โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรกรีก

ดัชนี อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

51 ความสัมพันธ์: บีตาฟายพาย (อักษรกรีก)พไซภาษากรีกภาษามาซิโดเนียภาษาอาหรับภาษาฮีบรูภาษาตุรกีภาษาแอลเบเนียมิว (อักษรกรีก)ศาสนาคริสต์สัทอักษรสากลสติกมาอักษรอักษรฟินิเชียอักษรกลาโกลิติกอักษรละตินอักษรอาร์มีเนียอักษรคอปติกอักษรซีริลลิกอิปไซลอนอีตาฮีตาทีตาดาวฤกษ์คอปปาคัมภีร์ไบเบิลตัวเลขโรมันซิกมาซีตาประเทศกรีซนิวแกมมาแลมดาแอลฟาแคปปาแซมไพแซนโชโรโอไมครอนโอเมกาไอโอตาไคไซ (อักษรกรีก)เวาเอปไซลอนเฮอรอโดทัสเทา (อักษรกรีก)...เดลตา ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

บีตา

ีตา (beta) หรือ วีตา (βήτα, ตัวใหญ่ Β, ตัวเล็ก β หรือ ϐ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 2 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 2 สำหรับอักษรรูปนี้ ϐ จะถูกใช้เมื่อบีตาตัวเล็กเป็นอักษรที่ไม่ได้อยู่ต้นคำ ซึ่งถูกนำไปใช้ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ การเงิน วิศวกรรม โดยถ้าตัวบีตาไปอยู่ในหนังสือหรือบทความวิชาใด ความหมายของบีตาก็จะเปลี่ยนไป เช่น ถ้าในวิชาฟิสิกส์ บีตาในที่นี้อาจหมายถึงสัดส่วนระหว่าง plasma pressure ต่อ magnetic pressure.

ใหม่!!: อักษรกรีกและบีตา · ดูเพิ่มเติม »

ฟาย

ฟาย (phi) หรือ ฟี (φι, ตัวใหญ่ Φ, ตัวเล็ก φ หรือ ϕ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 21 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 500 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรกรีกและฟาย · ดูเพิ่มเติม »

พาย (อักษรกรีก)

(pi) หรือ ปี (πι, ตัวใหญ่ Π, ตัวเล็ก π) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 16 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 80 อักษรพายตัวเล็กยังมีอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า โพเมกา (pomega, ϖ) ซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนอักษรนี้ด้วยลายมือ ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางเทคนิค ปัจจุบัน พายใช้แทนค่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมกับเส้นรอบวงหรือมีค่าประมาณ 3.14 หรือเศษ 22 ส่วน 7 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรกรีกและพาย (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

พไซ

พไซ (psi) หรือ ปซี (ψι, ตัวใหญ่ Ψ, ตัวเล็ก ψ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 23 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 700 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรกรีกและพไซ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: อักษรกรีกและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาซิโดเนีย

ภาษามาซิโดเนีย เป็นภาษาราชการของประเทศมาซิโดเนีย จัดอยู่ในภาษากลุ่มสลาวิก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศมาซิโดเนีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศแอลเบเนีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศกรีซ หมวดหมู่:ภาษาในประเทศเซอร์เบีย.

ใหม่!!: อักษรกรีกและภาษามาซิโดเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: อักษรกรีกและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: อักษรกรีกและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกี

ษาตุรกี (Türkçe ตืร์กเช หรือ Türk dili ตืร์ก ดิลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก เป็นภาษาที่มีผู้พูด 65 – 73 ล้านคนทั่วโลกซึ่งถือเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี และมีกระจายอยู่ในไซปรัส บัลแกเรีย กรีซ และยุโรปตะวันออก และมีผู้พูดอีกหลายสิบล้านคนที่อพยพไปอยู่ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมัน ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม.

ใหม่!!: อักษรกรีกและภาษาตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอลเบเนีย

ษาแอลเบเนีย (Shqip; Albanian language) เป็นภาษาที่พูดโดยมากกว่า 6 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศแอลเบเนีย รวมถึงประเทศอื่น ๆ ใน ภูมิภาคบอลข่านด้วย โดยพวกผู้อพยพในประเทศอิตาลีและประเทศตุรกี เป็นสาขาของตัวเองในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน.

ใหม่!!: อักษรกรีกและภาษาแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

มิว (อักษรกรีก)

มิว (mu) หรือ มี (μι; ตัวใหญ่ Μ, ตัวเล็ก μ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 12 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 40.

ใหม่!!: อักษรกรีกและมิว (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: อักษรกรีกและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: อักษรกรีกและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

สติกมา

ติกมา (stigma; στίγμα, ตัวใหญ่ Ϛ, ตัวเล็ก ϛ) เป็นอักษรรวมระหว่างอักษรกรีก ซิกมากับเทา ปัจจุบันใช้แทนค่าของเลขกรีกซึ่งมีค่าเท่ากับ 6 อักษรสติกมาตัวเล็กมีรูปร่างคล้ายซิกมาตัวเล็กที่อยู่ท้ายคำ (ς) แต่ห่วงข้างบนมีขนาดใหญ่กว่าและขยายออกไปทางขวามากกว่า สติกมา ยังเป็นอีกชื่อหนึ่งของอักษรไดแกมมาเมื่อเขียนด้วยลายมือ ซึ่งใช้แทนค่าเลขกรีกเท่ากับ 6 เหมือนกัน แต่สำหรับชื่อในปัจจุบันเป็นการเข้าใจผิด เนื่องจากในอดีตไม่เคยมีหลักฐานว่ามีการใช้อักษรรวมระหว่างซิกมากับเทาเลย (ใช้แยกกันมาโดยตลอด).

ใหม่!!: อักษรกรีกและสติกมา · ดูเพิ่มเติม »

อักษร

แผนที่โลกแบ่งตามอักษรที่ใช้ อักษร คือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายสำหรับใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาหนึ่ง ๆ โดยเรียกรวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือหน่วยเสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ" อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์แทนเสียงในบางภาษาอาจใช้แทนเสียงของพยางค์หรือคำ ก็ได้ เช่น อักษรจีน หรือตัวหนังสือจีน (นักวิชาการบางสำนักไม่ถือว่าตัวหนังสือจีน เป็น "อักษร" ตามนิยามของคำว่า alphabet ในภาษาอังกฤษ แต่เรียกว่า ideogram คือสัญลักษณ์แทนคำ หรือหน่วยคำ) แบบแผนว่าด้วยตัวหนังสือนั้น ในตำราภาษาไทย เรียกว่า อักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยการเขียน การอ่าน การประสมอักษร และการใช้อักษรอย่างถูกต้อง อักษรอาจใช้สำหรับภาษาหนึ่ง ๆ หรือใช้กับหลายภาษาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ระหว่าง คำว่า อักษร และภาษา อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อักษรโรมัน ใช้เขียนภาษาต่างๆ หลายภาษาในยุโรป โดยมีการดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถแทนเสียงในภาษาของตนได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน เป็นต้น รวมทั้งภาษาในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน และภาษาเวียดนาม (ดัดแปลงตัวอักษร) เป็นต้น มีหลายประเทศใช้อักษรที่แตกต่างกันตามเวลาเช่น อักษรในสมัยโบราณ เมื่อเวลาผ่านไป ก็เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นอักษรปัจจุบัน หรือเปลี่ยนไปใช้อักษรชนิดอื่นโดยสิ้นเชิง.

ใหม่!!: อักษรกรีกและอักษร · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: อักษรกรีกและอักษรฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกลาโกลิติก

อักษรกลาโกลิติก (Glagolitic alphabet) ประดิษฐ์เมื่อราว..

ใหม่!!: อักษรกรีกและอักษรกลาโกลิติก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: อักษรกรีกและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาร์มีเนีย

อักษรอาร์มีเนียใช้เขียนภาษาอาร์มีเนีย เมสรอพ แมชทอทส์ เป็นผู้ประดิษฐ์ในช่วง พ.ศ. 947 - 949 ต้นแบบของอักษรอาร์มีเนียมีหลายชนิดเช่น อักษรปะห์ลาวี อักษรซีเรียค และอักษรฟินิเชีย ในระหว่าง..

ใหม่!!: อักษรกรีกและอักษรอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรคอปติก

ตัวอักษรคอปติกเขียนในแบบโบไฮริก อักษรคอปติก (Coptic alphabet) เป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรกรีก โดยเพิ่มอักษรพิเศษสำหรับเสียงที่ไม่มีในภาษากรีก รูปที่เพิ่มนำมาจากอักษรอียิปต์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เริ่มปรากฏเมื่อ..

ใหม่!!: อักษรกรีกและอักษรคอปติก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

ใหม่!!: อักษรกรีกและอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

อิปไซลอน

อิปไซลอน (upsilon) หรือ อิปซีลอน (ύψιλον, ตัวใหญ่ Υ หรือ ϒ, ตัวเล็ก υ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 20 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 400 สำหรับอักษรรูปนี้ ϒ จะถูกใช้เมื่อต้องการแยกแยะความแตกต่างออกจากอักษรละติน Y หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรกรีกและอิปไซลอน · ดูเพิ่มเติม »

อีตา

อีตา (eta; าτα, ตัวใหญ่ Η, ตัวเล็ก η) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 7 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 8 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรกรีกและอีตา · ดูเพิ่มเติม »

ฮีตา

ีตา (heta) หรือ อีตา (ἧτα, ตัวใหญ่ Ͱ, ตัวเล็ก ͱ) เป็นชื่อเรียกตัวอักษรกรีกอีตา (Η) ที่ออกเสียง ในอดีต.

ใหม่!!: อักษรกรีกและฮีตา · ดูเพิ่มเติม »

ทีตา

ทีตา หรือ เทตา (theta,; θήτα, ตัวใหญ่ Θ, ตัวเล็ก θ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 8 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 9 ปัจจุบันใช้แทนค่ามุมใด ๆ ในทางคณิตศาสตร์ หรือ แทนมุมหักเห มุมตกกระทบ และมุมสะท้อนของแสงในทางวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรกรีกและทีตา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: อักษรกรีกและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

คอปปา

อปปาแบบตัวเลข คอปปา (koppa, qoppa) หรือ โกปา (κόππα, ตัวใหญ่ Ϙ, ตัวเล็ก ϙ) เป็นอักษรกรีกที่เคยใช้ในเลขกรีกโดยมีค่าเท่ากับ 90 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว อักษรคอปปามีสองรูปแบบคือ "คอปปาแบบโบราณ" (Ϙ, ϙ) ใช้ในการเขียนหนังสือ และ "คอปปาแบบตัวเลข" (Ϟ, ϟ) ใช้แทนตัวเลขและการอ้างอิงเอกสาร.

ใหม่!!: อักษรกรีกและคอปปา · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: อักษรกรีกและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขโรมัน

ลขโรมัน เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ เลขโรมันถือเป็น ระบบเลขไม่มีหลัก หมายความว่า ไม่ว่าจะเขียนตัวเลขแต่ละตัวไว้ ณ ตำแหน่งใดของค่าตัวเลขนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กันดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์อื่นที่ไม่ได้ใช้ในระบบเลขโรมันปัจจุบัน แต่ปรากฏอยู่ในรหัสยูนิโคด ดังนี้.

ใหม่!!: อักษรกรีกและตัวเลขโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมา

ซิกมา (sigma, σίγμα, ตัวใหญ่ Σ, ตัวเล็ก σ หรือ ς) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 18 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 200 สำหรับอักษรรูปนี้ ς จะใช้เมื่อซิกมาตัวเล็กเป็นอักษรตัวสุดท้ายของคำเท่านั้น ปัจจุบันมีความหมายในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ว่า "ผลรวมใด ๆ" หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรกรีกและซิกมา · ดูเพิ่มเติม »

ซีตา

ซีตา (zeta; ζήτα, ตัวใหญ่ Ζ, ตัวเล็ก ζ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 6 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 7.

ใหม่!!: อักษรกรีกและซีตา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: อักษรกรีกและประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

นิว

นิว (nu) หรือ นี (νι, ตัวใหญ่ Ν, ตัวเล็ก ν) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 13 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 50 ν ในสมการ -ฟิสิกส์ แทนความถี่คลื่น หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรกรีกและนิว · ดูเพิ่มเติม »

แกมมา

แกมมา (gamma) หรือ กามา (γάμμα, γάμα, ตัวใหญ่ Γ, ตัวเล็ก γ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 3 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 3.

ใหม่!!: อักษรกรีกและแกมมา · ดูเพิ่มเติม »

แลมดา

แลมบ์ดา (lambda) หรือ ลัมดา (λάμδα, ตัวใหญ่ Λ, ตัวเล็ก λ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 11 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 30 λ ในสมการต่างๆ -ฟิสิกส์ แทนความยาวคลื่น.

ใหม่!!: อักษรกรีกและแลมดา · ดูเพิ่มเติม »

แอลฟา

แอลฟา (alpha) หรือ อัลฟา (άλφα, ตัวใหญ่ Α, ตัวเล็ก α) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 1 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 1.

ใหม่!!: อักษรกรีกและแอลฟา · ดูเพิ่มเติม »

แคปปา

แคปปาอีกแบบหนึ่ง แคปปา (kappa) หรือ กาปา (κάππα, κάπα, ตัวใหญ่ Κ, ตัวเล็ก κ หรือ ϰ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 10 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 20.

ใหม่!!: อักษรกรีกและแคปปา · ดูเพิ่มเติม »

แซมไพ

แซมไพแบบตัวเลข แซมไพ, ไดซิกมา (sampi, disigma) หรือ ซัมปี (σαμπί, ตัวใหญ่ Ͳ, ตัวเล็ก ͳ) เป็นอักษรกรีกที่เคยใช้ในเลขกรีกโดยมีค่าเท่ากับ 900 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว อักษรแซมไพมีสองรูปแบบคือ "แซมไพแบบโบราณ" (Ͳ, ͳ) ใช้ในการเขียนหนังสือ และ "แซมไพแบบตัวเลข" (Ϡ, ϡ) ใช้แทนตัวเลขและการอ้างอิงเอกสาร ความหมายตามตัวอักษรแปลว่า "เหมือนพาย" สำหรับชื่ออื่นของอักษรนี้คือ ไดซิกมา เนื่องจากใช้แทนหน่วยเสียง หรือ.

ใหม่!!: อักษรกรีกและแซมไพ · ดูเพิ่มเติม »

แซน

แซน (san) หรือ ซัน (σαν, ตัวใหญ่ Ϻ, ตัวเล็ก ϻ) เป็นอักษรกรีกที่เคยปรากฏอยู่ระหว่างพายกับคอปปาตามลำดับอักษร ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว.

ใหม่!!: อักษรกรีกและแซน · ดูเพิ่มเติม »

โช

(sho; σω, ตัวใหญ่ Ϸ, ตัวเล็ก ϸ) เป็นอักษรที่เพิ่มเข้ามาในอักษรกรีกเพื่อใช้เขียนภาษาแบกเตรีย (Bactrian language) อักษรนี้ออกเสียงเหมือน "sh" ในภาษาอังกฤษ.

ใหม่!!: อักษรกรีกและโช · ดูเพิ่มเติม »

โร

โร (rho; ρω, ρο, ตัวใหญ่ Ρ, ตัวเล็ก ρ หรือ ϱ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 17 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 100 สำหรับอักษรรูปนี้ ϱ จะถูกใช้เมื่อต้องการแยกแยะความแตกต่างออกจากอักษรละติน p รโร.

ใหม่!!: อักษรกรีกและโร · ดูเพิ่มเติม »

โอไมครอน

โอไมครอน, ออมิครอน (omicron) หรือ โอมีกรอน (όμικρον, ตัวใหญ่ Ο, ตัวเล็ก ο) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 15 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 70 ความหมายตามตัวอักษรแปลว่า โอเล็ก (มิครอน แปลว่า เล็ก ซึ่งตรงข้ามกับโอเมกาหรือโอใหญ่) เสียงของโอไมครอนในภาษากรีก คล้ายกับเสียงสระออในภาษาไทย อักษรโอไมครอนตัวใหญ่ถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ของสัญกรณ์โอใหญ่ (Big O notation) อโอไมครอน.

ใหม่!!: อักษรกรีกและโอไมครอน · ดูเพิ่มเติม »

โอเมกา

โอเมกา (omega; ωμέγα, ตัวใหญ่ Ω, ตัวเล็ก ω) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 24 ซึ่งเป็นตัวสุดท้าย และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 800 ปัจจุบันใช้เขียนแทนหน่วยของความต้านทานไฟฟ้า (โอห์ม) อโอเมกา.

ใหม่!!: อักษรกรีกและโอเมกา · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอตา

ไอโอตา (iota) หรือ โยตา (ιώτα, γιώτα, ตัวใหญ่ Ι, ตัวเล็ก ι) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 9 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 10 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรกรีกและไอโอตา · ดูเพิ่มเติม »

ไค

(chi) หรือ ชี (χι, ตัวใหญ่ Χ, ตัวเล็ก χ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 22 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 600.

ใหม่!!: อักษรกรีกและไค · ดูเพิ่มเติม »

ไซ (อักษรกรีก)

ไซ, คไซ (xi) หรือ กซี (ξι, ตัวใหญ่ Ξ, ตัวเล็ก ξ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 14 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 60 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรกรีกและไซ (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

เวา

วา, ไดแกมมา (wau, fau, digamma) หรือ วัฟ, ดีกามา (βαυ, Δίγαμμα, ตัวใหญ่ Ϝ, ตัวเล็ก ϝ) เป็นอักษรกรีกที่เคยใช้ในเลขกรีกโดยมีค่าเท่ากับ 6 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว.

ใหม่!!: อักษรกรีกและเวา · ดูเพิ่มเติม »

เอปไซลอน

อปไซลอน (epsilon) หรือ เอปซีลอน (έψιλον, ตัวใหญ่ Ε, ตัวเล็ก ε) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 5 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 5.

ใหม่!!: อักษรกรีกและเอปไซลอน · ดูเพิ่มเติม »

เฮอรอโดทัส

รูปแกะสลักเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส (Herodotos หรือ Herodotus – ประมาณ พ.ศ. 58-118) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้บันทึกสงครามเปอร์เซีย ผู้เริ่มต้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก เกิดที่เมืองฮาลิคาร์นาสซัส ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย เฮอโรโดทัสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลาง และยังได้เดินทางลงใต้ไปอียิปต์ถึงเมืองเอเลแฟนทีน (อัสวานในปัจจุบัน) Oikumene) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล โดยจำลองจากบันทึกของเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส เคยอาศัยอยู่ที่กรุงเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับโสโฟเคิลส์ (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับอาณานิคมกรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี..

ใหม่!!: อักษรกรีกและเฮอรอโดทัส · ดูเพิ่มเติม »

เทา (อักษรกรีก)

เทา (tau) หรือ ตัฟ (ταυ, ตัวใหญ่ Τ, ตัวเล็ก τ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 19 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 300 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: อักษรกรีกและเทา (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

เดลตา

ลตา (delta; δέλτα, ตัวใหญ่ Δ, ตัวเล็ก δ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 4 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 4 ใช้แทนตัวอักษร d เมื่อมีการใช้งานแทนแล้ว.

ใหม่!!: อักษรกรีกและเดลตา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Greek alphabet

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »