ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นาซกูลและลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา
นาซกูลและลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา มี 15 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พาลันเทียร์กอนดอร์ภาษาเควนยามิดเดิลเอิร์ธมินัสมอร์กูลมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)วิชคิงอาร์นอร์ซารูมานแหวนแห่งอำนาจเอกธำมรงค์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เดเนธอร์เซารอน
พาลันเทียร์
ลันเทียร์แห่งออร์ธังค์ จากภาพยนตร์ลอร์ดออฟเดอะริงส์ พาลันเทียร์ (Palantír) เป็นของวิเศษอย่างหนึ่งในโลกแห่งจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ คำว่า พาลันเทียร์ เป็นคำภาษาซินดาริน หมายถึง 'สิ่งซึ่งสามารถมองเห็นได้ไกลๆ' รูปพหูพจน์ว่า พาลันทีริ (palantíri).
นาซกูลและพาลันเทียร์ · พาลันเทียร์และลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา ·
กอนดอร์
กษาขาว ดาวเจ็ดดวง และมงกุฎปีก กอนดอร์ (Gondor) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในนวนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก่อตั้งโดย อิซิลดูร์ และ อนาริออน โอรสของ เอเลนดิล เมื่อปีที่ 3320 ของยุคที่สองเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน.
กอนดอร์และนาซกูล · กอนดอร์และลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา ·
ภาษาเควนยา
ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.
นาซกูลและภาษาเควนยา · ภาษาเควนยาและลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา ·
มิดเดิลเอิร์ธ
แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.
นาซกูลและมิดเดิลเอิร์ธ · มิดเดิลเอิร์ธและลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา ·
มินัสมอร์กูล
มินัสมอร์กูล (Minas Morgul) เป็นชื่อหอคอยในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อเป็นคำในภาษาซินดาริน แปลว่า "หอคอยแห่งมนต์ดำ" เดิมชื่อว่า มินัสอิธิล หรือ หอคอยจันทร์รุ่ง ตั้งชื่อตามชื่อผู้สร้างและเจ้าของคนแรก คืออิซิลดูร์ ซึ่งสร้างหอคอยแห่งนี้ขึ้นในระหว่างการก่อตั้งอาณาจักรกอนดอร์ พร้อมกับเมืองออสกิเลียธ และหอคอยมินัสอะนอร์ ในช่วงปลายของยุคที่สองเพื่อป้องกันฝั่งตะวันตกของเมืองออสกิเลียส มินัสอิธิลตั้งอยู่ในหุบเขามอร์กูล บนเทือกเขาเอเฟลดูอัธ ซึ่งอยู่ติดชายอาณาเขตมอร์ดอร์ เมื่อแรกสร้างเป็นนครที่งดงามดั่งแสงจันทร์ กำแพงและถนนถูกสร้างด้วยหินอ่อนและประดับประดาอย่างสวยงามปลูกประดับด้วยพฤกษาต่างๆ มีหอคอยที่งดงามอยู่กลางเมือง และอิซิลดูร์ได้นำหน่ออ่อนของพฤกษาขาว ที่เขาลอบนำออกมาจากเกาะนูเมนอร์ได้ทันก่อนเกาะจะจมสมุทร มาปลูกไว้ที่นี่ด้วย มินัสอิธิลถูกเซารอนตีแตกครั้งแรกเมื่อปีที่ 3429 ของยุคที่สอง อิซิลดูร์หนีออกจากนครเพื่อไปขอความช่วยเหลือจากเอเลนดิล นำทัพกลับมาร่วมกับทัพของอนาริออน สามารถขับไล่เซารอนกลับไปอยู่หลังแนวเทือกเขาได้ ในระหว่างสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย โอรสองค์ที่ 2 และ 3 ของอิซิลดูร์ คือเคียร์ยอนและอาราทัน รับหน้าที่เฝ้าพิทักษ์หอคอยแห่งนี้ หลังสิ้นสุดสงคราม เคียร์ยอนและอาราทันเดินทางขึ้นเหนือพร้อมอิซิลดูร์ผู้บิดา มินัสอิธิลก็กลับมาอยู่ในความดูแลของกอนดอร์ ปีที่ 1636 ของยุคที่สาม เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่แพร่มาพร้อมกับสายลมดำมืดจากแดนมอร์ดอร์ มินัสอิธิลได้รับความเสียหายมากที่สุด ทหารและพลเมืองล้มตายไปเป็นจำนวนมากจนเกือบเป็นเมืองร้าง ปีที่ 1980 เหล่านาซกูลพ่ายแพ้ที่อังก์มาร์ ถูกกองทัพพันธมิตรของเอลฟ์ ทัพดูเนไดน์ และทัพกอนดอร์ของเจ้าชายเออาร์นัวร์ตีแตกจนต้องหนีกลับมายังมอร์ดอร์ แต่พวกมันหันมายึดมินัสอิธิลไปเป็นที่มั่นใหม่ และยึดไปได้สำเร็จในปีที่ 2002 พาลันเทียร์ประจำเมืองนี้จึงตกไปอยู่ในมือของเซารอน และถูกย้ายไปยังหอคอยบารัดดูร์ นับแต่นั้นมินัสอิธิลจึงถูกเรียกว่า 'มินัสมอร์กูล' ซึ่งหมายถึง 'หอคอยแห่งเวทมนตร์อันมืดดำ' ส่วนมินัสอะนอร์ก็เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น 'มินัสทิริธ' หมายถึง 'หอคอยระวังภัย' ทว่าหลังจากสงครามแห่งแหวนจบ แหวนเอกได้ถูกทำลาย เซารอนสิ้นอำนาจ รวมทั้งอาณาจักรมอรดอร์ล่มสลายลง หอคอยนี้ถูกทิ้งร้างไว้เป็นเวลานานหลายปีด้วยความหวาดกลัวจากเรื่องราวในอดีต จนกษัตริย์แห่งกอนดอร์มีพระบัญชาให้บูรณะหอคอยนี้เป็นนครมินัสอิธิลอันงดงามอีกครั้ง.
นาซกูลและมินัสมอร์กูล · มินัสมอร์กูลและลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา ·
มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
มนุษย์ ตามความหมายในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ โดยสร้างขึ้นภายหลังเผ่าพันธุ์เอลฟ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น บุตรคนเล็กแห่งอิลูวาทาร์ เหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นเหตุการณ์ในตอนท้ายของยุคสมัยอันรุ่งเรืองของพวกเอลฟ์ เมื่อพ้นจากยุคของเอลฟ์แล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงรุ่งเรืองขึ้นและได้ครอบครองโลกทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน.
นาซกูลและมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)และลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา ·
วิชคิง
วิชคิงแห่งอังก์มาร์ (Witch King of Angmar) หรือ ราชาภูติ หรือ พญาโหงแห่งอังก์มาร์ เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นหัวหน้าของเหล่านาซกูล หรือภูตแหวน ที่ทำหน้าที่รับใช้จอมมารเซารอน เนื่องจากตกอยู่ใต้อำนาจของเซารอนหลังจากยอมรับแหวนแห่งอำนาจของมนุษย์ทั้งเก้าวงมาไว้ในครอบครองด้วยความโลภ ในปกรณัมของโทลคีนไม่ได้เอ่ยถึงชื่อจริงของเขา รวมถึงเหล่านาซกูลอื่น ๆ ด้วย แต่จากข้อมูลบางส่วนในงานเขียนที่ยังไม่เสร็จของเขา บ่งชี้ว่ามีแม่ทัพนูเมนอร์อย่างน้อย 3 คนที่ได้รับแหวนแห่งอำนาจ และหนึ่งในสามคนนี้น่าจะได้เป็นวิชคิงในเวลาต่อมา เขาได้ชื่อว่าเป็น วิชคิง "แห่งอังก์มาร์" เนื่องจากสามารถโจมตีอาณาจักรอาร์นอร์ ยึดดินแดนมาส่วนหนึ่งก่อตั้งเป็นอาณาจักรอังก์มาร์ได้ จากนั้นก็โจมตีดินแดนส่วนอื่นของอาร์นอร์จนอาณาจักรล่มสลายลงในที่สุด แม้ภายหลังเหล่านาซกูลจะย้ายมายังมินัสมอร์กูลแล้ว ก็ยังคงเรียกชื่อราชันขมังเวทว่า "วิชคิงแห่งอังก์มาร์" อยู่ ในช่วงศึกที่ฟอร์นอสต์ครั้งอังมาร์แตก กลอร์ฟินเดลได้ทำนายชะตาของวิชคิงไว้ว่า "อวสานของเขาจะไม่เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของบุรุษใด" ซึ่งผลลัพธ์ก็เป็นดังที่ว่า เมื่อเอโอวีน (นางเป็นสตรี) พร้อมด้วยฮอบบิท เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก ได้สังหารเขาในศึกที่ทุ่งเพลานอร์ หน้ามินาสทิริธ ครั้งสงครามแหวน.
นาซกูลและวิชคิง · ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและวิชคิง ·
อาร์นอร์
ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อาร์นอร์ (Arnor) หรือ อาณาจักรเหนือ เป็นอาณาจักรของมนุษย์ชาวดูเนไดน์ ในดินแดนแห่ง เอเรียดอร์ ในมิดเดิลเอิร์ธ ชื่อดังกล่าวน่าจะแปลว่า "ดินแดนแห่งกษัตริย์" มาจากภาษาซินดารินว่า อารา (Ara-) (แปลว่า สูงส่ง, เกี่ยวกับกษัตริย์) + (น)ดอร์ ((n) dor) (แปลว่า ดินแดน) ปรากฏอยู่ในนิยายทั้ง ซิลมาริลลิออน และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในช่วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น อาณาจักรอาร์นอร์แผ่กว้างไกลครอบคลุมดินแดนเกือบทั้งหมดของเอเรียดอร์ ตั้งแต่แม่น้ำบรุยเนน กวาโธล ไปจนถึงแม่น้ำลูห์น รวมทั้งดินแดนซึ่งต่อมารู้จักในนามว่า ไชร์ ด้วย ประชากรของอาร์นอร์ประกอบด้วยชาวดูเนไดน์ในดินแดนตะวันตกตอนกลางของอาณาจักร และชาวพื้นเมืองหรือลูกครึ่ง (รวมทั้งพวกต่อต้าน).
นาซกูลและอาร์นอร์ · ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและอาร์นอร์ ·
ซารูมาน
ซารูมาน (Saruman) เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ ซารูมาน เป็นคำในภาษาเวสทรอนที่มนุษย์แห่งมิดเดิลเอิร์ธใช้เรียกเทพไมอาองค์นี้ พวกเอลฟ์เรียกเขาว่า คูรูเนียร์ ชื่อเดิมของเขาคือ คูรูโม เป็นหนึ่งในห้าไมอาร์ที่ปวงเทพส่งมาช่วยเหลือมิดเดิ้ลเอิร์ธในช่วงยุคที่สาม โดยเทพไมอาร์ทั้งห้าใช้ร่างจำแลงมาในรูปชายชรา และเรียกตัวเองว่า อิสทาริ หรือ พ่อมด ซารูมานได้รับฉายาว่า พ่อมดขาว เป็นผู้มีพลังอำนาจสูงสุดในหมู่พ่อมดทั้งห้.
ซารูมานและนาซกูล · ซารูมานและลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา ·
แหวนแห่งอำนาจ
333px แหวนแห่งอำนาจ เป็นแหวนในจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริง.
นาซกูลและแหวนแห่งอำนาจ · ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและแหวนแห่งอำนาจ ·
เอกธำมรงค์
แหวนเอกธำมรงค์ (The One Ring) หรือชื่ออื่นๆ ว่า แหวนเอก แหวนประมุข แหวนแห่งอำนาจ หรือ ยมทูตแห่งอิซิลดูร์ เป็นแหวนวิเศษในจินตนาการจากนิยายไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเป็นนิยายที่เล่าเรื่องราวของภารกิจการทำลายแหวนวิเศษวงนี้ ผู้สร้างแหวนนี้คือ เซารอน ผู้เป็นจอมมาร สร้างขึ้นในยุคที่สอง โดยใส่พลังของตัวเองลงไปด้วย แหวนจะคอยทดสอบจิตใจทุกคนที่มันเห็น ผู้ที่ชนะใจตัวเองไม่ได้แหวนจะนำไปสู่ความตาย และทำให้คนดีอ่อนแอ แต่หากเป็นกลางจะเปลี่ยนเป็นปีศาจชั่วคราวแล้วกลับเป็นปกติก็จะมีอำนาจต้านแหวนได้ เนื่องจากเป็นแหวนที่มีอำนาจมากที่สุดในแหวนแห่งอำนาจ หลังจากสงครามที่เซารอนพ่ายแพ้ครั้งแรก แหวนตกไปอยู่ในมือของอิซิลดูร์, กอลลัม, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ก่อนที่โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ ผู้ถือแหวนคนสุดท้ายจะนำแหวนไปทำลายที่ภูเขามรณะ(แต่แท้จริงๆแล้วแซมไวส์ แกมจีเป็นผู้ถือแหวนคนสุดท้ายแต่อยู่ในระยะสั้นที่สุด เพราะหลังจากที่เข้าใจผิดว่าโฟรโดถูกแมงมุมยักษ์ชีล็อบฆ่าตาย แซมได้เอาแหวนเอกไปเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในเงื้อมมือของเซารอน ต่อมาเมื่อช่วยโฟรโดแล้วก็เอาแหวนเอกมาคืนให้แก่โฟรโดตามเดิม).
นาซกูลและเอกธำมรงค์ · ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเอกธำมรงค์ ·
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
. อาร.
นาซกูลและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ·
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..
นาซกูลและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ·
เดเนธอร์
นธอร์ที่สอง (Denethor II) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นมนุษย์ชาวกอนดอร์ ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดี ผู้พิทักษ์บัลลังก์กษัตริย์คนที่ 26 แห่งกอนดอร์ ปกครองดูแลอาณาจักรเป็นคนสุดท้ายก่อนจะถูกรวมเข้ากับอาณาจักรเหนือ.
นาซกูลและเดเนธอร์ · ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาและเดเนธอร์ ·
เซารอน
ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ นาซกูลและลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง นาซกูลและลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา
การเปรียบเทียบระหว่าง นาซกูลและลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา
นาซกูล มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา มี 135 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 15, ดัชนี Jaccard คือ 9.87% = 15 / (17 + 135)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นาซกูลและลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: