โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ดัชนี ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

149 ความสัมพันธ์: บอริส เยลต์ซินบอลเชวิกชาวเยอรมันชาตินิยมชีวิตอารามวาสีชนชั้นกระฎุมพีชนชั้นทางสังคมชนกรรมาชีพฟรันซิสโก ฟรังโกฟรีดริช เองเงิลส์พรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกาพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนพรรคคอมมิวนิสต์แอฟริกาใต้พระราชวังเครมลินพระเยซูพิวริตันกรีซโบราณการกวาดล้างใหญ่การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้งการต่อสู้ระหว่างชนชั้นการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนการปฏิวัติฝรั่งเศสการปฏิวัติรัสเซียการปฏิวัติอุตสาหกรรมการปฏิวัติถาวรการปฏิวัติโลกการปฏิวัติเดือนตุลาคมการโอนมาเป็นของรัฐกำไรเกินปกติกิจการของอัครทูตมหาอำนาจมาร์คเยอรมันมูลค่าส่วนเกินมีฮาอิล กอร์บาชอฟยอซีป บรอซ ตีโตยุคเรืองปัญญายุโรปตะวันออกยูโกสลาเวียยูโทเปีย (หนังสือ)รัฐรัฐบาลรัฐบาลกลางรัฐพรรคการเมืองเดียวรัฐศาสตร์รัฐอินดีแอนารัฐคอมมิวนิสต์รัฐเบงกอลตะวันตกรัฐเกรละ...ราชอาณาจักรฝรั่งเศสรายการประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)ลัทธิบูชาบุคคลลัทธิมากซ์ลัทธิสตาลินลัทธิอำนาจนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมลัทธิเลนินลัทธิเหมาวลาดีมีร์ เลนินศาสนาคริสต์สภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตสมัยกลางสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียสหภาพโซเวียตสหรัฐสังคมศาสตร์สังคมนิยมสังคมนิยมประเทศเดียวสังคมนิยมแบบอิสรนิยมสารานุกรมบริตานิกาสาธารณรัฐสเปนที่ 2สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตสาธารณรัฐนิยมสงครามกลางเมืองรัสเซียสงครามกลางเมืองสเปนสงครามกลางเมืองอังกฤษสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงครามเกาหลีสงครามเย็นสงครามเวียดนามหอสมุดรัฐสภาอาวุธนิวเคลียร์อำนาจหน้าที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์องค์การคอมมิวนิสต์สากลอนาธิปไตยผู้นำสหภาพโซเวียตฌ็อง-ฌัก รูโซจักรวรรดิรัสเซียจักรวรรดินิยมจูเชธงชาติรัสเซียธงชาติสหภาพโซเวียตทวีปเอเชียทอมัส มอร์ทุนนิยมคริสตจักรคริสต์ศตวรรษที่ 19คริสต์ศตวรรษที่ 20คัมภีร์คัมภีร์ไบเบิลคาร์ล มากซ์ประชาธิปไตยสังคมนิยมประชาธิปไตยโดยตรงประธานาธิบดีรัสเซียประเทศบัลแกเรียประเทศลาวประเทศอิหร่านประเทศอินเดียประเทศฮังการีประเทศจีนประเทศคิวบาประเทศแอลเบเนียประเทศโรมาเนียประเทศโปแลนด์ประเทศเชโกสโลวาเกียประเทศเกาหลีเหนือประเทศเยอรมนีประเทศเยอรมนีตะวันออกประเทศเวียดนามประเทศเนปาลประเทศเนเธอร์แลนด์ปรัชญานักล่า-เก็บของป่านิกายนิวอิงแลนด์นโยบายเศรษฐกิจใหม่แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์แคว้นกาตาลุญญาแคว้นอันดาลูซิอาแคว้นอารากอนโรซา ลุกเซิมบวร์คโรเบิร์ต โอเวนโลกตะวันตกโอลิเวอร์ ครอมเวลล์โจเซฟ สตาลินโคมินฟอร์มเบนิโต มุสโสลินีเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลเลออน ทรอตสกีเศรษฐกิจเหมา เจ๋อตงเขตเศรษฐกิจพิเศษเครือรัฐเอกราชเงินตราเติ้ง เสี่ยวผิงเซี่ยงไฮ้ ขยายดัชนี (99 มากกว่า) »

บอริส เยลต์ซิน

อริส นีโคลาเยวิช เยลต์ซิน (Бори́с Никола́евич Е́льцин, Boris Yeltsin, 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 - 23 เมษายน พ.ศ. 2550) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย ดำรงตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และบอริส เยลต์ซิน · ดูเพิ่มเติม »

บอลเชวิก

การประชุมพรรคบอลเชวิก บอลเชวิก (Bolshevik "บอลเชอวิก"; большеви́к "บาลชือวิก") แผลงมาจากคำว่าБольшинство แปลว่า ส่วนใหญ่ หรือ หมู่มาก บอลเชวิก หมายถึงสมาชิกของกลุ่ม ๆ หนึ่งภายในพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (RSDLP ย่อมาจาก Russian Social Democratic Labour Party) ซึ่งนิยมลัทธิมากซ์ กลุ่มนี้นำโดยเลนิน ในพรรคนี้ยังมีอีกลุ่มหนึ่งเรียกกันว่า меньшевик เมนเชวิก ซึ่งแผลงมาจากคำในภาษารัสเซีย Меньшинство แปลว่า ส่วนน้อย กลุ่มเมนเชวิกนำโดย จูเลียส มาร์ตอฟ เพื่อนสนิทและเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดคนหนึ่งของเลนิน การแตกคอกันมีขึ้นในการประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์และลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1903 และท้ายที่สุดแล้วกลุ่มบอลเชวิกก็กลายมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต พวกบอลเชวิกมองเศรษฐกิจในแนวสัมคมนิยมสุดขั้วและเชื่อในความเป็นสากลของชนชั้นกรรมาชีพ พวกเขายึดหลักอำนาจเผด็จการพรรคเดียวและเป้าหมายสูงสุดเรื่องการปฏิวัติโลก พวกเขาปฏิเสธความเป็นชาติรัฐของรัสเซีย ความเชื่อและแนวทางปฏิบัติของพวกเขามักถูกเรียกรวม ๆ ว่า ลัทธิบอลเชวิก (Bolshevism).

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และบอลเชวิก · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเยอรมัน

วเยอรมัน (die Deutschen) ชื่อ กลุ่มคนเผ่าพันธุ์ โปรโต-เจอรมานิก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณจัตแลนด์และบริเวณอเลมันเนียซึ่งก็คือประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนชนชาติพวกนี้ถูกเรียกว่าชาวติวตันและชาวก๊อธปัจจุบันมีประชากรโดยรวม160ล้านคน ชาวเยอรมันจัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับพวกชาวสแกนดิเนเวีย ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ซึ่งจัดว่าเป็นพวกตระกูลเจอร์มานิก.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และชาวเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาตินิยม

ชาตินิยม (nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:คตินิยมเชื้อชาติ หมวดหมู่:การอพยพของมนุษย์.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และชาตินิยม · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตอารามวาสี

อารามเซนต์แคเธอริน เขาไซนายในอียิปต์ ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565 ชีวิตอารามวาสีสมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน, นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 27 (monasticism) มาจากภาษากรีก “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเน้นสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม คำนี้ที่มาจากภาษากรีกโบราณและอาจเกี่ยวกับภิกษุซึ่งเป็นนักพรตในพุทธศาสนา ในคริสต์ศาสนา บุรุษที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่านักพรตหญิง นักพรตทั้งชายและหญิงจะเรียกโดยรวมว่าอารามิกชน (monastics) ศาสนาอื่นต่างก็มีชีวิตอารามวาสีเป็นของตนเองโดยเฉพาะในศาสนาพุทธ และรวมทั้งลัทธิเต๋า ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และชีวิตอารามวาสี · ดูเพิ่มเติม »

ชนชั้นกระฎุมพี

กระฎุมพี (/กฺระดุมพี/) เป็นชนชั้นทางสังคมกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางหรือชนชั้นพ่อค้าวาณิช ซึ่งได้สถานะทางสังคมหรืออำนาจมาจากหน้าที่การงาน การศึกษา หรือความมั่งมี (ซึ่งตรงกันข้ามกับพวกอภิชน) เป็นชนชั้นที่มีฐานะจากการค้าขายหรืองานช่างฝีมือ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งอาจหมายรวมถึง นายทุน นายทุนน้อย คนชั้นกลาง ส่วน "ไพร่กระฎุมพี" นั้น หมายถึงชนชั้นที่อยู่ต่ำกว่ากระฎุมพีแต่สูงกว่าชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม เป็น "พลเมืองที่มีเงินพอใช้เลี้ยงชีวิตไม่เป็นทาสบุคคลผู้ใด"ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ,, มติชน, 1 กันยายน..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และชนชั้นกระฎุมพี · ดูเพิ่มเติม »

ชนชั้นทางสังคม

นชั้นทางสังคม หรือเรียกเพียง ชนชั้น เป็นกลุ่มมโนทัศน์ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และทฤษฎีการเมืองซึ่งมีศูนย์กลางที่แบบจำลองการจัดชั้นภูมิทางสังคมซึ่งบุคคลถูกจัดอยู่ในกลุ่มหมวดหมู่สังคมลำดับชั้น ชนชั้นสามัญที่สุด คือ ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง ชนชั้นเป็นวัตถุสำคัญแห่งการวิเคราะห์สำหรับนักสังคมวิทยา นักรัฐศาสตร์ นักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์สังคม อย่างไรก็ดี ไม่มีการเห็นพ้องต้องกันว่านิยามที่ดีที่สุดของคำว่า "ชนชั้น" คืออะไร และคำนี้มีหลายความหมายบริบท ในสำนวนพูดทั่วไป คำว่า "ชนชั้นทางสังคม" โดยทั่วไปพ้องกับ "ชนชั้นทางสังคม-เศรษฐกิจ" ซึ่งนิยามว่าเป็น "บุคคลที่มีสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจหรือการศึกษาเท่ากัน" เช่น ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นวิชาชีพอุบัติใหม่ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 คำว่า "ชนชั้น" เริ่มเป็นวิธีหลักในการจัดระเบียบสังคมเป็นการแบ่งลำดับชั้นแทนการจำแนกประเภทอย่างฐานันดร ยศและลำดับ ซึ่งสัมพันธ์กับการให้ความสำคัญกับคุณลักษณะที่ตกทอดมาลดลงโดยทั่วไป และให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งและรายได้เพิ่มขึ้นเป็นตัวชี้วัดฐานะในลำดับชั้นทางสังคม.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และชนชั้นทางสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ชนกรรมาชีพ

นกรรมาชีพ (proletariat) เป็นคำใช้อธิบายชนชั้นลูกจ้าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนงานอุตสาหกรรม) ในสังคมทุนนิยมซึ่งครอบครองมูลค่าทางวัตถุ (material value) ที่สำคัญอย่างเดียว คือ พลังแรงงาน (labour-power) หรือความสามารถในการทำงาน สมาชิกของชนชั้นนี้เรียก ชนกรรมาชี.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และชนกรรมาชีพ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซิสโก ฟรังโก

ฟรันซิสโก เปาลีโน เอร์เมเนคิลโด เตโอดูโล ฟรังโก อี บาอามอนเด ซัลกาโด ปาร์โด (Francisco Paulino Hermenegildo Teódulo Franco y Bahamonde Salgado Pardo) หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ จอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก (Francisco Franco) และ เอลโกว์ดีโย หรือ "ท่านผู้นำ" (El Coudillo) (เกิด 4 ธันวาคม พ.ศ. 2435 - ถึงแก่กรรม 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518) เป็นจอมพลและผู้เผด็จการชาวสเปนในช่วงปี พ.ศ. 2479-2518 เกิดที่เมืองเอลเฟร์โรล แคว้นกาลิเซีย ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสเปน จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยโตเลโดในปี พ.ศ. 2453 ได้รับประสบการณ์ในการรบเป็นอย่างมากในสงครามโมร็อกโก และได้เป็นนายพลที่หนุ่มที่สุดของประเทศสเปนเมื่อปี พ.ศ. 2469 ระหว่างสมัยสาธารณรัฐสเปนที่ 2 (พ.ศ. 2474-2479) ฟรังโกได้เป็นผู้นำทำการปราบปรามกบฏชาวเหมืองอัสตูรีอัส และในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และฟรันซิสโก ฟรังโก · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีดริช เองเงิลส์

ฟรีดริช เองเงิลส์ (Friedrich Engels) เป็นนักคิดนักเขียนชาวเยอรมัน และนักทฤษฎีสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ เป็นเพื่อนร่วมงานและคู่คิดที่ใกล้ชิดของ คาร์ล มาร์กซ์ โดยร่วมกันวางรากฐานของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์และลัทธิมาร์กซ และมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงหลักการของลัทธิมาร์กซว่าด้วยวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ และวัตถุนิยมวิภาษวิธี ให้ก้าวหน้าจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปในขบวนการสังคมนิยม.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และฟรีดริช เองเงิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา

รรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา หรือ พรรคเอเอ็นซี (African National Congress; ANC) เป็นพรรครัฐบาลของประเทศแอฟริกาใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนแบบไตรพันธมิตร คือ สมัชชาสมาพันธ์การค้าแห่งแอฟริกาใต้ (Congress of South African Trade Unions; COSATU) และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งแอฟริกาใต้ (South African Communist Party; SACP) นับแต่ครั้งเริ่มการเลือกตั้งแบบไม่แบ่งแยกผิวครั้งแรกของประเทศในเดือนเมษายน..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส

รรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (Parti communiste français, PCF) เป็นพรรคการเมืองและพรรคคอมมิวนิสต์ของฝรั่งเศสในปี 2012 พรรคนี้มีสมาชิกพรรคจำนวน 138,000 คน พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสก่อตั้งในปี 1920 และเคยเข้ารวมรัฐบาลดังต่อไปนี.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

รรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Коммунисти́ческая Па́ртия Сове́тского Сою́за; КПСС) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองสหภาพโซเวียตและเป็นสถาบันหรือองค์กรที่มีอำนาจและบทบาททั้งทางด้านนิตินัยและพฤตินัยในการกำหนดดำเนินนโยบายต่างประเทศ อำนาจในการบริหารและตัดสินใจมาจากกลุ่มบุคคลชั้นนำในคณะกรรมการการเมือง หรือ 'โปลิตบูโร' (Politburo / Политбюро).

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน

รรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (Communist Party of China (CPC) หรือ Chinese Communist Party (CCP)) เป็นพรรคการเมืองหลักในสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสมาชิกกว่า 80 ล้านคน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เริ่มต้นเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 ที่เซี่ยงไฮ้ ได้เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ภายหลังโค่นพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ลงในสงครามกลางเมือง โดย หม่าหลิน (Marine) เป็นผู้แทนเลนิน พบกับ ดร.ซุนยัตเซ็น และ หลี่ต้าเจา กับ จางเหลย เสนอให้จัดตั้งพรรคการเมืองที่รวบรวมความสามัคคีของกรรมกรและชาวน.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์แอฟริกาใต้

รรคคอมมิวนิสต์แอฟริกาใต้ (South African Communist Party; SACP) เป็นพรรคการเมืองและพรรคคอมมิวนิสต์ของแอฟริกาใต้ ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และพรรคคอมมิวนิสต์แอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังเครมลิน

ระราชวังเครมลิน พระราชวังเครมลิน (Большой Кремлёвский дворец) ก่อสร้างระหว่าง..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และพระราชวังเครมลิน · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พิวริตัน

อห์น เฮาว์ (John Howe) และ ริชาร์ด แบ็กซ์เตอร์ (Richard Baxter) พิวริตัน (Puritan) จาก คริสต์ศตวรรษที่ 16 และ คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนที่สนับสนุนความเชื่อทางปรัชญาและการกระทำพิธีทางศาสนาที่ “บริสุทธิ์” (“Purity”) กว่า และความเคร่งครัดส่วนบุคคล กลุ่มพิวริตันเชื่อว่าการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ (English Reformation) ยังไม่เพียงพอและคริสตจักรแห่งอังกฤษยังทำพิธีศาสนาที่ไม่ต่างไปจากพิธีศาสนาของศาสนจักรโรมันคาทอลิกเท่าใดนัก คำว่า “พิวริตัน” เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่า “คาร์ธาร์” ที่ใช้เรียกผู้ที่มีหัวรุนแรงที่เป็นผู้นับถือลัทธิคาร์ธาริสม์ (Catharism) ในฝรั่งเศส บางครั้งกลุ่มเพียวริตันก็ร่วมมือกับคณะเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) ในการตั้งข้อเสนอเพื่อที่จะทำให้นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ใกล้กับคริสตจักรปฏิรูป (Reformed Churches) บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปมากขึ้น.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และพิวริตัน · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

การกวาดล้างใหญ่

อัยการสูงสุด อันเดรย์ วืยชินสกี (คนกลาง), กำลังอ่านข้อกล่าวหาต่อ Karl Radek ในช่วง การพิจารณาคดีมอสโกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2481 การกวาดล้างครั้งยิ่งใหญ่ (Большо́й терро́р, Great Purge) หรือ ความน่ากลัวอันยิ่งใหญ่ (Great Terror) เป็นการปราบปรามทางการเมืองในสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และการกวาดล้างใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง

thumb การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง (recall) คือ กระบวนการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้งจากตำแหน่ง.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง · ดูเพิ่มเติม »

การต่อสู้ระหว่างชนชั้น

การต่อสู้ระหว่างชนชั้น (class struggle) เป็นการแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดของความขัดแย้งทางชนชั้นตามทฤษฎี เมื่อพิจารณาจากมุมมองสังคมนิยมทุกรูปแบบ คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ นักอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เขียนว่า "ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น" ความเข้าใจของมากซ์เกี่ยวกับชนชั้นนั้นไม่เกี่ยวกับชนชั้นทางสังคมในวิชาสังคมวิทยา ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นบน ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง (เป็นการอธิบายในแง่ของปริมาณรายรับหรือความมั่งคั่ง) แต่มากซ์อธิบายในยุคของทุนนิยม ซึ่งเป็นชนชั้นทางเศรษฐกิจ สมาชิกในชนชั้นจะถูกนิยามโดยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับวิธีการผลิต นั่นคือ ตำแหน่งของบุคคลในโครงสร้างทางสังคมที่แสดงคุณสมบัติของทุนนิยม ส่วนใหญ่มากซ์กล่าวถึงสองชนชั้นซึ่งรวมไปถึงประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ได้แก่ ชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นนายทุน ส่วนชนชั้นอื่น ๆ อย่างเช่น ชนชั้นนายทุนน้อยแสดงคุณลักษณะอยู่ระหว่างชนชั้นหลักทั้งสองนี้.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และการต่อสู้ระหว่างชนชั้น · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน

ทความนี้กล่าวถึงการปฏิรูปเศรษฐกิจในสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับการเปลี่ยนแปลงการควบคุมสังคมและนโยบายของสหภาพโซเวียต ดูที่ กลัสนอสต์ และ เปเรสตรอยคา ป้ายโฆษณาอันโด่งดังของเติ้ง เสี่ยวผิง ในนครเซินเจิ้น ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจากการปฏิรูปของเขา ราคาตลาด) ของจีน (เส้นสีน้ำเงิน) ตั้งแต่ ค.ศ. 1952 ถึง ค.ศ. 2005 ในอัตราสูง เป็นผลมาจากการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน (ตรงตัว: ปฏิรูปและเปิดออก) หมายถึงนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็น สังคมนิยมในแบบจีน ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และการปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติรัสเซีย

การปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution) คือภาพรวมของระลอกการปฏิวัติในรัสเซียช่วงปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และการปฏิวัติรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

รงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ภาพ ''เหล็กและถ่านหิน'' โดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์, ค.ศ. 1855-60 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) คือช่วงเวลาตั้งแต..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และการปฏิวัติอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติถาวร

การปฏิวัติถาวร (Permanent revolution) คือคำที่ใช้ทฤษฎีตามลัทธิมากซ์ บัญญัติขึ้นโดยคาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์เมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และการปฏิวัติถาวร · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติโลก

การปฏิวัติโลก (World revolution) คือแนวคิดตามลัทธิมากซ์ของฝ่ายซ้ายจัดในการล้มล้างระบอบทุนนิยมของทุกประเทศด้วยการปฏิวัติอย่างตระหนักรู้ (conscious) โดยกลุ่มชนชั้นแรงงานจัดตั้ง ซึ่งการปฏิวัติเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียงกัน แต่ให้ก่อการขึ้นเมื่อเวลาและสถานที่ (รัฐหรือดินแดน) ใดก็ตามเข้าเงื่อนไขที่จะทำให้ฝ่ายปฏิวัติ (พรรคปฏิวัติ) สามารถยึดสิทธิ์ถือครองและการปกครองจากชนชั้นกระฎุมพีได้สำเร็จ และสามารถสถาปนารัฐแรงงานซึ่งยึดหลักการที่สังคมร่วมเป็นเจ้าของ (social ownership) ในปัจจัยการผลิต (means of production) ส่วนกรณีของลัทธิทรอตสกี ยังพิจารณาเงื่อนไขที่จำเป็นอื่น ๆ ในระดับสากล เช่น การต่อสู้ระหว่างชนชั้น และการก่อการในระดับโลก ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญและปัจจัยหลักที่อธิบายว่าทำไมแนวทางสังคมนิยมประเทศเดียวถึงประสบความล้มเหลว เป้าหมายสูงสุดของการปฏิวัติสังคมนิยมในระดับสากลคือเพื่อให้เกิด โลกสังคมนิยม หรือ ระบอบสังคมนิยมทั่วโลก (world socialism) และภายหลังพัฒนาไปถึงขั้น คอมมิวนิสต์ไร้พรมแดน (stateless communism; ระบอบคอมมิวนิสต์เดียวที่ปกครองโลก).

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และการปฏิวัติโลก · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติเดือนตุลาคม

การปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution, Октя́брьская револю́ция) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า การปฏิวัติสังคมนิยมแห่งเดือนตุลาคมอันยิ่งใหญ่ (Great October Socialist Revolution, Вели́кая Октя́брьская социалисти́ческая револю́ция) และเรียกโดยทั่วไปว่า ตุลาคมแดง, การลุกฮือเดือนตุลาคม หรือ การปฏิวัติบอลเชวิก เป็นการยึดอำนาจรัฐ ซึ่งมีความสำคัญส่วนหนึ่งของการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ลักษณะเหตุการณ์เป็นการก่อการกบฏด้วยอาวุธในกรุงเปโตรกราดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และการปฏิวัติเดือนตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

การโอนมาเป็นของรัฐ

การโอนมาเป็นของรัฐ (Nationalization หรือ nationalisation) คือกระบวนการแปลงทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐบาล โดยทำให้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลระดับชาติหรือรัฐhttp://www.merriam-webster.com/dictionary/nationalization ซึ่งมักจะหมายถึงการที่ทรัพย์สินถูกถ่ายโอนจากภาคเอกชนหรือหน่วยราชการระดับล่าง เช่น เทศบาล มาเป็นของหน่วยราชการระดับที่ใหญ่กว่าอย่างรัฐบาล การโอนมาเป็นของรัฐมีความหมายตรงข้ามกับการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน (privatization) การโอนมาเป็นของเทศบาล (municipalization) และการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ (demutualization) ทั้งนี้การถ่ายโอนทรัพย์สินของรัฐที่เคยแปรรูปเป็นของเอกชนไปแล้วแต่ภายหลังได้โอนกลับมาเป็นของรัฐอีกครั้งหนึ่งจะเรียกว่า การโอนกลับมาเป็นของรัฐ (renationalization หรือ renationalisation) ซึ่งอุตสาหกรรมที่มักจะตกเป็นเป้าของการโอนมาเป็นของรัฐได้แก่ การขนส่ง การสื่อสาร พลังงาน ธนาคาร และทรัพยากรธรรมชาติ รัฐอาจโอนทรัพย์สินกลับมาเป็นของตนโดยไม่จ่ายค่าชดเชยต่อผู้ครอบครองรายก่อนหน้าก็ได้ ทั้งนี้การโอนดังกล่าวแตกต่างจากการกระจายทรัพย์สิน (property redistribution) ตรงที่รัฐยังคงเป็นเจ้าของและมีอำนาจควบคุมในทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ ในบางครั้งรัฐจะทำการโอนทรัพย์สินที่ยึดมาจากการทำผิดกฎหมายมาเป็นของตนได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างคือในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และการโอนมาเป็นของรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กำไรเกินปกติ

กำไรเกินปกติ (abnormal profit หรือ economic rent) คือ กำไรที่เกินมาจาก รายได้หลังหักต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ทั้งหมดแล้ว โดยปกติแล้ว กำไรเกินปกติจะมาจากการผูกขาด เช่น ผูกขาดทรัพยากร ผูกขาดพื้นที่ ผูกขาดข้อมูล เป็นต้น กำไรเกินปกติอาจได้มาจากหลายทาง เช่น.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และกำไรเกินปกติ · ดูเพิ่มเติม »

กิจการของอัครทูต

กิจการของอัครทูต (Acts of the Apostles) เป็นเอกสารฉบับที่ 5 ของคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่ เรียกย่อว่า กิจการ (Acts) ชื่อมาจากภาษากรีก “Praxeis Apostolon” ใช้เป็นครั้งแรกโดยนักบุญอิเรเนียส (Irenaeus) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 2 อาจมีนัยความหมายว่า “กิจการของพระจิต” หรือเป็น “กิจการของพระเยซู” ก็เป็นได้ เพราะ กิจการ เขียนขึ้นเพื่อบันทึกแนวทางปฏิบัติที่พระเยซูทรงสอน และทรงมีบทบาทหลัก แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้บ่งบอกชื่อของตนเองไว้ แต่หลักฐานทั้งจากภายนอกและเนื้อหาในพระธรรมเอง เชื่อได้ว่าผู้เขียนน่าจะเป็น ลูกาผู้ประกาศข่าวประเสริฐ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังสรุปยืนยันไม่ได้ แต่มั่นใจว่าผู้ที่เขียนพระธรรม กิจการ และ พระวรสารนักบุญลูกา เป็นบุคคลเดียวกัน สังเกตได้จากบทเริ่มต้นของพระธรรมเล่มนี้ ซึ่งเป็นจดหมายเขียนถึงเธโอฟิลัส โดยอ้างถึงหนังสือเรื่องแรกที่ได้เขียนให้อ่านไปแล้วนั้น ตรงกันกับบทเริ่มต้นของพระวรสารนักบุญลูกา ดังนั้น พระธรรม กิจการ จึงเขียนขึ้นทีหลัง ซึ่งน่าจะอยู่ในช่วงปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และกิจการของอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

มหาอำนาจ

มหาอำนาจ หมายถึงรัฐซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถแผ่อิทธิพลในระดับโลกได้ ลักษณะของรัฐมหาอำนาจ คือ ครอบครองอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ ตลอดจนอิทธิพลทางการทูตและอำนาจแบบอ่อน (soft power) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ประเทศด้อยอำนาจต้องพิจารณาความเห็นของมหาอำนาจก่อนดำเนินการใด ๆ ของตน นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า ลักษณะของสถานภาพมหาอำนาจสามารถจำแนกเป็นขีดความสามารถของอำนาจ และมิติสถานภาพ ในบางครั้ง สถานภาพมหาอำนาจได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมที่สำคัญ ดังเช่น การประชุมแห่งเวียนนาDanilovic, Vesna.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และมหาอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์คเยอรมัน

มาร์คเยอรมัน เป็นสกุลเงินที่ใช้ในประเทศเยอรมนีจนถึง พ.ศ. 2545 จึงได้เปลี่ยนไปใช้เงินสกุลยูโรแทน โดยมีอัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร ต่อ 1.95583 มาร.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และมาร์คเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มูลค่าส่วนเกิน

มูลค่าส่วนเกิน (Surplus value) เป็นแนวคิดหลักในบทวิจารณ์เศรษฐศาสตร์การเมืองของคาร์ล มากซ์ ในหนังสือของเขาเขียนคำนี้เป็นภาษาเยอรมันว่า เมียร์แวร์ท (Mehrwert) ซึ่งแปลได้อย่างง่ายว่า "มูลค่าเพิ่ม" แม้ว่ามูลค่าเพิ่มจะมีนิยามของตัวมันเองหมายถึงมวลของรายได้ค่าแรงรวมกับรายได้กำไรรวม แต่มากซ์ได้ใช้คำนี้ในทางที่ต่างไป เนื่องจาก แมร์แวร์ท ในแนวทางของมากซ์หมายถึงผลกำไรหรือผลตอบแทนจากการผลิตที่ได้ลงทุนไป นั่นคือมูลค่าทุนที่เพิ่มขึ้น เช่นนั้นแล้ว มากซ์ได้ใช้ เมียร์แวร์ท ในความหมาย "มูลค่าส่วนเกิน" คนละความหมายกับ "มูลค่าเพิ่ม" ตามทฤษฎีของมากซ์นั้น มูลค่าส่วนเกินจะเท่ากับมูลค่าแรงงานที่ถูกสร้างขึ้นมาเกินไปจากต้นทุนที่ตัวแรงงานได้รับ เป็นวิธีของนายทุนที่จะแสวงหากำไรจากการขายสินค้า"...It was made clear that the wage worker has permission to work for his own subsistence—that is, to live, only insofar as he works for a certain time gratis for the capitalist (and hence also for the latter's co-consumers of surplus value)..." Karl Marx,.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และมูลค่าส่วนเกิน · ดูเพิ่มเติม »

มีฮาอิล กอร์บาชอฟ

มีฮาอิล เซียร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ (Михаи́л Серге́евич Горбачёв, Mikhail Sergeyevich Gorbachyov) เป็นอดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วย ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการยุติสงครามเย็น เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และมีฮาอิล กอร์บาชอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ยอซีป บรอซ ตีโต

อซีป บรอซ (Јосип Броз/Josip Broz) หรือ ตีโต (Тито/Tito, พ.ศ. 2435-2523) เป็นรัฐบุรุษและประธานาธิบดีของประเทศยูโกสลาเวีย (พ.ศ. 2496-2523) เกิดที่เมืองคุมรอเวตส์ อาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในประเทศโครเอเชีย) คำว่า "ตีโต" แปลว่า "นั่น-นี่" เป็นสมญานามที่ได้มาจากการชอบสั่งนั่นสั่งนี่เป็นประจำของเขาเมื่อมีอำนาจ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ตีโตเข้าประจำการเป็นทหารในกองทัพบกออสเตรีย-ฮังการี ถูกจับเป็นเชลยโดยกองทัพรัสเซียและได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา ตีโตถูกจองจำเนื่องจากการสมรู้ร่วมคิดต่อต้านระบอบการปกครองในยูโกสลาเวีย (..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และยอซีป บรอซ ตีโต · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันออก

แผนที่ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออก (Eastern Europe) มีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 - 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประกอบไปด้วยประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, อดีตเช็กโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกียและสโลวาเกีย), โปแลนด์, ฮังการี, โรมาเนีย, บัลแกเรีย และอดีตยูโกสลาเวีย ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรแมนซ์และกลุ่มสลาวอนิก.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และยุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ยูโกสลาเวีย

ูโกสลาเวีย (Yugoslavia; สลาวิกใต้: Jugoslavija; เซอร์เบีย: Југославија) เป็นชื่ออดีตประเทศบริเวณคาบสมุทรบอลข่านในทวีปยุโรป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความหมายของคำว่ายูโกสลาเวียคือ "ดินแดนของชาวสลาฟตอนใต้".

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ยูโทเปีย (หนังสือ)

ูโทเปีย (Utopia) เป็นชื่อหนังสือของเซอร์ทอมัส มอร์ ในปี ค.ศ. 1516 ซึ่งเขียนเป็นภาษาละติน เป็นงานเขียนร้อยแก้วพรรณนาถึงสังคมบนเกาะในจินตนาการแห่งหนึ่ง เล่าเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ ลักษณะทางสังคมและการปกครองบนเกาะแห่งนั้น ชื่อของเกาะนำมาจากคำภาษากรีกว่า ou (οὐ), "ไม่" และ tópos (τόπος), "สถานที่" กับคำ suffix ว่า -ía (-ία) ได้เป็นคำว่า Outopía (Οὐτοπία; หรือในภาษาละตินว่า Ūtopia) มีความหมายว่า "ดินแดนที่ไม่มีจริง" น่าสังเกตว่า คำว่า ยูโทเปีย ในภาษาอังกฤษ ออกเสียงเหมือนกันทุกประการกับ Eutopia (Εὐτοπία) มีความหมายว่า "สถานที่ดี" ตัวของมอร์เองเคยเขียนไว้ในคำแนบของหนังสือเขาว่า Wherfore not Utopie, but rather rightely my name is Eutopie, a place of felicitie (ไม่ใช่คำว่า Utopie (ไม่มีจริง) ชื่อที่ถูกต้องของผมคือ Eutopie ดินแดนที่น่าชื่นชมยินดี) การตีความชื่อนี้ก็คือ ยูโทเปีย เป็นสังคมอันแสนสมบูรณ์แบบ แต่มันก็ไม่มีทางจะไปถึงได้ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า สังคมในงานเขียนของมอร์ไม่ใช่ "สังคมสมบูรณ์แบบ" ของเขา ทว่าเขาเพียงแต่สร้างภาพของสังคมที่ตรงกันข้ามกันระหว่างดินแดนในจินตนาการซึ่งมีแนวคิดการปกครองที่ไม่เหมือนใคร กับการเมืองอันยุ่งเหยิงวุ่นวายในยุคสมัยของเขา เพื่อเป็นโครงร่างสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสภาพสังคมกันต่อไป.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และยูโทเปีย (หนังสือ) · ดูเพิ่มเติม »

รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 1.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาล

รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน รัฐบาลตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า government ซึ่งมีความหมายสองนัยยะ นัยยะแรกหมายถึงกิจกรรมการปกครอง และอีกความหมายหนึ่งคือคณะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง หมวดหมู่:การปกครอง.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และรัฐบาล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลกลาง

รัฐบาลกลาง เป็นรัฐบาลของรัฐชาติ และเป็นคุณลักษณะที่พบได้มากกว่าในรัฐเดี่ยว รัฐบาลกลางคืออย่างเดียวกับรัฐบาลสหพันธรัฐ ซึ่งรัฐบาลสหพันธรัฐอาจมีการให้อำนาจแก่รัฐสมาชิกหรือรัฐสมาชิกมอบอำนาจให้แก่รัฐบาลสหพันธรัฐมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละระดับ แม้บางครั้งจะใช้คำคุณศัพท์ "กลาง" อธิบายรัฐบาลสหพันธรัฐ โครงสร้างของรัฐบาลกลางมีหลากหลาย หลายประเทศสร้างเขตปกครองตนเองโดยมอบอำนาจจากรัฐบาลกลางแก่รัฐบาลในระดับต่ำกว่าชาติ เช่น ระดับภูมิภาค ท้องถิ่นหรือรัฐ ตามการจำกัดความระบบการเมืองพื้นฐานอย่างกว้าง มีรัฐบาลตั้งแต่สองระดับขึ้นไปในดินแดนที่ได้รับการสถาปนาและปกครองผ่านสถาบันร่วมที่มีอำนาจทับซ้อนกันหรือจัดสรรตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น ความรับผิดชอบทั่วไปของรัฐบาลกลางซึ่งมิได้ให้แก่รัฐบาลระดับต่ำกว่า คือ การรักษาความมั่นคงของชาติและการดำเนินการทูตระหว่างประเทศ รวมทั้งสิทธิในการลงนามสนธิสัญญาอันมีผลผูกพัน โดยพื้นฐาน รัฐบาลกลางมีอำนาจออกกฎหมายบังคับใช้ทั่วประเทศ ซึ่งตรงข้ามกับรัฐบาลท้องถิ่น หมวดหมู่:รัฐศาสตร์.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และรัฐบาลกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐพรรคการเมืองเดียว

รัฐพรรคการเมืองเดียว หรือ รัฐพรรคการเมืองเดี่ยว เป็นระบอบการปกครองของประเทศที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองเพียงพรรดเดียว ส่วนใหญ่ประเทศที่มีพรรคการเมืองเดียวจะเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ อาทิเช่น จีน,ลาว,คิวบา แต่ก็มีบางประเทศที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์แต่ก็อนุญาตหรือมีพรรคการเมืองเดียว อาทิ เอริเทรีย,เวสเทิร์นสะฮารา ทั้งนี้การขึ้นอยู่กับกฎหมาย สถานการณ์ภายใน และรัฐธรรมนูญของแต่ละประเท.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และรัฐพรรคการเมืองเดียว · ดูเพิ่มเติม »

รัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ (political science) เป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ซึ่งนักรัฐศาสตร์ยุคแรกนั้นพัฒนากระบวนวิชาขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวนิยมทางวิทยาศาสตร์ สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britanica Concise Encyclopedia) อธิบายรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและการเมืองด้วยแนวทางประจักษ์นิยม (empiricism) นักรัฐศาสตร์คือนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามแสวงหา และทำความเข้าใจธรรมชาติของการเมือง ส่วนพจนานุกรมการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) นิยามว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องรัฐ รัฐบาล/การปกครอง (government) หรือการเมือง กล่าวอย่างรวบรัดรัฐศาสตร์เป็นวิชาในสายสังคมศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่างๆ อาทิ ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารจัดการสาธารณะ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics), การพัฒนาการเมือง, สถาบันทางการเมือง, การเมืองระหว่างประเทศ การปกครองและการบริหารรัฐ (national politics), การเมืองการปกครองท้องถิ่น (local politics) เป็นต้น ซึ่งสาขาต่างๆเหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสถาบันว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อย่างไรก็ตามหากจะเรียกว่าการจัดกระบวนวิชาใดนั้นเป็นรัฐศาสตร์หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวใช้มโนทัศน์ "การเมือง" เป็นมโนทัศน์หลัก (crucial concept/key concept) หรือไม่ แต่โดยจารีตของกระบวนวิชา(scholar) นั้นรัฐศาสตร์ จะมีสาขาย่อยที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 สาขาคือ สาขาการปกครอง (government), สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ (public administration) และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(international relation).

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และรัฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอินดีแอนา

อินดีแอนา (Indiana) เป็นรัฐที่ 19 ซึ่งอยู่ในตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ความหมายของรัฐหมายถึงดินแดนของชาวอินเดียนแดง รัฐอินดีแอนา มีเมืองหลวงชื่ออินเดียแนโพลิส และมีรหัสย่อว่า IN.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และรัฐอินดีแอนา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐคอมมิวนิสต์

รัฐคอมมิวนิสต์ (Communist state) เป็นรูปแบบที่นักรัฐศาสตร์ใช้อธิบายรูปแบบของรัฐบาลในรัฐที่มีการปกครองภายใต้พรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว และประกาศใช้ลัทธิมากซ์-เลนิน ซึ่งเป็นแนวคิดทางคอมมิวนิสต์ รัฐคอมมิวนิสต์อาจมีพรรคการเมืองตามกฎหมายหลายพรรค แต่รัฐธรรมนูญรับรองให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นรัฐบาล พรรคคอมมิวนิสต์จึงเป็นสถาบันบริหารประเทศนั้น ๆ โดยปริยาย ประเทศคอมมิวนิสต์ในระหว่างปี 1979-1983 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของลัทธิคอมมิวนิสต์ รัฐคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และรัฐคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเบงกอลตะวันตก

เบงกอลตะวันตก (পশ্চিমবঙ্গ, Poshchimbôŋgo) คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ตรงกลางเยื้อไปทางตะวันออกของประเทศ มีเขตติดต่อรัฐสิกขิม รัฐอัสสัมและประเทศภูฏานทางทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศเนปาลทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับรัฐโอริศาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับประเทศบังกลาเทศทางทิศตะวันตก และอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดียทางใต้ บ หมวดหมู่:รัฐเบงกอลตะวันตก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2499 หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และรัฐเบงกอลตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเกรละ

รัฐเกรละ คือรัฐที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอาหรับ มหาสมุทรอินเดียชื่อรัฐมาจากภาษามาลายาลัมแปลว่าดินแดนแห่งต้นมะพร้าว มีชื่อเสียงด้านการนวดแบบอายุรเวท กเ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2499 หมวดหมู่:บทความที่ต้องการขยายความ.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และรัฐเกรละ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (Royaume de France) คือประเทศฝรั่งเศสในสมัยกลางและต้นสมัยใหม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบสาธารณรัฐดังปัจจุบัน ถือเป็นรัฐที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป เป็นประเทศมหาอำนาจตั้งแต่ปลายสมัยกลางและสงครามร้อยปี และกลายเป็นจักรวรรดิที่แผ่ขยายอาณานิคมไปทั่วโลกแม้แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ซึ่งเป็นรัฐด้านตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงตามสนธิสัญญาแวร์เดิง และอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงจนถึงปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และราชอาณาจักรฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รายการประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)

ทความนี้เป็นการจัดอันดับประเทศตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (gross domestic product หรือ GDP) ซึ่งเป็นมูลค่าตลาดของสินค้า หรือบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตภายในประเทศในแต่ละปี โดยค่า GDP ที่ได้นำเสนอนี้ได้ประเมินโดยใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ณ อัตราแลกเปลี่ยนตามตลาด หรือที่รัฐบาลได้ประกาศไว้.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และรายการประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด) · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบูชาบุคคล

ลสักการะรูปปั้นคิม อิล-ซ็องในกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ ครุชชอฟ และสมาชิกโปลิตบูโรพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เข้าร่วมพาเรดวันแรงงานสากล ในปี 1964 ลัทธิบูชาบุคคล (cult of personality) เกิดขึ้นเมื่อปัจเจกบุคคลใช้สื่อมวลชน โฆษณาชวนเชื่อ หรือวิธีการอื่นเพื่อสร้างภาพลักษณ์อุดมคติ วีรกรรม และบางครั้ง น่าเคารพบูชา มักผ่านการประจบและสรรเสริญโดยปราศจากข้อสงสัย มักซ์ เวแบร์ นักสังคมวิทยา พัฒนาการจำแนกอำนาจสามประการ โดยลัทธิบูชาบุคคล ถือขนานกับสิ่งที่เวแบร์นิยามเป็น "อำนาจบุญบารมี" ลัทธิบูชาบุคคลคล้ายกับการบูชาวีรบุรุษ ยกเว้นดำเนินโดยสื่อมวลชนและโฆษณาชวนเชื่อซึ่งปกติรัฐเป็นผู้ดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิบูชาบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิสตาลิน

ลัทธิสตาลิน (Stalinism) หรือ สังคมนิยมในประเทศเดียว เป็นการตีความทางทฤษฎีและการประยุกต์ ในทางปฏิบัติของหลักนิยมมาร์กซิสต์ส่วนที่เป็นคุณูปการโดยโจเซฟ สตาลิน (Josef Stalin) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจครอบงำพรรคคอมมิวนิสต์และกลไกของรัฐบาลในสหภาพโซเวียต ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1920 จนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1953 สำหรับคุณูปการสำคัญของลัทธิสตาลินมีดังนี้ คือ.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิสตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอำนาจนิยม

อำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ ตามปกติมักตรงข้ามกับปัจเจกนิยมและอิสรนิยม ในทางการเมือง รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือรัฐ หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103) โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้นำ ควบคุมสื่อมวลชน ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของมนุษยชาติ ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ในขณะที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่เสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ อำนาจนิยมมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยการปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอเป้าหมายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทางการเมืองได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล แต่กระนั้น ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ บรรทัดฐานหรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบการเมืองก็ได้ ประเทศที่จัดได้ว่าเป็นระบอบอำนาจนิยม เช่น อิหร่าน สหภาพเมียนมาร์ (พม่า--Union of Myanmar) ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย ภายใต้นายพลซูฮาร์โต เป็นต้น ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศในลาตินอเมริกา นำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการอำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายประเทศจำนวนหนึ่งที่เคยเป็นประชาธิปไตย แต่เกิดหักเหจนในที่สุดระบอบประชาธิปไตยต้องล่มสลาย และถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการรัฐประหารยึดกุมสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการพลเรือน นักเทคนิคระดับสูง (technocrats) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการอำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยมแบบพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการอำนาจนิยม เช่น บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี ในยุคปัจจุบันที่ปรากฏมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107) ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เส้นแบ่งใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบอำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในคราบประชาธิปไตยตัวแทนจอมปลอม (authoritarianism disguised in the form of representative democracy) จึงอยู่ที่มิติด้านคุณภาพของการเลือกตั้งและประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบด้วย กล่าวคือ การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี เที่ยงธรรม และโปร่งใส (free, fair, and transparent election) ที่ปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแทรกแซงของคณะทหาร ไม่มีการครอบงำ หรือจำกัดคู่แข่งทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง จึงจะนับได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เพียงพอและจำเป็นที่จะนำไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง (Badie, 2011: 112-114) และเมื่อได้ชัยชนะและมีเสียงข้างมากแล้ว หากใช้กลไกเสียงข้างมากบ่อนทำลายกลไกตรวจสอบ ก็อาจนำไปสู่อำนาจนิยมซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างอำนาจนิยมและประชาธิปไตยที่สำคัญไม่แพ้การเลือกตั้ง คือ การมีหลักนิติธรรมที่ไม่เอนเอียง มีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคต.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิอำนาจนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยม

ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยม หรือ องค์คณะนิยม (Council communism หรือ Councilism) คือกระแสหนึ่งของแนวคิดสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 มีแรงบันดาลใจมาจากการปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918-1919 ลัทธินี้มีลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์กับลัทธิทุนนิยมรัฐ (state capitalism) และลัทธิสังคมนิยมรัฐ (state socialism) แต่มุ่งเน้นรูปแบบองค์คณะแรงงาน (workers' council) และประชาธิปไตยแบบองค์คณะนิยม (council democracy) ในฐานะกลไกที่ใช้รื้อถอนรัฐชนชั้น (class state) มีความเคลื่อนไหวหลักในเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 1920 และยังคงปรากฎอยู่จนถึงปัจจุบันภายในขบวนการสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์กระแสหลัก หลักการที่เด่นชัดที่สุดของลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมคือจุดยืนตรงกันข้ามกับลัทธิพลพรรคแนวหน้านิยม (party vanguardism) และลัทธิศูนย์รวมนิยมแบบประชาธิปไตยตามแนวคิดของเลนิน รวมถึงต่อสู้เรียกร้องบนจุดยืนที่ว่าองค์คณะแรงงานที่เกิดขึ้นตามโรงงานอุตสาหกรรมและปกครองส่วนท้องถิ่นคือรูปแบบตามธรรมชาติขององค์กรและผู้มีอำนาจของชนชั้นแรงงาน นอกจากนี้ยังมีจุดยืนตรงข้ามกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยสังคมนิยม โดยปฏิเสธแนวทางปฏิรูปนิยมและรัฐสภานิยม เช่น การประนีประนอมที่แลกผลประโยชน์ต่างตอบแทน (quids pro quo หรือ logrolling) ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในแวดวงการเมืองแบบรั.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเลนิน

ในปรัชญาลัทธิมากซ์ ลัทธิเลนิน (Leninism) เป็นทฤษฎีการเมืองส่วนสำหรับการจัดระเบียบพรรคการเมืองแนวหน้าปฏิวัติอย่างเป็นประชาธิปไตย และการบรรลุลัทธิเผด็จการโดยชนกรรมาชีพซึ่งเป็นประชาธิปไตยทางตรง เช่นเดียวกับสังคมนิยม เลนินเป็นผู้พัฒนา และเป็นชื่อของลัทธิเลนิน ประกอบด้วยทฤษฎีการเมืองและเศรษฐกิจสังคมนิยม พัฒนามาจากลัทธิมากซ์ และการตีความทฤษฎีลัทธิมากซ์ของเลนิน เพื่อการประยุกต์ปฏิบัติเข้ากับสภาพทางสังคมและการเมืองของจักรวรรดิรัสเซียซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในเดือนกุมภาพันธ์ 1917 เป็นเวลาห้าปี ลัทธิเลนินเป็นการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจและการเมืองลัทธิมากซ์ของรัสเซีย ผู้นำไปปฏิบัติ คือ พรรคบอลเชวิก ในการนำไปปฏิบัติ พรรคแนวหน้าแบบลัทธิเลนินให้ความสำนึกทางการเมือง (การศึกษาและการจัดระเบียบ) แก่ชนชั้นกรรมกร และผู้นำปฏิบัติที่จำเป็นต่อการโค่นทุนนิยมในจักรวรดิรัสเซีย หลังการปฏิวัติตุลาคม ค.ศ. 1917 ลัทธิเลนินเป็นรุ่นของลัทธิมากซ์ที่เด่นในรัสเซีย และต่อมาเป็นอุดมการณ์ของรัฐอย่างเป็นทางการของประชาธิปไตยแบบโซเวียต (โดยสภากรรมกร) ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ก่อนควบเข้ากันเป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1922 ยิ่งไปกว่านั้น ในยุคหลังเลนิน โจเซฟ สตาลินรวมลัทธิเลนินเข้ากับเศรษฐศาสตร์แบบมากซ์ และ พัฒนาลัทธิมากซ์–เลนิน ซึ่งต่อมาเป็นอุดมการณ์รัฐคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิเลนิน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเหมา

ลัทธิเหมา คือ ทฤษฎีทางการเมืองที่พัฒนามาจากคำสอน และนโยบายของ เหมา เจ๋อตง (1893–1976) ผู้นำทางการเมืองและการปฏิวัติของประเทศจีน โดยในระยะแรกเริ่มถูกเรียกว่า "ทฤษฎีความคิดของเหมา เจ๋อตง" ลัทธิเหมาถูกพัฒนาขึ้นมาระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1970 จนกระทั่งได้รับการปฏิรูปจากเติ้ง เสี่ยวผิง ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างลัทธิเหมากับลัทธิมากซ์รูปแบบอื่นคือ เหมากล่าวว่าชาวนาควรเป็นปราการป้องกันพลังการปฏิวัติ นำโดยชนชั้นใช้แรงงานในประเทศจีน หมวดหมู่:เหมา เจ๋อตง หมวดหมู่:อุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน หมวดหมู่:สำนักคิดลัทธิมากซ์ หมวดหมู่:วัฒนธรรมจีน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์การเมืองจีน หมวดหมู่:ปรัชญาจีน หมวดหมู่:ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ หมวดหมู่:การต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ หมวดหมู่:การต่อต้านลัทธิแก้ หมวดหมู่:การเมืองซ้ายจัด.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิเหมา · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ เลนิน

วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) มีชื่อเต็มว่า วลาดีมีร์ อิลลิช อุลยานอฟ (Vladimir Ilyich Ulyanov, Владимир Ильич Ульянов) เป็นผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สถาปนาเมื่อ..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และวลาดีมีร์ เลนิน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต

ซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต (Верхо́вный Сове́т СССР, Verkhóvnyj Sovét SSSR) เป็นองค์การนิติบัญญัติสูงสุดในสหภาพโซเวียต และเป็นองค์การเดียวที่มีอำนาจผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ สภาฯ เลือกคณะผู้บริหารสูงสุด (Presidium) ก่อตั้งสภารัฐมนตรีและศาลสูงสุด และแต่งตั้งอัยการสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต (Procurator General of the Soviet Union).

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย

หพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย (Socialist Federal Republic of Yugoslavia, SFR Yugoslavia, SFRY) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมในคาบสมุทรบอลข่านและล่มสลายหลังจากสงครามยูโกสลาเวีย ในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมศาสตร์

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (social science) คือ สาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2529: 129) ทรงกล่าวถึงความหมายของสังคมศาสตร์และขอบเขตของการศึกษาวิชานี้ไว้ว่า สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตามความเป็นจริง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสังคมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยม

ังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว"The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยมประเทศเดียว

ังคมนิยมประเทศเดียว (อังกฤษ: Socialism in One Country) เป็นทฤษฎีหลักในการดำเนินการนโยบายต่าง ๆ ในสมัยการเตรียมรุกแบบสังคมนิยม (New Socialist Offensive) ภายใต้การปกครองของ โจเซฟ สตาลิน แห่งสหภาพโซเวียต โดยมุ่งเปลี่ยนสหภาพโซเวียตจากการเป็นประเทศเกษตรกรรมมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม สตาลินนั้นได้ขึ้นมามีอำนาจต่อจากเลนิน ซึ่งถึงแก่กรรมในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสังคมนิยมประเทศเดียว · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยมแบบอิสรนิยม

ังคมนิยมแบบอิสรนิยม (libertarian socialism, บ้างเรียก อนาธิปไตยสังคมนิยม (socialist anarchism) อิสรนิยมฝ่ายซ้าย (left libertarianism) หรือ สังคมนิยมเสรี เป็นกลุ่มปรัชญาการเมืองในขบวนการสังคมนิยมซึ่งปฏิเสธมุมมองสังคมนิยมที่ว่ารัฐเป็นเจ้าของหรือควบคุมปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจารณ์รูปแบบรัฐที่กว้างขวางกว่า ตลอดจนความสัมพันธ์แรงงานค่าจ้าง (wage labour) ในที่ทำงาน สังคมนิยมแบบอิสรนิยมเน้นการจัดการตนเองของคนงานในที่ทำงานและโครงสร้างการปกครองการเมืองแบบกระจายอำนาจแทน โดยยืนยันว่า สามารถบรรลุสังคมที่ยึดเสรีภาพและความเสมอภาคได้โดยการยกเลิกสถาบันอำนาจนิยมซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตบางอย่างและทำให้ฝ่ายข้างมากเป็นเบี้ยล่างของชนชั้นที่เป็นเจ้าของหรืออภิชนทางการเมืองและเศรษฐกิจ นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมโดยทั่วไปฝากความหวังไว้กับวิธีกระจายอำนาจของประชาธิปไตยทางตรงและสมาคมสหพันธรัฐและสมาพันธรัฐ เช่น ระบบเทศบาลอิสรนิยม สมัชชาพลเมือง สหภาพแรงงานและสภาคนงาน เพราะฉะนั้น นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมเชื่อว่า “การใช้อำนาจในรูปแบบของสถาบันใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสถาบันทาง เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา หรือ ที่เกี่ยวกับเพศ คือการทำร้ายทั้งผู้ใช้อำนาจและผู้ที่ถูกบังคับข่มเหงภายใต้อำนาจนั้นๆ”.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสังคมนิยมแบบอิสรนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสเปนที่ 2

รณรัฐสเปนที่ 2 (Segunda República Española) เป็นยุคของสาธารณรัฐฝ่ายซ้ายของสเปน ตั้งแต่ปี 1931 ถึง 1939 ก่อนจะถูกฝ่าย Francoist Spain โค่นอำนาจลงในช่วง สงครามกลางเมืองสเปน หลังสงคราม รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น โดยมีที่ตั้งที่สถานทูตในเม็กซิโกซิตี จนถึงปี 1976 หลังมีการพื้นฟูประชาธิปไตยในสเปน รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนจึงถูกยุบลงในปีต่อม.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสาธารณรัฐสเปนที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต

รณรัฐแห่งสหภาพโซเวียต หรือ สาธารณรัฐสหภาพ (союзные республики, soyuznye respubliki, Republics of the Soviet Union) ของสหภาพโซเวียตชึ่งแบ่งตามเชื้อชาติ การบริหารจะขึ้นตรงไปยังรัฐบาลของสหภาพโซเวียตในประวัติศาสตร์ สหภาพโซเวียตเป็นประเทศที่มีรัฐรวมมากเป็นจำนวนมาก; การปฏิรูปการกระจายอำนาจในยุคของเปเรสตรอยคา ("การปรับโครงสร้าง") และกลัสนอสต์ ("การเปิดกว้าง") ดำเนินการของมีฮาอิล กอร์บาชอฟ จนนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐนิยม

สาธารณรัฐนิยม (ภาษาอังกฤษ: Republicanism) เป็นคตินิยมของการเป็นพลเมืองในรัฐที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ ซึ่งอำนาจอธิปไตยถือว่า เป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชน (popular sovereignty) ประเทศบางประเทศเป็นสาธารณรัฐในแง่ที่ว่า รัฐเหล่านั้นไม่ได้มีระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ แต่ว่าไม่ได้ยึดเอาอุดมคติของสาธารณรัฐนิยมเป็นฐาน คำว่า "สาธารณรัฐ" มีที่มาจากคำลาตินว่า res publica ซึ่งอ้างอิงถึงรูปแบบของการปกครองที่ถือกำเนิดขึ้นในราว ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตศักราช หลังจากการขับไล่กษัตริย์ของกรุงโรม โดย ลูเชียส จูนิอัส บรูตัส และ คอลลาตินัส รูปแบบการปกครองนี้ล่มสลายลงในช่วงท้ายของ ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตศักราช โดยเปลี่ยนเป็นการปกครองแบบมีกษัตริย์ในเชิงรูปแบบ การปกครองแบบสาธารณรัฐถูกฟื้นฟูกลับมาอีกครั้ง ในสมัยการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการฟลอเรนซ์ คตินิยมแบบสาธารณรัฐนิยมมีบทบาทอย่างมากในการปฏิวัติอเมริกา ส่วนในยุโรปแนวคิดนี้ได้เพิ่มอิทธิพลอย่างมากหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:ปรัชญาการเมือง หมวดหมู่:อุดมการณ์ทางการเมือง.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสาธารณรัฐนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองรัสเซีย

งครามกลางเมืองรัสเซีย (Grazhdanskaya voyna v Rossiyi)Mawdsley, pp.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสงครามกลางเมืองรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองสเปน

งครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) เป็นการรบในประเทศสเปนที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้แก่ "ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ" ประกอบด้วยกลุ่มมัชฌิมา กลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ รวมทั้งชาวกาตาลาและชาวบาสก์ที่หัวรักถิ่นและเป็นอนาธิปไตย กับ "ฝ่ายชาตินิยม" ที่เป็นฝ่ายก่อการกบฏ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ พวกการ์ลิสต์ พวกคาทอลิกหัวเก่า และพวกฟาสซิสต์ฟรังกิสต์ ซึ่งกองทัพสเปนเองก็ได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายก็พยายามระดมหาพันธมิตรต่างประเทศมาช่วยรบ ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐดึงสหภาพโซเวียตและเม็กซิโก ส่วนฝ่ายชาตินิยมดึงพวกฟาสซิสต์จากอิตาลีและนาซีเยอรมนี สงครามดังกล่าวนับว่าเป็นการเร่งความขัดแย้งที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และถูกมองว่าเป็นสงครามตัวแทนระหว่างสองลัทธิ คือ คอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและฟาสซิสต์ ฝ่ายอักษะ สงครามดังกล่าวได้มีการนำรถถังและการทิ้งระเบิดทางอากาศมาใช้ และถูกกล่าวขานถึงความโหดร้ายของสงครามและความแตกแยกทางการเมืองจากนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่หลายคน อย่างเช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, มาร์ธา เกลฮอร์น, จอร์จ ออร์เวลล์, และโรเบิร์ต คาป.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสงครามกลางเมืองสเปน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสงครามเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเย็น

กำแพงเบอร์ลินจากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ. 1989 เป็นสัญลักษณ์ว่าสงครามเย็นใกล้ยุติ สงครามเย็น (Cold War Холодная война) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก (สหรัฐอเมริกา พันธมิตรเนโท ฯลฯ) และประเทศในกลุ่มตะวันออก (สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ) นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสงครามเย็น · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

หอสมุดรัฐสภา

หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หอสมุดรัฐสภา (Library of congress) สถาบันด้านวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาและเป็นหอสมุดแห่งชาติ ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และหอสมุดรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธนิวเคลียร์

ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาฟิชชัน(atomic bomb)อย่างเดียว หรือ ฟิชชันและฟิวชัน(hydrogen bomb)รวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ระเบิดไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดจามทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิด ไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และอาวุธนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจหน้าที่

ในรัฐศาสตร์ อำนาจหน้าที่ (authority) หมายถึงความสามารถในการกำหนดกฎเกณฑ์ โดยไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจในการบังคับใช้กฎเกณฑ์เหล่านั้น หรือความสามารถในการอนุญาตให้บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นได้ ผู้คนยอมทำตามอำนาจหน้าที่เนื่องจากความเคารพ ในขณะที่ยอมตามอำนาจด้วยความกลัว ตัวอย่างเช่น "สภามีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย" เมื่อเทียบกับ "ตำรวจมีอำนาจในการจับผู้กระทำความผิด" อำนาจหน้าที่นั้นไม่จำเป็นต้องมีลักษณะที่คงเส้นคงวาหรือว่าสมเหตุสมผล เพียงแต่ต้องเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับว่าเป็นแหล่งที่สามารถให้คำอนุญาตได้หรือเป็นสิ่งที่จริงแท้ ปัญหาว่าใครจะมีอำนาจหน้าที่อะไร เป็นเสมือนหัวใจของการโต้เถียงทางการเมือง และคำตอบของคำถามเหล่านี้มักมาจากผลของการพิจารณาเชิงปฏิบัติหรือเชิงศีลธรรม จากแนวปฏิบัติที่ยึดถือกันมาและจากทฤษฎีของระบบยุติธรรมหรือจากสงครามเพื่อความยุติธรรม หน้าที่ (ความหมาย รัฐศาสตร์) คือ คุณลักษณะที่เป็นนามธรรม บ่งบอกถึงการกระทำของแต่ละบุคคลในแต่ละอาชีพ (นาย อำนาจ หมดสิ้นวาสนา).

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และอำนาจหน้าที่ · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การคอมมิวนิสต์สากล

นิตยสารของโคมินเทิร์นชื่อ''คอมมิวนิสต์ อินเตอร์เนชันเนล''เป็นนิตยสารที่แปลทุกภาษาในยุโรปพิมพ์ตั้งแต่ปี 1919 ถึง 1943 องค์การคอมมิวนิสต์สากล (Comintern หรือ Communist International; Коммунистический Интернационал) หรือเรียกว่า โคมินเทิร์น เป็นองค์การที่ทำหน้าที่เผยแพร่แนวความคิดปฏิวัติ ล้มล้างนายทุนและจักรวรรดินิยมตามแบบการปฏิวัติของบอลเชวิก เมื่อโจเซฟ สตาลินขึ้นมามีอำนาจสืบต่อจากเลนิน ซึ่งถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1924 สตาลินได้พัฒนาแนวนโยบายของเลนินออกไปเพื่อให้โซเวียตรัสเซียมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยใช้หลักสังคมนิยมประเทศเดียว (Socialism in one country) ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติ (Peaceful Co-Existence) โคมินเทิร์นถูกยุบลงในปี 1943 และถูกแทนที่ด้วยโคมินฟอร์ม.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และองค์การคอมมิวนิสต์สากล · ดูเพิ่มเติม »

อนาธิปไตย

อนาธิปไตย (anarchism) โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นปรัชญาการเมืองซึ่งถือว่ารัฐนั้นเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา ไม่จำเป็นและให้โทษ หรืออีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการคัดค้านผู้มีอำนาจและองค์การมีลำดับชั้นบังคับบัญชาในการชี้นำความสัมพันธ์ของมนุษย์ ผู้เสนออนาธิปไตย หรือรู้จักกันว่า "ผู้นิยมลัทธิอนาธิปไตย" (anarchist) สนับสนุนสังคมที่ปราศจากรัฐโดยตั้งอยู่บนการรวมกลุ่มอย่างสมัครใจที่ไม่มีลำดับชั้น เสรีภาพของปัจเจกชนและการต่อต้านรัฐ คือหลักการที่ชัดเจนของลัทธิอนาธิปไตย สำหรับในเรื่องอื่น ๆ นั้นอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันบ้างในหมู่ผู้ที่นิยมแนวคิดนี้ เช่น การใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลงสังคม ชนิดของระบอบเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและลำดับชั้น การตีความหมายของแนวคิดเกี่ยวกับความสมภาค (egalitarian) และระดับของการจัดองค์กร คำว่า "อนาธิปไตย" ในความหมายที่นักอนาธิปไตยใช้นั้น มิได้หมายถึงภาวะยุ่งเหยิงหรืออโนมี แต่เป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เสมอภาค ที่ถูกจัดตั้งขึ้นและรักษาอย่างจงใจ หมวดหมู่:ระบอบการปกครอง.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และอนาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ผู้นำสหภาพโซเวียต

ใต้รัฐธรรมนูญปี 1977 ของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (สหภาพโซเวียต) ประธานสภารัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งประธานสภารัฐมนตรีนั้นเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีในโลกที่หนึ่ง ในขณะที่ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดเทียบเท่าประธานาธิบดี ในประวัติศาสตร์เจ็ดสิบปีของสหภาพโซเวียตไม่มีผู้นำอย่างเป็นทางการในรัฐบาลสหภาพโซเวียต แต่ผู้นำโซเวียตมักจะนำประเทศผ่านตำแหน่งประธานสภารัฐมนตรีหรือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (CPSU) ในอุดมการณ์ของวลาดิมีร์ เลนินประมุขแห่งรัฐโซเวียตเป็นแกนหลักของพรรคคอมมิวนิสต์ ในยุคสตาลินในปี1920 ได้มีการจัดตั้งตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมวลสหภาพซึ่งมีอำนาจเหมือนกับตำแหน่งผู้นำของสหภาพโซเวียต เพราะตำแหน่งนั้นได้ควบคุมทั้ง CPSU และรัฐบาลของสหภาพโซเวียต ตำแหน่งเลขาธิการถูกยกเลิกภายในปี1952 และต่อมาได้จัดตั้งขึ้นใหม่โดยนิกิตา ครุสชอฟ ภายใต้ชื่อเลขานุการลำดับที่หนึ่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต; ในปี 1966 เลโอนิด เบรจเนฟ ได้ใช้ชื่อตำแหน่งใหม่ว่า เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เลขาธิการเหมือนกับตำแหน่งผู้นำของสหภาพโซเวียตจนกระทั่ง1990ตำแหน่งเลขาธิการขาดแนวทางที่ชัดเจนของความสำเร็จดังนั้นหลังจากการตายหรือถูกกำจัดของผู้นำโซเวียตคนก่อนมักจะทายาทมักจะต้องการการสนับสนุนของโปลิตบูโร คณะกรรมการกลาง อีกทั้งต้องใช้เวลาและการมีอำนาจในพรรค ในมีนาคม 1990 ก็ถูกแทนที่ด้วยตำแหน่งประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต หลังการแต่งตั้งประธานาธิบดี ผู้แทนของสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนได้ลงมติให้ลบมาตรา 6 จากรัฐธรรมนูญของสหภาพโซเวียตที่ระบุว่าสหภาพโซเวียตเป็นรัฐหนึ่งของบุคคลที่ควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งในการเปิดให้ประชาชนมีบทบาทนำในสังคม มากขึ้นทำอำนาจพรรคคอมมิวนิสต์อ่อนแอลงและประชาชนเริ่มมีอำนาจมากขึ้น เมื่อประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดีตาย,ลาออกหรือถอดถอนออกจากของสหภาพโซเวียตจะถือว่ายังมีอำนาจอยู่จนถึงการแต่งตั้งหรือตั้งเลือก แต่ก็ไม่ได้มีทดสอบเพราะสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายก่อน หลังจากล้มเหลวในการรัฐประหารสิงหาคม รองประธานาธิบดีก็ถูกแทนที่ด้วยการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และผู้นำสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-ฌัก รูโซ

็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคเรืองปัญญ.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และฌ็อง-ฌัก รูโซ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดินิยม

ลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) คือ นโยบายขยายอำนาจในการเข้าควบคุมหรือมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือดินแดนต่างชาติ อันเป็นวิถีทางเพื่อการได้มาและ/หรือการรักษาจักรวรรดิให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ทั้งจากการขยายอำนาจเข้ายึดครองดินแดน โดยตรง และจากการเข้าคุมอำนาจทางอ้อมในด้านการเมือง และ/หรือทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ บางคนใช้คำศัพท์นี้เพื่ออธิบายถึงนโยบายของประเทศใดประเทศหนึ่งในการคงไว้ซึ่งอาณานิคม และอิทธิพลเหนือดินแดนอันไกลโพ้น โดยไม่คำนึงว่าประเทศนั้น ๆ จะเรียกตนเองว่าเป็นจักรวรรดิหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม มีการนำเอาคำว่า 'จักรวรรดินิยม' ไปใช้ในบริบทที่แสดงถึงความมีสติปัญญา/ความเจริญที่สูงกว่าด้วย ซึ่งในบริบทนี้คำว่า "จักรวรรดินิยม" มีนัยแสดงถึงความเชื่อที่ว่า การเข้าถือสิทธิยึดครองดินแดนต่างชาติและการคงอยู่ของจักรวรรดิเป็นสิ่งดีงาม เนื่องจากมีการประสมผสานรวมเอาหลักสมมุติฐานที่ว่า โดยธรรมชาติแล้วชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมนั้นจะมีวัฒนธรรมและความเจริญด้านอื่น ๆ เหนือกว่าชาติที่ถูกรุกรานเข้าไว้ด้วย — โปรดดู ภาระคนขาว (The White Man's Burden) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มวิพากษ์วิจารณ์กันมากยิ่งขึ้นว่า "ลัทธิจักรวรรดินิยม" นั้นไม่ได้มีบริบทจำกัดอยู่เพียงแค่ระดับของการเข้าครอบครองหรือครอบงำทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของชาติอื่นเท่านั้น แต่ยังขยายเข้าครอบคลุมไปถึงระดับวัฒนธรรมด้วย โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับอิทธิพลทางวัฒนธรรมอเมริกันที่แผ่ขยายไปทั่วโลก — โปรดดู ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม หลายคนโต้แย้งการขยายคำจำกัดความดังกล่าว โดยอ้างเหตุผลว่าเรื่องของ "วัฒนธรรม" นั้นเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อน ยากที่จะแยกความแตกต่างให้เห็นชัดเจนได้ว่า การรับวัฒนธรรมของชาติใดชาติหนึ่งไปนั้น เป็นเรื่องของปฏิกิริยาที่ชนในชาติมีต่อกันและกันทั้งสองฝ่าย หรือเป็นเรื่องของอิทธิพลที่แผ่ขยายจนเกินขีดจำกัด นอกจากนี้แล้วการนำเอา "วัฒนธรรมจักรวรรดินิยม" ไปใช้ในการอธิบายหรือวิเคราะห์นั้น ยังมีการ "เลือกปฏิบัติ" ด้วย ตัวอย่าง เช่น "แฮมเบอร์เกอร์" ถูกจัดว่าเป็น "วัฒนธรรมจักรวรรดินิยม" ขณะที่ "น้ำชา" นั้นไม่ใ.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และจักรวรรดินิยม · ดูเพิ่มเติม »

จูเช

ูเช (Juche) ปกติแปลว่า "การพึ่งตนเอง" เป็นถ้อยแถลงทางการเมืองโดย คิม อิล-ซ็อง อดีตผู้นำเกาหลีเหนือ ซึ่งกล่าวว่า มวลชนชาวเกาหลีเป็นนายแห่งการพัฒนาประเทศ นับแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1970 คิมและนักทฤษฎีอื่นของพรรค เช่น ฮวัง จัง-ยอพ เสริมแต่งความคิดจูเชเป็นชุดหลักการซึ่งรัฐบาลใช้อ้างเหตุผลการตัดสินใจนโยบาย ในบรรดานโยบายเหล่านั้น ได้แก่ ทัศนคติทหารเข้มแข็งและการพึ่งพาทรัพยากรของชาติเกาหลี จูเชถูกกล่าวหาว่าเป็นศาสนาการเมืองแม้เกาหลีเหนือเป็นอเทวนิยมโดยรัฐ (state atheism) อย่างเป็นทางการ ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เกาหลีเหนือต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างหนัก สงผลให้เศรษฐกิจเกาหลีเหนือถดถอยลง รัฐบาลก็ประกาศให้ใช้จูเชแบบเข้มข้นขึ้น.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และจูเช · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติรัสเซีย

งชาติสหพันธรัฐรัสเซีย มีลักษณะเป็นธงสามสี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งเป็น 3 แถบ ความกว้างเท่ากัน เรียงเป็นสีขาว-น้ำเงิน-แดง จากบนลงล่างตามลำดับ ธงนี้เริ่มใช้ครั้งแรกเป็นธงสำหรับเรือค้าขายและเรือรบ (ธงนาวี) และได้ประกาศใช้เป็นธงอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2439 มีชื่อว่า "Триколор" หรือ "Trikolor" แปลว่า ธงสามสี กล่าวกันว่า แบบของธงที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้มีต้นแบบมาจากธงชาติเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นต้นเค้าของธงสามสีแบบต่างๆ ในโลก ธงนี้ได้ใช้เป็นธงของรัฐบาลรัสเซียเฉพาะกาล หลังการล้มล้างราชบัลลังก์พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) จนถึงเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคมโดยพรรคบอลเชวิคในปีเดียวกัน ซึ่งนำไปสู่การปกครองรัสเซียโดยพรรคบอลเชวิค และการสถาปนาสหภาพโซเวียต รัฐคอมมิวนิสต์แห่งแรกของโลก ในช่วงเวลาดังกล่าวธงชาติรัสเซียแบบสามสีได้ถูกแทนที่ด้วยธงชาติแบบคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งก่อนหน้าการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) เพียงเล็กน้อย ธงสามสีจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นธงชาติรัสเซียอีกครั้ง เพื่อเป็นธงชาติของสหพันธรัฐรัสเซียที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ แบบของธงชาติรัสเซียที่ใช้อยู่ในธงวันนี้มีลักษณะแตกต่างจากธงที่เริ่มใช้ใน..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และธงชาติรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสหภาพโซเวียต

งชาติสหภาพโซเวียต ประกอบด้วยพื้นธงสีแดงและรูปค้อนเคียวบนขอบธงด้านซ้ายบน สีแดงแสดงถึงสีของพรรคคอมมิวนิสต์ และระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ส่วนค้อนเคียวแสดงถึงชนชั้นกรรมาชีพ อันเป็นชนชั้นที่สำคัญที่สุดในระบอบคอมมิวนิสต์ ธงค้อนเคียวดาวแดงแบบแรกสุดประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 รัฐบัญญัติเกี่ยวกับธงฉบับใหม่ได้ออกบังคับใช้ ให้มีการแก้ไขรูปค้อนเคียวในธงเล็กน้อย โดยแก้ให้ด้ามค้อนยาวขึ้นและเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเคียวใหม่ ครั้งสุดท้ายที่มีการแก้ไขธงคือในปี พ.ศ. 2523 ได้แก้ให้พื้นสีแดงในธงสว่างขึ้นและได้ใช้ต่อมาจนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในวันที่ 25 ธันวาคมในปี พ.ศ. 2534เมื่อเวลา 19.32 น. มีการลดธงชาติสหภาพโซเวียตลงจากเครมลินเป็นครั้งสุดท้ายและแทนที่ด้วยธงไตรรงค์ของรัสเซี.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และธงชาติสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส มอร์

ทอมัส มอร์ (Thomas More) คริสตจักรโรมันคาทอลิกเรียกว่านักบุญทอมัส มอร์ เป็นนักกฎหมาย นักปรัชญาสังคม นักเขียน รัฐบุรุษ และนักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และประธานฝ่ายตุลาการอังกฤษตั้งแต่เดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และทอมัส มอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทุนนิยม

"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และทุนนิยม · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 19

ริสต์ศตวรรษที่ 19 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และคริสต์ศตวรรษที่ 19 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์

ัมภีร์ (religious text; holy writ; holy books; scripture; scriptures) หมายถึง ตำราที่ยกย่องหรือนับถือว่าสำคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และคัมภีร์ · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล มากซ์

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และคาร์ล มากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยสังคมนิยม

ประชาธิปไตยสังคมนิยม (Social democracy) เป็นอุดมการณ์ทางการเมือง ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ ที่สนับสนุนการแทรกแซงของรัฐทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อความยุติธรรมทางสังคมภายในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ตลอดจนนโยบายการปกครองอันผูกมัดกับระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน การกระจายรายได้ และการควบคุมเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและที่เป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐสวัสดิการ ดังนั้น จึงเป็นระบอบที่มุ่งสร้างเงื่อนไขให้กับระบอบทุนนิยมเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นประชาธิปไตย ที่เท่าเทียมกัน และที่เป็นปึกแผ่นมากกว่า โดยบ่อยครั้งสัมพันธ์กับนโยบายทางสังคมเศรษฐกิจที่กลายเป็นเรื่องสำคัญในประเทศยุโรปตะวันตกและยุโรปเหนือ โดยเฉพาะรูปแบบที่มีในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (คือ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน) ในช่วงครึ่งหลังคริสต์ทศวรรษที่ 20 ระบบนี้มาจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่สนับสนุนการปฏิรูปแบบสันติ เพื่อเปลี่ยนจากระบบทุนนิยมเป็นสังคมนิยมผ่านกระบวนการทางเมืองที่มีอยู่แล้ว เทียบกับการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติของลัทธิมากซ์ดั้งเดิม ในยุโรปตะวันตกช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมได้ปฏิเสธรูปแบบทางการเมืองและเศรษฐกิจของลัทธิสตาลินที่ตอนนั้นปฏิบัติอยู่ในสหภาพโซเวียต โดยใช้ทางเลือกเพื่อดำเนินสู่สังคมนิยมอีกแบบหนึ่ง หรือใช้ระบบอะลุ้มอล่วยระหว่างทุนนิยมและสังคมนิยม ในช่วงเวลานี้ นักประชาธิปไตยสังคมนิยมได้นำเศรษฐกิจแบบผสมมาใช้ อิงอาศัยทรัพย์สินส่วนบุคคลที่มีมากกว่า บวกกับสาธารณูปโภคที่จำเป็นและบริการสาธารณะซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีน้อยกว่า ดังนั้น ระบอบนี้จึงสัมพันธ์กับเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ การแทรกแซงของรัฐ และรัฐสวัสดิการ โดยได้ละทิ้งเป้าหมายสังคมนิยมดั้งเดิมที่จะแทนที่ระบบทุนนิยม (รวมทั้งตลาดการผลิต ทรัพย์สินส่วนบุคคล และแรงงานแลกกับค่าจ้าง) ด้วยระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่ต่างกัน ประชาธิปไตยสังคมนิยมในปัจจุบันมีลักษณะเฉพาะคือ การผูกมัดกับนโยบายที่เล็งระงับความไม่เท่าเทียมกัน ระงับการกดขี่กลุ่มคนที่ไร้อภิสิทธิ์ และระงับความยากจน รวมทั้งการสนับสนุนบริการสาธารณะที่เข้าถึงได้ทั่วกัน เช่น การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลเด็ก การศึกษา การดูแลสุขภาพ และค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ใช้แรงงาน ขบวนการประชาธิปไตยสังคมนิยมยังมีความสัมพันธ์ที่แข็งแรงกับขบวนการแรงงานและสหภาพแรงงาน สนับสนุนสิทธิการร่วมเจรจาต่อรองสำหรับแรงงาน ตลอดจนนโยบายที่ขยายการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยนอกเหนือจากเรื่องการเมืองเข้าไปในประเด็นทางเศรษฐกิจ ในรูปแบบสิทธิเพื่อการเลือกผู้แทนในคณะกรรมการของบริษัท (co-determination) สำหรับทั้งลูกจ้างและผู้ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ขบวนการ "ทางที่สาม" (Third Way) ซึ่งหวังเชื่อมเศรษฐกิจฝ่ายขวาเข้ากับนโยบายสวัสดิการแบบประชาธิปไตยสังคมนิยม เป็นอุดมการณ์ที่พัฒนาขึ้นต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1990 และบางครั้งนำมาใช้โดยพรรคการเมืองประชาธิปไตยสังคมนิยม แต่ก็มีนักวิเคราะห์ที่จัดทางที่สามว่า เท่ากับขบวนการเสรีนิยมใหม.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตยสังคมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยโดยตรง

การชุมนุมตามกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า Landsgemeinde ในแคนทอนกลารุสปี พ.ศ. 2549 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) หรือ ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (pure democracy.) เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนตัดสินการริเริ่มออกกฎหมาย/นโยบายต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะโดยออกเสียงลงคะแนนหรือลงประชามติเป็นต้น ซึ่งต่างจากรัฐประชาธิปไตยปัจจุบันโดยมากอันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ริเริ่มแล้วออกเสียงตัดสินนโยบายอีกทอดหนึ่ง ในระบอบนี้ ประชาชนอาจมีอำนาจการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร ริเริ่มแล้วตัดสินการออกกฎหมายทางฝ่ายนิติบัญญัติ เลือกตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ และดำเนินการทางฝ่ายตุลาการ ประชาธิปไตยโดยตรงมีรูปแบบหลัก ๆ สองอย่างคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตยโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีรัสเซีย

ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นประมุขแห่งรัฐ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้ทรงตำแหน่งหน้าที่สูงสุดในประเทศรัสเซีย แต่มิใช่ประมุขฝ่ายบริหาร โดยรัฐบาลรัสเซียเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจบริหารสูงสุด ประธานาธิบดีรัสเซียคนปัจจุบัน คือ วลาดีมีร์ ปูติน.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประธานาธิบดีรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบัลแกเรีย

ัลแกเรีย (България) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบัลแกเรีย (Република България) เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ ประเทศเซอร์เบียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางตะวันตก และประเทศโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบบัลแกเรียเคยเป็นอาณานิคมของรัสเซี.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคิวบา

วบา (อังกฤษและCuba) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐคิวบา (Republic of Cuba; República de Cuba) ประกอบด้วยเกาะคิวบา (เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะแอนทิลลิสใหญ่) เกาะคูเบนตุด (Isla de la Juventud) และเกาะเล็ก ๆ ใกล้เคียง ตั้งอยู่ในภูมิภาคแคริบเบียนเหนือ ที่จุดบรรจบของทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และมหาสมุทรแอตแลนติก คิวบาตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก และหมู่เกาะบาฮามาส ทางทิศตะวันตกของหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอสและประเทศเฮติ ทางทิศตะวันออกของเม็กซิโก และทางทิศเหนือของหมู่เกาะเคย์แมนและเกาะจาเมกา สาธารณรัฐคิวบาเป็นเพียงประเทศเดียวในบริเวณภูมิภาคนี้ที่ยังคงมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์อยู.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอลเบเนีย

แอลเบเนีย (Albania; Shqipëri) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (Republic of Albania; Republika e Shqipërisë) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเซอร์เบีย (คอซอวอ) ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไต.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโรมาเนีย

รมาเนีย (Romania; România) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย (Rumania หรือ Roumania) เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้ว.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเชโกสโลวาเกีย

right right เชโกสโลวาเกีย เป็นอดีตประเทศในยุโรปกลาง ปัจจุบันแยกออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและประเทศสโลวาเกี.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศเชโกสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลีเหนือ

รณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea: DPRK) หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (North Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิเกาหลีปกครองเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศเกาหลีเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนีตะวันออก

อรมนีตะวันออก (East Germany) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (Deutsche Demokratische Republik - DDR; German Democratic Republic - GDR) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากการยึดครองเยอรมนีของกองทัพโซเวียตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในช่วงสงครามเย็น โดยเยอรมนีตะวันออกได้นิยามตัวเองว่าเป็นรัฐสังคมนิยม "ของคนงานและชาวนา"Patrick Major, Jonathan Osmond, The Workers' and Peasants' State: Communism and Society in East Germany Under Ulbricht 1945–71, Manchester University Press, 2002, และเขตที่ถูกยึดครอง ได้รับการปกครองโดยกองกำลังโซเวียตในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง เขตยึดครองโซเวียตตามข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแนว Oder-Neisse เขตยึดครองโซเวียตล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก แต่ไม่รวมถึง เป็นผลให้เบอร์ลินตะวันตกยังคงอยู่นอกเขตอำนาจของเยอรมนีตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีก่อตั้งขึ้นในเขตโซเวียต ขณะที่สหพันธรัฐจัดตั้งขึ้นในสามเขตตะวันตก เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต เจ้าหน้าที่ยึดครองโซเวียตได้เริ่มถ่ายโอนความรับผิดชอบในการบริหารให้กับผู้นำคอมมิวนิสต์เยอรมันในปี 1948 และเริ่มมีบทบาทเป็นรัฐเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1949 อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตยังคงกำลังอยู่ในประเทศตลอดช่วงสงครามเย็น จนถึง 1989 เยอรมนีตะวันออกถูกปกครองโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี แม้ว่าพรรคอื่น ๆ ในนามขององค์กรพันธมิตร National Front of Democratic Germany 29 October 1989.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศเยอรมนีตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

นักล่า-เก็บของป่า

นักล่า-รวบรวมพืชผล (hunter-gatherer) หมายถึงมนุษย์ในสังคมที่ได้อาหารส่วนมากหรือทั้งหมด จากการเก็บพืชในป่าหรือล่าสัตว์ป่า เปรียบเทียบกับสังคมเกษตร ที่โดยหลักพึ่งพืชสัตว์พันธุ์ที่ปรับนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร การหากินวิธีนี้เป็นการปรับตัวแบบแรกและที่ยืนยงที่สุดของคน โดยเป็นวิธีหากินใน 90 เปอร์เซนต์ของประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่ว่าหลังจากการเกิดขึ้นของสังคมเกษตรกรรมโดยมากในโลก สังคมเกษตรและสังคมเลี้ยงสัตว์ก็ได้แทนที่หรือพิชิตสังคมนักล่า-รวบรวมพืชผล โดยมีกลุ่มที่จัดเป็นนักล่า-รวบรวมพืชผลเหลือเพียงไม่กี่สังคมในปัจจุบัน และหลายกลุ่มจริง ๆ ก็มีการปลูกพืชสวนและเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้ว.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และนักล่า-เก็บของป่า · ดูเพิ่มเติม »

นิกาย

นิกายในศาสนา (Religious denomination) หมายถึง หมู่ หรือพวกคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และนิกาย · ดูเพิ่มเติม »

นิวอิงแลนด์

นิวอิงแลนด์ (New England) เป็นเขตหนึ่งในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยมีเมืองบอสตัน เป็นเมืองขนาดใหญ่ในเขต เขตนิวอิงแลนด์ประกอบด้วย 6 รัฐ ได้แก่ รัฐคอนเนตทิคัต รัฐนิวแฮมป์เชียร์ รัฐเมน รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐโรดไอแลนด์ และ รัฐเวอร์มอนต์ นิวอิงแลนด์มีทีมกีฬาที่สำคัญคือ นิวอิงแลนด์ เพทริออตส์ ทีมอเมริกันฟุตบอลจากเมืองฟอกซ์โบโร และทีมฟุตบอล นิวอิงแลนด์ เรฟโวลูชัน.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และนิวอิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นโยบายเศรษฐกิจใหม่

นโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy; NEP; Новая экономическая политика, НЭП, Novaya Ekonomicheskaya Politika) เป็นนโยบายเศรษฐกิจที่เสนอโดยวลาดีมีร์ เลนิน เพื่อป้องกันมิให้เศรษฐกิจรัสเซียล่มสลาย นโยบายดังกล่าวอนุญาตให้เอกชนดำเนินกิจการบางอย่างได้ เช่น ธุรกิจขนาดเล็กหรือร้านค้า เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับเอกชนในขณะที่รัฐควบคุมธนาคาร การค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นโยบายได้รับการตัดสินใจในสมัยประชุมสภาที่ 10 ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ประกาศใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2464 กฤษฎีกาดังกล่าวบังคับให้ชาวนาให้ผลผลิตเกษตรกรรมเป็นวัตถุดิบแก่รัฐบาลแทนการจ่ายภาษี นอกจากนี้ ยังมีการออกกฤษฎีกาเพิ่มเติมเพื่อกลั่นกรองนโยบายและขยายไปรวมถึงอุตสาหกรรมบางประเภทด้วย นโยบายนี้ถูกยกเลิกโดย สตาลิน ในปี พ.ศ. 2471 รวมระยะเวลาที่ใช้ 7ปี.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และนโยบายเศรษฐกิจใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์

ำแถลงนโยบายคอมมิวนิสต์ แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (Manifesto of the Communist Party หรือ The Communist Manifesto) หรือ คำแถลงนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์ (Manifest der Kommunistischen Partei) เป็นหนังสือการเมืองเล่มหนึ่งที่มีอิทธิพลสูงต่อประวัติศาสตร์โลก เขียนโดย คาร์ล มาร์กซ และ ฟรีดริช เองเงิลส์ ตามที่ได้รับมอบหมายจากสหพันธ์คอมมิวนิสต์ จัดพิมพ์ครั้งแรกในวันที่ 21 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นกาตาลุญญา

กาตาลุญญา (Catalunya; Cataluña), กาตาลุญญอ (อารัน: Catalonha) หรือ แคทาโลเนีย (Catalonia) เป็นภูมิภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ปัจจุบัน สถานะทางรัฐธรรมนูญของภูมิภาคนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรสเปนซึ่งถือว่ากาตาลุญญาเป็นแคว้นปกครองตนเองแห่งหนึ่งของตน กับฌานาราลิตัตดากาตาลุญญา (ทบวงการปกครองในท้องถิ่น) ซึ่งถือว่ากาตาลุญญาเป็นสาธารณรัฐเอกราชหลังจากที่สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาประกาศเอกราชจากสเปนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และแคว้นกาตาลุญญา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอันดาลูซิอา

อันดาลูซิอา (Andalucía) เป็นแคว้นปกครองตนเองของประเทศสเปน โดยเป็นแคว้นที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในจำนวนแคว้นปกครองตนเอง 17 แห่งที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศสเปน เมืองหลักของแคว้นคือเซบิยา แคว้นอันดาลูซิอาแบ่งออกเป็น 7 จังหวัด คือ จังหวัดอูเอลบา จังหวัดเซบิยา จังหวัดกาดิซ จังหวัดกอร์โดบา จังหวัดมาลากา จังหวัดฆาเอน จังหวัดกรานาดา และจังหวัดอัลเมริอา อันดาลูเซียมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับแคว้นเอซเตรมาดูราและแคว้นกัสติยา-ลา มันชา ทิศตะวันออกติดต่อกับแคว้นมูร์เซียและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศโปรตุเกสและมหาสมุทรแอตแลนติก (ตะวันตก-ใต้) และทางทิศใต้ติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ใต้-ตะวันออก) และมหาสมุทรแอตแลนติก (ใต้-ตะวันตก) ทั้งสองน่านน้ำเชื่อมต่อกันโดยช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตอนใต้สุดซึ่งแยกประเทศสเปนออกจากประเทศโมร็อกโกในทวีปแอฟริกา ยิบรอลตาร์ ดินแดนของสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้มีพรมแดนร่วมกับจังหวัดกาดิซ.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และแคว้นอันดาลูซิอา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอารากอน

แผนที่การกระจายภาษาในแคว้นอารากอน ภาษาสเปนใช้พูดทั่วไปในแคว้น และเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียว อารากอน (สเปนและAragón) หรือ อะราโก (Aragó) เป็นแคว้นปกครองตนเองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดต่อกับแคว้นกาตาลุญญา ทางทิศใต้ติดต่อกับแคว้นบาเลนเซีย และทางทิศตะวันตกติดต่อกับแคว้นกัสติยา-ลามันชา แคว้นกัสติยาและเลออน แคว้นลารีโอคา และแคว้นนาวาร์ ประกอบด้วยจังหวัดซาราโกซา จังหวัดอูเอสกา และจังหวัดเตรูเอล มีแม่น้ำเอโบรไหลผ่านในพื้นที่ ตอนเหนือเป็นภูเขาสูง มีหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม ส่วนตอนใต้ค่อนข้างแห้งแล้ง นอกจากจังหวัดทั้งสามแล้ว แคว้นอารากอนยังแบ่งย่อยออกเป็น 33 เทศมณฑล (comarcas) อีกด้ว.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และแคว้นอารากอน · ดูเพิ่มเติม »

โรซา ลุกเซิมบวร์ค

รซา ลุกเซิมบวร์ค (Rosa Luxemburg; Róża Luksemburg) (5 มีนาคม ค.ศ. 1871 - 15 มกราคม ค.ศ. 1919) เป็นนักทฤษฎีมาร์กซิสม์ นักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ และนักกิจกรรมชาวยิวเชื้อสายโปแลนด์ ซึ่งต่อมาได้เป็นพลเมืองเยอรมัน เธอเคยเป็นสมาชิกของพรรคสังคมประชาธิปไตยโปแลนด์และลิทัวเนีย พรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี (SPD) พรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระเยอรมนี และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และโรซา ลุกเซิมบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต โอเวน

รเบิร์ต โอเวน โรเบิร์ต โอเวน (อังกฤษ: Robert Owen) เป็นชาวเวลส์ เกิดเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2314 และถึงแก่กรรมเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401 รวมอายุ 87 ปี เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักปฏิรูปทางสังคมชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักในฐานะ บิดาแห่งการสหกรณ์โลก โอเวนเสนอให้มีการจัดตั้งชมรมสหกรณ์ขึ้น โดยให้ทรัพย์สินต่างๆ ของชมรม เป็นของส่วนรวม เพื่อไม่ให้มีสภาพของนายทุนในสหกรณ์ แต่จัดตั้งไม่สำเร็จและไม่ได้รับการยอมรับ โอเวนจึงทดลองตั้งชมรมสหกรณ์ชื่อ นิวฮาร์โมนี (New Harmony) ขึ้นที่เมืองนิวฮาร์โมนี รัฐอินดีแอนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และโรเบิร์ต โอเวน · ดูเพิ่มเติม »

โลกตะวันตก

ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และโลกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

อลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) (25 เมษายน ค.ศ. 1599 (ปฏิทินเก่า) - 3 กันยายน ค.ศ. 1658 (ปฏิทินเก่า) เป็นผู้นำทางการทหารและทางการเมืองชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักกันดีในการเกี่ยวข้องกับเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษเป็นแบบสาธารณรัฐในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” (Lord Protector) แห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ครอมเวลล์เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของกองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) ผู้ได้รับชัยชนะต่อกองทัพของ ฝ่ายกษัตริย์นิยม (Cavalier) ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ หลังจากปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1649แล้ว ครอมเวลล์ก็มีอิทธิพลต่อเครือจักรภพแห่งอังกฤษ อยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นในขณะเดียวกับที่ได้รับชัยชนะในการปราบปรามสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ และปกครองในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1653 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

โคมินฟอร์ม

ำนักข่าวและข้อมูลคอมมิวนิสต์ หรือ โคมินฟอร์ม (Communist Information Bureau, Cominform) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ สำนักข่าวและข้อมูลพรรคแรงงานและพรรคคอมมิวนิสต์ (Information Bureau of the Communist and Workers' Parties) เป็นองค์กรคอมมิวนิสต์สากลที่มาแทนที่องค์การคอมมิวนิสต์โลกที่สาม หรือโคมินเทิร์น ซึ่งถูกยุบลงใน..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และโคมินฟอร์ม · ดูเพิ่มเติม »

เบนิโต มุสโสลินี

นีโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลีนี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) เรียกชื่อโดยทั่วไปว่า "อิลดูเช" (Il Duce) แปลว่า "ท่านผู้นำ" เป็นจอมเผด็จการและนายกรัฐมนตรีของประเทศอิตาลี (พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2486) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ในครอบครัวที่ยากจนที่เมืองโดวีอาดีเปรดัปปีโอ (Dovia di Predappio) ในจังหวัดฟอร์ลิ แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา แต่ด้วยเวลาไม่นาน มุสโสลีนีได้กลายเป็นนักสังคมนิยมยุวชนที่หลักแหลมและมีอันตราย แต่ต่อมาต้องลาออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลีเนื่องจากสนับสนุนการเข้าแทรกแซงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2462 มุสโสลีนีได้เข้าร่วมการก่อตั้งพรรคสันนิบาตการต่อสู้แห่งอิตาลี (Fasci Italiani di Combattimento) หรือพรรคฟาสซิสต์เพื่อเตรียมเป็นกองกำลังปฏิวัติ ในปี พ.ศ. 2465 ได้เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งฉลองชัยชนะด้วย "การสวนสนามแห่งโรม" (เดือนตุลาคม) ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2468 เขาได้สถาปนาตนเองเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ บังคับให้ยกเลิกระบบรัฐสภาทดแทนด้วย "รัฐบรรษัท" (Corporate State) และวางระบบรวบอำนาจอย่างเป็นทางการ ได้จัดตั้งนครรัฐวาติกัน (พ.ศ. 2472) บุกยึดอะบิสซิเนีย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2478-พ.ศ. 2479 ปัจจุบันคือเอธิโอเปีย) และแอลเบเนีย (พ.ศ. 2482) ไว้ในการครอบครอง พร้อมกับการประกาศเข้าร่วมเป็นฝ่ายอักษะกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งประเทศเยอรมนี มุสโสลินีถูกจับกุมตัวได้เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยกองกำลังปาร์ติซานของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี ที่บริเวณใกล้ชายแดนอิตาลี-สวิสเซอร์แลนด์ ในขณะที่เขาพยายามจะหลบหนีออกจากอิตาลี และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในข้อหาทรยศต่อชาติ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยคำตัดสินลับหลังของคณะลูกขุนแห่งคณะกรรมการปลดแอกแห่งชาติ ร่างของมุสโสลินี อนุภรรยา และผู้นิยมลัทธิฟาสซิสต์คนอื่นๆ อีกประมาณ 15 คน ได้ถูกนำไปยังเมืองมิลาโน เพื่อแขวนประจานต่อสาธารณชน.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และเบนิโต มุสโสลินี · ดูเพิ่มเติม »

เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

กออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel,;27 สิงหาคม ค.ศ. 1770 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันในช่วงปลายยุคภูมิธรรม เฮเกิลเป็นนักปรัชญาคนสำคัญของโลกตะวันตก งานเขียนหลายชิ้นของเขามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อปรัชญากลุ่มต่างๆ อาทิ ปรัชญาภาคพื้นทวีป (Continental Philosophy) ปรัชญาวิเคราะห์ (Analytical Philosophy) และลัทธิมากซ.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล · ดูเพิ่มเติม »

เลออน ทรอตสกี

ลออน ทรอตสกี (Лев Тро́цкий) ชื่อเกิด เลฟ ดาวิโดวิช บรอนชเทย์น (Лев Дави́дович Бронште́йн) เป็นนักปฏิวัติและนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ นักการเมืองโซเวียต และผู้ก่อตั้งและผู้นำคนแรกของกองทัพแดง ทรอตสกีแต่แรกเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มแยกสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศเมนเชวิค (Menshevik Internationalists) แห่งพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย เขาเข้ากับพรรคบอลเชวิคทันทีก่อนการปฏิวัติตุลาคม..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และเลออน ทรอตสกี · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เหมา เจ๋อตง

หมา เจ๋อตง หรือ เหมา เจ๋อตุง (26 ธันวาคม พ.ศ. 2436 — 9 กันยายน พ.ศ. 2519) หรือที่นิยมเรียกอีกอย่างว่า ท่านประธานเหมา เป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และทำให้จีนเปลี่ยนระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และเหมา เจ๋อตง · ดูเพิ่มเติม »

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ คือ พื้นที่ที่รัฐกำหนดให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมภาคการบริการ เน้นทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเปิดโอกาสให้นักลงทุนนำเงินเข้ามาลงทุน มีการจัดเก็บภาษีเป็นรายได้หลักของพื้นที่ และอาจจะมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อเข้ามาบริหารจัดการ หมวดหมู่:เขตเศรษฐกิจพิเศษ หมวดหมู่:ธุรกิจระหว่างประเทศ หมวดหมู่:การค้าระหว่างประเทศ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และเขตเศรษฐกิจพิเศษ · ดูเพิ่มเติม »

เครือรัฐเอกราช

รือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States หรือ CIS Содружество Независимых Государств หรือ СНГ) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นหลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง โดยมีประเทศสมาชิกเป็นประเทศที่ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต (ยกเว้นกลุ่มประเทศบอลติก).

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และเครือรัฐเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

เงินตรา

งิน หมายถึง วัตถุหรือเอกสารใด ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการและใช้ชำระหนี้ในประเทศหรือในบริบทสังคมเศรษฐกิจหนึ่งๆตามตัวบทกฎหมาย หน้าที่หลักของเงินจำแนกได้ว่า (1) เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (2) เป็นหน่วยวัดมูลค่า (3) เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า และ (4) บางครั้งในอดีต เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้าT.H. Greco.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และเงินตรา · ดูเพิ่มเติม »

เติ้ง เสี่ยวผิง

ติ้ง เสี่ยวผิง (22 สิงหาคม พ.ศ. 2447 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540) เป็นผู้เปลี่ยนแปลงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงต้นทศวรรษ 2520 ถึง..

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และเติ้ง เสี่ยวผิง · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยงไฮ้

ซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ (จีน: 上海, พินอิน: Shànghǎi) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก ตามมาด้วยสิงคโปร์และรอตเทอร์ดาม เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในประเทศจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน สิ่งที่พบเห็นได้มากในเมืองนี้จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองคือต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้.

ใหม่!!: ลัทธิคอมมิวนิสต์และเซี่ยงไฮ้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Communismระบอบคอมมิวนิสต์ระบบคอมมิวนิสต์สาธารณรัฐนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์คอมมิวนิสต์คอมมูนิสต์ปรัชญาคอมมิวนิสต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »