โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรอาหรับ

ดัชนี อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

84 ความสัมพันธ์: บาอ์ชีนฟัตฮะฮ์พยัญชนะฎ๊อดฎ็อมมะฮ์กัสเราะฮ์กิเมลภาษาบาลูจิภาษาพัชโตภาษามลายูภาษามลายูปัตตานีภาษาสินธีภาษาอังกฤษภาษาอาหรับภาษาอาเซอร์ไบจานภาษาอุยกูร์ภาษาอุซเบกภาษาอูรดูภาษาดารีภาษาคาซัคภาษาคีร์กีซภาษาตุรกีภาษาปัญจาบภาษาแอลเบเนียภาษาแคชเมียร์ภาษาโวลอฟภาษาเบลารุสภาษาเคิร์ดภาษาเติร์กเมนภาษาเปอร์เซียมีมย้อดลาเมดวาฟศาสนาอิสลามษาลษาอ์สระสหภาพโซเวียตสัทอักษรสากลสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกอะบูบักร์อักษรฟินิเชียอักษรยาวีอัลกุรอานอัลลอฮ์อายินอาเลฟฮัมซะฮ์...ฮัจญ์ทาฟดาเลทคอฟคออ์คาฟฆอยน์ซออ์ซายินซาดีซาเมกประเทศบรูไนประเทศมาเลเซียประเทศรัสเซียประเทศอัฟกานิสถานประเทศอิรักประเทศอิหร่านประเทศอินโดนีเซียประเทศอินเดียประเทศอุซเบกิสถานประเทศจีนประเทศคาซัคสถานประเทศคีร์กีซสถานประเทศปากีสถานประเทศไทยประเทศเติร์กเมนิสถานนบีนูนเพ (ตัวอักษร)เรชเฮ (ตัวอักษร)เฮทเททเครื่องหมายการออกเสียงอักษรอาหรับ ขยายดัชนี (34 มากกว่า) »

บาอ์

บาอ์ (ب) เป็นอักษรตัวที่ 2 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู בอักษรซีเรียค ܒ อักษรอาหรับ (ب) ใช้แทนเสียงที่เกิดจาก ริมฝีปาก ก้อง ไม่มีลม (สัทศาสตร์สากล: หรือ /บ/) ตรงกับอักษรละติน “B” ในคำทับศัพท์จะแทนด้วย บ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและบาอ์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีน

ชีน (Shin) เป็นอักษรตัวที่ 21 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ש‎ และอักษรอาหรับ ﺵ‎ ใช้แทนเสียงไม่ก้อง ออกตามไรฟัน หรือ อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Σ อักษรละติน S และอักษรซีริลลิก С และ Ш และอาจไปเป็นอักษร Sha ในอักษรกลาโกลิติก มาจากอักษรคานาอันไนต์ที่มาจากไฮโรกลิฟรูปพระอาทิตย์ ซึ่งใช้แทนเสียง หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและชีน · ดูเพิ่มเติม »

ฟัตฮะฮ์

ฟัตฮะฮ์ (فتحة) เป็นเส้นเฉียงบนตัวอักษร แสดงเสียงอะ คำว่า ฟัตฮะฮ์ เองหมายถึงการเปิดออก ซึ่งหมายถึงการเปิดออกของริมฝีปากเพื่อออกเสียงนี้ ตัวอย่าง เช่น.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและฟัตฮะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและพยัญชนะ · ดูเพิ่มเติม »

ฎ๊อด

ฎ๊อด (ﺽ‎) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงก้อง เน้น เกิดจากปุ่มเหงือก (emphatic voiced alveolar plosive; สัทอักษรสากล) เป็นเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของภาษาอาหรับ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและฎ๊อด · ดูเพิ่มเติม »

ฎ็อมมะฮ์

็อมมะฮ์ (ضمة) เป็นเส้นโค้งขมวดเป็นปม อยู่เหนืออักษร แสดงเสียงอุ เช่น.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและฎ็อมมะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

กัสเราะฮ์

กัสเราะฮ์ (كسرة) รูปร่างเหมือนฟัตหะฮฺ แต่เขียนไว้ข้างล่างตัวอักษร แสดงเสียงอิ เช่น.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและกัสเราะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

กิเมล

กิเมล (Gimel) เป็นอักษรตัวที่ 3 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ג อักษรอาหรับ (ج; ญีม /d͡ʒ/) และอักษรซีเรียค ܓ ใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากเพดานอ่อน ไม่มีลม ชื่ออักษรนี้มาจากภาษาฟินิเชีย หมายถึง “อูฐ” ส่วนรูปอักษรคานาอันไนต์ เป็นรูปคล้ายบูมเมอแรง ในคำทับศัพท์ภาษาอาหรับจะแทนด้วย ญ หรือ จญ์ เมื่อเป็นตัวสะกด หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและกิเมล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลูจิ

ษาบาลูจิ (Balochi language) เป็นภาษาที่พูดทางตะวันตกเฉียงเหนือในอิหร่าน เป็นภาษาหลักของชาวบาลูจิในบาลูจิสถานซึ่งอยู่ในปากีสถานตะวันตก อิหร่านตะวันออก และอัฟกานิสถานตอนใต้ เป็นภาษาราชการ 1 ใน 9 ภาษาของปากีสถาน.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาบาลูจิ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพัชโต

ษาพัชโต (Pashto, Pashtoe, Pushto, Pukhto; پښتو, pax̌tō) หรือ ภาษาปุกโต หรือเรียกในเชิงประวัติศาสตร์ว่า ภาษาอัฟกัน (Afghani; افغاني, afğānī) และ ภาษาปาทาน (Pathani) เป็นภาษาแม่ของชาวปาทาน (Pashtun) ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศอัฟกานิสถานและแคว้นทางตะวันตกของประเทศปากีสถาน.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาพัชโต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายูปัตตานี

ษามลายูปัตตานี หรือ ภาษามลายูปาตานี (มลายูปัตตานี: บาซอ 'นายู 'ตานิง; Bahasa Melayu Patani, อักษรยาวี: بهاس ملاي ڤطاني) หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี (อักษรยาวี: بهاس جاوي) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา รวมทั้งในอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมจังหวัดสตูล) ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย บางครั้งก็มีการเรียกรวมเป็นภาษาเดียวกันว่า "ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี".

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษามลายูปัตตานี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสินธี

ษาสินธีเป็นภาษาของกลุ่มชนในเขตสินธ์ในเอเชียใต้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน แม้ว่าจะเป็นภาษาของชาวอารยัน แต่มีอิทธิพลจากภาษาของดราวิเดียนด้วย ผู้พูดภาษาสินธีพบได้ทั่วโลก เนื่องจากการอพยพออกของประชากรเมื่อปากีสถานแยกตัวออกจากอินเดียเมื่อ..

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาสินธี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาเซอร์ไบจาน

thumbnail ภาษาอาเซอรี หรือ ภาษาอาเซอร์ไบจาน เป็นภาษาราชการของประเทศอาเซอร์ไบจาน มีชื่อเรียกในภาษาของตนว่า Azərbaycan dili บางสำเนียงของภาษานี้ใช้พูดในอิหร่าน ซึ่งใช้เป็นภาษากลางระหว่างภาษาส่วนน้อยอื่นๆคือ ภาษาเคิร์ด ภาษาอาร์มีเนียและภาษาตาเลชิ มีผู้พูดภาษานี้ในสาธารณรัฐดาเกสถานในรัสเซีย จอร์เจียตะวันตกเฉียงใต้ อิหร่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกของตุรกี เป็นภาษาในกลุ่มภาษาอัลไตอิก มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 23 – 30 ล้านคน โดยมีราว 16- 23 ล้านคนในอิหร่านและ 7 ล้านคนในอาเซอร์ไบจาน และ 800,000 ในที่อื่นๆ เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใกล้เคียงกับภาษาตุรกี ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ผู้พูดภาษานี้พอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิก สาขาโอคุซอื่นๆ เช่น ภาษาตุรกี ที่ใช้พูดในตุรกี ไซปรัสและแหลมบอลข่าน รวมทั้งภาษาเติร์กเมนด้ว.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาอาเซอร์ไบจาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอุยกูร์

ษาอุยกูร์ เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก พูดโดยชาวอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอุซเบก

ษาอุซเบก (อักษรละติน: O'zbek tili ออซเบก ติลี; อักษรซีริลลิก: Ўзбек) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่พูดโดยชาว อุซเบกในประเทศอุซเบกิสถานและพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชียกลาง ภาษาที่ใกล้เคียงที่สุดในเชิงคำและไวยากรณ์คือภาษาอุยกูร์ ภาษาเปอร์เซียและภาษารัสเซียได้มีอิทธิพลสำคัญต่อภาษาอุซเบก ภาษาอุซเบกเป็นภาษาราชการของประเทศอุซเบกิสถาน และมีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 18.5 ล้านคน ภาษาอุซเบกก่อนปีพ.ศ. 2535 เขียนด้วยอักษรซีริลลิก แต่ในปัจจุบีนมีการใช้อักษรละตินเขียนในประเทศอุซเบกิสถาน ส่วนชาวจีนที่พูดภาษาอุซเบกใช้อักษรอาหรับเขียน อิทธิพลของศาสนาอิสลามรวมถึงภาษาอาหรับแสดงชัดเจนในภาษาอุซเบก รวมถึงอิทธิพลของภาษารัสเซียในช่วงที่ประเทศอุซเบกิสถานอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิรัสเซีย และ โซเวียต คำภาษาอาหรับส่วนใหญ่ผ่านเข้ามายังภาษาอุซเบกผ่านทางภาษาเปอร์เซีย ภาษาอุซเบกแบ่งเป็นภาษาย่อย ๆ จำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างภูมิภาค อย่างไรก็ดี มีภาษาย่อยที่เข้าใจกันทั่วไป ซึ่งใช้ในสื่อมวลชนและในสิ่งตีพิมพ์ส่วนใหญ่ นักภาษาศาสตร์บางคนถือว่าภาษาที่พูดในประเทศอัฟกานิสถานตอนเหนือโดยชาวอุซเบกพื้นเมือง เป็นภาษาย่อยของภาษาอุซเบก.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาอุซเบก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาอูรดู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดารี

ษาดารี (Dari; ภาษาเปอร์เซีย: دری Darī, ออกเสียง) หรือ ภาษาเปอร์เซียดารี (Dari Persian; ภาษาเปอร์เซีย: فارسی دری - Fārsīy e Darī) หรือ ภาษาเปอร์เซียตะวันออก เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเปอร์เซียสำเนียงหนึ่งที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน และเป็นชื่อทางการที่รัฐบาลอัฟกานิสถานใช้ในรัฐธรรมนูญ ภาษาดารีเป็นภาษาราชการในอัฟกานิสถานรองจากภาษาพัชโต และใช้เป็นภาษากลางในอัฟกานิสถาน.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาดารี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาซัค

ษาคาซัค (Kazakh, Kazak, Qazaq, Қазақ тілі, Qazaq tili: คาซัค ติลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ที่มีรหัส ISO 639 ว่า kaz และ kk ภาษาคาซัคเป็นหนึ่งในภาษาราชการของประเทศคาซัคสถาน และนอกจากนี้ยังมีคนพูดภาษานี้ในอัฟกานิสถาน จีน อิหร่าน คีร์กีซสถาน มองโกเลีย รัสเซีย ทาจิกิสถาน ตุรกี เติร์กเมนิสถาน ยูเครน และอุซเบกิสถาน ในเยอรมนีมีคนที่พูดภาษาคาซัคตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ทั่วโลกมีคนพูดภาษาคาซัคเป็นภาษาแม่ประมาณ 6.5 ล้านคน เขียนโดยใช้อักษรซีริลลิก อักษรละติน (ในตุรกี) และอักษรอาหรับที่มีการดัดแปลง (ในประเทศจีน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน).

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาคาซัค · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคีร์กีซ

ษาคีร์กีซ (Kyrgyz Language; Кыргыз тили, Kyrgyz tili; قىرعىز تىلى) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาษาราชการของประเทศคีร์กีซสถานคู่กับภาษารัสเซีย มีผู้พูด 7 ล้านคน ในคีร์กีซสถาน จีน อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน ตุรกี อุซเบกิสถาน ปากีสถานและรัสเซีย เขียนด้วยอักษรซีริลลิกดัดแปลงในคีร์กีซสถาน และอักษรอาหรับดัดแปลงในจีน เคยเขียนด้วยอักษรละตินในช่วง..

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาคีร์กีซ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกี

ษาตุรกี (Türkçe ตืร์กเช หรือ Türk dili ตืร์ก ดิลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก เป็นภาษาที่มีผู้พูด 65 – 73 ล้านคนทั่วโลกซึ่งถือเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี และมีกระจายอยู่ในไซปรัส บัลแกเรีย กรีซ และยุโรปตะวันออก และมีผู้พูดอีกหลายสิบล้านคนที่อพยพไปอยู่ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมัน ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปัญจาบ

ษาปัญจาบ หรือ ปัญจาบี หรือ ปัญชาพี (อักษรคุรมุขี: ਪੰਜਾਬੀ Paṁjābī,อักษรชาห์มุขี: پنجابی Panjābī) เป็นภาษาของชาวปัญจาบ และภูมิภาคปัญจาบของประเทศอินเดีย และประเทศปากีสถาน ภาษาปัญจาบเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในกลุ่มย่อยอินโด-อิเรเนียน เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนภาษาเดียวที่เป็นภาษาวรรณยุกต์ ซึ่งวรรณยุกต์เกิดจากการออกเสียงพยัญชนะชุดต่าง ๆ ด้วยเสียงสูงต่ำที่ต่างกัน ในเรื่องของความซับซ้อนของรูปศัพท์ เป็นภาษาที่ใช้คำประกอบ (agglutinative language) และมักจะเรียงคำตามลำดับ 'ประธาน กรรม กิริยา' ชาวปัญจาบได้ถูกแบ่งระหว่างอินเดียและปากีสถานระหว่างการแบ่งอินเดียเมื่อพ.ศ. 2490 อย่างไรก็ดี ภาษาและวัฒนธรรมปัญจาบมักเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวปัญจาบอยู่รวมกันไม่ว่าจะสัญชาติหรือศาสนาใด มีชาวปัญจาบอพยพจำนวนมากในหลายประเทศเช่น สหรัฐ ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ภาษาปัญจาบเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ที่ใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนา เป็นภาษาที่ใช้ในดนตรีภันคระที่แพร่หลายในเอเชียใต้.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอลเบเนีย

ษาแอลเบเนีย (Shqip; Albanian language) เป็นภาษาที่พูดโดยมากกว่า 6 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศแอลเบเนีย รวมถึงประเทศอื่น ๆ ใน ภูมิภาคบอลข่านด้วย โดยพวกผู้อพยพในประเทศอิตาลีและประเทศตุรกี เป็นสาขาของตัวเองในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแคชเมียร์

ษาแคชเมียร์หรือภาษากัศมีร์เป็นภาษากลุ่มดาร์ดิก ใช้พูดในแคชเมียร์ จัดอยู่ในตระกูลอินโด-ยุเปียน สาขาอินโด-อารยัน เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม ในยุคแรกเขียนด้วยอักษรสรทะ แล้วเปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับแบบเปอร์เซียภายหลัง วรรณกรรมภาษาแคชเมียร์มีมาก แต่ไม่ได้รับการสืบทอด ผู้พูดภาษานี้ก็ลดจำนวนลง ภาษานี้เพิ่งได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาราชการและมีการสอนในโรงเรียนได้ไม่นาน นิตยสารและหนังสือพิมพ์ภาษาแคชเมียร์มีเพียงฉบับเดียว.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาแคชเมียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโวลอฟ

ษาโวลอฟ (โวลอฟ: Wolof làkk) เป็นภาษาของชาวโวลอฟ ใช้ในเซเนกัล, แกมเบีย และมอริเตเนีย ภาษาที่ใกล้ชิดคือ Serer และภาษาฟูลา ภาษาโวลอฟอยู่ในตระกูลภาษาไนเจอร์-คองโก.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาโวลอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบลารุส

ภาษาเบลารุส (беларуская мова) เป็นภาษาราชการของประเทศเบลารุส และยังพูดในบางส่วนของรัสเซีย ยูเครน และโปแลนด์ จัดอยู่ในภาษากลุ่มสลาวิกซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมาก และภาษาเบลารุสยังคงเป็นภาษาที่คล้ายกับรัสเซียมากถึงแม้ว่าจะคล้ายมาก แต่ชาวเบลารุสยังรักษาภาษาของตนให้ดำรงไว้สืบทอดต่อคนรุ่นหลาน เบลารุส หมวดหมู่:ภาษาในประเทศโปแลนด์ หมวดหมู่:ภาษาในประเทศรัสเซีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศยูเครน.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาเบลารุส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเคิร์ด

ษาเคิร์ด (کوردی‎ คูร์ดี) มีผู้พูดราว 31 ล้านคน ในอิรัก (รวมทั้งในเขตปกครองตนเองของชาวเคิร์ด) อิหร่าน ตุรกี ซีเรีย เลบานอน จัดอยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ ตระกูลอินโด-ยุโรป ภาษาที่ใกล้เคียงคือ ภาษาบาโลชิ ภาษาคิเลกิ และภาษาตาเลียส ภาษาเปอร์เซียที่อยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้จัดเป็นภาษาใกล้เคียงด้วยแต่มีความแตกต่างมากกว่า 3 ภาษาข้างต้น.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาเคิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเติร์กเมน

ษาเติร์กเมน (Turkmen, Туркмен, ISO 639-1: tk, ISO 639-2: tuk) คือชื่อภาษาราชการของประเทศเติร์กเมนิสถาน.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาเติร์กเมน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

มีม

มีม (meme) เป็นรูปแบบของ ความคิดทางวัฒนธรรม สัญลักษณ์ หรือการปฏิบัติ ที่สามารถส่งผ่านจากจิตใจคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ผ่านการเขียน การพูด ท่าทาง พิธีกรรม ภาพล้อเลียน และมีคำศัพท์ต่างๆในภาพที่มีความหมายเชิงตลก หรือปรากฏการณ์ลอกเลียนแบบอื่น ๆ คำว่า meme ในภาษาอังกฤษ มาจากการผสมของคำว่า "gene" และคำภาษากรีกว่า μιμητισμός (หรือ การเลียนแบบบางอย่าง) ผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ได้ถือว่า เป็นสิ่งที่คล้ายกันทางวัฒนธรรมสู่ยีน มีการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองแรงกระตุ้นที่เลือกเฟ้น นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ริชาร์ด ดอว์กินส์ ได้คิดคำว่า "meme" ขึ้นมาในหนังสือThe Selfish Gene (1976) ในแนวคิดเกี่ยวกับการอภิปรายทฤษฎีวิวัฒนาการเกี่ยวกับการอธิบายการแพร่ของความคิดและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น มีมในหนังสืออย่างพวกเมโลดี คำพูดติดปาก แฟชั่น และเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบซุ้มโค้ง เป็นต้น.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและมีม · ดูเพิ่มเติม »

ย้อด

ย้อด (Yod อาจสะกดเป็น Yud หรือ Yodh) เป็นอักษรตัวที่สิบของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู י‎, อักษรซีเรียค และอักษรอาหรับ ﻱ‎ (ยาอ์) แทนด้วยสัทอักษร อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก (Ι), อักษรละติน I, อักษรซีริลลิกสำหรับภาษายูเครนและภาษาเบลารุส І, (Ⲓ) และอักษรกอทิก eis (̹) เชื่อว่ามาจากอักษรภาพรูปมือ (จากภาษาอาหรับและภาษาฮีบรูสมัยใหม่, yad) หรืออาจจะมาจากอักษรไฮโรกลิฟรูปแขน หมวดหมู่:อักษรอาหรับ fa:ی ja:ي.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและย้อด · ดูเพิ่มเติม »

ลาเมด

ลาเมด (Lamed, Lamedh) เป็นอักษรตัวที่ 12 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ל และอักษรอาหรับ ل (ลาม لَامْ) ใช้แทนเสียง อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Λ อักษรละติน L และอักษรซีริลลิก Л เชื่อกันว่ามาจากไฮโรกลิฟรูปปฏักหรือต้นกก หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและลาเมด · ดูเพิ่มเติม »

วาฟ

วาฟ (Waw, Vav) เป็นอักษรตัวที่ 6 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู อักษรซีเรียค ܘ และอักษรอาหรับ و (วาว) ใช้แทนเสียง หรือ อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Ϝ และ Υ อักษรอีทรัสคัน v และอักษรละติน F V, และ Y; V ต่อมาพัฒนาเป็น U และ W มาจากไฮโรกลิฟรูปห่วง และเป็นทฤษฎีของ ศรันย์ ซึ่งต้องการจะพิสูจน์ว่า เราสามารถเดินทางด้วยความเร็วแสงได้หรือไม่ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ en:Waw (letter)#Arabic wāw.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและวาฟ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ษาล

ษาล หรือ ซาล (ﺫ‎) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากฟัน และเป็นเสียงในลำคอ (voiced dental fricative; สัทศาสตร์สากล) เสียงนี้เป็นเสียงเดียวกับ th ในภาษาอังกฤษ แต่การถอดเป็นอักษรโรมันมักถอดเสียงนี้เป็น dh หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและษาล · ดูเพิ่มเติม »

ษาอ์

ษาอ์ (ث) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับ ที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงไม่ก้อง เกิดจากฟัน และเป็นเสียงในลำคอ (ثَاءْ) (สัทศาสตร์สากล) ในคำทับศัพท์จะแทนด้วย ษ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและษาอ์ · ดูเพิ่มเติม »

สระ

ระ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและสระ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: อักษรอาหรับและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

รณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก (Congo) และ คองโก-กินชาซา (Congo-Kinshasa) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกากลางและเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของทวีป สาธารณรัฐประชาธิปไตยมีอาณาเขตจรดสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดานทางทิศเหนือ จรดยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนียทางทิศตะวันออก จรดแซมเบียและแองโกลาทางทิศใต้ และจรดสาธารณรัฐคองโกทางทิศตะวันตก โดยมีทางออกสู่ทะเลตามแม่น้ำคองโกไปสู่อ่าวกินี ชื่อ คองโก (หมายถึง "นักล่า") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก (Belgian Congo) ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากคองโก-กินชาซา (ใส่ชื่อเมืองหลวงไว้ข้างหลัง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างประเทศนี้กับ สาธารณรัฐคองโก หรือ (คองโก-บราซาวีล) เป็นสาธารณรัฐซาอีร์ จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "คองโก" ตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงจากสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) อันเป็นความขัดแย้งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "สงครามโลกแอฟริกา" (African World War).

ใหม่!!: อักษรอาหรับและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก · ดูเพิ่มเติม »

อะบูบักร์

อะบูบักรฺ บินอะบีกุฮาฟะหฺ คอลีฟะหฺที่ 1 ของอิสลาม ปกครอง..

ใหม่!!: อักษรอาหรับและอะบูบักร์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและอักษรฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรยาวี

ตัวอย่างอักษรยาวี อักษรยาวี (حروف جاوي) เป็นอักษรอาหรับดัดแปลงสำหรับเขียนภาษามลายู ภาษาอาเจะฮ์ ภาษาบันจาร์ ภาษามีนังกาเบา ภาษาเตาซูก และภาษาอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นักปราชญ์คนหนึ่งของปัตตานี ชื่อ ชัยค์ อะห์มัด อัลฟะฏอนี (Syeikh Ahmad al-Fathani) ได้วางกฎเกณฑ์การใช้อักษรยาวีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนภาษามลายูในท้องถิ่นนี้ ในอดีต โลกมลายูใช้อักษรยาวีมาช้านาน ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้อักษรรูมี ปัจจุบันชาวมุสลิมในประเทศไทยที่พูดภาษามลายู นิยมใช้อักษรยาวีบันทึกเรื่องราวในศาสนา และการสื่อสารต่าง ๆ ส่วนนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะ หรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะเริ่มเรียนอักษรยาวีสำหรับอ่านเขียนภาษาอาหรับ (ภาษาในคัมภีร์อัลกุรอาน) ตั้งแต่ยังเยาว์ อักษรยาวียังคงใช้กันอยู่บ้างในมาเลเซีย บรูไน และสุมาตรา คำว่า ยาวี นั้นมาจากคำว่า jawa หมายถึง ชวา นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะชาวชวาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานี ได้นำอักษรอาหรับดัดแปลงมาเผยแพร่ และในที่สุดได้รับมาใช้ในชุมชนที่พูดภาษามลายูปัตตานีมาช้านาน เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีความสับสนในการเรียกชื่ออักษรยาวี และภาษามลายูว่า "ภาษายาวี" แม้กระทั่งในหมู่ผู้พูดภาษามลายู ทว่าความจริงแล้วไม่มีภาษายาวี มีแต่อักษรยาวีกับภาษามลายู.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและอักษรยาวี · ดูเพิ่มเติม »

อัลกุรอาน

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

อัลลอฮ์

นาอิสลามเรียกพระเป็นเจ้าว่า อัลลอฮ์ บ้างก็สะกดว่า อัลลอฮฺ, อัลลอหฺ หรือ อัลเลาะห์ ตรงกับภาษาอังกฤษ "God" เชื่อว่าทรงเป็นพระผู้สร้างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล พระองค์ทรงมีโดยไร้จุดเริ่มต้น และทรงมีอยู่นิรันดร์โดยไม่มีจุดจบ พระองค์แตกต่างกับทุกสรรพสิ่งอย่างสิ้นเชิง ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง มิต้องทรงพึ่งพาสิ่งใด พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์เดียว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดอีกนอกเหนือจากพระองค์ ตามความเชื่อของอิสลาม อัลลอฮ์ทรงมีความสามารถในการบันดาลทุกสรรพสิ่ง ทรงรอบรู้โดยไม่จำกัดขอบเขต อัลลอฮ์เป็นพระปฐมนามแห่งพระองค์ พระองค์มีพระนามอันวิจิตรอื่น ๆ อีกมากถึง 99 พระนาม ซึ่งบ่าวของพระองค์สามารถใช้นามเหล่านั้นเรียกพระองค์ได้ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีบุตร ไร้ภาคี ทรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ เพราะทั้งสองสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดระบบและปัจจัยของทุกสรรพสิ่ง อีกทั้งยังได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งมวล อัลลอฮ์ คืออัตมันที่ทรงสิทธิในการได้รับการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอย่างเด็ดขาดที่ควรแก่การเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ ชาวมุสลิมถือว่าอัลลอฮ์คือพระยาห์เวห์ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและอัลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อายิน

อายิน (Ayin) เป็นอักษรตัวที่ 16 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ע‎ และอักษรอาหรับ ع (อัยน์)‎ เริ่มแรกใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากคอหอยและเป็นเสียงเสียดแทรก มักแทนด้วยอักษรละติน ʿ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์จากอักษรกรีก spiritus asper ʽ, อายินใช้แทนเสียงที่ต่างจาก /อ/ ซึ่งแทนด้วยอะลิฟ ในภาษาโซมาเลียแสดงอัยนฺด้วยอักษร c, และนักอียิปต์วิทยานิยมแทนเสียงนี้ด้วย c อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Omicron (Ο), และอักษรละติน O, รวมทั้งในอักษรซีริลลิกด้วย อักษรเหล่านี้ใช้แสดงเสียงสระทั้งหมด อักษรนี้มาจากภาษาเซมิติกตะวันตก ʿen "ตา" (ในภาษาอาหรับสมัยใหม่แปลตรงตัวว่า "ตาในภาษาฮีบรู: ayin), และอักษรคานาอันไนต์ รูปตาที่อาจจะมาจากไฮโรกลิฟ (ỉr) หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและอายิน · ดูเพิ่มเติม »

อาเลฟ

อาเลฟ (Aleph) เป็นอักษรตัวแรกของอักษรฮีบรู ตรงกับอักษรอาหรับ (ا; “อลิฟ”) อักษรกรีก “อัลฟา” และอักษรละติน “A” พัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย ʾāleph ซึ่งมาจากอักษรคานาอันไนต์ ʾalp “วัว” อักษรนี้ในภาษาอาหรับใช้แทนเสียง /ʔ/ หรือเสียงสระอา เพื่อแสดงว่าอลิฟนั้นแทนเสียงพยัญชนะหรือสระจึงเพิ่มฮัมซะฮ์ (ء) ขึ้นมา เรียกว่า ฮัมซะตุลก็อฏอิ ฮัมซะฮ์ไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรเต็มตัวเท่ากับอักษรอื่น ๆ เพราะมักจะใช้คู่กับตัวพาคือ วาว (و), ยาอ์ที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) และอลิฟ (ا) อลิฟใช้คู่กับฮัมซะฮ์เมื่อเป็นพยางค์แรกของคำและประสมสระเสียงสั้น โดยอยู่ข้างบน (أ) เมื่อเป็นเสียงสระอะหรืออุ และอยู่ข้างล่าง (إ) เมื่อเป็นเสียงสระอิ ถ้าอลิฟเป็นสระเสียงยาวจะไม่แสดงฮัมซะฮ์ ฮัมซะฮ์ชนิดที่ 2 ฮัมซะตุลวัศลิ ใช้เฉพาะกับหน่วยเสียงแรกของคำว่า ال (อัล) อันเป็นคำกำหนดชี้เฉพาะหรือคำในกรณีใกล้เคียงกัน ต่างจากฮัมซะฮ์ชนิดแรกตรงที่ว่า จะถูกยกเลิกเมื่อมีสระอยู่ข้างหน้า ฮัมซะฮ์ชนิดนี้ใช้อะลิฟเป็นตัวพาเท่านั้น ปกติจะไม่เขียนอักษรฮัมซะฮ์ แต่จะเขียนอลิฟเพียงอย่างเดียว อลิฟมัดดะ (alif madda) ใช้ในกรณีที่อะลิฟ 2 ตัวเขียนติดกัน (เสียงอา) จะเขียนอะลิฟในรูป (آ) เช่น القرآن (อัลกุรอาน) อลิฟมักศูเราะฮ์ (alif maqsūrah) รูปร่างเหมือนตัวยาอ์ที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) ใช้เฉพาะตำแหน่งท้ายคำเท่านั้น ใช้แทนเสียงสระอาเช่นเดียวกับอลิฟ ในคำทับศัพท์ภาษาอาหรับจะแทนฮัมซะฮ์ด้วย อ์ เมื่อเป็นตัวสะก.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและอาเลฟ · ดูเพิ่มเติม »

ฮัมซะฮ์

ัมซะฮ์ (الهَمْزة,, ء) เป็นอักษรอาหรับใช้แทนเสียง /อ/ แต่ไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรเท่ากับอักษรอื่นอีก 28 ตัว ใช้แสดงการออกเสียงในยุคต้นๆของศาสนาอิสลาม ใช้เติมบนอะลิฟเพื่อบอกว่าอะลิฟตัวนี้ใช้แทนเสียง /อ/ อาจเขียนได้ในรูป.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและฮัมซะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮัจญ์

การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำหัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ ตามวันเวลา และสถานที่ต่าง ๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ ในช่วงฮัจญ์ ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางเข้าสู่อาระเบีย โดยก่อนอื่นจะมีการทำ อิหฺรอม นั่นคือการตั้งใจว่าจะทำพิธีฮัจญ์ ก่อนการเข้าไปในแผ่นดินหะรอม (แผ่นดินต้องห้าม) โดยจะปฏิบัติตามกฎของหัจญ์ อาทิเช่น การไม่สมสู่ การไม่ล่าสัตว์ในแผ่นดินหะรอม การไม่ตัดเล็บหรือผม การไม่เสริมสวยหรือใช้น้ำหอม ผู้ชายจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย มาสวมผ้าเพียงสองผืน แล้วต่างก็จะมาชุมนุมกันที่ ทุ่งอะร็อฟะหฺ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่เก้าของเดือนซุลฮิจญะหฺ แล้วพอตกค่ำ ซึ่งตามปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะเป็นคืนที่สิบ เหล่านักแสวงบุญจะเดินทางผ่าน ทุ่งมุซดะลิฟะหฺ พักชั่วครู่หนึ่งก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่ ทุ่งมีนา ก่อนเที่ยงของวันต่อไป ส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้าน เรียกวันนี้ว่าวันอีดิลอัฎฮา ทีเรียกว่าอัฎฮาเพราะมีการเชือดสัตว์พลีให้ผู้คนรับประทานในยามดุฮา คือยามสายหลังตะวันขึ้น แต่ก่อนเที่ยง หรือชาวไทยเชื้อสายมลายูในห้าจังหวัดภาคใต้เรียกว่าวันรายอ (รายาฮาญี) ซึ่งแปลเป็นไทยตามตรงก็คือ วันใหญ่ นั่นเอง นักแสวงบุญจะพักอยู่ที่ ทุ่งมีนา เป็นเวลาสามวัน เพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์ หลังจากนั้นจึงเดินทางเข้ากรุงมักกะหฺ เพื่อฏอวาฟเวียนรอบ กะอฺบะฮฺ หรือที่เรียกว่า บัยตุลลอหฺ อันเป็นเสมือนเสาหลักของชุมทิศ ซึ่งตั้งอยู่ใน มัสยิด ฮะรอม (มัสยิดต้องห้าม) หลังจากนั้นผู้แสวงบุญก็จะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะหฺ ซึ่งมีระยะทาง 450 เมตร ไปมาจนครบเจ็ดเที่ยว ระหว่างที่เดินก็จะกล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็จะขริบผมหรือโกนหัว และผู้แสวงบุญก็จะหลุดพ้นจากภาวะ อิฮฺรอม การทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรม ทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศาสดาอิบรอฮีม การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัลลอฮได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล ผู้เป็นลูกชายร่วมกันทำนุบำรุง บัยตุลลอฮฺ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนรุ่นหลังได้อุตริรูปแบบการทำฮัจญ์ จนมันได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอหฺได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทวรูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ กะอฺบะหฺ เพื่อบูชาในระหว่างการทำหัจญ์และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ จนกระทั่ง มาถึงสมัยของศาสดามุฮัมหมัด สิ่งแรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปและเจว็ดรอบข้างกะอฺบะหฺจนหมดสิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้ หมวดหมู่:หลักธรรมของศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและฮัจญ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทาฟ

ทาฟ (Taw, Tav, Taf) เป็นอักษรตัวที่ 22 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ת อักษรอาหรับ (ت; ตาอ์) เริ่มแรกใช้แทนเสียงที่เกิดจากปุ่มเหงือก ไม่ก้อง ไม่มีลม (สัทศาสตร์สากล) อักษรฟินิเชียที่ใช้แทนเสียงนี้ พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก “Τ” อักษรละติน “T” และอักษรซีริลลิก “Т” ในคำทับศัพท์ภาษาอาหรับจะแทนด้วย ต หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและทาฟ · ดูเพิ่มเติม »

ดาเลท

ดาเลท (Daleth) เป็นอักษรตัวที่ 4 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู (ד‎) อักษรอาหรับ (ﺩ‎; ดาล) และอักษรซีเรียค (ܕ) ใช้แทนเสียงก้องไม่มีลม เกิดจากปุ่มเหงือก (voiced alveolar plosive; สัทอักษรสากล) อักษรนี้มาจากไฮโรกลิฟรูปประตู (dalt ภาษาฮีบรูสมัยใหม่เป็น delet) ส่วนอักษรคานาอันไนต์เรียกปลา (digg ภาษาฮีบรูสมัยใหม่เป็น dag) อักษรฟินิเชียที่ใช้แทนเสียงนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก “Δ ” อักษรละติน “D” และอักษรซีริลลิก “Д” หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและดาเลท · ดูเพิ่มเติม »

คอฟ

คอฟ (Qoph, Qop) เป็นอักษรตัวที่ 19 ของอักษรตะกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ק‎ และอักษรอาหรับ ق (ก๊อฟ)‎ ใช้แทนเสียงเน้นจากคอหอย เกิดที่เพดานอ่อน หรือจากลิ้นไก่ อักษรตัวนี้กลายเป็นอักษรละติน Q และอักษรกรีก มาจากอักษรภาพรูปลิงที่แสดงลำตัวและหาง (ในภาษาฮีบรู, Qoph, สะกดด้วยอักษรฮีบรูเป็น קוף, หมายถึง "ลิง" และ K'of ในภาษาอียิปต์โบราณหมายถึงลิงชนิดหนึ่ง) หรืออาจจะมาจากอักษรภาพรูปหัวและคอของคน (Qaph ในภาษาอาหรับหมายถึงลำคอ) หมวดหมู่:อักษรอาหรับ en:Qoph#Arabic qāf.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

คออ์

คออ์ (خ /x/) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงไม่ก้อง เกิดจากเพดานอ่อน และเป็นเสียงในลำคอ (voiceless velar fricative; สัทอักษรสากล) ภาษากลุ่มเซมิติกทางใต้ แยกเสียง ح และ خ เช่นเดียวกับภาษาอาหรับ และมีอักษรแทนเสียงนี้ในอักษรเอธิโอเปีย (Ḫarm ኀ) และอักษรอาระเบียใต้ด้วย หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและคออ์ · ดูเพิ่มเติม »

คาฟ

คาฟ (Kaph, Kap, Kaf) เป็นอักษรตัวที่ 11 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู כ‎ และอักษรอาหรับ ك (ก๊าฟ كَافْ) การออกเสียงในสัทอักษรเป็น อักษรฟินิเชียตัวนี้ไปเป็นอักษรกรีก (Κ), อักษรละติน K, และเป็นอักษรซีริลลิก (К) คาดว่าอักษรกาฟมาจากอักษรภาพรูปมือ (ทั้งในภาษาฮีบรูสมัยใหม่และภาษาอาหรับสมัยใหม่ kaph หมายถึงฝ่ามือ) หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและคาฟ · ดูเพิ่มเติม »

ฆอยน์

ฆอยน์ (ﻍ‎) เป็นอักษรอาหรับ 1 ใน 6 ตัวที่เพิ่มจากอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากเพดานอ่อน และเป็นเสียงเสียดแทรก เสียงนี้มีการแยกเป็นหน่วยเสียงต่างหากในภาษาอาหรับ ภาษายูการิติก และสำเนียงเก่าของภาษาคานาอันไนต์ ส่วนสำเนียงที่ใหม่กว่านี้และภาษาฮีบรูติเบอเรียนได้รวมเสียงนี้เข้ากับอัยนฺอย่างสมบูรณ์ อักษรอาระเบียใต้ยังคงมีสัญลักษณ์สำหรับเสียง ġ, บางครั้งใช้แทนเสียง ในคำยืมในภาษาอาหรับ เช่น คำ Ingliizi (إنغليزي) ที่หมายถึง อังกฤษ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและฆอยน์ · ดูเพิ่มเติม »

ซออ์

ซออ์ (ﻅ‎) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับ ที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากฟัน และเป็นเสียงในลำคอ (pharyngealized voiced dental fricative; สัทศาสตร์สากล) หรือ เสียงก้อง เกิดจากปุ่มเหงือก และเป็นเสียงในลำคอ (voiced alveolar fricative; สัทศาสตร์สากล) เสียงนี้เป็นเสียงเน้นหนักของ z คล้ายกับเสียงของ ﺫ‎ หรือ ﺯ‎ ในภาษาเปอร์เซีย ใช้กับคำยืมจากภาษาอาหรับเท่านั้น เสียงนี้ยังเป็นเสียงที่ใช้น้อยในภาษาอาหรับด้วย จากรากศัพท์ 2,967 คำที่รวบรวมโดย Wehr (1952) รากศัพท์ที่มีเสียงนี้มีเพียง 42 คำ คิดเป็นร้อยละ 1.4 หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและซออ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซายิน

ซายิน (Zayin) เป็นอักษรตัวที่ 7 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ז‎อักษรซีเรียค ܙ และอักษรอาหรับ ﺯ‎ (ซัย) ใช้แทนเสียงก้อง เสียดแทรก เกิดจากปุ่มเหงือก อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Ζ, อักษรอีทรัสคัน z, อักษรละติน Z และอักษรซีริลลิก З รูปอักษรคานาอันไนต์เป็นรูปดาบหรืออาวุธอื่น ๆ ส่วนไฮโรกลิฟเป็นรูปโซ่ตรวน หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและซายิน · ดูเพิ่มเติม »

ซาดี

ซาดี (Tsade) เป็นอักษรตัวที่ 18 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรูצ‎ และอักษรอาหรับ ص (ศอด صَادْ)‎ เสียงเริ่มแรกของอักษรนี้น่าจะเป็น แต่ต่อมาเสียงนี้ต่างออกไปในภาษาตระกูลเซมิติกสมัยใหม่ มีที่มาจากอักษรคานาอันไนต์สามตัว ภาษาอาหรับยังคงแยกหน่วยเสียงเหล่านั้นเป็นอักษรสามตัวคือ ṣād และ ṭāʼ ใช้แสดงเสียงต่างกันสามเสียง (ḍād, ẓāʼ) ในภาษาอราเมอิก เสียงใกล้เคียงของอักษรนี้ถูกแทนที่ด้วย ʻayin และ ṭēt ดังนั้น ในภาษาฮีบรู ereẓ ארץ (โลก) เป็น arʻāʼ ארעא ในภาษาอราเมอิก.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและซาดี · ดูเพิ่มเติม »

ซาเมก

ซาเมก (Samekh) เป็นอักษรตัวที่ 15 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรแอราเมอิก อักษรฮีบรู ס อักษรซีเรียค ܣ และอักษรอาหรับ س (ซีน) ใช้แทนเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Ξ มาจากอักษรคานาอันไนต์ที่มาจากไฮโรกลิฟรูปกระดูก ซามเมก.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและซาเมก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบรูไน

รูไน (Brunei) หรือ เนอการาบรูไนดารุซซาลาม (Negara Brunei Darussalam) เป็นรัฐเอกราชบนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียตะวันออก บรูไนเป็นประเทศเดียวที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่บนเกาะบอร์เนียว ส่วนพื้นที่ ๆ เหลือของเกาะถูกแบ่งเป็นของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ประทศบรูไนมีประชากรประมาณ 423,196 คนใน..

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศบรูไน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอุซเบกิสถาน

อุซเบกิสถาน (Uzbekistan; O'zbekiston) หรือชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (Republic of Uzbekistan; O‘zbekiston Respublikasi) เป็นประเทศในทวีปเอเชียกลางที่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตติดกับประเทศอัฟกานิสถานในทวีปเอเชียใต้ ประเทศคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลอารัล อุซเบกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศอุซเบกิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคาซัคสถาน

อัลมาตี คาซัคสถาน (Қазақстан,; Казахстан) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Қазақстан Республикасы; Республика Казахстан) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขวางในทวีปเอเชีย และเป็นสาธารณรัฐในอดีตสหภาพโซเวียต มีพรมแดนติดกับประเทศรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศในเอเชียกลาง ได้แก่ คีร์กีซถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน คาซัคสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก อย่างไรก็ดี มีพื้นที่กึ่งทะเลทราย (steppe) อยู่มาก จึงมีประชากรเป็นอันดับที่ 57 มีประมาณ 6 คน/ตร.กม.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคีร์กีซสถาน

ก พิพิธภัณฑ์เลนิน ชายสวมหมวกแบบดั้งเดิม คีร์กีซสถาน (คีร์กีซและКыргызстан) หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐคีร์กีซ (Кыргыз Республикасы; Кыргызская Республика) เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดมีชื่อว่าบิชเคก (เดิมเรียกว่า ฟรุนเซ) คีร์กีซสถานเดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศคีร์กีซสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเติร์กเมนิสถาน

ติร์กเมนิสถาน (Türkmenistan) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน อิหร่าน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน เติร์กเมนิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและประเทศเติร์กเมนิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

นบี

นบี (نبي) หมายถึง ศาสดาในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า นับบะอะ หรือ อัมบะอะ แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและนบี · ดูเพิ่มเติม »

นูน

นูน (Nun) เป็นอักษรตัวที่ 14 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรูנ‎ และอักษรอาหรับ ﻥ‎ และเป็นอักษรตัวที่สามของอักษรทานะ (ނ)- มีชื่อว่านูนุ แทนด้วยสัทอักษร: อักษรฟินิเชียตัวนี้ไปเป็นอักษรกรีก (Ν), อักษรอีทรัสคัน ̍, อักษรละติน N, และอักษรซีริลลิก Н คาดว่านุนมาจากอักษรภาพรูปงู (คำว่างูในภาษาฮีบรู, nachash เริ่มด้วยนุน และคำว่างูในภาษาอราเมอิกคือ nun) หรือปลาไหล แต่บางกลุ่มเชื่อว่ามาจากไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์รูปปลาในน้ำ (ในภาษาอาหรับ, nūn หมายถึงปลาหรือวาฬ).

ใหม่!!: อักษรอาหรับและนูน · ดูเพิ่มเติม »

เพ (ตัวอักษร)

เพ (Pe) เป็นอักษรตัวที่ 17 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู פ‎ และอักษรอาหรับ ف (ฟาอ์) ใช้แทนเสียงไม่ก้อง เกิดจากริมฝีปาก ไม่มีลม: IPA อักษรฟินิเชียตัวนี้ไปเป็นอักษรกรีก Pi (Π), อักษรละติน P, และอักษรซีริลลิก Pe จุดกำเนิดมาจากอักษรภาพรูปปาก (ภาษาฮีบรู pe; ภาษาอาหรับ, fem) พเพ en:Pe (letter)#Arabic fāʼ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและเพ (ตัวอักษร) · ดูเพิ่มเติม »

เรช

เรช (Resh) เป็นอักษรตัวที่ 20 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู (ר) และอักษรอาหรับ (ﺭ‎; รออ์) ใช้แทนเสียงรัวลิ้น (rhotic consonants; สัทอักษรสากล หรือ) แต่ในภาษาฮีบรู จะใช้แทนเสียง และ ด้วย รูปร่างของอักษรนี้ในอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่จะคล้ายกับตัวดาล อักษรซีเรียคใช้ตัวเดียวกัน แยกจากกันโดยใช้จุด r มีจุดอยู่ข้างบน ส่วน d มีจุดอยู่ข้างล่าง อักษรอาหรับ ﺭ‎ มีหางยาวกว่า ﺩ‎ ส่วนในอักษรอราเมอิก และอักษรฮีบรู ที่เป็นอักษรทรงเหลี่ยม ר เป็นขีดทรงโค้งอันเดียว ส่วน ד เป็นขีด 2 ขีดทำมุมกัน อักษรนี้มาจากไฮโรกลิฟรูปหัว (ฮีบรู rosh; อาหรับ ra's) ตัวนี้ภาษาเซมิติกตะวันออกเรียก riš ซึ่งอาจเป็นคำอ่านของอักษรรูปลิ่มในภาษาอัคคาเดีย อักษรฟินิเชียที่ใช้แทนเสียงนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก “Ρ” อักษรละติน “R” และอักษรซีริลลิก “ Р” รเรช ar:ر fa:ر ms:Ra (huruf Arab).

ใหม่!!: อักษรอาหรับและเรช · ดูเพิ่มเติม »

เฮ (ตัวอักษร)

เฮ (He) เป็นอักษรตัวที่ห้าในอักษรตระกูลเซมิติก รวมทั้งอักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ה‎, อักษรซีเรียค ܗ และอักษรอาหรับ ه‎; ฮาอ์ /h/) ใช้แทนเสียงไม่ก้อง เสียดแทรก เกิดที่สายเสียง อักษรฟินิเชียตัวนี้ไปเป็นอักษรกรีก Epsilon, อักษรอีทรัสคัน ̄, อักษรละติน E และอักษรซีริลลิก Ye เฮในอักษรฟินิเชียใช้แทนเสียงพยัญชนะ แต่อักษรลูกหลานอื่น ๆ ใช้แทนเสียงสระ ในภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกโบราณ มีเสียงไม่ก้องและเป็นเสียงในลำคอสามเสียงคือ เกิดที่เพดานอ่อน ḫ เกิดที่สายเสียงและคอหอย ḥ ดังที่พบในอักษรอาระเบียใต้และอักษรเอธิโอปิก ในอักษรคานาอันไนต์, ḫayt และ ḥasir รวมเข้ากับ Heth "fence" ฮเฮ ms:Ha (huruf Arab).

ใหม่!!: อักษรอาหรับและเฮ (ตัวอักษร) · ดูเพิ่มเติม »

เฮท

เฮท (Heth) เป็นอักษรตัวที่ 8 ของอักษรคานาอันไนต์ ซึ่งพัฒนาต่อมาเป็นอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรู อักษรอาหรับ (ح: หาอ์ /ħ/) อักษรซีเรียค ใช้แทนเสียงไม่ก้อง และเป็นเสียงในลำคอซึ่งอาจเป็นทั้งเสียงที่เกิดจากคอหอย (หรือเพดานอ่อน ส่วนภาษาอาหรับแยกความแตกต่างโดยใช้ ح แทนเสียง และใช้ خ แทนเสียง อักษรฮีบรูเริ่มแรกใช้ ח แทน และ כ แทน ต่อมาทั้ง 2 ตัวใช้แทนเสียงไม่ก้องเกิดจากลิ้นไก่ และเป็นเสียงในลำคอ อักษรคานาอันไนต์ตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก “Η”, อักษรละติน "H” และอักษรซีริลลิก “И” โดย H ในอักษรละตินยังใช้แทนเสียงพยัญชนะ ส่วน Η ในอักษรกรีกและ И ใช้แทนเสียงสระ ในคำทับศัพท์จะแทนด้วย ฮ ฮเฮ br:Het ceb:Ḥet en:Heth fi:Ḥet it:Heth pl:Chet sv:Het zh:Heth.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและเฮท · ดูเพิ่มเติม »

เทท

เทท (Teth) เป็นอักษรตัวที่ 9 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ט‎, อักษรซีเรียค ܛ และอักษรอาหรับ (ﻁ; ฏออ์)‎ ใช้แทนเสียง ซึ่งเป็นเสียงพยัญชนะเน้น อักษรนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Theta (Θ) ต้นกำเนิดมาจากอักษรฟินิเชีย ชื่อ ṭēth หมายถึง "ล้อ" แต่อาจจะมาจากอักษรภาพชื่อ ṭab "ดี" ที่มาจากไฮโรกลิฟ nfr "ดี" หมวดหมู่:อักษรอาหรับ en:Teth#Arabic Ṭāʼ.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและเทท · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายการออกเสียงอักษรอาหรับ

รื่องหมายการออกเสียง ในภาษาอาหรับเรียกว่า หะเราะกาต (حَرَكَاةْ แปลตรงตัว “ความเคลื่อนไหว”) เป็นเครื่องหมายที่ใช้แสดงเสียงสระในภาษาอาหรับ คำว่า"หะเราะกาต"ในที่นี้หมายถึงการเคลื่อนไหวในอากาศเมื่อมีการออกเสียงสระ ในภาษาฮีบรูคำว่าสระและความเคลื่อนไหวใช้คำเดียวกันเช่นกันคือ tnuá.

ใหม่!!: อักษรอาหรับและเครื่องหมายการออกเสียงอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Arabic alphabetอักษรอารบิก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »