สารบัญ
40 ความสัมพันธ์: บารุค สปิโนซาชาวเยอรมันฟรีดริช นีทเชอพ.ศ. 2331พ.ศ. 2403พระโคตมพุทธเจ้ากดัญสก์มาร์แซล พรุสต์ริชาร์ด วากเนอร์ลุดวิจ วิทท์เกนชไตน์วิลเลียม เชกสเปียร์ศาสนาพุทธศีลธรรมสวามีวิเวกานันทะสุนทรียศาสตร์อภิปรัชญาอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อิมมานูเอล คานต์อุปนิษัทอ็องรี แบร์กซอนฌ็อง-ปอล ซาทร์จริยธรรมจอร์จ บาร์กลีย์จักรวรรดิเยอรมันจิตวิทยาคาร์ล ยุงคนุท ฮัมซุนซามูเอล เบ็คเค็ทท์ซิกมุนด์ ฟรอยด์ปรัชญาปรากฏการณ์วิทยาแฟรงก์เฟิร์ตแอร์วิน ชเรอดิงเงอร์แฮร์มันน์ เฮสเซอโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอเพลโตเลโอ ตอลสตอยเดวิด ฮูม21 กันยายน22 กุมภาพันธ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2331
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน
บารุค สปิโนซา
รุค สปิโนซา เบเนดิคตัส เดอ สปิโนซา หรือ บารุค สปิโนซา หรือชื่อในภาษาลาตินของเขาคือ เบเนดิก (24 พ.ย. ค.ศ. 1632 (พ.ศ. 2175) - 21 ก.พ.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และบารุค สปิโนซา
ชาวเยอรมัน
วเยอรมัน (die Deutschen) ชื่อ กลุ่มคนเผ่าพันธุ์ โปรโต-เจอรมานิก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณจัตแลนด์และบริเวณอเลมันเนียซึ่งก็คือประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนชนชาติพวกนี้ถูกเรียกว่าชาวติวตันและชาวก๊อธปัจจุบันมีประชากรโดยรวม160ล้านคน ชาวเยอรมันจัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับพวกชาวสแกนดิเนเวีย ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ซึ่งจัดว่าเป็นพวกตระกูลเจอร์มานิก.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และชาวเยอรมัน
ฟรีดริช นีทเชอ
ฟรีดริช วิลเฮล์ม นีทเชอ (Friedrich Wilhelm Nietzsche) (15 ตุลาคม ค.ศ. 1844 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1900) เป็นนักนิรุกติศาสตร์และนักปรัชญาชาวเยอรมัน นิยมเขียนการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องศาสนา คุณธรรม วัฒนธรรมร่วมสมัย ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาเยอรมันในแบบเฉพาะตัว เพื่อแสดงถึงคติพจน์ต่าง ๆ งานเขียนของนิชเชอที่โด่งดังคือ"Beyond Good And Evil" และ"คือพจนาซาราทุสตรา".
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และฟรีดริช นีทเชอ
พ.ศ. 2331
ทธศักราช 2331 ใกล้เคียงกั.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และพ.ศ. 2331
พ.ศ. 2403
ทธศักราช 2403 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1860.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และพ.ศ. 2403
พระโคตมพุทธเจ้า
ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และพระโคตมพุทธเจ้า
กดัญสก์
กดัญสก์ (Gdańsk) หรือชื่อเดิม ดันซิก (Danzig) เป็นเมืองบนชายฝั่งบอลติก ในตอนเหนือของประเทศโปแลนด์ เป็นเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 เป็นเมืองท่าที่สำคัญของโปแลนด์ และยังเป็นเมืองหลักของจังหวัดปอมอแช (พอเมอเรเนีย) ตั้งอยู่บนอ่าวกดัญสก์ (ทะเลบอลติก) และปากแม่น้ำมอตลาว.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และกดัญสก์
มาร์แซล พรุสต์
วาล็องแต็ง หลุยส์ ฌอร์ฌ เออแฌน มาร์แซล พรุสต์ (Valentin Louis Georges Eugène Marcel Proust; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1871 - 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922) เป็นนักเขียนนวนิยายและบทความ, และนักวิพากษ์วรรณกรรมคนสำคัญชาวฝรั่งเศส ผลงานสำคัญของพรุสต์ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ In Search of Lost Time ("ในการค้นหาเวลาที่หายไป") ซึ่งเป็นงานนวนิยายชิ้นใหญ่และชิ้นสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ตีพิมพ์เป็นเจ็ดตอนระหว่างปี..
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และมาร์แซล พรุสต์
ริชาร์ด วากเนอร์
ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner; เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883) เป็นหนึ่งในคีตกวีเอกชาวเยอรมัน ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และยังเป็นนักทฤษฎีดนตรีที่เก่งกาจ ส่วนใหญ่แล้วผลงานของวากเนอร์เป็นที่รู้จักจากอุปรากรที่เขาแต่ง ซึ่งมักจะเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมประกอบดนตรี อิทธิพลของวากเนอร์ในดนตรีตะวันตกนั้นมากมายมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปรากรที่เขาปฏิวัติรูปแบบโดยสิ้นเชิง Richard Wagner.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และริชาร์ด วากเนอร์
ลุดวิจ วิทท์เกนชไตน์
ลุดวิจ โยเซฟ โยฮันน์ วิทท์เกนชไตน์ (Ludwig Josef Johann Wittgenstein) (26 เมษายน 1889 - 29 เมษายน 1951) เป็นนักปรัชญาชาวออสเตรีย - อังกฤษ เขาทำงานเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ ปรัชญาของคณิตศาสตร์ ปรัชญาของจิตใจ และปรัชญาของภาษา ตั้งแต่ปี 1939 จนถึงปี 1947 วิทเกินชไตน์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์Dennett, Daniel.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และลุดวิจ วิทท์เกนชไตน์
วิลเลียม เชกสเปียร์
วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และวิลเลียม เชกสเปียร์
ศาสนาพุทธ
ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และศาสนาพุทธ
ศีลธรรม
ีลธรรม (Morality) หมายถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบทั้งศีลและธรรม ศีลธรรม ในคำวัดหมายถึง เบญจศีล และ เบญจธรรม คือศีล 5 และธรรม 5 ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข ไม่สดุ้งกลัว ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญ สังคมที่สงบสุข ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น ก็เพราะสมาชิกของสังคมยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมนี้ ศีลธรรม เป็นชื่อวิชาหนึ่งในโรงเรียนที่กำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเรียนมาตั้งแต่สมัยโบราณเรียกว่า วิชาศีลธรรม ปัจจุบันเรียกว่า วิชาพุทธศาสน.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และศีลธรรม
สวามีวิเวกานันทะ
วามีวิเวกานันทะ สวามีวิเวกานันทะ (เทวนาครี:स्वामी विवेकानन्द; স্বামী বিবেকানন্দ) เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม..
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และสวามีวิเวกานันทะ
สุนทรียศาสตร์
นทรียศาสตร์ เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ว่าด้วยเรื่องของความงามและศิลปะ นับเป็นแนวคิดที่ดำเนินสืบเนื่องมาช้านานนับพัน ๆ ปี.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และสุนทรียศาสตร์
อภิปรัชญา
อภิปรัชญา (Metaphysics) ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของ ปรัชญา ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ซึ่งรวมทั้ง ชีวิต โลก และ ภาวะเหนือธรรมชาติ เช่น พระเจ้าอดิศักดิ์ ทองบุญ, คู่มืออภิปรัชญา, ราชบัณฑิตยสถาน ISBN 974-575-939-2 มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ อภิปรัชญาคือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และอภิปรัชญา
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
อิมมานูเอล คานต์
อิมมานูเอิล คานท์ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าวๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และอิมมานูเอล คานต์
อุปนิษัท
อุปนิษัท (เทวนาครี: उपनिषद्, IAST: upaniṣad) เป็นคัมภีร์ของศาสนาฮินดู เนื้อหาเป็นหลักธรรม หรือคำสอนอันลึกซึ้ง นับเป็นส่วนสุดท้ายของวรรณกรรมพระเวท (วรรณกรรมพระเวทส่วนอื่นได้แก่ สังหิตา, พราหมณะ, อารัณยกะ) และเนื่องจากเป็นส่วนสุดท้ายของวรรณกรรมพระเวท จึงอีกอย่างหนึ่งว่า "เวทานฺต" (เวทานตะ) คำว่า "อุปนิษัท" มาจากรากศัพท์ คำอุปสรรค 'อุป' 'นิ' และธาตุ 'สัท' (นั่ง) ซึ่งหมายถึง นั่งใกล้คนใดคนหนึ่ง อันได้แก่ การนั่งของศิษย์ใกล้ครูอาจารย์ เพื่อสอนหลักธรรมอันลึกซึ้ง คัมภีร์อุปนิษัทนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก และอยู่ในช่วงเวลาที่กว้าง บางเล่มอยู่ในสมัยก่อนพุทธกาล บางเล่มมีอายุอยู่หลังพุทธกาล.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และอุปนิษัท
อ็องรี แบร์กซอน
อ็องรี ลุย แบร์กซอน(ฝรั่งเศษ: Henri-Louis Bergson,, 18 ต.ค. 1859 - 4 ม.ค. 1941) เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เกิดที่ปารีส หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และอ็องรี แบร์กซอน
ฌ็อง-ปอล ซาทร์
็อง-ปอล ซาทร์ ฌ็อง-ปอล ซาทร์ (Jean-Paul Sartre, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2448 กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส - 15 เมษายน พ.ศ. 2523 ที่กรุงปารีส) เป็นนักเขียนนวนิยาย, นักบทละคร, นักปรัชญา และผู้มีบทบาทสำคัญในแนวคิดอัตถิภาวนิยมหรือทฤษฎีที่ว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตน (Existentialism) เป็นนักปรัชญาผู้ประกาศเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อปี พ.ศ.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และฌ็อง-ปอล ซาทร์
จริยธรรม
ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และจริยธรรม
จอร์จ บาร์กลีย์
อปจอร์จ บาร์กลีย์ จอร์จ เบิร์กลีย์ หรือ บิชอปเบิร์กลีย์ (George Berkeley); 12 มี.ค.,..
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และจอร์จ บาร์กลีย์
จักรวรรดิเยอรมัน
ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และจักรวรรดิเยอรมัน
จิตวิทยา
ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และจิตวิทยา
คาร์ล ยุง
ร์ล กุสทัฟ ยุง (Carl Gustav Jung; 26 กรกฎาคม 1875 – 6 มิถุนายน 1961) เป็นนักจิตบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิส ผู้ก่อตั้งสำนักจิตวิทยาวิเคราะห์ ยุงเสนอและพัฒนามโนทัศน์บุคลิกภาพแบบแสดงตัวและเก็บตัว แม่แบบ (Archetype) และจิตไร้สำนึกร่วม (Collective Unconscious) ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อจิตเวชศาสตร์และศาสนา วรรณกรรม และสาขาที่เกี่ยวข้อง ยุงสร้างมโนทัศน์ทางจิตวิทยาอันเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางที่สุด รวมทั้งต้นแบบ จิตไร้สำนึกร่วม ปม (complex) และประสบการณ์เหตุการณ์ซ้อน (Synchronicity) ตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ (MBTI) เครื่องมือจิตวิทยาที่ได้รับความนิยมมากในการทำความเข้าใจบุคลิกภาพแบบต่างๆก็พัฒนามาจากทฤษฎีของยุง อันที่จริงยุงกล่าวว่าทุกคนมีแนวโน้มจะเป็นทั้งคนเก็บตัว (Introvert) และแสดงตัว (Extrovert) ส่วนหน้าที่การทำงานของจิตต่างๆคือ การคิด, ความรู้สึก, ผัสสาการ และ ญาณหยั่งรู้ และมนุษย์เราควรพัฒนาตนโดยการใช้หน้าที่ทางจิตเหล่านั้นให้ครบและสมดุล เพื่อจะได้มีชีวิตที่สมบูรณ์ทั่วถ้วน ยุงเล่าว่าการพัฒนาบุคลิกภาพเพียงด้านเดียว เช่น ตีกรอบบุคลิกภาพตัวเองให้เข้ากับแม่แบบบุคลิกภาพแบบใดแบบหนึ่งมากเกินไป อาจจะเป็นหัวโขนทางหน้าที่การงานที่เราใส่ อาจเป็นกรอบผู้มีคุณธรรมตามหลักจารีตจนทำให้มีทัศนคติขาวดำสุดโต่งไปด้านเดียว หรือแม้แต่การใช้หน้าที่การทำงานบางอย่างของจิตมากจนเกินไป ทำให้บุคลิกภาพขาดความสมดุล คนที่ใช้ชีวิตด้วยทัศนคติสุดโต่งด้านเดียวมามาก ถึงเวลาหนึ่งจะรู้สึกว่าชีวิตตัวเองกลวงเปล่า อึดอัดคับข้อง มีอะไรขาดหายไม่สมบูรณ์ ทว่ายุงสามารถใช้การวิเคราะห์ทางจิต เพื่อให้บุคคลนั้นตระหนักรู้ได้ว่าเขาละเลยบุคลิกภาพด้านไหนของตนไป ซึ่งการวิเคราะห์นี้สามารถทำได้ผ่านทั้ง Active Imagination หรือผ่านการทำความเข้าใจความฝัน ความฝันนั้นก็เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่จะทำให้มนุษย์สามารถเข้าถึงข้อมูลในจิตไร้สำนึกของตนได้ ใน Approaching the Unconscious ยุงกล่าวว่า "มนุษย์ไม่อาจเข้าใจอะไรหลายอย่างได้อย่างสมบูรณ์ จึงต้องใช้สัญลักษณ์ ทว่าการใช้สัญลักษณ์แบบรู้เนื้อรู้ตัวเป็นแค่ด้านหนึ่งของจิต จริงๆแล้วจิตมนุษย์สามารถสร้างสัญลักษณ์โดยไร้สำนึกและฉับพลัน ในรูปแบบของความฝัน" เมื่อเราทราบว่าอะไรเป็นสิ่งที่ละเลยไปจากบุคลิกภาพก็สามารถที่จะพัฒนาได้ เช่น อาจะใช้ "ความรู้สึก" มากกว่า "ความคิด" หรือใช้ "ความหยั่งรู้จากพลังงานทางจิตสู่โลกด้านใน (Introverted Intuition)" มากกว่าความรู้จาก "ประสาทสัมผัสจากโลกภายนอก (Extroverted Sensing)" เราก็สามารถจะพัฒนาด้านที่ละเลยให้เกิดความสมดุลและบริบูรณ์ขึ้น หรือถ้าเราใส่หัวโขนคุณธรรมมากไปจนมองเห็นแต่ด้านชั่วร้ายของคนอื่น เรียกอีกอย่างว่าฉายเงาของตน (project one's Shadow) ไปที่ผู้อื่น เราก็สามารถกลับมามองดูจิต เฉกเช่นการภาวนาให้เห็นอีกสภาวะที่เราไม่เคยรับรู้ในจิตตนมาก่อน ซึ่งจะทำให้เข้าใจตนเองได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น เมื่อสิ่งที่ไม่เคยถูกรู้ ถูกรู้ ก็เรียกได้ว่า มันออกมาจากจิตไร้สำนึกสู่จิตสำนึกรู้แล้ว กระบวนการแบบนี้สามารถจะเกิดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ บุคลิกภาพของเราจะได้จัดตำแหน่งศูนย์กลางใหม่เรื่อยๆ โดยมีการหลอมรวมเอาข้อมูลในจิตไร้สำนึกเข้ามาไว้ตรงกลาง เสมือนภาพวงมณฑลที่ผสานรวมขั้วตรงข้ามไว้ได้อย่างกลมกลืนและบริบูรณ์ เราอาจเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า "การกลายเป็นปัจเจก" (Individuation) ซึ่งแน่นอนว่าเราย่อมพบกับความโดดเดี่ยวในกระบวนการ ยกตัวอย่างการวิวัฒน์บุคลิกภาพตัวเองในบริบทของสังคม จากเดิมเราอาจต้องทำตามแบบบุคลิกภาพตามคนอื่นในสังคมไปเรื่อย อะไรที่คนอื่นบอกว่าดีก็ต้องทำอย่างนั้นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ แน่นอนว่าจะมีหลายๆด้านที่เราต้องเก็บงำจนถึงขั้นลืมไปว่าเราก็มีสภาวะแบบนั้นเหมือนกัน เมื่อใดก็ตามเราเริ่มตระหนักในคุณลักษณะที่เราละเลยไป คนในสังคมอาจจะเริ่มมองว่าเราเป็นแกะดำ เพราะฉะนั้นมันเป็นกระบวนการที่อาจแยกเราจากฝูงชน และอาจพบความรู้สึกเดียวดายในเบื้องแรก ถ้าเปรียบกับการเดินทางของวีรบุคคลตามแนวคิดของ Joseph Campbell ซึ่งปรากฏใน A Hero with a Thousand Faces แล้วความโดดเดี่ยวนั้นปรากฏในช่วงแยกจากที่มั่นอันปลอดภัยของตนหรือ "Departure" นั่นเอง ยุงมองว่าจิตใจของมนุษย์ "เลื่อมใสในศาสนาโดยธรรมชาติ" และทำให้ความเลื่อมใสในศาสนานี้เป็นความสนใจของการค้นพบของเขา ยุงเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนในการวิเคราะห์และตีความสัญลักษณ์ความฝันร่วมสมัยที่รู้จักกันดีที่สุด ผลงานส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาอยู่ในสาขาการเล่นแร่แปรธาตุหรือรสายนเวท ปรัชญาตะวันออกและตะวันตก ดาราศาสตร์และสังคมวิทยา เช่นเดียวกับวรรณกรรมและศิลปะ ในส่วนของการเล่นแร่แปรธาตุนั้น โดยผิวเผินแล้วเราจะเห็นว่ามีความพยายามจะแปลงเหล็กให้กลายเป็นทอง (ภาษาลาตินเรียกทองว่า Aurum) และเป็นทองที่ไม่ธรรมดาด้วย ดั่งคำที่พวกเขากล่าวว่า "Aurum nostrum non est aurum vulgi" ด้วยว่าความมุ่งหมายที่ลึกลงไปของนักเล่นแร่แปรธาตุคือ พวกเขาพยายามทำสิ่งต่างๆนอกเหนือไปจากธาตุที่เอามาทดลอง ให้สมบูรณ์เท่าที่สารัตถะของสิ่งเหล่านั้นจะเป็นได้ นั่นหมายรวมถึงโลกภายในของมนุษย์ที่เชื่อมโยงอยู่กับสสาร เมื่อมีการกระทำบางอย่างต่อสสารในโลกภายนอก โลกภายในของนักเล่นแร่แปรธาตุก็ได้รับผลกระทบด้วย เสมือนว่าโลกภายในของพวกเขาถูกโปรเจกไปที่สสารภายนอก เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงสสารไปสู่ธาตุบริสุทธิ์ จิตใจของนักเล่นแร่แปรธาตุก็เปลี่ยนด้วย พวกเขาใช้กระบวนการดังกล่าวเพื่อภาวนาจนเกิดการพัฒนาบุคลิกภาพภายในและเข้าถึงความบริบูรณ์ดั่งธาตุทองคำ ดังนั้นกระบวนการนี้จึงเหมือนกับกระบวนการกลายเป็นปัจเจกของยุง (Individuation).
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และคาร์ล ยุง
คนุท ฮัมซุน
นุท ฮัมซุน (Knut Hamsun; 4 สิงหาคม ค.ศ. 1859 – 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952) เป็นนักเขียนชาวนอร์เวย์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมปี..
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และคนุท ฮัมซุน
ซามูเอล เบ็คเค็ทท์
ซามูเอล เบ็คเค็ทท์ (Samuel Beckett) (13 เมษายน ค.ศ. 1906 - 22 ธันวาคม ค.ศ. 1989) เป็นนักเขียนนวนิยาย, นักเขียนเรื่องสั้น, นักเขียนบทละคร, นักเขียนบทความ และ กวีคนสำคัญชาวไอริช งานของเบ็คเค็ทท์ที่แสดงภาพพจน์อันมืดมนของวัฒนธรรมของมนุษย์ทั้งอย่างเป็นทางการและในทางปรัชญาค่อยกลายมาที่มีลักษณะเป็นงานจุลนิยม (minimalism) มากขึ้นต่อมา ขณะที่เป็นลูกศิษย์ ผู้ช่วย และเพื่อนของเจมส์ จอยซ์ เบ็คเค็ทท์ถือว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนแบบสมัยใหม่นิยมคนสุดท้ายผู้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักเขียนหลายคนต่อมา และบางครั้งก็ถือว่าเป็นนักเขียนคนแรกของสมัยใหม่นิยมสมัยหลัง (Postmodernism) นอกจากก็ยังถือกันว่าเบ็คเค็ทท์เป็นนักเขียนคนสำคัญคนหนึ่งของลักษณะการเขียนที่มาร์ติน เอสส์ลิน (Martin Esslin) เรียกว่า "ละครแปลกวิสัย" (Theatre of the Absurd) ซึ่งทำให้เบ็คเค็ทท์กลายเป็นนักเขียนผู้มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เบ็คเค็ทท์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี..
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และซามูเอล เบ็คเค็ทท์
ซิกมุนด์ ฟรอยด์
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และซิกมุนด์ ฟรอยด์
ปรัชญา
มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และปรัชญา
ปรากฏการณ์วิทยา
ปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology; φαινόμενον (phainómenon) "สิ่งที่ปรากฏ" กับ λόγος (lógos) "การพูด, การศึกษา") เป็นวิธีการทางปรัชญาที่มีเป้าประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างเชิงอุตระของสำนึก และสาระของสัต โดยการย้อนกลับไปที่ข้อมูลที่มีอยู่ในสำนึก ปรากฏการณ์วิทยาพยายามค้นหาความจริง แต่ความจริงที่ปรากฏการณ์วิทยาแสวงหานั้นอยู่ใน “โลกที่ปรากฏต่อหน้า” (immanence) หาใช่การมุ่งก้าวพ้นผ่านประสบการณ์ ไปสู่โลกของแบบ หรือแม้แต่พระเจ้า อันเป็นความจริงสูงสุดที่รองรับยืนยันโลกปรากฏแต่อย่างใดไม่ ดังชื่อของปรัชญาของสำนักนี้ได้ระบุไว้ว่า จุดยืนในการหาความจริงวางอยู่บนฐานที่เรียกว่า “ประสบการณ์” ในความหมายที่กว้างที่สุด ในแง่นี้ ปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) คือสำนักทางปรัชญาที่เน้นการหาความจริงในปรากฏการณ์ (phenomena) การให้คำนิยามที่ชัดเจนกับคำว่า ปรากฏการณ์วิทยา เป็นเรื่องยาก เพราะปรากฏการณ์วิทยาเป็นแนวคิด หรือ คอนเซปต์ที่แตกออกไปได้หลากหลายแขนง และนักปรัชญาในสายความคิดนี้มีวิธีการมองและวิธีการเข้าหาปัญหาแตกต่างกัน แต่เราสามารถเข้าใจจุดร่วมที่นักปรัชญาแต่ละท่านมีร่วมกันได้ จุดร่วมนี้คือการมองว่าปรากฏการณ์วิทยาคือ การศึกษาสำนึกจากแง่มุมของมนุษย์ในฐานะประธานบุรุษที่หนึ่ง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ปรากฏการณ์วิทยาปฏิเสธการค้นคว้าในเชิงภาวะวิสัย (objective research) เหมือนอย่างการศึกษาทางจิตวิทยา ซึ่งเน้นการศึกษาธรรมชาติของจิตที่เป็นสากล และเป็นกลาง ดังนั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของสำนักความคิดนี้ จึงหลีกเลี่ยงการศึกษาสำนึกอย่างเป็นเอกเทศ หรืออย่างเดี่ยวๆ แต่เน้นว่าเราต้องศึกษาสำนึกในฐานะที่สำนึกต้องพุ่งไปสู่อะไรบางอย่าง ดังที่ฮุสเซิร์ลกล่าวไว้ว่า การสำนึกคือการสำนึกถึงอะไรบางอย่าง เราเรียกกระบวนการที่สำนึกพุ่งไปสู่อะไรบางอย่างนี้ว่า “การพุ่งไปของเจตสำนึก” (intentionality) และเรียกวัตถุหรือสิ่งที่เราสำนึกว่า “วัตถุของการพุ่งไปของเจตสำนึก” (intentional object).
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และปรากฏการณ์วิทยา
แฟรงก์เฟิร์ต
แฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt) หรือ ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ (Frankfurt am Main) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐเฮสส์และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไมน์ (Main river) และเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ตและธนาคารกลางยุโรป แฟรงก์เฟิร์ตเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยในเขตเมืองและปริมณฑลมีประชากรประมาณ 5 ล้านคน ชื่อเมืองแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี นิยมเรียกชื่อเต็มคือ "ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์" หมายถึงเมืองแฟรงก์เฟิร์ตที่อยู่บนแม่น้ำไมน์ เพื่อแยกความแตกต่างจากเมืองฟรังค์ฟวร์ทอันเดอร์โอเดอร์ (Frankfurt an der Oder) ริมฝั่งแม่น้ำโอเดอร์ในรัฐบรันเดนบูร์กทางด้านตะวันออกของประเท.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และแฟรงก์เฟิร์ต
แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์
แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ (Erwin Rudolf Josef Alexander Schrödinger; 12 สิงหาคม ค.ศ. 1887 - 4 มกราคม ค.ศ. 1961) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวออสเตรีย มีชื่อเสียงในฐานะผู้วางรากฐานกลศาสตร์ควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมการชเรอดิงเงอร์ ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี..
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และแอร์วิน ชเรอดิงเงอร์
แฮร์มันน์ เฮสเซอ
แฮร์มันน์ เฮสเซอ right แฮร์มันน์ เฮสเซอ (Hermann Hesse) (2 กรกฎาคม ค.ศ. 1877 — 9 สิงหาคม ค.ศ. 1962) เป็นกวี นักเขียน และจิตรกรชาวเยอรมัน-สวิส เกิดที่เมืองคาลฟ์ในประเทศเยอรมนี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และแฮร์มันน์ เฮสเซอ
โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ
โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ (Johann Wolfgang von Goethe, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2292 — 22 มีนาคม พ.ศ. 2375) เป็นผู้รู้รอบด้านชาวเยอรมัน เขาเป็นทั้งนักเขียนนิยาย นักเขียนบทละคร นักสิทธิมนุษยชน นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา รวมถึงดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะบริหารของไวมาร์ในประเทศเยอรมนีอยู่ 10 ปี เกอเทอเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของวรรณคดีเยอรมัน คลาสสิกใหม่ของยุโรปและโรมัน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกอเทอและงานของเขาได้ส่งผลไปทั่วยุโรปและได้สร้างแรงบันดาลใจกับงานต่อ ๆ มาทางด้าน ดนตรี การละคร และกวี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ
เพลโต
"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และเพลโต
เลโอ ตอลสตอย
ลโอ ตอลสตอย หรือชื่อเต็มว่า เคานต์ เลฟ นีโคลาเยวิช ตอลสตอย (Leo Tolstoy; Лев Никола́евич Толсто́й, Lev Nikolayevich Tolstoy, 9 กันยายน ค.ศ. 1828 - 20 พฤศจิกายน ค.ศ.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และเลโอ ตอลสตอย
เดวิด ฮูม
วิด ฮูม เดวิด ฮูม (David Hume26 เมษายน ค.ศ. 1711 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776) เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์ (บุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนี้ ได้แก่ อดัม สมิธ, ทอมัส เรด เป็นต้น) หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริเตนทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญาถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้ว.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และเดวิด ฮูม
21 กันยายน
วันที่ 21 กันยายน เป็นวันที่ 264 ของปี (วันที่ 265 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 101 วันในปีนั้น.
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และ21 กันยายน
22 กุมภาพันธ์
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 53 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 312 วันในปีนั้น (313 วันในปีอธิกสุรทิน).
ดู อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์และ22 กุมภาพันธ์
ดูเพิ่มเติม
บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2331
- คิกุชิ โยไซ
- จอร์จ กอร์ดอน ไบรอน บารอนไบรอนที่ 6
- พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
- รอเบิร์ต พีล
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
- สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)
- ออกุสแต็ง-ฌ็อง แฟรแนล
- อโดนิรัม จัดสัน
ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน
- คาร์ล ฟรีดริช เกาส์
- ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์
- อีลี เมตช์นิคอฟ
- เจ. พี. มอร์แกน
- เจ้าชายเฟรเดอริก ดยุกแห่งยอร์กและออลบานี
- เอดิท ชไตน์
- เออร์วิง แลงมิวร์
- โทมัส ยัง
- โรแบร์ท บุนเซิน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Arthur Schopenhauerอาร์เธอร์ โชเปนฮอยเออร์อาเทอร์ โชเพนเฮาเออร์