สารบัญ
134 ความสัมพันธ์: บรีบัลร็อกบาราเฮียร์บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ฟาราเมียร์ฟิงกอนฟิงโกลฟินฟินร็อดฟินาร์ฟินฟินเวพาลันเทียร์พ่อมด (มิดเดิลเอิร์ธ)กลอร์ฟินเดลกอลลัมกอนดอร์กอนโดลินการอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์กาลาเดรียลกิมลีกิลกาลัดภาษาเควนยาภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธมอร์กอธมอร์ดอร์มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)มิธลอนด์มิดเดิลเอิร์ธมินัสมอร์กูลมินัสทิริธมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)ยุคที่สองแห่งอาร์ดายุคที่สามแห่งอาร์ดายุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดารายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธริเวนเดลล์ลอธลอริเอนลูธิเอนวันยาร์วาร์ดาวาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)วิชคิงสม็อกสงครามห้าทัพสงครามแหวนสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้ายออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)ออสกิเลียธออสซิริอันด์อักษรเทงกวาร์อามัน... ขยายดัชนี (84 มากกว่า) »
บรี
รี (Bree) เป็นชื่อเมืองหนึ่งในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเชื่อว่าโทลคีนได้แรงบันดาลใจมาจากแคว้นบัคคิงแฮมเชอร์ ที่เขามักเดินทางไปเที่ยวบ่อยๆ ระหว่างศึกษาอยู่ที่ออกซฟอร์ด ในนิยาย บรี เป็นเมืองเอกของแคว้น บรีแลนด์ ซึ่งอยู่ถัดจากเขาสุสานและป่าดึกดำบรรพ์ออกมาทางตะวันออก เมืองนี้ตั้งอยู่บนชุมทางของถนนสายตะวันออก และถนนเหนือใต้ (หรือ กรีนเวย์) กึ่งกลางแผ่นดินเอเรียดอร์ มีชุมชนมนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่มานานแล้ว และการที่เมืองนี้ตั้งอยู่บนชุมทาง จึงเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ มนุษย์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่เป็นพวกที่ไม่ได้เดินทางไปสู่แผ่นดินเบเลริอันด์นับแต่ยุคบรรพกาล จึงเป็นคนละตระกูลกันกับชาวเอไดน์ นอกจากพวกมนุษย์ บรีแลนด์ยังเป็นแว่นแคว้นที่มีชาวฮอบบิทมาอาศัยอยู่ด้วยมากมาย เมืองบรีเป็นเมืองที่มนุษย์และฮอบบิทใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเพียงแห่งเดียวบนมิดเดิลเอิร์ธ การที่เมืองบรี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าและการเดินทาง จึงมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้นที่นี่ เช่น เป็นที่ซึ่งแกนดัล์ฟได้พบกับธอริน โอเคนชิลด์ กษัตริย์ชาวคนแคระ เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธการเอเรบอร์ ซึ่งก็คือการผจญภัยในเรื่องเดอะฮอบบิท บรีมีโรงเตี๊ยมที่พักมากมาย หนึ่งในนั้นคือ "โรงเตี๊ยมม้าเต้น" (Prancing Pony Inn) ซึ่งเป็นจุดหมายเดินทางแรกของโฟรโดกับคณะเพื่อมาพบกับแกนดัล์ฟ แต่กลับได้พบกับอารากอร์นแทน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและบรี
บัลร็อก
ัลร็อก (Balrog) เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน คำว่า 'บัลร็อก' เป็นภาษาซินดาริน คำเควนยาเรียกว่า วาลาเราโค (Valarauko) มีความหมายถึงสิ่งมีชีวิตรูปร่างคล้ายมนุษย์ ผู้ควบคุมจิตวิญญาณแห่งไฟและเงามืด บัลร็อกไม่ได้สร้างกายหยาบจึงมีร่างกายเป็นเปลวไฟแต่บางทีก็คลุมกายด้วยความมืด อาวุธของบัลร็อกคือแส้ที่ทำด้วยเปลวไฟ ตามปกรณัมกล่าวถึงบัลร็อกว่าเป็นจิตวิญญาณที่ทรงพลังอำนาจสูงยิ่ง บ้างก็ว่าบัลร็อกเป็น ไมอาร์ (Spirit ซึ่งให้กำเนิดโดย Iluvatar) กลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นดวงจิตแห่งไฟ มีชีวิตอยู่มาตั้งแต่แรกเริ่ม เดิมทีนั้นเป็นฝ่ายดีต่อมาถูกความชั่วร้ายของเมลคอร์เข้าครอบงำกลายเป็นฝ่ายอธรรม มีความชั่วร้ายเป็นรองก็แต่เซารอนและติดตามเมลคอร์มาจากโลกภายนอกนับแต่อดีตกาลนานโพ้น บัลร็อกออกรบทำสงครามกับพวกเอลฟ์มาตั้งแต่ยุคที่หนึ่งของอาร์ดาและถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก ส่วนที่เหลือก็ซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน แม่ทัพบัลร็อกคนสำคัญได้แก่ กอธม็อก (Gothmog) ซึ่งเป็นผู้สังหารกษัตริย์ฟิงกอน บัลร็อกยังได้ร่วมรบอยู่ในสงครามแห่งเบเลริอันด์หลายต่อหลายครั้ง ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คณะพันธมิตรแห่งแหวนประจันหน้ากับบัลร็อกระหว่างการเดินทางผ่านเหมืองมอเรีย มีเพียงแกนดัล์ฟซึ่งเป็นไมอาร์เท่านั้นที่สามารถต่อกรกับบัลร็อกได้.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและบัลร็อก
บาราเฮียร์
ราเฮียร์ (Barahir) เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเรื่อง ซิลมาริลลิออน เขาเป็นมนุษย์ แห่งแคว้นลาดรอส ชาวตระกูลเบออร์ เป็นที่รู้จักในปกรณัมในฐานะบิดาของเบเรน บาราเฮียร์เป็นบุตรของเบรกอร์ ผู้นำตระกูลเบออร์ ได้เข้าร่วมรบในสงครามดากอร์บราโกลลัค ในยุคที่หนึ่ง สงครามครั้งนั้นมอร์กอธมีชัยชนะเหนือทัพเอลฟ์และมนุษย์ในดินแดนทางตอนเหนือของเบเลริอันด์ อาณาจักรดอร์โธนิออน รวมทั้งแคว้นลาดรอส ถูกเพลิงลาวาเผาผลาญจนพินาศ พี่ชายของบาราเฮียร์คือ เบรโกลัส ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้นำตระกูล ถูกสังหารในการศึก ส่วนตัวของบาราเฮียร์ติดพันอยู่ในแนวรบด้านตะวันตก และได้ให้ความช่วยเหลือแก่กษัตริย์ฟินร็อด เฟลากุนด์ ทำให้พระองค์มอบแหวนประจำราชวงศ์ให้ แหวนนี้ต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ แหวนแห่งบาราเฮียร์ พร้อมทั้งทรงให้คำมั่นว่าจะให้ความช่วยเหลือทุกประการแก่บาราเฮียร์และทายาทของเขาต่อไปในอนาคต หลังสงครามบราโกลลัค ชาวตระกูลเบออร์ต้องอพยพลี้ภัย เอเมลเดียร์ ภรรยาของบาราเฮียร์ เป็นผู้นำประชาชนทั้งเด็กและสตรี เดินทางหลบหนีไปสู่แคว้นดอร์-โลมิน คงเหลือแต่บาราเฮียร์และสมัครพรรคพวกอีก 12 คน หลบหนีไปตั้งค่ายอยู่ที่ทะเลสาบ ทาร์นอายลูอิน แอบซุ่มซ่อนอยู่ในดอร์โธนิออน คอยขัดขวางทำลายแผนการของสมุนบริวารของมอร์กอธ จนกระทั่ง กอร์ลิม บริวารคนหนึ่งของบาราเฮียร์ ทรยศต่อพวกพ้อง ทำให้พวกเขาถูกสังหารทั้งหมด คงเหลือแต่ เบเรน บุตรแห่งบาราเฮียร์ เพียงคนเดียว.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและบาราเฮียร์
บิลโบ แบ๊กกิ้นส์
ลโบ แบ๊กกิ้นส์ (Bilbo Baggins) เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในปกรณัมของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาปรากฏในนิยายเรื่องเดอะฮอบบิท และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในฐานะผู้ครองแหวนคนที่ห้.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและบิลโบ แบ๊กกิ้นส์
ฟาราเมียร์
ฟาราเมียร์ (Faramir) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในจินตนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นมนุษย์ชาวกอนดอร์ บุตรแห่งเดเนธอร.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและฟาราเมียร์
ฟิงกอน
ฟิงกอน (Fingon) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมเรื่อง ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน พระองค์เป็นเอลฟ์ชาว โนลดอร์ เป็นโอรสองค์ใหญ่ของฟิงโกลฟิน ซึ่งเป็นโอรสของฟินเว จอมกษัตริย์แห่งโนลดอร์ ทรงมีน้องชายสององค์และน้องสาวหนึ่งองค์ คือ ทัวร์กอน ผู้ครองกอนโดลิน อาเรเดล ท่านหญิงขาว และอาราคาโน (หรืออาร์กอน) ชื่อ 'ฟิงกอน' เป็นภาษาซินดาริน แผลงมาจากคำเควนยาว่า ฟินเดคาโน (Findekáno) มีความหมายว่า 'เจ้าชายแห่งราชวงศ์ฟินเว'.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและฟิงกอน
ฟิงโกลฟิน
ตามปกรณัมชุด ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฟิงโกลฟิน (Fingolfin) เป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์พลัดถิ่นบนมิดเดิ้ลเอิร์ธ พระองค์เป็นโอรสองค์ที่สองของกษัตริย์ฟินเวกับพระนางอินดิส มีพี่ชายต่างมารดาคือ เฟอานอร์ และน้องชายร่วมมารดาเดียวกันคือ ฟินาร์ฟิน ฟิงโกลฟินมีโอรสธิดารวมสี่องค์คือ ฟิงกอน ทัวร์กอน อาเรเดล และอาราคาโน (ไม่ได้เอ่ยถึงในปกรณัม) ในปกรณัมกล่าวถึงฟิงโกลฟินว่า เป็นผู้มีร่างกายกำยำแข็งแรง จิตใจห้าวหาญ บางแห่งยกย่องว่าพระองค์เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ทั้งปวง ชื่อของพระองค์ในภาษาเควนยา คือ โนโลฟินเว (Nolofinwë) ซึ่งมีความหมายว่า 'บุตรแห่งฟินเวผู้เฉลียวฉลาด' ฟิงโกลฟินและฟินาร์ฟิน เป็นโอรสของกษัตริย์ฟินเวกับพระนางอินดิส ซึ่งอภิเษกหลังจากมีริเอล พระชายาองค์แรกและมารดาของเฟอานอร์สิ้นพระชนม์ ดังนั้นจึงมักมีเรื่องขัดเคืองกันระหว่างเฟอานอร์กับฟิงโกลฟินเสมอๆ เพราะต่างก็เป็นโอรสองค์ใหญ่ เหตุแห่งความขัดเคืองกันส่วนใหญ่มาจากการยุแยงของเมลคอร์ เทพอสูรที่ริษยาในความรุ่งเรืองของเหล่าวาลาร์และพวกเอลฟ์ ครั้งหนึ่งเกิดการวิวาทกันจนเฟอานอร์ชักดาบออกต่อหน้าฟิงโกลฟิน จนเป็นเหตุให้เฟอานอร์ถูกลงโทษ ให้เนรเทศออกจากนครทิริออน ทว่าหลังจากนั้น มานเวเทพบดีได้จัดงานเลี้ยงและไกล่เกลี่ยให้พี่น้องทั้งสองกลับคืนดีกัน แต่เมลคอร์และอุงโกลิอันท์ก่อเหตุร้าย ทำลายทวิพฤกษา สังหารกษัตริย์ฟินเว แล้วชิงซิลมาริลของเฟอานอร์ไปเสียจากท้องพระคลังที่ฟอร์เมนอส หลบหนีไปยังมิดเดิ้ลเอิร์ธ เฟอานอร์ประกาศตามไล่ล่ามอร์กอธ (หรือเมลคอร์) ประชาชนชาวโนลดอร์ส่วนใหญ่ก็เคียดแค้นและจะตามไล่ล่ามอร์กอธด้วย ฟิงโกลฟินจึงเป็นผู้นำชาวโนลดอร์ส่วนใหญ่ที่ติดตามเฟอานอร์กลับมายังมิดเดิ้ลเอิร์ธ หลังจากเฟอานอร์สิ้นพระชนม์ มายดรอส โอรสองค์ใหญ่ของเฟอานอร์สละสิทธิ์ในราชสมบัติ ฟิงโกลฟินจึงขึ้นเป็นจอมกษัตริย์ของชาวโนลดอร์พลัดถิ่นบนมิดเดิ้ลเอิร์ธ เขาเป็นผู้นำในการสงครามต่อสู้กับมอร์กอธหลายครั้ง จนกระทั่งมอร์กอธตีโต้ด้วยไฟ ในสงครามดากอร์บราโกลลัค ทำให้ฝ่ายกองทัพเอลฟ์ได้รับความเสียหายยับเยิน รวมทั้งโอรสสององค์ของฟินาร์ฟิน คืออังกร็อดและอายก์นอร์ สิ้นพระชนม์ในการศึกครั้งนี้ด้วย ทำให้ฟิงโกลฟินลุแก่โทสะ บุกเพียงลำพังพระองค์เดียวเข้าไปถึงที่มั่นของมอร์กอธในอังก์บันด์ ฟิงโกลฟินได้สู้รบกับมอร์กอธตัวต่อตัว และสร้างบาดแผลแก่มอร์กอธได้ถึงเจ็ดแผล (จนทำให้มอร์กอธต้องเดินเขย่งขามานับแต่นั้น) แต่ไม่มีผู้ใดสามารถสังหารมอร์กอธซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่าวาลาร์ได้ สุดท้ายฟิงโกลฟินจึงถูกมอร์กอธสังหาร โธรอนดอร์พญาอินทรี นำร่างของฟิงโกลฟินออกมา ไปไว้ยังเขตเทือกเขาของกอนโดลิน ทัวร์กอนได้สร้างหลุมพระศพของฟิงโกลฟินในที่นั้น.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและฟิงโกลฟิน
ฟินร็อด
ตามปกรณัมชุด เดอะซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฟินร็อด เฟลากุนด์ (Finrod Felagund) เป็นเจ้าชายเอลฟ์ชาวโนลดอร์ ทรงเป็นโอรสองค์ใหญ่ของฟินาร์ฟิน ผู้เป็นโอรสของกษัตริย์ฟินเว จอมกษัตริย์องค์แรกของชาวโนลดอร์ทั้งมวล มารดาของพระองค์คือเจ้าหญิงเออาร์เวนแห่งอัลควาลอนเด ธิดาของกษัตริย์โอลเว ชาวเทเลริ ชื่อ 'ฟินร็อด' เป็นคำในภาษาซินดาริน ส่วนชื่อจริงของพระองค์เป็นภาษาเทเลริน คือ ฟินดาราโท (Findaráto) มีความหมายว่า 'ทายาทแห่งฟินเวผู้สูงศักดิ์' ซึ่งชื่อนี้ในภาษาเควนยาจะออกเสียงเป็น อาร์ทาฟินเด (Artafinde) ส่วนสมัญญานาม เฟลากุนด์ เป็นชื่อที่เหล่าคนแคระผู้ก่อสร้างอาณาจักรถ้ำแห่งนาร์โกธรอนด์ ตั้งถวายแด่พระองค์ มีความหมายว่า 'ผู้ขุดเจาะถ้ำ' นอกจากนี้พระองค์ยังมีอีกสมัญญาหนึ่งว่า โนม (Nóm) ซึ่งหมายถึง 'ผู้ทรงปัญญา' เป็นชื่อที่มนุษย์ในตระกูลเบออร์ตั้งถวายแด่พระองค์ ฟินร็อดเป็นโอรสของฟินาร์ฟินกับเออาร์เวน มีน้องชายคือ โอโรเดร็ธ อังกร็อด อายก์นอร์ และน้องสาวสุดท้องคือ กาลาเดรียล พระองค์เดินทางมายังมิดเดิลเอิร์ธเมื่อครั้งกบฏชาวโนลดอร์เดินทัพออกจากแผ่นดินอมตะ เพื่อไล่ตามล้างแค้นมอร์กอธ ทั้งที่ขัดต่อพระบัญชาของเหล่าวาลาร์ ฟินร็อดเป็นผู้ก่อตั้งหอคอยมินัสทิริธ ที่ช่องเขาแห่งซิริออน ภายหลังหอคอยนี้ตกไปอยู่ใต้อำนาจของมอร์กอธ และเป็นสถานที่ซึ่งฟินร็อดสิ้นพระชนม์ เนื่องจากพระองค์เป็นโอรสของเออาร์เวน เป็นนัดดาของกษัตริย์โอลเวชาวเทเลริ จึงได้รับอนุญาตให้เข้าไปยังอาณาจักรโดริอัธของกษัตริย์ธิงโกล ซึ่งเป็นเชษฐาของกษัตริย์โอลเว ฟินร็อดเป็นหลานรักของกษัตริย์ธิงโกล และได้รับคำแนะนำให้สร้างอาณาจักรนาร์โกธรอนด์ขึ้น ในลักษณะเดียวกันกับเมเนกร็อธ คือเป็นราชวังที่ขุดเจาะลงไปในถ้ำใต้พื้นดิน แล้วฟินร็อดจึงขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งนาร์โกธรอนด์ ทรงยกหอคอยมินัสทิริธให้อยู่ในความดูแลของโอโรเดร็ธพระอนุชา ในสงครามดากอร์บราโกลลัค ฟินร็อดตกอยู่ในวงล้อมของพวกออร์ค แต่ทรงหนีรอดออกมาได้ด้วยความช่วยเหลือของบาราเฮียร์ ทายาทแห่งตระกูลเบออร์ พระองค์จึงประทานแหวนซึ่งมีตราประจำราชสกุลฟินาร์ฟินให้แก่บาราเฮียร์ เป็นเครื่องระลึกถึงวีรกรรมครั้งนั้น (แหวนนี้ต่อมามีชื่อเรียกว่า แหวนแห่งบาราเฮียร์) พร้อมทั้งคำสัญญาจะให้ความช่วยเหลือแก่ทายาทของบาราเฮียร์อย่างเต็มกำลังหากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ จากคำสัญญานี้ทำให้ฟินร็อดร่วมเดินทางไปกับภารกิจเสี่ยงภัยของเบเรน บุตรแห่งบาราเฮียร์ เพื่อไปชิงซิลมาริลจากมงกุฎของมอร์กอธตามบัญชาของกษัตริย์ธิงโกล พระองค์ปกป้องเบเรนจนถึงที่สุดเมื่อพวกเขาถูกเซารอนจับตัวได้ ระหว่างเดินทางผ่านช่องเขาซิริออน (ซึ่งเวลานั้นตกอยู่ใต้อำนาจของมอร์กอธแล้ว) พระองค์ต่อสู้กับปีศาจหมาป่าเพื่อปกป้องเบเรน จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่หอคอยมินัสทิริธซึ่งพระองค์เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมาเอง.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและฟินร็อด
ฟินาร์ฟิน
ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฟินาร์ฟิน (Finarfin) เป็นเจ้าชายเอลฟ์ ซึ่งภายหลังได้เป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ที่คงเหลืออยู่ในนครทิริออน บนแผ่นดินอมตะ พระองค์เป็นโอรสองค์เล็กของกษัตริย์ฟินเว กับพระนางอินดิส มีเชษฐาองค์ใหญ่ต่างมารดาคือ เฟอานอร์ ส่วนเชษฐาร่วมบิดามารดาเดียวกันคือ ฟิงโกลฟิน ฟินาร์ฟินมีเรือนผมสีทองแบบเดียวกับอินดิสพระมารดาซึ่งเป็นเอลฟ์ชาววันยาร์ สมาชิกในราชสกุลของพระองค์อีกหลายคนได้สืบทอดลักษณะอันงดงามนี้ของชาววันยาร์ไปด้วย พระองค์อภิเษกกับเจ้าหญิงเออาร์เวนแห่งอัลควาลอนเด ผู้มีเชื้อสายชาวเทเลริ ทรงมีโอรสธิดา 5 พระองค์ ได้แก่ ฟินร็อด โอโรเดร็ธ อังกร็อด อายก์นอร์ และกาลาเดรียล ฟินาร์ฟินได้ชื่อว่าเป็นเจ้าชายผู้มีสิริโฉม และเฉลียวฉลาดเป็นที่สุด ชื่อในภาษาเควนยาของฟินาร์ฟินคือ อาราฟินเว (Arafinwë) ซึ่งหมายถึง 'บุตรแห่งฟินเวผู้สูงศักดิ์'.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและฟินาร์ฟิน
ฟินเว
ฟินเว (Finwë) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมเรื่อง ซิลมาริลลิออน ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้นำของเอลฟ์ชาวโนลดอร์ ซึ่งได้เป็นตัวแทนไปเยือนทวีปอามัน แล้วกลับมาชักชวนพวกพ้องให้ยินยอมออกเดินทางจากมิดเดิลเอิร์ธไปสู่แผ่นดินอมตะ หลังจากชาวโนลดอร์เดินทางไปถึงอามันแล้ว ฟินเวได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งปวง ฟินเวเป็นจอมกษัตริย์แห่งโนลดอร์ พระองค์มีชายาองค์แรกนามว่า มีริเอล ทรงมีโอรสองค์หนึ่ง ชื่อว่า 'คูรูฟินเว' ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า 'เฟอานอร์' หลังจากเฟอานอร์ประสูติ มีริเอลก็สิ้นพระชนม์ ฟินเวจึงอภิเษกชายาอีกองค์หนึ่งนามว่า อินดิส ชาววันยาร์ มีโอรสธิดาสี่องค์คือ ฟิงโกลฟิน ฟินาร์ฟิน ฟินดิส และอิริเม เมื่อเมลคอร์พ้นจากการจองจำ เขาคิดแก้แค้นเหล่าวาลาร์และทำลายพวกเอลฟ์ ยุแยงจนทำให้เฟอานอร์ต้องถูกเนรเทศออกจากทิริออน เมืองหลวงของพวกเอลฟ์ ไปอยู่ที่นครฟอร์เมนอสทางเหนือของอามัน ฟินเวซึ่งรักลูกชายคนโตมากที่สุด จึงตามไปอยู่กับเฟอานอร์ที่นั่นด้วย แต่แล้วพระองค์ก็ถูกเมลคอร์สังหารที่ฟอร์เมนอส หลังจากที่เขาทำลายทวิพฤกษาและมาขโมยซิลมาริลที่นี่ ส่วนเอลฟ์คนอื่น ๆ ไปร่วมงานเลี้ยงที่ยอดเขาทานิเควทิลกันหมด การสิ้นพระชนม์ของฟินเวครั้งนี้เป็นเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้เฟอานอร์และชาวโนลดอร์จำนวนมากโกรธแค้นเมลคอร์ จนตั้งชื่อให้เขาใหม่ว่า 'มอร์กอธ' แล้วยกทัพออกตามล่าเขากลับมายังมิดเดิ้ลเอิร.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและฟินเว
พาลันเทียร์
ลันเทียร์แห่งออร์ธังค์ จากภาพยนตร์ลอร์ดออฟเดอะริงส์ พาลันเทียร์ (Palantír) เป็นของวิเศษอย่างหนึ่งในโลกแห่งจินตนาการของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและพาลันเทียร์
พ่อมด (มิดเดิลเอิร์ธ)
ในโลกแห่งจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน พ่อมด (Wizard) แห่งมิดเดิลเอิร์ธ เป็นชื่อเรียกกลุ่มของชายชราที่มีพลังอำนาจทางจิต คำว่า 'พ่อมด' แปลมาจากความหมายดั้งเดิมของคำว่า อิสทาร์ (Istar) ซึ่งเป็นภาษาเควนยา หมายถึง ผู้มีความรอบรู้ ผู้มีภูมิปัญญา รูปพหูพจน์ของอิสทาร์ คือ อิสทาริ (Istari) ส่วนในภาษาซินดารินจะเรียกว่า อิธรอน (Ithron) รูปพหูพจน์ว่า อิธริน (Ithryn).
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและพ่อมด (มิดเดิลเอิร์ธ)
กลอร์ฟินเดล
กลอร์ฟินเดล (Glorfindel) เป็นตัวละครสมทบในปกรณัมของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ปรากฏอยู่ในนิยายสองชุดคือ ซิลมาริลลิออน และ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ โดยแม้จะมีการกล่าวถึงเพียงเล็กน้อยในนิยายทั้งสอง แต่บทบาทของเขานับว่าส่งผลต่อเนื่องต่อตัวละครหลักอย่างสูง.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและกลอร์ฟินเดล
กอลลัม
กอลลัม (Gollum) เป็นตัวละครเอกในจินตนิยายเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นชนเผ่าฮอบบิท มีชื่อเดิมว่า สมีโกล ปรากฎตัวครั้งแรกในเดอะฮอบบิท และปรากฎตัวในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอนหอคอยคู่พิฆาต.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและกอลลัม
กอนดอร์
กษาขาว ดาวเจ็ดดวง และมงกุฎปีก กอนดอร์ (Gondor) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและกอนดอร์
กอนโดลิน
กอนโดลิน (Gondolin) เป็นชื่ออาณาจักรเอลฟ์แห่งหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยปรากฏบรรยายอย่างละเอียดอยู่ในหนังสือ Book of Lost Tales และ ซิลมาริลลิออน ในชื่อตอนเดียวกันคือ การล่มสลายของกอนโดลิน เป็นหนึ่งในสาม "มหาตำนาน" ที่โทลคีนยกย่องไว้ (อีกสองเรื่องคือ "ตำนานของเบเรนและลูธิเอน" กับ "ตำนานบุตรแห่งฮูริน") ทัวร์กอนเป็นผู้สร้างนครกอนโดลินขึ้นตามคำแนะนำของเทพอุลโม เพื่อใช้เป็นที่มั่นสำหรับหลบซ่อนตัวให้พ้นจากการคุกคามของมอร์ก็อธ อาณาจักรนี้ตั้งอยู่ในที่ราบหุบเขาทุมลาเดนกลางวงล้อมของเทือกเขาวงแหวนหรือเอโคริอัธ เส้นทางเข้าออกผ่านเทือกเขาเป็นความลับ ส่วนบนฟ้าก็ไม่มีใครผ่านได้เพราะมีพญาอินทรีโธรอนดอร์กับบริวารคอยเฝ้าคุ้มครองอยู่ จึงไม่มีผู้ใดทราบที่ตั้งแน่ชัดของอาณาจักรแห่งนี้เลย อาณาจักรกอนโดลินเป็นอาณาจักรเอลฟ์ที่ยืนหยัดอยู่เป็นอาณาจักรสุดท้าย แต่ก็พินาศลงในที่สุดด้วยการทรยศของมายกลิน หลานของกษัตริย์ทัวร์กอนเอง ทำให้มอร์ก็อธสามารถยกทัพมาบุกโจมตีจนเมืองแตกได้ กษัตริย์ทัวร์กอนและมายกลินเสียชีวิตในคราวล่มนคร มีเพียงทูออร์ อิดริล และเออาเรนดิล กับพลเมืองติดตามอีกเล็กน้อยที่หนีออกไปได้ ด้วยการช่วยเหลือของเหล่าหัวหน้าตระกูลของกอนโดลิน เช่น กลอร์ฟินเดล และ เอคเธลีออน และไปสมทบกับเอลฟ์กลุ่มสุดท้ายที่เหลือบนแผ่นดินเบเลริอันด์ที่เมืองท่าปากแม่น้ำซิริออน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและกอนโดลิน
การอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์
การอพยพครั้งใหญ่ หรือ การเดินทางครั้งใหญ่ ของพวกเอลฟ์ เป็นเหตุการณ์สำคัญในช่วงต้นของยุคสมัยในปกรณัมของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและการอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์
กาลาเดรียล
กาลาเดรียล (Galadriel) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นเจ้าหญิงเอลฟ์ชาวโนลดอร์ (ลูกครึ่งเทเลริ) ที่เดินทางกลับมามิดเดิ้ลเอิร์ธนับตั้งแต่ยุคที่หนึ่ง ชื่อจริงของนางคือ แนร์เวน (Nerwen) อันเป็นชื่อมารดาตั้ง หมายถึง 'นางผู้เสมอชาย' (เนื่องจากนางมีร่างกายสูงใหญ่และมีพลังอำนาจมาก) ชื่อบิดาตั้งคือ อาร์ทานิส (Artanis) หมายถึง 'นางผู้สูงศักดิ์' ส่วนชื่อ 'กาลาเดรียล' เป็นคำในภาษาซินดารินของชื่อ อลาทาเรียล ซึ่งมีความหมายว่า 'นางผู้สวมมาลัยเศียรอันเรืองรอง' เป็นชื่อที่เคเลบอร์นตั้งให้แก่นาง เนื่องมาจากนางมีเส้นผมเป็นสีทองเหลือบเงินเปล่งปลั่งงดงาม.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและกาลาเดรียล
กิมลี
กิมลี เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในจินตนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นคนแคระ ซึ่งเป็นบุตรหลานว่านเครือของ ดูริน เจ้าแห่งคนแคระผู้ยิ่งใหญ่ในยุคโบราณ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและกิมลี
กิลกาลัด
กิลกาลัด จากภาพยนตร์ไตรภาค ลอร์ดออฟเดอะริงส์ กิลกาลัด (Gil-galad) เป็นกษัตริย์พรายชาวโนลดอร์พระองค์สุดท้ายแห่งมิดเดิ้ลเอิร์ธ ซึ่งถูกกล่าวถึงไม่มากนักใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในภาคผนวกท้ายเล่มของภาค กษัตริย์คืนบัลลังก์มีการกล่าวถึงอยู่เล็กน้อย คือ ในช่วงยุคที่สองของมัชฌิมโลก กิลกาลัดเป็นกษัตริย์ที่นำทัพพรายมาต่อสู้กับเซารอนร่วมกับมนุษย์ ซึ่งมีผู้นำ คือ เอเลนดิล และสิ้นพระชนม์ในสงครามครั้งนั้น.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและกิลกาลัด
ภาษาเควนยา
ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและภาษาเควนยา
ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ
ในปกรณัมชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ทั้งทวีปมิดเดิลเอิร์ธ และทวีปอามัน ตลอดจนถึงดินแดนอื่นๆ ทั่วพิภพอาร์ดา มีเทือกเขาใหญ่น้อยมากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่อภูเขาหรือเทือกเขาที่สำคัญ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ
มอร์กอธ
'''มอร์กอธ บาวเกลียร์''' มอร์กอธ บาวเกลียร์ (Morgoth Bauglir) เป็นตัวละครที่แต่งขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในผลงานของโทลคีนเรื่อง ซิลมาริลลิออน และตำนานอื่นๆ ในยุคโบราณของปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธเป็นชาวไอนัวร์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าเฉกเช่นวาลาร์ ชื่อเดิมของเขาคือ เมลคอร์ แต่ต่อมาเป็นที่รู้จักทั่วไปในมิดเดิลเอิร์ธในชื่อของ มอร์กอธ หลังจากที่เจ้าชายเอลฟ์นามว่า เฟอานอร์ เป็นผู้ตั้งให้ ในประวัติศาสตร์ของมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธมีบทบาทเป็นฝ่ายอธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่ง เซารอน เจ้าแห่งความมืดที่หลายคนรู้จักดีจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เคยเป็นข้ารับใช้ของเขา นาม มอร์กอธ บาวเกลียร์ ที่จริงแล้วเป็นชื่อฉายา ชื่อของเขาที่ปรากฏครั้งแรกในไอนูลินดาเล (เรื่องราวของการสร้างมิดเดิ้ลเอิร์ธ และเป็นบทแรกของ ซิลมาริลลิออน) มีชื่อว่า เมลคอร์ ซึ่งหมายถึง "ผู้ผงาดด้วยอำนาจ" ส่วนคำว่า มอร์กอธ สามารถแปลได้ว่า "ทรราชเจ้าแห่งความมืด" หรือ "ผู้กดขี่อันน่าสยดสยอง" คำนี้มีที่มาจากภาษาเควนยาซึ่งหมายถึง ศัตรูมืด หรือ ความมืดอันน่าหวาดหวั่น (รากศัพท์มาจาก มอร์ (mor) - สีดำ ความมืด เงามืด และ กอส/กอธ (goth) - น่ากลัวมาก ความสยองขวัญ) ส่วนคำว่า บาวเกลียร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง ทรราช หรือ ผู้กดขี่ (รากศัพท์ MBAW - บังคับ พลังอำนาจ กดขี่) ตัวละครนี้ไม่ได้ถูกเรียกว่ามอร์กอธจนกระทั่งเขาได้รับสมญานั้นจาก เฟอานอร์ แห่ง โนลดอร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่หนึ่ง (First Age) หลังจากเมลคอร์หลบหนีออกจากวาลินอร์แล้ว และพวกเอลฟ์ก็เรียกแต่ชื่อนั้นของเขา แต่ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นเขาถูกเรียกเพียงว่า เมลคอร์ ระหว่างการพัฒนาการของตำนานของโทลคีน เขาได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการแปรพักตร์ของไอนูองค์นี้ และเปลี่ยนชื่อของเขาด้วย นอกเหนือจากชื่อพิเศษของเขาซึ่งชาวโนลดอร์ตั้งให้ (มอร์กอธ) เขายังถูกเรียกในตำนานต่างๆ (ในหลากหลายรูปแบบ) ว่า'เมลโค' 'เบลคา' 'เมเลกอร์' และ 'เมเลโค' ชื่อของเขาในรูปซินดารินคือ 'เบเลกูร์' ซึ่งไม่เคยถูกใช้เลยนอกจากในคำที่แปลงรูปแล้วว่า 'เบเลกัวธ์' ซึ่งหมายถึง ’ความตายอันยิ่งใหญ่' หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและมอร์กอธ
มอร์ดอร์
มอร์ดอร์ จากภาพยนตร์ไตรภาค ลอร์ดออฟเดอะริงส์ มอร์ดอร์ (Mordor) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในจินตนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและมอร์ดอร์
มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)
มังกร (dragon) เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งในจินตนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งสร้างขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อเรื่องมังกรในตำนานของยุโรป ตามปกรณัมของโทลคีน เผ่าพันธุ์มังกรถูกสร้างขึ้นโดยเทพอสูรมอร์กอธ ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา มังกรตัวแรกที่ปรากฏตัวออกมามีชื่อว่า เกลารุง (Glaurung) ในหนังสือตำนานบุตรแห่งฮูริน กล่าวถึงมังกรว่า เป็นจิตวิญญาณที่ทรงพลังอำนาจ จึงเป็นไปได้ว่า มังกรก็เป็นเหล่าเทพไมอาร์จำนวนหนึ่งที่แปรพักตร์ไปรับใช้มอร์กอ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและมังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)
มิธลอนด์
มิธลอนด์ (Mithlond) หรือ เกรย์ฮาเวนส์ (Grey Havens) คือเมืองท่าเรือในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและมิธลอนด์
มิดเดิลเอิร์ธ
แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและมิดเดิลเอิร์ธ
มินัสมอร์กูล
มินัสมอร์กูล (Minas Morgul) เป็นชื่อหอคอยในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อเป็นคำในภาษาซินดาริน แปลว่า "หอคอยแห่งมนต์ดำ" เดิมชื่อว่า มินัสอิธิล หรือ หอคอยจันทร์รุ่ง ตั้งชื่อตามชื่อผู้สร้างและเจ้าของคนแรก คืออิซิลดูร์ ซึ่งสร้างหอคอยแห่งนี้ขึ้นในระหว่างการก่อตั้งอาณาจักรกอนดอร์ พร้อมกับเมืองออสกิเลียธ และหอคอยมินัสอะนอร์ ในช่วงปลายของยุคที่สองเพื่อป้องกันฝั่งตะวันตกของเมืองออสกิเลียส มินัสอิธิลตั้งอยู่ในหุบเขามอร์กูล บนเทือกเขาเอเฟลดูอัธ ซึ่งอยู่ติดชายอาณาเขตมอร์ดอร์ เมื่อแรกสร้างเป็นนครที่งดงามดั่งแสงจันทร์ กำแพงและถนนถูกสร้างด้วยหินอ่อนและประดับประดาอย่างสวยงามปลูกประดับด้วยพฤกษาต่างๆ มีหอคอยที่งดงามอยู่กลางเมือง และอิซิลดูร์ได้นำหน่ออ่อนของพฤกษาขาว ที่เขาลอบนำออกมาจากเกาะนูเมนอร์ได้ทันก่อนเกาะจะจมสมุทร มาปลูกไว้ที่นี่ด้วย มินัสอิธิลถูกเซารอนตีแตกครั้งแรกเมื่อปีที่ 3429 ของยุคที่สอง อิซิลดูร์หนีออกจากนครเพื่อไปขอความช่วยเหลือจากเอเลนดิล นำทัพกลับมาร่วมกับทัพของอนาริออน สามารถขับไล่เซารอนกลับไปอยู่หลังแนวเทือกเขาได้ ในระหว่างสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย โอรสองค์ที่ 2 และ 3 ของอิซิลดูร์ คือเคียร์ยอนและอาราทัน รับหน้าที่เฝ้าพิทักษ์หอคอยแห่งนี้ หลังสิ้นสุดสงคราม เคียร์ยอนและอาราทันเดินทางขึ้นเหนือพร้อมอิซิลดูร์ผู้บิดา มินัสอิธิลก็กลับมาอยู่ในความดูแลของกอนดอร์ ปีที่ 1636 ของยุคที่สาม เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่แพร่มาพร้อมกับสายลมดำมืดจากแดนมอร์ดอร์ มินัสอิธิลได้รับความเสียหายมากที่สุด ทหารและพลเมืองล้มตายไปเป็นจำนวนมากจนเกือบเป็นเมืองร้าง ปีที่ 1980 เหล่านาซกูลพ่ายแพ้ที่อังก์มาร์ ถูกกองทัพพันธมิตรของเอลฟ์ ทัพดูเนไดน์ และทัพกอนดอร์ของเจ้าชายเออาร์นัวร์ตีแตกจนต้องหนีกลับมายังมอร์ดอร์ แต่พวกมันหันมายึดมินัสอิธิลไปเป็นที่มั่นใหม่ และยึดไปได้สำเร็จในปีที่ 2002 พาลันเทียร์ประจำเมืองนี้จึงตกไปอยู่ในมือของเซารอน และถูกย้ายไปยังหอคอยบารัดดูร์ นับแต่นั้นมินัสอิธิลจึงถูกเรียกว่า 'มินัสมอร์กูล' ซึ่งหมายถึง 'หอคอยแห่งเวทมนตร์อันมืดดำ' ส่วนมินัสอะนอร์ก็เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น 'มินัสทิริธ' หมายถึง 'หอคอยระวังภัย' ทว่าหลังจากสงครามแห่งแหวนจบ แหวนเอกได้ถูกทำลาย เซารอนสิ้นอำนาจ รวมทั้งอาณาจักรมอรดอร์ล่มสลายลง หอคอยนี้ถูกทิ้งร้างไว้เป็นเวลานานหลายปีด้วยความหวาดกลัวจากเรื่องราวในอดีต จนกษัตริย์แห่งกอนดอร์มีพระบัญชาให้บูรณะหอคอยนี้เป็นนครมินัสอิธิลอันงดงามอีกครั้ง.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและมินัสมอร์กูล
มินัสทิริธ
มินัสทิริธ (Minas Tirith) เป็นชื่อหอคอยในตำนานชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อเป็นคำในภาษาซินดาริน แปลว่า "หอคอยระวังภัย" ในปกรณัมปรากฏชื่อหอคอย มินัสทิริธ ทั้งในยุคที่หนึ่ง และยุคที่สาม ของอาร์ดา มินัสทิริธ จากภาพยนตร์ไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในปี 3320 ของยุคที่สอง ในขณะนั้นเมืองหลวงของอาณาจักร กอนดอร์ยังคงเป็น ออสกิเลียธ (Osgiliath) อิซิลดูร์ และ อนาริออน บุตรแห่งเอเลนดิล ทั้งสองได้ร่วมกันปกครอง ออสกิเลียธ แต่พวกเขาก็ยังสร้างปราการที่เป็นของตนเองด้วย โดยปราการทั้งสองนั้นตั้งอยู่คนละฟากของแม่น้ำอันดูอิน อิซิลดูร์ สร้างหอคอยจันทร์รุ่งเรียกว่า มินัสอิธิล ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ส่วนอนาริออน สร้างหอคอยตะวันรอนเรียกว่า มินัสอะนอร์ ทางตะวันตกของแม่น้ำ มินัสอะนอร์ถูกสร้างขึ้นเป็นป้อมปราการอย่างแข็งแกร่งและงดงาม แบ่งเป็น 7 ชั้น โดยมีประตูใหญ่ด้านหน้าและประตูชั้นต่อๆไปอยู่ด้านข้างสลับไปมาส่วนประตูชั้นบนสุดจะหันไปด้านหน้า กำแพงชั้นแรกสร้างด้วยวัสดุสีดำแบบเดียวกับที่ใช้ในออร์ธังค์ และชั้นอื่นๆทำด้วยหินอ่อน ในชั้นที่หกจะมีทางออกไปยังสุสานกษัตริย์และผู้พิทักษ์ส่วนชั้นที่เจ็ดเป็นที่ตั้งของท้องพระโรงและที่ปลูกพฤกษาขาว และด้านบนคือหอคอยที่เก็บรักษาดวงพาลันเทียร์ประจำมินัสอะนอร์หรือมินัสทิริธต่อมา ต่อมาในปี 3429 ของยุคที่สอง เซารอนโจมตีกอนดอร์ มินัสอิธิลถูกยึดไปได้ แต่กอนดอร์ยังสามารถรักษา ออสกิเลียธ และมินัสอะนอร์ไว้ได้ หลังจากนั้นก็สามารถขับไล่กองทัพเซารอนกลับไปยังมอร์ดอร์ได้ก่อนที่คณะพันธมิตรของมนุษย์และเอลฟ์กลุ่มสุดท้ายมาถึง อนาริออนเสียชีวิตในระหว่างสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย ในปี 3440 และสงครามจบลงด้วยการพ่ายแพ้ของเซารอนในอีกปีต่อมา ในปีที่ 2 ของยุคที่สาม อิซิลดูร์ นำหน่ออ่อนของพฤกษาขาวที่นำออกมาจากมินัสอิธิลได้ทัน และนำมาปลูกไว้ที่ มินัสอะนอร์ เพื่อเป็นการรำลึกถึง อนาริออน ต่อมา ออสโตเฮอร์ (Ostoher) กษัตริย์ลำดับที่เจ็ดแห่งกอนดอร์ ได้ปรับปรุงและขยายมินัสอะนอร์ให้กว้างขึ้น หลังจากนั้นก็เกิดธรรมเนียมที่กษัตริย์แห่งกอนดอร์ จะเสด็จมาประทับที่มินัสอะนอร์ ในช่วงฤดูร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ออสกิเลียธก็ยังคงเป็นเมืองหลวงอยู่ ในปี 1437 ของยุคที่สาม เกิดสงครามกบฏที่เรียกว่า กบฏราชวงศ์ ทำให้ออสกิเลียธได้รับความเสียหาย และเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ทำให้เมืองถูกทิ้งร้าง จากนั้นมินัสอะนอร์จึงได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของกอนดอร์แทนที่ และได้มีการสร้างหอคอยสีขาวขึ้นในส่วนยอดของมินัสอะนอร์ เพื่อเป็นที่เก็บ พาลันเทียร์ ในปี 2002 มินัสอิธิล ถูกยึดอีกครั้งโดยพวกนาซกูล และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มินัสมอร์กูล หลังจากนั้นมินัสอะนอร์ก็ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เช่นกันว่า มินัสทิริธ ซึ่งหมายถึง 'หอคอยระวังภัย' เมื่อเซารอนกลับมาปรากฏตัวอีกครั้ง ในช่วงปลายยุคที่สาม กองทัพมอร์ดอร์ยกข้ามแม่น้ำอันดูอิน เช้าโจมตีมินัสทิริธ ซึ่งมี วิชคิง เป็นแม่ทัพ โดยทหารกอนดอร์ป้องกันกำแพงอยู่ภายในเมือง เกิดการรบกันอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งกองทัพมอร์ดอร์ใช้ กรอนด์ ทำลายประตูเมืองลงได้ ทหารมอร์ดอร์เคลื่อนพลหลั่งไหลเข้าเมือง (แต่ในฉบับนิยาย กรอนด์ไม่สามารถทำลายประตูเมืองได้ จนกระทั่งวิชคิงต้องมาร่ายเวทย์ทำลายประตูเมืองด้วยตัวเอง ประตูเมืองจึงถูกทำลาย แต่ทว่าทหารมอร์ดอร์ก็ยังไม่สามารถยกพลเข้าประตูเมืองได้เนื่องจากกองทัพโรฮันนำกองทัพกำลังเสริมมาช่วยเหลือกอนดอร์) ไม่นานนักทหารจากโรฮันก็เคลื่อนทัพมาถึงและเข้ามาช่วยไว้ได้ทัน เกิดการพุ่งรบกันบนสมรภูมิแห่งทุ่งพาเลนเนอร์ และในที่สุดอารากอร์นนำพลจากทางแม่น้ำอันดูอินขึ้นมาช่วยรบ จนได้รับชัยชนะ หลังจากสงครามมินัสทิริธได้รับการบูรณะใหม่โดยคนแคระจากเอเรบอร์ได้สร้างประตูเมืองขึ้นใหม่ด้วยมิธริลและมอบให้เป็นของขวัญแก่นคร ทั้งยังบูรณะถนนอาคารต่างๆด้วยหินอ่อนสีขาว และชาวเอลฟ์ได้นำต้นไม้มาประดับท้องถนนต่างๆและสร้างน้ำพุขึ้นจนเมืองถือได้ว่างดงามยิ่งกว่าที่เคยเป็นม.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและมินัสทิริธ
มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
มนุษย์ ตามความหมายในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ โดยสร้างขึ้นภายหลังเผ่าพันธุ์เอลฟ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น บุตรคนเล็กแห่งอิลูวาทาร์ เหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นเหตุการณ์ในตอนท้ายของยุคสมัยอันรุ่งเรืองของพวกเอลฟ์ เมื่อพ้นจากยุคของเอลฟ์แล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงรุ่งเรืองขึ้นและได้ครอบครองโลกทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
ยุคที่สองแห่งอาร์ดา
ที่สอง แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การจับกุมคุมขังเทพอสูรมอร์กอธไว้ในสุญญภูมิ หลังจากการล่มจมสมุทรของแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นผลจากสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามระหว่างปวงเทพแห่งแดนประจิมกับมอร์กอธ การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ ไปจนถึงการปราบปรามเซารอนลงสำเร็จในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย กินเวลายาวนานถึง 3,441 ปี เหตุการณ์ในยุคที่สองของอาร์ดา มิได้มีการบรรยายไว้โดยละเอียดเหมือนยุคที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏเนื้อหาอยู่ในตำนานเรื่อง ซิลมาริลลิออน แต่ได้มีการบรรยายสรุปโดยย่ออยู่ในภาคผนวกของหนังสือเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และในตำนานอคัลลาเบธ อันเป็นตำนานว่าด้วยการรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาจำนวนมากที่โทลคีนประพันธ์ค้างไว้ และคริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ Unfinished Tales.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและยุคที่สองแห่งอาร์ดา
ยุคที่สามแห่งอาร์ดา
ที่สามแห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การพ่ายแพ้ของเซารอนต่อกองทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายของมนุษย์และพราย (สงครามตอนต้นเรื่องในภาพยนตร์) เอกลักษณ์ของยุคนี้คือความเสื่อมถอยของพวกพราย หรือ เอลฟ์ การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอยของอาณาจักรกอนดอร์และอาร์นอร์ และการฟื้นอำนาจของเซารอน ยุคที่สามกินเวลา 3,021 ปี จนถึงความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย เมื่อโฟรโด แบ๊กกิ้นส์, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ และแกนดัล์ฟ เดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ จึงเริ่มนับเป็นยุคที่สี.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและยุคที่สามแห่งอาร์ดา
ยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา
ในจินตนิยายชุด ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า ยุคที่หนึ่ง มักหมายถึง ยุคที่หนึ่งของเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ส่วนใหญ่ที่ปรากฏในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ยุคนี้เริ่มต้นด้วยการตื่นขึ้นของเหล่าเอลฟ์ ที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน และจบลงด้วยการล้มล้างมอร์กอธ โดยกองทัพผสมระหว่างวาลินอร์กับเบเลริอันด์ ยุคที่หนึ่งกินเวลาหลายร้อยปีในวาเลียนศักราช และอีกเกือบ 590 ปีของยุคแห่งตะวัน หากคิดเวลารวมเป็นปีตะวัน อาจได้ช่วงเวลาประมาณ 4,902 ถึง 65,390 ปีตะวัน เนื่องจากวิธีการคำนวณปีวาลาร์เทียบกับปีตะวันในงานเขียนแต่ละชุดของโทลคีนมีความแตกต่างกัน ตัวเลขที่มากกว่าคิดเทียบจากข้อมูลในภาคผนวกของเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ส่วนเลขน้อยกว่าคิดจากงานเขียนในชุดแรกๆ ของเขา บางครั้งในงานเขียนอาจระบุถึง ยุคที่หนึ่ง ด้วยคำว่า ยุคบรรพกาล ด้วย มักมีความเข้าใจผิดกันว่า ยุคที่หนึ่ง เริ่มนับตั้งแต่ยุคแห่งตะวัน เพราะบางครั้งก็เอ่ยถึงว่า "ยุคที่หนึ่งแห่งตะวัน" ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่การกำเนิดของดวงตะวันเรื่อยไปจนถึงการสิ้นอำนาจของมอร์กอ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา
รายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธ
ีล็อบจาก ภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริง.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและรายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธ
ริเวนเดลล์
ริเวนเดลล์ จากภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ริเวนเดลล์ (Rivendell) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและริเวนเดลล์
ลอธลอริเอน
ลอธลอริเอน จากภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริงส์ ลอธลอริเอน (Lothlórien) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและลอธลอริเอน
ลูธิเอน
ลูธิเอน (Lúthien Tinúviel) เป็นเจ้าหญิงเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีชีวิตอยู่ในยุคบรรพกาลจนถึงยุคที่หนึ่งของมิดเดิ้ลเอิร์ธ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอลฟ์ที่งดงามที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลกอาร์ดา นางถูกกล่าวถึงในบทประพันธ์เรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในฐานะที่เป็นเอลฟ์ผู้ยอมสละชีวิตอมตะเพื่อได้ใช้ชีวิตอยู่กับคนรักที่เป็นชาวมนุษย์ (คือเบเรน) เรื่องราวโดยละเอียดของนางถูกประพันธ์ไว้ใน ซิลมาริลลิออน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและลูธิเอน
วันยาร์
ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาววันยาร์ (Vanyar) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนวันยาร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนแรกที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า อิมิน (Imin) แต่ผู้นำของชาววันยาร์ซึ่งต่อมากลายเป็นกษัตริย์แห่งเอลฟ์ทั้งปวง คือ อิงเว (Ingwë) เขาเป็นผู้แทนของเอลฟ์หนึ่งในสามคนที่ได้ไปเยือนวาลินอร์เป็นครั้งแรกตามคำเชิญของเทพโอโรเม ก่อนที่พวกเอลฟ์จะอพยพครั้งใหญ่ออกจากคุยวิเอเนนไปยังทวีปอามัน คำว่า วันยาร์ เป็นคำภาษาเควนยา หมายถึง "ผู้งดงาม" ชื่อดั้งเดิมของชาววันยาร์คือ มินยาร์ (Minyar) ซึ่งหมายถึง 'ตระกูลที่หนึ่งของเอลฟ์' สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาวโนลดอร์ และชาวเทเลริ ชาววันยาร์มีรูปร่างสูง ผมเป็นสีทอง (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ วันยาร์ - ผู้งดงาม) พวกเขาพูดภาษาเควนด์ยา (Quendya) ซึ่งเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเควนยา มีที่ใช้เฉพาะที่วาลินอร์เท่านั้น.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและวันยาร์
วาร์ดา
วาร์ดา (Varda) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในงานเขียนเรื่อง ซิลมาริลลิออน โดยเป็นหนึ่งในเทพีวาลิแอร์ ทรงเป็นเทพีแห่งดวงดาว และเป็นผู้ครองแสงสว่าง เป็นคู่ครองของเทพมานเว ซึ่งเป็นเทพบดีผู้เป็นใหญ่ในบรรรดาวาลาร์ทั้งปวง วาร์ดาเป็นผู้สร้างดวงดาวประดับบนฟากฟ้าหลังจากโลกอาร์ดาตกอยู่ในความมืดมิด เพื่อให้แสงจากดวงดาวช่วยส่องสว่างแก่โลก เมื่อครั้งที่พวกเอลฟ์ตื่นขึ้นเป็นครั้งแรก จึงได้เห็นแสงดาวก่อนสิ่งอื่น และหลงรักแสงดาวนั้น พวกเอลฟ์รักใคร่เทพีวาร์ดามากกว่าวาลาร์องค์ใดๆ เรียกขานนามของนางด้วยภาษาเควนยาว่า เอเลนทาริ (Elentári) ซึ่งหมายถึง ราชินีแห่งดวงดาว บ้างก็เรียกว่า ทินทัลเล (Tintallë) ซึ่งหมายถึง ผู้จุดแสงดาว ในภาษาซินดาริน คำทั้งสองคำนี้เรียกว่า เอลเบเร็ธ (Elbereth) และ กิลโธเนียล (Gilthoniel) ตามลำดับ หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์ ja:ヴァラ#ヴァルダ la:Ainur#Valar pl:Valar#Varda sv:Valar (Tolkien)#Varda.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและวาร์ดา
วาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)
วาลาร์ (Valar) เป็นชื่อเรียกชนชั้นสูงในชนเผ่า ไอนัวร์ (Ainur) ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีกล่าวถึงอยู่มากในตำนานเรื่องซิลมาริลลิออน ชนเผ่าไอนัวร์เป็นชนเผ่าที่ถือกำเนิดมาจากพระเจ้าสูงสุดในโลกอาร์ดา คือมหาเทพอิลูวาทาร์ เป็นพวกที่ช่วยมหาเทพสร้างพิภพต่างๆ และตระเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ กล่าวคือเป็นผู้ช่วยสร้างโลกอาร์ดานั่นเอง ชาวมนุษย์มักเรียกเหล่าไอนัวร์ว่า "เทพ" คำว่า "วาลาร์" เป็นคำภาษาเอลฟ์ หมายถึง "พลังอำนาจแห่งพิภพ" รูปคำ วาลาร์ (Valar) เป็นพหูพจน์ คำเอกพจน์คือ วาลา (Vala).
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและวาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)
วิชคิง
วิชคิงแห่งอังก์มาร์ (Witch King of Angmar) หรือ ราชาภูติ หรือ พญาโหงแห่งอังก์มาร์ เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและวิชคิง
สม็อก
ม็อก อาจหมายถึง.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและสม็อก
สงครามห้าทัพ
งครามห้าทัพหรือสงครามห้าเหล่าทัพ เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ปรากฏในช่วงท้ายของฮอบบิทบทประพันธ์ประเภทวรรณกรรมเยาวชนของเจ.อาร์.อาร์.โทลคีน ในชุดปกรณัมมิดเดิ้ลเอิร์ธ ซึ่งปรากฏในบทที่17 เมฆหมอกปะทุขึ้น ซึ่งจัดได้ว่าเป็นหนึ่งในสองสงครามสำคัญในประวัติศาสตร์ช่วงปลายยุคที่3 (อีกสงครามคือศึกที่ทุ่งเพลานอร์).
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและสงครามห้าทัพ
สงครามแหวน
งครามแหวน (The War of the Ring) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสงครามทั้งหมดที่ปรากฏในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและสงครามแหวน
สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย
ันธมิตรครั้งสุดท้ายของเอลฟ์และมนุษย์ (The Last Alliance of Elves and Men) เป็นชื่อเหตุการณ์สำคัญตอนหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย
ออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)
ออร์ค (Orc) ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างวิกลวิการ วิปริต จิตใจชั่วช้า เป็นสมุนของเทพฝ่ายมารนับแต่อดีต ได้แก่ มอร์กอธ และ เซารอน ความเป็นมาของออร์คนั้นไม่แน่ชัด แต่ตำนานหนึ่งเชื่อว่า นับแต่สมัยโบราณกาลในยุคที่หนึ่ง มอร์กอธแอบจับตัวพวกเอลฟ์ ไปทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ จนกลายสภาพเป็นสิ่งมีชีวิตที่วิปริต และดัดแปลงพันธุกรรมเสียใหม่ ด้วยความเคียดแค้นชิงชังในตัวพวกเอลฟ์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตแสนวิเศษที่ เอรู อิลูวาทาร์ทรงสร้างขึ้น พวกออร์คเรียกกันเป็นหลายชื่อ และยังมีเผ่าพันธุ์ย่อยอีกหลายเผ่าพันธุ์ ในเรื่อง เดอะฮอบบิท มักเรียกพวกออร์คว่า กอบลิน (Goblin) พวกเอลฟ์เรียกชนกลุ่มนี้ว่า อีร์ค (Yrch) แต่โทลคีนถอดความมาเป็นภาษาอังกฤษโดยเลือกใช้ชื่อสิ่งมีชีวิตโบราณในเทพนิยายมาใช้เป็น ออร์ค พวกออร์คส่วนใหญ่กลัวแสงแดด จึงมักหลีกเลี่ยงการเดินทางในเวลากลางวัน ในยามที่มอร์กอธหรือเซารอนต้องใช้กองทัพออร์คออกไปปฏิบัติการ จึงมักสร้างหมอกทึบเมฆดำปกคลุมผืนฟ้า เพื่อให้กองทัพออร์คเดินทางได้โดยสะดวก ในยุคที่สาม ซารูมานได้ผสมพันธุ์พวกออร์คขึ้นใหม่ ให้มีความทนทานต่อแสงอาทิตย์ และมีรูปร่างสูงใหญ่แข็งแรง มีชื่อเรียกว่า พวก อูรุก.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)
ออสกิเลียธ
ออสกิเลียธ จากภาพยนตร์ไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ออสกิเลียธ (Osgiliath) เป็นชื่อเมืองในตำนานชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและออสกิเลียธ
ออสซิริอันด์
ออสซิริอันด์ (Ossiriand) เป็นชื่อดินแดนในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ถูกกล่าวอ้างถึงอยู่ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า ดินแดนแห่งแม่น้ำทั้งเจ็ด หรือ ลินดอน ตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน เป็นดินแดนส่วนหนึ่งในแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเอลฟ์ในยุคที่หนึ่งของอาร.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและออสซิริอันด์
อักษรเทงกวาร์
ตัวอย่างภาษาอังกฤษที่เขียนด้วยอักษรเทงกวาร์ อักษรเทงกวาร์ (Tengwar) เป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอักษรเทงกวาร์
อามัน
อามัน (Aman) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งบนโลกอาร์ดา ในจินตนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น แผ่นดินอมตะ (Undying Lands) หรือ อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ (Blessed Realm) เนื่องจากบนดินแดนแห่งนี้เป็นที่อยู่ของบรรดาอมตะชนทั้งสิ้น แต่เดิมโลกอาร์ดามีทวีปเดียว มีทะเลสาบกลางแผ่นดินและเกาะกลางทะเลสาบนั้นชื่อว่า อัลมาเรน เป็นที่ประทับของเหล่าพลังอำนาจ หรือปวงเทพ หรือคือเหล่าไอนัวร์ ที่จำแลงร่างลงมาอยู่ในโลก แต่หลังจากมอร์กอธทรยศและทำลายผืนพิภพจนวอดวาย แผ่นดินและผืนน้ำเปลี่ยนรูปทรงไปทั้งหมด จึงเกิดเป็นทวีปใหญ่น้อยมากมาย ทวีปอามันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้ โดยเป็นทวีปที่อยู่ทางฟากตะวันตกสุดของอาร์ดา คั่นตัวออกจากทวีปอื่นด้วยมหาสมุทรใหญ่ชื่อ เบเลกายร์ หลังจากนั้นปวงเทพก็ย้ายมาประทับอยู่บนทวีปนี้ ตั้งเมืองศูนย์กลางของปวงเทพขึ้นเรียกว่า วาลินอร์ ภูมิประเทศในใจกลางทวีปเป็นที่ราบ และผืนป่า ซึ่งเป็นไร่นาของเทพียาวันนา และเขตป่าของเทพโอโรเม ด้านตะวันตกจรดทะเลวัฏฏะ (เอคไคอา) ด้านตะวันออกจรดทะเลเบเลกายร์ โดยมีขุนเขาสูงใหญ่ขวางกั้นไว้ที่ชายทวีปด้านตะวันออก มีชื่อว่า เทือกเขาเพโลริ ยอดเขาสูงสุดของเพโลริคือ ทานิเควทิล อันเป็นที่ประทับของจอมกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง คือมานเวเทพบดี นครวาลินอร์ตั้งอยู่เชิงขุนเขาแห่งนี้ ด้านนอกนครเป็นเนินสูงใหญ่ชื่อ 'เอเซลโลฮาร์' บนเนินเป็นที่ตั้งของที่ประชุมมนตรีพิพากษา (คือที่ประชุมของปวงเทพวาลาร์ เมื่อต้องมีการพิจารณาเหตุการณ์สำคัญ) ใกล้เนินเอเซลโลฮาร์เป็นที่ตั้งของทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ หลังจากชาวเอลดาร์เดินทางมายังอามัน ปวงเทพเห็นว่าพวกเขายังจำเป็นต้องได้รับกลิ่นไอจากมหาสมุทรใหญ่ และอากาศจากแผ่นดินเกิด จึงแหวกช่องเขาเพโลริให้แยกออกในช่วงกึ่งกลางของทวีป กลายเป็นช่องเขาคาลาเคียร์ยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครทิริออน เมืองหลวงของพวกเอลฟ์ ชายหาดริมมหาสมุทรใหญ่ใกล้กับนครนี้ มีชื่อเรียกว่า อ่าวเอลดามาร์ หรืออ่าวนิวาสเอลฟ์ เป็นที่ตั้งของนครอัลควาลอนเด เมืองหลวงของชาวเทเลริ ในอ่าวเอลดามาร์มีเกาะใหญ่แห่งหนึ่งตั้งอยู่ เกาะนี้เดิมคือแผ่นดินใหญ่ที่เทพอุลโมใช้นำพาเหล่าเอลฟ์ออกจากทวีปมิดเดิลเอิร์ธมาสู่อามัน แต่เมื่อถึงการเดินทางครั้งสุดท้ายของเหล่าเทเลริ พวกเขาขอให้เทพอุลโมหยุดยั้งการเดินทาง พระองค์จึงหยั่งรากของเกาะลงยึดกับก้นมหาสมุทรกลายเป็นเกาะขนาดใหญ่ มีชื่อว่า 'โทลเอเรสเซอา' หรือเกาะเอกา (Lonely Isle) บางครั้งในปกรณัมเรียกชื่อว่า 'เอเรสเซอา' บนเกาะนี้เป็นที่ตั้งของนครอวัลโลเน พวกเอลฟ์โนลดอร์ที่ถูกเนรเทศไปยังมิดเดิลเอิร์ธ เมื่อได้รับอภัยโทษและกลับคืนสู่แผ่นดินอมตะ ก็จะมาได้เพียงเกาะโทลเอเรสเซอาแห่งนี้ อามันได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินอมตะ ก็เพราะผู้อยู่อาศัยบนแผ่นดินนั้นล้วนเป็นอมตะชน ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ไปอยู่บนนั้นจะมีชีวิตยืนยาว ตรงกันข้าม ถ้ามนุษย์ผู้ไม่ได้รับอนุญาตเหยียบลงบนแผ่นดินนั้น กลับจะยิ่งเสียชีวิตเร็วขึ้นเพราะไม่อาจทนรับสภาพอากาศของแผ่นดินอมตะได้ มนุษย์ผู้แรกที่ได้เหยียบย่างขึ้นบนแผ่นดินอมตะ คือ เออาเรนดิลจอมนาวิก ซึ่งเสี่ยงชีวิตเดินทางไปขออภัยต่อปวงเทพในฐานะตัวแทนของสองเผ่าพันธุ์ (เอลฟ์และมนุษย์) ในเหตุการณ์ตอนปลายของยุคที่หนึ่ง เขาได้รับพรพิเศษจากปวงเทพให้เลือกได้ว่าจะเป็นเอลฟ์หรือมนุษย์ เออาเรนดิลเลือกเป็นเอลฟ์ จึงได้รับมอบหมายให้อัญเชิญดวงมณีซิลมาริลไปบนนาวาวิงกิล็อท เพื่อส่องแสงสว่างแก่โลกตลอดไป เหตุนี้เขาจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เออาเรนดิลผู้ได้รับพร ในช่วงปลายยุคที่สอง อาร์-ฟาราโซน กษัตริย์นูเมนอร์ คิดเหิมเกริมด้วยถูกยุยงจากเซารอน หมายจะไปชิงความเป็นอมตะจากปวงเทพ จึงยกทัพเรือไปจะตีอามัน จากเหตุการณ์นี้องค์อิลูวาทาร์จึงบันดาลให้มหาสมุทรใหญ่เกิดหุบเหวลึก ดูดเอาเกาะนูเมนอร์จมสมุทร แล้วย้ายอามันออกไปจากพิภพอาร์ดา บันดาลให้โลกกลม ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดสามารถเดินทางไปถึงอามันได้อีกเลย นอกจากผู้ได้รับอนุญาติจากเหล่าเอลฟ์ เช่น บิลโบ และ โฟรโด ซึ่งเป็นผู้ถือแหวน ที่สามารถไปถึงได้โดยผ่านทาง เส้นทางมุ่งตรง เท่านั้น เพื่อไปใช้ชีวิตเป็นอมตะกับ ชาวอมตะที่เหลือ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอามัน
อารากอร์น
อารากอร์น (Aragorn) หรือ อารากอร์นที่สอง บุตรแห่งอาราธอร์นที่สอง เป็นหนึ่งในตัวละครที่สำคัญในเรื่อง ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ของเจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอารากอร์น
อาร์ดา
อาร์ดา (Arda) เป็นชื่อดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งใช้ในความหมายแทนโลกของเราทั้งหมด อาร์ดาประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ มิดเดิลเอิร์ธ อามัน และ กาฬทวีป มีมหาสมุทรหลายแห่ง ที่สำคัญคือ มหาสาคร (The Great Sea) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เบเลกายร์ ในทะเลเบเลกายร์นี้เคยมีเกาะนูเมนอร์ ซึ่งล่มจมสมุทรไปตั้งแต่ยุคที่สองของอาร์ดา ดินแดนส่วนอื่นๆ ในอาร์ดามิได้ถูกเอ่ยถึง ตามปกรณัมของโทลคีน อาร์ดาเป็นส่วนหนึ่งของ เออา (Ea) คือจักรวาลแห่งพิภพที่มหาเทพอิลูวาทาร์สร้างขึ้นในสุญญภูมิ ด้วยการบรรเลงบทเพลงมหาคีตา ซึ่งมีจิตวิญญาณแรกเริ่ม (หรือไอนัวร์) ช่วยในการสร้างด้วย การสร้างครั้งนั้นเรียกว่า มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อเออาถือกำเนิดขึ้น ไอนัวร์บางส่วนได้ลงมาอยู่ในโลกนี้เพื่อปกปักรักษาและตระเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ไอนัวร์ที่ลงมายังอาร์ดา พวกที่มีพลังอำนาจสูง เรียกว่า วาลาร์ ส่วนพวกที่มีฤทธิ์น้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ ไอนัวร์เหล่านี้บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า ปวงเทพ โลกอาร์ดาแต่ดั้งเดิมเมื่อเริ่มสร้างนั้นเป็นแผ่นดินแบนๆ ที่ล้อมรอบด้วยทะเลวัฏฏะ (Encircling Sea) มีชื่อเรียกว่า เอคไคอา (Ekkaia) ข้างใต้เป็นโถงถ้ำมากมาย ข้างบนเป็นเขตห้วงเวหามีชื่อว่า อิลเมน แผ่นดินดั้งเดิมเป็นทวีปเดี่ยวตั้งอยู่ตรงกลาง มีทะเลสาบอยู่ใจกลางทวีป และมีเกาะอยู่กลางทะเลสาบนั้น ชื่อว่า เกาะอัลมาเรน เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าวาลาร์และไมอาร์ เมื่อเกิดสงครามระหว่างปวงเทพขึ้น ทำให้แผ่นดินเกิดวินาศวอดวาย แตกเป็นทวีปต่างๆ พวกวาลาร์และไมอาร์จึงย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน ซึ่งอยู่ทางสุดตะวันตกของอาร์ดา ส่วนทวีปมิดเดิลเอิร์ธที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอาร์ดา ได้กลายเป็นถิ่นฐานที่อาศัยของบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือพวกเอลฟ์ และมนุษย์ มีมหาสาครหรือเบเลกายร์ กั้นกลางระหว่างสองทวีปนี้ ในช่วงปลายยุคที่สอง เมื่อมนุษย์ชาวนูเมนอร์เหิมเกริมจะบุกรุกทวีปอามันเพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ปวงเทพจึงจมเกาะนูเมนอร์เสีย และย้ายทวีปอามันออกไปเสียจากโลก บันดาลให้โลกกลายเป็นโลกกลม แม้แล่นเรือไปทางตะวันตกจนสุดหล้า ก็จะหวนกลับมายังจุดตั้งต้นได้อีกครั้ง การจะไปถึงทวีปอามันได้ต้องเดินทางผ่านเส้นทางมุ่งตรง ซึ่งจะไปได้โดยพวกเอลฟ์เท่านั้น.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอาร์ดา
อาร์นอร์
ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อาร์นอร์ (Arnor) หรือ อาณาจักรเหนือ เป็นอาณาจักรของมนุษย์ชาวดูเนไดน์ ในดินแดนแห่ง เอเรียดอร์ ในมิดเดิลเอิร์ธ ชื่อดังกล่าวน่าจะแปลว่า "ดินแดนแห่งกษัตริย์" มาจากภาษาซินดารินว่า อารา (Ara-) (แปลว่า สูงส่ง, เกี่ยวกับกษัตริย์) + (น)ดอร์ ((n) dor) (แปลว่า ดินแดน) ปรากฏอยู่ในนิยายทั้ง ซิลมาริลลิออน และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในช่วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น อาณาจักรอาร์นอร์แผ่กว้างไกลครอบคลุมดินแดนเกือบทั้งหมดของเอเรียดอร์ ตั้งแต่แม่น้ำบรุยเนน กวาโธล ไปจนถึงแม่น้ำลูห์น รวมทั้งดินแดนซึ่งต่อมารู้จักในนามว่า ไชร์ ด้วย ประชากรของอาร์นอร์ประกอบด้วยชาวดูเนไดน์ในดินแดนตะวันตกตอนกลางของอาณาจักร และชาวพื้นเมืองหรือลูกครึ่ง (รวมทั้งพวกต่อต้าน).
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอาร์นอร์
อาร์เวน
อาร์เวน อุนโดเมียล (Arwen Undómiel) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอาร์เวน
อาวเล
อาวเล (Aulë) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในงานเขียนเรื่อง ซิลมาริลลิออน โดยเป็นหนึ่งในเทพวาลาร์ ทรงเป็นเทพแห่งการช่าง เป็นผู้ลงแรงสร้างพิภพมากที่สุดองค์หนึ่ง และมีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์เสมอด้วยหรืออาจสูงกว่าเมลคอร์เสียอีก เทพอาวเลเป็นผู้สร้างเผ่าพันธุ์คนแคระ และทรงเป็นอาจารย์ของเอลฟ์ชาวโนลดอร์ สองเผ่าพันธุ์นี้จึงสมัครรักใคร่กันดีในยุคแรกๆ ก่อนจะเกิดเหตุวิวาทกันด้วยสงครามชิงซิลมาริล เทพอาวเลทรงสร้างผลงานกระเดื่องหลายชิ้น เช่น ตรวนอังไกนอร์ ที่ใช้ล่ามจอมมารมอร์กอธ, มหาชวาลา อิลลูอิน กับ ออร์มัล ที่ส่องแสงสว่างให้แก่โลกก่อนแสงชนิดใดๆ ทั้งสิ้น, รวมทั้งนาวาแห่งดวงตะวันและเกาะแห่งจันทรา ที่ประดิษฐานแสงสุดท้ายของทวิพฤกษา กลายเป็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ส่องแสงให้แก่พิภพ เทพอาวเลอภิเษกกับเทพียาวันนา เทพีผู้ครองความอุดมสมบูรณ์ ผู้ดูแลพืชพรรณและสรรพสิ่งที่เจริญเติบโต การที่อาวเลสร้างคนแคระทำให้ยาวันนาไม่ค่อยพอใจ เพราะคนแคระนิยมใช้ขวานและชอบตัดต้นไม้ พระนางจึงไปทูลขอมานเวเทพบดี ให้ป่าไม้มีผู้คอยพิทักษ์รักษา เป็นกำเนิดของเหล่าพฤกษบาล หรือพวกเอนท์ หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์ ja:ヴァラ#アウレ la:Ainur#Valar pl:Valar#Aulë sv:Valar (Tolkien)#Aulë.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอาวเล
อิลูวาทาร์
อรู อิลูวาทาร์ เป็นชื่อภาษาเอลฟ์ของ "พระเจ้า" แห่งปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในฐานะเป็นพระผู้สร้างเพียงหนึ่งเดียว เป็นผู้สร้างเหล่าเทพไอนัวร์ เป็นผู้สร้าง เออา หรืออาร์ดา และสรรพชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนั้น แม้จะเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุด แต่ก็มิได้ถูกเอ่ยถึงเลยในนิยายซึ่งสร้างชื่อเสียงฉบับแรกๆ ของเขา คือ เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (มีกล่าวถึงในภาคผนวกของ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เล็กน้อยด้วยคำว่า "พระผู้เป็นหนึ่ง") โทลคีนระบุในจดหมายหลายครั้งว่า งานประพันธ์ของเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา อย่างไรก็ดี โทลคีนถือได้ว่าเป็นคาทอลิกผู้เคร่งครัด เห็นได้ว่าโทลคีนไม่สามารถสร้างโลกที่ "ปราศจากพระเจ้า" ได้ บทประพันธ์ชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของโทลคีน เป็นงานเขียนที่เขาจินตนาการว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อนานแสนนานมาแล้ว และการตีความเรื่อง "พระเจ้า" ของผู้คนในอดีตกาล ก็ย่อมอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป ชื่อ 'อิลูวาทาร์' เชื่อว่าอาจได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อเทพีแห่งสรวงสวรรค์ อิลมาทาร์ (Ilmatar) หนึ่งในจิตวิญญาณบริสุทธิ์ที่ปรากฏในมหากาพย์ คาเลวาล.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอิลูวาทาร์
อิซิลดูร์
อิซิลดูร์ (Isildur) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales ชื่อ 'อิซิลดูร์' หมายถึง 'ผู้รักใคร่ในดวงจันทร์' ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ อิซิลดูร์ถูกเอ่ยถึงในฐานะชาวดูเนไดน์แห่งนูเมนอร์ โอรสของกษัตริย์เอเลนดิล ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอาร์นอร์และกอนดอร์ในช่วงเวลาสั้นๆ และทรงเป็นบรรพชนของอารากอร์น เอเลสซาร์ เรื่องราวโดยละเอียดของเขาจะปรากฏอยู่ใน ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales มากกว.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอิซิลดูร์
อุลโม
อุลโม (Ulmo จาก ภาษาวาลาริน Ulubôz, Ullubôz หรือ Ulumō) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ทรงเป็นหนึ่งในเทพวาลาร์ผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งสมุทร เทพองค์นี้หากเปรียบเทียบกับเทพนิยายก็จะมีสถานะเทียบเท่ากับเทพโพไซดอนของเทพนิยายกรีก และเทพเนปจูนของเทพนิยายโรมัน เทพอุลโมทรงอยู่อย่างสันโดษใต้น้ำ-พื้นพิภพ มิได้อาศัยอยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน ตัวพระองค์เองมิได้ชื่นชอบการเดินบนพื้นโลกมากนัก และน้อยนักที่จะสวมอาภรณ์ตามมาตรฐานของเหล่าวาลาร์องค์อื่น เทพอุลโมทรงรักใคร่ทั้งชาวเอลดาร์ (เอลฟ์) และเอไดน์ (มนุษย์) มิเคยทอดทิ้งพวกเขาเลยแม้แต่ในยามที่พวกเขาต้องตกอยู่ใต้ความพิโรธของเหล่าวาลาร์ เทพอุลโมทรงเครื่องบรรเลงดนตรีอันยิ่งใหญ่จากแตรเขาสัตว์ ชื่อว่าอุลุมูรี (Ulumúri) ประดิษฐ์ขึ้นมาจากเปลือกหอยสีขาว และผู้ซึ่งได้สดับดนตรีนี้ยังคงได้ยินกังวาลอยู่ในหัวใจชั่วนิรันดร์ แล้วจะโหยหาท้องทะเลจนไม่อาจจากไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเทพอุลโมจะตรัสแก่ผู้อาศัยในโลกด้วยสุรเสียงซึ่งได้ยินเป็นเพียงแค่เสียงของสายน้ำ ด้วยเหตุที่ว่าสิ่งที่เกี่ยวกับน้ำทั้งหมดต่างอยู่ในอำนาจปกครองของท่าน เหล่าพรายจึงกล่าวกันว่าจิตวิญญาณของเทพอุลโมนั้นไหลอยู่ในเส้นเลือดแห่งพื้นพิภพ ดังนั้นข่าวต่างๆ เกี่ยวกับความเดือดเนื้อร้อนใจและความทุกข์เข็ญของโลกจึงมาถึงเทพอุลโมได้แม้ในก้นบึ้งของมหาสมุทร ซึ่งอาจจะแม้แต่เทพมานเวเองยังมิอาจทรงรับรู้ถึงได้.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอุลโม
อคัลลาเบธ
อคัลลาเบธ (Akallabêth) เป็นเนื้อหาส่วนที่สี่ในหนังสือเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ใน ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์การล่มสลายของเกาะนูเมนอร์ในยุคที่สองของอาร์ดา ซึ่งเป็นอาณาจักรของมนุษย์ชาวเอไดน์ที่ได้รับเป็นของขวัญจากเทพวาลาร์ คำว่า อคัลลาเบธ เป็นคำในภาษาอดูนาอิก มีความหมายว่า การล่มสลาย (The Downfallen) ภาษาเควนยาเรียกว่า อทาลันเท (Atalantë).
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอคัลลาเบธ
อนาริออน
อนาริออน (Anárion) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales ชื่อของเขามีรากศัพท์มาจากคำภาษาเควนยา อนาร์ (Anar) ซึ่งหมายถึง 'ดวงอาทิตย์' อนาริออนเป็นโอรสองค์ที่สองของเอเลนดิล และเป็นน้องชายของอิซิลดูร์ พวกเขาทั้งสามคนพ่อลูกเป็นผู้นำกลุ่ม ผู้ศรัทธา หรือ Elendili ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวนูเมนอร์ผู้ภักดีต่อปวงวาลาร์ใช้เรียกขานตัวเอง ในยุคสมัยที่ อาร์-ฟาราโซน กษัตริย์นูเมนอร์ คิดเหิมเกริมท้าอำนาจของปวงเทพ เนื่องจากความยโสอวดดีและหลงเชื่อในคำยุยงของเซารอน อนาริออนได้หนีออกจากเกาะนูเมนอร์พร้อมกับพ่อและพี่ชายได้ทันในคราวล่มเกาะ เขาขึ้นฝั่งมิดเดิลเอิร์ธในทางตอนใต้พร้อมกับพี่ชาย และได้ร่วมกันก่อตั้งอาณาจักรกอนดอร์ขึ้น ขณะที่เอเลนดิล บิดาของพวกเขาขึ้นฝั่งทางเหนือ และก่อตั้งอาณาจักรอาร์นอร์ ใกล้กับอาณาจักรลินดอนของกิลกาลัดสหายเก่า อนาริออนและอิซิลดูร์ได้ร่วมกันพัฒนาอาณาจักรกอนดอร์ให้ยิ่งใหญ่ ทั้งสองสร้างหอคอยมินัสอะนอร์ และ มินัสอิธิล รวมถึงสะพานใหญ่ข้ามอันดูอินและนครออสกิเลียธ โดยที่ออสกิเลียธมีความหมายถึงดวงดาว ซึ่งเป็นความหมายของชื่อ 'เอเลนดิล' มินัสอะนอร์กับแคว้นอนอริเอนตั้งชื่อตาม 'อนาริออน' ขณะที่ มินัสอิธิลกับแคว้นอิธิลิเอนตั้งชื่อตาม 'อิซิลดูร์' เมื่อเซารอนหวนคืนมามิดเดิลเอิร์ธ ก็ยกทัพมาโจมตีกอนดอร์และยึดมินัสอิธิลไปได้ อิซิลดูร์หนีขึ้นเหนือไปขอความช่วยเหลือจากเอเลนดิล ขณะที่อนาริออนเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาเมืองออสกิเลียธและอาณาจักรกอนดอร์ไว้ ทำให้เซารอนต้องถอยไปตั้งหลักอยู่หลังแนวขุนเขา จนกระทั่งทัพใหญ่ของเอเลนดิลยกมาถึง พวกเขาทั้งสามได้เข้าร่วมในกองทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายของเอลฟ์และมนุษย์ อนาริออนได้เข้ารบในสมรภูมิทุ่งดาร์กอลัด และสงครามการปิดล้อมบารัด-ดูร์ แต่แล้วก็เสียชีวิตในระหว่างการปิดล้อมครั้งนั้นในปีที่ 3340 ของยุคที่สอง อนาริออนมีบุตรสี่คน บุตรคนที่สี่คือ เมเนลดิล ได้เป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งกอนดอร์ ไม่มีข้อมูลอื่นกล่าวถึงบุตรสามคนก่อนหน้านั้น เมื่อสิ้นสุดยุคที่สอง อิซิลดูร์แต่งตั้งให้เมเนลดิลเป็นเจ้าผู้ครองกอนดอร์ ส่วนตัวพระองค์กับโอรสทั้งสามเดินทางขึ้นเหนือเพื่อไปครองอาณาจักรอาร์นอร์ต่อจากบิดา ซึ่งอิซิลดูร์เสียชีวิตในระหว่างการเดินทางคราวนั้นที่ทุ่งแกลดเดน สายวงศ์ของอนาริออนกับอิซิลดูร์ได้ร่วมเป็นสายเดียวกัน เมื่อทายาทคนหนึ่งในวงศ์อนาริออน คือเจ้าหญิงฟีริเอลแห่งกอนดอร์ ได้วิวาห์กับทายาทวงศ์อิซิลดูร์ คือเจ้าชายอาร์เวดุย แห่งอาร์เธไดน์ ซึ่งสืบสายโลหิตต่อมาจนถึงอารากอร์นที่ 2 ทำให้อารากอร์นมีศักดิ์และสิทธิ์ในการปกครองอาณาจักรทั้งสองรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอนาริออน
ฮอบบิท
อบบิท (Hobbit) เป็นเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือฮอบบิท และมีบทบาทสำคัญในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฮอบบิทเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ แต่มีขนาดย่อมกว่า และไม่ล่ำบึกบึนเหมือนอย่างคนแคระ เนื่องจากฮอบบิทมีขนาดราวครึ่งหนึ่งของมนุษย์ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฮาล์ฟลิง (Halfling) พวกเอลฟ์เรียกเขาว่า เพเรียนนัธ (Periannath) แต่พวกฮอบบิทเรียกตัวเองว่า คูดุค (Kuduk) ส่วนคำว่า ฮอบบิท มีที่มาจากคำในภาษาโรเฮียริคว่า โฮลบีตลาน (Holbytlan) ซึ่งหมายถึง ผู้อยู่ในโพรง ฮอบบิทมีภาษาพูดของตนเอง เรียกว่า ภาษาฮอบบิติช เป็นภาษาในตระกูลเดียวกันกับภาษาโรเฮียริค เนื่องจากถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวฮอบบิทกับชาวโรเฮียริมอยู่ใกล้เคียงกัน กอลลัม ในบทนำของเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ระบุว่า ฮอบบิทส่วนใหญ่มีความสูงประมาณ 2-4 ฟุต ความสูงเฉลี่ย 3 ฟุต 6 นิ้ว มีอายุเฉลี่ยราว 100 ปี (สูงสุดประมาณ 130 ปี) เท้าเป็นขนและเดินได้เงียบ ปลายหูแหลม อาศัยอยู่ในโพรง ชอบการกินอาหาร ชอบการละเล่นและความสนุกสนาน เป็นเผ่าพันธุ์ที่รักสงบ อายุยืนกว่ามนุษย์ธรรมดา ถ้าฮอบบิทอายุได้ 33 ปี จะเทียบกับมนุษย์ได้ 21 ปี เมื่อนั้นจึงจะถือว่าฮอบบิทคนนั้นเป็นผู้ใหญ่แล้ว ฮอบบิทกินอาหารถึงวันละ 7 มื้อ ได้แก่ มื้อเช้า, มื้อหลังเช้า, มื้อ 11 โมง, มื้อเที่ยง, มื้อน้ำชา, มื้อเย็น และมื้อดึก ทั้งนี้ไม่รวมของว่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ทานได้ตลอดทั้งวัน ทานครั้งแรกถึง 6 มื้อ ฮอบบิททานอาหารได้ทุกประเภท แต่ที่โปรดปรานที่สุดคือ เห็ด ช็อคโกแล็ต และเหล้าเอล และ ฮอบบิท ชอบทำขนมเค็กด้วย เผ่าพันธุ์ฮอบบิทเป็นผู้ชำนาญการด้านยาสูบ ดินแดนของพวกเขาเป็นแหล่งผลิตยาสูบมวนกระดาษสีดำชั้นดีที่สุดของมิดเดิลเอิร์ธ และพวกฮอบบิทก็ชอบใช้กล้องสูบยาด้ว.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและฮอบบิท
ฮูริน ธาลิออน
ฮูริน (Húrin) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในซิลมาริลลิออน งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตามปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ฮูรินเป็นชาวมนุษย์ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา เป็นทายาทตระกูลฮาดอร์ เจ้าแคว้นดอร์-โลมิน และเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีสมญาว่า ธาลิออน (Thalion) ซึ่งเป็นคำภาษาซินดาริน แปลว่า ผู้มั่นคง ฮูรินเป็นบุตรคนโตของกัลดอร์แห่งตระกูลฮาดอร์ มีน้องชายหนึ่งคนคือ ฮูออร์ ผู้เป็นบิดาของทูออร์ บิดาของเออาเรนดิล เมื่อยังเด็ก ฮูรินกับฮูออร์เคยได้รับความช่วยเหลือจากพญาอินทรีโธรอนดอร์หนีพ้นจากพวกออร์ค ไปลี้ภัยอยู่กับกษัตริย์ทัวร์กอนในกอนโดลิน ได้เป็นที่รักใคร่ขององค์กษัตริย์มาก ต่อมาภายหลังจึงได้หวนคืนดอร์-โลมิน ฮูรินแต่งงานกับมอร์เวนแห่งตระกูลเบออร์ มีบุตรด้วยกันสามคนคือ ทูริน อัวร์เวน และนิเอนอร์ หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ).
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและฮูริน ธาลิออน
ธิงโกล
อลู ธิงโกล (เควนยา) หรือ เอลเว ซิงโกลโล (ซินดาริน) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในวรรณกรรมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ปรากฏในหนังสือ ซิลมาริลลิออน และ ตำนานบุตรแห่งฮูริน ได้ชื่อว่าเป็นบุตรแห่งอิลูวาทาร์ที่สูงใหญ่และมีพลังอำนาจมากที่สุด เป็นรองแต่เพียงเฟอานอร์เท่านั้น ธิงโกลเป็นผู้นำของเอลฟ์ชาวเทเลริ เป็นตัวแทนผู้ได้รับเลือกจากเทพโอโรเมไปยังแผ่นดินอมตะเพื่อยลทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ พร้อมกันกับอิงเว และฟินเว หลังจากนั้นผู้นำเอลฟ์ทั้งสามจึงกลับมาชักชวนพลเมืองของตนให้เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนไปยังแผ่นดินอมตะ โดยที่ชาวเทเลริเดินทางอยู่ท้ายสุด เมื่อไปใกล้จะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ธิงโกลได้ล่วงหน้าออกจากกลุ่มเพื่อไปเยี่ยมฟินเว กษัตริย์โนลดอร์ สหายของตน ระหว่างทางเขาได้พบกับเทพีเมลิอันในป่า แล้วทั้งสองตกอยู่ใต้มนตร์เสน่หาที่นั้น พลเมืองของธิงโกลค้นหาเขาไม่พบ จนไม่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรใหญ่ไปกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ได้ หลังจากนั้น ชาวเทเลริที่ตกค้างอยู่จึงตั้งถิ่นฐานที่ริมมหาสมุทรใหญ่ ในแผ่นดินเบเลริอันด์ เอลฟ์กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า ชาวซินดาร์ มีธิงโกลและเมลิอัน เป็นราชาและราชินี อาณาจักรของพวกเขาเรียกว่า โดริอัธ ธิงโกลกับเมลิอันมีธิดาด้วยกันหนึ่งองค์ คือ ลูธิเอน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและธิงโกล
ทรีเบียร์ด
ทรีเบียร์ด (Treebeard) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ทรีเบียร์ด เป็นตัวละครเผ่าเอนท์หรือพวกต้นไม้ใหญ่ที่รูปร่างเหมือนคน เอนท์เป็นผู้คุ้มครองป่าแห่งความมืดนามว่า ป่าฟังกอร์น ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองไอเซนการ์ดและลอธลอริเอน ครั้งหนึ่งเคยครอบคลุมพื้นที่หลายพันไมล์ทั่วมิดเดิลเอิร์ธ แผ่ขยายไปถึงไชร์ต่อมาต้นไม้ถูกโค่นและเผาไปจำนวนมาก จนเหลือพื้นที่เพียงเล็กน้อยบริเวณทางใต้ของ เทือกเขามิสตี้เท่านั้นอยู่ตลอดมา เมื่อครั้งเมอร์รี่และปิ๊ปปิ้นหนีการจับกุมของพวกอุรุกไฮ ไปยังป่าฟังกอร์นที่อยู่ใกล้ๆ พวกเขาหลงทางในป่าและไปสะดุดกับต้นไม้สูงที่น่ากลัวต้นหนึ่งหน้าตาคล้ายกับชายแก่ ซึ่งก็คือทรีเบียร์ดและเขาก็ดูแล ฮอบบิท ทั้งสองเป็นอย่างดี เมอร์รี่และปิ๊บปิ้นพยายามชักจูงให้ทรีเบียร์ดเข้าร่วมสงครามแย่งชิงแหวน แต่เหล่าเอนท์ก็มิได้สนใจแต่อย่างใด จนกระทั่งทรีเบียร์ดรู้ว่าซารูมานหักหลังพวกเขา โดยจะตัดต้นไม้ทั้งหมดในป่าทิ้ง ทำให้เหล่าเอนท์ที่เหลืออยู่ทั้งหมดสร้างกองทัพและลุกฮือขึ้นด้วยความโกรธแค้น พวกเขาช่วยกันรวมพลเอนท์ครั้งสุดท้าย เหล่าเอนท์ซึ่งนำโดยทรีเบียร์ด เข้ายึดหอคอยออร์ธังค์ของพ่อมดขาวซารูมานในไอเซนการ์ด ทรีเบียร์ดเป็นเอนท์ที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลกตนหนึ่ง โดยเขาเคยร้องเพลงให้เมอร์รี่กับปิ๊บปิ้นฟัง ถึงเรื่องราวในอดีตเมื่อครั้งที่ตัวยังเยาว์ ว่าเคยเดินเล่นอยู่ในป่า นันทาซาริออน หรือก็คือแผ่นดินออสซิริอันด์ ดินแดนทางตะวันออกของเบเลริอันด์ ที่ล่มจมลงสู่ใต้มหาสมุทรเมื่อครั้งสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง หมวดหมู่:ตัวละครในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและทรีเบียร์ด
ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์
"''Creation of the Two Trees''" ในปกรณัมของ เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ (Two Trees of Valinor) เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยเทพียาวันนา ได้แก่ เทลเพริออน (Telperion) และ เลาเรลิน (Laurelin) อันเป็นพฤกษาเงินและทองซึ่งนำแสงสว่างมาสู่ดินแดนของ วาลาร์ ในโบราณกาล พวกมันถูกทำลายโดย เมลคอร์ และ อุงโกเลียนท์ แต่วาลาร์นำดอกไม้และผลสุดท้ายของพวกมันไปสร้างเป็น ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิต.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์
ทอม บอมบาดิล
ทอม บอมบาดิล เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี..1954-1955 นอกจากนี้ยังเป็นตัวเอกในหนังสือ การผจญภัยของทอม บอมบาดิล ซึ่งเป็นงานกวีนิพนธ์ชิ้นหนึ่งของโทลคีน ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ..1962.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและทอม บอมบาดิล
ทัวร์กอน
ทัวร์กอน (Turgon) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในปกรณัมเรื่อง ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน พระองค์เป็นเอลฟ์ชาว โนลดอร์ เป็นโอรสองค์ที่สองของฟิงโกลฟิน ซึ่งเป็นโอรสของฟินเว จอมกษัตริย์แห่งโนลดอร์ ทรงมีพี่ชายหนึ่งองค์คือ ฟิงกอน และน้องสาวหนึ่งองค์ คือ อาเรเดล ท่านหญิงขาว ชื่อ 'ทัวร์กอน' เป็นภาษาซินดาริน แผลงมาจากคำเควนยาว่า ทูรูคาโน (Turukáno) มีความหมายว่า 'เจ้าชายผู้กล้าหาญ'.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและทัวร์กอน
ทิริออน
ในปกรณัมของโทลคีน ทิริออน อัพอน ทูนา (Tirion upon Túna แปล: ทุ่งสีเขียวแห่งทูนา) เป็นนครหลวงของพวกเอลฟ์ เคยเป็นนครของชาวโนลดอร์ และภายหลังพวกวันยาร์ได้ย้ายเข้ามาอยู่ ตั้งอยู่ในแคว้นวาลินอร์บนทวีปอามัน ปกครองโดยราชวงศ์ฟินเว เคยมีฟินเวเป็นเจ้าผู้ครองและเป็นที่อยู่อาศัยของโอรสทั้งสาม คือ เฟอานอร์, ฟิงโกลฟิน และ ฟินาร์ฟิน นครทิริออนตั้งอยู่บนยอดของหุบเขาคาลาเคียร์ยา (เป็นภาษาเควนยาว่า "หุบเขาแห่งแสง") กำแพงและดาดฟ้าของนครแห่งนี้ล้วนแต่เป็นสีขาวบริสุทธิ์ ก้อนกรวดบนถนนหนทางล้วนแต่เป็นเพชร มีบันไดแก้วพาดยาวจากแผ่นดินเบื้องล่างสู่มหาประตู ใจกลางเมืองเป็นที่ตั้งของหอคอยมินดอน เอลลาเลียเว บนหอคอยแห่งนี้มีตะเกียงเงินที่ส่องแสงได้ไกลถึงมหาสมุทร ที่ใต้หอคอยเป็นที่พำนักของอิงเว ปฐมกษัตริย์แห่งโนลดอร์และผู้นำของวันยาร์ ในนครแห่งนี้ยังมีมหาจัตุรัสซึ่งประดับด้วยพฤกษาขาวกาลาไธลิออน ซึ่งเป็นที่สาบานสละอำนาจของอิงเว.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและทิริออน
ทุ่งแกลดเดน
ทุ่งแกลดเดน (The Gladden Fields) เป็นชื่อสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกมิดเดิลเอิร์ธ ในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏกล่าวถึงอยู่มากในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ทุ่งแกลดเดนมีชื่อเรียกในภาษาซินดารินว่า ลอยก์นิงกลอรอน (Loeg Ningloron) ตั้งอยู่ในหุบเขาแม่น้ำแกลดเดน ซึ่งเป็นแควสาขาสายหนึ่งของแม่น้ำอันดูอิน แต่เดิมดินแดนแถบนี้เป็นทะเลสาบ ซึ่งเกิดจากแม่น้ำแกลดเดนที่ไหลมาจากเทือกเขามิสตี้ ก่อนบรรจบลงสู่แม่น้ำอันดูอิน แต่เมื่อล่วงเข้าถึงยุคที่สาม ทะเลสาบนั้นก็ตื้นเขินจนกลายเป็นเพียงบึงเฉอะแฉะ รอบๆ บึงเป็นทุ่งดอกไอริสสีสวยสดใส ดอกไอริสเรียกว่า นิงกลอร์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อบึง ลอยก์นิงกลอรอน และชื่อแม่น้ำ เซียร์นิงกลอร์ เหตุการณ์สำคัญในวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในสถานที่แห่งนี้ คือในปีที่ 2 ของยุคที่สาม อิซิลดูร์กับโอรสทั้งสามถูกพวกออร์คซุ่มโจมตีขณะเดินทางผ่านทุ่งแห่งนี้ อิซิลดูร์ซึ่งพยายามหลบหนีโดยสวมแหวนเอกทำให้หายตัวได้ แล้วกระโดดลงไปในแม่น้ำ แต่แหวนเอกเลื่อนหลุดจากนิ้วทำให้เขาปรากฏตัวขึ้นกะทันหัน พวกออร์คจึงยิงธนูอาบยาพิษโดนอิซิลดูร์สิ้นพระชนม์ ส่วนโอรสทั้งสามก็สิ้นพระชนม์ทั้งหมดในการรบในทุ่งแกลดเดน หลังจากนั้นอีกกว่าสองพันห้าร้อยปี ทุ่งแกลดเดนได้กลายเป็นที่อาศัยของเหล่าฮอบบิทเชื้อสาย 'สตัวร์' ซึ่งมีนิสัยชอบเล่นน้ำพายเรือและตกปลา ฮอบบิทคนหนึ่งชื่อ ดีเอโกล เก็บแหวนเอกขึ้นจากแม่น้ำ และถูกสังหารโดยเพื่อนของเขา สมีโกล ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ กอลลัม.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและทุ่งแกลดเดน
ทูริน ทูรัมบาร์
ทูริน ทูรัมบาร์ (Túrin Turambar) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือซิลมาริลลิออน และต่อมาได้เป็นตัวละครเอกในนิยายเรื่อง ตำนานบุตรแห่งฮูริน ทูรินเป็นตัวละครที่โทลคีนสร้างขึ้นในลักษณะ anti-hero แบบหนึ่ง คือเป็นวีรบุรุษในโศกนาฏกรรม เขาเป็นมนุษย์ ที่มีชีวิตอยู่ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา บิดาของทูรินคือ ฮูริน ประมุขของตระกูลฮาดอร์ เขาถูกมอร์กอธจับตัวไปได้หลังจากสงครามเนียร์นายธ์อาร์นอยดิอัด แต่ฮูรินไม่ยอมจำนนต่อมอร์กอธ ทำให้มอร์กอธสาปแช่งตระกูลของฮูรินทั้งตระกูลให้ประสบหายน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและทูริน ทูรัมบาร์
ที่ประชุมของเอลรอนด์
ในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ประชุมของเอลรอนด์ (Council of Elrond) เป็นชื่อการประชุมลับคราวหนึ่งที่เรียกประชุมโดย เอลรอนด์ จัดการประชุมขึ้นที่อาณาจักรเอลฟ์ ริเวนเดลล์ เพื่อหารือในหมู่อิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ ว่าจะทำประการใดกับ แหวนเอก ต่อไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในหนังสือ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ภาคแรก เล่มสอง บทที่สอง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ก่อตั้ง คณะพันธมิตรแห่งแหวน (The Fellowship of the Ring) อันเป็นชื่อของหนังสือภาคแรกในฉบับภาษาอังกฤษ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและที่ประชุมของเอลรอนด์
ดาบนาร์ซิล
นาร์ซิล (Narsil) เป็นอาวุธสำคัญซึ่งปรากฏในนวนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในฐานะเป็นดาบของกษัตริย์เอเลนดิล ซึ่งสืบทอดต่อมาถึงอารากอร์น ดาบนี้ถูกทำลายแตกเป็นเสี่ยงๆ ในสงครามระหว่างทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายกับทัพของเซารอนในตอนปลายยุคที่สอง ภายหลังดาบนี้ถูกตีขึ้นมาใหม่มีชื่อว่า อันดูริล (Anduril) ปรากฏในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและดาบนาร์ซิล
ดูริน
ูริน เป็นนามของกษัตริย์คนแคระในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ ดูริน และชื่ออื่นๆ ของคนแคระ เป็นชื่อที่โทลคีนนำมาจากตำนานนอร์สโบราณ เขาเคยเขียนอรรถาธิบายเรื่องภาษาต่างๆ ไว้ว่า เขาเลือกใช้ภาษาอังกฤษ แทนภาษาเวสทรอนในโลกมิดเดิลเอิร์ธ และใช้ภาษานอร์สโบราณ แทนภาษาของชาวเดล ที่เหล่าคนแคระใช้ในการเรียกชื่อเฉพาะต่างๆ ของตนยามติดต่อสื่อสารกับชนเผ่าอื่น.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและดูริน
ดูเนไดน์
ในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ดูเนไดน์ (Dúnedain; เอกพจน์ คือ ดูนาดาน (Dúnadan)) คือ เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ผู้สืบสายเลือดจาก ชาวนูเมนอร์ ที่รอดจากการล่มสลายของอาณาจักรเกาะของพวกเขาและมายัง เอเรียดอร์ ในมิดเดิลเอิร์ธ นำโดย เอเลนดิล และบุตรชายของเขา คือ อิซิลดูร์ และ อนาริออน พวกเขายังถูกเรียกว่ามนุษย์แห่งตะวันตก (Men of the West) และ Men of Westernesse (แปลโดยตรงจากคำ ซินดาริน) พวกเขาตั้งรกรากส่วนใหญ่ใน อาร์นอร์ และ กอนดอร์ ชื่อภาษาเวสทรอน ของคำว่า ดูนาดาน เรียกง่าย ๆ ว่า อะดูน (Adûn) ซึ่งแปลว่า "ชาวตะวันตก" แต่ชื่อนี้มันถูกใช้น้อยมาก ชื่อนี้จะถูกรักษาไว้กับชาวนูเมนอร์ที่เป็นสหายกับพราย ส่วนพวกอื่นซึ่งเป็นศัตรูเหลือรอดจากการล่มสลายรู้จักกันในนาม ชาวนูเมนอร์ดำ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและดูเนไดน์
คริสโตเฟอร์ โทลคีน
ริสโตเฟอร์ โรนัลด์ รูเอล โทลคีน (Christopher John Reuel Tolkien, 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 -) คือบุตรคนสุดท้ายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้เขียนลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขาเป็นที่รู้จักกันดีจากการนำผลงานที่บิดาได้เขียนค้างไว้มาเรียบเรียงและตีพิมพ์ เขายังเป็นผู้วาดแผนที่ในเรื่องลอร์ดออฟเดอะริงส์ด้วย โดยได้ลงชื่อไว้ว่า C.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและคริสโตเฟอร์ โทลคีน
คาซัดดูม
ห้องโถงใหญ่ในอาณาจักรดวาโรว์เดล์ฟ จากภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริงส์ คาซัด-ดูม (Khazad-dûm) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งบนมิดเดิลเอิร์ธ ในนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ประพันธ์โดย เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและคาซัดดูม
คิริธอุงโกล
คิริธอุงโกล (Cirith Ungol) เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในมิดเดิลเอิร์ธ ในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ.อาร์.อาร์.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและคิริธอุงโกล
คณะพันธมิตรแห่งแหวน
ณะพันธมิตรแห่งแหวน คณะพันธมิตรแห่งแหวน (The Fellowship of the Ring) เป็นชื่อของกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและคณะพันธมิตรแห่งแหวน
คนแคระ
วาด ''Men hur kommer man in i berget, frågade tomtepojken'' (''ข้าจะกลับไปในภูเขาได้อย่างไร, คนแคระน้อยถาม'') ของ จอห์น บาวเออร์ คนแคระ (Dwarf) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏในตำนานปรัมปราในกลุ่มประเทศเจอร์แมนิก (สแกนดิเนเวียและเยอรมัน) ปรากฏในเทพนิยาย นิยายแฟนตาซี และเกมอาร์พีจีจำนวนมาก มักมีพรสวรรค์อันวิเศษโดยเฉพาะด้านเกี่ยวกับการเหมืองและการโลหะ แนวคิดเริ่มแรกเกี่ยวกับกำเนิดตำนานของคนแคระไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แหล่งกำเนิดที่ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่สามารถค้นพบคือในตำนานปรัมปราของเจอร์แมนิกที่สืบทอดมาจากตำนานนอร์ส แต่กระนั้นก็หาหลักฐานได้ยากและมีรูปแบบหลากหลายมาก เรื่องราวที่ผิดเพี้ยนไปทำให้คนแคระดูน่าขบขันมากขึ้นและช่างเชื่อถือโชคลาง คนแคระมีลักษณะคล้ายมนุษย์ แต่เรื่องเล่าระบุถึงความสูงและชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างกันไป บางเรื่องถึงกับบรรยายพวกเขาไปคล้ายกับพวกเอลฟ์ เมื่อพิจารณาจากแหล่งข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุดและจากลักษณะตามธรรมชาติของคนแคระ เชื่อได้ว่าในยุคแรกๆ คนแคระมีความสูงพอกันกับมนุษย์นี้เอง บทบาทของพวกเขาในตำนานมักมีความผูกพันใกล้ชิดกับความตาย มีผิวกายซีด ผมสีเข้ม ชอบอยู่กับพื้นโลก มีประเพณีที่นิยมนับถือลัทธิภูตผี ซึ่งสอดคล้องกับความผูกพันกับความตาย บางครั้งมีลักษณะคล้ายคลึงกับพวก 'Vættir' หรือจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ เช่นพวกเอลฟ์ ตำนานปรัมปราเกี่ยวกับคนแคระที่พัฒนาการต่อมา มีข้อเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ พวกเขาดูน่าขบขันมากขึ้น มีความลึกลับมากขึ้น คนแคระเริ่มมีรูปร่างเตี้ยลงและน่าเกลียดมากขึ้นตามภาพลักษณ์ในยุคใหม่ รวมถึงภาพการใช้ชีวิตใต้พื้นดินของพวกเขาก็โดดเด่นยิ่งขึ้น คนแคระเป็นสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ที่มีทักษะด้านการโลหะอย่างวิเศษ มีชื่อเสียงในการสร้างของวิเศษในตำนานมากมาย แนวคิดเกี่ยวกับคนแคระในตำนานนอร์สยุคหลังมีความแตกต่างจากตำนานดั้งเดิมมาก คนแคระในแนวคิดใหม่นี้ไปปรากฏในเทพนิยายและนิทานพื้นบ้านในยุคหลังมากขึ้น (ดูเพิ่มเติมใน นิทานพื้นบ้านเยอรมัน และนิทานพื้นบ้านดัตช์) พวกเขากลายเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมีเวทมนตร์ ไม่สามารถมองเห็นได้ เป็นเจ้าแห่งมนตร์มายา คำสาป และคำล่อลวง แฟนตาซีและวรรณกรรมยุคใหม่ช่วยกันถักทอความเจ้าเล่ห์แสนกลให้กับเหล่าคนแคระเพิ่มเติมไปยิ่งกว่าคนแคระดั้งเดิม คนแคระในยุคใหม่จึงมีลักษณะเฉพาะตัวคือ มีร่างกายเตี้ยแคระ ผมและขนดกหนา มีความสามารถในการทำเหมืองและการช่างโลหะอย่างพิเศษ อย่างไรก็ดีวรรณกรรมยุคใหม่ยังบรรยายภาพของคนแคระที่แตกต่างกันออกไปอีกตามแต่ตำนานและประวัติศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น วรรณกรรมแฟนตาซีหลายเรื่องประดิษฐ์คิดค้นอำนาจหรือภาพลักษณ์ของคนแคระขึ้นใหม่ ทำให้ "คนแคระ" ในตำนานยุคใหม่ไม่อาจมีคำจำกัดความที่ชัดเจนได้ แต่แนวคิดเรื่องคนแคระมีร่างเตี้ยดูจะเป็นประเด็นที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด และคำว่า "คนแคระ" (dwarf) ก็ถูกนำมาใช้บรรยายถึงมนุษย์ร่างเตี้ยโดยทั่วไปไม่ว่าจะมีอำนาจเวทมนตร์หรือไม่ ดังนั้นคำจำกัดความสากลในยุคใหม่สำหรับคำว่า คนแคระ จึงหมายถึงสิ่งมีชีวิตร่างเตี้ย มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ อยู่ในวรรณกรรมแฟนตาซีและเทพน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและคนแคระ
คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)
นแคระ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างเล็กเตี้ย แต่ล่ำสันแข็งแรง ทรหดอดทน มีหนวดเครายาวเฟิ้ม เป็นชนเผ่าที่ชำนาญในการช่างมากที่สุด พวกเขาเป็นมิตรอย่างมากกับพวกฮอบบิท พวกคนแคระเรียกตัวเองว่า คาซัด อันเป็นชื่อที่เทพอาวเลตั้งให้กับพวกเขา แต่พวกเอลฟ์เรียกพวกเขาว่า เนากริม ซึ่งมีความหมายว่า ชนผู้ไม่เติบโตอีกต่อไป คนแคระมีบทบาทอยู่ในวรรณกรรมของโทลคีนหลายเรื่อง ได้แก่ เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน รวมถึงงานเขียนอื่น ๆ ของคริสโตเฟอร์ โทลคีนด้วย คือ Unfinished Tales และ ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและคนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)
ซารูมาน
ซารูมาน (Saruman) เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ ซารูมาน เป็นคำในภาษาเวสทรอนที่มนุษย์แห่งมิดเดิลเอิร์ธใช้เรียกเทพไมอาองค์นี้ พวกเอลฟ์เรียกเขาว่า คูรูเนียร์ ชื่อเดิมของเขาคือ คูรูโม เป็นหนึ่งในห้าไมอาร์ที่ปวงเทพส่งมาช่วยเหลือมิดเดิ้ลเอิร์ธในช่วงยุคที่สาม โดยเทพไมอาร์ทั้งห้าใช้ร่างจำแลงมาในรูปชายชรา และเรียกตัวเองว่า อิสทาริ หรือ พ่อมด ซารูมานได้รับฉายาว่า พ่อมดขาว เป็นผู้มีพลังอำนาจสูงสุดในหมู่พ่อมดทั้งห้.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและซารูมาน
ซิลมาริล
ในตำนานที่เขียนโดย เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ซิลมาริล (Silmaril) (มาจากภาษาเควนยา ว่า ซิลมาริลลิ) เป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ในจินตนิยาย ประกอบด้วยอัญมณีสามชิ้นที่สุกสว่างดังดวงดาว ภายในบรรจุแสงอันบริสุทธิ์ของ ทวิพฤกษา ซิลมาริลทำมาจากวัสดุใสดังผลึกคริสตัลที่เรียกว่า ซิลิมา ประดิษฐ์โดย เฟอานอร์ เอลฟ์ชาวโนลดอร์ ในวาลินอร์ ในช่วงยุคแห่งพฤกษา งานเขียนชุด ซิลมาริลลิออน ของโทลคีน มีหัวใจหลักของเรื่องเกี่ยวข้องกับดวงมณีซิลมาริลนี้เอง ว่าด้วยเรื่องราวของผู้สร้าง การถูกช่วงชิง และการแก้แค้น ตลอดจนชะตากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งหม.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและซิลมาริล
ซินดาร์
ซินดาร์ (Sindar) คือชื่อเรียกเอลฟ์กลุ่มหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า ซินดาร์ เป็นภาษาเควนยา ที่ชาวโนลดอร์พลัดถิ่นเรียกเอลฟ์กลุ่มนี้ มีความหมายว่า "ประชาชนสีเทา" เอกพจน์เรียกว่า ซินดา (Sinda) เอลฟ์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของเอลฟ์ในตระกูลเทเลริ ซึ่งเป็นตระกูลที่สามของพวกเอลฟ์ที่อพยพออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนน บางครั้งก็เรียกชาวซินดาร์ว่า เกรย์เอลฟ์ หรือ เอลฟ์เทา เมื่อแรกเริ่ม ชาวซินดาร์ออกเดินทางจากทะเลสาบคุยวิเอเนนพร้อมกับเอลฟ์เทเลริกลุ่มอื่นๆ แต่เมื่อเดินทางมาเกือบจะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ผู้นำของพวกเขาคือ เอลเว ซิงโกลโล หรือกษัตริย์ธิงโกล หลงทางหายไป พวกเขามัวแต่เฝ้าค้นหาติดตามผู้นำของตนอยู่ จนไม่ได้เดินทางข้ามมหาสมุทรไปพร้อมกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ในภายหลังจึงตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนริมมหาสมุทรใหญ่นั้นเอง แผ่นดินนั้นเรียกว่า เบเลริอันด์ และอาณาจักรของพวกเขามีชื่อว่า โดริอัธ ธิงโกลได้เป็นกษัตริย์ของพวกเขา โดยมีเทพีเมลิอัน ผู้เป็นเทพไมอาที่ตกหลุมรักธิงโกล อยู่เป็นราชินีของพวกเขา เนื่องจากเอลฟ์กลุ่มนี้ไม่ได้เดินทางไปสู่แผ่นดินอามัน จึงไม่มีโอกาสเห็นแสงแห่งทวิพฤกษา พวกเขาจึงไม่ใช่คาลาเควนดิ อย่างไรก็ดี พวกเขาก็ยังไม่ใช่พวกอวาริ เขาได้รับแสงสว่างจากแผ่นดินอมตะผ่านทางดวงพักตร์ของเทพีเมลิอัน จึงมีความเฉลียวฉลาดและมีวิทยาการสูงกว่าเอลฟ์พวกอื่นๆ บนมิดเดิลเอิร์ธ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกเรียกว่า เอลฟ์เทา หรือเอลฟ์แห่งสนธยา แต่ส่วนพวกเขาเองเรียกชื่อตัวเองว่า เอกลัธ (Eglath) ซึ่งหมายถึง ผู้ถูกทอดทิ้ง.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและซินดาร์
ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ
ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle-earth) เป็นชื่อชุดหนังสือจำนวน 12 เล่ม ที่รวบรวมงานเขียนต้นฉบับต่างๆ ของ เจ. อาร์.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ
ประวัติศาสตร์อาร์ดา
ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาร์ดา ซึ่งหมายถึงโลกและห้วงหาวที่ห่อหุ้มทั้งหมด เหตุการณ์นั้นเริ่มต้นตั้งแต่การสร้าง เออา หรือจักรวาลของโลก เหล่าไอนัวร์เข้ามายังอาร์ดา และเริ่มสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ใน ไอนูลินดาเล ระยะเวลาในช่วงนี้นับด้วยวาเลียนศก หลังจากนั้นประวัติศาสตร์ของอาร์ดาแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ที่มีการนับระยะเวลาแตกต่างกัน เรียกชื่อยุคทั้งสามว่า ยุคแห่งชวาลา ยุคแห่งพฤกษา และยุคแห่งตะวัน นอกจากนี้ยังมีการแบ่งแยกการนับศักราชแยกออกมาอีกเป็น ยุคของบุตรแห่งอิลูวาทาร์ โดยที่ยุคที่หนึ่งเริ่มนับตั้งแต่แรกที่พวกเอลฟ์ตื่นขึ้นที่ทะเลสาบคุยวิเอเนนระหว่างยุคแห่งพฤกษา และเรื่อยไปอีกประมาณหกร้อยปีในยุคแห่งตะวัน ยุคของเหล่าบุตรหลังจากนั้นเกิดขึ้นในยุคแห่งตะวันทั้งหมด เรื่องราวต่างๆ ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระหว่างสามยุคแรกของเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและประวัติศาสตร์อาร์ดา
นาซกูล
นาซกูล หรือภูตม้าดำ นาซกูล (Nazgûl) เป็นชื่อของตัวละครกลุ่มหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คำว่า 'นาซกูล' เป็นคำภาษาแบล็กสปีช มาจากคำว่า 'นาซ' (nazg) หมายถึง "แหวน" และคำว่า 'กูล' (gûl) หมายถึง "ดวงวิญญาณ หรือภูต" บางครั้งเรียกนาซกูลว่า ภูตแหวน หรือ ภูตม้าดำ คำในภาษาเควนยาของนาซกูล คือ อูไลริ (Úlairi) ส่วนคำในภาษาซินดาริน คือ อูไลอาร์ (Ulaer) นาซกูลมีทั้งหมดเก้าตน หัวหน้าของพวกนาซกูลคือ ราชันขมังเวทย์ หรือ วิชคิง แต่เดิมพวกเขาเป็นกษัตริย์หรือผู้นำของพวกมนุษย์บนมิดเดิลเอิร์ธที่หลงในอำนาจยศศักดิ์ซึ่งเซารอนสัญญาว่าจะยกให้ จึงยินยอมรับ แหวนแห่งกษัตริย์ หรือแหวนแห่งอำนาจเก้าวง เมื่อเวลาผ่านไปดวงจิตของพวกเขาก็ตกอยู่ใต้อำนาจของแหวนจนไม่สามารถถอนตัวคืนได้ และต้องกลายเป็นทาสรับใช้ของเซารอนและแหวนเอก นาซกูลออกรุกรานอาณาจักรของมนุษย์ครั้งแรก ในการบุกโจมตีอาณาจักรอาร์นอร์ และสามารถยึดอังก์มาร์ไปได้ ตั้งอาณาจักรแห่งอังก์มาร์ขึ้นเป็นอาณาจักรของตน (บางครั้งจึงเรียกหัวหน้าของพวกมันว่า 'วิชคิงแห่งอังก์มาร์') ต่อมาพวกนาซกูลเข้าโจมตีอาณาจักรกอนดอร์ และยึดเอาหอคอยมินัสอิธิลได้ เปลี่ยนหอคอยแห่งนั้นเป็น มินัสมอร์กูล เป็นฐานที่มั่นอีกแห่งหนึ่งของพวกตน การเข้ายึดมินัสอิธิลครั้งนั้นทำให้เซารอนได้ครอบครอง พาลันเทียร์ แห่งมินัสอิธิล ไปด้วย และได้ใช้พาลันเทียร์ดวงนี้ในการติดต่อกับซารูมาน และล่อลวงเดเนธอร์จนเสียสติ นาซกูลทั้งหมดถูกทำลายไปพร้อมกับการสิ้นสลายของแหวนเอก หมวดหมู่:ตัวละครในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ de:Figuren in Tolkiens Welt#Nazgûl (Ringgeister) simple:Middle-earth characters#Nazgûl.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและนาซกูล
นูเมนอร์
นูเมนอร์ (Númenor) เป็นชื่อเกาะแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นแผ่นดินที่แยกต่างหากออกมาจาก มิดเดิลเอิร์ธ มีแนวคิดในการประพันธ์มาจากแผ่นดินจมสมุทรแอตแลนติส ชื่อนูเมนอร์มาจากภาษาเควนยา ว่า Númenórë ซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินตะวันตก โทลคีนเขียนไว้ว่า เมื่อแปลงจากคำภาษาเควนยาเป็นภาษานูเมนอเรียน ชื่อนี้ออกเสียงเป็น อนาดูเน (Anadûnê).
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและนูเมนอร์
แกนดัล์ฟ
แกนดัล์ฟ (Gandalf) เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะ ฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ แกนดัล์ฟ เป็นคำในภาษาเวสทรอนที่มนุษย์แห่งมิดเดิ้ลเอิร์ธใช้เรียกเทพไมอาองค์นี้ ในขณะที่พวกเอลฟ์เรียกชื่อว่า มิธรันเดียร์ (Mithrandir) ชื่อเดิมของแกนดัล์ฟแท้จริงคือ โอโลริน (Olórin) เป็นหนึ่งในห้าไมอาร์ที่ปวงเทพส่งมาช่วยเหลือมิดเดิ้ลเอิร์ธในช่วงยุคที่สาม โดยเทพไมอาร์ทั้งห้าได้ใช้ร่างจำแลงมาในรูปชายชรา และเรียกตัวเองว่า อิสทาริ หรือ พ่อมด แกนดัล์ฟได้รับฉายาว่า พ่อมดเทา และได้เป็นพ่อมดขาวในตอนท้ายของเรื่อง แกนดัล์ฟบุคลิกลักษณะเป็นชายแก่ผมยาว หนวดยาวแต่แข็งแรง.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและแกนดัล์ฟ
แม่น้ำในมิดเดิลเอิร์ธ
มิดเดิลเอิร์ธ (Middle-Earth) คือดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ดินแดนนี้มีแม่น้ำสายต่างๆ มากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่อแม่น้ำที่สำคัญในมิดเดิลเอิร์ธ โดยนับจากเทือกเขาเอเร็ดลูอินออกมาทางตะวันออก สำหรับแม่น้ำที่อยู่ทางตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ดูเพิ่มเติมใน แม่น้ำในแผ่นดินเบเลริอัน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและแม่น้ำในมิดเดิลเอิร์ธ
แหวนแห่งอำนาจ
333px แหวนแห่งอำนาจ เป็นแหวนในจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริง.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและแหวนแห่งอำนาจ
แหวนแห่งเอลฟ์
แหวนแห่งเอลฟ์ หรือ ไตรธำมรงค์ เป็นสิ่งประดิษฐ์วิเศษในตำนานชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและแหวนแห่งเอลฟ์
แซมไวส์ แกมจี
แซมไวส์ แกมจี หรือ แซม (ยุคที่สาม 2983 - ยุคที่สี่ 62; S.R. 1383-1482) ตัวละครจากนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและแซมไวส์ แกมจี
โบโรเมียร์
โบโรเมียร์ เป็นตัวละครตัวหนึ่งในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือภาคแรกและช่วงต้นของภาคที่สอง โบโรเมียร์เป็นมนุษย์ชาวกอนดอร์ บุตรชายคนโตของเดเนธอร์ สจ๊วตแห่งกอนดอร์คนสุดท้าย และเป็นพี่ชายของฟาราเมียร์ เขาเกิดในปีที่ 2978 ของยุคที่สาม มีร่างกายสูงใหญ่ ผมสีดำ นัยน์ตาสีเทา เป็นผู้ทระนงองอาจ เก่งกล้าในการรบ และมีความเชื่อมั่นในศักดิ์ศรีของอาณาจักรแห่งชาวดูเนไดน์มาก โบโรเมียร์ได้เป็นผู้นำกองกำลังชาวกอนดอร์เข้าต่อกรกับทัพของเซารอนหลายครั้ง ก่อนที่เขาจะออกเดินทางไปยังริเวนเดลล์ เนื่องจากนิมิตฝันที่มองเห็น "ยมทูตแห่งอิซิลดูร์" ที่ริเวนเดลล์ โบโรเมียร์ได้เข้าร่วมในที่ประชุมของเอลรอนด์ และได้เข้าร่วมคณะพันธมิตรแห่งแหวน โดยในเบื้องต้นเขาคิดจะเดินทางกลับไปยังแผ่นดินเกิดที่กอนดอร์ และจะแยกจากคณะที่นั่น ทว่าเมื่อเดินทางไปได้เพียงชายแดนกอนดอร์ โบโรเมียร์ก็ได้หลงใหลในตัวแหวนเอกเข้าจึงพยายามเกลี้ยกล่อมแกมบังคับโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ให้มอบแหวนเอกแก่ตนเพื่อนำไปที่มินัสทิริธและนำไปใช้สู้กับเซารอน แต่โฟรโดไม่ยอมให้ โบโรเมียร์จึงได้ใช้กำลังแย่งแหวนทำให้โฟรโดหวาดกลัวจึงใช้แหวนเอกในการหลบหนีไป เมื่อโฟโดรหายตัวไปทำให้โบโรเมียร์โกรธและว่ากล่าวร้ายโฟรโดและฮอบบิท แต่ก็ได้สติก็เกิดเสียใจและเรียกร้องให้โฟรโดกลับมาหาตน แต่โฟรโดก็ไม่กลับมาเลย ทำให้คณะพันธมิตรแห่งแหวนต้องออกตามหาโฟรโดกันใหญ่ แต่ระหว่างนั้นเมอร์รี่และปิ๊นปิ๊นก็ถูกพวกออร์คมาจับตัวไป โบโรเมียร์ได้เข้าช่วยเหลือพวกเขาอย่างกล้าหาญ จนถูกสังหารในที่สุด ก่อนตาย โบโรเมียร์ได้สารภาพผิดต่อ อารากอร์นว่า ตนพยายามจะแย่งแหวนจากโฟรโด และขอร้องให้ช่วยเหลือเมืองมินัสทิริธและกอร์ดอร์ให้ได้ หลังจากนั้น อารากอร์น เลโกลัส และกิมลี ช่วยกันนำร่างของโบโรเมียร์ใส่ลงในเรือ พร้อมอาวุธและแตรแห่งกอนดอร์ที่แตกเป็นสองเสี่ยง ลอยเรือออกไปจนเรือล่วงผ่านน้ำตกเรารอส ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ปีที่ 3019 ของยุคที่สาม หมวดหมู่:ตัวละครในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ de:Figuren in Tolkiens Welt#Boromir simple:Middle-earth characters#Boromir.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและโบโรเมียร์
โฟรโด แบ๊กกิ้นส์
ฟรโด แบ๊กกิ้นส์ (Frodo Baggins) เป็นตัวละครในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน และเป็นตัวละครเอกในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขาถูกกล่าวถึงครั้งแรกในนิยาย ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน โดยเป็น ฮอบบิทจากไชร์ในฐานะหลานและทายาทของบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ โฟรโดได้รับสืบทอดแหวนเอกธำมรงค์จากบิลโบลุงของเขา และได้รับมอบหมายภารกิจในการนำแหวนเอกนี้ไปทำลายยังเขาเมาท์ดูมในดินแดนมอร์ดอร์ นอกจากนี้เขายังปรากฏในงานชิ้นอื่นของโทลคีนอีกอาทิ ตำนานแห่งซิลมาริล และ Unfinished Tales.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและโฟรโด แบ๊กกิ้นส์
โรฮัน
รฮัน (Rohan) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ บางครั้งถูกกล่าวถึงด้วยชื่อว่า ริดเดอร์มาร์ค (RidderMark) หรือ มาร์ค (Mark) ชาวโรฮันมีชื่อเรียกว่า "ชาวโรเฮียร์ริม" ซึ่งหมายถึง "ผองชนแห่งอาชา" พวกเขามีภาษาพูดเป็นของตัวเอง เรียกว่า "ภาษาโรเฮียร์ริค" แต่ก็สามารถใช้ภาษาเวสทรอน ในการติดต่อสื่อสารทั่วไป อาณาจักรโรฮันตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเทือกเขาเอเร็ดนิมไรส์ (เทือกเขาขาว) และทางใต้ของเทือกเขามิสตี้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้า เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงม้าพันธุ์ดีที่สุดบนมิดเดิลเอิร์ธ และชาวโรฮันยังเป็นผู้ชำนาญการรบบนหลังม้าที่สุดในโลกด้วย ตราสัญลักษณ์ของอาณาจักรโรฮันคือ ภาพอาชาสีขาวกระโจนบนพื้นหลังสีเขียว.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและโรฮัน
โอโรเม
โอโรเม (Oromë) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยเป็นหนึ่งในเทพวาลาร์ ชื่อในภาษาเควนยา มีความหมายว่า "ผู้เป่าแตรอันกึกก้อง" พระองค์มีแตรเขาสัตว์ประจำพระองค์ชื่อว่า วาลาโรมา (Valaróma) เทพโอโรเมเป็นเทพแห่งป่า ทรงมีชื่อในภาษาอื่นๆ และฉายามากมาย เช่น อะราว (Araw - ภาษาซินดาริน), อัลดารอน (Aldaron), อะรัม (Arum), เบมา (Béma), เทารอน (Tauron), อาราเม (Arāmē) พระองค์ได้รับสมัญญาว่าเป็น นายพรานแห่งเหล่าวาลาร์, นักขี่ม้าผู้ยิ่งใหญ่ และ เจ้าแห่งพนาไพร พระองค์เป็นเชษฐาของเทพีเนสซา และทรงอภิเษกกับเทพีวานา เทพโอโรเมมีม้าทรงสีขาวปลอดนามว่า นาฮาร์ (Nahar) ซึ่งเป็นชื่อที่พวกเอลฟ์เรียกตามเสียงร้องของมัน ในระหว่างยุคแห่งพฤกษาซึ่งเหล่าวาลาร์พากันไปประทับอยู่ที่วาลินอร์บนทวีปอามัน แต่เทพโอโรไมไม่ทรงละทิ้งมิดเดิ้ลเอิร์ธ พระองค์มักทรงม้าไปตามผืนแผ่นดินเพื่อกำราบเหล่ามาร พละกำลังของพระองค์เป็นรองเพียงแต่เทพทุลคัส แต่มีพระโทสะรุนแรงเหลือคณานับ การที่พระองค์ยังคงเที่ยวท่องอยู่บนมิดเดิ้ลเอิร์ธ จึงทรงเป็นวาลาองค์แรกที่ได้พบพวกเอลฟ์ตื่นขึ้นที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน และทรงตั้งชื่อให้แก่พวกนั้นว่า เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งหมายถึง ผองชนแห่งแสงดาว (เพราะเวลานั้นบนท้องฟ้าของมิดเดิ้ลเอิร์ธมีแต่แสงดาวส่องสว่าง ส่วนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้น) เมื่อโอโรเมทรงนำข่าวนี้กลับไปแจ้งเหล่าวาลาร์ ก็ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เกลี้ยกล่อมพวกเอลฟ์ให้เดินทางไปยังทวีปอามัน ทรงเป็นผู้นำพาพวกเอลฟ์ในการเดินทางครั้งใหญ่ของพวกเขา หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน en:Vala (Middle-earth)#Oromë ja:ヴァラ#オロメ la:Ainur#Valar pl:Valar#Oromë ru:Валар#Оромэ sv:Valar (Tolkien)#Oromë.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและโอโรเม
โทรล
John Bauer โทรล (troll) เป็นสิ่งเหนือธรรมชาติในเทพปกรณัมนอร์สและคติชาวบ้านสแกนดิเนเวีย แต่เดิม โทรลอาจเป็นไวพจน์ลบของโยตุน ในแหล่งข้อมูลนอร์สเก่า สิ่งที่อธิบายว่าโทรลอาศัยอยู่ตามหิน ภูเขาหรือถ้ำสันโดษ โดยอยู่กันเป็นหน่วยครอบครัวเล็ก ๆ และแทบไม่ช่วยมนุษย์ ต่อมา ในคติชาวบ้านสแกนดิเนเวีย โทรลเป็นสิ่งแยกต่างหาก ซึ่งอาศัยอยู่ไกลจากที่มนุษย์อาศัย และไม่เข้ารีตศาสนาคริสต์ และถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ลักษณะของโทรลแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับภูมิภาคซึ่งนิยายนั้นกำเนิด อาจอัปลักษณ์และโง่หรือดูและประพฤติเหมือนมนุษย์ทุกประการ โดยไม่มีลักษณะวิลักษณ์เฉพาะเกี่ยวกับพวกมัน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและโทรล
โนกร็อด
นกร็อด (Nogrod) เป็นชื่ออาณาจักรของคนแคระ ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ชื่อ โนกร็อด เป็นคำในภาษาซินดาริน ซึ่งในภาษาเวสทรอนจะเรียกว่า ฮอลโลว์โบลด์ สำหรับชื่อเรียกในภาษาคุซดุลของเหล่าคนแคระ เรียกชื่อนครของตัวเองว่า ทูมุนซาฮาร์ กษัตริย์คนแคระผู้ก่อตั้งนครนี้คือ หนึ่งในเจ็ดบรรพชนของคนแคระ เป็นต้นตระกูลคนแคระในสายวงศ์ ไฟร์เบียร์ด (Firebeard) ซึ่งเดินทางมาทางตะวันตกนับตั้งแต่ยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา โนกร็อดตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของภูโดลเมด บนเทือกเขาเอเร็ดลูอิน เป็นนครคู่กันกับ เบเลกอสต์ ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนแคระด้านทิศเหนือ อาณาจักรคนแคระทั้งสองแห่งนี้เป็นคู่ค้าสำคัญกับเหล่าเอลฟ์แห่งเบเลริอันด์ โนกร็อดมีชื่อเสียงด้านการช่างและการฝีมือมาก ด้วยเป็นที่พำนักของครูช่างคนสำคัญของเหล่าคนแคระ คือ เทลฅาร์ (Telchar) จนแม้ เอโอล เอลฟ์มืด ก็นิยมมาสมาคมกับเหล่าคนแคระแห่งโนกร็อดเสมอ เทลฅาร์ได้สร้างอาวุธและสิ่งมีค่าหลายประการ เช่น ดาบนาร์ซิล มีดอังกริสต์ หมวกเกราะมังกรแห่งดอร์-โลมิน และ สร้อยพระศอเนากลามีร์ ซึ่งได้ถวายเป็นของขวัญแด่กษัตริย์ฟินร็อด เฟลากุนด์ ในโอกาสเถลิงนครนาร์โกธรอนด์ สร้อยพระศอชิ้นนี้ในภายหลังได้ตกทอดมาถึงมือกษัตริย์ธิงโกลแห่งโดริอัธ พระองค์โปรดให้เหล่าคนแคระแห่งโนกร็อด (ซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือด้านงานฝีมือ) แก้ไขปรับแต่งสร้อยพระศอเสียใหม่ โดยนำเอาดวงมณีซิลมาริล ที่เบเรนและลูธิเอนชิงคืนมาจากมงกุฎของมอร์กอธได้ดวงหนึ่ง เข้าประดับลงในสร้อยพระศอนั้นด้วย เมื่อเหล่าคนแคระทำงานสำเร็จ อำนาจแห่งดวงมณีก็บันดาลให้พวกเขาบังเกิดความโลภ คิดจะครองซิลมาริลไว้เอง จึงแสร้งอ้างสิทธิ์ในสร้อยพระศอเนากลามีร์ ที่พวกตนทำถวายแด่ฟินร็อด และว่าธิงโกลไม่มีสิทธิ์ในสร้อยนั้น ฝ่ายธิงโกลไม่ยินยอม และบันดาลโทสะด่าว่าเหล่าช่างของคนแคระ พวกคนแคระจึงสังหารพระองค์ แล้วชิงสร้อยพระศอพร้อมดวงมณีหนีกลับแผ่นดินของตน ฝ่ายเอลฟ์แจ้งข่าวไปยังเบเรน และดิออร์ บุตรของเขา ทั้งสองนำทัพเอลฟ์ไล่ติดตามเหล่าช่างของคนแคระไปจนถึงซาร์นอาธรัด เกิดการรบย่อยๆ ขึ้นที่นั่น โดยมีเหล่าเอนท์เข้าให้ความช่วยเหลือฝ่ายเอลฟ์ด้วย เหล่าคนแคระแห่งโนกร็อดถูกสังหารจนเกือบหมด ที่เหลือรอดนำข่าวกลับไปแจ้งยังนครของตนว่า กษัตริย์ธิงโกลผิดสัญญาไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง และยังสังหารเหล่าช่างเกือบหมด ทัพโนกร็อดจึงยกมาหมายล้างแค้น แม้ทางเบเลกอสต์จะห้ามปราม ด้านโนกร็อดก็ไม่ฟัง เกิดเป็นสงครามระหว่างเผ่าพันธุ์เอลฟ์และคนแคระ ซึ่งสร้างรอยร้าวฉานอยู่ในความสัมพันธ์ของสองเผ่าพันธุ์มาตลอดจนถึงยุคที่สาม อาณาจักรโนกร็อดกลายเป็นเมืองร้างไปหลังจากเหตุการณ์วินาศในตอนปลายยุคที่หนึ่ง ในสงครามแห่งความโกรธา ซึ่งทำให้แผ่นดินเบเลริอันด์จมลงสู่มหาสมุทร เหล่าคนแคระพากันอพยพกลับไปยังคาซัดดูม.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและโนกร็อด
โนลดอร์
ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวโนลดอร์ (Noldor) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนโนลดอร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สองที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า ตาตา (Tata) ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกชนเหล่านี้ว่า 'ตระกูลที่สองของเอลฟ์' หรือ 'ตาชาร์' (Tatyar) สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวเทเลริ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวโนลดอร์คือ ฟินเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งมวล และได้นำพวกเขาเดินทางอพยพไปสู่แผ่นดินอมตะ ชาวโนลดอร์มีรูปร่างสูงใหญ่ มักมีดวงตาสีเทา ผมสีเข้ม (ยกเว้นโนลดอร์บางคนในตระกูลที่วิวาห์กับชาววันยาร์ เช่นราชสกุลฟินาร์ฟิน จะมีผมสีทองแบบชาววันยาร์) พวกเขาพูดภาษาเควนยา แต่ชาวโนลดอร์ที่นิวัติมายังมิดเดิลเอิร์ธในยุคที่หนึ่ง จะใช้ภาษาซินดารินในการเจรจาประจำวัน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและโนลดอร์
ไชร์
ร์ (ภาษาอังกฤษ: Shire) เป็นเขตบริหารการปกครองโบราณของบริเตนใหญ่และออสเตรเลีย คำว่า “ไชร์” กับ “เคาน์ตี้” ใช้แลกเปลี่ยนกันมาตั้งแต่สมัยนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 แต่ในภาษาอังกฤษใหม่คำว่า “ไชร์” มักจะไม่ใช้แทนที่คำว่า “เคาน์ตี้” นอกจากนั้นคำว่า “ไชร์” ยังเป็นคำที่ใช้ต่อท้ายชื่อมลฑลหลายมลฑลในอังกฤษ เช่น มลฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ หรือ มลฑลเลสเตอร์เชอร์ แต่จะออกเสียง “เชอร์” เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของชื่อมลฑล ในออสเตรเลีย “ไชร์” ยังคงใช้เป็นเขตบริหารการปกครองในปัจจุบัน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและไชร์
ไมอา
มอาร์ (Maiar) เป็นชื่อเรียกดวงจิตชั้นรอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่า ไอนัวร์ (Ainur) ตัวละครในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีกล่าวถึงอยู่มากในตำนานเรื่องซิลมาริลลิออน ชนเผ่าไอนัวร์เป็นชนเผ่าที่ถือกำเนิดมาจากพระเจ้าสูงสุดในโลกอาร์ดา คือมหาเทพอิลูวาทาร์ เป็นพวกที่ช่วยมหาเทพสร้างพิภพต่างๆ และตระเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ กล่าวคือเป็นผู้ช่วยสร้างโลกอาร์ดานั่นเอง ชาวมนุษย์มักเรียกเหล่าไอนัวร์ว่า "เทพ" เทพไมอาร์เข้ามายังโลกอาร์ดาก็เพื่อช่วยเหล่าวาลาร์ในการสร้างโลกนั่นเอง รูปคำ ไมอาร์ (Maiar) เป็นพหูพจน์ คำเอกพจน์คือ ไมอา (Maia).
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและไมอา
ไอนัวร์
อนัวร์ (Ainur) เป็นคำภาษาเควนยาสำหรับเรียกเหล่าชนผู้ศักดิ์สิทธิ์ในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและไอนัวร์
ไอเซนการ์ด
อเซนการ์ด (Isengard) เป็นชื่อของป้อมปราการแห่งหนึ่งในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเทือกเขามิสตี้ ในดินแดนระหว่างเทือกเขามิสตี้กับเอเร็ดนิมไรส์ ซึ่งอยู่ในอาณาเขตของอาณาจักรโรฮัน แต่เดิมป้อมปราการนี้สร้างขึ้นโดยชาวกอนดอร์ จนเมื่อมีการยกแว่นแคว้นโรฮันให้แก่ชาวโรเฮียริมแล้ว ไอเซนการ์ดจึงอยู่ในอารักขาของโรฮันด้วย ในยุคที่สาม เมื่อเหล่าอิสตาริ เดินทางมาถึงมิดเดิลเอิร์ธ ซารูมานพ่อมดขาว ได้เดินทางมายังไอเซนการ์ด เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับแหวนเอก ชาวโรฮันจึงมอบไอเซนการ์ดให้ซารูมานใช้เป็นที่พำนัก ที่ไอเซนการ์ดมีหอคอยแห่งหนึ่งชื่อว่า ออร์ธังค์ หรือ หอคอยเขี้ยว ตั้งอยู่ใจกลางดินแดนวงแหวนแห่งนั้น หอคอยนี้เป็นที่เก็บรักษาเอกสารข้อมูลเก่าตั้งแต่ยุคสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรกอนดอร์ ทำให้ซารูมานสืบทราบว่าแหวนเอกหายไปได้อย่างไร ช่วงปลายของยุคที่สาม เมื่อซารูมานแปรพักตร์ไปเข้ากับเซารอน เขาได้ผลาญทำลายออร์ธังค์และไอเซนการ์ด โดยตัดโค่นต้นไม้โดยรอบ และขุดพื้นดินลงไปเพื่อทำเหมืองและคลังสรรพาวุธ ในที่สุดไอเซนการ์ดถูกยึดกลับคืนมาได้ด้วยกองทัพเอนท์ นำโดยทรีเบียร.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและไอเซนการ์ด
เบเรน
รน (Beren) เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในตำนานชุด ซิลมาริลลิออน ชื่ออื่นๆ ของเขาคือ เบเรน แอร์ฅามิออน (Beren Archamion) หมายถึง 'เบเรนผู้มีมือเดียว' บ้างก็เรียกว่า เบเรน คัมลอสต์ (Beren Camlost) หมายถึง 'เบเรน คนมือเปล่า' เบเรนเป็นมนุษย์ในยุคบรรพกาล หรือยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เป็นบุตรของบาราเฮียร์ ชนตระกูลเบออร์ เขามีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธสองสถานะ หนึ่งคือเป็นผู้เข้าไปช่วงชิงดวงมณีซิลมาริลมาจากมงกุฎของมอร์กอธได้โดยลำพัง ด้วยความช่วยเหลือจากลูธิเอนเท่านั้น และสองคือเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้วิวาห์กับชนเผ่าเอลฟ์ เป็นการวิวาห์ข้ามเผ่าพันธุ์ ระหว่างบุตรทั้งสองของอิลูวาทาร์เป็นครั้งแรก.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเบเรน
เบเลกอสต์
ลกอสต์ (Belegost) เป็นชื่ออาณาจักรของคนแคระ ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ชื่อ เบเลกอสต์ เป็นคำในภาษาซินดาริน ซึ่งในภาษาเวสทรอนจะเรียกว่า มิคเคิลเบิร์ก หมายถึง 'ปราการอันยิ่งใหญ่' สำหรับชื่อเรียกในภาษาคุซดุลของเหล่าคนแคระ เรียกชื่อนครของตัวเองว่า กาบิลกาโธล กษัตริย์คนแคระผู้ก่อตั้งนครนี้คือ หนึ่งในเจ็ดบรรพชนของคนแคระ เป็นต้นตระกูลคนแคระในสายวงศ์ บรอดบีม (Broadbeam) ซึ่งเดินทางมาทางตะวันตกนับตั้งแต่ยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เบเลกอสต์ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของภูโดลเมด บนเทือกเขาเอเร็ดลูอิน เป็นนครคู่กันกับ โนกร็อด ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนแคระด้านทิศใต้ อาณาจักรคนแคระทั้งสองแห่งนี้เป็นคู่ค้าสำคัญกับเหล่าเอลฟ์แห่งเบเลริอันด์ กษัตริย์แห่งเบเลกอสต์ที่ปรากฏชื่อในนิยาย คือ อซากาล (Azaghâl) ทรงนำทัพคนแคระเข้าร่วมในทัพพันธมิตรแห่งมายดรอส ร่วมในการรบกับมอร์กอธ ซึ่งในที่สุดกลายเป็นสงครามเนียร์นายธ์อาร์นอยดิอัด ทัพคนแคระของอซากาลได้รับการขับขานอยู่ในบทลำนำการรบครั้งนี้ ด้วยเป็นทัพอันแข็งแกร่งที่สามารถต่อรบกับเกลารุง เจ้ามังกร บริวารของมอร์กอธ ได้อย่างแข็งขัน เพราะเหล่าคนแคระมักสวมหน้ากากในเวลาต่อสู้ ประกอบกับความทรหดอดทนของเผ่าพันธุ์คนแคระเอง จึงต้านทานเพลิงมังกรของเกลารุงได้ อซากาลยังสามารถใช้มีดจ้วงแทงเข้าที่ท้องของมังกร ทำให้เกลารุงได้รับบาดเจ็บจนหนีกลับไปอังก์บันด์ พาให้กองทัพของเกลารุงแตกตื่นหนีกลับไปด้วย เป็นวีรกรรมอันสำคัญยิ่งจนทำให้ ทูริน ทูรัมบาร์ คิดหาญสู้กับเกลารุงอีกครั้ง สำหรับความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรโนกร็อดกับอาณาจักรโดริอัธ แม้ทางโนกร็อดจะแจ้งขอทัพเสริมจากเบเลกอสต์ด้วย แต่เบเลกอสต์ก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือ ทั้งยังห้ามปรามทัพโนกร็อดด้วย แต่ไม่สำเร็จ อาณาจักรเบเลกอสต์กลายเป็นเมืองร้างไปหลังจากเหตุการณ์วินาศในตอนปลายยุคที่หนึ่ง ในสงครามแห่งความโกรธา ซึ่งทำให้แผ่นดินเบเลริอันด์จมลงสู่มหาสมุทร เหล่าคนแคระพากันอพยพกลับไปยังคาซัดดูม ในจำนวนนี้ปรากฏภายหลังว่า ไบเฟอร์ โบเฟอร์ และบอมเบอร์ สามคนแคระผู้เข้าร่วมในภารกิจเอเรบอร์ (เรื่องราวใน เดอะฮอบบิท) ก็เป็นคนแคระผู้สืบเชื้อสายแห่งบรอดบีมด้ว.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเบเลกอสต์
เบเลริอันด์
แผ่นดินเบเลริอันด์ เบเลริอันด์ (Beleriand) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ งานประพันธ์ของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเบเลริอันด์
เฟอานอร์
ฟอานอร์ (Fëanor) เป็นตัวละครสำคัญที่มีบทบาทอย่างยิ่งในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเฟอานอร์
เกลารุง
เกลารุง คือ มังกรไฟตัวแรกของ มิดเดิลเอิร์ธถูกสร้างโดยเทพอสูรมีชื่ออื่นๆคือ มังกรทอง หรือ หนอนยักษ์ของมอก็อธ เป็นมังกร 4 ขาที่บินไม่ได้ (คลานได้) เป็นแม่ทัพของอังบันด์ปรากฏตัวครั้งแรกใน 100 ปีหลังจากสงคราม ดากอร์อะกลาเร็บ และมีบทบาทครั้งแรกในสงคราม ดากอร์บราโกลลัคจากนั้นก็สงครามเนียร์นายธ์อาร์นอยดิอัด(ซึ่งในสงครามครั้งนี้ได้สังหาร อซากาลเจ้าแห่งคนแคระตระกูล บรอดบีมไปด้วย) และสงครามการล่มสลายของนาร์โกธรอนด์ครั้งนั้นได้สะกดจิตทูริน บุตรแห่งฮูรินจนสติไม่ดีไปหลายวัน สุดท้ายถูกสังหารโดย ทูริน ทูรัมบาร์ที่คาเบ็ด เอน อารัส มังกรตัวอื่นๆในมิดเดิลเอิร์ท อังคาลากอน สม็อก หมวดหมู่:สิ่งมีชีวิตในตำนานของโทลคีน de:Figuren in Tolkiens Welt#Drachen no:Draker i Tolkiens verden#Glaurung.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเกลารุง
เมลิอัน
มลิอัน หรือ เมเลียน (Melian) เป็นเทพีไมอาร์องค์หนึ่ง ปรากฏในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เรื่อง ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน กวีนิพนธ์ชุดลำนำแห่งเลย์ธิอัน และกวีนิพนธ์ตำนานบุตรแห่งฮูริน มีบทบาทในฐานะผู้นำเชื้อสายแห่งเทพ (ไอนัวร์) มาสู่แผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ และเป็นมารดาของลูธิเอน ทินูเวียล อำนาจของเมลิอันช่วยปกป้องอาณาจักรเอลฟ์จากการรุกรานของมอร์ก็อธได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ครั้นเมื่อนางจากไปอำนาจนั้นก็เสื่อมสลาย และเป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรเอลฟ์ทั้งปวง.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเมลิอัน
เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก
มอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก หรือชื่อเล่นในหมู่เพื่อนว่า เมอร์รี่ เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก
เมิร์ควู้ด
มิร์ควู้ด (Mirkwood) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเมิร์ควู้ด
เลโกลัส
ลโกลัส (Legolas) เป็นตัวละครในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเป็นพระโอรสของกษัตริย์ธรันดูอิลเป็นหนึ่งในคณะพันธมิตรแห่งแหวนซึ่งรับหน้าที่นำแหวนเอกไปทำลายที่ภูมรณะ ในฐานะตัวแทนของเผ่าพันธุ์เอลฟ์ อีกทั้งยังมีการเพิ่มบทบาทของเลโกลัสลงใน ภาพยนตร์เดอะฮอบบิท ของ ปีเตอร์ แจ็คสัน อีกด้ว.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเลโกลัส
เอกธำมรงค์
แหวนเอกธำมรงค์ (The One Ring) หรือชื่ออื่นๆ ว่า แหวนเอก แหวนประมุข แหวนแห่งอำนาจ หรือ ยมทูตแห่งอิซิลดูร์ เป็นแหวนวิเศษในจินตนาการจากนิยายไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอกธำมรงค์
เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
เอลรอนด์
อลรอนด์ (Elrond) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้ปกครองอาณาจักรเอลฟ์แห่งริเวนเดลล์ เป็นเอลฟ์ผู้ทรงอำนาจผู้หนึ่งที่มีชีวิตอยู่ต่อมาจนถึงยุคที่สาม ชื่อของเขามีความหมายว่า 'โดมดาว' (Star-dome) เอลรอนด์เป็นบุตรของเออาเรนดิลและเอลวิง และเป็นเหลนของลูธิเอน เขาเกิดในแผ่นดินเบเลริอันด์เมื่อ 58 ปีก่อนสิ้นยุคที่หนึ่ง ดังนั้นเมื่อถึงยุคสมัยในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เอลรอนด์จึงมีอายุมากกว่า 6,000 ปีแล้ว เขามีพี่ชายฝาแฝดคนหนึ่งชื่อว่า เอลรอส ซึ่งเป็นกษัตริย์คนแรกของนูเมนอร์ เอลรอนด์มีกำเนิดเป็นมนุษย์กึ่งเอลฟ์ แต่ได้รับพรให้สามารถเลือกได้ว่า จะเป็นมนุษย์ หรือเป็นเอลฟ์ เนื่องจากความดีความชอบของบิดามารดาของเขา ซึ่งทำให้ครอบครัวของพวกเขาสามารถเลือกชาติพันธุ์เป็นเอลฟ์หรือมนุษย์ได้ตามประสงค์ เอลรอนด์เลือกที่จะเป็นเอลฟ์ เอลรอนด์เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ทรงปัญญา เขามีพลังอำนาจมาก และเป็นผู้ธำรงรักษาความดีงามของโลก ในหนังสือ ซิลมาริลลิออน คริสโตเฟอร์ โทลคีน อธิบายถึงความสำคัญของบทบาทของตัวละครตัวนี้ไว้ในส่วนหนึ่งของคำนำว่า เอลรอนด์เป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญาโบราณ ตระกูลของเขาเป็นตัวแทนของตำนาน ที่ปกปักรักษาความทรงจำอันน่าเคารพยำเกรงของประเพณีทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับความดี ความเฉลียวฉลาด และความงดงาม อาณาจักรของเขามิได้เป็นสถานที่กระทำการใดๆ เป็นแต่เพียงสถานที่ซึ่งสะท้อนสิ่งดีงามเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ สถานที่แห่งนี้จึงเป็นจุดที่ต้องมาเยือนทุกครั้งก่อนจะออกไปปฏิบัติภารกิจ หรือก้าวเข้าสู่ ‘การผจญภัย’ ทุกชนิด มันอาจเพียงบังเอิญอยู่บนทางผ่าน (เช่นที่ปรากฏในเดอะฮอบบิท) แต่แล้วการณ์กลับกลายเป็นความจำเป็นที่จะต้องเริ่มออกเดินทางจากที่นั่นโดยปราศจากความรู้คิดถึงเส้นทางที่จะไป ในเรื่อง ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ เมื่อบรรดาวีรชนหนีภยันตรายจากความชั่วร้ายที่คุกคามอยู่จักแหล่นไปสู่คฤหาสน์ของเอลรอนด์ พวกเขากลับต้องออกเดินทางจากไปสู่เส้นทางใหม่ที่แตกต่างไปจากความคิดเดิมอย่างสิ้นเชิง คือมุ่งเข้าหาอันตรายและประจันหน้ากับจุดกำเนิดของความชั่วร้าย'.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอลรอนด์
เออาเรนดิล
ออาเรนดิลจอมนาวิก (Eärendil the Mariner) เป็นตัวละครหลักตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในฐานะนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้ขับนาวาของดวงดาวแห่งรุ่งอรุณ ตำนานของเขาแสดงอยู่ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน และมีการกล่าวขวัญถึงเขาในเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ด้ว.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเออาเรนดิล
เอนท์
อนท์ (Ent) เป็นเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เชื่อว่าคำนี้น่าจะมีที่มาจากคำว่า 'เอนท์' ในภาษาแองโกล-แซกซอน (เป็นภาษาหนึ่งที่โทลคีนถนัด) ซึ่งมีความหมายถึง 'ยักษ์' แต่ในปัจจุบันคำว่า 'เอนท์' มักเป็นที่รู้จักทั่วไปในความหมายที่เกี่ยวข้องกับผลงานของโทลคีน เช่นเดียวกับคำว่า 'ฮอบบิท' เอนท์ในปกรณัมของโทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ของโลกอาร์ดา ที่เกิดมาพร้อมๆ กันกับเหล่าเอลดาร์ โดยเอรู อิลูวาทาร์ เป็นผู้ทรงสร้างขึ้นตามคำขอของเทพียาวันนา เทพีแห่งพืชพรรณและความอุดมสมบูรณ์ หลังจากที่พระนางได้ทราบว่า เทพอาวเลทรงสร้างคนแคระผู้นิยมชมชอบตัดต้นไม้ นางจึงขอให้มีผู้พิทักษ์หมู่ไม้ หรือ 'พฤกษบาล' บ้าง เอนท์มีรูปร่างเหมือนกันกับต้นไม้ เพียงแต่สามารถเคลื่อนไหวและเจรจาได้ ภาษาของเอนท์เรียกว่า 'ภาษาเอนทิช' ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ คำศัพท์แต่ละคำก็ยาว กว่าเอนท์จะพูดจบประโยคหนึ่งๆ ต้องใช้เวลายาวนานมาก ดังนั้นพวกเอนท์จึงไม่ค่อยพูด เอนท์ปรากฏตัวอยู่ในตำนานต่างๆ ของโลกอาร์ดาตั้งแต่ยุคที่หนึ่ง เช่นการช่วยเหลือกองกำลังของเบเรนในการไล่ล่าพวกคนแคระที่สังหารกษัตริย์ธิงโกล และชิงสร้อยพระศอเนากลามีร์กับซิลมาริล หนีข้ามเทือกเขาสีน้ำเงิน ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ทรีเบียร์ด เอนท์ชราผู้หนึ่ง ก็เคยร้องเพลงให้เมอร์รี่กับปิ๊ปปิ้นฟัง ถึงเรื่องราวเมื่อยุคสมัยบรรพกาลที่เขาเคยเดินท่องอยู่ในแผ่นดินออสซิริอันด์ และดอร์โธนิออน แว่นแคว้นในเบเลริอันด์ ในยุคที่สอง ป่าไม้บนมิดเดิลเอิร์ธถูกทำลายลงอย่างมโหฬารด้วยน้ำมือของชาวนูเมนอร์ แผ่นดินเอเรียดอร์อันกว้างใหญ่ซึ่งเคยเป็นป่ารกทึบ ถูกชุดบุกเบิกของกษัตริย์ ทาร์-อัลดาริออน แผ้วถางจนกลายเป็นที่ราบดังเช่นที่ปรากฏในยุคที่สาม ทำให้เหล่าเอนท์ต้องอพยพหนีเข้าไปในแผ่นดินลึกมากขึ้น เมื่อถึงเหตุการณ์ในช่วงสงครามแหวน มีเอนท์หลงเหลืออยู่บนมิดเดิลเอิร์ธเพียงแถบป่าดึกดำบรรพ์ และป่าฟังกอร์น เท่านั้น.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอนท์
เอโอวีน
อโอวีน (Éowyn) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน นางเป็นสตรีสูงศักดิ์ในอาณาจักรโรฮัน เป็นที่รู้จักกันในนาม "ท่านหญิงขาวแห่งโรฮัน" หรือ "เลดี้แห่งอิธิลิเอน" ชื่อ เอโอวีน เป็นคำในภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งโทลคีนใช้ในการถอดความ (ตามที่เขาว่า) ถ้อยคำต่างๆ ในภาษาโรเฮียริค มีความหมายว่า "ผู้ยินดีในอาชา" มาจากคำว่า เอโอ (Eoh-) หมายถึง ม้า และ วีน (-wyn) หมายถึง ความรื่นเริงยินดี แต่ชื่อจริงๆ ของนางในภาษาโรเฮียริคนั้นไม่ได้ถูกกล่าวถึง.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอโอวีน
เอโอแมร์
อโอแมร์ (Éomer) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นชาวตระกูลเอออร์ล แห่งอาณาจักรโรฮัน เป็นบุตรของแม่ทัพเอโอมุนด์กับเธโอดวีน น้องสาวของเธโอเดน จึงมีศักดิ์เป็นหลานของกษัตริย์เธโอเดน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอโอแมร์
เอไดน์
อไดน์ (Edain) เป็นชื่อเรียกมนุษย์ กลุ่มหนึ่ง ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน กล่าวคือ เป็นมนุษย์กลุ่มที่เดินทางเข้ามาถึงแผ่นดินเบเลริอันด์จำนวนสามตระกูลแรก นับแต่ยุคที่หนึ่งของอาร์ดา และได้เป็นสหายเอลฟ์ คำว่า 'เอไดน์' เป็นภาษาซินดาริน รูปเอกพจน์คือ อดาน (Adan) เดิมเป็นคำที่หมายถึง มนุษย์ ซึ่งเป็นบุตรแห่งอิลูวาทาร์เช่นเดียวกัน มีความหมายว่า "ทุติยชน" หรือผองชนลำดับที่สอง เนื่องจากพวกเขา "ตื่น" ขึ้นภายหลังพวกเอลฟ์ ซึ่งเป็นปฐมชน หรือผู้เกิดก่อน ในภาษาเควนยาเรียกว่า อทานิ (Atani) รูปเอกพจน์คือ อทาน (Atan) สามตระกูลใหญ่ของเอไดน์ได้แก.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอไดน์
เอเรบอร์
อเรบอร์ (Erebor) เป็นอาณาจักรของพวกคนแคระ ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ เอเรบอร์ เป็นคำในภาษาซินดาริน ซึ่งเป็นชื่อเรียกภูเขาโลนลี่ เทือกเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของดินแดนโรห์วานิออน และยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำรันนิ่ง หรือแม่น้ำเคลดูอิน อาณาจักรเอเรบอร์ก่อตั้งโดยกษัตริย์ ธราอิน ที่ 1 ซึ่งนำพาชาวคนแคระจำนวนหนึ่งอพยพออกจากคาซัดดูมมาตั้งถิ่นฐานใหม่ พระองค์ยังเป็นผู้ค้นพบเพชรอาร์เคนสโตน ซึ่งกลายเป็นสมบัติตกทอดต่อมาในวงศ์กษัตริย์คนแคระ โอรสของธราอินคือ ธอรินที่ 1 ทรงนำคนแคระจำนวนหนึ่งไปบุกเบิกตั้งอาณาจักรอยู่แถบเทือกเขาสีเทา (Grey Mountain) แต่ภายหลังดินแดนนั้นถูกพวกมังกรเข้าโจมตี ธรอร์ โอรสของธอริน จึงนำพลเมืองหนีกลับมายังเอเรบอร์ ในยุคสมัยของธรอร์ เอเรบอร์เป็นอาณาจักรคนแคระที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีคนแคระเข้ามาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก และมีชื่อเสียงเลื่องลือในการสร้างเครื่องเกราะและอาวุธ สันนิษฐานว่า เสื้อเกราะมิธริล ที่โฟรโด ได้รับจากบิลโบ ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก็สร้างขึ้นโดยเหล่าคนแคระแห่งเอเรบอร์นี้เอง อาณาจักรเอเรบอร์ร่ำรวยมาก นอกจากนี้ แหวนวงหนึ่งของคนแคระ ก็เชื่อว่าตกอยู่ในความครอบครองของธรอร์ด้วย และแหวนวงนี้เองที่ดึงดูดให้เหล่ามังกร สมุนของมอร์กอธ ติดตามมารังควาน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอเรบอร์
เอเรกิออน
อเรกิออน (Eregion) คือชื่ออาณาจักรเอลฟ์ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales ชื่อ 'เอเรกิออน' เป็นภาษาซินดาริน ซึ่งในภาษาเวสทรอนเรียกว่า ฮอลลิน (Hollin) เนื่องจากบริเวณนั้นมีต้นฮอลลี่อยู่มาก (ereg หมายถึง ต้นฮอลลี่ มีรากศัพท์จากคำว่า EREK- หมายถึงหนามแหลมคม) อาณาจักรเอเรกิออนก่อตั้งขึ้นโดยเอลฟ์ชาวโนลดอร์ หลังจากแผ่นดินเบเลริอันด์ล่มจมลงสู่ใต้สมุทรเมื่อสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง ชาวโนลดอร์ที่หลงเหลือได้เดินทางข้ามเอเรียดอร์ และตั้งอาณาจักรแห่งนี้ขึ้นที่เชิงเทือกเขาฮิธายเกลียร์ ทางฟากตะวันตก ใกล้กับอาณาจักรมอเรียของเหล่าคนแคระ เมืองหลวงของเอเรกิออนชื่อว่า โอสต์-อิน-เอดิล (Ost-in-Edhil) ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงแห่งรัตนากร เนื่องจากเป็นแหล่งชุมนุมของช่างอัญมณีฝีมือดีของชาวโนลดอร์จำนวนมาก ในบันทึกงานประพันธ์ของโทลคีน ไม่มีส่วนใดระบุถึงกษัตริย์หรือผู้นำของชาวเอเรกิออน แต่อาจสันนิษฐานได้ว่า ผู้ปกครองเอเรกิออนน่าจะเป็น กาลาเดรียลกับเคเลบอร์น เนื่องจากกาลาเดรียลเป็นเชื้อพระวงศ์โนลดอร์ชั้นสูงเพียงคนเดียวที่เดินทางกลับมาจากอามันและยังมีชีวิตอยู่ หรือมิฉะนั้นก็อาจเป็น เคเลบริมบอร์ บุตรของคูรูฟิน หลานของเฟอานอร์ ซึ่งได้สืบทอดฝีมือช่างชั้นสูงมาจากเฟอานอร์ด้วย งานศึกษาวรรณกรรมของโทลคีนทั่วไปเชื่อว่า ผู้ปกครองเอเรกิออนคือ เคเลบริมบอร์ ในยุคที่สอง เซารอนในร่างแปลง 'อันนาทาร์' ได้เข้ามาร่วมสมาคมกับเหล่าช่างแห่งโอสต์-อิน-เอดิล และได้สอนให้พวกเขาสร้าง แหวนแห่งอำนาจ ขึ้น พวกเอลฟ์สร้างแหวนแห่งอำนาจขึ้นครั้งแรกจำนวน 16 วง หลังจากนั้นเซารอนแอบกลับไปยังมอร์ดอร์ และสร้างแหวนเอกธำมรงค์ขึ้นจากไฟใต้พิภพที่โอโรดรูอิน ระหว่างนั้น เคเลบริมบอร์ได้สร้างแหวนแห่งเอลฟ์ ขึ้นอีก 3 วง โดยที่เซารอนไม่ล่วงรู้ หลังจากเซารอนสร้างแหวนเอกสำเร็จ และสวมแหวนนั้น พวกเอลฟ์จึงได้รู้ว่าตัวตนที่แท้ของอันนาทาร์ คือใคร เคเลบริมบอร์รีบส่งแหวนเอลฟ์สามวงไปเสียให้พ้น ส่วนเซารอนก็ยกทัพออร์คมาโจมตีเอเรกิออนเพื่อแก้แค้นพวกเอลฟ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอเรกิออน
เอเรียดอร์
แผนที่เอเรียดอร์ เอเรียดอร์ (Eriador) เป็นชื่อดินแดนที่ปรากฏในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หลายๆ เรื่อง เช่น เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เดอะฮอบบิท ซิลมาริลลิออน เป็นต้น คำว่า เอเรียดอร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง 'แผ่นดินร้าง' อาณาเขตของเอเรียดอร์สังเกตได้จากแนวเทือกเขาที่ขนาบอยู่ทางด้านตะวันตก คือเทือกเขาเอเร็ดลูอิน และด้านตะวันออก คือเทือกเขามิสตี้ หรือ ฮิธายเกลียร์ ดินแดนเอเรียดอร์ในยุคบรรพกาลหรือยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยป่ารกทึบ เหล่าเอลฟ์ที่เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนมุ่งสู่แผ่นดินตะวันตก ต้องใช้เวลาเดินทางข้ามดินแดนนี้อยู่นานนับปีกว่าจะสามารถข้ามเอเร็ดลูอินไปได้ ไม่ค่อยมีเอลฟ์อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มากนัก หากไม่ตั้งถิ่นฐานลงทางฟากตะวันออกของเทือกเขามิสตี้ ก็มักจะเดินทางข้ามไปถึงเบเลริอันด์ได้จนหมด ในยุคที่สอง หลังจากแผ่นดินเบเลริอันด์ล่มสลายไปแล้ว เอลฟ์ที่หนีรอดมาได้ ได้ตั้งถิ่นฐานลงทางด้านใต้ของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (คือฟากตะวันตกสุดของเอเรียดอร์) เป็นอาณาจักรลินดอน อีกพวกหนึ่งบุกเบิกไกลออกไปทางตะวันออก และตั้งอาณาจักรเอเรกิออนที่เชิงเขาฮิธายเกลียร์ (คือฟากตะวันออกสุดของเอเรียดอร์) ดินแดนช่วงกึ่งกลางยังคงถูกทิ้งเป็นป่ารกทึบ เมื่อถึงสมัยของ ทาร์-อัลดาริออน กษัตริย์นักเดินเรือแห่งนูเมนอร์ ชาวนูเมนอร์ได้เดินทางมาบุกเบิกดินแดนบนมิดเดิลเอิร์ธ โดยสร้างท่าเรือที่ปากแม่น้ำเกรย์ฟลัด แล้วแผ้วถางผืนป่าในเขตเอเน็ดไวธ์ (Enedwaith) เรื่อยขึ้นไปจนถึงปากแม่น้ำฮอร์เวล แล้วตั้งเมืองขึ้นชื่อว่า เมืองธาร์บัด (เมืองนี้เมื่อถึงยุคที่สามได้กลายเป็นเมืองร้าง) ทำให้ผืนป่าเอเน็ดไวธ์กลายเป็นที่ราบกว้างใหญ่ดังที่ปรากฏในยุคที่สาม คงเหลือเขตป่าเพียงเล็กน้อยอันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวดันแลนด์ ตอนกลางของแผ่นดินเอเรียดอร์ ถูกบุกเบิกโดยชาวฮอบบิทนักผจญภัยสองคน และต่อมาได้กลายเป็นอาณาจักรไชร์ มีถนนสายสำคัญตัดผ่านกลางเอเรียดอร์สองสาย ได้แก.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอเรียดอร์
เอเลนดิล
อเลนดิล (Elendil) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales เขาเป็นบิดาของอิซิลดูร์ และ อนาริออน เป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรอาร์นอร์และกอนดอร์ อาณาจักรของชาวดูเนไดน์บนมิดเดิ้ลเอิร์ธ เอเลนดิลเกิดในปีที่ 3119 ของยุคที่สอง เขาเป็นบุตรของอามันดิล เจ้าผู้ครองนครอันดูนิเอ และผู้นำเหล่า'ผู้ศรัทธา' ที่ยังมีสัมพันธไมตรีอันดีกับพวกเอลฟ์ ในยุคที่นูเมนอร์ภายใต้การปกครองของอาร์-ฟาราโซน แข็งข้อกับปวงเทพและเป็นอริกับพวกเอลฟ์ ชื่อของเอเลนดิลในภาษาเควนยา แปลได้สองความหมาย คือ 'สหายเอลฟ์' หรือ 'ผู้รักดวงดาว' เอเลนดิลกับบุตรทั้งสอง คืออิซิลดูร์และอนาริออน หนีรอดจากการล่มสลายของเกาะนูเมนอร์ แล้วมาก่อตั้งอาณาจักรมนุษย์ขึ้นใหม่บนแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ พวกเขานำสมบัติทรงคุณค่าหลายอย่างติดตัวมาด้วย เช่น พาลันเทียร์ หน่ออ่อนของนิมล็อธพฤกษาขาว และสมบัติประจำราชวงศ์อีกหลายอย่างเช่น แหวนของบาราเฮียร์ เป็นต้น เอเลนดิลปกครองอาณาจักรอาร์นอร์ ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่นครอันนูมินัส ขณะที่บุตรทั้งสองคืออิซิลดูร์และอนาริออนปกครองกอนดอร์ โดยสร้างเมืองหลวงที่ออสกิเลียธ และสร้างราชวังของแต่ละคนไว้ที่มินัสอิธิล และมินัสอะนอร์ ตามลำดับ ในช่วงปลายยุคที่สอง เอเลนดิลร่วมมือกับกิล-กาลัด จอมกษัตริย์โนลดอร์องค์สุดท้าย จัดตั้งกองทัพผสมระหว่างเอลฟ์กับมนุษย์ ทำสงครามกับเซารอน เรียกชื่อว่า สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย เซารอนได้ออกมารบด้วยตัวเอง และสังหารทั้งเอเลนดิลและกิล-กาลัดสิ้นพระชนม์ในที่รบ ดาบนาร์ซิล ของเอเลนดิล แตกออกเป็นเสี่ยงๆ อิซิลดูร์คว้าดาบหักนั้นขึ้นมา และสามารถตัดนิ้วของเซารอนที่สวมแหวนเอกธำมรงค์ ทำให้เซารอนสิ้นอำนาจและพ่ายแพ้ไปในการศึกครั้งนั้น ตราประจำพระองค์ของเอเลนดิล คือภาพนิมลอธพฤกษาขาว มีดวงดาราเจ็ดดวง อันเป็นสัญลักษณ์แทนเรือเจ็ดลำที่บรรทุกพาลันเทียร์ขณะหนีออกจากการล่มสลายของนูเมนอร์ และสามารถหนีรอดมาถึงชายฝั่งมิดเดิ้ลเอิร์ธ ด้านบนสุดมีรูปมงกุฏปีก ตราสัญลักษณ์นี้ ภายหลังได้กลายเป็นตราสัญลักษณ์ของอาณาจักรกอนดอร.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอเลนดิล
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
. อาร.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
เธโอเดน
เธโอเดน (Theoden) เป็นตัวละครชาวมนุษย์ในจินตนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในนิยายตอนหอคอยคู่พิฆาต และตอนกษัตริย์คืนบัลลังก์ เธโอเดนเป็นโอรสองค์เดียวของกษัตริย์เธงเกลแห่งอาณาจักรโรฮัน และได้สืบทอดเป็นกษัตริย์แห่งโรฮันต่อมา เธโอเดนมีพี่สาวสามคนและน้องสาวหนึ่งคนนามว่าเธโอดวีน น้องสาวผู้นี้แต่งงานกับเอโอมุนด์ แม่ทัพใหญ่แห่งริดเดอร์มาร์ค มีบุตรธิดาคือ เอโอแมร์ และเอโอวีน ดาบประจำพระองค์เธโอเดนคือ "ดาบเฮรูกริม" หมวดหมู่:ตัวละครในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ de:Figuren in Tolkiens Welt#Théoden.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเธโอเดน
เทเลริ
ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวเทเลริ (Teleri) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนเทเลริคือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สามที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า เอเนล (Enel) เมื่อแรกชนเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า 'เนลยาร์' (Nelyar) ซึ่งหมายถึง 'ตระกูลที่สามของเอลฟ์' และต่อมาพวกเขาก็เรียกตนเองว่าชาว 'ลินได' หรือ 'ลินดาร์' อันแปลว่า 'นักร้อง' สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวโนลดอร์ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวเทเลริคือ เอลเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวเทเลริแห่งเบเลริอันด์ เอลเวผู้นี้มักเป็นที่รู้จักกันในชื่อของกษัตริย์ ธิงโกล อันเป็นชื่อฉายาซึ่งหมายถึง 'เสื้อคลุมเทา' ชาวเทเลริส่วนใหญ่มีผมสีเข้ม รูปร่างสูงโปร่ง แลผิวเผินจะคล้ายกับชาวโนลดอร์ มีบ้างประปรายที่มีเรือนผมสีอ่อน เป็นสีขาวหรือเงินยวง ซึ่งมักเป็นพวกที่มีเชื้อสายเป็นเครือญาติกับ เอลเว ชาวเทเลริมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในด้านการดนตรี และความรู้เกี่ยวกับสรรพสิ่งที่เจริญเติบโตบนพื้นพิภพ ชาวเทเลริในเบเลริอันด์พูดภาษาซินดาริน ส่วนชาวเทเลริกลุ่มอื่นๆ อาจมีภาษาต่างๆ ของตัวเอง เช่น ภาษาซิลวัน หรือภาษานันดอริน.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเทเลริ
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
เดเนธอร์
นธอร์ที่สอง (Denethor II) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นมนุษย์ชาวกอนดอร์ ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดี ผู้พิทักษ์บัลลังก์กษัตริย์คนที่ 26 แห่งกอนดอร์ ปกครองดูแลอาณาจักรเป็นคนสุดท้ายก่อนจะถูกรวมเข้ากับอาณาจักรเหนือ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเดเนธอร์
เคียร์ดัน
ียร์ดัน จากภาพยนตร์ไตรภาค ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เคียร์ดัน (Círdan) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเคียร์ดัน
เคเลบริมบอร์
ลบริมบอร์ (Celebrimbor) เป็นตัวละครเผ่าเอลฟ์ ชาวโนลดอร์ ซึ่งปรากฏในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เรื่อง ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales เป็นผู้มีบทบาทในทางการช่างชั้นสูงรองลงมาจากเฟอานอร์ผู้เป็นปู่ ได้สร้างของวิเศษต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเคเลบริมบอร์
เคเลบอร์น
ลบอร์น (Celeborn) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้ปกครองอาณาจักรเอลฟ์แห่งลอธลอริเอน ร่วมกับชายาคือเลดี้กาลาเดรียล เป็นบิดาของเคเลเบรียนผู้เป็นภรรยาของเอลรอนด์ เขาจึงเป็นตาของอาร์เวน ตามร่างปกรณัมของโทลคีน มีการระบุถึงความเป็นมาของเคเลบอร์นอย่างคร่าว ๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ ได้แก.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเคเลบอร์น
เซารอน
ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเซารอน
เปเรกริน ตุ๊ก
ปเรกริน ตุ๊ก (Peregrin Took) หรือที่เพื่อนๆ ชอบเรียกชื่อเล่นว่า ปิ๊ปปิ้น เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ.
ดู ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเปเรกริน ตุ๊ก
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตารางเวลาแห่งอาร์ดา