โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซารูมาน

ดัชนี ซารูมาน

ซารูมาน (Saruman) เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ ซารูมาน เป็นคำในภาษาเวสทรอนที่มนุษย์แห่งมิดเดิลเอิร์ธใช้เรียกเทพไมอาองค์นี้ พวกเอลฟ์เรียกเขาว่า คูรูเนียร์ ชื่อเดิมของเขาคือ คูรูโม เป็นหนึ่งในห้าไมอาร์ที่ปวงเทพส่งมาช่วยเหลือมิดเดิ้ลเอิร์ธในช่วงยุคที่สาม โดยเทพไมอาร์ทั้งห้าใช้ร่างจำแลงมาในรูปชายชรา และเรียกตัวเองว่า อิสทาริ หรือ พ่อมด ซารูมานได้รับฉายาว่า พ่อมดขาว เป็นผู้มีพลังอำนาจสูงสุดในหมู่พ่อมดทั้งห้.

23 ความสัมพันธ์: พาลันเทียร์พ่อมด (มิดเดิลเอิร์ธ)กอนดอร์กาลาเดรียลภาษาซินดารินภาษาเวสทรอนมิดเดิลเอิร์ธมินัสทิริธมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)ยุคที่สามแห่งอาร์ดาอาวเลคริสโตเฟอร์ ลีโรฮันไชร์ไมอาไอนัวร์ไอเซนการ์ดเอกธำมรงค์เอลรอนด์เอนท์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เซารอน

พาลันเทียร์

ลันเทียร์แห่งออร์ธังค์ จากภาพยนตร์ลอร์ดออฟเดอะริงส์ พาลันเทียร์ (Palantír) เป็นของวิเศษอย่างหนึ่งในโลกแห่งจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ คำว่า พาลันเทียร์ เป็นคำภาษาซินดาริน หมายถึง 'สิ่งซึ่งสามารถมองเห็นได้ไกลๆ' รูปพหูพจน์ว่า พาลันทีริ (palantíri).

ใหม่!!: ซารูมานและพาลันเทียร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ่อมด (มิดเดิลเอิร์ธ)

ในโลกแห่งจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน พ่อมด (Wizard) แห่งมิดเดิลเอิร์ธ เป็นชื่อเรียกกลุ่มของชายชราที่มีพลังอำนาจทางจิต คำว่า 'พ่อมด' แปลมาจากความหมายดั้งเดิมของคำว่า อิสทาร์ (Istar) ซึ่งเป็นภาษาเควนยา หมายถึง ผู้มีความรอบรู้ ผู้มีภูมิปัญญา รูปพหูพจน์ของอิสทาร์ คือ อิสทาริ (Istari) ส่วนในภาษาซินดารินจะเรียกว่า อิธรอน (Ithron) รูปพหูพจน์ว่า อิธริน (Ithryn).

ใหม่!!: ซารูมานและพ่อมด (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

กอนดอร์

กษาขาว ดาวเจ็ดดวง และมงกุฎปีก กอนดอร์ (Gondor) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในนวนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก่อตั้งโดย อิซิลดูร์ และ อนาริออน โอรสของ เอเลนดิล เมื่อปีที่ 3320 ของยุคที่สองเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน.

ใหม่!!: ซารูมานและกอนดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กาลาเดรียล

กาลาเดรียล (Galadriel) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นเจ้าหญิงเอลฟ์ชาวโนลดอร์ (ลูกครึ่งเทเลริ) ที่เดินทางกลับมามิดเดิ้ลเอิร์ธนับตั้งแต่ยุคที่หนึ่ง ชื่อจริงของนางคือ แนร์เวน (Nerwen) อันเป็นชื่อมารดาตั้ง หมายถึง 'นางผู้เสมอชาย' (เนื่องจากนางมีร่างกายสูงใหญ่และมีพลังอำนาจมาก) ชื่อบิดาตั้งคือ อาร์ทานิส (Artanis) หมายถึง 'นางผู้สูงศักดิ์' ส่วนชื่อ 'กาลาเดรียล' เป็นคำในภาษาซินดารินของชื่อ อลาทาเรียล ซึ่งมีความหมายว่า 'นางผู้สวมมาลัยเศียรอันเรืองรอง' เป็นชื่อที่เคเลบอร์นตั้งให้แก่นาง เนื่องมาจากนางมีเส้นผมเป็นสีทองเหลือบเงินเปล่งปลั่งงดงาม.

ใหม่!!: ซารูมานและกาลาเดรียล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซินดาริน

ษาซินดาริน (Sindarin) เป็นภาษาที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในนวนิยายของเขาในชุดมิดเดิลเอิร์ธ แรงบันดาลใจของการสร้างภาษานี้มาจากพื้นฐานของภาษาเวลช์ (Welsh) ซึ่งโทลคีนพบในการศึกษาโคลงโบราณ เขาได้ใช้เวลาประดิษฐ์ภาษานี้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง เทียบเคียงกับภาษาเควนยา เดิมทีโทลคีนตั้งใจประดิษฐ์ภาษานี้ขึ้นเป็นภาษาของชาวโนลดอร์ แต่เปลี่ยนใจภายหลัง ภาษาซินดาริน ตามฉบับนิยาย เป็นภาษาของพวกเอลฟ์ ชาวเทเลริ ที่มิได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคงตกค้างอยู่บนมิดเดิลเอิร์ธ และตั้งถิ่นฐานขึ้นในแผ่นดินเบเลริอันด์ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธิงโกล และ เมลิอัน ไมอาเทวี ในอาณาจักรโดริอัธ เอลฟ์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ชาวซินดาร์ หรือเอลฟ์แห่งสนธยา ภาษาของพวกเขาจึงเรียกว่า ภาษาซินดาริน ภาษาซินดารินมีกำเนิดมาจากคอมมอนเอลดาริน หรือภาษาดั้งเดิมของพวกเควนดิ จึงมีรากเดียวกันกับภาษาเควนยา ในยุคที่สาม ของโลกอาร์ดา คือเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์นั้น ภาษาซินดารินเป็นภาษาที่พวกเอลฟ์ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ดังนั้นภาษาเอลฟ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสถานที่ต่างๆ รวมทั้งอักขระที่จารึกบนประตูทางเข้าเหมืองมอเรีย ก็ล้วนเป็นภาษาซินดารินทั้งสิ้น.

ใหม่!!: ซารูมานและภาษาซินดาริน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวสทรอน

ษาเวสทรอน (Westron) เป็นภาษาประดิษฐ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ใช้ในนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ในฉบับนิยายถือว่า ภาษาเวสทรอนเป็นเสมือน 'ภาษากลาง' ของโลกแห่งนั้น โดยเฉพาะในยุคสมัยในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คำว่า "เวสทรอน" เป็นคำภาษาอังกฤษที่เลือกมาใช้ในการ 'แปล' ภาษานี้ (ตามที่โทลคีนว่า) มีที่มาจากคำว่า "ตะวันตก" (West) ซึ่งเป็นรากคำดั้งเดิมมาจากคำว่า อดูนิ (Adûni) ในภาษาอดูนาอิก ของชาวนูเมนอร์ ชื่อภาษาเวสทรอนในภาษาซินดารินเรียกว่า อันนูไนด์ (Annúnaid) หมายถึง ภาษาของชาวตะวันตก (Westron) บางครั้งก็เรียกว่า ฟาลาเธรน (Falathren) หมายถึง ภาษาชาวฝั่ง (Shore-language) ภาษาเวสทรอนพัฒนามาจากภาษาอดูนาอิกของชาวนูเมนอร์ หลังจากที่ชาวนูเมนอร์เริ่มบุกเบิกและติดต่อสมาคมกับมนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกของทวีปมิดเดิลเอิร์ธ จึงใช้ภาษานี้แพร่หลายทั่วไป แต่รากฐานดั้งเดิมของภาษานี้ก็มาจาก ภาษาของชาวเบออร์และฮาดอร์ ซึ่งเป็นชาวเอไดน์ บรรดามนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกเหล่านั้นก็มีบรรพบุรุษเดียวกันกับชาวเอไดน์ ในภายหลังชนเหล่านี้เป็นพลเมืองท้องถิ่นของอาณาจักรกอนดอร์ และอาร์นอร์ ภาษาเวสทรอนใช้แพร่หลายอยู่ตามแนวชายฝั่ง และตลอดทั่วทั้งเขตแคว้นเอเรียดอร์ แต่ดินแดนอื่นๆ เช่น โรห์วาเนียน ไม่ได้ใช้ภาษานี้ด้วย ชนพื้นเมืองที่เป็นมนุษย์ในหลายๆ ท้องถิ่นมีภาษาเป็นของตัวเอง เช่นชาวดันเลนดิง มนุษย์บนเทือกเขาขาว เป็นต้น ตามท้องเรื่องที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โทลคีนบอกว่าเขาได้แปลเรื่องทั้งหมดจากภาษาเวสทรอน ออกมาเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอย่างการถอดความที่สำคัญเช่น ชื่อของตัวละครต่างๆ เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก เป็นชื่อในภาษาอังกฤษที่แปลมาจากชื่อจริงของเขาว่า คาลิมัก บรันดากัมบา (Kalimac Brandagamba) ชื่อย่อว่า คาลิ (หมายถึง ความสนุกสนานรื่นเริง) ชื่อ เมอเรียด็อค และชื่อย่อ เมอร์รี่ จึงเป็นชื่อที่ถอดความมาจากภาษาเวสทรอนให้คงความหมายดั้งเดิมไว้ หรือชื่อ เปเรกริน ตุ๊ก กับชื่อย่อ ปิ๊ปปิ้น ก็มาจากชื่อจริงว่า ราซานัวร์ ทูค (Razanur Tûk) ชื่อย่อว่า ราซาร์ (หมายถึง แอ๊ปเปิ้ลผลเล็กๆ) ที่ถอดความมาให้ได้ความหมายใกล้เคียงกันนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีชื่อสถานที่อื่นๆ ที่ตั้งชื่อไว้ในภาษาเวสทรอน เช่น "ริเวนเดลล์" (ภาษาซินดาริน เรียกว่า "อิมลาดริส" หมายถึง หุบเขาในร่องผา) มาจากชื่อจริงว่า "คาร์นินกุล" (Karningul) หรือ "แบ๊กเอนด์" มาจากคำว่า "ลาบิน-เนค" (Labin-nec) เป็นชื่อสถานที่ที่ตั้งตามชื่อนามสกุล "ลาบินกิ" (Labingi) หรือ "แบ๊กกิ้นส์" นั่นเอง คำในภาษาเวสทรอนต่างๆ ที่ยกมานี้ เป็นงานที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นภายหลังการเขียนนิยายเป็นเวลาหลายปี แต่เขาไม่ได้สร้างภาษานี้ไว้ให้สมบูรณ์มากพอจะใช้งานได้ เหมือนอย่างภาษาเควนยา หรือภาษาซินดาริน.

ใหม่!!: ซารูมานและภาษาเวสทรอน · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

ใหม่!!: ซารูมานและมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

มินัสทิริธ

มินัสทิริธ (Minas Tirith) เป็นชื่อหอคอยในตำนานชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อเป็นคำในภาษาซินดาริน แปลว่า "หอคอยระวังภัย" ในปกรณัมปรากฏชื่อหอคอย มินัสทิริธ ทั้งในยุคที่หนึ่ง และยุคที่สาม ของอาร์ดา มินัสทิริธ จากภาพยนตร์ไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในปี 3320 ของยุคที่สอง ในขณะนั้นเมืองหลวงของอาณาจักร กอนดอร์ยังคงเป็น ออสกิเลียธ (Osgiliath) อิซิลดูร์ และ อนาริออน บุตรแห่งเอเลนดิล ทั้งสองได้ร่วมกันปกครอง ออสกิเลียธ แต่พวกเขาก็ยังสร้างปราการที่เป็นของตนเองด้วย โดยปราการทั้งสองนั้นตั้งอยู่คนละฟากของแม่น้ำอันดูอิน อิซิลดูร์ สร้างหอคอยจันทร์รุ่งเรียกว่า มินัสอิธิล ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ส่วนอนาริออน สร้างหอคอยตะวันรอนเรียกว่า มินัสอะนอร์ ทางตะวันตกของแม่น้ำ มินัสอะนอร์ถูกสร้างขึ้นเป็นป้อมปราการอย่างแข็งแกร่งและงดงาม แบ่งเป็น 7 ชั้น โดยมีประตูใหญ่ด้านหน้าและประตูชั้นต่อๆไปอยู่ด้านข้างสลับไปมาส่วนประตูชั้นบนสุดจะหันไปด้านหน้า กำแพงชั้นแรกสร้างด้วยวัสดุสีดำแบบเดียวกับที่ใช้ในออร์ธังค์ และชั้นอื่นๆทำด้วยหินอ่อน ในชั้นที่หกจะมีทางออกไปยังสุสานกษัตริย์และผู้พิทักษ์ส่วนชั้นที่เจ็ดเป็นที่ตั้งของท้องพระโรงและที่ปลูกพฤกษาขาว และด้านบนคือหอคอยที่เก็บรักษาดวงพาลันเทียร์ประจำมินัสอะนอร์หรือมินัสทิริธต่อมา ต่อมาในปี 3429 ของยุคที่สอง เซารอนโจมตีกอนดอร์ มินัสอิธิลถูกยึดไปได้ แต่กอนดอร์ยังสามารถรักษา ออสกิเลียธ และมินัสอะนอร์ไว้ได้ หลังจากนั้นก็สามารถขับไล่กองทัพเซารอนกลับไปยังมอร์ดอร์ได้ก่อนที่คณะพันธมิตรของมนุษย์และเอลฟ์กลุ่มสุดท้ายมาถึง อนาริออนเสียชีวิตในระหว่างสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย ในปี 3440 และสงครามจบลงด้วยการพ่ายแพ้ของเซารอนในอีกปีต่อมา ในปีที่ 2 ของยุคที่สาม อิซิลดูร์ นำหน่ออ่อนของพฤกษาขาวที่นำออกมาจากมินัสอิธิลได้ทัน และนำมาปลูกไว้ที่ มินัสอะนอร์ เพื่อเป็นการรำลึกถึง อนาริออน ต่อมา ออสโตเฮอร์ (Ostoher) กษัตริย์ลำดับที่เจ็ดแห่งกอนดอร์ ได้ปรับปรุงและขยายมินัสอะนอร์ให้กว้างขึ้น หลังจากนั้นก็เกิดธรรมเนียมที่กษัตริย์แห่งกอนดอร์ จะเสด็จมาประทับที่มินัสอะนอร์ ในช่วงฤดูร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ออสกิเลียธก็ยังคงเป็นเมืองหลวงอยู่ ในปี 1437 ของยุคที่สาม เกิดสงครามกบฏที่เรียกว่า กบฏราชวงศ์ ทำให้ออสกิเลียธได้รับความเสียหาย และเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ทำให้เมืองถูกทิ้งร้าง จากนั้นมินัสอะนอร์จึงได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของกอนดอร์แทนที่ และได้มีการสร้างหอคอยสีขาวขึ้นในส่วนยอดของมินัสอะนอร์ เพื่อเป็นที่เก็บ พาลันเทียร์ ในปี 2002 มินัสอิธิล ถูกยึดอีกครั้งโดยพวกนาซกูล และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มินัสมอร์กูล หลังจากนั้นมินัสอะนอร์ก็ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เช่นกันว่า มินัสทิริธ ซึ่งหมายถึง 'หอคอยระวังภัย' เมื่อเซารอนกลับมาปรากฏตัวอีกครั้ง ในช่วงปลายยุคที่สาม กองทัพมอร์ดอร์ยกข้ามแม่น้ำอันดูอิน เช้าโจมตีมินัสทิริธ ซึ่งมี วิชคิง เป็นแม่ทัพ โดยทหารกอนดอร์ป้องกันกำแพงอยู่ภายในเมือง เกิดการรบกันอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งกองทัพมอร์ดอร์ใช้ กรอนด์ ทำลายประตูเมืองลงได้ ทหารมอร์ดอร์เคลื่อนพลหลั่งไหลเข้าเมือง (แต่ในฉบับนิยาย กรอนด์ไม่สามารถทำลายประตูเมืองได้ จนกระทั่งวิชคิงต้องมาร่ายเวทย์ทำลายประตูเมืองด้วยตัวเอง ประตูเมืองจึงถูกทำลาย แต่ทว่าทหารมอร์ดอร์ก็ยังไม่สามารถยกพลเข้าประตูเมืองได้เนื่องจากกองทัพโรฮันนำกองทัพกำลังเสริมมาช่วยเหลือกอนดอร์) ไม่นานนักทหารจากโรฮันก็เคลื่อนทัพมาถึงและเข้ามาช่วยไว้ได้ทัน เกิดการพุ่งรบกันบนสมรภูมิแห่งทุ่งพาเลนเนอร์ และในที่สุดอารากอร์นนำพลจากทางแม่น้ำอันดูอินขึ้นมาช่วยรบ จนได้รับชัยชนะ หลังจากสงครามมินัสทิริธได้รับการบูรณะใหม่โดยคนแคระจากเอเรบอร์ได้สร้างประตูเมืองขึ้นใหม่ด้วยมิธริลและมอบให้เป็นของขวัญแก่นคร ทั้งยังบูรณะถนนอาคารต่างๆด้วยหินอ่อนสีขาว และชาวเอลฟ์ได้นำต้นไม้มาประดับท้องถนนต่างๆและสร้างน้ำพุขึ้นจนเมืองถือได้ว่างดงามยิ่งกว่าที่เคยเป็นม.

ใหม่!!: ซารูมานและมินัสทิริธ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

มนุษย์ ตามความหมายในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ โดยสร้างขึ้นภายหลังเผ่าพันธุ์เอลฟ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น บุตรคนเล็กแห่งอิลูวาทาร์ เหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นเหตุการณ์ในตอนท้ายของยุคสมัยอันรุ่งเรืองของพวกเอลฟ์ เมื่อพ้นจากยุคของเอลฟ์แล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงรุ่งเรืองขึ้นและได้ครอบครองโลกทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ซารูมานและมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สามแห่งอาร์ดา

ที่สามแห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การพ่ายแพ้ของเซารอนต่อกองทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายของมนุษย์และพราย (สงครามตอนต้นเรื่องในภาพยนตร์) เอกลักษณ์ของยุคนี้คือความเสื่อมถอยของพวกพราย หรือ เอลฟ์ การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอยของอาณาจักรกอนดอร์และอาร์นอร์ และการฟื้นอำนาจของเซารอน ยุคที่สามกินเวลา 3,021 ปี จนถึงความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย เมื่อโฟรโด แบ๊กกิ้นส์, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ และแกนดัล์ฟ เดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ จึงเริ่มนับเป็นยุคที่สี.

ใหม่!!: ซารูมานและยุคที่สามแห่งอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

อาวเล

อาวเล (Aulë) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในงานเขียนเรื่อง ซิลมาริลลิออน โดยเป็นหนึ่งในเทพวาลาร์ ทรงเป็นเทพแห่งการช่าง เป็นผู้ลงแรงสร้างพิภพมากที่สุดองค์หนึ่ง และมีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์เสมอด้วยหรืออาจสูงกว่าเมลคอร์เสียอีก เทพอาวเลเป็นผู้สร้างเผ่าพันธุ์คนแคระ และทรงเป็นอาจารย์ของเอลฟ์ชาวโนลดอร์ สองเผ่าพันธุ์นี้จึงสมัครรักใคร่กันดีในยุคแรกๆ ก่อนจะเกิดเหตุวิวาทกันด้วยสงครามชิงซิลมาริล เทพอาวเลทรงสร้างผลงานกระเดื่องหลายชิ้น เช่น ตรวนอังไกนอร์ ที่ใช้ล่ามจอมมารมอร์กอธ, มหาชวาลา อิลลูอิน กับ ออร์มัล ที่ส่องแสงสว่างให้แก่โลกก่อนแสงชนิดใดๆ ทั้งสิ้น, รวมทั้งนาวาแห่งดวงตะวันและเกาะแห่งจันทรา ที่ประดิษฐานแสงสุดท้ายของทวิพฤกษา กลายเป็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ส่องแสงให้แก่พิภพ เทพอาวเลอภิเษกกับเทพียาวันนา เทพีผู้ครองความอุดมสมบูรณ์ ผู้ดูแลพืชพรรณและสรรพสิ่งที่เจริญเติบโต การที่อาวเลสร้างคนแคระทำให้ยาวันนาไม่ค่อยพอใจ เพราะคนแคระนิยมใช้ขวานและชอบตัดต้นไม้ พระนางจึงไปทูลขอมานเวเทพบดี ให้ป่าไม้มีผู้คอยพิทักษ์รักษา เป็นกำเนิดของเหล่าพฤกษบาล หรือพวกเอนท์ หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์ ja:ヴァラ#アウレ la:Ainur#Valar pl:Valar#Aulë sv:Valar (Tolkien)#Aulë.

ใหม่!!: ซารูมานและอาวเล · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ ลี

ซอร์ คริสโตเฟอร์ แฟรงก์ คารานดีนี ลี, CBE, CStJ (27 พฤษภาคม ค.ศ. 1922 – 7 มิถุนายน ค.ศ. 2015) เป็นนักแสดง นักร้อง และนักประพันธ์ชาวอังกฤษ ลีเริ่มต้นการแสดงในบทตัวร้ายและเป็นที่รู้จักที่สุดในฐานะนักแสดงบทแดรกคูลาในภาพยนตร์หลายเรื่องของค่าย Hammer Lee บทการแสดงอื่นๆ ได้แก่  Francisco Scaramanga ในภาพยนตร์ 007 เพชฌฆาตปืนทอง (ค.ศ. 1974), ซารูมานในภาพยนตร์ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ค.ศ. 2001– ค.ศ.2003) และภาพยนตร์ชุด เดอะฮอบบิท ตลอดจนบทเคานต์ดูกูในภาพยนตร์ 2 ภาคหลังของสตาร์ วอร์ส (ค.ศ. 2002 และค.ศ. 2005).

ใหม่!!: ซารูมานและคริสโตเฟอร์ ลี · ดูเพิ่มเติม »

โรฮัน

รฮัน (Rohan) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ บางครั้งถูกกล่าวถึงด้วยชื่อว่า ริดเดอร์มาร์ค (RidderMark) หรือ มาร์ค (Mark) ชาวโรฮันมีชื่อเรียกว่า "ชาวโรเฮียร์ริม" ซึ่งหมายถึง "ผองชนแห่งอาชา" พวกเขามีภาษาพูดเป็นของตัวเอง เรียกว่า "ภาษาโรเฮียร์ริค" แต่ก็สามารถใช้ภาษาเวสทรอน ในการติดต่อสื่อสารทั่วไป อาณาจักรโรฮันตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเทือกเขาเอเร็ดนิมไรส์ (เทือกเขาขาว) และทางใต้ของเทือกเขามิสตี้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้า เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงม้าพันธุ์ดีที่สุดบนมิดเดิลเอิร์ธ และชาวโรฮันยังเป็นผู้ชำนาญการรบบนหลังม้าที่สุดในโลกด้วย ตราสัญลักษณ์ของอาณาจักรโรฮันคือ ภาพอาชาสีขาวกระโจนบนพื้นหลังสีเขียว.

ใหม่!!: ซารูมานและโรฮัน · ดูเพิ่มเติม »

ไชร์

ร์ (ภาษาอังกฤษ: Shire) เป็นเขตบริหารการปกครองโบราณของบริเตนใหญ่และออสเตรเลีย คำว่า “ไชร์” กับ “เคาน์ตี้” ใช้แลกเปลี่ยนกันมาตั้งแต่สมัยนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 แต่ในภาษาอังกฤษใหม่คำว่า “ไชร์” มักจะไม่ใช้แทนที่คำว่า “เคาน์ตี้” นอกจากนั้นคำว่า “ไชร์” ยังเป็นคำที่ใช้ต่อท้ายชื่อมลฑลหลายมลฑลในอังกฤษ เช่น มลฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ หรือ มลฑลเลสเตอร์เชอร์ แต่จะออกเสียง “เชอร์” เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของชื่อมลฑล ในออสเตรเลีย “ไชร์” ยังคงใช้เป็นเขตบริหารการปกครองในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ซารูมานและไชร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมอา

มอาร์ (Maiar) เป็นชื่อเรียกดวงจิตชั้นรอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่า ไอนัวร์ (Ainur) ตัวละครในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีกล่าวถึงอยู่มากในตำนานเรื่องซิลมาริลลิออน ชนเผ่าไอนัวร์เป็นชนเผ่าที่ถือกำเนิดมาจากพระเจ้าสูงสุดในโลกอาร์ดา คือมหาเทพอิลูวาทาร์ เป็นพวกที่ช่วยมหาเทพสร้างพิภพต่างๆ และตระเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ กล่าวคือเป็นผู้ช่วยสร้างโลกอาร์ดานั่นเอง ชาวมนุษย์มักเรียกเหล่าไอนัวร์ว่า "เทพ" เทพไมอาร์เข้ามายังโลกอาร์ดาก็เพื่อช่วยเหล่าวาลาร์ในการสร้างโลกนั่นเอง รูปคำ ไมอาร์ (Maiar) เป็นพหูพจน์ คำเอกพจน์คือ ไมอา (Maia).

ใหม่!!: ซารูมานและไมอา · ดูเพิ่มเติม »

ไอนัวร์

อนัวร์ (Ainur) เป็นคำภาษาเควนยาสำหรับเรียกเหล่าชนผู้ศักดิ์สิทธิ์ในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตามตำนานว่า พวกเขาถือกำเนิดจากมหาเทพอิลูวาทาร์ ซึ่งเป็นพระเจ้าสูงสุดผู้สร้างโลก เหล่าไอนัวร์ได้ช่วยอิลูวาทาร์สร้างโลก มีรายละเอียดแสดงอยู่ในตำนานไอนูลินดาเล (Ainulindale) ซึ่งหมายถึง มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อสร้างโลกอาร์ดาเสร็จ เทพไอนัวร์จำนวนหนึ่งได้เดินทางเข้ามาในโลก เพื่อดูแลและจัดการสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ เทพเหล่านี้มีพลังอำนาจไม่เท่ากัน กลุ่มที่มีอำนาจมากเรียกว่า วาลาร์ กลุ่มที่มีอำนาจน้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ คำว่า ไอนัวร์ (Ainur) เป็นรูปพหูพจน์ รูปเอกพจน์เรียกว่า ไอนู (Ainu).

ใหม่!!: ซารูมานและไอนัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอเซนการ์ด

อเซนการ์ด (Isengard) เป็นชื่อของป้อมปราการแห่งหนึ่งในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเทือกเขามิสตี้ ในดินแดนระหว่างเทือกเขามิสตี้กับเอเร็ดนิมไรส์ ซึ่งอยู่ในอาณาเขตของอาณาจักรโรฮัน แต่เดิมป้อมปราการนี้สร้างขึ้นโดยชาวกอนดอร์ จนเมื่อมีการยกแว่นแคว้นโรฮันให้แก่ชาวโรเฮียริมแล้ว ไอเซนการ์ดจึงอยู่ในอารักขาของโรฮันด้วย ในยุคที่สาม เมื่อเหล่าอิสตาริ เดินทางมาถึงมิดเดิลเอิร์ธ ซารูมานพ่อมดขาว ได้เดินทางมายังไอเซนการ์ด เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับแหวนเอก ชาวโรฮันจึงมอบไอเซนการ์ดให้ซารูมานใช้เป็นที่พำนัก ที่ไอเซนการ์ดมีหอคอยแห่งหนึ่งชื่อว่า ออร์ธังค์ หรือ หอคอยเขี้ยว ตั้งอยู่ใจกลางดินแดนวงแหวนแห่งนั้น หอคอยนี้เป็นที่เก็บรักษาเอกสารข้อมูลเก่าตั้งแต่ยุคสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรกอนดอร์ ทำให้ซารูมานสืบทราบว่าแหวนเอกหายไปได้อย่างไร ช่วงปลายของยุคที่สาม เมื่อซารูมานแปรพักตร์ไปเข้ากับเซารอน เขาได้ผลาญทำลายออร์ธังค์และไอเซนการ์ด โดยตัดโค่นต้นไม้โดยรอบ และขุดพื้นดินลงไปเพื่อทำเหมืองและคลังสรรพาวุธ ในที่สุดไอเซนการ์ดถูกยึดกลับคืนมาได้ด้วยกองทัพเอนท์ นำโดยทรีเบียร.

ใหม่!!: ซารูมานและไอเซนการ์ด · ดูเพิ่มเติม »

เอกธำมรงค์

แหวนเอกธำมรงค์ (The One Ring) หรือชื่ออื่นๆ ว่า แหวนเอก แหวนประมุข แหวนแห่งอำนาจ หรือ ยมทูตแห่งอิซิลดูร์ เป็นแหวนวิเศษในจินตนาการจากนิยายไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเป็นนิยายที่เล่าเรื่องราวของภารกิจการทำลายแหวนวิเศษวงนี้ ผู้สร้างแหวนนี้คือ เซารอน ผู้เป็นจอมมาร สร้างขึ้นในยุคที่สอง โดยใส่พลังของตัวเองลงไปด้วย แหวนจะคอยทดสอบจิตใจทุกคนที่มันเห็น ผู้ที่ชนะใจตัวเองไม่ได้แหวนจะนำไปสู่ความตาย และทำให้คนดีอ่อนแอ แต่หากเป็นกลางจะเปลี่ยนเป็นปีศาจชั่วคราวแล้วกลับเป็นปกติก็จะมีอำนาจต้านแหวนได้ เนื่องจากเป็นแหวนที่มีอำนาจมากที่สุดในแหวนแห่งอำนาจ หลังจากสงครามที่เซารอนพ่ายแพ้ครั้งแรก แหวนตกไปอยู่ในมือของอิซิลดูร์, กอลลัม, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ก่อนที่โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ ผู้ถือแหวนคนสุดท้ายจะนำแหวนไปทำลายที่ภูเขามรณะ(แต่แท้จริงๆแล้วแซมไวส์ แกมจีเป็นผู้ถือแหวนคนสุดท้ายแต่อยู่ในระยะสั้นที่สุด เพราะหลังจากที่เข้าใจผิดว่าโฟรโดถูกแมงมุมยักษ์ชีล็อบฆ่าตาย แซมได้เอาแหวนเอกไปเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในเงื้อมมือของเซารอน ต่อมาเมื่อช่วยโฟรโดแล้วก็เอาแหวนเอกมาคืนให้แก่โฟรโดตามเดิม).

ใหม่!!: ซารูมานและเอกธำมรงค์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลรอนด์

อลรอนด์ (Elrond) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้ปกครองอาณาจักรเอลฟ์แห่งริเวนเดลล์ เป็นเอลฟ์ผู้ทรงอำนาจผู้หนึ่งที่มีชีวิตอยู่ต่อมาจนถึงยุคที่สาม ชื่อของเขามีความหมายว่า 'โดมดาว' (Star-dome) เอลรอนด์เป็นบุตรของเออาเรนดิลและเอลวิง และเป็นเหลนของลูธิเอน เขาเกิดในแผ่นดินเบเลริอันด์เมื่อ 58 ปีก่อนสิ้นยุคที่หนึ่ง ดังนั้นเมื่อถึงยุคสมัยในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เอลรอนด์จึงมีอายุมากกว่า 6,000 ปีแล้ว เขามีพี่ชายฝาแฝดคนหนึ่งชื่อว่า เอลรอส ซึ่งเป็นกษัตริย์คนแรกของนูเมนอร์ เอลรอนด์มีกำเนิดเป็นมนุษย์กึ่งเอลฟ์ แต่ได้รับพรให้สามารถเลือกได้ว่า จะเป็นมนุษย์ หรือเป็นเอลฟ์ เนื่องจากความดีความชอบของบิดามารดาของเขา ซึ่งทำให้ครอบครัวของพวกเขาสามารถเลือกชาติพันธุ์เป็นเอลฟ์หรือมนุษย์ได้ตามประสงค์ เอลรอนด์เลือกที่จะเป็นเอลฟ์ เอลรอนด์เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ทรงปัญญา เขามีพลังอำนาจมาก และเป็นผู้ธำรงรักษาความดีงามของโลก ในหนังสือ ซิลมาริลลิออน คริสโตเฟอร์ โทลคีน อธิบายถึงความสำคัญของบทบาทของตัวละครตัวนี้ไว้ในส่วนหนึ่งของคำนำว่า เอลรอนด์เป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญาโบราณ ตระกูลของเขาเป็นตัวแทนของตำนาน ที่ปกปักรักษาความทรงจำอันน่าเคารพยำเกรงของประเพณีทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับความดี ความเฉลียวฉลาด และความงดงาม อาณาจักรของเขามิได้เป็นสถานที่กระทำการใดๆ เป็นแต่เพียงสถานที่ซึ่งสะท้อนสิ่งดีงามเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ สถานที่แห่งนี้จึงเป็นจุดที่ต้องมาเยือนทุกครั้งก่อนจะออกไปปฏิบัติภารกิจ หรือก้าวเข้าสู่ ‘การผจญภัย’ ทุกชนิด มันอาจเพียงบังเอิญอยู่บนทางผ่าน (เช่นที่ปรากฏในเดอะฮอบบิท) แต่แล้วการณ์กลับกลายเป็นความจำเป็นที่จะต้องเริ่มออกเดินทางจากที่นั่นโดยปราศจากความรู้คิดถึงเส้นทางที่จะไป ในเรื่อง ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ เมื่อบรรดาวีรชนหนีภยันตรายจากความชั่วร้ายที่คุกคามอยู่จักแหล่นไปสู่คฤหาสน์ของเอลรอนด์ พวกเขากลับต้องออกเดินทางจากไปสู่เส้นทางใหม่ที่แตกต่างไปจากความคิดเดิมอย่างสิ้นเชิง คือมุ่งเข้าหาอันตรายและประจันหน้ากับจุดกำเนิดของความชั่วร้าย'.

ใหม่!!: ซารูมานและเอลรอนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอนท์

อนท์ (Ent) เป็นเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เชื่อว่าคำนี้น่าจะมีที่มาจากคำว่า 'เอนท์' ในภาษาแองโกล-แซกซอน (เป็นภาษาหนึ่งที่โทลคีนถนัด) ซึ่งมีความหมายถึง 'ยักษ์' แต่ในปัจจุบันคำว่า 'เอนท์' มักเป็นที่รู้จักทั่วไปในความหมายที่เกี่ยวข้องกับผลงานของโทลคีน เช่นเดียวกับคำว่า 'ฮอบบิท' เอนท์ในปกรณัมของโทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ของโลกอาร์ดา ที่เกิดมาพร้อมๆ กันกับเหล่าเอลดาร์ โดยเอรู อิลูวาทาร์ เป็นผู้ทรงสร้างขึ้นตามคำขอของเทพียาวันนา เทพีแห่งพืชพรรณและความอุดมสมบูรณ์ หลังจากที่พระนางได้ทราบว่า เทพอาวเลทรงสร้างคนแคระผู้นิยมชมชอบตัดต้นไม้ นางจึงขอให้มีผู้พิทักษ์หมู่ไม้ หรือ 'พฤกษบาล' บ้าง เอนท์มีรูปร่างเหมือนกันกับต้นไม้ เพียงแต่สามารถเคลื่อนไหวและเจรจาได้ ภาษาของเอนท์เรียกว่า 'ภาษาเอนทิช' ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ คำศัพท์แต่ละคำก็ยาว กว่าเอนท์จะพูดจบประโยคหนึ่งๆ ต้องใช้เวลายาวนานมาก ดังนั้นพวกเอนท์จึงไม่ค่อยพูด เอนท์ปรากฏตัวอยู่ในตำนานต่างๆ ของโลกอาร์ดาตั้งแต่ยุคที่หนึ่ง เช่นการช่วยเหลือกองกำลังของเบเรนในการไล่ล่าพวกคนแคระที่สังหารกษัตริย์ธิงโกล และชิงสร้อยพระศอเนากลามีร์กับซิลมาริล หนีข้ามเทือกเขาสีน้ำเงิน ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ทรีเบียร์ด เอนท์ชราผู้หนึ่ง ก็เคยร้องเพลงให้เมอร์รี่กับปิ๊ปปิ้นฟัง ถึงเรื่องราวเมื่อยุคสมัยบรรพกาลที่เขาเคยเดินท่องอยู่ในแผ่นดินออสซิริอันด์ และดอร์โธนิออน แว่นแคว้นในเบเลริอันด์ ในยุคที่สอง ป่าไม้บนมิดเดิลเอิร์ธถูกทำลายลงอย่างมโหฬารด้วยน้ำมือของชาวนูเมนอร์ แผ่นดินเอเรียดอร์อันกว้างใหญ่ซึ่งเคยเป็นป่ารกทึบ ถูกชุดบุกเบิกของกษัตริย์ ทาร์-อัลดาริออน แผ้วถางจนกลายเป็นที่ราบดังเช่นที่ปรากฏในยุคที่สาม ทำให้เหล่าเอนท์ต้องอพยพหนีเข้าไปในแผ่นดินลึกมากขึ้น เมื่อถึงเหตุการณ์ในช่วงสงครามแหวน มีเอนท์หลงเหลืออยู่บนมิดเดิลเอิร์ธเพียงแถบป่าดึกดำบรรพ์ และป่าฟังกอร์น เท่านั้น.

ใหม่!!: ซารูมานและเอนท์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ใหม่!!: ซารูมานและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ใหม่!!: ซารูมานและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซารอน

ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.

ใหม่!!: ซารูมานและเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คูรูโม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »