โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จิตวิทยา

ดัชนี จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

27 ความสัมพันธ์: ฟรานซิส เบคอนฟิสิกส์พฤติกรรมกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)กลไกป้องกันตนภาษาศาสตร์จิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมนุษย์ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อาริสโตเติลองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติจอห์น บี. วอตสันจิตจิตวิทยาเกสทัลท์จิตวิเคราะห์จิตแพทย์จิตไร้สำนึกคริสต์ศตวรรษที่ 13คริสต์ศตวรรษที่ 15คริสต์ศตวรรษที่ 17คริสต์ศตวรรษที่ 19คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซิกมุนด์ ฟรอยด์ประเทศเยอรมนีไลพ์ซิชเพลโต

ฟรานซิส เบคอน

ฟรานซิส เบคอน ฟรานซิส เบคอน ไวส์เคานท์แห่งเซนต์อัลบันที่ 1 (Francis Bacon, 1st Viscount St.) (22 มกราคม ค.ศ. 1561 – 9 เมษายน ค.ศ. 1626) เป็นนักปราชญ์ รัฐบุรุษ นักวิทยาศาสตร์ นักกฎหมาย และนักเขียนชาวอังกฤษ เป็นอธิบดีศาลสูงสุดของอังกฤษ เบคอนเป็นที่รู้จักในฐานะผู้คิดค้นประสบการณ์นิยม (empiricism).

ใหม่!!: จิตวิทยาและฟรานซิส เบคอน · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: จิตวิทยาและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พฤติกรรม

ติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใ.

ใหม่!!: จิตวิทยาและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)

กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม.

ใหม่!!: จิตวิทยาและกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กลไกป้องกันตน

กลไกป้องกันตน (Defence mechanism) เป็นกระบวนการทางจิตซึ่งเกิดขึ้นในบุคคลโดยอัตโนมัติ ส่วนใหญ่นำมาใช้โดยไม่รู้ตัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับตัว และแก้ปัญหาที่มีอยู่ และรักษาความสมดุลหรือความปกติของ จิตใจไว้ กลไกป้องกันตนเองเป็นวิธีการของจิตใจที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มักเกิดขึ้นหรือแสดงออกทันทีโดยบุคคลไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ที่จะต้องป้องกันหรือต่อสู้ และปรับตัวเองเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด ปลอดภัย มีความสุข เพื่อสามารถรักษาสภาพเดิมของจิตใจไว้ได้ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) และนักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เชื่อว่ากลไกป้องกันตนเองเกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious mind).

ใหม่!!: จิตวิทยาและกลไกป้องกันตน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์จิตวิทยา

ภาษาศาสตร์จิตวิทยา (psycholinguistics หรือ psychology of language) เป็นสาขาวิชาที่รวมวิธีทางจิตวิทยาและทางภาษาศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการแสดงออกของภาษาทางด้านจิตวิทยา ความเคยชินทางภาษา วิธีการใช้ภาษาในทางด้านจิตวิทยาและการติดต่อสื่อสารกัน หมวดหมู่:จิตวิทยา.

ใหม่!!: จิตวิทยาและภาษาศาสตร์จิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Srinakharinwirot University; ชื่อย่อ: มศว - SWU) ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง" ซึ่งก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: จิตวิทยาและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: จิตวิทยาและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ (scientific method) หรือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) เป็นหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบและเสาะหาความรู้ใหม่แบบวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์เสนอความเชื่อใหม่เกี่ยวกับโลกในรูปของทฤษฎีที่ผ่านขั้นตอนของ การสังเกต, การตั้งสมมติฐาน, และการอนุมาน ผลการทำนายของทฤษฎีเหล่านี้จะถูกทดสอบด้วยการทดลอง ถ้าผลการทำนายนั้นถูกต้องหรือสอดคล้องกับการทดลอง ทฤษฎีดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ ทฤษฎีที่ความน่าเชื่อถือจะถูกนำไปทดลองซ้ำเพื่อยืนยันความถูกต้องเพิ่มเติม ระเบียบวิธีนี้ถูกจัดให้เป็นตรรกะสำคัญของธรรมเนียมปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระสำคัญนั้นระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์คือวิธีการที่รอบคอบมาก สำหรับสร้างความเข้าใจ ที่มีหลักฐานและยืนยันได้เกี่ยวกับโลก.

ใหม่!!: จิตวิทยาและระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในสาขาวิชาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสังกัดภาควิชาจิตวิทยา บรรณารักษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ทำการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ณ ศูนย์รังสิต และ สูงกว่าปริญญา ณ ท่าพระจันทร์ เป็นสถาบันแรกที่ทำการสอนจิตวิทยาในประเทศไทยและเป็นเพียงสถาบันเดียวที่ประสาทปริญญาในรูปแบบศิลปศาสตร์บัณฑิต (โดยตัวหลักสูตรเป็นจิตวิทยาบริสุทธิ์ตามรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบตะวันตกมิได้เป็นกึ่งศิลปศาสตร์แต่อย่างใด).

ใหม่!!: จิตวิทยาและสาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: จิตวิทยาและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: จิตวิทยาและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น บี. วอตสัน

อห์น โบรดัส วอตสัน (John Broadus Watson; 9 มกราคม ค.ศ. 1878 – 25 กันยายน ค.ศ. 1958) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งพฤติกรรมนิยม วอตสันทำวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ นำมาซึ่งการตั้งแขนงวิชาพฤติกรรมศาสตร์ในวิชาจิตวิทยา เขายังเป็นผู้ทำการทดลอง "หนูน้อยอัลเบิร์ต" ซึ่งเป็นที่ถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง.

ใหม่!!: จิตวิทยาและจอห์น บี. วอตสัน · ดูเพิ่มเติม »

จิต

ต (mind) หรือจิตใจ คือ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา ความสำนึก ความมีสติ แต่ความคิดเป็นองค์ประกอบสำคัญของจิตใจที่สามารถรู้เห็นได้ กำกับและควบคุมอย่างชัดเจน บางครั้งจึงใช้คำว่า "ความคิด" แทน มีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่กล่าวถึงการทำงานของจิต ทั้งจากเพลโต อริสโตเติล หรือแม้แต่นักปรัชญาชาวกรีกและอินเดีย ก่อนที่จะมีวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีจะเน้นไปทางปรัชญาหรือศาสนา แต่ทฤษฎีสมัยใหม่ จะอาศัยวิทยาศาสตร์ในการอธิบายการทำงานของสมอง.

ใหม่!!: จิตวิทยาและจิต · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาเกสทัลท์

ตวิทยาเกสตัลต์ (gestalt psychology หรือ gestaltism, Gestalt – แก่นหรือรูปทรงแห่งรูปแบบสมบูรณ์ของสิ่ง ๆ หนึ่ง") เป็นทฤษฎีจิตใจและสมองของสำนักจิตวิทยาเชิงทดลองกรุงเบอร์ลิน หลักการเชิงปฏิบัติการของจิตวิทยาเกสตัลต์ คือ สมองเป็นแบบองค์รวม ขนานและเป็นเชิงอุปมาน (analog) โดยมีแนวโน้มจัดระเบียบตนเอง หลักการนี้มีว่า ตามนุษย์มองวัตถุทั้งหมดก่อนค่อยรับรู้ส่วนย่อย เป็นการแนะนัยว่า องค์รวมนั้นโดดเด่นกว่าผลรวมของส่วนประกอบย่อย จิตวิทยาเกสตัลต์พยายามทำความเข้าใจกฎของความสามารถของมนุษย์ที่จะได้รับและธำรงความรับรู้ที่มั่นคงในโลกอันวุ่นวายนี้ นักจิตวิทยาเกสตัลต์กำหนดว่า การรับรู้เป็นผลของอันตรกิริยาซับซ้อนระหว่างสิ่งเร้าทั้งหลาย นัดจิตวิทยาเกสตัลต์มุ่งทำความเข้าใจการจัดระเบียบกระบวนการคิด ขณะที่นักพฤติกรรมนิยมทำความเข้าใจองค์ประกอบของกระบวนการคิด (Carlson and Heth, 2010) ปรากฏการณ์เกสตัลต์เป็นขีดความสามารถสร้างแบบของสัมผัสมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจดจำรูปทรงและแบบทั้งหมดด้วยตา แทนที่จะเป็นเพียงเส้นตรงและเส้นโค้งหลายเส้นรวมกัน ในวิชาจิตวิทยา จิตวิทยาเกสตัลต์มักค้านต่อโครงสร้างนิยม วลี "ทั้งหมดโดดเด่นกว่าผลรวมของส่วนย่อย" (The whole is greater than the sum of the parts) มักใช้เมื่ออธิบายทฤษฎีเกสตัลต์ แม้จะเป็นการแปลผิดจากวลีดั้งเดิมของคูร์ท คอฟฟ์คา ที่ว่า "ทั้งหมดเป็นคนละอย่างกับผลรวมของส่วนย่อย" (The whole is other than the sum of the parts) ทฤษฎีเกสตัลต์พิจารณาการแยกส่วนจากสถานการณ์รวมมาเป็นสิ่งที่เป็นจริง.

ใหม่!!: จิตวิทยาและจิตวิทยาเกสทัลท์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิเคราะห์

ตวิเคราะห์ (psychoanalysis) เป็นชุดทฤษฎีและเทคนิคจิตวิทยาและจิตบำบัดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเดิมแพทย์ชาวออสเตรีย ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ทำให้แพร่หลายและบางส่วนกำเนิดจากงานด้านการรักษาของโยเซฟ บรอแยร์ (Josef Breuer) และอื่น ๆ นับแต่นั้น จิตวิเคราะห์ได้ขยายและมีการทบทวน ปฏิรูปและพัฒนาในทิศทางต่าง ๆ เดิมโดยผู้ร่วมงานและศิษย์ของฟรอยด์ เช่น อัลเฟรด อัดแลร์และคาร์ล กุสทัฟ ยุงผู้พัฒนาความคิดของตนเองเป็นเอกเทศจากฟรอยด์ นักจิตวิทยาฟรอยด์ใหม่ (neo-Freudian) สมัยหลังมีเอริช ฟรอมม์, คาเริน ฮอร์ไน, แฮร์รี สแทก ซัลลิแวนและฌัค ลาคา (Jacques Lacan) หลักพื้นฐานของจิตวิเคราะห์มีดังนี้.

ใหม่!!: จิตวิทยาและจิตวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตแพทย์

ตแพทย์ (psychiatrist) เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านจิตเวชศาสตร์และได้รับการรับรองให้ทำการรักษาความผิดปกติทางจิตAmerican Psychiatric Association.

ใหม่!!: จิตวิทยาและจิตแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตไร้สำนึก

จิตไร้สำนึก (unconscious mind) ประกอบด้วยกระบวนการในจิตซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติและไม่สามารถพินิจภายในได้ มีกระบวนการคิด ความจำ อารมณ์และแรงจูงใจ แม้กระบวนการเหล่านี้มีอยู่ใต้ผิวของความตระหนักพิชาน (conscious) แต่มีทฤษฎีว่า จิตไร้สำนึกส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรม คำนี้บัญญัติโดย ฟรีดริช เชลลิง นักปรัชญาจินตนิยมชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และภายหลังเซมาเอล เทย์เลอร์ โคละริดจ์ กวีและผู้เขียนงานประพันธ์ นำเข้ามาในภาษาอังกฤษ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ นักประสาทวิทยาและนักจิตวิเคราะห์ชาวออสเตรียพัฒนาและเผยแพร่มโนทัศน์ดังกล่าว หลักฐานเชิงประจักษ์แนะว่า ปรากฏการณ์ไร้สำนึกมีความรู้สึกที่ถูกกดเก็บ ทักษะอัตโนมัติ สัญชานใต้ระดับ (subliminal perception) ความคิด นิสัยและปฏิกิริยาอัตโนมัติ และอาจยังมีปม (complex) ความกลัวและความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เข้าใจว่ากระบวนการไร้สำนึกแสดงออกในฝันในรูปสัญลักษณ์ เช่นเดียวกับการพลั้งปาก (slips of the tongue) และมุกตลก ฉะนั้น จึงมองได้ว่าจิตไร้สำนึกเป็นบ่อเกิดของฝันและความคิดอัตโนมัติ (ที่ปรากฏโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน) คลังความจำที่ถูกลืม (ซึ่งยังอาจเข้าถึงพิชานในภายหลัง) และที่ตั้งของความรู้โดยปริยาย (implicit knowledge, หมายถึง สิ่งที่สิ่งที่เรียนรู้มาอย่างดีจนทำได้โดยไม่ต้องคิด) หมวดหมู่:จิตไร้สำนึก หมวดหมู่:จิตวิทยาวิเคราะห์ หมวดหมู่:ระบบประสาทส่วนกลาง หมวดหมู่:กระบวนการทางจิต หมวดหมู่:จิตวิทยาแบบฟรอยด์.

ใหม่!!: จิตวิทยาและจิตไร้สำนึก · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 13

ริสต์ศตวรรษที่ 13 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1201 ถึง ค.ศ. 1300.

ใหม่!!: จิตวิทยาและคริสต์ศตวรรษที่ 13 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 15

ริสต์ศตวรรษที่ 15 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1401 ถึง ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: จิตวิทยาและคริสต์ศตวรรษที่ 15 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 17

ริสต์ศตวรรษที่ 17 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1601 ถึง ค.ศ. 1700.

ใหม่!!: จิตวิทยาและคริสต์ศตวรรษที่ 17 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 19

ริสต์ศตวรรษที่ 19 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900.

ใหม่!!: จิตวิทยาและคริสต์ศตวรรษที่ 19 · ดูเพิ่มเติม »

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts, Thammasat University) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: จิตวิทยาและคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมุนด์ ฟรอยด์

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p. 109 แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์ ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์ และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศ การศึกษาเมื่อ..

ใหม่!!: จิตวิทยาและซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: จิตวิทยาและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ไลพ์ซิช

ลพ์ซิช (Leipzig) เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในรัฐซัคเซิน ในประเทศเยอรมนี มีประชากร 515,110 คน และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในรัฐ และเป็นเมืองที่มีระบบการปกครองในรูปแบบเขตปกครองพิเศษ ชื่อ "ไลพ์ซิช" มาจากภาษาสลาฟว่า "ลิพสค์" (Lipsk) ซึ่ง แปลว่า ตั้งอยู่บนพื้นที่ ที่มีต้นไม้ดอกเหลือง นอกจากนี้ ไลพ์ซิชยังเป็นชื่อของเขตปกครองภายในรัฐซัคเซิน โดยในสหพันธรัฐแซกโซนีประกอบด้วย 3 เขตปกครอง (Landkreise) และ 3 เขตปกครองพิเศษ (Kreisfreie Städte) โดยเขตปกครองไลพ์ซิชเป็นเขตปกครองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหพันธรัฐแซกโซนี เนื้อหาของบทความนี้กล่าวถึงเฉพาะเมืองไลพ์ซิชซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษเท่านั้น.

ใหม่!!: จิตวิทยาและไลพ์ซิช · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ใหม่!!: จิตวิทยาและเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Psychology

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »