โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เครื่องหมายวรรคตอน

ดัชนี เครื่องหมายวรรคตอน

รื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเขียนอักษรในภาษาหนึ่ง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งวรรคตอน มักจะไม่เกี่ยวกับระบบเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น ในแต่ละภาษาจะมีเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ กัน และมีกฎเกณฑ์การใช้ต่าง ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้ภาษานั้นจะต้องทราบ และใช้ตามกฎที่ปฏิบัติกันมา เพื่อให้มีความเข้าใจในภาษาไปในทางเดียวกัน.

8 ความสัมพันธ์: ฟองมันยามักการอังคั่นทัณฑฆาตโคมูตรไม้ยมกไปยาลน้อยไปยาลใหญ่

ฟองมัน

ฟองมัน หรือ ตาไก่ (๏) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อขึ้นต้นบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว โดยไม่จำเป็นต้องย่อหน้าหรือขึ้นบรรทัดใหม่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้นิยมใช้ฟองมันเมื่อขึ้นต้นบทร้อยกรองเท่านั้น นอกจากเครื่องหมายฟองมันที่เป็นรูปวงกลมแล้ว ในสมัยโบราณยังนิยมใช้เครื่องหมาย ฟองมันฟันหนู นั่นคือ มีเครื่องหมาย ฟันหนู (") วางอยู่บนฟองมัน ใช้กำกับเมื่อจะขึ้นต้นบท หรือตอน โดยมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น ฟันหนูฟองมัน หรือ ฝนทองฟองมัน บางแห่งใช้เครื่องหมายวงกลมเล็ก มีฟันหนูวางอยู่ข้างบน เรียกว่า ฟองดัน ก็มี ฟองมันไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xEF (239) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E4F.

ใหม่!!: เครื่องหมายวรรคตอนและฟองมัน · ดูเพิ่มเติม »

ยามักการ

มักการ หรือ ยามักการ์ (-๎) มีลักษณะคล้ายเลขอารบิก 3 ที่กลับด้าน (Ɛ) ใช้เติมเหนือพยัญชนะ ที่ต้องการระบุว่าพยัญชนะใดเป็นอักษรนำ หรืออักษรควบกล้ำ เช่น ส๎วากฺขาโต (สะ-หวาก-ขา-โต) พ๎ราห๎มณ (พราม-มะ-นะ) ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายทัณฑฆาต (-์) แต่ยังสามารถพบได้ในหนังสือมนต์พิธี (หนังสือสวดมนต์) ตำราเรียนเก่า ๆ หรือการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยของบางสำนักพิม.

ใหม่!!: เครื่องหมายวรรคตอนและยามักการ · ดูเพิ่มเติม »

อังคั่น

อังคั่น เป็นชื่อเรียกรวมของเครื่องหมายวรรคตอนโบราณ แบ่งเป็นอังคั่นเดี่ยวและอังคั่นคู่ อังคั่นเดี่ยว หรือ คั่นเดี่ยว หรือ ขั้นเดี่ยว (ฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อจบบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว ใช้สัญลักษณ์เดียวกันกับไปยาลน้อย ปัจจุบันมีอังคั่นเดี่ยวให้เห็นในหนังสือวรรณคดีและตำราเรียนภาษาไทยเท่านั้น อังคั่นคู่ หรือ คั่นคู่ หรือ ขั้นคู่ (๚) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนปรากฏในหนังสือไทยโบราณ ใช้ในบทกวีต่างๆ โดยมีไว้ใช้จบตอน นอกจากนี้ยังมีการใช้อังคั่นคู่กับเครื่องหมายอื่น ได้แก่ อังคั่นวิสรรชนีย์ (ฯะ, ๚ะ) ใช้เมื่อจบบทกวี และ อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) ใช้จบบริบูรณ์ อังคั่นคู่ไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xFA (250) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E5A.

ใหม่!!: เครื่องหมายวรรคตอนและอังคั่น · ดูเพิ่มเติม »

ทัณฑฆาต

ทัณฑฆาต (-์) บ้างเรียก หางกระแต หรือ วัญฌการ มีสัณฐานเหมือนหางกระรอก ใช้เติมเหนือพยัญชนะ พร้อมด้วยสระบนและสระล่าง ที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง แต่ต้องการคงรูปแบบตัวอักษรไว้ หรือไม่สามารถออกเสียงได้ในภาษาไทย ตัวอักษรที่เติมไม้ทัณฑฆาตเรียกว่าการันต์ แปลว่า "อักษรตัวสุดท้าย" ส่วนใหญ่คำที่ปรากฏทัณฑฆาตจะเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศหรือคำทับศัพท์ บางคนเขียนทัณฑฆาตคล้ายเลขไทย (๙) สำหรับสะกดคำสำหรับภาษาบาลี-สันสกฤต ก็ใช้ทัณฑฆาตในการสะกดคำ เช่นคำว่า สิน์ธู (อ่านว่า สิน-ทู) เพื่อให้ทราบว่า น เป็นตัวสะกด แต่การสะกดคำบาลี-สันสกฤตส่วนใหญ่จะใช้พินทุ (-ฺ) แทน คำที่ปรากฏทัณฑฆาตแต่ยังคงออกเสียงพยัญชนะอยู่โดยมากเป็นคำเก่า เช่น สิริกิติ์ (อ่านว่า สิ-หฺริ-กิด), โลกนิติ์ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) และ สุรเกียรติ์ (อ่านว่า สุ-ระ-เกียด).

ใหม่!!: เครื่องหมายวรรคตอนและทัณฑฆาต · ดูเพิ่มเติม »

โคมูตร

มูตร (โค-มูด) หรือ เยี่ยววัว (๛) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนไทยโบราณ ใช้เมื่อเติมท้ายเมื่อจบบทหรือจบเล่ม พบได้ในหนังสือ หรือบทกลอนรุ่นเก่า ถ้าใช้คู่กับอังคั่นคู่และวิสรรชนีย์ จะเป็น อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) ซึ่งหมายถึงจบบริบูรณ์ โคมูตรไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xFB (251) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E5B.

ใหม่!!: เครื่องหมายวรรคตอนและโคมูตร · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ยมก

ม้ยมก หรือ ยมก (ๆ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนภาษาไทย มีลักษณะคล้ายเลขไทย (๒) ที่หางชี้ลงล่าง แต่เดิมนั้นไม้ยมกกับเลข ๒ เขียนอย่างเดียวกัน ไม้ยมกใช้กำกับหลังคำที่ต้องการอ่านซ้ำ เช่น "มาก ๆ" อ่านว่า "มากมาก".

ใหม่!!: เครื่องหมายวรรคตอนและไม้ยมก · ดูเพิ่มเติม »

ไปยาลน้อย

ปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย (ฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่งในการเขียนภาษาไทย ใช้ย่อคำเพื่อให้เขียนสั้นลง โดยเขียนแต่ส่วนหน้า ละส่วนหลังเอาไว้ แล้วใส่ไปยาลน้อยไว้แทน ยังไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน คำว่า ไปยาล มาจากคำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ.

ใหม่!!: เครื่องหมายวรรคตอนและไปยาลน้อย · ดูเพิ่มเติม »

ไปยาลใหญ่

ปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่ (ฯลฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่ง ในการเขียนภาษาไทย มีรูปเป็นอักษรไทย ล ที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายไปยาลสองตัว ใช้ละคำต่อท้ายที่ยังมีอีกมาก ยังไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน คำว่า ไปยาล มาจาก คำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ ซึ่งเมื่อเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทย จะใช้ ฯเปฯ ในคำสวดแทน.

ใหม่!!: เครื่องหมายวรรคตอนและไปยาลใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วรรคตอน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »