โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรเตลูกู

ดัชนี อักษรเตลูกู

การแพร่กระจายของอักษรจากอินเดียรวมทั้ง'''อักษรเตลูกู''' อักษรเตลูกู ใช้เขียนภาษาเตลูกู ในรัฐทางใต้ของอินเดีย พัฒนามาจากอักษรพราหมีของอินเดียโบราณ ใกล้เคียงกับอักษรกันนาดามาก จารึกเก่าสุดพบในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และกวีนิพนธ์ภาษาเตลูกู เริ่มปรากฏใน คริสต์ศตวรรษที่ 11 รูปแบบโบราณของอักษรเตลูกู ต่างจากที่ใช้ในทุกวันนี้และใช้มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนจะมีการปรับปรุงใหม่และใช้มาจนปัจจุบัน.

17 ความสัมพันธ์: ภาษาบาลีภาษาสันสกฤตภาษาเตลูกูวินโดวส์เอกซ์พีสระ (สัทศาสตร์)อักษรฟินิเชียอักษรพราหมีอักษรกันนาดาอักษรละตินอักษรสระประกอบอักษรแอราเมอิกคริสต์ศตวรรษที่ 11คริสต์ศตวรรษที่ 20คริสต์ศตวรรษที่ 6ประเทศอินเดียโปรแกรมไทป์เฟซ

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตลูกู

ษาเตลูกู (Telugu తెలుగు) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน แต่มีอิทธิพลพอสมควรจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันภายใต้ตระกูล อินโด-ยุโรเปียนและเป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ของอินเดีย ภาษาเตลูกูเป็นตระกูลภาษาดราวิเดียนที่มีผู้พูดมากที่สุด เป็นภาษาที่พูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาราชการของอินเดีย เขียนด้วยอักษรเตลูกู ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและภาษาเตลูกู · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์เอกซ์พี

มโครซอฟท์ วินโดวส์เอกซ์พี (Microsoft Windows XP, ชื่อรหัส: Whistler) เป็นระบบปฏิบัติการที่ไมโครซอฟท์ได้ผลิตออกมาในปี พ.ศ. 2544 โดย XP นั้นคือตัวอักษรที่ย่อมาจาก Experience (เอกซ์พีเรียนซ์) ซึ่งมีความหมายว่า ประสบการณ์ ความรู้ที่มีโดยประสบการณ์ ปัจจุบัน วินโดวส์เอกซ์พีได้สิ้นสุดการสนับสนุนแล้วเมื่อวันที่8 เมษายน พ.ศ. 2557.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและวินโดวส์เอกซ์พี · ดูเพิ่มเติม »

สระ (สัทศาสตร์)

ในทางสัทศาสตร์ สระ (สะ-หฺระ) หมายถึงเสียงในภาษาที่เปล่งออกมาจากช่องเสียง (vocal tract) ที่เปิดออกโดยตรงจากช่องเส้นเสียง (glottis) โดยไม่กักอากาศ ตัวอย่างเช่น "อา" หรือ "โอ" (โดยไม่กักอากาศด้วยอักษร อ) ตรงข้ามกับพยัญชนะซึ่งมีการกักอากาศอย่างน้อยหนึ่งจุดภายในช่องเสียง เสียงสระสามารถจัดได้ว่าเป็นพยางค์ ส่วนเสียงเปิดที่เทียบเท่ากันแต่ไม่สามารถเปล่งออกมาเป็นพยางค์ได้เรียกว่า กึ่งสระ (semivowel) เสียงสระเป็นแกนพยางค์ (syllable nucleus) ในทุกภาษา ซึ่งเสียงพยัญชนะจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเสียงสระเสมอ อย่างไรก็ตามในบางภาษาอนุญาตให้เสียงอื่นเป็นแกนพยางค์ เช่นคำในภาษาอังกฤษ table "โต๊ะ" ใช้เสียง l เป็นแกนพยางค์ (ขีดเล็กๆ ที่อยู่ใต้ l หมายถึงสามารถออกเสียงได้เป็นพยางค์ ส่วนจุดคือตัวแบ่งพยางค์) หรือคำในภาษาเซอร์เบีย vrt "สวน" เป็นต้น แต่เสียงเหล่านี้ไม่เรียกว่าเป็นเสียงสร.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและสระ (สัทศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและอักษรฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพราหมี

อักษรพราหมี อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) เป็นต้นกำเนิดของอักษรในอินเดียมากมาย รวมทั้งอักษรเขมรและอักษรทิเบตด้วย พบในอินเดียเมื่อราว..

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกันนาดา

ป้ายบอกทางเขียนด้วยอักษรกันนาดา อักษรกันนาดา หรือ อักษรกานนาดา ใช้เขียนภาษากันนาดาและภาษาอื่นๆเช่น ภาษาตูลู ในรัฐทางใต้ของอินเดีย ใกล้เคียงกับอักษรเตลุกุมาก พัฒนามาจากอักษรกทัมพะและอักษรจลุกยะที่พัฒนามาจากอักษรพราหมีของอินเดียโบราณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 -7 อีกต่อหนึ่ง อักษรกาทัมพาและอักษรจาลุกยา พัฒนามาเป็นอักษรกันนาดาโบราณ และเป็นอักษรกันนาดากับอักษรเตลุกุในที่สุด อิทธิพลจากมิชชันนารีชาวตะวันตกทำให้อักษรทั้ง 2 ชนิดมีการปรับมาตรฐานใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 -20 และใช้มาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและอักษรกันนาดา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรสระประกอบ

อักษรเทวนาครีเป็นอักษรสระประกอบชนิดหนึ่ง อักษรสระประกอบ เป็นรูปแบบของระบบการเขียนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะและสระ แต่พยัญชนะจะมีความสำคัญมากกว่าสระ ซึ่งแตกต่างจากอักษรสระ-พยัญชนะ (alphabet) ที่เป็นระบบการเขียนทั้งสระและพยัญชนะจะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และแตกต่างจากอักษรไร้สระ (abjad) ซึ่งมักจะไม่มีรูปสระปรากฏอยู่เลย ในบรรดาระบบการเขียนทั้งหมดในโลกนี้ มีอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของระบบการเขียนทั้งหมดที่เป็นอักษรสระประกอบ ซึ่งอักษรไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน คำว่า "อักษรสระประกอบ" เป็นคำแปลจากคำว่า abugida ซึ่งเป็นคำที่ Peter T. Daniels นำมาใช้เรียกระบบการเขียนรูปแบบนี้ โดยคำนี้มาจากชื่อของอักษรเอธิโอเปีย (’ä bu gi da) ในภาษาเอธิโอเปีย โดยนำมาจากชื่ออักษรสี่ตัวของอักษรเอธิโอเปีย (ในทำนองเดียวกับคำว่า alphabet ที่มาจากชื่ออักษรกรีก แอลฟา และ บีตา) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและอักษรสระประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรแอราเมอิก

อักษรแอราเมอิก (Aramaic alphabet) พัฒนาขึ้นในช่วง 1,000 - 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเข้ามาแทนที่อักษรรูปลิ่มของอัสซีเรียซึ่งเป็นระบบการเขียนหลักของจักรวรรดิอัสซีเรีย อักษรนี้เป็นต้นกำแนิดของอักษรตระกูลเซมิติกอื่น ๆ และอาจเป็นต้นกำเนิดของอักษรขโรษฐี ที่ใช้ในแถบเอเชียกลางแถบแคว้นคันธาระและพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช อักษรแอราเมอิกยุคแรกเริ่มถูกแทนที่ด้วยอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยม ที่รู้จักต่อมาในชื่ออักษรแอราเมอิก.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและอักษรแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 11

ริสต์ศตวรรษที่ 11 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1001 ถึง ค.ศ. 1100.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและคริสต์ศตวรรษที่ 11 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 6

ริสต์ศตวรรษที่ 6 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 501 ถึง ค.ศ. 600.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและคริสต์ศตวรรษที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรม

ปรแกรม เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษว่า "program" ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเองมีหลายความหมาย เช่น.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและโปรแกรม · ดูเพิ่มเติม »

ไทป์เฟซ

ตัวอย่างการทดสอบการพิมพ์ไทป์เฟซด้วยขนาดและภาษาต่างๆ ไทป์เฟซ หรือ ฟอนต์ หรือในชื่อไทยว่า ชุดแบบอักษร (typeface หรือ font) คือชุดของรูปอักขระ (glyph) ที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว ไทป์เฟซอาจประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และอาจรวมไปถึงอักษรภาพ (ideogram) เช่นอักษรจีนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือทางเทคน.

ใหม่!!: อักษรเตลูกูและไทป์เฟซ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Telugu scriptอักษรเตลุกุอักษรเตลุกู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »