สารบัญ
32 ความสัมพันธ์: พฤกษาขาวแห่งกอนดอร์กอนดอร์กอนโดลินการอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์มอร์กอธยุคที่สองแห่งอาร์ดายุคที่สามแห่งอาร์ดายุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดารายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธวันยาร์วาร์ดาวาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)อาร์ดาอิซิลดูร์ธิงโกลทัวร์กอนทิริออนดอกดูเนไดน์คาทอลิกซิลมาริลประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธนิมล็อธนูเมนอร์โนลดอร์ไมอาเมลิอันเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เคเลบอร์นเซารอน
พฤกษาขาวแห่งกอนดอร์
กษาขาวแห่งกอนดอร์ (White Tree of Gondor) เป็นต้นไม้ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรกอนดอร์ ตั้งอยู่ในอุทยานของเมืองมินัสทิริธซึ่งเป็นเมืองหลวง พฤกษาขาวยังปรากฏอยู่บนธงของกอนดอร์ ร่วมกับมงกุฎปีกและดาวเจ็ดดวง เป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์เอเลนดิล.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และพฤกษาขาวแห่งกอนดอร์
กอนดอร์
กษาขาว ดาวเจ็ดดวง และมงกุฎปีก กอนดอร์ (Gondor) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และกอนดอร์
กอนโดลิน
กอนโดลิน (Gondolin) เป็นชื่ออาณาจักรเอลฟ์แห่งหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยปรากฏบรรยายอย่างละเอียดอยู่ในหนังสือ Book of Lost Tales และ ซิลมาริลลิออน ในชื่อตอนเดียวกันคือ การล่มสลายของกอนโดลิน เป็นหนึ่งในสาม "มหาตำนาน" ที่โทลคีนยกย่องไว้ (อีกสองเรื่องคือ "ตำนานของเบเรนและลูธิเอน" กับ "ตำนานบุตรแห่งฮูริน") ทัวร์กอนเป็นผู้สร้างนครกอนโดลินขึ้นตามคำแนะนำของเทพอุลโม เพื่อใช้เป็นที่มั่นสำหรับหลบซ่อนตัวให้พ้นจากการคุกคามของมอร์ก็อธ อาณาจักรนี้ตั้งอยู่ในที่ราบหุบเขาทุมลาเดนกลางวงล้อมของเทือกเขาวงแหวนหรือเอโคริอัธ เส้นทางเข้าออกผ่านเทือกเขาเป็นความลับ ส่วนบนฟ้าก็ไม่มีใครผ่านได้เพราะมีพญาอินทรีโธรอนดอร์กับบริวารคอยเฝ้าคุ้มครองอยู่ จึงไม่มีผู้ใดทราบที่ตั้งแน่ชัดของอาณาจักรแห่งนี้เลย อาณาจักรกอนโดลินเป็นอาณาจักรเอลฟ์ที่ยืนหยัดอยู่เป็นอาณาจักรสุดท้าย แต่ก็พินาศลงในที่สุดด้วยการทรยศของมายกลิน หลานของกษัตริย์ทัวร์กอนเอง ทำให้มอร์ก็อธสามารถยกทัพมาบุกโจมตีจนเมืองแตกได้ กษัตริย์ทัวร์กอนและมายกลินเสียชีวิตในคราวล่มนคร มีเพียงทูออร์ อิดริล และเออาเรนดิล กับพลเมืองติดตามอีกเล็กน้อยที่หนีออกไปได้ ด้วยการช่วยเหลือของเหล่าหัวหน้าตระกูลของกอนโดลิน เช่น กลอร์ฟินเดล และ เอคเธลีออน และไปสมทบกับเอลฟ์กลุ่มสุดท้ายที่เหลือบนแผ่นดินเบเลริอันด์ที่เมืองท่าปากแม่น้ำซิริออน.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และกอนโดลิน
การอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์
การอพยพครั้งใหญ่ หรือ การเดินทางครั้งใหญ่ ของพวกเอลฟ์ เป็นเหตุการณ์สำคัญในช่วงต้นของยุคสมัยในปกรณัมของ เจ.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และการอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์
มอร์กอธ
'''มอร์กอธ บาวเกลียร์''' มอร์กอธ บาวเกลียร์ (Morgoth Bauglir) เป็นตัวละครที่แต่งขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในผลงานของโทลคีนเรื่อง ซิลมาริลลิออน และตำนานอื่นๆ ในยุคโบราณของปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธเป็นชาวไอนัวร์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าเฉกเช่นวาลาร์ ชื่อเดิมของเขาคือ เมลคอร์ แต่ต่อมาเป็นที่รู้จักทั่วไปในมิดเดิลเอิร์ธในชื่อของ มอร์กอธ หลังจากที่เจ้าชายเอลฟ์นามว่า เฟอานอร์ เป็นผู้ตั้งให้ ในประวัติศาสตร์ของมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธมีบทบาทเป็นฝ่ายอธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่ง เซารอน เจ้าแห่งความมืดที่หลายคนรู้จักดีจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เคยเป็นข้ารับใช้ของเขา นาม มอร์กอธ บาวเกลียร์ ที่จริงแล้วเป็นชื่อฉายา ชื่อของเขาที่ปรากฏครั้งแรกในไอนูลินดาเล (เรื่องราวของการสร้างมิดเดิ้ลเอิร์ธ และเป็นบทแรกของ ซิลมาริลลิออน) มีชื่อว่า เมลคอร์ ซึ่งหมายถึง "ผู้ผงาดด้วยอำนาจ" ส่วนคำว่า มอร์กอธ สามารถแปลได้ว่า "ทรราชเจ้าแห่งความมืด" หรือ "ผู้กดขี่อันน่าสยดสยอง" คำนี้มีที่มาจากภาษาเควนยาซึ่งหมายถึง ศัตรูมืด หรือ ความมืดอันน่าหวาดหวั่น (รากศัพท์มาจาก มอร์ (mor) - สีดำ ความมืด เงามืด และ กอส/กอธ (goth) - น่ากลัวมาก ความสยองขวัญ) ส่วนคำว่า บาวเกลียร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง ทรราช หรือ ผู้กดขี่ (รากศัพท์ MBAW - บังคับ พลังอำนาจ กดขี่) ตัวละครนี้ไม่ได้ถูกเรียกว่ามอร์กอธจนกระทั่งเขาได้รับสมญานั้นจาก เฟอานอร์ แห่ง โนลดอร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่หนึ่ง (First Age) หลังจากเมลคอร์หลบหนีออกจากวาลินอร์แล้ว และพวกเอลฟ์ก็เรียกแต่ชื่อนั้นของเขา แต่ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นเขาถูกเรียกเพียงว่า เมลคอร์ ระหว่างการพัฒนาการของตำนานของโทลคีน เขาได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการแปรพักตร์ของไอนูองค์นี้ และเปลี่ยนชื่อของเขาด้วย นอกเหนือจากชื่อพิเศษของเขาซึ่งชาวโนลดอร์ตั้งให้ (มอร์กอธ) เขายังถูกเรียกในตำนานต่างๆ (ในหลากหลายรูปแบบ) ว่า'เมลโค' 'เบลคา' 'เมเลกอร์' และ 'เมเลโค' ชื่อของเขาในรูปซินดารินคือ 'เบเลกูร์' ซึ่งไม่เคยถูกใช้เลยนอกจากในคำที่แปลงรูปแล้วว่า 'เบเลกัวธ์' ซึ่งหมายถึง ’ความตายอันยิ่งใหญ่' หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และมอร์กอธ
ยุคที่สองแห่งอาร์ดา
ที่สอง แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การจับกุมคุมขังเทพอสูรมอร์กอธไว้ในสุญญภูมิ หลังจากการล่มจมสมุทรของแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นผลจากสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามระหว่างปวงเทพแห่งแดนประจิมกับมอร์กอธ การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ ไปจนถึงการปราบปรามเซารอนลงสำเร็จในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย กินเวลายาวนานถึง 3,441 ปี เหตุการณ์ในยุคที่สองของอาร์ดา มิได้มีการบรรยายไว้โดยละเอียดเหมือนยุคที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏเนื้อหาอยู่ในตำนานเรื่อง ซิลมาริลลิออน แต่ได้มีการบรรยายสรุปโดยย่ออยู่ในภาคผนวกของหนังสือเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และในตำนานอคัลลาเบธ อันเป็นตำนานว่าด้วยการรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาจำนวนมากที่โทลคีนประพันธ์ค้างไว้ และคริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ Unfinished Tales.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และยุคที่สองแห่งอาร์ดา
ยุคที่สามแห่งอาร์ดา
ที่สามแห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การพ่ายแพ้ของเซารอนต่อกองทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายของมนุษย์และพราย (สงครามตอนต้นเรื่องในภาพยนตร์) เอกลักษณ์ของยุคนี้คือความเสื่อมถอยของพวกพราย หรือ เอลฟ์ การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอยของอาณาจักรกอนดอร์และอาร์นอร์ และการฟื้นอำนาจของเซารอน ยุคที่สามกินเวลา 3,021 ปี จนถึงความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย เมื่อโฟรโด แบ๊กกิ้นส์, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ และแกนดัล์ฟ เดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ จึงเริ่มนับเป็นยุคที่สี.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และยุคที่สามแห่งอาร์ดา
ยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา
ในจินตนิยายชุด ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า ยุคที่หนึ่ง มักหมายถึง ยุคที่หนึ่งของเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ส่วนใหญ่ที่ปรากฏในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ยุคนี้เริ่มต้นด้วยการตื่นขึ้นของเหล่าเอลฟ์ ที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน และจบลงด้วยการล้มล้างมอร์กอธ โดยกองทัพผสมระหว่างวาลินอร์กับเบเลริอันด์ ยุคที่หนึ่งกินเวลาหลายร้อยปีในวาเลียนศักราช และอีกเกือบ 590 ปีของยุคแห่งตะวัน หากคิดเวลารวมเป็นปีตะวัน อาจได้ช่วงเวลาประมาณ 4,902 ถึง 65,390 ปีตะวัน เนื่องจากวิธีการคำนวณปีวาลาร์เทียบกับปีตะวันในงานเขียนแต่ละชุดของโทลคีนมีความแตกต่างกัน ตัวเลขที่มากกว่าคิดเทียบจากข้อมูลในภาคผนวกของเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ส่วนเลขน้อยกว่าคิดจากงานเขียนในชุดแรกๆ ของเขา บางครั้งในงานเขียนอาจระบุถึง ยุคที่หนึ่ง ด้วยคำว่า ยุคบรรพกาล ด้วย มักมีความเข้าใจผิดกันว่า ยุคที่หนึ่ง เริ่มนับตั้งแต่ยุคแห่งตะวัน เพราะบางครั้งก็เอ่ยถึงว่า "ยุคที่หนึ่งแห่งตะวัน" ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่การกำเนิดของดวงตะวันเรื่อยไปจนถึงการสิ้นอำนาจของมอร์กอ.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา
รายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธ
ีล็อบจาก ภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริง.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และรายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธ
วันยาร์
ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาววันยาร์ (Vanyar) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนวันยาร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนแรกที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า อิมิน (Imin) แต่ผู้นำของชาววันยาร์ซึ่งต่อมากลายเป็นกษัตริย์แห่งเอลฟ์ทั้งปวง คือ อิงเว (Ingwë) เขาเป็นผู้แทนของเอลฟ์หนึ่งในสามคนที่ได้ไปเยือนวาลินอร์เป็นครั้งแรกตามคำเชิญของเทพโอโรเม ก่อนที่พวกเอลฟ์จะอพยพครั้งใหญ่ออกจากคุยวิเอเนนไปยังทวีปอามัน คำว่า วันยาร์ เป็นคำภาษาเควนยา หมายถึง "ผู้งดงาม" ชื่อดั้งเดิมของชาววันยาร์คือ มินยาร์ (Minyar) ซึ่งหมายถึง 'ตระกูลที่หนึ่งของเอลฟ์' สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาวโนลดอร์ และชาวเทเลริ ชาววันยาร์มีรูปร่างสูง ผมเป็นสีทอง (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ วันยาร์ - ผู้งดงาม) พวกเขาพูดภาษาเควนด์ยา (Quendya) ซึ่งเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเควนยา มีที่ใช้เฉพาะที่วาลินอร์เท่านั้น.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และวันยาร์
วาร์ดา
วาร์ดา (Varda) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในงานเขียนเรื่อง ซิลมาริลลิออน โดยเป็นหนึ่งในเทพีวาลิแอร์ ทรงเป็นเทพีแห่งดวงดาว และเป็นผู้ครองแสงสว่าง เป็นคู่ครองของเทพมานเว ซึ่งเป็นเทพบดีผู้เป็นใหญ่ในบรรรดาวาลาร์ทั้งปวง วาร์ดาเป็นผู้สร้างดวงดาวประดับบนฟากฟ้าหลังจากโลกอาร์ดาตกอยู่ในความมืดมิด เพื่อให้แสงจากดวงดาวช่วยส่องสว่างแก่โลก เมื่อครั้งที่พวกเอลฟ์ตื่นขึ้นเป็นครั้งแรก จึงได้เห็นแสงดาวก่อนสิ่งอื่น และหลงรักแสงดาวนั้น พวกเอลฟ์รักใคร่เทพีวาร์ดามากกว่าวาลาร์องค์ใดๆ เรียกขานนามของนางด้วยภาษาเควนยาว่า เอเลนทาริ (Elentári) ซึ่งหมายถึง ราชินีแห่งดวงดาว บ้างก็เรียกว่า ทินทัลเล (Tintallë) ซึ่งหมายถึง ผู้จุดแสงดาว ในภาษาซินดาริน คำทั้งสองคำนี้เรียกว่า เอลเบเร็ธ (Elbereth) และ กิลโธเนียล (Gilthoniel) ตามลำดับ หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์ ja:ヴァラ#ヴァルダ la:Ainur#Valar pl:Valar#Varda sv:Valar (Tolkien)#Varda.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และวาร์ดา
วาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)
วาลาร์ (Valar) เป็นชื่อเรียกชนชั้นสูงในชนเผ่า ไอนัวร์ (Ainur) ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีกล่าวถึงอยู่มากในตำนานเรื่องซิลมาริลลิออน ชนเผ่าไอนัวร์เป็นชนเผ่าที่ถือกำเนิดมาจากพระเจ้าสูงสุดในโลกอาร์ดา คือมหาเทพอิลูวาทาร์ เป็นพวกที่ช่วยมหาเทพสร้างพิภพต่างๆ และตระเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ กล่าวคือเป็นผู้ช่วยสร้างโลกอาร์ดานั่นเอง ชาวมนุษย์มักเรียกเหล่าไอนัวร์ว่า "เทพ" คำว่า "วาลาร์" เป็นคำภาษาเอลฟ์ หมายถึง "พลังอำนาจแห่งพิภพ" รูปคำ วาลาร์ (Valar) เป็นพหูพจน์ คำเอกพจน์คือ วาลา (Vala).
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และวาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)
อาร์ดา
อาร์ดา (Arda) เป็นชื่อดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งใช้ในความหมายแทนโลกของเราทั้งหมด อาร์ดาประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ มิดเดิลเอิร์ธ อามัน และ กาฬทวีป มีมหาสมุทรหลายแห่ง ที่สำคัญคือ มหาสาคร (The Great Sea) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เบเลกายร์ ในทะเลเบเลกายร์นี้เคยมีเกาะนูเมนอร์ ซึ่งล่มจมสมุทรไปตั้งแต่ยุคที่สองของอาร์ดา ดินแดนส่วนอื่นๆ ในอาร์ดามิได้ถูกเอ่ยถึง ตามปกรณัมของโทลคีน อาร์ดาเป็นส่วนหนึ่งของ เออา (Ea) คือจักรวาลแห่งพิภพที่มหาเทพอิลูวาทาร์สร้างขึ้นในสุญญภูมิ ด้วยการบรรเลงบทเพลงมหาคีตา ซึ่งมีจิตวิญญาณแรกเริ่ม (หรือไอนัวร์) ช่วยในการสร้างด้วย การสร้างครั้งนั้นเรียกว่า มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อเออาถือกำเนิดขึ้น ไอนัวร์บางส่วนได้ลงมาอยู่ในโลกนี้เพื่อปกปักรักษาและตระเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ไอนัวร์ที่ลงมายังอาร์ดา พวกที่มีพลังอำนาจสูง เรียกว่า วาลาร์ ส่วนพวกที่มีฤทธิ์น้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ ไอนัวร์เหล่านี้บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า ปวงเทพ โลกอาร์ดาแต่ดั้งเดิมเมื่อเริ่มสร้างนั้นเป็นแผ่นดินแบนๆ ที่ล้อมรอบด้วยทะเลวัฏฏะ (Encircling Sea) มีชื่อเรียกว่า เอคไคอา (Ekkaia) ข้างใต้เป็นโถงถ้ำมากมาย ข้างบนเป็นเขตห้วงเวหามีชื่อว่า อิลเมน แผ่นดินดั้งเดิมเป็นทวีปเดี่ยวตั้งอยู่ตรงกลาง มีทะเลสาบอยู่ใจกลางทวีป และมีเกาะอยู่กลางทะเลสาบนั้น ชื่อว่า เกาะอัลมาเรน เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าวาลาร์และไมอาร์ เมื่อเกิดสงครามระหว่างปวงเทพขึ้น ทำให้แผ่นดินเกิดวินาศวอดวาย แตกเป็นทวีปต่างๆ พวกวาลาร์และไมอาร์จึงย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน ซึ่งอยู่ทางสุดตะวันตกของอาร์ดา ส่วนทวีปมิดเดิลเอิร์ธที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอาร์ดา ได้กลายเป็นถิ่นฐานที่อาศัยของบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือพวกเอลฟ์ และมนุษย์ มีมหาสาครหรือเบเลกายร์ กั้นกลางระหว่างสองทวีปนี้ ในช่วงปลายยุคที่สอง เมื่อมนุษย์ชาวนูเมนอร์เหิมเกริมจะบุกรุกทวีปอามันเพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ปวงเทพจึงจมเกาะนูเมนอร์เสีย และย้ายทวีปอามันออกไปเสียจากโลก บันดาลให้โลกกลายเป็นโลกกลม แม้แล่นเรือไปทางตะวันตกจนสุดหล้า ก็จะหวนกลับมายังจุดตั้งต้นได้อีกครั้ง การจะไปถึงทวีปอามันได้ต้องเดินทางผ่านเส้นทางมุ่งตรง ซึ่งจะไปได้โดยพวกเอลฟ์เท่านั้น.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และอาร์ดา
อิซิลดูร์
อิซิลดูร์ (Isildur) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales ชื่อ 'อิซิลดูร์' หมายถึง 'ผู้รักใคร่ในดวงจันทร์' ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ อิซิลดูร์ถูกเอ่ยถึงในฐานะชาวดูเนไดน์แห่งนูเมนอร์ โอรสของกษัตริย์เอเลนดิล ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอาร์นอร์และกอนดอร์ในช่วงเวลาสั้นๆ และทรงเป็นบรรพชนของอารากอร์น เอเลสซาร์ เรื่องราวโดยละเอียดของเขาจะปรากฏอยู่ใน ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales มากกว.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และอิซิลดูร์
ธิงโกล
อลู ธิงโกล (เควนยา) หรือ เอลเว ซิงโกลโล (ซินดาริน) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในวรรณกรรมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ปรากฏในหนังสือ ซิลมาริลลิออน และ ตำนานบุตรแห่งฮูริน ได้ชื่อว่าเป็นบุตรแห่งอิลูวาทาร์ที่สูงใหญ่และมีพลังอำนาจมากที่สุด เป็นรองแต่เพียงเฟอานอร์เท่านั้น ธิงโกลเป็นผู้นำของเอลฟ์ชาวเทเลริ เป็นตัวแทนผู้ได้รับเลือกจากเทพโอโรเมไปยังแผ่นดินอมตะเพื่อยลทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ พร้อมกันกับอิงเว และฟินเว หลังจากนั้นผู้นำเอลฟ์ทั้งสามจึงกลับมาชักชวนพลเมืองของตนให้เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนไปยังแผ่นดินอมตะ โดยที่ชาวเทเลริเดินทางอยู่ท้ายสุด เมื่อไปใกล้จะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ธิงโกลได้ล่วงหน้าออกจากกลุ่มเพื่อไปเยี่ยมฟินเว กษัตริย์โนลดอร์ สหายของตน ระหว่างทางเขาได้พบกับเทพีเมลิอันในป่า แล้วทั้งสองตกอยู่ใต้มนตร์เสน่หาที่นั้น พลเมืองของธิงโกลค้นหาเขาไม่พบ จนไม่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรใหญ่ไปกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ได้ หลังจากนั้น ชาวเทเลริที่ตกค้างอยู่จึงตั้งถิ่นฐานที่ริมมหาสมุทรใหญ่ ในแผ่นดินเบเลริอันด์ เอลฟ์กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า ชาวซินดาร์ มีธิงโกลและเมลิอัน เป็นราชาและราชินี อาณาจักรของพวกเขาเรียกว่า โดริอัธ ธิงโกลกับเมลิอันมีธิดาด้วยกันหนึ่งองค์ คือ ลูธิเอน.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และธิงโกล
ทัวร์กอน
ทัวร์กอน (Turgon) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในปกรณัมเรื่อง ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน พระองค์เป็นเอลฟ์ชาว โนลดอร์ เป็นโอรสองค์ที่สองของฟิงโกลฟิน ซึ่งเป็นโอรสของฟินเว จอมกษัตริย์แห่งโนลดอร์ ทรงมีพี่ชายหนึ่งองค์คือ ฟิงกอน และน้องสาวหนึ่งองค์ คือ อาเรเดล ท่านหญิงขาว ชื่อ 'ทัวร์กอน' เป็นภาษาซินดาริน แผลงมาจากคำเควนยาว่า ทูรูคาโน (Turukáno) มีความหมายว่า 'เจ้าชายผู้กล้าหาญ'.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และทัวร์กอน
ทิริออน
ในปกรณัมของโทลคีน ทิริออน อัพอน ทูนา (Tirion upon Túna แปล: ทุ่งสีเขียวแห่งทูนา) เป็นนครหลวงของพวกเอลฟ์ เคยเป็นนครของชาวโนลดอร์ และภายหลังพวกวันยาร์ได้ย้ายเข้ามาอยู่ ตั้งอยู่ในแคว้นวาลินอร์บนทวีปอามัน ปกครองโดยราชวงศ์ฟินเว เคยมีฟินเวเป็นเจ้าผู้ครองและเป็นที่อยู่อาศัยของโอรสทั้งสาม คือ เฟอานอร์, ฟิงโกลฟิน และ ฟินาร์ฟิน นครทิริออนตั้งอยู่บนยอดของหุบเขาคาลาเคียร์ยา (เป็นภาษาเควนยาว่า "หุบเขาแห่งแสง") กำแพงและดาดฟ้าของนครแห่งนี้ล้วนแต่เป็นสีขาวบริสุทธิ์ ก้อนกรวดบนถนนหนทางล้วนแต่เป็นเพชร มีบันไดแก้วพาดยาวจากแผ่นดินเบื้องล่างสู่มหาประตู ใจกลางเมืองเป็นที่ตั้งของหอคอยมินดอน เอลลาเลียเว บนหอคอยแห่งนี้มีตะเกียงเงินที่ส่องแสงได้ไกลถึงมหาสมุทร ที่ใต้หอคอยเป็นที่พำนักของอิงเว ปฐมกษัตริย์แห่งโนลดอร์และผู้นำของวันยาร์ ในนครแห่งนี้ยังมีมหาจัตุรัสซึ่งประดับด้วยพฤกษาขาวกาลาไธลิออน ซึ่งเป็นที่สาบานสละอำนาจของอิงเว.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และทิริออน
ดอก
ปสเตอร์แสดงภาพดอกไม้ต่าง ๆ สิบสองชนิด ดอก เป็นโครงสร้างสืบพันธุ์พบในพืชดอก (พืชในหมวด Magnoliophyta) หน้าที่ทางชีววิทยาของดอก คือ เพื่อออกผลการสืบพันธุ์ ปกติโดยให้กลไกสำหรับการผสมระหว่างสเปิร์มกับไข่ ดอกอาจอำนวยให้การผสมข้ามดอก (outcrossing) หรือให้เกิดการผสมในดอกเดียวกัน (selfing) ก็ได้ บางดอกผลิตส่วนแพร่พันธุ์โดยไม่มีการปฏิสนธิ (การเกิดผลลม) ดอกมีอับสปอร์และเป็นที่ซึ่งแกมีโทไฟต์เจริญ ดอกให้ผลและเมล็ด หลายดอกวิวัฒนาให้ดึงดูดสัตว์ เพื่อที่จะให้สัตว์เหล่านั้นเป็นพาหะส่งผ่านเรณู นอกเหนือไปจากการอำนวยการสืบพันธุ์ของพืชดอกแล้ว มนุษย์ยังชื่นชมและใช้เพื่อตกแต่งสิ่งแวดล้อมให้งาม และยังเป็นวัตถุแห่งความรัก พิธีกรรม ศาสนาแพทยศาสตร์และเป็นแหล่งอาหาร.
ดูเนไดน์
ในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ดูเนไดน์ (Dúnedain; เอกพจน์ คือ ดูนาดาน (Dúnadan)) คือ เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ผู้สืบสายเลือดจาก ชาวนูเมนอร์ ที่รอดจากการล่มสลายของอาณาจักรเกาะของพวกเขาและมายัง เอเรียดอร์ ในมิดเดิลเอิร์ธ นำโดย เอเลนดิล และบุตรชายของเขา คือ อิซิลดูร์ และ อนาริออน พวกเขายังถูกเรียกว่ามนุษย์แห่งตะวันตก (Men of the West) และ Men of Westernesse (แปลโดยตรงจากคำ ซินดาริน) พวกเขาตั้งรกรากส่วนใหญ่ใน อาร์นอร์ และ กอนดอร์ ชื่อภาษาเวสทรอน ของคำว่า ดูนาดาน เรียกง่าย ๆ ว่า อะดูน (Adûn) ซึ่งแปลว่า "ชาวตะวันตก" แต่ชื่อนี้มันถูกใช้น้อยมาก ชื่อนี้จะถูกรักษาไว้กับชาวนูเมนอร์ที่เป็นสหายกับพราย ส่วนพวกอื่นซึ่งเป็นศัตรูเหลือรอดจากการล่มสลายรู้จักกันในนาม ชาวนูเมนอร์ดำ.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และดูเนไดน์
คาทอลิก
ทอลิก (Catholic มาจากภาษากรีกคำว่า καθολικός) แปลว่า สากล ทั่วไป เป็นรูปแบบหนึ่งในศาสนาคริสต์ ที่มีแนวศรัทธา เทววิทยา หลักความเชื่อ พิธีกรรม จริยศาสตร์ จิตวิญญาณ พฤติกรรม เป็นลักษณะเฉพาะของตน ตลอดจนประชากรในนิกายนั้น คำว่าคาทอลิก มีความหมายโดยสรุปได้ 3 อย่าง คือ.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และคาทอลิก
ซิลมาริล
ในตำนานที่เขียนโดย เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ซิลมาริล (Silmaril) (มาจากภาษาเควนยา ว่า ซิลมาริลลิ) เป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ในจินตนิยาย ประกอบด้วยอัญมณีสามชิ้นที่สุกสว่างดังดวงดาว ภายในบรรจุแสงอันบริสุทธิ์ของ ทวิพฤกษา ซิลมาริลทำมาจากวัสดุใสดังผลึกคริสตัลที่เรียกว่า ซิลิมา ประดิษฐ์โดย เฟอานอร์ เอลฟ์ชาวโนลดอร์ ในวาลินอร์ ในช่วงยุคแห่งพฤกษา งานเขียนชุด ซิลมาริลลิออน ของโทลคีน มีหัวใจหลักของเรื่องเกี่ยวข้องกับดวงมณีซิลมาริลนี้เอง ว่าด้วยเรื่องราวของผู้สร้าง การถูกช่วงชิง และการแก้แค้น ตลอดจนชะตากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งหม.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และซิลมาริล
ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ
ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle-earth) เป็นชื่อชุดหนังสือจำนวน 12 เล่ม ที่รวบรวมงานเขียนต้นฉบับต่างๆ ของ เจ. อาร์.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ
นิมล็อธ
นิมล็อธ (Nimloth) เป็นชื่อต้นไม้ในตำนานปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งสืบตระกูลมาจากพฤกษาขาว เคเลบอร์น และ กาลาธิลิออน และ เทลเพริออน พฤกษาเงินแห่งวาลินอร์ พวกเอลฟ์แห่งโทลเอเรสเซอาได้มอบหน่ออ่อนของเคเลบอร์นให้เป็นของขวัญแก่ชาวนูเมนอร์ ซึ่งพวกเขานำมาปลูกไว้ที่อุทยานหลวงในกรุงอาร์เมเนลอส เมืองหลวงของนูเมนอร์ ต่อมาเมื่อเซารอนเข้ามามีอิทธิพลในนูเมนอร์ นิมล็อธถูกเซารอนโค่นลงและเผาทำลายทิ้งจนหมด อย่างไรก็ดี อิซิลดูร์ได้ลอบเข้ามาขโมยผลของนิมล็อธหนีไปได้ทัน และนำไปปลูกบนมิดเดิลเอิร์ธ กลายเป็น พฤกษาขาวแห่งกอนดอร์ ในเวลาต่อมา นิมล็อธ ยังเป็นชื่อของเอลฟ์นรีนางหนึ่ง คือบุตรีของกาลาธิล บุตรของกาลาธอน ซึ่งเป็นบุตรของเอลโม เอลโมผู้นี้เป็นน้องชายของโอลเวแห่งอัลควาลอนเด และเอลเว ซิงโกลโล (หรือธิงโกล) ราชาแห่งชาวซินดาร์ ต่อมานางได้แต่งงานกับ ดิออร์ บุตรชายของเบเรนและลูธิเอน ทั้งสองมีบุตรด้วยกันคือ เอลูเรด เอลูรีน และเอลวิง บางครั้งชาวลินดอนเรียกนางว่า เลดี้ลินดิส นิมล็อธเสียชีวิตในเหตุการณ์สงครามประหัตประหารญาติครั้งที่สอง ในเมเนกร็อธ หมวดหมู่:ต้นไม้ในตำนานของโทลคีน หมวดหมู่:เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) pl:Lista Sindarów i Moriquendich#Nimloth.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และนิมล็อธ
นูเมนอร์
นูเมนอร์ (Númenor) เป็นชื่อเกาะแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นแผ่นดินที่แยกต่างหากออกมาจาก มิดเดิลเอิร์ธ มีแนวคิดในการประพันธ์มาจากแผ่นดินจมสมุทรแอตแลนติส ชื่อนูเมนอร์มาจากภาษาเควนยา ว่า Númenórë ซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินตะวันตก โทลคีนเขียนไว้ว่า เมื่อแปลงจากคำภาษาเควนยาเป็นภาษานูเมนอเรียน ชื่อนี้ออกเสียงเป็น อนาดูเน (Anadûnê).
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และนูเมนอร์
โนลดอร์
ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวโนลดอร์ (Noldor) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนโนลดอร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สองที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า ตาตา (Tata) ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกชนเหล่านี้ว่า 'ตระกูลที่สองของเอลฟ์' หรือ 'ตาชาร์' (Tatyar) สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวเทเลริ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวโนลดอร์คือ ฟินเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งมวล และได้นำพวกเขาเดินทางอพยพไปสู่แผ่นดินอมตะ ชาวโนลดอร์มีรูปร่างสูงใหญ่ มักมีดวงตาสีเทา ผมสีเข้ม (ยกเว้นโนลดอร์บางคนในตระกูลที่วิวาห์กับชาววันยาร์ เช่นราชสกุลฟินาร์ฟิน จะมีผมสีทองแบบชาววันยาร์) พวกเขาพูดภาษาเควนยา แต่ชาวโนลดอร์ที่นิวัติมายังมิดเดิลเอิร์ธในยุคที่หนึ่ง จะใช้ภาษาซินดารินในการเจรจาประจำวัน.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และโนลดอร์
ไมอา
มอาร์ (Maiar) เป็นชื่อเรียกดวงจิตชั้นรอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่า ไอนัวร์ (Ainur) ตัวละครในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีกล่าวถึงอยู่มากในตำนานเรื่องซิลมาริลลิออน ชนเผ่าไอนัวร์เป็นชนเผ่าที่ถือกำเนิดมาจากพระเจ้าสูงสุดในโลกอาร์ดา คือมหาเทพอิลูวาทาร์ เป็นพวกที่ช่วยมหาเทพสร้างพิภพต่างๆ และตระเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ กล่าวคือเป็นผู้ช่วยสร้างโลกอาร์ดานั่นเอง ชาวมนุษย์มักเรียกเหล่าไอนัวร์ว่า "เทพ" เทพไมอาร์เข้ามายังโลกอาร์ดาก็เพื่อช่วยเหล่าวาลาร์ในการสร้างโลกนั่นเอง รูปคำ ไมอาร์ (Maiar) เป็นพหูพจน์ คำเอกพจน์คือ ไมอา (Maia).
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และไมอา
เมลิอัน
มลิอัน หรือ เมเลียน (Melian) เป็นเทพีไมอาร์องค์หนึ่ง ปรากฏในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เรื่อง ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน กวีนิพนธ์ชุดลำนำแห่งเลย์ธิอัน และกวีนิพนธ์ตำนานบุตรแห่งฮูริน มีบทบาทในฐานะผู้นำเชื้อสายแห่งเทพ (ไอนัวร์) มาสู่แผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ และเป็นมารดาของลูธิเอน ทินูเวียล อำนาจของเมลิอันช่วยปกป้องอาณาจักรเอลฟ์จากการรุกรานของมอร์ก็อธได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ครั้นเมื่อนางจากไปอำนาจนั้นก็เสื่อมสลาย และเป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรเอลฟ์ทั้งปวง.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และเมลิอัน
เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
. อาร.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
เคเลบอร์น
ลบอร์น (Celeborn) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้ปกครองอาณาจักรเอลฟ์แห่งลอธลอริเอน ร่วมกับชายาคือเลดี้กาลาเดรียล เป็นบิดาของเคเลเบรียนผู้เป็นภรรยาของเอลรอนด์ เขาจึงเป็นตาของอาร์เวน ตามร่างปกรณัมของโทลคีน มีการระบุถึงความเป็นมาของเคเลบอร์นอย่างคร่าว ๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ ได้แก.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และเคเลบอร์น
เซารอน
ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.
ดู ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และเซารอน