โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เล่าจื๊อ

ดัชนี เล่าจื๊อ

ล่าจื๊อ, จาก ''ไมท์แอนด์ลีเจนส์ออฟไชน่า'', ค.ศ. 1922 โดย อี.ที.ซี. เวอร์เนอร์ เล่าจื๊อ (Lao Zi หรือ Lao Tzu) นักปรัชญาชาวจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดท่านหนึ่ง เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในช่วง 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงของสงครามปรัชญา และสงครามการเมืองยุคชุนชิว เล่าจื๊อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนในทางเต๋า นั่นคือ "เต๋าเต็กเก็ง" (Tao Te Ching) (道德經) ซึ่งเป็นผลงานทางลัทธิเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้ เล่าจื๊อเป็นนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญทางเต๋า ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร.

13 ความสัมพันธ์: ภูมิศาสตร์ยุควสันตสารทราชวงศ์โจวลัทธิเต๋าธรรมขงจื๊อดาราศาสตร์คริสต์ศักราชซือหม่า เชียนประวัติศาสตร์ปรัชญาเต้าเต๋อจิงเต๋า

ภูมิศาสตร์

แผนที่โลก ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง.

ใหม่!!: เล่าจื๊อและภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุควสันตสารท

แผนที่แสดงที่ตั้งของนครรัฐต่าง ๆ ในยุควสันตสารท วสันตสารท หรือภาษาจีนว่า ชุนชิว (Spring and Autumn period) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ อยู่ระหว่าง ประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช (บางข้อมูลถือ 365 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 482 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งถูกรวมไว้ด้วยกันกับยุคจ้านกว๋อ (หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อเลียดก๊ก) การรบในยุคชุนชิวนั้นหลายเรื่องได้อ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา อีกแง่หนึ่ง เป็นยุคที่นักปราชญ์บัณฑิตแต่ละสาขาได้ถือกำเนิดและมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้แต่งตำราหรือคำสอนต่าง ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, เม่งจื๊อ, ม่อจื๊อ เป็นต้น ในส่วนของปราชญ์แห่งสงคราม ก็คือ ซุนวู นั่นเอง.

ใหม่!!: เล่าจื๊อและยุควสันตสารท · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจว

ราชวงศ์โจว หรือ ราชวงศ์จิว (ภาษาอังกฤษ:Zhou Dynasty, ภาษาจีนกลาง:周朝, พินอิน: Zhōu Cháo) ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1123 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว.

ใหม่!!: เล่าจื๊อและราชวงศ์โจว · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: เล่าจื๊อและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ธรรม

รรม หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่ขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า หน้าที่ เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที.

ใหม่!!: เล่าจื๊อและธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ขงจื๊อ

งจื๊อ (Confucius; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงบรมครูจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ วันที่ 27 เดือน 8 (八月廿七日) ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย".

ใหม่!!: เล่าจื๊อและขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: เล่าจื๊อและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศักราช

ริสต์ศักราช (Anno Domini Nostri Iesu Christi Anno Domini: AD หรือ A.D. ส: คฺฤสฺตศกฺราช ป: คิตฺถสกฺกาช) เขียนย่อว.. หมายถึง ปีของพระเยซูคริสต์ โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติ เป็น..

ใหม่!!: เล่าจื๊อและคริสต์ศักราช · ดูเพิ่มเติม »

ซือหม่า เชียน

ซือหม่าเซียน ซือหม่าเชียน (司馬遷) เป็นนักบันทึกประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่โดนตอนองคชาตในสมัยราชวงศ์ฮั่นตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ (140-87ก่อนคริสตกาล) ซือหม่าเชียนถือกำเนิดในครอบครัวปัญญาชนครอบครัวหนึ่ง บิดาของเขาเป็นขุนนางด้านประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่อายุ 10 ขวบซือหม่าเชียนก็เริ่มศึกษาวิชาวรรณคดี ประวัติศาสตร์และคัมภีร์ของสำนักต่างๆ กับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ในวัยเด็กซือหม่าเชียนก็เป็นคนช่างขบคิด เขามีความรู้ต่างๆ นานาเกี่ยวกับบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางนอกเหนือจากสิ่งที่ได้บันทึกไว้ในตำรา สิ่งนี้เป็นเหตุให้ซือหม่าเชียนออกเดินทางจากกรุงฉางอานไปท่องเที่ยวดินแดนต่างๆ อย่างกว้างขวางเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่อถึงท้องที่หนึ่ง ซือหม่าเชียนก็จะบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นนั้นอย่างละเอียด และเก็บสะสมประวัติและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวข้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย เมื่อ 108 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซือหม่าเชียนได้ขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งของบิดาในราชสำนัก มีหน้าที่ดูแลพระคลังเก็บหนังสือของพระมหากษัตริย์ ในช่วงเวลาดังกล่าว เขาได้ตามเสด็จพระมหากษัตริย์ไปในโอกาสต่างๆ ได้ไปดูงานตามสถานที่โบราณมากมายทั่วดินแดนอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้สั่งสมข้อมูลอย่างอุดมสมบูรณ์แล้ว ซือหม่าเชียนก็ใช้เวลานอกราชการเตรียมลงมือเขียนสื่อจี้ซึ่งเป็นสารานุกรมด้านประวัติศาสตร์ 3,000 ปีของจีน.

ใหม่!!: เล่าจื๊อและซือหม่า เชียน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: เล่าจื๊อและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: เล่าจื๊อและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

เต้าเต๋อจิง

อักษรเต้า เต้าเต๋าจิง (ฮกเกี้ยน: Tō-tek-keng, เต๋าเต็กเก็ง; Dao De Jing หรือ Tao Te Ching) เป็นคัมภีร์ภาษาจีนที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แม้จะเชื่อกันว่าเล่าจื๊อเป็นผู้แต่ง แต่เนื้อหาบางส่วนมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช และเนื้อหาส่วนอื่นเขียนหรือเรียบเรียงขึ้นหลังคัมภีร์จวงจื่อ เต้าเต๋อจิงมีเนื้อหากล่าวถึงธรรมชาติและปรัชญา คำว่า "เต้า-เต๋อ-จิง" (Dao-De-Jing) เป็นปรัชญาในเรื่องโลกและชีวิต สามารถแยกเป็นเต้า 道 (ทาง) เต๋อ 德 (คุณธรรม; ความดี) และ จิง 经 (คัมภีร์; สูตร; วรรณคดีชั้นสูง) เมื่อนำทั้ง 3 คำมารวมกัน แปลว่า "คัมภีร์ที่ว่าด้วยคุณสมบัติของเต้า" "สูตรว่าด้วยเต้าและคุณธรรม" ระหว่าง "เต้า 道" กับ "เต๋อ 德" นั้น เต๋าปรากฏขึ้นมาก่อน และเต๋อก็ตามมา คัมภีร์เต้าเต๋อจิงถูกนำมาแปลลงสู่ภาษาต่าง ๆ มากมาย มีแพร่หลายอยู่ในส่วนต่างๆ ของโลก.

ใหม่!!: เล่าจื๊อและเต้าเต๋อจิง · ดูเพิ่มเติม »

เต๋า

ปากว้า เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเต๋าและการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง เต๋า (道. เต้า) มีความหมายตามตัวอักษรว่า วิถี หรือ วิธี ต่อมาคัมภีร์เต๋ายุคแรก ได้ใช้คำว่า เต๋า ในความหมายใหม่ว่า เป็นสัจภาวะสูงสุด เป็นอุตรภาพ อัพภันตรภาพ ซึ่งปราศจากรูปร่าง พ้นวิสัยภาษา ความคิด และความเข้าใจของมนุษย์ เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่ง แม้ความเชื่อนี้จะมีที่มาจากลัทธิเต๋า แต่ก็ได้แพร่หลายไปยังคตินิยมอื่น ๆ ด้วยทั้ง ลัทธิขงจื๊อ ตลอดจนศาสนาและปรัชญาตะวันออกโดยรวม.

ใหม่!!: เล่าจื๊อและเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เล่าจือเล่าซือเหล่าจือ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »