โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยูนิโคดและไมโครซอฟท์ วินโดวส์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยูนิโคดและไมโครซอฟท์ วินโดวส์

ยูนิโคด vs. ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2). มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยูนิโคดและไมโครซอฟท์ วินโดวส์

ยูนิโคดและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 2000วินโดวส์เอกซ์พีวินโดวส์เอ็นที

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ยูนิโคดและระบบปฏิบัติการ · ระบบปฏิบัติการและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์ 2000

วินโดวส์ 2000 (Windows 2000) เป็นระบบปฏิบัติการมาจากสายผลิตภัณฑ์วินโดวส์เอ็นทีโดยออกแบบสำหรับธุรกิจ ซึ่งเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์เอ็นที 4.0 ซึ่งได้ออกในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) จากนั้นวินโดวส์เอกซ์พี ได้รับช่วงต่อในปี พ.ศ. 2544 และวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ในปี พ.ศ. 2546 วินโดวส์ 2000 ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้.

ยูนิโคดและวินโดวส์ 2000 · วินโดวส์ 2000และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์เอกซ์พี

มโครซอฟท์ วินโดวส์เอกซ์พี (Microsoft Windows XP, ชื่อรหัส: Whistler) เป็นระบบปฏิบัติการที่ไมโครซอฟท์ได้ผลิตออกมาในปี พ.ศ. 2544 โดย XP นั้นคือตัวอักษรที่ย่อมาจาก Experience (เอกซ์พีเรียนซ์) ซึ่งมีความหมายว่า ประสบการณ์ ความรู้ที่มีโดยประสบการณ์ ปัจจุบัน วินโดวส์เอกซ์พีได้สิ้นสุดการสนับสนุนแล้วเมื่อวันที่8 เมษายน พ.ศ. 2557.

ยูนิโคดและวินโดวส์เอกซ์พี · วินโดวส์เอกซ์พีและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์เอ็นที

วินโดวส์เอ็นที (Windows NT) เป็นกลุ่มสายผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการพัฒนาโดยไมโครซอฟท์ ซึ่งรุ่นแรกออกเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2536 (ค.ศ. 1993) โดยแรกเริ่มได้ออกแบบให้มีสมรรภาพสูง ไม่ขึ้นอยู่กับหน่วยประมวลผล และรองรับหลายหน่วยประมวลผล หลายผู้ใช้พร้อมๆกัน วินโดวส์เอ็นทียังเป็นรุ่นแรกที่เป็น 32-บิตเต็มตัว ซึ่งวินโดวส์ 10 และ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2016 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดที่ใช้ฐานเอ็นที แม้ว่าปัจจุบันนี้ไม่ใช่ชื่อเอ็นทีแล้วก็ตาม.

ยูนิโคดและวินโดวส์เอ็นที · วินโดวส์เอ็นทีและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยูนิโคดและไมโครซอฟท์ วินโดวส์

ยูนิโคด มี 109 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ มี 76 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 2.16% = 4 / (109 + 76)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยูนิโคดและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »