซึ่งยังไม่ทราบต้นกำเนิดที่แน่นอน ใช้ในช่วง 257 ปีก่อนพุทธศักราช -..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรไซปรัส · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเบรลล์

ตัวอย่างอักษรเบรลล์ คำว่า Premier อักษรเบรลล์ (Braille) เป็นอักษรสำหรับคนตาบอด ประดิษฐ์โดย หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ครูตาบอดชาวฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นจุดนูนเล็กๆ ใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6 ตำแหน่ง ซึ่งนำมาจัดสลับกันไปมาเป็นรหัสแทนอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน้ตดนตรี ฯลฯ การเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลต (Slate) และดินสอ (Stylus) การพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเลอร์ (Brailler) ใช้กระดาษหนาขนาดกระดาษวาดรูป.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรเบรลล์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเชอโรกี

อักษรเชอโรกี ประดิษฐ์โดยซีโควยาแห่งเผ่าเชอโรกี เมื่อ พ.ศ. 2362 เขาอ้างว่าเขาเป็นผู้รอดชีวิตคนสุดท้ายของตระกูลและอักษรนี้ประดิษฐ์โดยคนในตระกูลมานานแล้ว พ.ศ. 2363 ชาวเชอโรกีเริ่มเรียนอักษรนี้ แล..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรเชอโรกี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเบงกาลี

อักษรเบงกาลี หรือ อักษรเบงกอล ใช้เขียนภาษาเบงกาลีและภาษาอัสสัม พัฒนามาจากอักษรพราหมีและจัดว่าใกล้เคียงกับอักษรเทวนาครี ปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 11 รูปแบบที่ใช้ในการพิมพ์ เริ่มใช้ใน พ.ศ. 2321เมื่อ ชาร์ล วิลกินส์ คิดค้นระบบการพิมพ์ด้วยอักษรเบงกาลี มีการปรับปรุงเล็กน้อยใน คริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรเบงกาลี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเรชัง

อักษรเรชัง (Rejang, บางครั้งอาจสะกดเป็น Redjang) พัฒนามาจากอักษรพราหมี โดยผ่านทางอักษรปัลวะ หรืออักษรกวิ นักภาษาศาสตร์บางคนเชื่อว่า มีความต่อเนื่องระหว่าง อักษรเรชัง ไฮโรกลิฟฟิคของอียิปต์ และอักษรตระกูลเซมิติก เช่น อักษรฮีบรู.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรเรชัง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเลปชา

319px อักษรเลปชา (Lepcha or Róng script) ประดิษฐ์โดยทิดูง เมน ซาลอง ในราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรเลปชา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเอธิโอเปีย

อักษรเอธิโอเปีย อักษรเอธิโอเปีย หรือ อักษรกีเอส (Ge'ez) พัฒนามาจากอักษรซาบาเอียน จารึกอักษรนี้ พบครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเขมร

ตัวอย่างอักษรเขมรสองแบบ อักษรเขมร (អក្សរខ្មែរ)​ ​คือรูปอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรหลังปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1200-1400) ซึ่งเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1100-1200) อีกต่อหนึ่ง อักษรปัลลวะนี้ เป็นอักษรที่มาจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งเป็นชุดอักษรที่มีกำเนิดมาจากอักษรพราหมี ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พุทธศตวรรษที่ 3) จารึกอักษรเขมรเก่าสุด พบที่ปราสาทโบเร็.ตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ อายุราว..

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรเขมร · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเตลูกู

การแพร่กระจายของอักษรจากอินเดียรวมทั้ง'''อักษรเตลูกู''' อักษรเตลูกู ใช้เขียนภาษาเตลูกู ในรัฐทางใต้ของอินเดีย พัฒนามาจากอักษรพราหมีของอินเดียโบราณ ใกล้เคียงกับอักษรกันนาดามาก จารึกเก่าสุดพบในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และกวีนิพนธ์ภาษาเตลูกู เริ่มปรากฏใน คริสต์ศตวรรษที่ 11 รูปแบบโบราณของอักษรเตลูกู ต่างจากที่ใช้ในทุกวันนี้และใช้มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนจะมีการปรับปรุงใหม่และใช้มาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอักษรเตลูกู · ดูเพิ่มเติม »

อี้จิง

อี้จิง อี้จิง คือวิชาที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง จากมีเป็นไม่มี ไม่มีเป็นมี บวกกลายเป็นลบ ลบกลายเป็นบวก จึงมีการแทนสิ่งเหล่านี้ด้วยเส้นเต็มและเส้นขาดสองแบบ เมื่อนำมารวมกันหกเส้นหรือฉักลักษณ์ (ฉักก.

ใหม่!!: ยูนิโคดและอี้จิง · ดูเพิ่มเติม »

องค์การไม่แสวงหาผลกำไร

องค์การไม่แสวงหาผลกำไร (nonprofit organisation หรือย่อว่า NPO) เป็นชื่อเรียกองค์การที่มีจุดมุ่งหมายสนับสนุนกลุ่มที่มีความคิดเห็นพ้องกัน โดยเนื้อหาจะแตกต่างตั้งแต่ ศิลปะ การกุศล การศึกษา การเมือง ศาสนา งานวิจัย และจุดมุ่งหมายในด้านอื่น ๆ โดยการทำงานทั้งหมดไม่มีจุดประสงค์ในเชิงพาณิชย์ ไม่หาผลประโยชน์เข้าสู่องค์การ แต่มีรายได้จากค่าลงทะเบียน ค่าบำรุงจากสมาชิก หรือเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้มาจากการบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา หมวดหมู่:อภิธานศัพท์โทรทัศน์.

ใหม่!!: ยูนิโคดและองค์การไม่แสวงหาผลกำไร · ดูเพิ่มเติม »

ฮิระงะนะ

รางานะ คือ อักษรในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของอักษรญี่ปุ่นที่ใช้ในปัจจุบันควบคู่กับคาตากานะและคันจิ ฮิรางานะและคาตากานะเป็นระบบคานะที่ตัวอักษรหนึ่งตัวแสดงถึงหนึ่งเสียง ในแต่ละ "คานะ" สามารถเป็นได้ทั้งในรูปสระและตัวสะก.

ใหม่!!: ยูนิโคดและฮิระงะนะ · ดูเพิ่มเติม »

จู้อิน

ู้อินพื้นฐาน เทียบกับพินอิน จู้อิน หรือ จู้อินฝูเฮ่า (แปลว่า เครื่องหมายกำกับเสียง) เป็นระบบสัทอักษรสำหรับการถอดเสียงในภาษาจีน โดยเฉพาะภาษาจีนกลาง เป็นระบบกึ่งพยางค์ที่มีใช้อย่างกว้างขวางในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประกอบด้วยอักษร 37 ตัวและวรรณยุกต์ 4 ตัว ซึ่งเพียงพอที่จะใช้ถอดเสียงที่เป็นไปได้ในภาษาจีนกลาง ถึงแม้ว่าจู้อินจะถูกจัดว่าเป็นชุดตัวอักษร (alphabet) อย่างหนึ่ง ระบบนี้ก็ไม่ได้ประกอบด้วยพยัญชนะกับสระ แต่ประกอบด้วยต้นพยางค์ (syllable onset) กับสัมผัสพยางค์ (syllable rime) ระบบนี้มีพื้นฐานจากตารางสัมผัส (rime table) ของภาษาจีน แต่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritics) แทนเสียงวรรณยุกต์แยกออกจากเสียงสัมผัส ในฐานะชุดตัวอักษร พยัญชนะต้นพยางค์มีอักษรใช้แทน 21 ตัว ที่เหลือเป็นสระเดี่ยว สระประสม และสระที่มีพยัญชนะสะกดซึ่งใช้อักษรแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น luan จะเขียนเป็น ㄌㄨㄢ (l-u-an) ซึ่งอักษรตัวสุดท้ายใช้แทนสระที่มีพยัญชนะสะกด -an ทั้งชุด เป็นต้น (อย่างไรก็ตาม พยัญชนะสะกด -p, -t, -k ไม่มีการใช้ในภาษาจีนกลาง แต่มีในสำเนียงอื่น สามารถเขียนเป็นตัวห้อยของพยัญชนะเหล่านี้หลังเสียงสระแทน) ในภาษาพูดทุกวันนี้ จู้อินมักถูกเรียกว่า ปอพอมอฟอ (ㄅㄆㄇㄈ: bopomofo) ซึ่งเป็นอักษรชุดแรกในระบบนี้ เอกสารอย่างเป็นทางการในบางโอกาสจะเรียกว่า Mandarin Phonetic Symbols I (國語注音符號第一式) หรือย่อเป็น MPS I (注音一式) ซึ่งชื่อนี้ไม่ค่อยปรากฏการใช้ในภาษาอื่น เลขโรมันที่ปรากฏหลังชื่อมีไว้เพื่อแยกแยะออกจากระบบ MPS II ที่คิดค้นขึ้นในยุคเดียวกันแต่ไม่มีการใช้งานแล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและจู้อิน · ดูเพิ่มเติม »

ข้อความธรรมดา

ตัวอย่างข้อความธรรมดา ข้อความธรรมดา หรือ เพลนเท็กซ์ (plain text) ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อความปกติทั่วไปที่ไม่มีการจัดรูปแบบใด ๆ เช่น "ข้อความตัวหนาและตัวเอียง ในลักษณะนี้เรียกว่าข้อความธรรมดา" ส่วนข้อความต่อไปนี้เรียกว่า ข้อความจัดรูปแบบ เช่น "ข้อความตัวหนาและตัวเอียง ในลักษณะนี้ไม่เรียกว่าข้อความธรรมดา" ข้อความธรรมดาในทางคอมพิวเตอร์สามารถหมายถึง ไฟล์ที่มีเนื้อหาเป็นข้อความที่ไม่ได้จัดรูปแบบใด ๆ เป็นข้อมูลที่มนุษย์สามารถอ่านออก ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในไฟล์จะอยู่รูปของรหัสแอสกีหรือรหัสข้อความอื่น ๆ ข้อความธรรมดายังหมายถึงไฟล์ข้อมูลที่สามารถใช้โปรแกรมแก้ไขข้อความทั่ว ๆ ไป เช่น Notepad (สำหรับ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์), edlin (สำหรับ ไมโครซอฟท์ ดอส), ed, vi, Emacs, pico, nano (สำหรับ ยูนิกซ์, ลีนุกซ์), SimpleText (สำหรับ แมคโอเอส) เป็นต้น ในการแก้ไขข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เพิ่มตัวอักษร ลบตัวอักษร หรือแก้ไขตัวอักษร และทำการจัดเก็บไฟล์นั้นได้ หมวดหมู่:รูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: ยูนิโคดและข้อความธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก

ปัตยกรรมของดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก 3.0 ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก (.NET Framework) คือแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์สร้างขึ้นโดยไมโครซอฟท์ โดยรองรับภาษาดอตเน็ตมากกว่า 40 ภาษา ซึ่งมีไลบรารีเป็นจำนวนมากสำหรับการเขียนโปรแกรม รวมถึงบริหารการดำเนินการของโปรแกรมบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยไลบรารีนั้นได้รวมถึงส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ การเชื่อมต่อฐานข้อมูล วิทยาการเข้ารหัสลับ ขั้นตอนวิธี การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน โปรแกรมที่เขียนบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก จะทำงานบนสภาพแวดล้อมที่บริหารโดย Common Language Runtime (CLR) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดย CLR นั้นเตรียมสภาพแวดล้อมเสมือน ทำให้ผู้พัฒนาไม่ต้องคำนึงถึงความสามารถที่แตกต่างระหว่างหน่วยประมวลผลต่างๆ และ CLR ยังให้บริการด้านกลไกระบบความปลอดภัย การบริหารหน่วยความจำ และException handling ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นออกแบบมาเพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นยังได้เป็นส่วนประกอบในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 และวินโดวส์วิสตา ซึ่งรุ่นแรกได้ออกในปีพ.ศ. 2545 รุ่นที่สองได้ออกในปีพ.ศ. 2548 ซึ่งตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่นสองนั้นได้รองรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์เกือบทุกรุ่น และรุ่นที่สาม ซึ่งเป็นรุ่นปัจจุบันได้ออกวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยได้รองรับวินโดวส์เอกซ์พี SP2 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 SP1 และวินโดวส์วิสต.

ใหม่!!: ยูนิโคดและดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์

อบีเอ็ม โรดรันเนอร์ - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกผลิตโดยไอบีเอ็มและสถาบันวิจัยแห่งชาติลอสอะลาโมส (2551) http://www.cnn.com/2008/TECH/06/09/fastest.computer.ap/ Government unveils world's fastest computer จากซีเอ็นเอ็น คอมพิวเตอร์ (computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม.

ใหม่!!: ยูนิโคดและคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คะตะกะนะ

ตากานะ เป็นตัวอักษรสำหรับแทนเสียงในภาษาญี่ปุ่นประเภทหนึ่ง คาตากานะได้รับการนำไปเขียนภาษาไอนุซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยอยู่ทางภาคเหนือของเกาะฮกไก.

ใหม่!!: ยูนิโคดและคะตะกะนะ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แ.

ใหม่!!: ยูนิโคดและซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: ยูนิโคดและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

แมคโอเอส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ยูนิโคดและแมคโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

แอสกี

ตัวอย่างอักขระแอสกี จากรหัส 32 ถึง 126 แอสกี้(ASCII) หรือ รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (ASCII: American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น.

ใหม่!!: ยูนิโคดและแอสกี · ดูเพิ่มเติม »

แผนที่

231x231px แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: ยูนิโคดและแผนที่ · ดูเพิ่มเติม »

ไบต์

ต์ (byte) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ ซึ่งหน่วยประมวลผลกลาง จะทำการประมวลผลกับเวิร์ดได้สะดวกที่สุด ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น นิยมวัดเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) เมกะไบต์ (Megabyte) จิกะไบต์ (Gigabyte) และเทระไบต์ (Terabyte) ซึ่งแต่ละหน่วยวัดมีค่าตัวคูณต่างกัน 1,024 หรือ 210 หน่วย แต่มนุษย์จะประมาณค่าตัวคูณไว้ที่ 1,000 หน่วยเพื่อความสะดวกในการคำนวณ หน่วยวัดแต่ละหน่วยสามารถสรุปได้ดังนี้ นอกจากนี้ยังมี เพตะไบต์ (Petabyte) เอกซะไบต์ (Exabyte) เซตตะไบต์ (Zettabyte) และยอตตะไบต์ (Yottabyte) ซึ่งมีค่าตัวคูณ 1,024 หน่วยถัดจากเทระไบต์เป็นต้นไป แต่ยังไม่มีสื่อบันทึกข้อมูลใดสามารถเก็บข้อมูลได้มากขนาดนั้นในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ เพื่อลดความสับสนระหว่างค่าตัวคูณ 1,024 (210) หน่วยและ 1,000 (103) หน่วย ทาง SI จึงได้มีหน่วยสำหรับฐาน 2 แยกออกมา เช่นจากกิโลไบต์ เป็น กิบิไบต์แทน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไพ่ป๊อก

ป๊อก หรือเรียกกันทั่วไปว่า ไพ่ ทำจากแผ่นพลาสติกหรือกระดาษแข็งขนาดประมาณฝ่ามือใช้เพื่อการเล่นเกมไพ่ มีรูปร่างและจำนวนหน้าหรือใบแตกต่างกันไปตามชนิดของไพ่ แต่ชนิดหรือแบบที่นิยมมากที่สุด หน้าไพ่แบบชาติตะวันตก คือไพ่หนึ่งสำรับจะมีจำนวน 52 ใบ ประกอบด้วยไพ่ 4 ชุด ชุดละ 13 ใบ แต่ละชุดจะมีสัญลักษณ์ได้แก่ โพดำ โพแดง ข้าวหลามตัด และดอกจิก ในชุด 13 ใบประกอบด้วยตัวเลข 2 ถึง 10 และมี J (jack) Q (queen คนไทยนิยมเรียกว่า แหม่ม) K (king) A (ace) ในการเล่นบางชนิดอาจต้องใช้โจ๊กเกอร์ (joker) ด้วย ซึ่งมีสองใบคือสีดำกับสีแดง (หรือโจ๊กเกอร์ดำกับโจ๊กเกอร์สี) นอกจากไพ่จะใช้ในการเล่นเกมไพ่แล้ว บางครั้งไพ่มักถูกนำไปใช้เป็นอุปกรณ์ในการเล่นมายากล หรือใช้ในการดูดวง และในหลายๆครั้งก็ถูกนำไปใช้ในการเล่นการพนันอีกด้วย ไพ่หนึ่งสำรับ มี 52 ใ.

ใหม่!!: ยูนิโคดและไพ่ป๊อก · ดูเพิ่มเติม »

ไพ่นกกระจอก

นกกระจอก (จีนตัวเต็ม: 麻將; จีนตัวย่อ: 麻将; พินอิน: má jiàng; หรือ จีนกวางตุ้ง: 麻雀; พินอิน: má què; แต้จิ๋ว: เหมาะเจี๊ยะ; ฮกเกี้ยน: มัวเจียง; อังกฤษ Mahjong) ถือว่าเป็นการพนันชนิดหนึ่งซึ่งคนจีนเป็นผู้เผยแพร่ แต่สำหรับที่ประเทศจีนนั้นเขามีการสนับสนุนให้มีการเล่นนี้ เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ได้วางไว้ โดยห้ามเล่นเกินเที่ยงคืน ร่องรอยประวัติศาสตร์ของไพ่นกกระจอกสามารถพิสูจน์ได้ครึ่งหลัง ปี..1890 ใน ดินแดน Ning Po ประเทศจีน ไพ่นกกระจอกได้แพร่หลายไปทั่วจีน ซึ่งแต่ละพื้นเมืองของจีนก็มีการประยุกต์เกมกันไปต่างก็มีกฎเป็นตัวของตัวเองแตกต่างกัน หลังสงครามโลก โจเซฟ บาบคอก (Joseph Babcock) แพทย์ฝึกหัดชาวอเมริกาในเซี่ยงไฮ้ ได้จัดพิมพ์คู่มือเล่นไพ่นกกระจอกตามคำแนะนำของ Walker วิศวกรชาวอังกฤษ ว่าให้เพิ่มตัวเลขอารบิกลงไปบนตัวหมากซึ่งทำให้จำแนกตัวหมากได้และง่ายต่อการเล่น.

ใหม่!!: ยูนิโคดและไพ่นกกระจอก · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ใหม่!!: ยูนิโคดและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

ออโรกลีฟอียิปต์ (Egyptian hieroglyphs) เป็นระบบการเขียนที่ชาวอียิปต์โบราณใช้อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยอักษร (alphabet) และสัญรูป (logograph) อักขระในระบบไฮเออโรกลีฟอียิปต์นี้ยังสัมพันธ์กับอักขระอียิปต์อีก 2 ชุด คือ อักขระไฮเออแรติก (hieratic) และอักขระดีมอติก (demotic) ไฮเออโรกลีฟอียิปต์แบบหวัดนั้นมักใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนาลงบนแผ่นไม้และแผ่นพาไพรัส ไฮเออโรกลีฟอียิปต์ยุคแรกย้อนหลังไปได้ไกลถึง 3,300 ปีก่อน..

ใหม่!!: ยูนิโคดและไฮเออโรกลีฟอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

ร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชั่น (Berkeley Software Distribution -BSD; Berkeley Unix) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มต้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 ชื่อบีเอสดียังคงมีอยู่ในระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากดิสทริบิวชั่นนี้ เช่น FreeBSD, NetBSD, และ OpenBSD เป็นต้น บีเอสดีจัดว่าเป็นยูนิกซ์ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชันในยุคนั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสัญญาอนุญาตใช้งานของบีเอสดีนั้นไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทอื่น ๆ นำเทคโนโลยีไปพัฒนาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 80 จนสร้างความคุ้นเคยในวงกว้าง ถึงแม้ว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 90 บีเอสดีจะถูกแทนที่ด้วย System V รีลีส 4.x และ OSF/1 แต่ในระยะหลังนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้ซอร์สโค้ดที่เปิดเผยของบีเอสดีเป็นแกนหลัก.

ใหม่!!: ยูนิโคดและเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอ็มแอล

อกซ์เอ็มแอล (XML: Extensible Markup Language ภาษามาร์กอัปขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน (เช่นใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน) นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต XML ยังเป็นภาษาพื้นฐานให้กับภาษาอื่นๆ อีกด้วย (ยกตัวอย่างเช่น Geography Markup Language (GML), RDF/XML, RSS, MathML, Physical Markup Language (PML), XHTML, SVG, MusicXML และ cXML) ซึ่งอนุญาตให้โปรแกรมแก้ไขและทำงานกับเอกสารโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษานั้นมาก่อน.

ใหม่!!: ยูนิโคดและเอกซ์เอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

TIS-620

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 620-2533, มอก.620-2533, หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า TIS-620 เป็นชุดอักขระมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย มีชื่อเต็มว่า รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ รหัส TIS-620 มีรายละเอียดคล้ายรหัส ISO-8859-11 มาก แตกต่างกันแค่เพียงที่ ISO-8859-11 กำหนดให้ A0 เป็น "เว้นวรรคแบบไม่ตัดคำ" (no-break space) ส่วน TIS-620 นั้นแม้จะสงวนตำแหน่ง A0 เอาไว้ แต่ก็ไม่ได้กำหนดค่าใด ๆ ให้ TIS-620 x0x1x2x3x4x5x6x7x8x9xAxBxCxDxExF 0xไม่ได้ใช้ 1x 2xSP!"#$%&'()*+,-./ 3x0123456789:;<.

ใหม่!!: ยูนิโคดและTIS-620 · ดูเพิ่มเติม »

UTF-16/UCS-2

16 bit Unicode Transformation Format (UTF-16) เป็นการเข้ารหัสตัวอักษรสำหรับยูนิโคดในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถเข้ารหัสตัวอักษรในยูนิโคดได้ทั้งหมด โดยปกติแล้วแล้วหนึ่งตัวอักษรมีขนาด 16 บิตหรือ 2 ไบต์ ขึ้นอยู่กับวิธีการเข้ารหัสของเครื่อง.

ใหม่!!: ยูนิโคดและUTF-16/UCS-2 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Unicodeยูนิโค้ดยูนืโคดรหัสยูนิโคดรหัสยูนิโค้ด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »