เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ยามักการ

ดัชนี ยามักการ

มักการ หรือ ยามักการ์ (-๎) มีลักษณะคล้ายเลขอารบิก 3 ที่กลับด้าน (Ɛ) ใช้เติมเหนือพยัญชนะ ที่ต้องการระบุว่าพยัญชนะใดเป็นอักษรนำ หรืออักษรควบกล้ำ เช่น ส๎วากฺขาโต (สะ-หวาก-ขา-โต) พ๎ราห๎มณ (พราม-มะ-นะ) ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายทัณฑฆาต (-์) แต่ยังสามารถพบได้ในหนังสือมนต์พิธี (หนังสือสวดมนต์) ตำราเรียนเก่า ๆ หรือการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยของบางสำนักพิม.

สารบัญ

  1. 4 ความสัมพันธ์: พยัญชนะอักษรนำทัณฑฆาตตัวเลขอารบิก

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ดู ยามักการและพยัญชนะ

อักษรนำ

อักษรนำ หมายถึง พยัญชนะสองตัวเรียงกัน และผสมในสระเดียวกัน อักษรนำ คล้ายคลึงกับคำควบกล้ำ แต่คำควบกล้ำแท้จะประสานเสียงที่ออกสนิทกว่าอักษรนำ ในขณะที่คำควบกล้ำไม่แท้จะไม่ออกเสียงตัวควบกล้ำหรือเปลี่ยนเป็นเสียงอื่นเล.

ดู ยามักการและอักษรนำ

ทัณฑฆาต

ทัณฑฆาต (-์) บ้างเรียก หางกระแต หรือ วัญฌการ มีสัณฐานเหมือนหางกระรอก ใช้เติมเหนือพยัญชนะ พร้อมด้วยสระบนและสระล่าง ที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง แต่ต้องการคงรูปแบบตัวอักษรไว้ หรือไม่สามารถออกเสียงได้ในภาษาไทย ตัวอักษรที่เติมไม้ทัณฑฆาตเรียกว่าการันต์ แปลว่า "อักษรตัวสุดท้าย" ส่วนใหญ่คำที่ปรากฏทัณฑฆาตจะเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศหรือคำทับศัพท์ บางคนเขียนทัณฑฆาตคล้ายเลขไทย (๙) สำหรับสะกดคำสำหรับภาษาบาลี-สันสกฤต ก็ใช้ทัณฑฆาตในการสะกดคำ เช่นคำว่า สิน์ธู (อ่านว่า สิน-ทู) เพื่อให้ทราบว่า น เป็นตัวสะกด แต่การสะกดคำบาลี-สันสกฤตส่วนใหญ่จะใช้พินทุ (-ฺ) แทน คำที่ปรากฏทัณฑฆาตแต่ยังคงออกเสียงพยัญชนะอยู่โดยมากเป็นคำเก่า เช่น สิริกิติ์ (อ่านว่า สิ-หฺริ-กิด), โลกนิติ์ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) และ สุรเกียรติ์ (อ่านว่า สุ-ระ-เกียด).

ดู ยามักการและทัณฑฆาต

ตัวเลขอารบิก

ลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์ตัวเลขที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก และนับว่าเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน มีหลักฐานพอที่จะสืบประวัติไปได้ ว่า เกิดริเริ่มเป็นกำหนดนับแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน จากนักปราชญ์แห่งอาหรับ ชาวแบกแดด (อิรัก) ชื่อ มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ ซึ่งมีช่วงชีวิตในประวัติศาสตร์ราว ปี..

ดู ยามักการและตัวเลขอารบิก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ยามักการ์๎