โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)

ดัชนี ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)

นนราชวิถี (ถ่ายจากมุมสูง) ถนนราชวิถี (Thanon Ratchawithi) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างถนนราชปรารภกับถนนดินแดงในท้องที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพญาไท และถนนพหลโยธินที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เข้าสู่ท้องที่แขวงทุ่งพญาไท ผ่านโรงพยาบาลราชวิถี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ไปตัดกับถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกตึกชัย) ตัดกับถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต ตัดกับถนนสวรรคโลก (สี่แยกอุภัยเจษฎุทิศ) และถนนพระรามที่ 5 (สี่แยกราชวิถี) ผ่านสวนสัตว์ดุสิต จากนั้นตัดกับถนนอู่ทองใน (สามแยกอู่ทองใน) ถนนนครราชสีมา (สี่แยกการเรือน) และถนนสามเสน (สี่แยกซังฮี้) เข้าสู่ท้องที่แขวงวชิรพยาบาล ก่อนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (สะพานกรุงธนบุรี) เข้าเขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งการพื้นที่ปกครองระหว่างแขวงบางพลัดกับแขวงบางยี่ขันไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ (สี่แยกบางพลัด) ถนนราชวิถี เดิมชื่อ ถนนซางฮี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตบริเวณพื้นที่ระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมและคลองสามเสน โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนรอบพระราชวังดุสิต 3 สาย คือ ถนนลก (ปัจจุบันคือถนนพระรามที่ 5) ถนนดวงตะวัน (ปัจจุบันคือถนนศรีอยุธยา) และถนนซางฮี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซังฮี้ (ปัจจุบันคือถนนราชวิถี) นามถนนทั้ง 3 สายนี้ พระราชทานตามชื่อเครื่องกิมตึ๋งคือภาพเครื่องลายครามจีน "ซางฮี้" (อักษรจีน: 双喜) ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋วแปลว่า มงคลคู่ หมายความว่า สุข สนุก สบาย อักษรซางฮี้ใช้เป็นเครื่องหมายในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน และใช้เป็นลวดลายประดับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนซางฮี้เป็น "ถนนราชวิถี".

32 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2460พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวังดุสิตกรุงเทพมหานครภาษาแต้จิ๋วรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครสวนสัตว์ดุสิตสะพานกรุงธนอักษรจีนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถนนพญาไทถนนพระรามที่ 5ถนนพระรามที่ 6ถนนพหลโยธินถนนกำแพงเพชรถนนราชปรารภถนนศรีอยุธยาถนนสวรรคโลกถนนสามเสนถนนอู่ทองถนนจรัญสนิทวงศ์ถนนนครราชสีมาคลองผดุงกรุงเกษมแม่น้ำเจ้าพระยาแยกอุภัยเจษฎุทิศโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าโรงพยาบาลราชวิถีเขตบางพลัดเขตราชเทวีเขตดุสิต16 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2460

ทธศักราช 2460 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1917 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และพ.ศ. 2460 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังดุสิต

ระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่เสด็จประทับชั่วคราว เนื่องจากภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นพระราชนิเวศน์ที่ประทับนั้น ประกอบด้วย พระราชมณเฑียร หมู่พระตำหนัก หมู่เรือนในเขตพระราชฐานชั้นใน และหมู่เรือนข้าราชบริพาร ปลูกสร้างอยู่กันอย่างแออัด ปิดทางลม ทำให้ที่ประทับร้อนจัด ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันเสมอ ต่อมา จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชวังที่ประทับถาวรจนตลอดรัชกาล โดยได้สร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และพระราชวังดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และภาษาแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ตัดกันระหว่างคลองบางน้อย กับคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน คลองในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1,161 คลอง และคูลำกระโดง จำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง ความยาว 2,604 กม.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์ดุสิต

thumb thumb ป้ายเขาดินวนา ลานกิจกรรม หน้าบริเวณทางเข้าฝั่งถนนอู่ทองใน สวนสัตว์ดุสิต หรือ เขาดินวนา (Dusit Zoo) เป็นสวนสัตว์แห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 71 ถนนพระรามที่ 5 แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ใกล้กับสนามเสือป่าและพระที่นั่งอนันตสมาคม มีเนื้อที่ 118 ไร.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และสวนสัตว์ดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

สะพานกรุงธน

นกรุงธน (Krung Thon Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า สะพานซังฮี้ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กับแขวงบางพลัดและแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และสะพานกรุงธน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ในกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 5.0 ถนนพหลโยธิน โดยที่ กม.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพญาไท

นนพญาไทช่วงมาบุญครองและสี่แยกปทุมวัน ถนนพญาไท (Thanon Phaya Thai) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกสามย่าน) ไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวังใหม่กับแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นตัดกับถนนพระรามที่ 1 (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ (ที่สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือสะพานหัวช้าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกราชเทวี) จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท โดยตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามทางรถไฟสายตะวันออก ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกพญาไท) ไปสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือ ถนนพหลโยธิน.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนพญาไท · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 5

นนพระรามที่ 5 (Thanon Rama V) เป็นถนนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง แขวงสวนจิตรลดา บริเวณด้านข้างทำเนียบรัฐบาล เลียบคลองเปรมประชากรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลกที่สี่แยกพาณิชยการ ตัดกับถนนศรีอยุธยาที่สี่แยกวัดเบญจฯ ตัดกับถนนราชวิถีที่สี่แยกราชวิถี ตัดกับถนนสุโขทัยที่สี่แยกสุโขทัย ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี ตัดกับถนนนครไชยศรีที่สี่แยกราชวัตร ตัดกับถนนอำนวยสงครามและถนนเศรษฐศิริที่สี่แยกเกษะโกมล และสิ้นสุดเมื่อไปตัดกับถนนทหารที่สี่แยกสะพานแดง (ถนนสายที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนเตชะวณิช) ถนนพระรามที่ 5 เดิมชื่อ "ถนนลก" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต โดยได้ทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ชื่อถนนลกเป็นภาษาจีนมาจากชื่อภาพเครื่องลายครามที่มีภาพลก คือ เทพเจ้าจีนใส่หมวกมีใบพัด 2 ข้าง หรือกวางอยู่ด้วย กวางกับหมวกนั้นมีความหมายว่าเกียรติยศนั่นเอง ครั้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนลก ตั้งแต่ถนนลูกหลวงถึงถนนเตชะวณิชเป็น "ถนนพระรามที่ 5" เพราะมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตและถนนสายนี้ขึ้น.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนพระรามที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 6

นนพระรามที่ 6 (Thanon Rama VI) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนจรัสเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกพงษ์พระราม บริเวณใกล้วัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม) ข้ามคลองมหานาคเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกอุรุพงษ์) และทางรถไฟสายตะวันออก เข้าสู่แขวงทุ่งพญาไท ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนราชวิถี (สี่แยกตึกชัย) ข้ามคลองสามเสน และเริ่มเลียบคลองประปาในพื้นที่แขวงพญาไท เขตพญาไท ตัดกับถนนนครไชยศรี (สามแยกโรงกรองน้ำ) ตัดกับซอยพระรามที่ 6 ซอย 34 และซอยพระรามที่ 6 ซอย 37 (สี่แยกพิบูลวัฒนา) ตัดกับถนนประดิพัทธ์ (สี่แยกประดิพัทธ์) จากนั้นไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนกำแพงเพชร ทางรถไฟสายเหนือ และถนนเทอดดำริ เข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต จนถึงถนนเตชะวณิช (สามแยกวัดสะพานสูง) ถนนพระรามที่ 6 เดิมชื่อ "ถนนประทัดทอง" สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำว่า "ประทัดทอง" นั้นจากชื่อเครื่องลายครามที่มีภาพต้นประทัดทอง ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นบรรทัดทอง ครั้นมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประทัดทองตลอดทั้งสายเป็น "ถนนพระรามที่ 6" เพราะเป็นถนนที่โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงเป็นเส้นทางไปโรงกรองน้ำประปาสามเสน และต่อไปยังสะพานพระราม 6.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนพระรามที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพหลโยธิน

นนพหลโยธิน (Thanon Phahon Yothin) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร−แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย (ประกอบด้วยถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) สายทางเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผ่านภาคกลาง และมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณชายแดนประเทศพม่า รวมระยะทางยาว 994.749 กิโลเมตร บางช่วงของถนนพหลโยธินอยู่ในโครงข่ายทางหลวงเอเชีย ได้แก่ ช่วงบ้านหินกองถึงอำเภอบางปะอินเป็นทางหลวงเอเชียสาย 1, ช่วงแยกหลวงพ่อโอ (เส้นแบ่งเขตจังหวัดชัยนาทกับจังหวัดนครสวรรค์) ถึงอำเภอเมืองตาก เป็นทั้งทางหลวงเอเชียสาย 1 และสาย 2 และช่วงอำเภอเมืองสระบุรีถึงบ้านหินกองเป็นทางหลวงเอเชียสาย 12 นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ ถนนพหลโยธินช่วงตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางของถนนจะเบี่ยงไปทิศตะวันออก ผ่านจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี แล้ววกกลับมายังจังหวัดชัยนาท เนื่องจากในสมัยก่อนต้องการให้ทางหลวงสายหลักผ่านที่ตั้งของกองทหารสำคัญของประเท.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนพหลโยธิน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกำแพงเพชร

นนกำแพงเพชร (Thanon Kamphaeng Phet) เป็นถนนที่สร้างขึ้นในเขตการรถไฟแห่งประเทศไทย บ้างขนานกับรางรถไฟ บ้างก็ไม่ขนานเป็นถนนโดด ตั้งชื่อว่าถนนกำแพงเพชร เพื่อระลึกถึง กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน บิดาแห่งกิจการรถไฟ ในตอนแรก การรถไฟแห่งประเทศไทย มีความประสงค์ที่จะตั้งชื่อถนนชุดนี้ว่า "ถนนบุรฉัตร" ตามพระนามเดิมใน กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้พระราชทานนามถนนในเขตที่ดินรถไฟชุดนี้ว่า "ถนนกำแพงเพชร".

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนกำแพงเพชร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชปรารภ

นนราชปรารภ ถนนราชปรารภ (Thanon Ratchaprarop) ถนนสายหนึ่งในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 1.4 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่สามเหลี่ยมดินแดง ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างถนนราชวิถีกับถนนดินแดงในท้องที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี มุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านจุดตัดกับถนนรางน้ำและถนนศรีอยุธยา ไปสิ้นสุดที่แยกประตูน้ำซึ่งเป็นแยกตัดกับถนนเพชรบุรี.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนราชปรารภ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนศรีอยุธยา

นนศรีอยุธยาบริเวณหน้าโรงพยาบาลพญาไท 1 สนามเสือป่า โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ถนนศรีอยุธยา (Thanon Si Ayutthaya) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนพญาไท (สี่แยกพญาไท) ถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่เขตดุสิต จากนั้นตัดกับถนนสวรรคโลก (สี่แยกเสาวนี) ถนนพระรามที่ 5 (สี่แยกวัดเบญจฯ) ถนนราชดำเนินนอก (สี่แยกหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า) ถนนนครราชสีมา (สี่แยกหอประชุมทหารบก) และถนนสามเสน (สี่แยกสี่เสาเทเวศร์) ไปสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพร.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสวรรคโลก

นีรถไฟจิตรลดา ถนนสวรรคโลก (Thanon Sawankhalok) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่แยกยมราช ผ่านแยกเสาวนี จุดตัดกับถนนศรีอยุธยา จากนั้นทอดผ่านแยกอุภัยเจษฎุทิศ จุดตัดกับถนนราชวิถี ทอดผ่านแยกสวรรคโลก จุดตัดกับถนนสุโขทัย และไปสิ้นสุดลงที่แยกสามเสน จุดตัดระหว่างถนนเทอดดำริและถนนนครไชยศรี เดิมมีชื่อว่า "ถนนสิ้ว" (อักษรจีน: 寿 หรือสะกด ซิ่ว) ซึ่งมีความหมายถึง "อายุยั่งยืน" อันมาจากชื่อเครื่องลายครามของจีนที่เป็นรูปผลท้อหรือต้นสน ที่เป็นที่นิยมสะสมและครอบครองกันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนิยมนำมาตั้งชื่อเป็นชื่อถนนหรือสถานที่ต่าง ๆ ในยุคนั้น โดยเป็นถนนที่ตัดจากสะพานยมราชไปจรดคลองสามเสน ขนานไปกับเส้นทางรถไฟ ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศของกระทรวงนครบาล โดยเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นเสนาบดี ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๒ ให้เปลี่ยนชื่อถนนรอบพระราชวังสวนดุสิตที่ได้ชื่อตามเครื่องลายครามจีน ๑๕ สาย หนึ่งในนั้นคือ ถนนสิ้ว ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ถนนสวรรคโลก" ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี พระธิดาพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานที่สำคัญที่ถนนสวรรคโลกตัดผ่าน คือ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และสถานีรถไฟจิตรลดา อันเป็นสถานีรถไฟที่สร้างขึ้นสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อมีการเสด็จฯ ทางรถไฟโดยเฉพาะ รวมถึงอาจใช้เป็นสถานที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะในบางโอกาส มีอาคารสถานีที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงาม.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนสวรรคโลก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสามเสน

แผนที่เขตดุสิต ถนนสามเสนอยู่บริเวณซ้ายบน ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนสามเสน (Thanon Sam Sen) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตพระนครและเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนสามเสน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอู่ทอง

นนอู่ทองช่วงถนนอู่ทองนอก ผ่านพระที่นั่งอนันตสมาคมและเรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์ ถนนอู่ทอง (Thanon U Thong) แบ่งออกเป็น ถนนอู่ทองใน (Thanon U Thong Nai) และ ถนนอู่ทองนอก (Thanon U Thong Nok) เป็นถนนในท้องที่แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยถนนอู่ทองในมีระยะทางเริ่มตั้งแต่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงถนนราชวิถี (แยกอู่ทองใน) ส่วนถนนอู่ทองนอกมีระยะทางเริ่มตั้งแต่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนนครราชสีมา (แยกอู่ทองนอก) ไปสิ้นสุดที่ถนนสามเสน ถนนอู่ทองเดิมชื่อ "ถนนใบพร" เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อถนนใบพรมาจากเครื่องลายครามจีนที่มีใบคล้ายว่าน ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนใบพร ตั้งแต่ถนนสามเสนถึงถนนส้มมือใต้เป็น "ถนนอู่ทอง (นอก)" และถนนปลายใบพร ตั้งแต่ถนนพระลานถึงถนนซางฮี้ใน (ถนนราชวิถี) เป็น "ถนนอู่ทอง (ใน)" โดยตั้งตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี พระราชธิดาองค์ที่สามในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรั.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนอู่ทอง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจรัญสนิทวงศ์

นนจรัญสนิทวงศ์ (Thanon Charan Sanit Wong) เป็นถนนในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนเพชรเกษม ที่สี่แยกท่าพระ ในแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพาณิชยการธนบุรี (จรัญสนิทวงศ์ 13) ที่สามแยกพาณิชยการธนบุรี จากนั้นข้ามคลองมอญ เข้าสู่พื้นที่แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย ตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนพรานนกที่สามแยกไฟฉาย จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับทางรถไฟสายใต้ (จากสถานีรถไฟธนบุรี) เข้าแขวงบางขุนนนท์ ตัดกับถนนบางขุนนนท์ที่สามแยกบางขุนนนท์ จากนั้นข้ามคลองบางกอกน้อยเข้าสู่แขวงอรุณอมรินทร์ ตัดกับถนนบรมราชชนนีที่สี่แยกบรมราชชนนีเข้าสู่พื้นที่เขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางบำหรุกับแขวงบางยี่ขันไปจนตัดกับถนนสิรินธรและถนนราชวิถีที่สี่แยกบางพลัด จากนั้นจึงเข้าสู่แขวงบางพลัด มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางพลัดเข้าสู่พื้นที่แขวงบางอ้อ และไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระราม 7 ในพื้นที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ชื่อถนนจรัญสนิทวงศ์ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงจรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรัญ สนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เดิมกรุงเทพมหานครติดป้ายชื่อถนนว่า "ถนนจรัลสนิทวงศ์" ต่อมาได้แก้ไขเป็น "จรัญสนิทวงศ์" ตามนามของหลวงจรัญสนิทวงศ์ ปัจจุบันถนนสายนี้เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันถนนจรัญสนิทวงศ์ตลอดทั้งสายกำลังมีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายสัญญาที่ 3 ช่วงสถานีเตาปูนถึงสี่แยกท่าพระ เป็นลักษณะรถไฟฟ้าแบบลอยฟ้าเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (เชื่อมต่อกับสายฉลองรัชธรรมที่สถานีเตาปูน) เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนจรัญสนิทวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนครราชสีมา

นนนครราชสีมา (Thanon Nakhon Ratchasima) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง (แยกประชาเกษม) ท้องที่แขวงดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลก (แยกวังแดง) ถนนศรีอยุธยา (แยกหอประชุมทหารบก) ถนนอู่ทองนอก (แยกอู่ทองนอก) ถนนราชวิถี (แยกการเรือน) และถนนสุโขทัย (แยกสวนรื่นฤดี) ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่ท้องที่แขวงถนนนครไชยศรี ไปสิ้นสุดที่ถนนอำนวยสงคราม (แยกร่วมจิตต์) ใกล้ที่ทำการไปรษณีย์ดุสิต ถนนนครราชสีมาเดิมชื่อ "ถนนดวงดาว" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ชื่อถนนดวงดาวมาจากเครื่องลายครามที่มีลายดาว ในนิยายจีนมักกล่าวถึงดาวที่เป็นเซียนต่าง ๆ เช่น ไท้แป๊ะกิมแช (อักษรจีน: 太白金星) "แช" (星) แปลว่า ดาว (สำเนียงจีนกลางออก ซิ้ง) ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนดวงดาวใต้ตั้งแต่ถนนคอเสื้อ (ถนนพิษณุโลก) ถึงถนนใบพร (ถนนอู่ทองนอก) เป็น "ถนนนครราชสีมาใต้" ถนนดวงดาวในให้ยกเลิก และถนนดวงดาวเหนือตั้งแต่ถนนซางฮี้ใน (ถนนราชวิถี) ถึงคลองสามเสน เป็น "ถนนนครราชสีมาเหนือ" เดิมกรุงเทพมหานครได้ติดตั้งป้ายชื่อถนนนครราชสีมาว่า "ถนนราชสีมา" ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ถูกต้อง ปัจจุบันได้แก้ไขแล้ว.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

คลองผดุงกรุงเกษม

ลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5) คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ..

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และคลองผดุงกรุงเกษม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

แยกอุภัยเจษฎุทิศ

แยกอุภัยเจษฎุทิศ เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกจุดตัดกันระหว่างถนนราชวิถี กับถนนสวรรคโลก โดยมีทางรถไฟสายเหนือ, สายตะวันออก และสายใต้ตัดผ่าน ชื่อ "อุภัยเจษฎุทิศ" มาจากชื่อของสะพานอุภัยเจษฎุทิศที่ตั้งอยู่บนถนนราชวิถี ซึ่งแต่เดิมเป็นสะพานข้ามทางรถไฟเชื่อมถนนซางฮี้ (ถนนราชวิถี) บริเวณพระราชวังดุสิต มีที่มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างขึ้น เนื่องในวโรกาศที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ มีพระชนมายุครบ 18 พรรษา เท่ากับพระบรมเชษฐาสองพระองค์ คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ซึ่งได้เสด็จสวรรคตไปก่อนหน้านั้นด้วยพระชนมายุ 18 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลสร้างสะพานแห่งนี้ขึ้นเพื่ออุทิศส่วนพระราชกุศล พระราชทานแก่เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ เสด็จทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ 9 มกราคม..

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และแยกอุภัยเจษฎุทิศ · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

รงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 1,200 เตียง ตามอัตราการจัดเฉพาะกิจที่ 3600 มีภารกิจดังต่อไปนี้ 1.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลราชวิถี

รงพยาบาลราชวิถี เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล นับเป็นโรงพยาบาลศูนย์วิชาการที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีผู้อำนวยการคนปัจจุบันคือ นายแพทย์มานัส โพธาภรณ.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และโรงพยาบาลราชวิถี · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางพลัด

ตบางพลัด เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้าและแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และเขตบางพลัด · ดูเพิ่มเติม »

เขตราชเทวี

ตราชเทวี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และเขตราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

เขตดุสิต

ตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้.

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และเขตดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

16 กุมภาพันธ์

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 47 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 318 วันในปีนั้น (319 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และ16 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถนนราชวิถี กรุงเทพมหานครถนนซังฮี้ถนนซางฮี้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »