เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ดัชนี ฦ

ฦ หรือ ตัวลึ สามารถใช้เป็นสระลอย ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ล และก่อนหน้า ฦๅ, ว อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "ลฺริ" ปัจจุบัน ไม่นิยมใช้ตัว ฦ คำต่าง ๆ ที่เคยใช้ ฦ ได้เปลี่ยนไปใช้ ฤ หรือ "ลึ" แทน เช่น.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: พจนานุกรมภาษาไทยภาษาสันสกฤตฦๅ

พจนานุกรมภาษาไทย

นานุกรมภาษาไทย หมายถึงพจนานุกรมที่เรียงลำดับตามดัชนีของศัพท์ภาษาไทย หรือพจนานุกรมที่ให้การจำกัดความเป็นภาษาไทย หรือทั้งสองอย่าง พจนานุกรมภาษาไทยที่เป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบันคือ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.

ดู ฦและพจนานุกรมภาษาไทย

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ดู ฦและภาษาสันสกฤต

หรือ ตัวรึ สามารถใช้เป็นสระลอย ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ร และก่อนหน้า ฤๅ, ล อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "ริ" เมื่อ ฤ ถูกประสมเข้ากับตัวอักษรต่าง ๆ แล้วประกอบเป็นคำในภาษาไทย ฤ จะออกเสียงได้ดังนี้.

ดู ฦและฤ

ล (ลิง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 36 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ร (เรือ) และก่อนหน้า ว (แหวน) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ล ลิง” อักษร ล เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /l/ พยัญชนะตัวสะกด ให้เสียง /n/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /l/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด หมวดหมู่:อักษรไทย.

ดู ฦและล

ฦๅ

ฦๅ หรือ ตัวลือ สามารถใช้เป็นสระลอย ไม่มีพยัญชนะสะกด ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ล, ฦ และก่อนหน้า ว อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "ลฺรี" เดิมตำราหลักภาษาไทยมักกำหนดให้ "ฦ" และ "ฦๅ" เป็นสระ ตามหลักอักขรวิธีในภาษาสันสกฤต แต่การใช้ "ฦๅ" ในภาษาไทยนั้น ใช้เป็นคำๆ หาได้ใช้อย่างสระเพื่อประสมกับพยัญชนะอย่างในสันสกฤตไม่ ดังนั้นในตำราภาษาไทยรุ่นใหม่ จึงไม่จัด ฦๅ เป็นสระ ส่วนทางภาษาศาสตร์นั้น ถือว่า ฦๅ เป็นพยางค์ที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย พยัญชนะ (ล) และสระ (อือ) จึงไม่ใช่เป็นสระหรือพยัญชนะ แต่โดยทั่วไป ในแผนผังอักษรไทย ก็ยังจำแนกไว้ตามแบบเดิม ถึงแม้ภาษาสันสกฤตจะถือว่า ฦๅ (และ ฦ) เป็นสระตัวหนึ่ง ใช้ประสมกับพยัญชนะอื่นได้ แต่ก็ปรากฏอยู่น้อยคำ เช่น "ฦๅ" หมายถึง พระฦๅ เป็นมารดาของเหล่าทานพ, ชายาของไทตย เป็นต้น แต่ในคำศัพท์ภาษาไทย เท่าที่ปรากฏในพจนานุกรม เสียง ฦๅ มีใช้กับคำไทยโบราณเท่านั้น ซึ่งมีจำนวนน้อยคำ ใช้ในหนังสือเก่า คำต่าง ๆ ที่เคยใช้ ฦๅ ได้เปลี่ยนไปใช้ ฤ, ฤๅ หรือ "ลือ" แทน เช่น.

ดู ฦและฦๅ

ว (แหวน) เป็นพยัญชนะตัวที่ 37 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ล (ลิง) และก่อนหน้า ศ (ศาลา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ว แหวน” อักษร ว เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /w/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /w/ รูปสระ ตัววอ (ว) ยังสามารถใช้เป็นสระอัว เมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น สวน และใช้ประสมสระอัวะ และ อัว.

ดู ฦและว

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตัวลึ