เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ดูริน

ดัชนี ดูริน

ูริน เป็นนามของกษัตริย์คนแคระในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ ดูริน และชื่ออื่นๆ ของคนแคระ เป็นชื่อที่โทลคีนนำมาจากตำนานนอร์สโบราณ เขาเคยเขียนอรรถาธิบายเรื่องภาษาต่างๆ ไว้ว่า เขาเลือกใช้ภาษาอังกฤษ แทนภาษาเวสทรอนในโลกมิดเดิลเอิร์ธ และใช้ภาษานอร์สโบราณ แทนภาษาของชาวเดล ที่เหล่าคนแคระใช้ในการเรียกชื่อเฉพาะต่างๆ ของตนยามติดต่อสื่อสารกับชนเผ่าอื่น.

สารบัญ

  1. 24 ความสัมพันธ์: บัลร็อกภาษาอังกฤษภาษาเวสทรอนมิธริลมิดเดิลเอิร์ธยุคที่สองแห่งอาร์ดายุคที่สามแห่งอาร์ดายุคที่สี่แห่งอาร์ดาสงครามแหวนอาร์ดาอาวเลอิลูวาทาร์คาซัดดูมคนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธแหวนแห่งอำนาจเอเรบอร์เอเรกิออนเจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเทพปกรณัมนอร์สเดลเคเลบริมบอร์เซารอน

บัลร็อก

ัลร็อก (Balrog) เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน คำว่า 'บัลร็อก' เป็นภาษาซินดาริน คำเควนยาเรียกว่า วาลาเราโค (Valarauko) มีความหมายถึงสิ่งมีชีวิตรูปร่างคล้ายมนุษย์ ผู้ควบคุมจิตวิญญาณแห่งไฟและเงามืด บัลร็อกไม่ได้สร้างกายหยาบจึงมีร่างกายเป็นเปลวไฟแต่บางทีก็คลุมกายด้วยความมืด อาวุธของบัลร็อกคือแส้ที่ทำด้วยเปลวไฟ ตามปกรณัมกล่าวถึงบัลร็อกว่าเป็นจิตวิญญาณที่ทรงพลังอำนาจสูงยิ่ง บ้างก็ว่าบัลร็อกเป็น ไมอาร์ (Spirit ซึ่งให้กำเนิดโดย Iluvatar) กลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นดวงจิตแห่งไฟ มีชีวิตอยู่มาตั้งแต่แรกเริ่ม เดิมทีนั้นเป็นฝ่ายดีต่อมาถูกความชั่วร้ายของเมลคอร์เข้าครอบงำกลายเป็นฝ่ายอธรรม มีความชั่วร้ายเป็นรองก็แต่เซารอนและติดตามเมลคอร์มาจากโลกภายนอกนับแต่อดีตกาลนานโพ้น บัลร็อกออกรบทำสงครามกับพวกเอลฟ์มาตั้งแต่ยุคที่หนึ่งของอาร์ดาและถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก ส่วนที่เหลือก็ซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน แม่ทัพบัลร็อกคนสำคัญได้แก่ กอธม็อก (Gothmog) ซึ่งเป็นผู้สังหารกษัตริย์ฟิงกอน บัลร็อกยังได้ร่วมรบอยู่ในสงครามแห่งเบเลริอันด์หลายต่อหลายครั้ง ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คณะพันธมิตรแห่งแหวนประจันหน้ากับบัลร็อกระหว่างการเดินทางผ่านเหมืองมอเรีย มีเพียงแกนดัล์ฟซึ่งเป็นไมอาร์เท่านั้นที่สามารถต่อกรกับบัลร็อกได้.

ดู ดูรินและบัลร็อก

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ดู ดูรินและภาษาอังกฤษ

ภาษาเวสทรอน

ษาเวสทรอน (Westron) เป็นภาษาประดิษฐ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ใช้ในนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ในฉบับนิยายถือว่า ภาษาเวสทรอนเป็นเสมือน 'ภาษากลาง' ของโลกแห่งนั้น โดยเฉพาะในยุคสมัยในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คำว่า "เวสทรอน" เป็นคำภาษาอังกฤษที่เลือกมาใช้ในการ 'แปล' ภาษานี้ (ตามที่โทลคีนว่า) มีที่มาจากคำว่า "ตะวันตก" (West) ซึ่งเป็นรากคำดั้งเดิมมาจากคำว่า อดูนิ (Adûni) ในภาษาอดูนาอิก ของชาวนูเมนอร์ ชื่อภาษาเวสทรอนในภาษาซินดารินเรียกว่า อันนูไนด์ (Annúnaid) หมายถึง ภาษาของชาวตะวันตก (Westron) บางครั้งก็เรียกว่า ฟาลาเธรน (Falathren) หมายถึง ภาษาชาวฝั่ง (Shore-language) ภาษาเวสทรอนพัฒนามาจากภาษาอดูนาอิกของชาวนูเมนอร์ หลังจากที่ชาวนูเมนอร์เริ่มบุกเบิกและติดต่อสมาคมกับมนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกของทวีปมิดเดิลเอิร์ธ จึงใช้ภาษานี้แพร่หลายทั่วไป แต่รากฐานดั้งเดิมของภาษานี้ก็มาจาก ภาษาของชาวเบออร์และฮาดอร์ ซึ่งเป็นชาวเอไดน์ บรรดามนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกเหล่านั้นก็มีบรรพบุรุษเดียวกันกับชาวเอไดน์ ในภายหลังชนเหล่านี้เป็นพลเมืองท้องถิ่นของอาณาจักรกอนดอร์ และอาร์นอร์ ภาษาเวสทรอนใช้แพร่หลายอยู่ตามแนวชายฝั่ง และตลอดทั่วทั้งเขตแคว้นเอเรียดอร์ แต่ดินแดนอื่นๆ เช่น โรห์วาเนียน ไม่ได้ใช้ภาษานี้ด้วย ชนพื้นเมืองที่เป็นมนุษย์ในหลายๆ ท้องถิ่นมีภาษาเป็นของตัวเอง เช่นชาวดันเลนดิง มนุษย์บนเทือกเขาขาว เป็นต้น ตามท้องเรื่องที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โทลคีนบอกว่าเขาได้แปลเรื่องทั้งหมดจากภาษาเวสทรอน ออกมาเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอย่างการถอดความที่สำคัญเช่น ชื่อของตัวละครต่างๆ เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก เป็นชื่อในภาษาอังกฤษที่แปลมาจากชื่อจริงของเขาว่า คาลิมัก บรันดากัมบา (Kalimac Brandagamba) ชื่อย่อว่า คาลิ (หมายถึง ความสนุกสนานรื่นเริง) ชื่อ เมอเรียด็อค และชื่อย่อ เมอร์รี่ จึงเป็นชื่อที่ถอดความมาจากภาษาเวสทรอนให้คงความหมายดั้งเดิมไว้ หรือชื่อ เปเรกริน ตุ๊ก กับชื่อย่อ ปิ๊ปปิ้น ก็มาจากชื่อจริงว่า ราซานัวร์ ทูค (Razanur Tûk) ชื่อย่อว่า ราซาร์ (หมายถึง แอ๊ปเปิ้ลผลเล็กๆ) ที่ถอดความมาให้ได้ความหมายใกล้เคียงกันนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีชื่อสถานที่อื่นๆ ที่ตั้งชื่อไว้ในภาษาเวสทรอน เช่น "ริเวนเดลล์" (ภาษาซินดาริน เรียกว่า "อิมลาดริส" หมายถึง หุบเขาในร่องผา) มาจากชื่อจริงว่า "คาร์นินกุล" (Karningul) หรือ "แบ๊กเอนด์" มาจากคำว่า "ลาบิน-เนค" (Labin-nec) เป็นชื่อสถานที่ที่ตั้งตามชื่อนามสกุล "ลาบินกิ" (Labingi) หรือ "แบ๊กกิ้นส์" นั่นเอง คำในภาษาเวสทรอนต่างๆ ที่ยกมานี้ เป็นงานที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นภายหลังการเขียนนิยายเป็นเวลาหลายปี แต่เขาไม่ได้สร้างภาษานี้ไว้ให้สมบูรณ์มากพอจะใช้งานได้ เหมือนอย่างภาษาเควนยา หรือภาษาซินดาริน.

ดู ดูรินและภาษาเวสทรอน

มิธริล

มิธริล (Mithril) เป็นโลหะในจินตนาการจากนิยายแฟนตาซีเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน และมีการนำไปใช้ในเกมส์ นวนิยายและการ์ตูน ที่มีเนื้อเรื่องแนวแฟนตาซีเช่น ไฟนอลแฟนตาซี เบอร์เซิร์ก ในวรรณกรรมของ.

ดู ดูรินและมิธริล

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ.

ดู ดูรินและมิดเดิลเอิร์ธ

ยุคที่สองแห่งอาร์ดา

ที่สอง แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การจับกุมคุมขังเทพอสูรมอร์กอธไว้ในสุญญภูมิ หลังจากการล่มจมสมุทรของแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นผลจากสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามระหว่างปวงเทพแห่งแดนประจิมกับมอร์กอธ การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ ไปจนถึงการปราบปรามเซารอนลงสำเร็จในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย กินเวลายาวนานถึง 3,441 ปี เหตุการณ์ในยุคที่สองของอาร์ดา มิได้มีการบรรยายไว้โดยละเอียดเหมือนยุคที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏเนื้อหาอยู่ในตำนานเรื่อง ซิลมาริลลิออน แต่ได้มีการบรรยายสรุปโดยย่ออยู่ในภาคผนวกของหนังสือเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และในตำนานอคัลลาเบธ อันเป็นตำนานว่าด้วยการรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาจำนวนมากที่โทลคีนประพันธ์ค้างไว้ และคริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ Unfinished Tales.

ดู ดูรินและยุคที่สองแห่งอาร์ดา

ยุคที่สามแห่งอาร์ดา

ที่สามแห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การพ่ายแพ้ของเซารอนต่อกองทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายของมนุษย์และพราย (สงครามตอนต้นเรื่องในภาพยนตร์) เอกลักษณ์ของยุคนี้คือความเสื่อมถอยของพวกพราย หรือ เอลฟ์ การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอยของอาณาจักรกอนดอร์และอาร์นอร์ และการฟื้นอำนาจของเซารอน ยุคที่สามกินเวลา 3,021 ปี จนถึงความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย เมื่อโฟรโด แบ๊กกิ้นส์, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ และแกนดัล์ฟ เดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ จึงเริ่มนับเป็นยุคที่สี.

ดู ดูรินและยุคที่สามแห่งอาร์ดา

ยุคที่สี่แห่งอาร์ดา

ที่สี่แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ยุคที่สี่ เริ่มนับความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย และเหล่าพรายเดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ ลักษณะสำคัญคือการฟื้นฟูของอาณาจักรนูเมนอร์ (กอนดอร์และอาร์นอร์) ความเสื่อมถอยของพราย และการเจริญรุ่งเรืองของเผ่าพันธุ์มนุษย์ โทลคีนไม่ได้เขียนถึงเหตุการณ์ในยุคที่สี่ไว้มากนัก (ยกเว้นเหตุการณ์ในช่วงต้นๆ) เขาเคยพูดไว้ว่าตามจินตนาการของเขานั้น ระยะห่างระหว่างสิ้นยุคที่สาม ถึงปัจจุบัน (ค.ศ.

ดู ดูรินและยุคที่สี่แห่งอาร์ดา

สงครามแหวน

งครามแหวน (The War of the Ring) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสงครามทั้งหมดที่ปรากฏในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ.

ดู ดูรินและสงครามแหวน

อาร์ดา

อาร์ดา (Arda) เป็นชื่อดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งใช้ในความหมายแทนโลกของเราทั้งหมด อาร์ดาประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ มิดเดิลเอิร์ธ อามัน และ กาฬทวีป มีมหาสมุทรหลายแห่ง ที่สำคัญคือ มหาสาคร (The Great Sea) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เบเลกายร์ ในทะเลเบเลกายร์นี้เคยมีเกาะนูเมนอร์ ซึ่งล่มจมสมุทรไปตั้งแต่ยุคที่สองของอาร์ดา ดินแดนส่วนอื่นๆ ในอาร์ดามิได้ถูกเอ่ยถึง ตามปกรณัมของโทลคีน อาร์ดาเป็นส่วนหนึ่งของ เออา (Ea) คือจักรวาลแห่งพิภพที่มหาเทพอิลูวาทาร์สร้างขึ้นในสุญญภูมิ ด้วยการบรรเลงบทเพลงมหาคีตา ซึ่งมีจิตวิญญาณแรกเริ่ม (หรือไอนัวร์) ช่วยในการสร้างด้วย การสร้างครั้งนั้นเรียกว่า มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อเออาถือกำเนิดขึ้น ไอนัวร์บางส่วนได้ลงมาอยู่ในโลกนี้เพื่อปกปักรักษาและตระเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ไอนัวร์ที่ลงมายังอาร์ดา พวกที่มีพลังอำนาจสูง เรียกว่า วาลาร์ ส่วนพวกที่มีฤทธิ์น้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ ไอนัวร์เหล่านี้บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า ปวงเทพ โลกอาร์ดาแต่ดั้งเดิมเมื่อเริ่มสร้างนั้นเป็นแผ่นดินแบนๆ ที่ล้อมรอบด้วยทะเลวัฏฏะ (Encircling Sea) มีชื่อเรียกว่า เอคไคอา (Ekkaia) ข้างใต้เป็นโถงถ้ำมากมาย ข้างบนเป็นเขตห้วงเวหามีชื่อว่า อิลเมน แผ่นดินดั้งเดิมเป็นทวีปเดี่ยวตั้งอยู่ตรงกลาง มีทะเลสาบอยู่ใจกลางทวีป และมีเกาะอยู่กลางทะเลสาบนั้น ชื่อว่า เกาะอัลมาเรน เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าวาลาร์และไมอาร์ เมื่อเกิดสงครามระหว่างปวงเทพขึ้น ทำให้แผ่นดินเกิดวินาศวอดวาย แตกเป็นทวีปต่างๆ พวกวาลาร์และไมอาร์จึงย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน ซึ่งอยู่ทางสุดตะวันตกของอาร์ดา ส่วนทวีปมิดเดิลเอิร์ธที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอาร์ดา ได้กลายเป็นถิ่นฐานที่อาศัยของบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือพวกเอลฟ์ และมนุษย์ มีมหาสาครหรือเบเลกายร์ กั้นกลางระหว่างสองทวีปนี้ ในช่วงปลายยุคที่สอง เมื่อมนุษย์ชาวนูเมนอร์เหิมเกริมจะบุกรุกทวีปอามันเพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ปวงเทพจึงจมเกาะนูเมนอร์เสีย และย้ายทวีปอามันออกไปเสียจากโลก บันดาลให้โลกกลายเป็นโลกกลม แม้แล่นเรือไปทางตะวันตกจนสุดหล้า ก็จะหวนกลับมายังจุดตั้งต้นได้อีกครั้ง การจะไปถึงทวีปอามันได้ต้องเดินทางผ่านเส้นทางมุ่งตรง ซึ่งจะไปได้โดยพวกเอลฟ์เท่านั้น.

ดู ดูรินและอาร์ดา

อาวเล

อาวเล (Aulë) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในงานเขียนเรื่อง ซิลมาริลลิออน โดยเป็นหนึ่งในเทพวาลาร์ ทรงเป็นเทพแห่งการช่าง เป็นผู้ลงแรงสร้างพิภพมากที่สุดองค์หนึ่ง และมีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์เสมอด้วยหรืออาจสูงกว่าเมลคอร์เสียอีก เทพอาวเลเป็นผู้สร้างเผ่าพันธุ์คนแคระ และทรงเป็นอาจารย์ของเอลฟ์ชาวโนลดอร์ สองเผ่าพันธุ์นี้จึงสมัครรักใคร่กันดีในยุคแรกๆ ก่อนจะเกิดเหตุวิวาทกันด้วยสงครามชิงซิลมาริล เทพอาวเลทรงสร้างผลงานกระเดื่องหลายชิ้น เช่น ตรวนอังไกนอร์ ที่ใช้ล่ามจอมมารมอร์กอธ, มหาชวาลา อิลลูอิน กับ ออร์มัล ที่ส่องแสงสว่างให้แก่โลกก่อนแสงชนิดใดๆ ทั้งสิ้น, รวมทั้งนาวาแห่งดวงตะวันและเกาะแห่งจันทรา ที่ประดิษฐานแสงสุดท้ายของทวิพฤกษา กลายเป็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ส่องแสงให้แก่พิภพ เทพอาวเลอภิเษกกับเทพียาวันนา เทพีผู้ครองความอุดมสมบูรณ์ ผู้ดูแลพืชพรรณและสรรพสิ่งที่เจริญเติบโต การที่อาวเลสร้างคนแคระทำให้ยาวันนาไม่ค่อยพอใจ เพราะคนแคระนิยมใช้ขวานและชอบตัดต้นไม้ พระนางจึงไปทูลขอมานเวเทพบดี ให้ป่าไม้มีผู้คอยพิทักษ์รักษา เป็นกำเนิดของเหล่าพฤกษบาล หรือพวกเอนท์ หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์ ja:ヴァラ#アウレ la:Ainur#Valar pl:Valar#Aulë sv:Valar (Tolkien)#Aulë.

ดู ดูรินและอาวเล

อิลูวาทาร์

อรู อิลูวาทาร์ เป็นชื่อภาษาเอลฟ์ของ "พระเจ้า" แห่งปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในฐานะเป็นพระผู้สร้างเพียงหนึ่งเดียว เป็นผู้สร้างเหล่าเทพไอนัวร์ เป็นผู้สร้าง เออา หรืออาร์ดา และสรรพชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนั้น แม้จะเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุด แต่ก็มิได้ถูกเอ่ยถึงเลยในนิยายซึ่งสร้างชื่อเสียงฉบับแรกๆ ของเขา คือ เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (มีกล่าวถึงในภาคผนวกของ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เล็กน้อยด้วยคำว่า "พระผู้เป็นหนึ่ง") โทลคีนระบุในจดหมายหลายครั้งว่า งานประพันธ์ของเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา อย่างไรก็ดี โทลคีนถือได้ว่าเป็นคาทอลิกผู้เคร่งครัด เห็นได้ว่าโทลคีนไม่สามารถสร้างโลกที่ "ปราศจากพระเจ้า" ได้ บทประพันธ์ชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของโทลคีน เป็นงานเขียนที่เขาจินตนาการว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อนานแสนนานมาแล้ว และการตีความเรื่อง "พระเจ้า" ของผู้คนในอดีตกาล ก็ย่อมอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป ชื่อ 'อิลูวาทาร์' เชื่อว่าอาจได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อเทพีแห่งสรวงสวรรค์ อิลมาทาร์ (Ilmatar) หนึ่งในจิตวิญญาณบริสุทธิ์ที่ปรากฏในมหากาพย์ คาเลวาล.

ดู ดูรินและอิลูวาทาร์

คาซัดดูม

ห้องโถงใหญ่ในอาณาจักรดวาโรว์เดล์ฟ จากภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริงส์ คาซัด-ดูม (Khazad-dûm) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งบนมิดเดิลเอิร์ธ ในนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ประพันธ์โดย เจ.

ดู ดูรินและคาซัดดูม

คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)

นแคระ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างเล็กเตี้ย แต่ล่ำสันแข็งแรง ทรหดอดทน มีหนวดเครายาวเฟิ้ม เป็นชนเผ่าที่ชำนาญในการช่างมากที่สุด พวกเขาเป็นมิตรอย่างมากกับพวกฮอบบิท พวกคนแคระเรียกตัวเองว่า คาซัด อันเป็นชื่อที่เทพอาวเลตั้งให้กับพวกเขา แต่พวกเอลฟ์เรียกพวกเขาว่า เนากริม ซึ่งมีความหมายว่า ชนผู้ไม่เติบโตอีกต่อไป คนแคระมีบทบาทอยู่ในวรรณกรรมของโทลคีนหลายเรื่อง ได้แก่ เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน รวมถึงงานเขียนอื่น ๆ ของคริสโตเฟอร์ โทลคีนด้วย คือ Unfinished Tales และ ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร.

ดู ดูรินและคนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)

ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ

ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ (Middle-earth Legendarium) เป็นชุดงานเขียนขนาดยาวของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน นักประพันธ์ชาวอังกฤษ ว่าด้วยโลกแฟนตาซีในจินตนาการของเขาคือ โลกอาร์ดา ประกอบด้วยงานเขียนหลายชิ้นที่เขาใช้เวลาเขียนตั้งแต่มีอายุได้ 22 ปี ไปจนตลอดชั่วชีวิตของเขา คำว่า "Legendarium" นำมาใช้โดยโทลคีนและนักวิจารณ์อื่นๆ เกี่ยวกับงานเขียนชุดนี้โดยเฉพาะ เรื่องราวในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธเริ่มตั้งแต่กาลกำเนิดของพิภพจากการสร้างสรรค์ของมหาเทพอิลูวาทาร์ การกำเนิดปวงเทพ การกำเนิดมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ การกำเนิดดินแดนต่างๆ ได้แก่ อามัน รวมถึง มิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งกลายมาเป็นชื่อของชุดปกรณัมด้วย เหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่หนึ่ง ยุคที่สอง ยุคที่สาม และยุคที่สี่ของอาร์ดา รวมถึงงานเขียนที่กล่าวอ้างถึงสถานที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ในปกรณัม แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเรื่องนั้นเกิดขึ้นในยุคสมัยใด เช่น Smith of Wootton Major และ Roverandom เป็นต้น.

ดู ดูรินและปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle-earth) เป็นชื่อชุดหนังสือจำนวน 12 เล่ม ที่รวบรวมงานเขียนต้นฉบับต่างๆ ของ เจ. อาร์.

ดู ดูรินและประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ

แหวนแห่งอำนาจ

333px แหวนแห่งอำนาจ เป็นแหวนในจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริง.

ดู ดูรินและแหวนแห่งอำนาจ

เอเรบอร์

อเรบอร์ (Erebor) เป็นอาณาจักรของพวกคนแคระ ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ เอเรบอร์ เป็นคำในภาษาซินดาริน ซึ่งเป็นชื่อเรียกภูเขาโลนลี่ เทือกเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของดินแดนโรห์วานิออน และยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำรันนิ่ง หรือแม่น้ำเคลดูอิน อาณาจักรเอเรบอร์ก่อตั้งโดยกษัตริย์ ธราอิน ที่ 1 ซึ่งนำพาชาวคนแคระจำนวนหนึ่งอพยพออกจากคาซัดดูมมาตั้งถิ่นฐานใหม่ พระองค์ยังเป็นผู้ค้นพบเพชรอาร์เคนสโตน ซึ่งกลายเป็นสมบัติตกทอดต่อมาในวงศ์กษัตริย์คนแคระ โอรสของธราอินคือ ธอรินที่ 1 ทรงนำคนแคระจำนวนหนึ่งไปบุกเบิกตั้งอาณาจักรอยู่แถบเทือกเขาสีเทา (Grey Mountain) แต่ภายหลังดินแดนนั้นถูกพวกมังกรเข้าโจมตี ธรอร์ โอรสของธอริน จึงนำพลเมืองหนีกลับมายังเอเรบอร์ ในยุคสมัยของธรอร์ เอเรบอร์เป็นอาณาจักรคนแคระที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีคนแคระเข้ามาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก และมีชื่อเสียงเลื่องลือในการสร้างเครื่องเกราะและอาวุธ สันนิษฐานว่า เสื้อเกราะมิธริล ที่โฟรโด ได้รับจากบิลโบ ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก็สร้างขึ้นโดยเหล่าคนแคระแห่งเอเรบอร์นี้เอง อาณาจักรเอเรบอร์ร่ำรวยมาก นอกจากนี้ แหวนวงหนึ่งของคนแคระ ก็เชื่อว่าตกอยู่ในความครอบครองของธรอร์ด้วย และแหวนวงนี้เองที่ดึงดูดให้เหล่ามังกร สมุนของมอร์กอธ ติดตามมารังควาน.

ดู ดูรินและเอเรบอร์

เอเรกิออน

อเรกิออน (Eregion) คือชื่ออาณาจักรเอลฟ์ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales ชื่อ 'เอเรกิออน' เป็นภาษาซินดาริน ซึ่งในภาษาเวสทรอนเรียกว่า ฮอลลิน (Hollin) เนื่องจากบริเวณนั้นมีต้นฮอลลี่อยู่มาก (ereg หมายถึง ต้นฮอลลี่ มีรากศัพท์จากคำว่า EREK- หมายถึงหนามแหลมคม) อาณาจักรเอเรกิออนก่อตั้งขึ้นโดยเอลฟ์ชาวโนลดอร์ หลังจากแผ่นดินเบเลริอันด์ล่มจมลงสู่ใต้สมุทรเมื่อสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง ชาวโนลดอร์ที่หลงเหลือได้เดินทางข้ามเอเรียดอร์ และตั้งอาณาจักรแห่งนี้ขึ้นที่เชิงเทือกเขาฮิธายเกลียร์ ทางฟากตะวันตก ใกล้กับอาณาจักรมอเรียของเหล่าคนแคระ เมืองหลวงของเอเรกิออนชื่อว่า โอสต์-อิน-เอดิล (Ost-in-Edhil) ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงแห่งรัตนากร เนื่องจากเป็นแหล่งชุมนุมของช่างอัญมณีฝีมือดีของชาวโนลดอร์จำนวนมาก ในบันทึกงานประพันธ์ของโทลคีน ไม่มีส่วนใดระบุถึงกษัตริย์หรือผู้นำของชาวเอเรกิออน แต่อาจสันนิษฐานได้ว่า ผู้ปกครองเอเรกิออนน่าจะเป็น กาลาเดรียลกับเคเลบอร์น เนื่องจากกาลาเดรียลเป็นเชื้อพระวงศ์โนลดอร์ชั้นสูงเพียงคนเดียวที่เดินทางกลับมาจากอามันและยังมีชีวิตอยู่ หรือมิฉะนั้นก็อาจเป็น เคเลบริมบอร์ บุตรของคูรูฟิน หลานของเฟอานอร์ ซึ่งได้สืบทอดฝีมือช่างชั้นสูงมาจากเฟอานอร์ด้วย งานศึกษาวรรณกรรมของโทลคีนทั่วไปเชื่อว่า ผู้ปกครองเอเรกิออนคือ เคเลบริมบอร์ ในยุคที่สอง เซารอนในร่างแปลง 'อันนาทาร์' ได้เข้ามาร่วมสมาคมกับเหล่าช่างแห่งโอสต์-อิน-เอดิล และได้สอนให้พวกเขาสร้าง แหวนแห่งอำนาจ ขึ้น พวกเอลฟ์สร้างแหวนแห่งอำนาจขึ้นครั้งแรกจำนวน 16 วง หลังจากนั้นเซารอนแอบกลับไปยังมอร์ดอร์ และสร้างแหวนเอกธำมรงค์ขึ้นจากไฟใต้พิภพที่โอโรดรูอิน ระหว่างนั้น เคเลบริมบอร์ได้สร้างแหวนแห่งเอลฟ์ ขึ้นอีก 3 วง โดยที่เซารอนไม่ล่วงรู้ หลังจากเซารอนสร้างแหวนเอกสำเร็จ และสวมแหวนนั้น พวกเอลฟ์จึงได้รู้ว่าตัวตนที่แท้ของอันนาทาร์ คือใคร เคเลบริมบอร์รีบส่งแหวนเอลฟ์สามวงไปเสียให้พ้น ส่วนเซารอนก็ยกทัพออร์คมาโจมตีเอเรกิออนเพื่อแก้แค้นพวกเอลฟ.

ดู ดูรินและเอเรกิออน

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ดู ดูรินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

เทพปกรณัมนอร์ส

ทพเจ้าธอร์เข้าณรงค์ยุทธกับเหล่ายักษ์ เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน เทพเจ้าองค์สำคัญในเทพปกรณัมนอร์ส ได้แก่ ธอร์เทพสายฟ้าผู้มีค้อนใหญ่เป็นอาวุธ โดยเป็นเทพนักรบผู้พิทักษ์มนุษยชาติ ฯ โอดิน เทพเจ้าพระเนตรเดียว ผู้ทรงขวนขวายหาความรู้ในโลกฐาตุทั้งหลาย และพระราชทานอักษรรูนให้แก่มนุษย์; เฟรยา (Freyja) เทพสตรีผู้ทรงสิริโฉม ผู้ใช้เวทมนตร์ (seiðr) และทรงฉลองพระองค์คลุมขนนก ผู้ทรงม้าเข้าสู่สมรภูมิเพื่อเลือกเอาดวงวิญญาณในหมู่ผู้ตาย; สคาดดี (Skaði) ยักขินีและเทวีแห่งการสกี ผู้อาศัยอยู่ท่ามกลางฝูงหมาป่าบนภูเขาในฤดูหนาว; นโยร์ด (Njörðr) เทพเจ้าทรงฤทธิ์ผู้อาจปราบได้ทั้งทะเลและไฟและยังประทานความมั่งคั่งและที่ดิน; เฟรย์ (Freyr) ผู้นำสันติภาพและความเพลิดเพลินสู่มนุษยชาติ ผ่านทางฤดูกาลและการกสิกรรม; อีดุนน์ (Iðunn) เทพเจ้าผู้ทรงรักษาแอปเปิลที่ให้ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์; เฮม์ดาลร์ (Heimdallr) เทพเจ้าลึกลับผู้ประสูติแต่มารดาเก้าตน ทรงสามารถฟังเสียงหญ้าโต มีพระทนต์เป็นทองคำ และมีเขาสัตว์ที่เป่าได้ดังกึกก้อง; และโยตุนโลกิ ผู้นำโศกนาฏกรรมมาสู่ทวยเทพโดยวางแผนให้บัลเดอร์ (Baldr) พระโอรสแห่งเทพเจ้าฟริกก์ ต้องตาย เป็นต้น เทพปกรณัมนอร์สจัดเหล่าเทพเจ้าออกเป็นสองกลุ่ม คือ พวกอัสร์ (Æsir) ซึ่งมีรากคำเดียวกับ "อสูร" ในภาษาสันสกฤต ได้แก่ พวกเทพเจ้าองค์สำคัญๆในเทพวิหารของนอร์ส (เช่น โอดิน, ธอร์, ฟริกก์, บัลเดอร์ ฯลฯ) พวกหนึ่ง และ พวกวาเน็น หรือวานร์ อันเป็นเหล่าเทพที่มีความเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์ ปัญญาเฉลียวฉลาด ธรรมชาติ และการรู้อนาคตอีกพวกหนึ่ง ทั้งสองพวกเข้าทำสงครามกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ จนในที่สุดรู้ว่าตนมีอำนาจเท่าๆกัน นอกจากนี้ในโลกยังมีสัตว์และเผ่าในเทพนิยายอยู่อีกนานับประการ (เช่น ยักษ์, คนแคระ, เอลฟ์, และภูตในแผ่นดิน) จักรวาลวิทยาของนอร์สประกอบด้วยโลกเก้าโลก ซึ่งขนาบอิกดระซิล ต้นไม้แห่งเอกภพ โลกมนุษย์ในจักรวาลวิทยานอร์สมีชื่อเรียกว่า มิดการ์ นอกจากนี้ยังมีภพหลังความตายอยู่หลายภพซึ่งมีเทพเจ้าพิทักษ์รักษาอยู่แตกต่างกัน ในตำนานของนอร์สมีตำนานสร้างโลกอยู่หลายแบบ มีการทำนายว่าโลกเหล่านี้จะกำเนิดใหม่หลังเหตุการณ์แรกนะร็อก เมื่อเกิดการยุทธ์มโหฬารระหว่างเหล่าทวยเทพและฝ่ายศัตรู และโลกถูกเพลิงประลัยกัลป์หุ้มเพื่อถือกำเนิดใหม่ ที่นั่น เทพเจ้าที่เหลือรอดจะประชุม แผ่นดินจะเขียวอุดม และมนุษย์สองคนจะเพิ่มประชากรโลกอีกครั้ง.

ดู ดูรินและเทพปกรณัมนอร์ส

เดล

เดล (Del) คือชื่อดินแดนมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เดลเป็นอาณาจักรของมนุษย์ริมแม่น้ำเคลดูอิน (แม่น้ำรันนิ่ง) ตั้งอยู่ระหว่างภูเขาโลนลี่กับทะเลสาบลองเลค ปกครองโดยกิริออน จนกระทั่งมังกรสม็อกทำลายลงเมื่อปี 2770 ของยุคที่สาม หลังจากที่คนแคระฟื้นฟูอาณาจักรใต้ภูเขาโลนลี่แล้ว ชาวมนุษย์จึงกลับไปตั้งถิ่นฐานที่เดลอีกครั้ง เดลล่มสลายลงอีกครั้งในช่วงสงครามแหวนเมื่อถูกมอร์ดอร์และชาวอีสเตอร์ลิงรุกราน ชาวเดลลี้ภัยไปยังเอเรบอร์กับพวกคนแคระ กษัตริย์ดาอินที่ 2 แห่งเอเรบอร์ (ไอร์อ้อนฟุต) กับกษัตริย์แบรนด์แห่งเดลถูกสังหารในระหว่างการสัประยุทธ์แห่งเดล เมื่อเซารอนสิ้นอำนาจแล้ว เดลจึงได้ฟื้นฟูอาณาจักรอีกครั้ง หมวดหมู่:ดินแดนในตำนานของโทลคีน.

ดู ดูรินและเดล

เคเลบริมบอร์

ลบริมบอร์ (Celebrimbor) เป็นตัวละครเผ่าเอลฟ์ ชาวโนลดอร์ ซึ่งปรากฏในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เรื่อง ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales เป็นผู้มีบทบาทในทางการช่างชั้นสูงรองลงมาจากเฟอานอร์ผู้เป็นปู่ ได้สร้างของวิเศษต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก.

ดู ดูรินและเคเลบริมบอร์

เซารอน

ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.

ดู ดูรินและเซารอน