โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อูบุนตู

ดัชนี อูบุนตู

อูบุนตู (Ubuntu) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others" อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 18.04 LTS ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีเกือบทั้งหมด(มีบางส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์ เช่น ไดรเวอร์โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้.

18 ความสัมพันธ์: กะโนมมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธริชาร์ด สตอลล์แมนลินุกซ์ลินุกซ์ เคอร์เนลลินุกซ์ทะเลลินุกซ์ดิสทริบิวชันสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนูตัวแบบโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์เสรีแมคโอเอสเอกซ์86-64เอกซ์เอฟซีอีเดลล์เดเบียนเคดีอีSynaptic

กะโนม

รงการ GNOME เป็นการสร้างแพลตฟอร์มทางคอมพิวเตอร์ ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยมีเป้าหมายคือสร้างชุดเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมขึ้นมาได้ง่าย รวมไปถึงสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อป (desktop environment - ซอฟต์แวร์ที่ใช้เรียกซอฟต์แวร์อื่น ทำหน้าที่จัดการกับไฟล์และระบบหน้าต่าง) มีซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ถูกพัฒนาขึ้นใต้โครงการ GNOME ซึ่งมักจะถูกนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการบางชนิด เช่น ลินุกซ์ หรือ โซลาริส เป็นต้น GNOME เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GNU และเป็นสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อปหลักของ GNU ด้วย GNOME.

ใหม่!!: อูบุนตูและกะโนม · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ

Mark Shuttleworth ขณะอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ (Mark Shuttleworth) (เกิด 18 กันยายน ค.ศ. 1973) เป็นนักธุรกิจชาวแอฟริกาใต้ และเป็นชาวแอฟริกันคนแรกที่ได้ขึ้นไปอวกาศ ชัทเทิลเวิร์ธเกิดและเติบโตในประเทศแอฟริกาใต้ ค.ศ. 1995 เขาตั้งบริษัท Thawte ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับใบรับรองดิจิทัลและความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นใน..

ใหม่!!: อูบุนตูและมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด สตอลล์แมน

ริชาร์ด สตอลล์แทน ผู้พูดรับเชิญในงานวิกิเมเนีย ริชาร์ด แมธธิว สตอลล์แมน (Richard Matthew Stallman, RMS; เกิดเมื่อ 16 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้ก่อตั้ง โครงการกนู และ มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ซอฟต์แวร์เสรีที่เขาได้เป็นผู้เริ่มเขียนตั้งแต่สมัยแรก ๆ ได้แก่ GNU Emacs, GNU C Compiler และ GNU Debugger ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมใช้กันอยู่แพร่หลาย เขาผู้ริเริ่มแนวคิด Copyleft และเป็นผู้ร่าง "สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู" GNU General Public License (GPL) ขึ้นมา และสัญญานี้ได้กลายเป็นบรรทัดฐานของสัญญาอนุญาตให้งานซอฟต์แวร์เสรีจำนวนมาก ริชาร์ด สตอลล์แมน เข้ารับการศึกษาจากเอ็มไอที แต่ได้ลาออกขณะที่ศึกษาและย้ายมาทำงานที่ เอ็มไอทีแล็บ โดยทำหน้าที่พัฒนาโปรแกรม ในระหว่างที่ทำงาน เขามีความคิดอุดมคติที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการในระบบที่ใกล้เคียงกับระบบยูนิกซ์ ให้ใช้งานได้เสรีสำหรับทุกคน โดยได้ร่วมโครงการกับแฮกเกอร์หลายคน ซึ่งในขณะที่พัฒนาเคอร์เนลและยังไม่สำเร็จนั้น ได้พบว่า ลีนุส ทอร์วัลส์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชาวฟินแลนด์ได้พัฒนาเคอร์เนล ลินุกซ์เป็นผลสำเร็จขึ้นในเวลาหกเดือน สตอลล์แมนจึงได้ติดต่อกับลีนุส และรับอาสาทำหน้าที่จัดการระบบสัญญาอนุญาตเสรี GPL ให้กับทางระบบลินุกซ.

ใหม่!!: อูบุนตูและริชาร์ด สตอลล์แมน · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: อูบุนตูและลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์ เคอร์เนล

ทักซ์ สัญลักษณ์ของลินุกซ์ ลินุกซ์ เป็นชื่อของเคอร์เนลตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เสรี ลินุกซ์พัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดย ลีนุส ทอร์วัลด์ส (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ และพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ ด้วยความช่วยเหลือจากโปรแกรมเมอร์อิสระจากทั่วโลก เดิมออกแบบสำหรับระบบที่ใช้หน่วยประมวลผล อินเทล 80386 แต่ต่อมาได้ถ่ายโอนไปยังสถาปัตยกรรมต่างๆ อีกมากมาย โดยทั่วไป นิยมใช้เคอร์เนลตัวนี้คู่กับระบบกนู ได้เป็นระบบปฏิบัติการที่สมบูรณ์คือ กนู/ลินุกซ.

ใหม่!!: อูบุนตูและลินุกซ์ เคอร์เนล · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์ทะเล

ลินุกซ์ทะเล (LinuxTLE) คือชื่อของระบบปฏิบัติการในลักษณะของลินุกซ์ที่ปัจจุบันพัฒนาต่อมาจากอูบุนตูโดยเพิ่มความสามารถภาษาไทย ปัจจุบันพัฒนาโดยเนคเทค โดยรุ่นปัจจุบันคือ ลินุกซ์ทะเล 10 รหัสว่า "อ่าวนาง" เป็นลินุกซ์ทะเลรุ่นสุดท้าย ทำมาเพื่อที่เน้นการใช้งานสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ทั้งการใช้ที่บ้าน ที่สำนักงาน ในสถานศึกษา สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์พกพา จากนั้นลินุกช์ทะเลได้ยุติบทบาทลง ด้วยการมาของ LinuxMint ที่ปัจจุบันสามารถใช้งานภาษาไทยได้อย่างเต็มรูปแบบ ชื่อ TLE ย่อมาจากคำว่า Thai Language Extension ที่หมายถึงส่วนขยายภาษาไทย เพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นชุดเผยแพร่ลินุกซ์ที่เน้นการใช้งานภาษาไทย โดยชื่อเรียก "ทะเล" นั้นเกิดจากการลากเข้าความในภายหลัง เพื่อให้ออกเสียงได้ง่าย และมีลักษณะความเป็นไทยแฝงอยู่ ลินุกซ์ทะเลได้รับการยกย่องให้เป็นดิสโทรยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์จากเว็บไซต์ดิสโทรวอตช์ ในเดือนธันวาคม 2547.

ใหม่!!: อูบุนตูและลินุกซ์ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์ดิสทริบิวชัน

ผังลินุกซ์ดิสทริบิวชัน ลินุกซ์ดิสทริบิวชัน (Linux distribution) หรือ ดิสโทร เป็นการจัดแพคเกจของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ โดยรวมระบบลินุกซ์พร้อมกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานได้สะดวก เช่น Ubuntu RedHat ลินุกซ์ทะเลและ Alien Linux เป็นต้น.

ใหม่!!: อูบุนตูและลินุกซ์ดิสทริบิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991).

ใหม่!!: อูบุนตูและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (ย่อว่า GFDL) เป็นลักษณะสัญญาอนุญาตชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) สำหรับโครงการกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ในปัจจุบันเป็นรุ่น 1.3 และเป็นสัญญาอนุญาตควบคู่กับสัญญาอนุญาต GPL เนื้อหาสัญญาทั้งหมดสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู มีลักษณะเปิดกว้าง หรือเรียกว่า copyleft โดยให้ผู้อื่นสามารถนำข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดไปใช้ได้ฟรีโดยมีเงื่อนไขว่า ผลงานที่สร้างใหม่ต้องใช้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู เช่นกัน ผลงานที่สร้างใหม่นั้นสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ แต่ถ้ามีการขายเป็นจำนวนมากจะมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมเข้ามา สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ครอบคลุมสำหรับ คู่มือคอมพิวเตอร์ ตำรา และแหล่งอ้างอิงอื่นทั้งในการเรียนการสอนและการทำงาน วิกิพีเดีย และโครงการอื่นของมูลนิธิวิกิมีเดีย เป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดของสื่ออื่นที่อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู.

ใหม่!!: อูบุนตูและสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013).

ใหม่!!: อูบุนตูและตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: อูบุนตูและซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

แมคโอเอส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อูบุนตูและแมคโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์86-64

AMD64 ถูกสร้างมาเพื่อเป็นคู่แข่งกับสถาปัตยกรรม IA64 ของบริษัทอินเทลและเอชพี ข้อแตกต่างที่สำคัญมีดังนี้.

ใหม่!!: อูบุนตูและเอกซ์86-64 · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอฟซีอี

อกซ์เอฟซีอี (Xfce) เป็น สภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อป (desktop environment) สำหรับ ยูนิกซ์ หรือระบบที่คล้ายยูนิกซ์ เช่น ลินุกซ์ โซลาริส หรือ บีเอสดี ที่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ หรือเครื่องที่ไม่เหมาะสมกับกะโนมหรือเคดีอี.

ใหม่!!: อูบุนตูและเอกซ์เอฟซีอี · ดูเพิ่มเติม »

เดลล์

ริษัท เดลล์ (Dell Inc.) เป็นบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์จากรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันทำธุรกิจในการพัฒนา ผลิตและประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล, เซิร์ฟเวอร์, อุปกรณ์สำรองข้อมูล ปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 63,000 คนทำงานอยู่ตามสาขาต่างๆ ทั่วโลก และเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์นับเป็นจำนวนเครื่องมากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: อูบุนตูและเดลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เดเบียน

ียน (Debian) เป็นชุดของซอฟต์แวร์เสรีที่พัฒนาโดยอาสาสมัครภายใต้โครงการเดเบียน ภายใต้โครงการนี้มีเดเบียนลินุกซ์ (Debian GNU/Linux) ที่ใช้ลินุกซ์เป็นเคอร์เนล และใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในโครงการ GNU ประกอบกันเป็นระบบปฏิบัติการ เดเบียนมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันแรกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้วยชุมชนล้วน ๆ โดยไม่มีเอกชนอยู่เบื้องหลัง มีการสร้างสัญญาประชาคม บทนิยามซอฟต์แวร์เสรี และแนวนโยบายที่ชัดเจนทั้งทางเทคนิคและการบริหารงาน กลายเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ต่อมา รวมถึงปริมาณแพกเกจในโครงการมากกว่า 37,000 แพกเกจ และรองรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์มากกว่า 11 ชนิด ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่คอมพิวเตอร์ฝังตัว ไปจนถึงเมนเฟรม มีลินุกซ์ดิสทริบิวชันจำนวนมากที่นำเดเบียนไปพัฒนาต่อ อย่างเช่น อูบุนตู หรือ Knoppix เป็นต้น.

ใหม่!!: อูบุนตูและเดเบียน · ดูเพิ่มเติม »

เคดีอี

KDE หรือชื่อเต็ม K Desktop Environment เป็นสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบเดสก์ท็อป (Desktop Environment) ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี พัฒนาบนทูลคิท Qt ของบริษัท Trolltech และทำงานได้บนระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์เกือบทุกรุ่น เช่น ลินุกซ์, BSD, AIX และ Solaris รวมถึงมีรุ่นที่ใช้งานได้บน Mac OS X และไมโครซอฟท์วินโดวส์ KDE มีโครงการพี่น้องที่พัฒนาไปพร้อมกันอย่าง KDevelop ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโปรแกรม และ KOffice ชุดโปรแกรมสำนักงาน ในรุ่น 4.1 ได้แก้ไขในเรื่องบั๊กทั้งหมดและหน้าตาของชุดตกแต่งพลาสมา รวมถึงการตั้งค่า TaskBar ดีมากยิ่งขึ้น และส่วนการติดต่อที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์กว่า KDE 4.0.X ปัจจุบันรุ่น 4.8.0.

ใหม่!!: อูบุนตูและเคดีอี · ดูเพิ่มเติม »

Synaptic

Synaptic เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนโดยใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้แบบ GTK+ โดยเรียกคำสั่งจากระบบแพกเกจ Advanced Packaging Tool ของระบบปฏิบัติการในตระกูลเดเบียน Synaptic มักจะใช้จัดการกับแพกเกจซอฟต์แวร์แบบ deb (อย่างไรก็ตาม มีการนำ Synaptic ไปใช้กับแพกเกจระบบอื่น เช่น RPM เป็นต้น) ผู้ใช้สามารถใช้ Synaptic ในการติดตั้ง, ลบ, อัพเกรดแพกเกจของซอฟต์แวร์ในระบบได้.

ใหม่!!: อูบุนตูและSynaptic · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

UbantuUbuntuUbuntu Linuxอุบุนตุอูบันตูอูบุนตุอูบูนตู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »