โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คลัง (โปรแกรม)

ดัชนี คลัง (โปรแกรม)

ตัวอย่างแผนภาพแสดงการเรียกใช้งานไลบรารีของโปรแกรมเล่นสื่อผสมประเภท Ogg Vorbis คลังโปรแกรม หรือ ไลบรารี (library) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือส่วนที่รวบรวมกระบวนการ (process) และฟังก์ชันย่อย (subroutine) ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะรวมซอร์สโค้ดหรือไม่ก็ได้ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนซอฟต์แวร์หรือใช้ในการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง.

11 ความสัมพันธ์: กนูรหัสต้นฉบับลินุกซ์วิทยาการคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์แมคโอเอสโฟลเดอร์โซลาริสโปรแกรมไมโครซอฟท์ วินโดวส์เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

กนู

ำหรับ กนู ที่เป็นสัตว์ป่าแอฟริกา ดูที่: เครื่องหมายการค้าของกนู โครงการ กนู (GNU) เป็นชื่อของโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ริเริ่มโดยริชาร์ด สตอลแมน เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ โครงการกนู ประกอบไปด้วย เคอร์เนล ไลบรารี คอมไพเลอร์ โปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ คำว่า กนู (IPA: /ɡəˈnuː/ เกอะนู หรือ /ˈnjuː/ นยู ในบางประเทศ) เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ มาจากคำเต็มว่า GNU's Not Unix (กนูไม่ใช่ยูนิกซ์) เพราะระบบกนูพัฒนาให้เหมือนระบบยูนิกซ์แต่ไม่ได้ใช้ซอร์สโคดของยูนิกซ์เล..

ใหม่!!: คลัง (โปรแกรม)และกนู · ดูเพิ่มเติม »

รหัสต้นฉบับ

ตัวอย่างรหัสต้นฉบับของ HTML ผสมกับ จาวาสคริปต์ รหัสต้นฉบับ หรือ รหัสต้นทาง หรือ ซอร์ซโค้ด (source code) หรืออาจจะเรียกว่า ซอร์ซ หรือ โค้ด คือข้อความที่เป็นชุดที่ถูกเขียนขึ้น และสามารถอ่านและเข้าใจได้ ใช้สำหรับภาษาโปรแกรม ในการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ รหัสต้นฉบับนิยมเก็บไว้ในไฟล์หลายไฟล์แยกจากกัน เพื่อให้ง่ายในการเรียกใช้ส่วนย่อยของคำสั่งนั้น ถึงแม้ว่ารหัสต้นฉบับถูกเขียนขึ้นในลักษณะที่ให้อ่านและแก้ไขได้ง่าย รหัสต้นฉบับจะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์โดยคอมไพเลอร์สำหรับโปรแกรมนั้น หรือ คำนวณในทันทีโดยใช้อินเตอร์พรีเตอร์เข้ามาช่ว.

ใหม่!!: คลัง (โปรแกรม)และรหัสต้นฉบับ · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: คลัง (โปรแกรม)และลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ใหม่!!: คลัง (โปรแกรม)และวิทยาการคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แ.

ใหม่!!: คลัง (โปรแกรม)และซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

แมคโอเอส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คลัง (โปรแกรม)และแมคโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

โฟลเดอร์

ตัวอย่างไอคอนของโฟลเดอร์ในเคดีอี ในคอมพิวเตอร์ โฟลเดอร์ (folder) เป็นแฟ้มข้อมูลจำลองที่เอาไว้บรรจุไฟล์คอมพิวเตอร์ ปรากฏให้เห็นเป็นสัญลักษณ์รูปแฟ้มในระบบปฏิบัติการที่มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ นอกจากในโฟลเดอร์จะใช้เก็บไฟล์ได้แล้ว ยังสามารถใช้เก็บโฟลเดอร์ด้วยกันเองได้อีกด้วย โฟลเดอร์มีชื่อเรียกอีกมากมายเช่น แคตตาล็อก (catalog) ซึ่งใช้เรียกในคอมพิวเตอร์แอปเปิล 2 และคอมพิวเตอร์คอมโมดอร์ 128 หรือ ลิ้นชัก (drawer) เป็นต้น การเรียกใช้คำสั่งแสดงไดเร็กทอรี (dir) บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไดเร็กทอรี เป็นชื่อเรียกของโฟลเดอร์เมื่อกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับระบบไฟล์ และปรากฏคำนี้มาก่อนหน้าโฟลเดอร์มาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยที่คอมพิวเตอร์ยังไม่มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ อันที่จริงแล้ว โฟลเดอร์เกิดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและจัดการกับไดเร็กทอรีได้อย่างสะดวก ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์สามารถเรียกคำว่าโฟลเดอร์กับไดเร็กทอรี ได้ในความหมายเดียวกัน เมื่อมองโครงสร้างระดับขั้นของระบบไฟล์แล้ว ไฟล์จะถูกเก็บภายในไดเร็กทอรีใด ๆ เสมอ และไดเร็กทอรีก็จะถูกเก็บอยู่ในไดเร็กทอรีขั้นที่เหนือกว่าไปเรื่อย ๆ ซึ่งรูปร่างของโครงสร้างนี้ก็คือโครงสร้างต้นไม้ คำว่าพ่อ (parent) และลูก (child) ซึ่งเป็นศัพท์ที่มาจากการอธิบายโครงสร้างต้นไม้จึงมักนำมาใช้ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างไดเร็กทอรีหนึ่ง กับไดเร็กทอรีย่อย (dubdirectory) ของมัน นอกจากนี้ จะมีไดเร็กทอรีพิเศษอยู่ไดเร็กทอรีหนึ่งซึ่งไม่มีไดเร็กทอรีขึ้นที่เหนือกว่า เรียกว่าไดเร็กทอรีราก (root directory) ซึ่งก็เทียบเคียงกับราก (root) ในโครงสร้างต้นไม้นั่นเอง.

ใหม่!!: คลัง (โปรแกรม)และโฟลเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โซลาริส

ซลาริส (Solaris) หรือในชื่อเต็ม The Solaris Operating Environment เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบยูนิกซ์ ที่พัฒนาโดย ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ระบบปฏิบัติการโซลาริส ใช้ได้กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สองแบบ คือ แบบ สปาร์ค และแบบ x86 (แบบเดียวกับในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) รุ่นแรก ๆ ของโซลาริสนั้น ใช้ชื่อว่า ซันโอเอส (SunOS) โดยมีพื้นฐานมาจากยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี แต่ต่อมาในรุ่นที่ 5 ได้เปลี่ยนมาใช้โค้ดของ ซิสเต็มส์ไฟว์ (System V) แทน และเปลี่ยนชื่อมาเป็น โซลาริส ดังเช่นในปัจจุบัน โดยเรียกโซลาริสรุ่นแรกว่า โซลาริส 2 และเปลี่ยนชื่อเรียกของซันโอเอสรุ่นก่อน ๆ เป็น โซลาริส 1.x และหลังจากโซลาริสรุ่น 2.6 ก็ได้ตัด "2." ข้างหน้าออกไป และเรียกเป็น โซลาริส 7 แทน รุ่นปัจจุบันของโซลาริสคือ โซลาริส 11 การพัฒนาบางส่วนของโซลาริสในอนาคต ขณะนี้ได้พัฒนาในโครงการ โอเพนโซลาริส (OpenSolaris) ซึ่งเป็นโครงการระบบปฏิบัติการแบบโอเพนซอร์ซ.

ใหม่!!: คลัง (โปรแกรม)และโซลาริส · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรม

ปรแกรม เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษว่า "program" ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเองมีหลายความหมาย เช่น.

ใหม่!!: คลัง (โปรแกรม)และโปรแกรม · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ใหม่!!: คลัง (โปรแกรม)และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

ร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชั่น (Berkeley Software Distribution -BSD; Berkeley Unix) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มต้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 ชื่อบีเอสดียังคงมีอยู่ในระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากดิสทริบิวชั่นนี้ เช่น FreeBSD, NetBSD, และ OpenBSD เป็นต้น บีเอสดีจัดว่าเป็นยูนิกซ์ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชันในยุคนั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสัญญาอนุญาตใช้งานของบีเอสดีนั้นไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทอื่น ๆ นำเทคโนโลยีไปพัฒนาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 80 จนสร้างความคุ้นเคยในวงกว้าง ถึงแม้ว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 90 บีเอสดีจะถูกแทนที่ด้วย System V รีลีส 4.x และ OSF/1 แต่ในระยะหลังนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้ซอร์สโค้ดที่เปิดเผยของบีเอสดีเป็นแกนหลัก.

ใหม่!!: คลัง (โปรแกรม)และเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คลังโปรแกรมไลบรารี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »