โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรไทย

ดัชนี อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

74 ความสัมพันธ์: บุพสัญญาฟองมันฟันหนูพยัญชนะพินทุพินทุ์อิพ่อขุนรามคำแหงมหาราชฝนทองภาษามลายูปัตตานีภาษาไทยภาษาไทยถิ่นอีสานภาษาไทยถิ่นใต้ภาษาไทยถิ่นเหนือมหัพภาคยัติภังค์ยัติภาคยามักการฤๅลากข้างฦๅวรรณยุกต์วิสรรชนีย์สระ (สัทศาสตร์)สัญประกาศอักษรอักษรฟินิเชียอักษรพราหมีอักษรละตินอักษรสระประกอบอักษรตัวใหญ่อักษรปัลลวะอักษรแอราเมอิกอักษรไทยอักษรเขมรอัญประกาศอัศเจรีย์อัฒภาคอังคั่นจารึกพ่อขุนรามคำแหงจุลภาคจุดไข่ปลาทวิภาคทับ (แก้ความกำกวม)ทัณฑฆาตตัวเลขอารบิกตัวเลขไทยตำแหน่งเกิดเสียงตีนครุ...ตีนคู้ตีนเหยียดประเทศไทยปรัศนีนิคหิตนขลิขิตโคมูตรไม้มลายไม้ม้วนไม้ยมกไม้หันอากาศไม้หน้าไม้โอไม้ไต่คู้ไตรยางศ์ไปยาลน้อยไปยาลใหญ่เสียงพยัญชนะกักเสียงพยัญชนะนาสิกเสียงกัก เส้นเสียงเสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้องเสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือกเครื่องหมายวรรคตอนTIS-620 ขยายดัชนี (24 มากกว่า) »

บุพสัญญา

ัญญา (”) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายอัญประกาศคู่แต่มีด้านปิดเพียงด้านเดียว หรือคล้ายรูปสระ ฟันหนู (") ใช้สำหรับเขียนแทนคำหรือประโยคที่อยู่ในบรรทัดบนหรือเหนือขึ้นไปในตำแหน่งกึ่งกลาง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเขียนซ้ำอีก สามารถใช้ขีดกลางยาวประกอบเครื่องหมาย (เช่น) เพื่อกำหนดขอบเขตของการกล่าวซ้ำโดยสังเขป และอาจพบเครื่องหมายบุพสัญญามากกว่าหนึ่งตัวในการซ้ำครั้งเดียวกัน (เช่น) เวลาอ่านต้องอ่านคำเต็ม บทนิพนธ์หลายชนิดอาทิวิทยานิพนธ์ ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายนี้ปรากฏในเนื้อหาเพื่อละข้อความ แต่ให้ใช้คำเต็มแทน ภาษาญี่ปุ่นก็มีการใช้บุพสัญญา มีปรากฏในรหัสยูนิโคด U+3003 ดังนี้ 〃 มีชื่อเรียกว่า ditto mark หรือ โนะโนะจิเท็น (ノノ字点) รูปร่างคล้ายกับของภาษาไทยแต่เขียนอยู่ในระดับเดียวกับบรรทัด ภาษาอื่นที่นอกเหนือจากนี้ไม่มีการใช้บุพสัญญา แต่อาจพบการใช้ขีดกลางยาว (em dash) หรือคำว่า Ibid. และ Id. แทนในบรรณานุกรม.

ใหม่!!: อักษรไทยและบุพสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ฟองมัน

ฟองมัน หรือ ตาไก่ (๏) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อขึ้นต้นบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว โดยไม่จำเป็นต้องย่อหน้าหรือขึ้นบรรทัดใหม่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้นิยมใช้ฟองมันเมื่อขึ้นต้นบทร้อยกรองเท่านั้น นอกจากเครื่องหมายฟองมันที่เป็นรูปวงกลมแล้ว ในสมัยโบราณยังนิยมใช้เครื่องหมาย ฟองมันฟันหนู นั่นคือ มีเครื่องหมาย ฟันหนู (") วางอยู่บนฟองมัน ใช้กำกับเมื่อจะขึ้นต้นบท หรือตอน โดยมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น ฟันหนูฟองมัน หรือ ฝนทองฟองมัน บางแห่งใช้เครื่องหมายวงกลมเล็ก มีฟันหนูวางอยู่ข้างบน เรียกว่า ฟองดัน ก็มี ฟองมันไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xEF (239) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E4F.

ใหม่!!: อักษรไทยและฟองมัน · ดูเพิ่มเติม »

ฟันหนู

ฟันหนู หรือ มูสิกทันต์ (") มีลักษณะเป็นเส้นตั้งสั้น ๆ สองเส้น ไม่สามารถใช้โดด ๆ ได้ ใช้ประสมสระ อื เอือะ และ เอือ.

ใหม่!!: อักษรไทยและฟันหนู · ดูเพิ่มเติม »

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ใหม่!!: อักษรไทยและพยัญชนะ · ดูเพิ่มเติม »

พินทุ

พินทุ (-ฺ) มีลักษณะคล้ายจุด ใช้เติมใต้พยัญชนะ เพื่อใช้ระบุอักษรนำหรืออักษรควบกล้ำ ในการเขียนคำอ่านของคำในภาษาไทย เช่น สุเหร่า อ่านว่า สุ-เหฺร่า, ปรากฏ อ่านว่า ปฺรา-กด เป็นต้น ในการเขียนภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตด้วยอักษรไทย จะเติมพินทุไว้ที่พยัญชนะสะกดของคำ เช่น ธมฺมา (ทัม-มา) อญฺชลี (อัน-ชะ-ลี) และเติมที่อักษรนำหรืออักษรควบกล้ำ เช่น สฺวากฺขาโต (สะ-หวาก-ขา-โต) เชตฺวา (เช-ตะ-วา) ในการแยกแยะว่าพินทุใดใส่เพื่อพยัญชนะสะกดหรืออักษรนำ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้อ่าน เนื่องจากคำที่ใช้พินทุสำหรับอักษรนำนั้นมีอยู่น้อยคำ ในการเขียนคำทับศัพท์อาหรับด้วยอักษรไทย จะเติมพินทุไว้ที่พยัญชนะเพื่อเน้นว่า พยัญชนะต้องออกเสียงเสมือนว่าเป็นอักษรนำ เช่น อะบูบักรฺ (อะ-บู-บัก-ร) และ อัลลอหฺ (อัล-ลอ-หฺ) หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: อักษรไทยและพินทุ · ดูเพิ่มเติม »

พินทุ์อิ

นทุ์อิ (-ิ) ใช้เป็นสระ อิ เมื่ออยู่เหนือพยัญชนะต้น ใช้ประสมสระ เออ ลดรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น เกิด และใช้ประสมสระ อี อึ อื เอียะ เอีย เอือะ และ เอือ.

ใหม่!!: อักษรไทยและพินทุ์อิ · ดูเพิ่มเติม »

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี:3.

ใหม่!!: อักษรไทยและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ฝนทอง

ฝนทอง (') มีลักษณะเป็นเส้นตั้งสั้น ๆ คล้ายไม้เอก ไม่สามารถใช้โดด ๆ ได้ ใช้ประสมบนพินทุ์อิ (-ิ) กลายเป็นสระ อี เอียะ และ เอี.

ใหม่!!: อักษรไทยและฝนทอง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายูปัตตานี

ษามลายูปัตตานี หรือ ภาษามลายูปาตานี (มลายูปัตตานี: บาซอ 'นายู 'ตานิง; Bahasa Melayu Patani, อักษรยาวี: بهاس ملاي ڤطاني) หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี (อักษรยาวี: بهاس جاوي) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา รวมทั้งในอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมจังหวัดสตูล) ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย บางครั้งก็มีการเรียกรวมเป็นภาษาเดียวกันว่า "ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี".

ใหม่!!: อักษรไทยและภาษามลายูปัตตานี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: อักษรไทยและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: อักษรไทยและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นใต้

ษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (Dambro) เป็นภาษาถิ่น ที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัด และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้าน ในรัฐกลันตัน, รัฐปะลิส, รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี), รัฐเประก์ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย รวมถึงบางหมู่บ้าน ในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้ มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉ.

ใหม่!!: อักษรไทยและภาษาไทยถิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ำเมือง (40px)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแ.

ใหม่!!: อักษรไทยและภาษาไทยถิ่นเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

มหัพภาค

มหัพภาค หรือ เครื่องหมายจุด (full stop หรือ period หรือ dot) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นจุดโดยเขียนไว้ที่ระดับเดียวกับเส้นบรรทั.

ใหม่!!: อักษรไทยและมหัพภาค · ดูเพิ่มเติม »

ยัติภังค์

ัติภังค์ หรือ เครื่องหมายขีด (hyphen) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดแนวนอนสั้นๆ กลางบรรทัด ยาวไม่เกิน 2 ตัวอักษร หากยาวกว่านั้นจะเรียกว่ายัต.

ใหม่!!: อักษรไทยและยัติภังค์ · ดูเพิ่มเติม »

ยัติภาค

ัติภาค (dash) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดแนวนอนกลางบรรทัด ซึ่งเขียนให้ยาวกว่ายัติภังค์ ในคอมพิวเตอร์และงานพิมพ์ ยัติภาคอาจมีความยาวต่างกัน แต่ที่ใช้บ่อยคือ en dash (–) และ em dash (—).

ใหม่!!: อักษรไทยและยัติภาค · ดูเพิ่มเติม »

ยามักการ

มักการ หรือ ยามักการ์ (-๎) มีลักษณะคล้ายเลขอารบิก 3 ที่กลับด้าน (Ɛ) ใช้เติมเหนือพยัญชนะ ที่ต้องการระบุว่าพยัญชนะใดเป็นอักษรนำ หรืออักษรควบกล้ำ เช่น ส๎วากฺขาโต (สะ-หวาก-ขา-โต) พ๎ราห๎มณ (พราม-มะ-นะ) ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายทัณฑฆาต (-์) แต่ยังสามารถพบได้ในหนังสือมนต์พิธี (หนังสือสวดมนต์) ตำราเรียนเก่า ๆ หรือการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยของบางสำนักพิม.

ใหม่!!: อักษรไทยและยามักการ · ดูเพิ่มเติม »

หรือ ตัวรึ สามารถใช้เป็นสระลอย ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ร และก่อนหน้า ฤๅ, ล อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "ริ" เมื่อ ฤ ถูกประสมเข้ากับตัวอักษรต่าง ๆ แล้วประกอบเป็นคำในภาษาไทย ฤ จะออกเสียงได้ดังนี้.

ใหม่!!: อักษรไทยและฤ · ดูเพิ่มเติม »

ฤๅ

ๅ หรือ ตัวรือ สามารถใช้เป็นสระลอย ไม่มีพยัญชนะสะกด ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ร, ฤ และก่อนหน้า ล อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "รี" ปัจจุบันมีคำที่สะกดด้วย ฤๅ อยู่น้อยคำ บางคำก็สามารถเปลี่ยนไปใช้ ฤ แทนได้ เช่น.

ใหม่!!: อักษรไทยและฤๅ · ดูเพิ่มเติม »

ลากข้าง

ลากข้าง (า) ใช้เป็นสระ อา เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น ​และใช้ประสมสระ เอาะ อำ และ เอา สำหรับรูปสระที่ประกอบใน ฤๅ และ ฦๅ จะเรียกว่า ลากข้างยาว (ๅ) แต่ไม่ถือเป็นรูปสระอย่างโดดๆ เนื่องจาก ฤๅ และ ฦๅ เป็นรูปสระในตัวเองอยู่แล้ว ในแป้นพิมพ์ภาษาไทย ลากข้างยาว อยู่บนปุ่มเดียวกับเลข "1" (จะพิมพ์ได้เฉพาะหลัง ฤ และ ฦ เท่านั้น).

ใหม่!!: อักษรไทยและลากข้าง · ดูเพิ่มเติม »

ฦ หรือ ตัวลึ สามารถใช้เป็นสระลอย ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ล และก่อนหน้า ฦๅ, ว อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "ลฺริ" ปัจจุบัน ไม่นิยมใช้ตัว ฦ คำต่าง ๆ ที่เคยใช้ ฦ ได้เปลี่ยนไปใช้ ฤ หรือ "ลึ" แทน เช่น.

ใหม่!!: อักษรไทยและฦ · ดูเพิ่มเติม »

ฦๅ

ฦๅ หรือ ตัวลือ สามารถใช้เป็นสระลอย ไม่มีพยัญชนะสะกด ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ล, ฦ และก่อนหน้า ว อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "ลฺรี" เดิมตำราหลักภาษาไทยมักกำหนดให้ "ฦ" และ "ฦๅ" เป็นสระ ตามหลักอักขรวิธีในภาษาสันสกฤต แต่การใช้ "ฦๅ" ในภาษาไทยนั้น ใช้เป็นคำๆ หาได้ใช้อย่างสระเพื่อประสมกับพยัญชนะอย่างในสันสกฤตไม่ ดังนั้นในตำราภาษาไทยรุ่นใหม่ จึงไม่จัด ฦๅ เป็นสระ ส่วนทางภาษาศาสตร์นั้น ถือว่า ฦๅ เป็นพยางค์ที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย พยัญชนะ (ล) และสระ (อือ) จึงไม่ใช่เป็นสระหรือพยัญชนะ แต่โดยทั่วไป ในแผนผังอักษรไทย ก็ยังจำแนกไว้ตามแบบเดิม ถึงแม้ภาษาสันสกฤตจะถือว่า ฦๅ (และ ฦ) เป็นสระตัวหนึ่ง ใช้ประสมกับพยัญชนะอื่นได้ แต่ก็ปรากฏอยู่น้อยคำ เช่น "ฦๅ" หมายถึง พระฦๅ เป็นมารดาของเหล่าทานพ, ชายาของไทตย เป็นต้น แต่ในคำศัพท์ภาษาไทย เท่าที่ปรากฏในพจนานุกรม เสียง ฦๅ มีใช้กับคำไทยโบราณเท่านั้น ซึ่งมีจำนวนน้อยคำ ใช้ในหนังสือเก่า คำต่าง ๆ ที่เคยใช้ ฦๅ ได้เปลี่ยนไปใช้ ฤ, ฤๅ หรือ "ลือ" แทน เช่น.

ใหม่!!: อักษรไทยและฦๅ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ (tone) หรือ วรรณยุต หมายถึง ระดับเสียง หรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูง เพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่ง ก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์ และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่งๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการประสมคำหรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง.

ใหม่!!: อักษรไทยและวรรณยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

วิสรรชนีย์

วิสรรชนีย์ หรือ นมนางทั้งคู่ (ะ) ใช้เป็นสระ อะ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น และใช้ประสมสระ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ และ อัวะ อนึ่ง คำว่า "ประวิสรรชนีย์" เป็นคำกริยา หมายถึง ใส่เครื่องหมายวิสรรชนีย์ นี้ (ประ หมายถึง ทำเป็นจุดๆ) วิสรรชนีย์เป็นเครื่องหมายที่มีใช้ในตระกูลอักษรพราหมี ตั้งแต่หลังสมัยพระเจ้าอโศก (ในราวราชวงศ์กษัตรปะ) โดยมีลักษณะเป็นเครื่องหมายวงกลมขนาดเล็กสองวง คล้ายเครื่องหมาย: (colon) คำว่า "วิสรรชนีย์" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "วิสรฺชนีย" (ในสมัยหลังนิยมเรียกว่า วิสรฺค) หมายถึงเครื่องหมายที่ใช้เพื่อแทนเสียงลมหายใจมาก โดยวางไว้หลังสระ เช่น "दुःख, रामः" เมื่อถ่ายทอดเป็นอักษรไทย นิยมใช้เครื่องหมาย "ะ" เป็น "ทุะข, รามะ" เป็นต้น สำหรับระบบการเขียน IAST ใช้ "ḥ", ระบบ Harvard-Kyoto ใช้ H, และอักษรเทวนาครีใช้ "ः".

ใหม่!!: อักษรไทยและวิสรรชนีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สระ (สัทศาสตร์)

ในทางสัทศาสตร์ สระ (สะ-หฺระ) หมายถึงเสียงในภาษาที่เปล่งออกมาจากช่องเสียง (vocal tract) ที่เปิดออกโดยตรงจากช่องเส้นเสียง (glottis) โดยไม่กักอากาศ ตัวอย่างเช่น "อา" หรือ "โอ" (โดยไม่กักอากาศด้วยอักษร อ) ตรงข้ามกับพยัญชนะซึ่งมีการกักอากาศอย่างน้อยหนึ่งจุดภายในช่องเสียง เสียงสระสามารถจัดได้ว่าเป็นพยางค์ ส่วนเสียงเปิดที่เทียบเท่ากันแต่ไม่สามารถเปล่งออกมาเป็นพยางค์ได้เรียกว่า กึ่งสระ (semivowel) เสียงสระเป็นแกนพยางค์ (syllable nucleus) ในทุกภาษา ซึ่งเสียงพยัญชนะจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเสียงสระเสมอ อย่างไรก็ตามในบางภาษาอนุญาตให้เสียงอื่นเป็นแกนพยางค์ เช่นคำในภาษาอังกฤษ table "โต๊ะ" ใช้เสียง l เป็นแกนพยางค์ (ขีดเล็กๆ ที่อยู่ใต้ l หมายถึงสามารถออกเสียงได้เป็นพยางค์ ส่วนจุดคือตัวแบ่งพยางค์) หรือคำในภาษาเซอร์เบีย vrt "สวน" เป็นต้น แต่เสียงเหล่านี้ไม่เรียกว่าเป็นเสียงสร.

ใหม่!!: อักษรไทยและสระ (สัทศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สัญประกาศ

ัญประกาศ เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง เป็นการขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญหรือข้อความที่ควรสังเกตพิเศษ อาจจะมีหนึ่งเส้นหรือสองเส้น ตัวอย่างการใช้เช่น.

ใหม่!!: อักษรไทยและสัญประกาศ · ดูเพิ่มเติม »

อักษร

แผนที่โลกแบ่งตามอักษรที่ใช้ อักษร คือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายสำหรับใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาหนึ่ง ๆ โดยเรียกรวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือหน่วยเสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ" อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์แทนเสียงในบางภาษาอาจใช้แทนเสียงของพยางค์หรือคำ ก็ได้ เช่น อักษรจีน หรือตัวหนังสือจีน (นักวิชาการบางสำนักไม่ถือว่าตัวหนังสือจีน เป็น "อักษร" ตามนิยามของคำว่า alphabet ในภาษาอังกฤษ แต่เรียกว่า ideogram คือสัญลักษณ์แทนคำ หรือหน่วยคำ) แบบแผนว่าด้วยตัวหนังสือนั้น ในตำราภาษาไทย เรียกว่า อักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยการเขียน การอ่าน การประสมอักษร และการใช้อักษรอย่างถูกต้อง อักษรอาจใช้สำหรับภาษาหนึ่ง ๆ หรือใช้กับหลายภาษาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ระหว่าง คำว่า อักษร และภาษา อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อักษรโรมัน ใช้เขียนภาษาต่างๆ หลายภาษาในยุโรป โดยมีการดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถแทนเสียงในภาษาของตนได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน เป็นต้น รวมทั้งภาษาในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน และภาษาเวียดนาม (ดัดแปลงตัวอักษร) เป็นต้น มีหลายประเทศใช้อักษรที่แตกต่างกันตามเวลาเช่น อักษรในสมัยโบราณ เมื่อเวลาผ่านไป ก็เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นอักษรปัจจุบัน หรือเปลี่ยนไปใช้อักษรชนิดอื่นโดยสิ้นเชิง.

ใหม่!!: อักษรไทยและอักษร · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: อักษรไทยและอักษรฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพราหมี

อักษรพราหมี อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) เป็นต้นกำเนิดของอักษรในอินเดียมากมาย รวมทั้งอักษรเขมรและอักษรทิเบตด้วย พบในอินเดียเมื่อราว..

ใหม่!!: อักษรไทยและอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: อักษรไทยและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรสระประกอบ

อักษรเทวนาครีเป็นอักษรสระประกอบชนิดหนึ่ง อักษรสระประกอบ เป็นรูปแบบของระบบการเขียนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะและสระ แต่พยัญชนะจะมีความสำคัญมากกว่าสระ ซึ่งแตกต่างจากอักษรสระ-พยัญชนะ (alphabet) ที่เป็นระบบการเขียนทั้งสระและพยัญชนะจะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และแตกต่างจากอักษรไร้สระ (abjad) ซึ่งมักจะไม่มีรูปสระปรากฏอยู่เลย ในบรรดาระบบการเขียนทั้งหมดในโลกนี้ มีอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของระบบการเขียนทั้งหมดที่เป็นอักษรสระประกอบ ซึ่งอักษรไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน คำว่า "อักษรสระประกอบ" เป็นคำแปลจากคำว่า abugida ซึ่งเป็นคำที่ Peter T. Daniels นำมาใช้เรียกระบบการเขียนรูปแบบนี้ โดยคำนี้มาจากชื่อของอักษรเอธิโอเปีย (’ä bu gi da) ในภาษาเอธิโอเปีย โดยนำมาจากชื่ออักษรสี่ตัวของอักษรเอธิโอเปีย (ในทำนองเดียวกับคำว่า alphabet ที่มาจากชื่ออักษรกรีก แอลฟา และ บีตา) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: อักษรไทยและอักษรสระประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรตัวใหญ่

การเก็บตัวพิมพ์แยกระหว่างตัวใหญ่กับตัวเล็ก อักษรกรีก บีตา ตัวใหญ่อยู่ทางซ้าย อักษรตัวใหญ่ (อังกฤษ: capital letter, majuscule) คือกลุ่มของอักษรประเภทหนึ่งในระบบการเขียน เช่นในอักษรละติน: A, B, C, D,...

ใหม่!!: อักษรไทยและอักษรตัวใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรปัลลวะ

รึกอักษรปัลลวะที่พบในศรีลังกา อักษรปัลลวะ เป็นอักษรสระประกอบที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดียใต้ มีอายุอยู่ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 - 14 ซึ่งได้พัฒนาจนกลายเป็นอักษรทมิฬและอักษรมาลายาลัมในปัจจุบัน อักษรดังกล่าวเคยใช้เขียนภาษาทมิฬและภาษามาลายาลัม โดยเข้าไปแทนที่อักษรแบบเดิมซึ่งมีต้นกำเนิดจากอักษรพราหมีและยังใช้เขียนภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ ด้วย อักษรปัลลวะเป็นอักษรชนิดแรกที่แพร่เข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นอักษรต้นแบบของอักษรมอญโบราณ อักษรขอมโบราณ และอักษรกวิ ซึ่งอักษรทั้งสามประเภทก็เป็นอักษรต้นแบบให้กับอักษรเกือบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: อักษรไทยและอักษรปัลลวะ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรแอราเมอิก

อักษรแอราเมอิก (Aramaic alphabet) พัฒนาขึ้นในช่วง 1,000 - 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเข้ามาแทนที่อักษรรูปลิ่มของอัสซีเรียซึ่งเป็นระบบการเขียนหลักของจักรวรรดิอัสซีเรีย อักษรนี้เป็นต้นกำแนิดของอักษรตระกูลเซมิติกอื่น ๆ และอาจเป็นต้นกำเนิดของอักษรขโรษฐี ที่ใช้ในแถบเอเชียกลางแถบแคว้นคันธาระและพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช อักษรแอราเมอิกยุคแรกเริ่มถูกแทนที่ด้วยอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยม ที่รู้จักต่อมาในชื่ออักษรแอราเมอิก.

ใหม่!!: อักษรไทยและอักษรแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: อักษรไทยและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเขมร

ตัวอย่างอักษรเขมรสองแบบ อักษรเขมร (អក្សរខ្មែរ)​ ​คือรูปอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรหลังปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1200-1400) ซึ่งเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1100-1200) อีกต่อหนึ่ง อักษรปัลลวะนี้ เป็นอักษรที่มาจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งเป็นชุดอักษรที่มีกำเนิดมาจากอักษรพราหมี ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พุทธศตวรรษที่ 3) จารึกอักษรเขมรเก่าสุด พบที่ปราสาทโบเร็.ตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ อายุราว..

ใหม่!!: อักษรไทยและอักษรเขมร · ดูเพิ่มเติม »

อัญประกาศ

อัญประกาศ หรือ เครื่องหมายคำพูด เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากล ใช้เขียนสกัดข้างหน้าและข้างหลังของ อักษร คำ วลี หรือประโยค ที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ ให้ดูแตกต่างจากข้อความที่อยู่รอบข้าง ลักษณะคล้ายลูกน้ำแต่เขียนไว้ข้างบน (บางภาษาเขียนไว้ข้างล่างก็มี) มักเขียนเป็นคู่เรียกว่า อัญประกาศคู่ ข้างหน้าเขียนหัวคว่ำ ข้างหลังเขียนหัวหงาย (“ ”) หรือปรากฏเป็น อัญประกาศเดี่ยว (‘ ’) บางครั้งอาจพบการใช้ขีดตั้งเล็ก ๆ เพื่อความสะดวก (" " หรือ ' ').

ใหม่!!: อักษรไทยและอัญประกาศ · ดูเพิ่มเติม »

อัศเจรีย์

อัศเจรีย์ เป็นเครื่องหมายวรรคตอน หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า exclamation point และ exclamation mark ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือ ประโยคที่เป็นคำอุทาน หรือใช้เขียนไว้หลังคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ เพื่อให้ผู้อ่านทำเสียงได้เหมาะกับเหตุการณ์ในเรื่องนั้น ๆ เช่น อุ้ย! มีเงาอะไรผ่านหน้าไป.

ใหม่!!: อักษรไทยและอัศเจรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

อัฒภาค

วามหมายอื่น ที่เป็นชื่อวงดนตรีเซมิโคล่อน ดูที่ เซมิโคล่อน อัฒภาค หรือ จุดครึ่ง เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า เซมิโคลอน หรือ เซไมโคลอน (semicolon).

ใหม่!!: อักษรไทยและอัฒภาค · ดูเพิ่มเติม »

อังคั่น

อังคั่น เป็นชื่อเรียกรวมของเครื่องหมายวรรคตอนโบราณ แบ่งเป็นอังคั่นเดี่ยวและอังคั่นคู่ อังคั่นเดี่ยว หรือ คั่นเดี่ยว หรือ ขั้นเดี่ยว (ฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อจบบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว ใช้สัญลักษณ์เดียวกันกับไปยาลน้อย ปัจจุบันมีอังคั่นเดี่ยวให้เห็นในหนังสือวรรณคดีและตำราเรียนภาษาไทยเท่านั้น อังคั่นคู่ หรือ คั่นคู่ หรือ ขั้นคู่ (๚) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนปรากฏในหนังสือไทยโบราณ ใช้ในบทกวีต่างๆ โดยมีไว้ใช้จบตอน นอกจากนี้ยังมีการใช้อังคั่นคู่กับเครื่องหมายอื่น ได้แก่ อังคั่นวิสรรชนีย์ (ฯะ, ๚ะ) ใช้เมื่อจบบทกวี และ อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) ใช้จบบริบูรณ์ อังคั่นคู่ไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xFA (250) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E5A.

ใหม่!!: อักษรไทยและอังคั่น · ดูเพิ่มเติม »

จารึกพ่อขุนรามคำแหง

รึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ลักษณะของตัวอักษรไทยที่ใช้ในจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือ จารึกหลักที่ 1 เป็นศิลาจารึกที่บันทึกประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย ศิลาจารึกนี้ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ขณะผนวชอยู่เป็นผู้ทรงค้นพบเมื่อวันกาบสี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3..

ใหม่!!: อักษรไทยและจารึกพ่อขุนรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

จุลภาค

, _,.

ใหม่!!: อักษรไทยและจุลภาค · ดูเพิ่มเติม »

จุดไข่ปลา

ปลา (ellipsis) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปจะเขียนเพียงสามจุด หากเขียนเยอะกว่านั้นจะเรียกว่า เส้นประ, จุดประ, ปร.

ใหม่!!: อักษรไทยและจุดไข่ปลา · ดูเพิ่มเติม »

ทวิภาค

ทวิภาค หรือ จุดคู่ คลังความรู้ออนไลน์ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นจุดสองจุดเรียงตามแนวตั้ง.

ใหม่!!: อักษรไทยและทวิภาค · ดูเพิ่มเติม »

ทับ (แก้ความกำกวม)

ทับ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อักษรไทยและทับ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ทัณฑฆาต

ทัณฑฆาต (-์) บ้างเรียก หางกระแต หรือ วัญฌการ มีสัณฐานเหมือนหางกระรอก ใช้เติมเหนือพยัญชนะ พร้อมด้วยสระบนและสระล่าง ที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง แต่ต้องการคงรูปแบบตัวอักษรไว้ หรือไม่สามารถออกเสียงได้ในภาษาไทย ตัวอักษรที่เติมไม้ทัณฑฆาตเรียกว่าการันต์ แปลว่า "อักษรตัวสุดท้าย" ส่วนใหญ่คำที่ปรากฏทัณฑฆาตจะเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศหรือคำทับศัพท์ บางคนเขียนทัณฑฆาตคล้ายเลขไทย (๙) สำหรับสะกดคำสำหรับภาษาบาลี-สันสกฤต ก็ใช้ทัณฑฆาตในการสะกดคำ เช่นคำว่า สิน์ธู (อ่านว่า สิน-ทู) เพื่อให้ทราบว่า น เป็นตัวสะกด แต่การสะกดคำบาลี-สันสกฤตส่วนใหญ่จะใช้พินทุ (-ฺ) แทน คำที่ปรากฏทัณฑฆาตแต่ยังคงออกเสียงพยัญชนะอยู่โดยมากเป็นคำเก่า เช่น สิริกิติ์ (อ่านว่า สิ-หฺริ-กิด), โลกนิติ์ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) และ สุรเกียรติ์ (อ่านว่า สุ-ระ-เกียด).

ใหม่!!: อักษรไทยและทัณฑฆาต · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขอารบิก

ลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์ตัวเลขที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก และนับว่าเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน มีหลักฐานพอที่จะสืบประวัติไปได้ ว่า เกิดริเริ่มเป็นกำหนดนับแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน จากนักปราชญ์แห่งอาหรับ ชาวแบกแดด (อิรัก) ชื่อ มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ ซึ่งมีช่วงชีวิตในประวัติศาสตร์ราว ปี..

ใหม่!!: อักษรไทยและตัวเลขอารบิก · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขไทย

ตัวเลขไทย เป็นอักษรตัวเลขที่ใช้แสดงจำนวนนับในภาษาไทย ประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม และมีต้นตอมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เช่นเดียวกับเลขอารบิก เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่ใช้ระบบจำนวนนับเป็นเลขฐานสิบ และมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐาน จากอดีตสู่ปัจจุบันน้อยมาก ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ตัวเลขไทยมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐานน้อยมาก.

ใหม่!!: อักษรไทยและตัวเลขไทย · ดูเพิ่มเติม »

ตำแหน่งเกิดเสียง

ตำแหน่งเกิดเสียง:1. ริมฝีปาก ด้านนอก (Exo-labial) 2. ริมฝีปาก ด้านใน (Endo-labial) 3. ฟัน (Dental) 4. ปุ่มเหงือก (Alveolar) 5. หลังปุ่มเหงือก (Post-alveolar) 6. หน้าเพดานแข็ง (Pre-palatal) 7. เพดานแข็ง (Palatal) 8. เพดานอ่อน (Velar) 9. ลิ้นไก่ (Uvular) 10. ช่องคอ (Pharyngeal) 11. เส้นเสียง (Glottal) 12. ลิ้นปิดกล่องเสียง (Epiglottal) 13. โคนลิ้นในช่องคอ (Radical) 14. ผนังลิ้นส่วนหลัง (Postero-dorsal) 15. ผนังลิ้นส่วนหน้า (Antero-dorsal) 16. ปลายลิ้น (Laminal) 17. ปลายสุดลิ้น (Apical) 18. ใต้ปลายสุดลิ้น (Sub-apical) ตำแหน่งเกิดเสียง (place of articulation, point of articulation) ในทางสัทศาสตร์ เป็นตำแหน่งกำเนิดเสียงพยัญชนะ คือตำแหน่งในช่องเสียง (vocal tract) ที่เกิดการกีดขวาง จากการเคลื่อนตำแหน่งของกรณ์ (โดยปกติคือ บางส่วนของลิ้น) และฐาน (ปกติคือ บางส่วนของเพดานปาก) โดยเมื่อรวมกับลักษณะการออกเสียง (manner of articulation) และการเปล่งเสียงพูด (phonation) ทำให้เกิดเสียงพยัญชนะที่แตกต่างกัน.

ใหม่!!: อักษรไทยและตำแหน่งเกิดเสียง · ดูเพิ่มเติม »

ตีนครุ

ตีนครุ หรือ ตีนกา (┼) คือเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่งของไทยในสมัยโบราณ มีลักษณะคล้ายเครื่องหมายบวกแต่ใหญ่กว่า ใช้สำหรับบอกจำนวนเงินตรา โดยใช้ตัวเลขกำกับไว้ 6 ตำแหน่งบนเครื่องหมาย ได้แก่ เหนือเส้นตั้งคือชั่ง มุมบนซ้ายคือตำลึง มุมบนขวาคือบาท มุมล่างขวาคือสลึง มุมล่างซ้ายคือเฟื้อง และใต้เส้นตั้งคือไพ วิธีอ่านจะอ่านจาก ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ไพ ตามลำดับ จากรูปตัวอย่าง สามารถอ่านจำนวนเงินได้เท่ากับ 2 ชั่ง 4 ตำลึง 3 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง 2 ไพ สำหรับจำนวนเงินที่มีเฉพาะ ตำลึง บาท สลึง หรือเฟื้อง สามารถเขียนย่อให้เหลือเพียงมุมใดมุมหนึ่งได้ เช่น หมายถึงจำนวนเงิน 3 สลึง เป็นต้น หมายเหตุ: ปัจจุบันนี้แพทย์แผนโบราณใช้เครื่องหมายนี้เป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.

ใหม่!!: อักษรไทยและตีนครุ · ดูเพิ่มเติม »

ตีนคู้

ตีนคู้ (-ู) ใช้เป็นสระ อู เมื่ออยู่ใต้พยัญชนะต้น ถ้าพยัญชนะต้นเป็น ญ หรือ ฐ เชิงของอักษรเหล่านั้นจะถูกตัดออก กลายเป็น ญู และ ฐู.

ใหม่!!: อักษรไทยและตีนคู้ · ดูเพิ่มเติม »

ตีนเหยียด

ตีนเหยียด (-ุ) ใช้เป็นสระ อุ เมื่ออยู่ใต้พยัญชนะต้น ถ้าพยัญชนะต้นเป็น ญ หรือ ฐ เชิงของอักษรเหล่านั้นจะถูกตัดออก กลายเป็น ญุ แล.

ใหม่!!: อักษรไทยและตีนเหยียด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: อักษรไทยและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปรัศนี

ปรัศนี หรือ เครื่องหมายคำถาม หรือ เครื่องหมายสงสัย (question mark) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะตล้ายตะขอหันทางซ้ายและมีจุดอยู่ข้างล่าง มีการใช้ดังนี้.

ใหม่!!: อักษรไทยและปรัศนี · ดูเพิ่มเติม »

นิคหิต

นิคหิต (ป. นิคฺคหีต) หรือ นฤคหิต (ส. นิคฺฤหีต) หรือ หยาดน้ำค้าง (-ํ) มีลักษณะเป็นวงกลมเล็กๆ ใช้ประสมสระ อึ และ อำ ในการเขียนภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมรด้วยอักษรไทย ใช้นิคหิตเติมเหนือพยัญชนะแทนเสียง ง และ ม เช่น เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน, ชุนุ อ่านว่า ชุมนุม นอกจากนี้ในภาษาสันสกฤตจะใช้นิคหิตแทนเสียง อะ,อิ,อุ อีกด้วย ตัวอย่างเช่น อมตะ -> อมฺฤต, นิคหิต -> นฤคหิต, ปุจฺฉา -> ปฤจฺฉา ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า อนุสวาร (เทวนาครี अनुस्वार, อนุสวาร (อนุ + สฺวาร) หมายถึง เสียงข้างหลัง) เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำกับเสียงนาสิก การออกเสียงขึ้นกับสระที่อยู่ข้างหน้า เช่น ผลํ ออกเสียง ผะลัม, ปุริ ออกเสียง ปุริม, มีมำสา ออกเสียง มีมามสา เป็นต้น ในภาษาอินเดียจำนวนหนึ่ง มีการใช้เครื่องหมายดังกล่าว โดยมากเป็นวงกลมขนาดเล็กวางไว้เหนือพยัญชนะ แต่อาจใช้รูปแบบอื่นๆ ได้ตามชนิดของอักษร และการออกเสียงแตกต่างกันไปตามแต่ระบบเสียงในภาษานั้น.

ใหม่!!: อักษรไทยและนิคหิต · ดูเพิ่มเติม »

นขลิขิต

นขลิขิต หรือ วงเล็บ เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง มีลักษณะโค้งเหมือนรอยเล็บ เครื่องหมายด้านซ้ายเรียกว่า วงเล็บเปิด ส่วนด้านขวาเรียกว่า วงเล็บปิด (สำหรับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้ายก็จะเรียกกลับกัน) ปกติใช้สำหรับคลุมข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น.

ใหม่!!: อักษรไทยและนขลิขิต · ดูเพิ่มเติม »

โคมูตร

มูตร (โค-มูด) หรือ เยี่ยววัว (๛) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนไทยโบราณ ใช้เมื่อเติมท้ายเมื่อจบบทหรือจบเล่ม พบได้ในหนังสือ หรือบทกลอนรุ่นเก่า ถ้าใช้คู่กับอังคั่นคู่และวิสรรชนีย์ จะเป็น อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) ซึ่งหมายถึงจบบริบูรณ์ โคมูตรไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xFB (251) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E5B.

ใหม่!!: อักษรไทยและโคมูตร · ดูเพิ่มเติม »

ไม้มลาย

ม้มลาย (ไ) ใช้เป็นสระ ไอ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะต้น.

ใหม่!!: อักษรไทยและไม้มลาย · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ม้วน

ตนา ไม้ม้วน (ใ) ใช้เป็นสระ ใอ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะต้น.

ใหม่!!: อักษรไทยและไม้ม้วน · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ยมก

ม้ยมก หรือ ยมก (ๆ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนภาษาไทย มีลักษณะคล้ายเลขไทย (๒) ที่หางชี้ลงล่าง แต่เดิมนั้นไม้ยมกกับเลข ๒ เขียนอย่างเดียวกัน ไม้ยมกใช้กำกับหลังคำที่ต้องการอ่านซ้ำ เช่น "มาก ๆ" อ่านว่า "มากมาก".

ใหม่!!: อักษรไทยและไม้ยมก · ดูเพิ่มเติม »

ไม้หันอากาศ

ม้หันอากาศ, ไม้ผัด หรือ หางกังหัน (-ั) ใช้เป็นสระ อะ ลดรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด และใช้ประสมสระ อัวะ และ อัว แต่เดิมในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมิได้ใช้ไม้หันอากาศหรือสัญลักษณ์อื่น เมื่อต้องการสะกดสระอะที่มีพยัญชนะสะกด จะซ้อนพยัญชนะสะกดเข้าไปอีกตัวหนึ่งเช่น, รวมไปถึงสระอัวก็ใช้ ว ซ้อนสองตัวเช่น, ไม้หันอากาศเริ่มปรากฏใช้ในจารึกหลักที่ 5 ในรัชสมัยพระยาลิไท เมื่อ..

ใหม่!!: อักษรไทยและไม้หันอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ไม้หน้า

ม้หน้า (เ) ใช้เป็นสระ เอ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะต้น และใช้ประสมสระ เอะ แอะ แอ เอาะ เอียะ เอีย เอือะ เอือ เออะ เออ และ เอา สำหรับยูนิโคดของ เ นั้น คือ U+0E40 ในรหัสคอมพิวเตอร์มีรูปแบบ ไม้หน้าสองรูป (แ) สำหรับใช้แทนสระแอะ-แอโดยตรง ซึ่งพัฒนามาจากอักษรบนแป้นพิมพ์ดีด เพราะหากพิมพ์ไม้หน้าสองครั้ง ตัวหนังสือจะห่างกัน สำหรับยูนิโคดของ แ นั้น คือ U+0E41.

ใหม่!!: อักษรไทยและไม้หน้า · ดูเพิ่มเติม »

ไม้โอ

ม้โอ (โ) ใช้เป็นสระ โอ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะต้น และใช้ประสมสระ โอะ แบบไม่มีพยัญชนะสะก.

ใหม่!!: อักษรไทยและไม้โอ · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ไต่คู้

ม้ไต่คู้ (–็) มีลักษณะคล้ายเลขไทย (๘) ปกติใช้แทนสระเสียงสั้นลดรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น เล็ก แป็ก น็อก เป็นต้น อักษรเขมรมีรูปสระที่คล้ายไม้ไต่คู้ เรียกว่า อสฺฎา (แปด) ใช้แสดงการเพิ่มน้ำเสียงสำหรับคำที่มีพยัญชนะตัวเดียว.

ใหม่!!: อักษรไทยและไม้ไต่คู้ · ดูเพิ่มเติม »

ไตรยางศ์

ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.

ใหม่!!: อักษรไทยและไตรยางศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไปยาลน้อย

ปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย (ฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่งในการเขียนภาษาไทย ใช้ย่อคำเพื่อให้เขียนสั้นลง โดยเขียนแต่ส่วนหน้า ละส่วนหลังเอาไว้ แล้วใส่ไปยาลน้อยไว้แทน ยังไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน คำว่า ไปยาล มาจากคำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ.

ใหม่!!: อักษรไทยและไปยาลน้อย · ดูเพิ่มเติม »

ไปยาลใหญ่

ปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่ (ฯลฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่ง ในการเขียนภาษาไทย มีรูปเป็นอักษรไทย ล ที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายไปยาลสองตัว ใช้ละคำต่อท้ายที่ยังมีอีกมาก ยังไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน คำว่า ไปยาล มาจาก คำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ ซึ่งเมื่อเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทย จะใช้ ฯเปฯ ในคำสวดแทน.

ใหม่!!: อักษรไทยและไปยาลใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เสียงพยัญชนะกัก

เสียงพยัญชนะกัก หรือ เสียงพยัญชนะหยุด หรือ เสียงพยัญชนะระเบิด เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดจากการปิดกั้นการไหลของอากาศในช่องปาก แล้วเปิดให้อากาศออกทางปาก อวัยวะในช่องปากจะปิดกั้นตามตำแหน่งต่าง ๆ ทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน แม้คำว่าเสียงระเบิด (plosive) กับเสียงหยุด (stop) สามารถใช้แทนกันได้ แต่ก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เสียงระเบิดคือการปิดกั้นอากาศด้วยริมฝีปากแล้วดันอากาศออก ส่วนเสียงหยุดคือการปิดกั้นแต่ไม่ดันอากาศ หรืออีกความหมายหนึ่งอาจหมายถึงเสียงพยัญชนะนาสิกที่ปล่อยอากาศทางจมูกแทน กัก.

ใหม่!!: อักษรไทยและเสียงพยัญชนะกัก · ดูเพิ่มเติม »

เสียงพยัญชนะนาสิก

ียงพยัญชนะนาสิก เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดจากการหย่อนเพดานอ่อนในปาก แล้วปล่อยอากาศอย่างอิสระออกทางจมูก อวัยวะในช่องปากรูปแบบต่าง ๆ ทำหน้าที่สั่นพ้องเสียงให้ก้อง แต่อากาศจะไม่ออกมาทางช่องปากเพราะถูกกักด้วยริมฝีปากหรือลิ้น นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะอื่นที่ออกเสียงขึ้นจมูก (nasalized) ซึ่งพบได้ยาก.

ใหม่!!: อักษรไทยและเสียงพยัญชนะนาสิก · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก เส้นเสียง

เสียงกัก เส้นเสียง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ ? เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร อ หรือปรากฏหลังสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: อักษรไทยและเสียงกัก เส้นเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง

เสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ h เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ห และ ฮ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: อักษรไทยและเสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก

เสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ l เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ล และ ฬ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: อักษรไทยและเสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายวรรคตอน

รื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเขียนอักษรในภาษาหนึ่ง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งวรรคตอน มักจะไม่เกี่ยวกับระบบเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น ในแต่ละภาษาจะมีเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ กัน และมีกฎเกณฑ์การใช้ต่าง ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้ภาษานั้นจะต้องทราบ และใช้ตามกฎที่ปฏิบัติกันมา เพื่อให้มีความเข้าใจในภาษาไปในทางเดียวกัน.

ใหม่!!: อักษรไทยและเครื่องหมายวรรคตอน · ดูเพิ่มเติม »

TIS-620

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 620-2533, มอก.620-2533, หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า TIS-620 เป็นชุดอักขระมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย มีชื่อเต็มว่า รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ รหัส TIS-620 มีรายละเอียดคล้ายรหัส ISO-8859-11 มาก แตกต่างกันแค่เพียงที่ ISO-8859-11 กำหนดให้ A0 เป็น "เว้นวรรคแบบไม่ตัดคำ" (no-break space) ส่วน TIS-620 นั้นแม้จะสงวนตำแหน่ง A0 เอาไว้ แต่ก็ไม่ได้กำหนดค่าใด ๆ ให้ TIS-620 x0x1x2x3x4x5x6x7x8x9xAxBxCxDxExF 0xไม่ได้ใช้ 1x 2xSP!"#$%&'()*+,-./ 3x0123456789:;<.

ใหม่!!: อักษรไทยและTIS-620 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Thai alphabetวรรณยุกต์ภาษาไทยวรรณยุกต์ไทยสระอัวสระไทยสระเอียอักษรกลางอักษรสูงอักษรต่ำพยัญชนะไทย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »