โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เหตุการณ์ 14 ตุลา

ดัชนี เหตุการณ์ 14 ตุลา

หตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง.อ.ณรงค์ กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า "3 ทรราช" เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสำเร็จและยังถือเป็นการรวมตัวของประชาชนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้นหนังสือ มาร์ค เขาชื่อ...

88 ความสัมพันธ์: บุญสนอง บุณโยทยานบุญส่ง ชเลธรพ.ศ. 2514พ.ศ. 2516พ.ศ. 2519พ.ศ. 2546พ.ศ. 2548พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระตำหนักจิตรลดารโหฐานกฎอัยการศึกกรมประชาสัมพันธ์กระทิงกรุงเทพมหานครกฤษณ์ สีวะรากองทัพอากาศไทยการก่อการกำเริบโดยประชาชนการจลาจลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518มหาวิทยาลัยรามคำแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มนต์ชัย พันธุ์คงชื่นรัฐธรรมนูญรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ลานพระราชวังดุสิตวสิษฐ เดชกุญชรวิสา คัญทัพวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนมสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสยามสแควร์สฤษดิ์ ธนะรัชต์สัญญา ธรรมศักดิ์สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยสงครามเวียดนามหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชอำเภอบางเลนอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอ่าวไทยจอมพล (ประเทศไทย)จังหวัดพังงาจังหวัดนครปฐมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย...ธีรยุทธ บุญมีถนอม กิตติขจรถนนพระรามที่ 5ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ทวี จุลละทรัพย์ท้องสนามหลวงขบวนการการทำให้เป็นประชาธิปไตยควังจูณรงค์ กิตติขจรณรงค์ มหานนท์คริสต์ศตวรรษที่ 20คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนเดือนตุลาตลาดนัดตุลาคมประพันธ์ศักดิ์ กมลเพ็ชรประภาส จารุเสถียรประจวบ สุนทรางกูรประตูน้ำประเสริฐ รุจิรวงศ์ประเทศเกาหลีใต้นพพร สุวรรณพานิชแม่น้ำเจ้าพระยาแยกพลับพลาไชยแยกคอกวัวแสวง ธีระสวัสดิ์โอสถ โกศินโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยเมตตา รุ่งรัตน์เหตุการณ์ 6 ตุลาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง14 ตุลา สงครามประชาชน3 ทรราช ขยายดัชนี (38 มากกว่า) »

บุญสนอง บุณโยทยาน

ญสนอง บุณโยทยาน อดีตหัวหน้าแผนกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย บุญสนอง บุณโยทยาน หรือ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน ถูกลอบสังหารเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 1.30 น. ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ขณะดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย โดย คาร์ล เอ.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและบุญสนอง บุณโยทยาน · ดูเพิ่มเติม »

บุญส่ง ชเลธร

นายบุญส่ง ชเลธร ปัจจุบันเป็นรองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จบการศึกษาระดับปริญญาตรีการศึกษาเบื้องต้น จากวิทยาลัยครูสวนสุนันทา, ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง นายบุญส่ง มีชื่อเสียงมาจากการเป็นนักศึกษาที่ทำกิจกรรมทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2513-พ.ศ. 2516 ในระหว่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ในช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและบุญส่ง ชเลธร · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2514

ทธศักราช 2514 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1971 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและพ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2516

ทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและพ.ศ. 2516 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2519

ทธศักราช 2519 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1976 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและพ.ศ. 2519 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2546

ทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและพ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

ระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นพระตำหนักในพระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่9.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน · ดูเพิ่มเติม »

กฎอัยการศึก

กฎอัยการศึก (martial law) เป็นกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน กฎอัยการศึกมักกำหนดเป็นการชั่วคราวเมื่อรัฐบาลหรือข้าราชการพลเรือนไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง หรือให้บริการที่สำคัญ ในกฎอัยการศึกเต็มขั้น นายทหารยศสูงสุดจะยึด หรือได้รับแต่งตั้ง เป็นผู้ว่าการทหารหรือเป็นหัวหน้ารัฐบาล ฉะนั้น จึงเป็นการถอดอำนาจทั้งหมดทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการของรัฐบาล กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่มีอยู่ในเวลาปกติ แต่ไม่ได้ใช้บังคับ โดยเมื่อจะใช้บังคับจะต้องประกาศ และกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้บังคับ ในหลายประเทศจะไม่มีการตราเป็นกฎหมายชัดเจน เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ในบางประเทศจะตราเป็นกฎหมายชัดเจน เช่น ฝรั่งเศส ไทย รัฐบาลอาจใช้กฎอัยการศึกเพื่อควบคุมสาธารณะ เหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นหลังรัฐประหาร (เช่น ประเทศไทยใน พ.ศ. 2549) เมื่อถูกการประท้วงของประชาชนคุกคาม (เช่น การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในประเทศจีน พ.ศ. 2532) เพื่อปราบปรามคู่แข่งทางการเมือง (เช่น ประเทศโปแลนด์ในปี พ.ศ. 2524) หรือเพื่อกำราบการก่อการกบฏ (เช่น วิกฤตการณ์เดือนตุลาคม พ.ศ. 2513 ในประเทศแคนาดา) อาจมีประกาศกฎอัยการศึกในกรณีภัยพิบัติธรรมชาติใหญ่ ทว่า ประเทศส่วนมากประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินแทน นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดกฎอัยการศึกระหว่างความขัดแย้งหรือในกรณีการยึดครอง เมื่อไม่มีการจัดรัฐบาลพลเรือนอื่นใดให้กับประชากรที่ไม่มีเสถียรภาพ ตัวอย่างเช่น การบูรณะประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดจนการบูรณะตอนใต้หลังสงครามกลางเมืองอเมริกา ตามแบบ การกำหนดกฎอัยการศึกจะประกอบกับการห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน การระงับกฎหมายแพ่ง สิทธิพลเมือง หมายสั่งให้ส่งตัวผู้ถูกคุมขังมาศาล และการใช้หรือขยายกฎหมายทหารหรือการศาลทหารกับพลเรือน.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและกฎอัยการศึก · ดูเพิ่มเติม »

กรมประชาสัมพันธ์

กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลไทย ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เสริมสร้างความเข้าใจ ระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกัน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่โน้มน้าวชักจูงประชาชน ให้ร่วมมือกับรัฐบาล และหน่วยงานราชการ.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและกรมประชาสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

กระทิง

กระทิง หรือ เมย เป็นวัวป่าชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและกระทิง · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กฤษณ์ สีวะรา

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก กฤษณ์ สีวะรา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บัญชาการทหารบกคนที่ 19 ของไทย อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ 14 ตุลา ในฐานะ ผู้อำนวยการรักษาความสงบ ภายหลังการลาออกจากทุกตำแหน่งและเดินทางออกนอกประเทศ ของจอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร พันเอกณรงค์ กิตติขจร.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและกฤษณ์ สีวะรา · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศไทย (อักษรย่อ: ทอ., '''Royal Thai Air Force''': '''RTAF'''.) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและกองทัพอากาศไทย · ดูเพิ่มเติม »

การก่อการกำเริบโดยประชาชน

การก่อการการกำเริบโดยประชาชน (People's uprising) เป็นคำศัพท์ทางการเมืองที่หมายถึง การลุกขึ้นต่อต้านอำนาจผู้ปกครองหรือภาครัฐอันกระทำโดยประชาชนที่พร้อมใจกันในประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นการต่อต้านในประเด็นที่ต่างกันออกไป เช่น การต่อต้านการสืบทอดอำนาจ การต่อต้านระบอบอำนาจนิยมแบบเบ็ดเสร็จ หรือการต้องการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นต้น ในบางครั้ง การก่อการการกำเริบโดยประชาชนอาจจะพัฒนาไปสู่การเป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นรูปเป็นร่างเป็นระบบที่มั่นคงขึ้นต่อไปได้ เช่น พรรคบอลเซวิคที่เกิดขึ้นหลังการกำเริบรัสเซีย เป็นต้น ตัวอย่างของการก่อการกำเริบโดยประชาชน เช่น การกำเริบฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1789-ค.ศ. 1799, เหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู, การก่อการกำเริบ 8888, การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า พ.ศ. 2550 ในทางการเมืองไทย ปรากฏการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนที่ปรากฏเด่นชัดได้แก่ การประท้วงการเลือกตั้งสกปรก พ.ศ. 2500, เหตุการณ์ 14 ตุลา และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและการก่อการกำเริบโดยประชาชน · ดูเพิ่มเติม »

การจลาจล

การจุดไฟเผารถยนต์ระหว่างการจลาจล การจลาจล เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อความไม่สงบต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทรัพย์สินหรือประชาชน ซึ่งมีลักษณะเป็นการปรากฏตัวออกมาทันใดของกลุ่มคนที่ไม่มีการจัดระเบียบและหุนหันพลันแล่นที่จะใช้ความรุนแรง ถึงแม้ว่าอาจมีคนหรือกลุ่มคนพยายามที่จะนำหรือควบคุมการจลาจล แต่ส่วนใหญ่แล้วการจลาจลมักไร้ระเบียบเป็นธรรมดาและแสดงพฤติกรรมฝูง การจลาจลมักเกิดขึ้นเป็นปฏิกิรยาจากการได้รับความเดือดร้อนหรือการแสดงความไม่เห็นด้วย ในประวัติศาสตร์ การจลาจลเกิดขึ้นเนื่องจากได้รับค่าแรงต่ำหรือคุณภาพชีวิต รัฐบาล การกดขี่ ภาษีหรือการเกณฑ์ทหาร ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเชื้อชาติ การขาดแคลนอาหารหรือความขัดแย้งทางศาสนา ผลจากการแข่งขันกีฬาหรือความไม่พอใจกับช่องทางของกฎหมายผ่านการแสดงความคับข้องใจ การจลาจลมักเกี่ยวข้องกับการทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือเอกชน ทรัพย์สินที่ตกเป็นเป้าหมายโดยเฉพาะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของการจลาจลและการโน้มเอียงทางความคิด เป้าหมายสามารถรวมไปถึงร้านค้า รถยนต์ ร้านอาหาร สถาบันของรัฐหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา ผู้ก่อการจลาจลจำนวนหนึ่งค่อนข้างมีความชำนาญในการทำความเข้าใจและการสกัดยุทธวิธีที่ตำรวจใช้ในสถานการณ์จลาจล คู่มือสำหรับการจลาจลให้ประสบความสำเร็จสามารถเข้าถึงได้บนอินเทอร์เน็ต คู่มือเหล่านี้ยังกระตุ้นให้ผู้ก่อการจลาจลนำสื่อเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากพบว่าการมีกล้องไปด้วยจะมีความปลอดภัยและได้รับความสนใจมากกว่า พลเมืองที่มีกล้องวิดีโอยังสามารถมีผลกระทบต่อทั้งผู้ก่อการจลาจลและตำรวจได้ เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนสวมเกราะลำตัวและโล่ การรับมือกับการจลาจลมักจะเป็นงานยากของกรมตำรวจบ่อยครั้ง และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกส่งตัวไปรับมือกับการจลาจลมักจะถือโล่ยุทธวิธีและลูกซองปราบจลาจล ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการกระจายที่กว้างกว่าของล้ากล้องสั้น ตำรวจยังอาจใช้แก๊สน้ำตาหรือแก๊สซีเอสเพื่อหยุดผู้ก่อการจลาจล ตำรวจปราบจลาจลส่วนใหญ่ใช้วิธีอาวุธไม่ร้ายแรงในการควบคุมฝูงชน อย่างเช่น ปืนลูกซองที่ยิงกระสุนยางและกระสุนถุงตะกั่วเพื่อทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือทำให้ผู้ก่อการจลาจลง่ายต่อการจับกุม.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและการจลาจล · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Ramkhamhaeng University; ชื่อย่อ: ม.ร. - RU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา คือมีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ แต่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน อันเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย และมีชื่อเสียงในด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์อย่างมาก.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและมหาวิทยาลัยรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า ม. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม..ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Kasetsart University; อักษรย่อ: มก.) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ เดิมเป็นโรงเรียนช่างไหมในปี..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น

ลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่น (2 กันยายน พ.ศ. 2464 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและมนต์ชัย พันธุ์คงชื่น · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญ

มหากฎบัตร (Magna Carta) รัฐธรรมนูญ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบั..2525 ให้ความหมายว่า "รัฐธรรมนูญ" คือกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเท.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514

รัฐประหารในประเทศไท..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ตราสัญลักษณ์ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (Royal Turf Club of Thailand under the Royal Patronage) หรือที่นิยมเรียกกันว่าสนามม้านางเลิ้ง เป็นสถานที่จัดแข่งขันม้าในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่เลขที่ 183 ถนนพิษณุโลก แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เปิดสนามอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ธันวาคม..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลานพระราชวังดุสิต

ระบรมรูปทรงม้า ภาพถ่ายประมาณ สมัยรัชกาลที่ 6 พระบรมรูปทรงม้า และ ลานพระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน ภาพน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2485 หมุดคณะราษฎร พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนาม ของทหารรักษาพระองค์ ภาพแสดงที่ตั้งของหมุดคณะราษฎร (วงกลมสีเหลือง) พระลานพระราชวังดุสิต หรือที่นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นลานกว้างอยู่ด้านหน้าของพระที่นั่งอนันตสมาคมและสวนอัมพร ในเขตพระราชวังดุสิต ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ "พระบรมรูปทรงม้า" และหมุด 24 มิถุนายน 2475 ที่ระลึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและลานพระราชวังดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

วสิษฐ เดชกุญชร

ลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561)) อดีตนายตำรวจราชสำนักประจำ และเป็นผู้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไว้วางพระราชหฤทัย จนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ ก่อนที่จะออกมาดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ที่เป็นนักเขียนนวนิยายเกี่ยวกับวงการตำรวจ และอาชญากรรม โดยนำมาจากประสบการณ์จริง จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2541 ได้รับยกย่องว่าเป็นตำรวจตงฉินแห่งกรมตำรวจไทย ยุคปราบปรามคอมมิวนิสต.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและวสิษฐ เดชกุญชร · ดูเพิ่มเติม »

วิสา คัญทัพ

วิสา คัญทัพ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นักคิดนักเขียน กวี ศิลปินเพลงเพื่อชีวิต อิสระ อดีตเคยเป็น 1 ใน 9 นักศึกษาที่ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพจนถูกลบชื่อออกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เกิดการเดินขบวนครั้งใหญ่ในวันที่ 21-22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 อันเป็นชนวนนำไปสู่การเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากจอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียรจนถูกจับเป็น 1 ใน 13 กบฏรัฐธรรมนูญ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและวิสา คัญทัพ · ดูเพิ่มเติม »

วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์

ลโท พลตำรวจเอก วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555) อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ อดีตรองเสนาธิการทหารบกและบิดาของ นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ อดีต ส.ว. จังหวัดพะเยา และอดีตรองหัวหน้า พรรคเพื่อแผ่นดิน.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย

ูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ย่อ: ศนท.) เป็นขบวนการทางการเมืองในประเทศไทยในอดีต.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม

มาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม มี 4 เขตการเลือกตั้ง (ปี พ.ศ. 2554) มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตได้ 4 คน จากทั้งหมด 375 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไท.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง พลตำรวจเอกหญิง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พระนามเดิม: สังวาลย์ ตะละภัฏ; พระราชสมภพ: 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ณ จังหวัดนนทบุรี — สวรรคต: 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ณ กรุงเทพมหานคร) เป็นพระชายาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นพระอัยยิกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระองค์มีพระนามที่นิยมเรียกกันว่า สมเด็จย่า ทั้งนี้พระองค์ยังได้ประกอบพระราชกรณียกิจเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร และได้พระราชทานความช่วยเหลือผ่านทางเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เปรียบเสมือนพระองค์เสด็จมาจากฟากฟ้าช่วยให้พวกเขามีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ชาวไทยภูเขาจึงถวายพระสมัญญานามว่า "แม่ฟ้าหลวง"มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัม.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

สยามสแควร์

มสแควร์ด้านนถนนพญาไท สยามสแควร์ ศูนย์การค้าแบบเชิงราบ จากภาพคือบริเวณสยามสแควร์ซอย 7 สยามสแควร์ ปี พ.ศ. 2558 สยามสแควร์ หรือเรียกกันว่า สยาม เป็นศูนย์การค้าแบบเชิงราบในกรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 63 ไร่ ตั้งอยู่บนหัวมุมถนนพญาไท และถนนพระราม 1 โดยด้านหลังติดกับถนนอังรีดูนังต์ และด้านทิศตะวันออกติดต่อกับคณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขและคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้านหนึ่งติดกับ ห้างสรรพสินค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และอีกด้านหนึ่งติดกับ สยามดิสคัฟเวอรี สยามเซ็นเตอร์และสยามพารากอน สยามสแควร์เป็นพื้นที่ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธุรกิจในสยามสแควร์มีความหลากหลาย ทั้งโลกของแฟชั่น อาหาร พื้นที่โฆษณา โรงเรียนกวดวิชา สังคมเด็กแนว หรือในแวดวงทางการธุรกิจการตลาด เป็นสถานที่ที่มีการทดลองสินค้า และกิจกรรมการตลาดแบบแปลกใหม่และเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่ง มีจำนวนคนเดินในสยามสแควร์ในวันธรรมดาเฉลี่ยวันละ 20,000 คน วันหยุดไม่ต่ำกว่า 50,000 คน ซึ่งแต่ละคนมีกำลังซื้อเฉลี่ย 1,000 บาท/ครั้ง/คน สยามสแควร์ในปัจจุบันมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายนอก รูปแบบอาคารอยู่เสมอ แต่ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงภูมิทัศน์ มีการเพิ่มการแพร่ภาพสื่อผ่านทางจอโทรทัศน์ทั่วสยามสแควร์ และทางสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการศึกษาผังแม่บทสยามสแควร์ขึ้นอย่างจริงจัง และโครงการหลังจากเซ็นเตอร์พอยท์ได้หมดสัญญาลงไป ก็คือโครงการ "ดิจิตอล เกตเวย์" และยังมีโครงการอาคารจอดรถ โครงการโรงแรม 3 ดาวครึ่ง ในอนาคต สยามสแควร์มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสมัยนิยมของไทย โดยมีภาพยนตร์ที่มีฉากหรือเนื้อหาเกี่ยวกับสยามสแควร์ เช่น รักแห่งสยาม และ สยามสแควร์ นอกจากนี้มิวสิกวิดีโอก็นิยมใช้สยามสแควร์เป็นฉากในเรื่อง.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและสยามสแควร์ · ดูเพิ่มเติม »

สฤษดิ์ ธนะรัชต์

อมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 — 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทย และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด เจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ใน วันที่ 16 กันยายน..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและสฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญญา ธรรมศักดิ์

ตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ (5 เมษายน พ.ศ. 2450 — 6 มกราคม พ.ศ. 2545) เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา, คณบดีคณะนิติศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ,ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปลัดกระทรวงยุติธรรมรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545 สิริอายุรวมได้ 94 ปี.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและสัญญา ธรรมศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ตราสัญลักษณ์เดิมของ สวท. ใช้ครั้งสุดท้ายในปี 2548 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ (ชื่อย่อ: สวท.) เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐบาล มีสถานะเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย

นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (Embassy of the United States, Bangkok) ตั้งอยู่เลขที่ 95 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ตรงข้ามอาคารสินธร ฝ่ายการพาณิชย์ สถานทูตอเมริกา ตั้งอยู่เลขที่ 93/1 อาคารดีทแฮล์มทาวเวอร์ เอ ชั้น 3 ห้อง 302 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ภาพนี้ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2487 ในงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 19 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ที่สหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 4 สมัย ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนเข้าสู่วงการเมือง เคยเป็นผู้พิพากษา และเคยดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา มาก่อน ม.ร.ว.เสนีย์ เกิดที่ค่ายทหาร ในจังหวัดนครสวรรค์ เวลาใกล้รุ่ง เป็นโอรสใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) ชื่อ "เสนีย์" หมายถึง ทหาร หรือ เสนาบดี ได้รับพระราชทานนามนี้จากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สันนิษฐานว่า เนื่องจากเสด็จพ่อ (พระองค์เจ้าคำรบ) เป็นทหาร ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช มีบุตรชาย-หญิง 3 คน บุตรชาย ได้แก่ ม.ล.เสรี ปราโมช, ม.ล.อัศนี ปราโมช และ บุตรี ได้แก่ ม.ล.นียนา ปราโมช ม.ร.ว.เสนีย์ มีน้องชายที่มีชื่อเสียงคู่กันคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีความสามารถในหลายสาขา โดยสื่อมวลชนนิยมเรียก ท่านทั้งคู่ว่า "หม่อมพี่ หม่อมน้อง" นอกจากนี้ยังมีพี่สาวคือ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี (สมรสกับ พล.ต.อ.พระพินิจชนคดี หรือ พินิจ อินทรทูต) ม.ร.ว เสนีย์ เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่อายุน้อยที่สุดในประศาสตร์การเมืองไทย ด้วยอายุขณะรับตำแหน่ง คือ 40 ปี.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบางเลน

อำเภอบางเลน เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดนครปฐม.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและอำเภอบางเลน · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

ูปวีรชน 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ในวันที่ 14 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ตั้งอยู่เลขที่ 14/16 ถนนราชดำเนินนอก แขวงเสาชิงช้า บริเวณสี่แยกคอกวัว สร้างเสร็จในปี..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ในกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 5.0 ถนนพหลโยธิน โดยที่ กม.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล อันเป็นแบบที่ชนะการประกวดการออกแบบอนุสาวรีย์แห่งนี้ การออกแบบได้นำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสาน ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า นอกจากการเป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงประชาธิปไตยนั้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ ยังเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ใช้เป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง อาทิ การชุมนุมของประชาชนและนักศึกษาใน เหตุการณ์ 14 ตุลา, การชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553, การชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ พ.ศ. 2556 เป็นต้น.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวไทย

อ่าวไทย อ่าวไทย เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยถือเป็นอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทยด้ว.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและอ่าวไทย · ดูเพิ่มเติม »

จอมพล (ประเทศไทย)

อมพล เป็นยศทหารชั้นสูงสุดของกองทัพไทย โดยมียศที่เทียบเท่ากันของทั้งสามเหล่าทัพ ได้แก่ จอมพล (ทหารบก) จอมพลเรือ (ทหารเรือ) และจอมพลอากาศ (ทหารอากาศ) (ตามพระราชบัญญัติยศทหาร พ.ศ. ๒๔๗๙) โดยเป็นยศสูงกว่าพลเอก และเป็นรองแต่เพียงจอมทัพไทยเท่านั้น(จอมทัพเป็นตำแหน่งมิใช่ยศทางการทหาร จอมทัพไทยหรือพระมหากษัตริย์ทรงดำรงยศ จอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ).

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและจอมพล (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพังงา

ังงา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไท.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและจังหวัดพังงา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครปฐม

ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและจังหวัดนครปฐม · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ธีรยุทธ บุญมี

ตราจารย์ ธีรยุทธ บุญมี (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2493) เป็นนักวิชาการ นักวิจารณ์การเมือง และนักเขียนรางวัลศรีบูรพา อดีตเลขาธิการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา เคยเป็นอาจารย์ประจำ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ สาขามานุษยวิทยา ในปี..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและธีรยุทธ บุญมี · ดูเพิ่มเติม »

ถนอม กิตติขจร

อมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ถนอม กิตติขจร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454—16 มีนาคม พ.ศ. 2547) เป็น อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์การประท้วงของ นิสิต นักศึกษา และประชาชน โดยในเหตุการณ์ ทหารได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเดินทางออกจากประเทศ พร้อมกับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ภายหลังเหตุการณ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับ แล้วบวชเป็นพระสามเณร เป็นชนวนไปสู่การ ขับไล่ ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ จนโยงไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา ปี 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ และนับจากการเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายทหารที่มาจากคนธรรมดาสามัญที่ครองยศจอมพลสายทหารบก มีด้วยกัน 7 คน จอมพลถนอมเป็นคนที่ 6 จอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นคนที่ 7 แต่ผู้ที่มีอายุยืนที่สุด คือจอมพลถนอม จึงกลายเป็น "จอมพลคนสุดท้าย" จอมพลถนอมถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อกลางดึก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและถนอม กิตติขจร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 5

นนพระรามที่ 5 (Thanon Rama V) เป็นถนนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง แขวงสวนจิตรลดา บริเวณด้านข้างทำเนียบรัฐบาล เลียบคลองเปรมประชากรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลกที่สี่แยกพาณิชยการ ตัดกับถนนศรีอยุธยาที่สี่แยกวัดเบญจฯ ตัดกับถนนราชวิถีที่สี่แยกราชวิถี ตัดกับถนนสุโขทัยที่สี่แยกสุโขทัย ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี ตัดกับถนนนครไชยศรีที่สี่แยกราชวัตร ตัดกับถนนอำนวยสงครามและถนนเศรษฐศิริที่สี่แยกเกษะโกมล และสิ้นสุดเมื่อไปตัดกับถนนทหารที่สี่แยกสะพานแดง (ถนนสายที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนเตชะวณิช) ถนนพระรามที่ 5 เดิมชื่อ "ถนนลก" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต โดยได้ทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ชื่อถนนลกเป็นภาษาจีนมาจากชื่อภาพเครื่องลายครามที่มีภาพลก คือ เทพเจ้าจีนใส่หมวกมีใบพัด 2 ข้าง หรือกวางอยู่ด้วย กวางกับหมวกนั้นมีความหมายว่าเกียรติยศนั่นเอง ครั้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนลก ตั้งแต่ถนนลูกหลวงถึงถนนเตชะวณิชเป็น "ถนนพระรามที่ 5" เพราะมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตและถนนสายนี้ขึ้น.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและถนนพระรามที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)

นนราชวิถี (ถ่ายจากมุมสูง) ถนนราชวิถี (Thanon Ratchawithi) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างถนนราชปรารภกับถนนดินแดงในท้องที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพญาไท และถนนพหลโยธินที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เข้าสู่ท้องที่แขวงทุ่งพญาไท ผ่านโรงพยาบาลราชวิถี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ไปตัดกับถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกตึกชัย) ตัดกับถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต ตัดกับถนนสวรรคโลก (สี่แยกอุภัยเจษฎุทิศ) และถนนพระรามที่ 5 (สี่แยกราชวิถี) ผ่านสวนสัตว์ดุสิต จากนั้นตัดกับถนนอู่ทองใน (สามแยกอู่ทองใน) ถนนนครราชสีมา (สี่แยกการเรือน) และถนนสามเสน (สี่แยกซังฮี้) เข้าสู่ท้องที่แขวงวชิรพยาบาล ก่อนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (สะพานกรุงธนบุรี) เข้าเขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งการพื้นที่ปกครองระหว่างแขวงบางพลัดกับแขวงบางยี่ขันไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ (สี่แยกบางพลัด) ถนนราชวิถี เดิมชื่อ ถนนซางฮี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตบริเวณพื้นที่ระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมและคลองสามเสน โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนรอบพระราชวังดุสิต 3 สาย คือ ถนนลก (ปัจจุบันคือถนนพระรามที่ 5) ถนนดวงตะวัน (ปัจจุบันคือถนนศรีอยุธยา) และถนนซางฮี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซังฮี้ (ปัจจุบันคือถนนราชวิถี) นามถนนทั้ง 3 สายนี้ พระราชทานตามชื่อเครื่องกิมตึ๋งคือภาพเครื่องลายครามจีน "ซางฮี้" (อักษรจีน: 双喜) ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋วแปลว่า มงคลคู่ หมายความว่า สุข สนุก สบาย อักษรซางฮี้ใช้เป็นเครื่องหมายในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน และใช้เป็นลวดลายประดับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนซางฮี้เป็น "ถนนราชวิถี".

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ทวี จุลละทรัพย์

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ (8 สิงหาคม พ.ศ. 2457 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539) อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตเสนาธิการทหารอากาศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เคยเป็นพระเอกภาพยนตร์ของ กองภาพยนตร์ทหารอากาศ เรื่อง "บ้านไร่นาเรา" เมื่อ..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและทวี จุลละทรัพย์ · ดูเพิ่มเติม »

ท้องสนามหลวง

ท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและท้องสนามหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการการทำให้เป็นประชาธิปไตยควังจู

วนการเรียกร้องประชาธิปไตยในควังจู (ฮันกึล: 광주 민주화 운동, ฮันจา: 光州民主化運動, Gwangju Democratization Movement) เป็นเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยหรือการก่อการกำเริบโดยประชาชนในเกาหลีใต้ ถือเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลีร่วมสมัย นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเกาหลี เหตุการณ์เกิดขึ้นที่เมืองควังจู เมืองใหญ่อันดับที่ 5 ของเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม ถึง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) ขณะนั้นเกาหลีใต้อยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง ภายหลังการเสียชีวิตของประธานาธิบดี นายพลพัก จองฮี หลังถูกยิงโดยคิม แจเกียว หัวหน้าสำนักข่าวกรองของเกาหลี นายพลช็อน ดู-ฮวัน หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับของกองทัพบก ได้ร่วมมือกับนายพลโน แท-อู แม่ทัพที่คุมกองกำลังด้านชายแดนเกาหลีเหนือ ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ทำให้ประชาชนทั่วประเทศก่อความเคลื่อนไหวคัดค้าน นายพลช็อน ดู-ฮวัน และนายพลโน แท-อู ต้องสั่งการให้กองทัพใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างเด็ดขาด ยกเว้นอยู่ที่เดียว คือที่เมืองควังจู ที่นักศึกษาและประชาชนร่วมมือกันต้านทานกองทัพได้อย่างเข้มแข็ง ช็อน ดู-ฮวัน ประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและขบวนการการทำให้เป็นประชาธิปไตยควังจู · ดูเพิ่มเติม »

ณรงค์ กิตติขจร

ันเอก ณรงค์ กิตติขจร (21 ตุลาคม พ.ศ. 2476 —) เป็นบุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 10 จอมพลถนอม กิตติขจร อีกทั้งยังเป็นบุตรเขยของ จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นหนึ่งใน 3 บุคคลของฝ่ายรัฐบาลที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 77 ราย ส่งผลให้.อ.ณรงค์ กิตติขจร, จอมพล ถนอม กิตติขจร และ จอมพลประภาส ต้องออกจากประเทศ ภายหลังเหตุการณ์สงบลง.อ.ณรงค์ กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับประเทศไทย และได้ลงเล่นการเมือง โดยก่อตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า "พรรคเสรีนิยม".อ.ณรงค์ กิตติขจร ได้รับเลือกเป็น..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและณรงค์ กิตติขจร · ดูเพิ่มเติม »

ณรงค์ มหานนท์

ล.ต.อ.ณรงค์ มหานนท์ เป็นอดีตอธิบดีกรมตำรวจ 2525-2530 อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานที่ปรึกษาบริษัท ช.การช่าง จำกั.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและณรงค์ มหานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดยเป็นหนึ่งในสี่คณะที่กำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อแรกเริ่มมีทำหน้าที่สอนวิชาพื้นฐานด้านมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้แก่คณะอื่น ๆ ต่อมาได้มีการพัฒนาเรื่อยๆมาจนเปิดหลักสูตร ทางด้านสายสังคมศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และครอบคลุมไปยังด้านสาขามานุษยวิทยา, สังคมวิทยา รวมไปถึงภาษาต่างประเทศ ในปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Faculty of Political Science, Thammasat University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ จัดเป็น 1 ใน 4 คณะวิชาก่อตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาลำดับที่ 3 ของมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Faculty of Political Science, Chulalongkorn University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ถือได้ว่าเป็นคณะวิชาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เป็นคณะรัฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดทำการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก อีกทั้งยังเป็นคณะที่ได้รับการเลือกเข้าศึกษาจากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้วยระบบ Admission ถึง 4 ปีซ้อน (2553 - 2556).

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts, Thammasat University) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะนิติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีก.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นหนึ่งในสี่ของมหาวิทยาลัยภายหลังที่ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตร์บัณฑิต และนับเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไท.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คนเดือนตุลา

นเดือนตุลา เป็นชื่อเรียกกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมชุมนุม ในเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ซึ่งส่วนมากขณะนั้นเป็นนักศึกษา โดยในปัจจุบัน กลุ่มคนเดือนตุลาบางส่วน ก็เข้าสู่แวดวงการเมืองและสังคม.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและคนเดือนตุลา · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดนัด

ตลาดนัดแห่งหนึ่งในอินเดีย ตลาดนัด คือตลาด ที่มีการกำหนดวันเปิดซื้อขายเป็นบางวันหรือบางเวลา ปกติแล้วจะมีลักษณะเป็นตลาดสดซึ่งขายอาหารสดเป็นหลัก ในวันที่มีตลาดนัดจะมีผู้คนคึกคักทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย สินค้าอาจวางขายกับพื้นหรือวางบนโต๊ะหรือแผงที่สร้างขึ้นอย่างหยาบๆ นอกจากนี้ยังอาจมีรถกระบะวางขายสินค้าเบ็ดเตล็ดจำพวกของใช้ในครัวมาวางขายด้วย มักมีการขายอาหารปรุงเสร็จและขนมสำหรับผู้จับจ่ายซื้อขายในตลาดนัดด้วย ตลาดนัดอาจจัดในสถานที่ที่แน่นอน หรือเปลี่ยนสถานที่ก็ได้ ความแตกต่างของตลาดนัดและตลาดสดก็คือ ตลาดสดนั้นเป็นตลาดที่มีสินค้าวางขายทุกวัน (อาจเว้นบางวันตามกำหนด) แต่ตลาดนัดมีกำหนดซื้อขายเพียงไม่กี่วันต่อสัปดาห์ หากเปิดขายเป็นประจำทุกวันก็จะไม่เรียกว่าตลาดนัด นอกจากนี้ตลาดนัดยังอาจขายสินค้าที่หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องขายอาหารสดเพียงอย่างเดียว เช่น เสื้อผ้า แผงหนังสือ เป็นต้น ปัจจุบันมีการเปิดตลาดนัดกว้างขวางขึ้น และมีการใช้คำว่าตลาดนัดสำหรับสินค้าอื่นๆ นอกเหนือจากอาหารสด เช่น ตลาดนัดรถยนต์ ตลาดนัด ฯลฯ.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและตลาดนัด · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาคม

ตุลาคม เป็นเดือนที่ 10 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนตุลาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีตุล และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพิจิก แต่ในทางดาราศาสตร์ เดือนตุลาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวและไปอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งตอนต้นเดือนพฤศจิกายน เดือนตุลาคมในภาษาอังกฤษ October มาจากภาษาละติน octo เนื่องจากเป็นเดือนที่ 8 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนตุลาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพ็ชร

ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพ็ชร (7 ธันวาคม พ.ศ. 2481 -) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับอุดมศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 เป็น 1 ใน 13 นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ถูกจับเนื่องจากแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ที่เรียกว่า "13 ขบถ รัฐธรรมนูญ" และเขียนหนังสือเรื่อง ธารอธิปไตย หลังจากเหตุการณ์นี้ ได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ประชุมร่างรัฐธรรมนูญ ที่ราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) ด้วย นายประพันธ์ศักดิ์ เคยเล่นการเมือง เคยเป็นผู้สมัคร..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและประพันธ์ศักดิ์ กมลเพ็ชร · ดูเพิ่มเติม »

ประภาส จารุเสถียร

อมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก ประภาส จารุเสถียร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2455 — 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540) อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและประภาส จารุเสถียร · ดูเพิ่มเติม »

ประจวบ สุนทรางกูร

ลเอก พลตำรวจเอก ประจวบ สุนทรางกูร อดีตอธิบดีกรมตำรวจ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไท.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและประจวบ สุนทรางกูร · ดูเพิ่มเติม »

ประตูน้ำ

ประตูน้ำ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและประตูน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ประเสริฐ รุจิรวงศ์

ลเอก พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ (4 ธันวาคม พ.ศ. 2454 - 19 มกราคม พ.ศ. 2527) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สมรสกับคุณหญิง น้อย รุจิรวง.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและประเสริฐ รุจิรวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลีใต้

รณรัฐเกาหลี (Republic of Korea; 대한민국 (ฮันกึล); 大韓民國 (ฮันจา)) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า แทฮันมินกุก (대한민국; 大韓民國) โดยเรียกสั้น ๆ ว่า ฮันกุก (한국) ที่หมายถึงเกาหลี และบางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและประเทศเกาหลีใต้ · ดูเพิ่มเติม »

นพพร สุวรรณพานิช

นพพร สุวรรณพานิช เกิดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ที่บ้านเลขที่ 5 ถนนพญาไท เขตพญาไท เป็นบุตรของคุณวีรศักดิ์ นฤหล้า และคุณรวยรื่น สุวรรณพานิช เจ้าของกิจการรวยรื่นไหมไทย นพพรเป็นอดีตล่ามฉับพลันประจำองค์กรสหประชาชาติ และ อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ความสัมพันะ์ระหว่างประเทศ เคยเข้าร่วมขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย เป็น 1ใน 13 กบฏรัฐธรรมนูญใน เหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 เป็นผู้ให้การและลงนามต่อหน้าทนายความศาลสูงอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและนพพร สุวรรณพานิช · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

แยกพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย เป็นทางห้าแยกจุดตัดถนนพลับพลาไชย กับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ ในพื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์และแขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นย่านชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพฯ ที่ต่อเนื่องกับย่านถนนเยาวราชและถนนเจริญกรุง บริเวณทางแยกมีร้านข้าวหน้าไก่ ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ และภัตตาคารอาหารจีนที่ขึ้นชื่อหลายแห่ง.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและแยกพลับพลาไชย · ดูเพิ่มเติม »

แยกคอกวัว

แยกคอกวัว (อังกฤษ: Khok Wua Intersection) เป็นสี่แยกที่เป็นจุดตัดระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนตะนาว ตั้งอยู่ในแขวงบวรนิเวศ และแขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและแยกคอกวัว · ดูเพิ่มเติม »

แสวง ธีระสวัสดิ์

ลตำรวจเอก แสวง ธีระสวัสดิ์ (27 ตุลาคม พ.ศ. 2474 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 21.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและแสวง ธีระสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

โอสถ โกศิน

นายโอสถ โกศิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและโอสถ โกศิน · ดูเพิ่มเติม »

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล; The Television Pool of Thailand - TPT., T.V.Pool) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย 4 ช่องคือ ไทยทีวีสีช่อง 3, ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, ททบ.5 และช่อง 7 สี.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เมตตา รุ่งรัตน์

มตตา รุ่งรัตน์ มีชื่อจริง ดาราวดี ดวงดารา นักแสดงหญิงอาวุโส ฉายา "ไข่มุกดำแห่งเอเซีย" เป็นดารานักแสดงที่มีใบหน้าสวยหวานและคมเข้ม เจ้าของรางวัลตุ๊กตาทอง สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง วัยรุ่นวัยคะนอง ประจำปี พ.ศ. 2505.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและเมตตา รุ่งรัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ 6 ตุลา

หตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์จลาจลและปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิการHandley, Paul M. The King Never Smiles: A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและเหตุการณ์ 6 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

ตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง คือแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย ประกอบด้วยสองเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี ตากและกาญจนบุรี ทางตะวันตกของประเทศใกล้กับชายแดนประเทศพม่า ครอบคลุมพื้นที่ 622,200 เฮกตาร์ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน เป็นพื้นที่ป่าที่สามารถเข้าถึงได้น้อยที่สุด และเป็นบริเวณที่รบกวนน้อยที่สุดของประเทศ โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 77% (โดยเฉพาะช้างและเสือ) นกขนาดใหญ่ 50% และ สัตว์มีกระดูกสันหลังบก 33% ที่พบในภูมิภาคสามารถพบได้ในแหล่งมรดกโลกแห่งนี้.

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง · ดูเพิ่มเติม »

14 ตุลา สงครามประชาชน

14 ตุลา สงครามประชาชน (The Moonhunter) เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและ14 ตุลา สงครามประชาชน · ดูเพิ่มเติม »

3 ทรราช

3 ทรราช หมายถึง 3 ผู้มีอำนาจในประเทศไทยช่วงก่อนเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้แก่ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร.อ. ณรงค์ นั้น เป็นลูกของจอมพลถนอม และเป็นลูกเขยของจอมพลประภาส การปกครองในยุคของ ถนอม–ประภาส นั้นเรียกกันโดยทั่วไปว่า เป็นยุคของ "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" กล่าวคือเป็นระบอบเผด็จการนั่นเอง และมีการวางทายาททางการเมืองกันอย่างชัดเจน รัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ถนอม กิตติขจร ประกาศลาออก เมื่อเย็นวันที่ 14 ตุลาคม..

ใหม่!!: เหตุการณ์ 14 ตุลาและ3 ทรราช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

14 October 1973 Uprising14 ตุลา14ตุลาวันมหาวิปโยควันมหาปิติวันประชาธิปไตยวันประชาธิปไตยแห่งชาติเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516เหตุการณ์ 14 ตุลาคมเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516เหตุการณ์วิปโยค 14 ตุลาคม 2516

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »