โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

ดัชนี ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

มีการเสนอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ศาสนาพุทธนั้นเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้ ทำให้ศาสนาพุทธได้กลายเป็นประเด็นหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ มีการอ้างว่า คำสอนทั้งทางปรัชญาทั้งทางจิตวิทยาในศาสนาพุทธ มีส่วนที่เหมือนกันกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และทางปรัชญา ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธสนับสนุนให้ทำการตรวจสอบธรรมชาติอย่างเป็นกลาง ๆ แนวคิดที่นิยมบางอย่าง เชื่อมคำสอนศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม และทฤษฎีจักรวาลวิทยา แต่ว่า นักวิทยาศาตร์โดยมาก เห็นความแตกต่างระหว่างคำสอนทางศาสนาและเกี่ยวกับอภิปรัชญาของศาสนาพุทธ กับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ในปี..

48 ความสัมพันธ์: พระเจ้ากรรมฐานกลศาสตร์ควอนตัมการสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็กกาลามสูตรญาณวิทยามรรคมีองค์แปดมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ราชสมาคมแห่งลอนดอนรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบวอชิงตัน ดี.ซี.วัชรยานวิวัฒนาการวิทยาศาสตร์ศาสนาพุทธศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการสหรัฐหลักความไม่แน่นอนอภิปรัชญาอะตอมอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์อิเล็กตรอนอนุภาคมูลฐานอเทวนิยมฌ็อง ปียาแฌจักรวาลวิทยาจิตวิทยาธัมมจักกัปปวัตนสูตรทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปทะไลลามะทิก เญิ้ต หั่ญความสมมูลมวล–พลังงานคำขวัญปริภูมินีลส์ บอร์โมเมนตัมไสยศาสตร์ไอแซก นิวตันเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์เล่าจื๊อเหนือธรรมชาติเจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์เซน

พระเจ้า

ระเจ้า อาจหมายถึง; ศาสน.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

กรรมฐาน

กรรมฐาน (บาลี:kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย อย่าง อย่างไรในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงแปลคำว่า กมฺมฏฺาน ว่า ฐานะแห่งการงาน มากไปกว่านั้นในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐพบคำว่า กมฺมฏฺาน เฉพาะในเล่มที่ 13 ข้อที่ 711 ถึง 713 เท่านั้น.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และกรรมฐาน · ดูเพิ่มเติม »

กลศาสตร์ควอนตัม

'''ฟังชันคลื่น''' (Wavefunction) ของอิเล็กตรอนในอะตอมของไฮโดรเจนที่ทรงพลังงานกำหนดแน่ (ที่เพิ่มลงล่าง ''n''.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และกลศาสตร์ควอนตัม · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก

alt.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และการสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

กาลามสูตร

กาลามสูตร (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร) คือ พระสูตรที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และกาลามสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา หรือ ญาณศาสตร์ (epistemology) หมายถึงวิชาว่าด้วยความรู้ หรือทฤษฎีความรู้ ขอบเขตการศึกษาของญาณวิท.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และญาณวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

มรรคมีองค์แปด

มรรค (มรฺค; มคฺค) คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และมรรคมีองค์แปด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549 ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ (scientific method) หรือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) เป็นหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบและเสาะหาความรู้ใหม่แบบวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์เสนอความเชื่อใหม่เกี่ยวกับโลกในรูปของทฤษฎีที่ผ่านขั้นตอนของ การสังเกต, การตั้งสมมติฐาน, และการอนุมาน ผลการทำนายของทฤษฎีเหล่านี้จะถูกทดสอบด้วยการทดลอง ถ้าผลการทำนายนั้นถูกต้องหรือสอดคล้องกับการทดลอง ทฤษฎีดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ ทฤษฎีที่ความน่าเชื่อถือจะถูกนำไปทดลองซ้ำเพื่อยืนยันความถูกต้องเพิ่มเติม ระเบียบวิธีนี้ถูกจัดให้เป็นตรรกะสำคัญของธรรมเนียมปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระสำคัญนั้นระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์คือวิธีการที่รอบคอบมาก สำหรับสร้างความเข้าใจ ที่มีหลักฐานและยืนยันได้เกี่ยวกับโลก.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชสมาคมแห่งลอนดอน

นที่ตั้งของราชสมาคมแห่งลอนดอน ราชสมาคมแห่งลอนดอน (Royal Society หรือชื่อเต็มว่า The Royal Society of London for the Improvement of Natural Knowledge) เป็นสมาคมนักปราชญ์ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ รวมถึง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความเป็นไปได้ว่าเป็นสมาคมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงอยู่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และราชสมาคมแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (Nobelpriset i fysik, Nobel Prize in Physics) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งใน 5 สาขา ริเริ่มโดยอัลเฟรด โนเบล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1895 โดยสถาบัน Royal Swedish Academy of Sciences แห่งประเทศสวีเดน เป็นผู้คัดเลือกผู้รับรางวัล ซึ่งมีผลงานวิจัยด้านฟิสิกส์อย่างโดดเด่น มีพิธีมอบเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1901 พิธีมอบรางวัลมีขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเสียชีวิตของอัลเฟรด โนเบล ที่กรุงสตอกโฮล์ม.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม (Nobelpriset i litteratur, Nobel Prize in Literature) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งในห้าสาขา ที่ริเริ่มโดยอัลเฟร็ด โนเบล ตั้งแต..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

วอชิงตัน ดี.ซี.

กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตปกครองพิเศษโคลอมเบีย (District of Columbia) มักเรียกทั่วไปว่า กรุงวอชิงตัน (Washington) หรือ ดี.ซี (D.C.) เป็นเมืองหลวงของสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา โดยชื่อ วอชิงตัน มาจากชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนหนึ่ง วอชิงตันเป็นนครหลักนครหนึ่งของเขตมหานครวอชิงตัน (Washington Metropolitan Area) โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในวอชิงตันจำนวนประมาณ 6,131,977 คน โดยวอชิงตันได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางการเมืองของโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางสหรัฐและสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำนวนมากเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น กรุงวอชิงตันเป็นนครที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดนครหนึ่งในโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวอชิงตัน ปีละประมาณ 20 ล้านคน การลงนามรัฐบัญญัติที่ตั้งในสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และวอชิงตัน ดี.ซี. · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ

นื่องจากไม่มีหลักสำคัญทางพุทธศาสนาที่ค้านกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ชาวพุทธเป็นจำนวนมากยอมรับหลักวิทยาศาสตร์ข้อนี้ได้ แต่คำถามเกี่ยวกับความที่โลก (เอกภพ) มีที่สุดหรือไม่มีที่สุด เที่ยงหรือไม่เที่ยง โดยทั่วไปเป็นปัญหาในปัญหา 10 อย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อข้อปฏิบัติให้ถึงมรรคผลนิพพาน เพราะเหตุนั้น ชาวพุทธบางพวกไม่ใส่ใจในปัญหาเหล่านี้ว่ามีประโยชน์เพื่อการพ้นทุกข์ทั้งของตนและผู้อื่น ส่วนองค์ทะไลลามะทรงปฏิเสธวิวัฒนาการที่มาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติว่า ซึ่งเป็นคำกล่าวที่มีนักวิชาการอธิบายว่า องค์ทะไลลามะได้ตรัสเช่นนี้ก็เพราะว่า การเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นผลของกรรม ตามหลักของศาสนาพุท.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

หลักความไม่แน่นอน

ในวิชาควอนตัมฟิสิกส์ หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนแบร์ก (Heisenberg uncertainty principle) กล่าวว่า คู่คุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่แน่นอนใดๆ เช่น ตำแหน่งและโมเมนตัม จะไม่สามารถทำนายสภาวะล่วงหน้าได้อย่างแน่นอน ยิ่งเรารู้ถึงคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งอย่างละเอียด ก็ยิ่งทำนายคุณสมบัติอีกข้อหนึ่งได้ยากยิ่งขึ้น หลักการนี้มิได้กล่าวถึงข้อจำกัดของความสามารถของนักวิจัยในการตรวจวัดปริมาณสำคัญของระบบ แต่เป็นธรรมชาติของตัวระบบเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นไปไม่ได้ที่จะวัดทั้งตำแหน่งและความเร็วของอนุภาคในเวลาเดียวกันด้วยระดับความแน่นอนหรือความแม่นยำใดๆ ก็ตาม สำหรับกลศาสตร์ควอนตัม เราสามารถอธิบายอนุภาคได้ด้วยคุณสมบัติของคลื่น ตำแหน่ง คือที่ที่คลื่นอยู่อย่างหนาแน่น และโมเมนตัมก็คือความยาวคลื่น ตำแหน่งนั้นไม่แน่นอนเมื่อคลื่นกระจายตัวออกไป และโมเมนตัมก็ไม่แน่นอนในระดับที่ไม่อาจระบุความยาวคลื่นได้ คลื่นที่มีตำแหน่งแน่นอนมีแต่เพียงพวกที่เกาะกลุ่มกันเป็นจุดๆ เดียว และคลื่นชนิดนั้นก็มีความยาวคลื่นที่ไม่แน่นอน ในทางกลับกัน คลื่นที่มีความยาวคลื่นแน่นอนมีเพียงพวกที่มีคาบการแกว่งตัวปกติแบบไม่จำกัดในอวกาศ และคลื่นชนิดนี้ก็ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้ ดังนั้นในกลศาสตร์ควอนตัม จึงไม่มีสภาวะใดที่สามารถบอกถึงอนุภาคที่มีทั้งตำแหน่งที่แน่นอนและโมเมนตัมที่แน่นอน ยิ่งสามารถระบุตำแหน่งแน่นอนได้แม่นเท่าไร ความแน่นอนของโมเมนตัมก็ยิ่งน้อย นิพจน์ทางคณิตศาสตร์สำหรับหลักการนี้คือ ทุกๆ สถานะควอนตัมมีคุณสมบัติการเบี่ยงเบนของค่าเฉลี่ยกำลังสอง (RMS) ของตำแหน่งจากค่าเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการกระจายของ X): คูณด้วยค่าเบี่ยงเบน RMS ของโมเมนตัมจากค่าเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ P): จะต้องไม่น้อยกว่าเศษส่วนค่าคงที่ของพลังค์: ค่าวัดใดๆ ของตำแหน่งด้วยความแม่นยำ \scriptstyle \Delta X ที่ทลายสถานะควอนตัม ทำให้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของโมเมนตัม \scriptstyle \Delta P ใหญ่กว่า \scriptstyle \hbar/2\Delta x.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และหลักความไม่แน่นอน · ดูเพิ่มเติม »

อภิปรัชญา

อภิปรัชญา (Metaphysics) ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของ ปรัชญา ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ซึ่งรวมทั้ง ชีวิต โลก และ ภาวะเหนือธรรมชาติ เช่น พระเจ้าอดิศักดิ์ ทองบุญ, คู่มืออภิปรัชญา, ราชบัณฑิตยสถาน ISBN 974-575-939-2 มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ อภิปรัชญาคือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และอภิปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

อะตอม

อะตอม (άτομον; Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น "อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียสไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ \begin\frac \approx 0.9995\end, หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปรนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม แนวคิดที่ว่าสสารประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ไม่ต่อเนื่องกันและไม่สามารถแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กไปได้อีก เกิดขึ้นมานับเป็นพันปีแล้ว แนวคิดเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนการให้เหตุผลทางปรัชญา นักปรัชญาได้เรียกการศึกษาด้านนี้ว่า ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) จนถึงยุคหลังจากเซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า 'วิทยาศาสตร์' (Science) เกิดขึ้น (นิวตันเรียกตัวเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher)) ทดลองและการสังเกตการณ์ ธรรมชาติของอะตอม ของนักปรัชญาธรรมชาติ (นักวิทยาศาสตร์) ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ มากมาย การอ้างอิงถึงแนวคิดอะตอมยุคแรก ๆ สืบย้อนไปได้ถึงยุคอินเดียโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล โดยปรากฏครั้งแรกในศาสนาเชน สำนักศึกษานยายะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นว่าอะตอมประกอบกันกลายเป็นวัตถุที่ซับซ้อนกว่าได้อย่างไร ทางด้านตะวันตก การอ้างอิงถึงอะตอมเริ่มขึ้นหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดยลิวคิพพุส (Leucippus) ซึ่งต่อมาศิษย์ของเขาคือ ดีโมครีตุส ได้นำแนวคิดของเขามาจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น ราว 450 ปีก่อนคริสตกาล ดีโมครีตุสกำหนดคำว่า átomos (ἄτομος) ขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า "ตัดแยกไม่ได้" หรือ "ชิ้นส่วนของสสารที่เล็กที่สุดไม่อาจแบ่งแยกได้อีก" เมื่อแรกที่ จอห์น ดาลตัน ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอม นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเข้าใจว่า 'อะตอม' ที่ค้นพบนั้นไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะได้มีการค้นพบว่า 'อะตอม' ยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำเดิมที่ดีโมครีตุสบัญญัติเอาไว้ ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (Corpuscularianism) ที่เสนอโดยนักเล่นแร่แปรธาตุในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซูโด-กีเบอร์ (Pseudo-Geber) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า พอลแห่งทารันโท แนวคิดนี้กล่าวว่าวัตถุทางกายภาพทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดละเอียดเรียกว่า คอร์พัสเคิล (corpuscle) เป็นชั้นภายในและภายนอก แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอม ยกเว้นว่าอะตอมนั้นไม่ควรจะแบ่งต่อไปได้อีกแล้ว ขณะที่คอร์พัสเคิลนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกในหลักการ ตัวอย่างตามวิธีนี้คือ เราสามารถแทรกปรอทเข้าไปในโลหะอื่นและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของมันได้ แนวคิดนิยมคอร์พัสคิวลาร์อยู่ยั่งยืนยงเป็นทฤษฎีหลักตลอดเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์

อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันที่เป็นที่รู้จักกันดีในความแจ่มแจ้งทางปรัชญาและทุทรรศนนิยมของความไม่มีพระเจ้า เมื่ออายุ 25 ปีโชเพนเฮาเออร์พิมพ์ปริญญานิพนธ์ “มูลบัญญัติสี่ประการของเหตุผล” (Über die vierfache Wurzel des Satzes vom zureichenden Grunde) ที่เป็นปรัชญาที่พิจารณาคำถามที่ว่าเหตุผลเพียงอย่างเดียวจะสามารถให้คำตอบเกี่ยวกับโลกได้หรือไม่ งานชิ้นที่มีอิทธิพลที่สุดของโชเพนเฮาเออร์ “Die Welt als Wille und Vorstellung” (The World as Will and Representation) เน้นบทบาทของแรงบันดาลใจ (motivation) ของมนุษย์ที่โชเพนเฮาเออร์เรียกว่า “เจตจำนง” (Will) การวิจัยของโชเพนเฮาเออร์นำไปสู่การสรุปว่าความต้องการทางอารมณ์, ทางร่างกาย และทางเพศ เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะตอบสนองได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นโชเพนเฮาเออร์จึงนิยมวิถีชีวิตที่ลดความต้องการของมนุษย์ ที่คล้ายคลึงกับปรัชญาของศาสนาพุทธและเวทานต.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และอาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กตรอน

page.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และอิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

อนุภาคมูลฐาน

แบบจำลองมาตรฐานของอนุภาคมูลฐาน ในฟิสิกส์ของอนุภาค อนุภาคมูลฐาน (elementary particle หรือ fundamental particle) หมายถึงอนุภาคหนึ่งที่โครงสร้างย่อยไม่เป็นที่รู้จัก ดังนั้นเราจึงไม่รู้ว่ามันประกอบขึ้นด้วยอนุภาคอื่นหรือไม่ มันเป็นหน่วยย่อยที่สุดในทางทฤษฎีฟิสิกส์ทั่วไป เราไม่ถือว่ามันประกอบขึ้นมาจากสิ่งใดอีก อนุภาคมูลฐานที่เรารู้จักกันดีที่สุดคือ อิเล็กตรอน ซึ่งไม่สามารถแยกย่อยเป็นอนุภาคใดๆได้อีก อนุภาคมูลฐานที่รู้จักแล้ว ได้แก่ เฟอร์มิออนพื้นฐาน (ควาร์ก, เลปตอน, ปฏิควาร์ก และปฏิเลปตอน) ซึ่งอนุภาคเหล่านี้โดยทั่วไปเป็น "อนุภาคสสาร" และ "อนุภาคปฏิสสาร" อีกชนิดหนึ่งได้แก่ โบซอนพื้นฐาน (เกจโบซอน และอนุภาคฮิกส์) ซึ่งอนุภาคเหล่านี้โดยทั่วไปเป็น "อนุภาคแรง" ที่เป็นตัวเชื่อมปฏิสัมพันธ์พื้นฐานในหมู่เฟอร์มิออนด้วยกัน อนุภาคที่ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานตั้งแต่สองอนุภาคขึ้นไปจะเป็น "อนุภาคผสม" (composite particle) สสารในชีวิตประจำวันจะประกอบด้วยอะตอม ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกสันนิษฐานว่ามันเป็นอนุภาคมูลฐานของสสาร คำว่า "อะตอม" แปลว่า "แบ่งไม่ได้" ในภาษากรีก แม้ว่าการมีอยู่ของอะตอมยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงประมาณปี 1910 อย่างที่นักฟิสิกส์ชั้นนำบางคนถือว่าโมเลกุลเป็นภาพลวงตาทางคณิตศาสตร์ และถือว่าสสารอย่างสุดขั้วที่สุดจะประกอบด้วยพลังงาน ในไม่ช้า มีการค้นพบว่าอะตอมประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย เมื่อเริ่มทศวรรษที่ 1930 อิเล็กตรอนและโปรตอนได้ถูกค้นพบ พร้อมกับโฟตอนซึ่งเป็นอนุภาคของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงเวลานั้น การค้นพบล่าสุดของกลศาสตร์ควอนตัมได้มีก​​ารเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของแนวคิดของอนุภาค อย่างเช่นอนุภาคเดี่ยวดูเหมือนจะสามารถขยายสนามได้อย่างที่คลื่นสามารถทำได้ (ทวิภาคของอนุภาคกับคลื่น (particle-wave duality)) ข้อความที่ขัดแย้งยังคงหลีกเลี่ยงคำอธิบายที่น่าพอใจ โดยผ่านทางทฤษฎีควอนตัม โปรตอนและนิวตรอนถูกพบว่าประกอบด้วยควาร์กหลายตัว ได้แก่อัพควาร์กและดาวน์ควาร์ก ซึ่งในปัจจุบันถือว่าพวกนี้เป็นอนุภาคมูลฐาน และภายในโมเลกุลหนึ่ง สามองศาอิสระของอิเล็กตรอน (ประจุ, สปินและวงโคจร) สามารถแยกผ่านทาง wavefunction ออกเป็นสาม'อนุภาคคล้าย' (quasiparticle) (Holon, spinon และ Orbiton) แต่อิเล็กตรอนอิสระ ซึ่งไม่ได้กำลังโคจรรอบนิวเคลียส จะขาดการเคลื่อนไหวในการโคจร และจะปรากฏในรูปที่แบ่งแยกไม่ได้ จึงยังคงถือว่าเป็นอนุภาคมูลฐาน ราวปี 1980 สถานะของอนุภาคมูลฐานที่เป็นมูลฐานอย่างแท้จริง-"องค์ประกอบสุดชั้ว" ของสสาร- ได้ถูกละทิ้งเป็นส่วนใหญ่สำหรับแนวโน้มที่จะเป็นการปฏิบัติมากขึ้น ได้ถูกประมวลอยู่ในแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์ของอนุภาค ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ประสบความสำเร็จจากทดลองทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด การขยายความและทฤษฎีทั้งหลายที่อธิบายเกินกว่าแบบจำลองมาตรฐาน รวมทั้งทฤษฎี supersymmetry ที่นิยมกันอย่างสุดขั้ว ได้เพิ่มจำนวนอนุภาคมูลฐานเป็นสองเท่าโดยการตั้งสมมติฐานที่แต่ละอนุภาคที่รู้จักกันแล้วควบรวมเข้ากับพันธมิตร"เงา" ทำให้มีจำนวนอนุภาคมากกว่าเดิม แม้ว่าสุดยอดพันธมิตรดังกล่าวทั้งหมดยังคงไม่ได้ถูกค้นพบแต่อย่างใด ในขณะเดียวกัน โบซอนมูลฐานที่เป็นตัวเชื่อมแรงโน้มถ่วงที่เรียกว่า แกรวิตอน (Graviton) ก็ยังคงเป็นสมมุติฐานอยู.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และอนุภาคมูลฐาน · ดูเพิ่มเติม »

อเทวนิยม

หมายเปาโลถึงชาวเอเฟซัส (2:12) จากพาไพรัส 46ในศตวรรษที่ 3 ตอนต้น อเทวนิยม (atheism) คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า และเชื่อในกฎธรรมชาติ ตรงกันข้ามกับเทวนิยมEncyclopædia Britannica 2009 อเทวนิยมแตกต่างจากอไญยนิยม (agnosticism) ซึ่งเป็นมุมมองที่ว่ามนุษย์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ รวมถึงปรากฏการณ์ที่ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ทางผัสสะ คำว่า atheism ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีก ἄθεος (atheos) อันมีความหมายว่า "ปราศจากเทพ" ถือเป็นคำหยาบที่ใช้เรียกผู้ปฏิเสธเทพที่สังคมบูชากัน หลังจากที่มีความคิดอย่างอิสระ (freethought) ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์ (skeptical inquiry) และการวิจารณ์ศาสนา (criticism of religion) เพิ่มขึ้นแล้ว การใช้คำนี้ก็มีความหมายอย่างแคบลง บุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มถือว่าตนเป็นผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องพระเทพ โดยเรียกตนเองว่า "ผู้ถืออเทวนิยม" (atheist) นั้น ใช้ชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากเหตุที่ว่า ความหมายและความเข้าใจของอเทวนิยมนั้น มีความแตกต่างกัน ในปัจจุบันจึงทราบได้ยากว่าในโลกมีผู้ถืออเทวนิยมกี่คน อิงตามการคาดคะเนในปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และอเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง ปียาแฌ

รูปปั้นฌ็อง ปียาแฌ ฌ็อง วิลเลียม ฟริตส์ ปียาแฌ (จอง ปีอาเจต์) (Jean William Fritz Piaget,; 6 สิงหาคม ค.ศ. 1896 - 16 กันยายน ค.ศ. 1980) นักจิตวิทยาชาวสวิส มีชื่อเสียงจากการศึกษาพัฒนาการทางปัญญาของเด็ก โดยได้สรุปออกมาเป็นทฤษฎีการพัฒนาด้านความคิดความเข้าใจของมนุษย์ (Cognitive Development Theory) ปียาแฌเกิดที่เมืองเนอชาแตล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จบปริญญาเอกทางชีววิทยา แต่หันมาสนใจทางจิตวิทยา โดยอาศัยประสบการณ์จากการเลี้ยงลูก 3 คน เขาได้เฝ้าสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของลูก ๆ เกี่ยวกับกิจกรรมที่ลูกทำได้หรือทำไม่ได้ตามลำดับช่วงอายุ สรุปเป็นทฤษฎีของฌ็อง ปียาแฌ แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็น 4 ขั้น ได้แก.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และฌ็อง ปียาแฌ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาลวิทยา

ักรวาลวิทยา (cosmology) เป็นการศึกษาเอกภพโดยรวม ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นฐานที่สุดในเวลาเดียวกัน จักรวาลวิทยามุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งทั้งหลายในเอกภพ พร้อมกับพยายามที่จะอธิบายความเป็นมาของเอกภพในอดีต และทำนายความเป็นไปของเอกภพในอนาคต เอกภพเป็นอย่างไร เอกภพมีขอบเขตจำกัดหรือไม่ เอกภพเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดเอกภพจึงมีรูปร่างลักษณะอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้าเอกภพจะเป็นอย่างไร ปัญหาเหล่านี้คือสิ่งที่นักจักรวาลวิทยาทั้งหลายสนใจ จักรวาลวิทยาในความหมายที่กว้างที่สุด จะหมายถึงการทำความเข้าใจเอกภพโดยอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา หรือศิลปะ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบัน จักรวาลวิทยาจะหมายถึงการศึกษาเอกภพโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นสองเครื่องมือสำคัญในการใช้ศึกษาเอกภพ เป็นที่ยอมรับกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ยิ่งเรามีความรู้ทางด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์มากขึ้นเท่าใด เราก็จะยิ่งมีความเข้าใจในเอกภพมากขึ้นเท่านั้น มโนทัศน์เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเอกภพประกอบด้วยโลก คือ เทพเจ้าชื่อเก็บ ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยท้องฟ้าคือ นัท ต่อมาเมื่อชาวกรีกโบราณศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของดวงดาวมากขึ้น เขาก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวมทั้งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม แบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางนี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุผลว่าแบบจำลองนี้ใช้การคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่า (หลักการของออคแคม) จะเห็นว่าความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้มนุษย์มองโลกและเอกภพต่างออกไป การศึกษาเอกภพก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะในศตวรรษนี้มีทฤษฎีใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และควอนตัมฟิสิกส์ รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยา เช่น การค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัว หรือการค้นพบการแผ่รังสีคอสมิกไมโครเวฟเบื้องหลัง เป็นต้น ทั้งทฤษฎีและการค้นพบใหม่ ๆ เหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับเอกภพนั้นยังน้อยมาก และยังคงมีอีกหลายปัญหาในทางจักรวาลวิทยาที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และจักรวาลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือเขียนอย่างภาษามคธว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และธัมมจักกัปปวัตนสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ

ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (special relativity) ถูกเสนอขึ้นในปี ค.ศ. 1905 โดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในบทความของเขา "เกี่ยวกับพลศาสตร์ไฟฟ้าของวัตถุซึ่งเคลื่อนที่ (On the Electrodynamics of Moving Bodies)" สามศตวรรษก่อนหน้านั้น หลักสัมพัทธภาพของกาลิเลโอกล่าวไว้ว่า การเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ทั้งหมดเป็นการสัมพัทธ์ และไม่มีสถานะของการหยุดนิ่งสัมบูรณ์และนิยามได้ คนที่อยู่บนดาดฟ้าเรือคิดว่าตนอยู่นิ่ง แต่คนที่สังเกตบนชายฝั่งกลับบอกว่า ชายบนเรือกำลังเคลื่อนที่ ทฤษฏีของไอน์สไตน์รวมหลักสัมพัทธภาพของกาลิเลโอเข้ากับสมมติฐานที่ว่า ผู้สังเกตทุกคนจะวัดอัตราเร็วของแสงได้เท่ากันเสมอ ไม่ว่าสภาวะการเคลื่อนที่เชิงเส้นด้วยความเร็วคงที่ของพวกเขาจะเป็นอย่างไร ทฤษฏีนี้มีข้อสรุปอันน่าประหลาดใจหลายอย่างซึ่งขัดกับสามัญสำนึก แต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการทดลอง ทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษล้มล้างแนวคิดของปริภูมิสัมบูรณ์และเวลาสัมบูรณ์ของนิวตันโดยการยืนยันว่า ระยะทางและเวลาขึ้นอยู่กับผู้สังเกต และรับรู้เวลากับปริภูมิต่างกันขึ้นอยู่กับผู้สังเกต มันนำมาซึ่งหลักการสมมูลของสสารและพลังงาน ซึ่งสามารถแสดงเป็นสมการชื่อดัง E.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

การทดสอบสัมพัทธภาพทั่วไปความเที่ยงสูงโดยยานอวกาศแคสซินี สัญญาณวิทยุที่ส่งระหว่างโลกและยาน (คลื่นสีเขียว) ถูกหน่วงโดยการบิดของปริภูมิ-เวลา (เส้นสีน้ำเงิน) เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์ สัมพัทธภาพทั่วไปหรือทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (general relativity หรือ general theory of relativity) เป็นทฤษฎีความโน้มถ่วงแบบเรขาคณิตซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จัดพิมพ์ใน..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะ

ทะไลลามะ (ทิเบต: ཏཱ་ལའི་བླ་མ་, taa la’i bla ma, จีนตัวเต็ม: 達賴喇嘛; จีนตัวย่อ: 达赖喇嘛; พินอิน: Dálài Lǎmā) เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ทะไลลามะ มาจากภาษามองโกเลีย dalai แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง (ทะไลลามะ บางครั้งหรือนิยมออกเสียว่า ดาไลลามะ) ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็นอวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดยเรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด ปัจจุบัน ดาไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ เทนซิน เกียตโซ(Tenzin Gyatso)..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และทะไลลามะ · ดูเพิ่มเติม »

ทิก เญิ้ต หั่ญ

ระภิกษุทิก เญิ้ต หั่ญ ทิก เญิ้ต หั่ญ หรือ ชื่อที่ใช้เรียกทั่วไป ติช นัท ฮันห์ (Thích Nhất Hạnh) (fr: Thich Nhat Hanh) เป็นพระภิกษุชาวเวียดนามในพุทธศาสนานิกายเซน ชื่อทิก เญิ้ต หั่ญ เป็นฉายาในทางศาสนา โดยคำว่า "ทิก" เป็นคำใช้เรียกพระ ส่วน "เญิ้ต หั่ญ" เป็นนามทางธรรมที่มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง (One Action)" ท่านเป็นพระมหาเถระนิกายเซน กวี และผู้สนับสนุนในเรื่องสันติภาพ มีงานเขียนเผยแผ่ตีพิมพ์ภาษาต่าง ๆ มากมาย และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักปฏิบัติธรรมชาวตะวันตก.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และทิก เญิ้ต หั่ญ · ดูเพิ่มเติม »

ความสมมูลมวล–พลังงาน

ประติมากรรมสูง 3 เมตร แสดงสมการ ''E''.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และความสมมูลมวล–พลังงาน · ดูเพิ่มเติม »

คำขวัญ

ำขวัญ หมายถึง ถ้อยคำ ข้อความ คำคล้องจอง หรือบทกลอนสั้นๆ เพื่อให้จำได้ง่าย โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และคำขวัญ · ดูเพิ่มเติม »

ปริภูมิ

ปริภูมิ (space) คือส่วนที่ไร้ขอบเขต เป็นปริมาณสามมิติในวัตถุและเหตุการณ์ และมีตำแหน่งสัมพัทธ์และทิศทาง ปริภูมิในทางฟิสิกส์มักจะถูกพิจารณาในรูปแบบของสามมิติเชิงเส้น และนักฟิสิกส์ในปัจจุบันก็มักจะพิจารณาพร้อมกับเวลาในฐานะส่วนหนึ่งของสี่มิติต่อเนื่องหรือที่เรียกว่า ปริภูมิ-เวลา ปริภูมิในเชิงคณิตศาสตร์ที่มีจำนวนมิติและโครงสร้างที่ต่างกันสามารถตรวจสอบได้ แนวคิดของปริภูมิถูกพิจารณาว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญเพื่อการทำความเข้าใจในจักรวาล ถึงแม้ว่าปริภูมิจะเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักปรัชญาถึงความมีตัวตนของปริภูมิ ความสัมพันธ์ของการมีตัวตนหรือความเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความ.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และปริภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

นีลส์ บอร์

|นีลส์ โบร์ นีลส์ โบร์ กับ ไอน์สไตน์ นีลส์ โบร์ (Niels Hendrik David Bohr – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2428-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เกิดที่กรุงโคเปนเฮเกน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนแล้วจึงได้ไปทำงานที่ประเทศอังกฤษ ที่เมืองเคมบริดจ์ และแมนเชสเตอร์ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีที่โคเปนเฮเกนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 จนถึงแก่กรรม นีลส์ โบร์ ได้ขยายต่อยอดทฤษฎีโครงสร้างอะตอมให้ก้าวหน้าไปเป็นอันมาก จากการให้การอธิบายสเปกตรัมของไฮโดรเจน โดยวิธีสร้างแบบจำลองไฮโดรเจนและทฤษฎีควอนตัม (พ.ศ. 2456) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บอร์ได้ไปช่วยโครงการวิจัยที่ สหรัฐอเมริกาและกลับโคเปนเฮเกนเมื่อสิ้นสงครามในปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และนีลส์ บอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โมเมนตัม

ฟล์:HahnEcho GWM.gif| โมเมนตัม หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งมีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างมวลและความเร็วของวัตถุ มวลเป็นปริมาณสเกลาร์ แต่ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ เมื่อนำปริมาณทั้งสองเข้าคูณด้วยกัน ถือว่าปริมาณใหม่เป็นปริมาณเวกเตอร์เสมอ ฉะนั้นโมเมนตัมจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ คือมีทั้งขนาดและทิศทาง.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และโมเมนตัม · ดูเพิ่มเติม »

ไสยศาสตร์

ตร์ หมายถึง วิชาทางไสย อันเป็นลัทธิเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาที่เชื่อว่ามาจากศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะจากคัมภีร์อถรรพเวท ที่มีพิธีเพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือทำอันตรายต่อผู้อื่น.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอแซก นิวตัน

ซอร์ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) (25 ธันวาคม ค.ศ. 1641 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1725 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ งานเขียนในปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และไอแซก นิวตัน · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์

อร์ทรันด์ อาร์เทอร์ วิลเลียม รัสเซลล์ (Bertrand Arthur William Russell; 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2415 - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513) เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักตรรกวิทยา ที่มีอิทธิพลอย่างสูงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นนักปรัชญาการศึกษาหัวรุนแรงที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคนหนึ่งของอังกฤษ เป็นผู้ที่ได้สร้างผลงานด้านการศึกษาในแนวปฏิรูปไว้มากมายหลายแขนง ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีอิทธิพลต่อการศึกษาในปัจจุบันอย่างมาก บรรดานักปรัชญารู้จักเขาในฐานะของผู้ให้กำเนิดทฤษฎีความรู้ (Epistemology หรือ Theory of Knowledge) นักคณิตศาสตร์รู้จักรัสเซลในฐานะบิดาแห่งตรรกวิทยา ผู้เขียนตำราคลาสสิกทางคณิตศาสตร์ คือหนังสือชื่อ Principia Mathematica นักฟิสิกส์รู้จักเขาในฐานะของผู้แต่งตำรา ABC of Relativity สำหรับคนทั่วไปรู้จักรัสเซลล์ในฐานะของนักจิตวิทยา นักการศึกษา นักการเมือง และนักเขียนผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เมื่อปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าจื๊อ

ล่าจื๊อ, จาก ''ไมท์แอนด์ลีเจนส์ออฟไชน่า'', ค.ศ. 1922 โดย อี.ที.ซี. เวอร์เนอร์ เล่าจื๊อ (Lao Zi หรือ Lao Tzu) นักปรัชญาชาวจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดท่านหนึ่ง เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในช่วง 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงของสงครามปรัชญา และสงครามการเมืองยุคชุนชิว เล่าจื๊อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนในทางเต๋า นั่นคือ "เต๋าเต็กเก็ง" (Tao Te Ching) (道德經) ซึ่งเป็นผลงานทางลัทธิเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้ เล่าจื๊อเป็นนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญทางเต๋า ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และเล่าจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

เหนือธรรมชาติ

เหนือธรรมชาติ (supernatural) คือ สิ่งที่ไม่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ หรือเป็นการอุปมาถึงสิ่งที่มีอยู่เหนือและพ้นธรรมชาติ ในวัฒนธรรมสมัยนิยมและบันเทิงคดี เหนือธรรมชาติเกี่ยวข้องอย่างประหลาดกับเหนือธรรมดาและรหัสญาณ ซึ่งต่างจากมโนทัศน์เดิมในบางศาสนา เช่น คาทอลิก ที่เชื่อว่าปาฏิหารย์จากพระเจ้าถูกมองว่าเหนือธรรมชาติ หมวดหมู่:อำนาจปรัมปราวิทยา.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และเหนือธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์

. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ (J., 22 เมษายน ค.ศ. 1904 – 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967) นักฟิสิกส์ชาวสหรัฐอเมริกาผู้เป็นบิดาของระเบิดปรมาณู โดยเขาเป็นผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการสร้างระเบิดปรมาณูเพื่อยุติสงครามในโครงการแมนฮัตตันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สืบค้นวันที่ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และเจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซน

ระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) เซน (禅, ぜん; Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์และเซน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Buddhism and scienceพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »