โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์

ดัชนี ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ (Unix-like operating system) เป็นคำเรียกระบบปฏิบัติการที่คล้ายคลึงกับยูนิกซ์ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องตรงตามนิยามหรือได้รับการรับรองตาม Single UNIX Specification ก็ได้ คำว่า "ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์" ครอบคลุม.

21 ความสัมพันธ์: ฟรีบีเอสดีพยางค์พีซี-บีเอสดีกนูยูนิกซ์ระบบปฏิบัติการลินุกซ์คอมแพคตัวแบบโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์เสรีแพลนไนน์แมคโอเอสแอปเปิล (บริษัท)โอเพนบีเอสดีโซลาริสไมโครซอฟท์ไอบีเอ็มเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชันเครื่องหมายการค้าเน็ตบีเอสดีHP

ฟรีบีเอสดี

ฟรีบีเอสดี (FreeBSD) คือซอฟต์แวร์เสรีซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) สืบทอดมาจาก AT&T UNIX ผ่านทางสายของ Berkeley Software Distribution (BSD) คือ 386BSD และ 4.4BSD ฟรีบีเอสดีรองรับการทำงานบนซีพียูตระกูลหลักๆ หลายตระกูลด้วยกัน นอกจากตระกูล X86 ของอินเทลที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็ยังมี DEC Alpha, UltraSPARC ของ Sun Microsystems, Itanium (IA-64), AMD64 และ PowerPC ส่วนของตระกูลรองได้แก่คอมพิวแตอร์สถาปัตยกรรมแบบ PC-98 การรองรับสำหรับตระกูล ARM และ MIPS กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา จุดเด่นที่สำคัญของฟรีบีเอสดีคือประสิทธิภาพและเสถียรภาพ โลโก้ดั้งเดิมและตัวมาสคอตของโครงการฟรีบีเอสดีคือตัวดีม่อนสีแดงซึ่ง มาร์แชล เคิร์ก แมคคูสิก (Marshall Kirk McKusick) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การพัฒนาฟรีบีเอสดีเป็นแบบเบ็ดเสร็จทั้งระบบปฏิบัติการ กล่าวคือทั้งเคอร์เนล ยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้เช่น เชลล์ และดีไวซ์ไดรเวอร์อยู่ในทรีของระบบควบคุมเวอร์ชันของซอร์สโค้ด (CVS) เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากลินุกซ์ที่มีการพัฒนาเฉพาะส่วนของเคอร์เนลโดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ส่วนของยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้พัฒนาโดยกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มในโครงการของกนูและนำมารวมเข้าด้วยกันกับโปรแกรมประยุกต์กลายเป็นดิสทริบิวท์ชั่นซึ่งนำมาเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ใช้กัน ฟรีบีเอสดีได้รับการยกย่องว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงทางด้านเสถียรภาพและความอึด (แต่ไม่อืด) จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รันเซิร์ฟเวอร์อย่างแพร่หลาย ข้อยืนยันนี้ดูได้จากรายงานอัพไทม์ (เวลาจากการรีบูตครั้งล่าสุด) ในรายการ 50 อันดับของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีอัพไทม์นานที่สุดก็มฟรีบีเอสดีและBSD/OS ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความมั่นคงของฟรีบีเอสดีว่า ตลอดเวลาการปฏิบัติงานอันยาวนานนี้นอกจากจะไม่มีการแครชแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีการอัปเดตเคอร์เนลแต่อย่างใด (หลังจากอัพเกรดเคอร์เนลจำเป็นต้องรีบูต).

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และฟรีบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

พยางค์

งค์ หมายถึงหน่วยหนึ่งขององค์ประกอบในลำดับของเสียงที่ใช้สื่อสารด้วยคำพูด พยางค์โดยทั่วไปเกิดขึ้นจากแกนพยางค์ (syllable nucleus) ซึ่งมักจะเป็นเสียงสระ และอาจมีเสียงขึ้นต้นและเสียงลงท้ายเป็นเสียงพยัญชนะในพยางค์ พยางค์ถูกจัดว่าเป็นส่วนประกอบของคำในการศึกษาระบบเสียงในภาษา (phonology) ซึ่งมีอิทธิพลต่อจังหวะในภาษา ฉันทลักษณ์ ลักษณะคำประพันธ์ รูปแบบการเน้นเสียง เป็นต้น คำหนึ่งคำอาจอบขึ้นจากพยางค์เพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ การเขียนสัญลักษณ์แทนพยางค์เริ่มมีขึ้นเมื่อไม่กี่ร้อยปีก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรก สัญลักษณ์แทนพยางค์ในสมัยนั้นถูกบันทึกลงบนแผ่นจารึกเมื่อประมาณ 2,800 ปีก่อนคริสตกาลโดยชาวสุเมเรียน สิ่งนี้เป็นตัวผลักดันให้อักษรภาพที่เขียนกันมาแต่เดิมถูกเปลี่ยนเป็นการเขียนแทนพยางค์ ซึ่งเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของระบบการเขียน.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และพยางค์ · ดูเพิ่มเติม »

พีซี-บีเอสดี

ีซี-บีเอสดี (PC-BSD) เป็นเหมือนกับ Unix ตัวหนึ่ง เป็นระบบปฏิบัติการแบบ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่มีพื้นฐานบน FreeBSD ซึ่งคล้ายกับ DesktopBSD มันมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้ง โดยใช้กราฟิกในการติดตั้งโปรแกรม และง่ายต่อการใช้งาน โดยมีค่าพื้นฐานมาจากระบบปฏิบัติการ KDE ก่อนการติดตั้งมีการติดต่อกับผู้ใช้เป็นระบบกราฟิก PC-BSD ยังเตรียมไดร์ฟเวอร์ของ nVidia ไว้เพื่อ ความง่ายและรวดเร็วของฮาร์ดแวร์ และมีข้อกำหนดในการติดต่อเป็นแบบ 3D Desktop Project PC-BSD ในปัจจุบันเป็นซอฟต์แวร์ติดตั้งแบบกราฟิกที่กำลังพัฒนา ซึ่งจะติดตั้งเป็นแบบ package ในเดือน สิงหาคม 2006 มันถูกโหวดให้เป็น สุดยอดระบบปฏิบัติการที่เป็นมิตรกับผู้เริ่มต้น โดยเวป OSWeekly.com ตั้งแต่ วันที่ 10 ตุลาคม 2006 iXsystems เป็นผู้สนับสนุน ในเรื่องการแก้ปัญหาฮาร์ดแวร์ให้กับ PC-BSD ในเดือน พฤศจิกายน 2007 iXsystems ได้มีข้อตกลงที่จะให้แจกจ่ายให้ Fry's Electronics ได้มีส่วนร่วมกับ PC-BSD เวอร์ชัน 1.4 ในเดือน มกราคม 2008 iXsystems ได้มีข้อตกลงที่คล้ายๆกัน ให้กับ Micro Center.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และพีซี-บีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

กนู

ำหรับ กนู ที่เป็นสัตว์ป่าแอฟริกา ดูที่: เครื่องหมายการค้าของกนู โครงการ กนู (GNU) เป็นชื่อของโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ริเริ่มโดยริชาร์ด สตอลแมน เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ โครงการกนู ประกอบไปด้วย เคอร์เนล ไลบรารี คอมไพเลอร์ โปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ คำว่า กนู (IPA: /ɡəˈnuː/ เกอะนู หรือ /ˈnjuː/ นยู ในบางประเทศ) เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ มาจากคำเต็มว่า GNU's Not Unix (กนูไม่ใช่ยูนิกซ์) เพราะระบบกนูพัฒนาให้เหมือนระบบยูนิกซ์แต่ไม่ได้ใช้ซอร์สโคดของยูนิกซ์เล..

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และกนู · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิกซ์

ูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และระบบปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คอมแพค

อมแพค (Compaq) เป็นบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ก่อตั้ง ค.ศ. 1982 คอมแพคเป็นบริษัทแรกที่ผลิตคอมพิวเตอร์แบบ IBM PC compatible ได้ในราคาถูก ชื่อ COMPAQ นั้นมาจาก Compatibility and Quality คอมแพคถูกซื้อกิจการโดยบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด เมื่อ ค.ศ. 2002 ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของคอมแพคได้แก่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Compaq Presario และพีดีเอ iPAQ การได้มาโดย HP ในปี 2002, Compaq ลงนามข้อตกลงการควบรวมกิจการกับ Hewlett-Packard สำหรับ 24200000000 $ ได้แก่ $ 14450000000 สำหรับค่าความนิยมที่แต่ละหุ้น Compaq จะสามารถแลกเป็น 0.6325 จากหุ้น Hewlett-Packard ข้อเสนอของเอชพีได้รับการกล่าวโดยบางส่วนจะถูก overvaluing Compaq เนื่องจากผลการดำเนินงานทางการเงินของสั่นคลอนในปีที่ผ่านมาเช่นเดียวกับการประเมินค่าของตัวเองของ Compaq ของสินทรัพย์ Hewlett-Packard ได้รายงานรายได้ประจำปีของ 47000000000 $ ในขณะที่คอมแพคของถูก 40000000000 $ และ บริษัท รวมกันจะได้รับใกล้เคียงกับของไอบีเอ็ม $ 90000000000 รายได้ มันถูกคาดว่าจะ $ 2500000000 ในการประหยัดต้นทุนต่อปีในช่วงกลางปี​​ 2004 คาดว่าจะได้ปลดพนักงานที่ Compaq และ HP, 8500 และ 9000 งานตามลำดับจะออกจาก บริษัท ที่ควบรวมกับแรงงานจาก 145,000 ทั้งสอง บริษัท ต้องขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นของพวกเขาผ่านการประชุมพิเศษที่แยกต่างหาก ในขณะที่ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติ Compaq จัดการมีการสู้รบพร็อกซี่สาธารณะภายใน HP เป็นข้อตกลงที่ถูกต่อต้านอย่างยิ่งโดยผู้ถือหุ้นจำนวนมากของ HP ขนาดใหญ่รวมถึงบุตรชายของผู้ก่อตั้ง บริษัท วอลเตอร์ฮิวเลตต์และเดวิดดับบลิว Packard เป็นสาธารณะรัฐแคลิฟอร์เนีย ระบบการเกษียณอายุของพนักงาน (Calpers) และออนตาริ Pension Plan ครู detractors ของการจัดการตั้งข้อสังเกตว่าการซื้อ Compaq คือ "ฟุ้งซ่าน" ที่จะไม่โดยตรงช่วยเอชพีจะใช้ในความกว้างของไอบีเอ็มหรือรูปแบบการขายของ Dell Computer โดยตรงรวมถึงมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่สำคัญระหว่าง HP และ Compaq ในขณะที่ผู้สนับสนุนของการควบรวมกิจการเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีการประหยัดจากขนาดและว่ายอดขายของเครื่องพีซีที่จะผลักดันยอดขายของเครื่องพิมพ์และกล้อง, วอลเตอร์ฮิวเลตต์เชื่อว่าเครื่องคอมพิวเตอร์มีอัตรากำไรต่ำ แต่ธุรกิจมีความเสี่ยงที่จะไม่ส่งผลและมีแนวโน้มว่าจะ dillute เก่า การถ่ายภาพแบบดั้งเดิมที่ทำกำไรของเอชพีและหมวดการพิมพ์ หนึ่งในจุดสว่างของ Compaq ไม่กี่คือธุรกิจการบริการของ บริษัท ซึ่งถูก outperforming ภาคบริการของเอชพีเอง การควบรวมกิจการได้รับการอนุมัติโดยผู้ถือหุ้นของเอชพีเท่านั้นหลังจากที่แคบที่สุดของขอบและข้อกล่าวหาการซื้อเสียง (ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาล่าสุดที่สองจัดการกลับห้องกับ Deutsche Bank) ผีสิง บริษัท ใหม่ มันถูกเปิดเผยภายหลังว่าเอชพีได้เก็บไว้ส่วนธนาคาร Deutsche Bank ของการลงทุนในเดือนมกราคม 2002 เพื่อช่วยในการควบรวมกิจการ เอชพีได้ตกลงที่จะจ่าย Deutsche Bank $ 1,000,000 รับประกันและอีก $ 1,000,000 ผูกพันเมื่อได้รับอนุมัติจากการควบรวมกิจการ ที่ 19 สิงหาคม 2003 ก.ล.ต. สหรัฐเรียกเก็บ Deutsche Bank กับความล้มเหลวที่จะเปิดเผยความขัดแย้งวัสดุที่น่าสนใจในการลงคะแนนเสียงของผู้รับมอบฉันทะของลูกค้าสำหรับการควบรวมกิจการและการกำหนดโทษทางแพ่งของ $ 750,000 Deutsche Bank ยินยอมโดยไม่ยอมรับหรือปฏิเสธผลการวิจัย ของ Compaq ก่อนการควบรวมกิจการสัญลักษณ์คือ CPQ นี้ถูกรวมกับ Hewlett-Packard ของสัญลักษณ์ (HWP) เพื่อสร้างกระแสสัญลักษณ์ (HPQ) Former Compaq headquarters, now the Hewlett-Packard United States campus An HP Compaq computer and an HP Deskjet 5740 printer owned by the Houston Independent School District unincorporated Harris County, Texas HP Presario F700 F767CL หมวดหมู่:บริษัทคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:บริษัทของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2525 หมวดหมู่:ตราสินค้าของอเมริกัน.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และคอมแพค · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013).

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

แพลนไนน์

แพลนไนน์ (Plan 9) เป็นระบบปฏิบัติการตัวหนึ่งซึ่งนำแนวคิดต่อมาจากยูนิกซ์ พัฒนาโดยห้องปฏิบัติการวิจัยเบลล์ แพลนไนน์ไม่ได้พัฒนามาจากยูนิกซ์โดยตรง แต่มีหลักการทำงานใกล้เคียงกันมาก แพลนไนน์ถูกพัฒนาเป็นการภายในห้องปฏิบัติการมาช่วงระยะหนึ่ง ก่อนจะเผยแพร่สู่สาธารณชนใน ค.ศ. 1993 ในปัจจุบันทางห้องปฏิบัติการวิจัยเบลล์ไม่สนใจหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์กับแพลนไนน์อีกต่อไป และประกาศให้ใช้สัญญาแบบโอเพ่นซอร์ส รุ่นล่าสุดคือ 4th edition.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และแพลนไนน์ · ดูเพิ่มเติม »

แมคโอเอส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และแมคโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

แอปเปิล (บริษัท)

ริษัทแอปเปิล (Apple Inc.) หรือในชื่อเดิม บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer Inc.) เป็นบริษัทในซิลิคอนแวลลีย์ ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แอปเปิลปฏิวัติคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 ด้วยเครื่องแอปเปิล I และแอปเปิล II และแมคอินทอช ในยุค 80 ปัจจุบันแอปเปิลมีชื่อเสียงด้านฮาร์ดแวร์ เช่น ไอแมค ไอพอด ไอโฟน ไอแพด และร้านขายเพลงออนไลน์ไอทูน.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และแอปเปิล (บริษัท) · ดูเพิ่มเติม »

โอเพนบีเอสดี

อเพนบีเอสดี (OpenBSD) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) ที่สืบทอดมาจาก BSD แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และโอเพนบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

โซลาริส

ซลาริส (Solaris) หรือในชื่อเต็ม The Solaris Operating Environment เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบยูนิกซ์ ที่พัฒนาโดย ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ระบบปฏิบัติการโซลาริส ใช้ได้กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สองแบบ คือ แบบ สปาร์ค และแบบ x86 (แบบเดียวกับในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) รุ่นแรก ๆ ของโซลาริสนั้น ใช้ชื่อว่า ซันโอเอส (SunOS) โดยมีพื้นฐานมาจากยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี แต่ต่อมาในรุ่นที่ 5 ได้เปลี่ยนมาใช้โค้ดของ ซิสเต็มส์ไฟว์ (System V) แทน และเปลี่ยนชื่อมาเป็น โซลาริส ดังเช่นในปัจจุบัน โดยเรียกโซลาริสรุ่นแรกว่า โซลาริส 2 และเปลี่ยนชื่อเรียกของซันโอเอสรุ่นก่อน ๆ เป็น โซลาริส 1.x และหลังจากโซลาริสรุ่น 2.6 ก็ได้ตัด "2." ข้างหน้าออกไป และเรียกเป็น โซลาริส 7 แทน รุ่นปัจจุบันของโซลาริสคือ โซลาริส 11 การพัฒนาบางส่วนของโซลาริสในอนาคต ขณะนี้ได้พัฒนาในโครงการ โอเพนโซลาริส (OpenSolaris) ซึ่งเป็นโครงการระบบปฏิบัติการแบบโอเพนซอร์ซ.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และโซลาริส · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์

มโครซอฟท์ (Microsoft) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่นๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี), เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอบีเอ็ม

อบีเอ็ม (International Business Machines, IBM) หรือชื่อเล่น บิ๊กบลู (ยักษ์สีฟ้า) เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ รายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา มีพนักงานมากกว่า 330,000 คนทั่วโลก ไอบีเอ็มก่อตั้งมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นบริษัทสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสาขามากกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ไอบีเอ็มเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีเมนเฟรมและนาโนเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และไอบีเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

ร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชั่น (Berkeley Software Distribution -BSD; Berkeley Unix) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มต้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 ชื่อบีเอสดียังคงมีอยู่ในระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากดิสทริบิวชั่นนี้ เช่น FreeBSD, NetBSD, และ OpenBSD เป็นต้น บีเอสดีจัดว่าเป็นยูนิกซ์ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชันในยุคนั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสัญญาอนุญาตใช้งานของบีเอสดีนั้นไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทอื่น ๆ นำเทคโนโลยีไปพัฒนาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 80 จนสร้างความคุ้นเคยในวงกว้าง ถึงแม้ว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 90 บีเอสดีจะถูกแทนที่ด้วย System V รีลีส 4.x และ OSF/1 แต่ในระยะหลังนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้ซอร์สโค้ดที่เปิดเผยของบีเอสดีเป็นแกนหลัก.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายการค้า

รื่องหมายการค้า (Trademark) หมายถึง ตราสินค้าหรือส่วนหนึ่งของตราสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น เจ้าของมีสิทธิตามกฎหมายเพียงผู้เดียว เราไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นและบุคคลอื่นก็ไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของเราได้ จังต้องมีการออกแบบโลโก้ เว้นแต่จะมีสัญญาและข้อตกลงต่อกัน (เช่นการควบกิจการ) สัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ หรือหลายส่วนร่วมกัน โดยมีความหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องหมายแสดงถึง ชื่อสินค้าเฉพาะอย่าง หรือทุกประเภทในเครื่องหมายการค้าจะเป็นการแสดงภาพเครื่องหมาย ชื่อ ตราสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึง อ้างถึง มีความหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ตามที่มีความเกี่ยวข้องกัน เครื่องหมายการค้าที่เป็นสัญลักษณ์สากล คือการกำกับด้วย ™ หมายถึงเครื่องหมายการค้าที่มิได้จดทะเบียน หรือ ® หมายถึงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ซึ่งจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหม.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และเครื่องหมายการค้า · ดูเพิ่มเติม »

เน็ตบีเอสดี

น็ตบีเอสดี (NetBSD) คือระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) โดยสืบทอดมาจาก BSD โดย NetBSD เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยเป็นระบบปฏิบัติการตัวที่สองในตระกูล BSD ที่เปิดเผยซอร์สโค้ดสู่สาธารณะ (หลังจาก 386BSD) และพัฒนายังคงต่อเนื่องเรื่อยมา จุดเด่นที่สำคัญของ NetBSD คือ สามารถรันได้บนแพลทฟอร์มจำนวนมาก และการออกแบบระบบที่ดี NetBSD จึงถูกนำไปใช้กับระบบฝังตัว (embedded systems) นอกจากนี้มันยังเป็นจุดเริ่มต้นในการพอร์ตระบบปฏิบัติการอื่นไปสู่สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบใหม่อีกด้ว.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และเน็ตบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

HP

HP, Hp หรือ hp สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์และHP · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Unix-likeระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »