โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อนก

ดัชนี รายชื่อนก

รายชื่อนก เป็นการรวบรวมรายชื่อนกในแต่ละวงศ์ สกุลและชนิดทั่วโลก เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับวงจรชีวิตความเป็นอยู่ของนก สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อนก ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อนกที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่รายชื่อนก.

191 ความสัมพันธ์: การเวกรายการสัตว์วงศ์นกกระสาวงศ์นกกระตั้ววงศ์นกหัวขวานวงศ์นกนางนวลแกลบสัตว์ปีกอันดับนกแก้วอินทรีหางขาวนกชาปีไหนนกชนหินนกช้อนหอยนกช้อนหอยขาวนกฟลอริแคนเบงกอลนกฟลามิงโกนกพญาปากกว้างอกสีเงินนกพญาไฟสีเทานกพรานผึ้งนกกกนกกระสาหัวดำนกกระสาคอขาวปากแดงนกกระสาคอดำนกกระสานวลนกกระสาแดงนกกระสาใหญ่นกกระจอกใหญ่นกกระจอกเทศนกกระจิบหญ้าสีน้ำตาลนกกระจิบหญ้าสีเรียบนกกระจิบหญ้าท้องเหลืองนกกระทานกกระทาดงแข้งเขียวนกกระทุงนกกระตั้วดำนกกระตั้วดำหางขาวนกกระตั้วใหญ่หงอนเหลืองนกกระเบื้องผานกกระเรียนนกกระเรียนมงกุฎแดงนกกระเรียนมงกุฎเทานกกระเรียนยุโรปนกกระเรียนออสเตรเลียนกกระเรียนคอดำนกกระเรียนไทยนกกระเต็นขาวดำใหญ่นกกระเต็นปักหลักนกกระเต็นน้อยธรรมดานกกระเต็นเฮอร์คิวลิสนกกะรางหัวหงอกนกกะรางหัวขวาน...นกกานกกาภูเขาปากแดงนกกางเขนนกกางเขนดงนกกาน้อยหงอนยาวนกกาน้อยแถบปีกขาวนกกาน้ำปากยาวนกกาน้ำใหญ่นกกาน้ำเล็กนกกาเหว่านกกินปลีหางยาวเขียวนกกินปลีอกเหลืองนกกินปลีดำม่วงนกกินปลีคอสีน้ำตาลนกกินปลีแดงหัวไพลินนกกินแมลงเด็กแนนนกกินเปี้ยวนกกิ้งโครงคอดำนกกีวีนกยางดำนกยางควายนกยางแดงใหญ่นกยางโทนใหญ่นกยูงนกยูงอินเดียนกยูงไทยนกร่อนทะเลหางแดงนกลุมพูนกลุมพูขาวนกศิวะหางสีตาลนกสาลิกาปากดำนกสาลิกาเขียวนกสีชมพูสวนนกหกใหญ่นกหกเล็กปากดำนกหว้านกหัวขวานสามนิ้วหลังทองนกหัวขวานด่างแคระนกหัวขวานเขียวตะโพกแดงนกหัวโตกินปูนกหัวโตมลายูนกหัวโตทรายใหญ่นกออกนกอัญชันอกสีไพลนกอัญชันคิ้วขาวนกอินทรีสีน้ำตาลนกอีลุ้มนกอีวาบตั๊กแตนนกอีเสือลายนกอีเสือสีน้ำตาลนกอีเสือหลังเทานกอ้ายงั่วนกจมูกหลอดลายนกจาบอกลายนกจาบธรรมดานกจาบทองนกจาบคาหัวเขียวนกทึดทือพันธุ์เหนือนกทึดทือมลายูนกขมิ้นนกขุนทองนกขุนแผนนกคอพันนกคอกคาทีลนกคุ่มสีนกตบยุงหางยาวนกตะกรุมนกตะขาบทุ่งนกตะขาบดงนกตีทองนกต้อยตีวิดนกปรอดนกปรอดหัวสีเขม่านกปรอดหัวโขนนกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่นกปากห่างนกปากงอนนกปีกลายสก็อตนกนางนวลธรรมดานกนางนวลแกลบหงอนใหญ่นกนางนวลแกลบเล็กนกแก้วโม่งนกแว่นสีน้ำตาลนกแว่นสีเทานกแสกนกแสกแดงนกแอ่นพงนกแขกเต้านกแขวกนกแคสโซแวรีนกแต้วแร้วท้องดำนกแต้วแร้วป่าโกงกางนกแซวสวรรค์นกแซงแซวสีเทานกแซงแซวหางบ่วงใหญ่นกแซงแซวหางบ่วงเล็กนกแซงแซวหางปลานกแซงแซวหงอนขนนกแซงแซวเล็กเหลือบนกโพระดกคอสีฟ้านกไต่ไม้สีสวยนกเรเวนนกเหยี่ยวกินหอยทากนกเอี้ยงสาลิกานกเอี้ยงหัวสีทองนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรนกเขาชวานกเขาพม่านกเขาใหญ่นกเขียวก้านตองท้องสีส้มนกเขียวก้านตองปีกสีฟ้านกเขียวก้านตองใหญ่นกเขียวก้านตองเล็กนกเขนน้อยไซบีเรียนกเดินดงสีดำนกเด้าลมนกเค้านกเค้ากู่นกเค้าจุดนกเค้าป่าสีน้ำตาลนกเค้าป่าหลังจุดนกเค้าแมวหูสั้นนกเค้าแคระนกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรานกเค้าโมงนกเค้าเหยี่ยวนกเงือกกรามช้างนกเงือกกรามช้างปากเรียบนกเงือกสีน้ำตาลนกเงือกสีน้ำตาลคอขาวนกเงือกหัวหงอกนกเงือกหัวแรดนกเงือกดำนกเงือกคอแดงนกเงือกปากย่นนกเงือกปากดำนกเปล้านกเปล้าใหญ่นกเป็ดผีนกเป็ดผีใหญ่นกเป็ดผีเล็ก ขยายดัชนี (141 มากกว่า) »

การเวก

การเวก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและการเวก · ดูเพิ่มเติม »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: รายชื่อนกและรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกกระสา

นกกระสา เป็นนกลุยน้ำขนาดใหญ่ ขายาว คอยาว และปากยาวแข็ง อยู่ในอันดับนกกระสา (Ciconiiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Ciconiidae พบทั้งหมดทั่วโลก 19 ชนิด ใน 6 สกุล.

ใหม่!!: รายชื่อนกและวงศ์นกกระสา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกกระตั้ว

นกกระตั้ว หรือ นกคอกคาทู (cockatoo) เป็นนกประเภทปากคีม มีหลายสกุล ส่วนมากจะมีสีขาว บางชนิดมีสีเหลืองอ่อนแซมเล็กน้อย มีหงอน มีลิ้นและสามารถสอนให้เลียนเสียงได้เหมือนนกแก้ว โดยที่ชื่อสามัญที่ว่า "Cockatoo" เป็นภาษามลายูแปลว่า "คีมใหญ่" พบในแถบอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, นิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และ ออสเตรเลีย ชนิดที่มนุษย์จับมาเลี้ยงนั้นมีราคาสูง นกกระตั้วที่อยู่ตามธรรมชาติจะมีอายุขัยเพียง 20-30 ปีเท่านั้น แต่นกกระตั้วที่มนุษย์นำมาเลี้ยงจะมีอายุยืนถึง 60-80 ปี.

ใหม่!!: รายชื่อนกและวงศ์นกกระตั้ว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกหัวขวาน

นกหัวขวาน เป็นนกวงศ์หนึ่ง ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Picidae เป็นนกที่มีสามารถไต่ขึ้นลงตามต้นไม้ได้ดีเป็นแนวตั้ง ด้วยขาที่สั้น และเล็บที่แหลมคม ส่วนใหญ่มีนิ้วหน้า 2 นิ้ว นิ้วหลัง 2 นิ้ว (ขณะที่บางชนิดจะมีเพียง 3 นิ้ว หรือบางชนิดก็มีนิ้วยื่นไปข้างหน้า Walters, Michael P. (1980). Complete Birds of the World. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.) เล็บมีความคมและแข็งแรง หางมักจะแข็งมากและเป็นรูปลิ่ม ใช้ช่วยยันต้นไม้ขณะไต่ขึ้นลงตามลำต้น นกหัวขวานเป็นนกประเภทอยู่รู หรืออยู่อาศัยตามโพรงไม้ ตามปกติแล้วมักจะเลือกสถานที่ทำรังโดยใช้จะงอยปากที่แข็งแรงเจาะต้นไม้จนเป็นโพรงใหญ่ ขนาดที่ตัวของนกเองจะเข้าออกได้อย่างสะดวก นกหัวขวานเป็นนกที่ปกติจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ไม่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนนกอื่น ๆ ถ้าหากมีนกอื่นรุกล้ำเข้ามา จะส่งเสียงร้อง "แก๊ก ๆ ๆ" ดังกังวาลเพื่อเตือน อย่างไรก็ตาม ตัวเมียก็มีส่วนช่วยเลือกสถานที่ทำรังเหล่านี้ด้วย ส่วนมากมักชอบไม้เนื้ออ่อน ซึ่งในฤดูแล้ง ต้นไม้เหล่านี้จะทิ้งใบ แต่บางครั้งจะทำรังตามต้นไม้แห้ง ๆ หรือต้นมะพร้าวหรือต้นปาล์ม จุดเด่นของนกหัวขวานก็คือ สามารถใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและแข็งแรงเหมือนลิ่ม เจาะลำต้นของต้นไม้ใหญ่ประเภทไม้ยืนต้นจนเป็นรูหรือเป็นโพรงได้เป็นอย่างดี ขณะที่เจาะต้นไม้อยู่นั้นจะได้ยินเสียงกังวาลไปไกลเป็นเสียง "ป๊อก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ" เพื่อที่จะหาหนอนและแมลงที่ซ่อนอยู่ใต้เปลือกไม้และเนื้อไม้กินเป็นอาหาร ด้วยการใช้ลิ้นและน้ำลายที่เหนียวดึงออกมา ลิ้นของนกหัวขวานเมื่อยืดออกจะยาวมาก โดยลิ้นนี้จะถูกเก็บไว้โดยการพันอ้อมกะโหลก แล้วเก็บปลายลิ้นไว้ที่โพรงจมูกด้านใน ซึ่งการกระทำเช่นนี้นับว่าเป็นผลดีต่อต้นไม้ที่ช่วยกำจัดหนอนแมลงที่รบกวนได้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จนได้รับฉายาว่า "หมอรักษาต้นไม้" แต่ในทางตรงกันข้าม การเจาะต้นไม้เช่นนี้ก็ทำการทำลายความแข็งแรงของเนื้อไม้ได้ด้วย เนื่องจากนกหัวขวานไม่ได้เจาะต้นไม้ที่มีชีวิตอย่างเดียว แต่กับไม้แปรรูป เช่น เสาไฟฟ้าที่ทำจากต้นไม้ก็ถูกเจาะได้เช่นกัน และถูกเมื่อเจาะหลาย ๆ ที่ก็เป็นโพรงที่ทำให้แมลงหรือสัตว์อื่นเข้าไปอยู่อาศัยและทำลายเนื้อไม้ได้ แรงกระแทกที่นกหัวขวานใช้เจาะต้นไม้นั้นแรงมาก โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 6 เมตรต่อวินาที และแรงที่เข้ากระทำนั้นเป็น 1,000 เท่าของแรงโน้มถ่วงโลก แต่เหตุที่นกหัวขวานสามารถที่จะกระทำเช่นนี้ได้ โดยที่สมองหรือส่วนหัวไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ก็เนื่องด้วยรอบ ๆ สมองนั้นห่อหุ้มไปด้วยกะโหลกรูปจานที่อ่อนนุ่มแต่หนาแน่นและยืดหยุ่นเหมือนฟองน้ำที่ภายในเต็มไปด้วยอากาศ อีกทั้งยังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงล้อมรอบกะโหลกภายนอกที่โค้งเป็นรูปเลข 8 อีกต่างหาก และอีกยังมีจะงอยปากบนและล่างที่ยาวไม่เท่ากัน เหล่านี้เป็นสิ่งช่วยในการลดแรงกระแทกที่ส่งผลกระทบถึงสมอง โดยวันหนึ่ง ๆ นกหัวขวานสามารถเจาะต้นไม้ได้ถึง 500-600 ครั้ง หรือถึง 12,000 ครั้ง นกหัวขวานมีพฤติกรรมการวางไข่ที่แปลก กล่าวคือ หลังจากออกไข่แล้ว ตัวผู้จะเป็นฝ่ายเข้ากกไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อนเป็นหลัก โดยมีตัวเมียมาช่วยบ้างเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม นกหัวขวานมักจะมีโพรงอยู่เป็นประจำ คือ โพรงใดของตัวใดตัวหนึ่ง เมื่อเวลาพลบค่ำ ก็บินกลับมานอนในโพรงต่าง ๆ เหล่านี้ ตามปกติ นกหัวขวานตัวหนึ่ง ๆ มักจะมีโพรงที่อาศัยนอนเช่นนี้ 2-3 แห่ง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งอื่นที่มารบกวน นกหัวขวานอาศัยอยู่ในป่าทั่วโลก ยกเว้นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และมาดากัสการ์ พบประมาณ 200 ชนิด ในประเทศไทยพบได้ราว 36 ชนิด และมี 2 ชนิดที่หายสาบสูญไปนานกว่า 50 ปีแล้ว จากการตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย คือ นกหัวขวานอิมพีเรียล (Campephilus imperialis) กับนกหัวขวานปากงาช้าง (C. principalis) ซึ่งเป็นนกหัวขวานขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 2 ชน.

ใหม่!!: รายชื่อนกและวงศ์นกหัวขวาน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกนางนวลแกลบ

นกนางนวลแกลบ (Tern) เป็นวงศ์ของนกทะเลวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sternidae เดิมเคยถูกจัดให้เป็นวงศ์ย่อยของนกนางนวล (Laridae) มาก่อน ลักษณะโดยทั่วไปของนกนางนวลแกลบ คือ เป็นนกขนาดกลางถึงใหญ่ ปกติมีขนสีเทาหรือขาว บางชนิดมีสีดำแต้มที่หัว ปลายหางเป็น 2 แฉก นกนางนวลแกลบส่วนมากจับปลาโดยการดำน้ำลงไป แต่บางครั้งก็จับแมลงบนผิวน้ำกินเป็นอาหาร แต่ไม่ชอบว่ายน้ำเหมือนนกนางนวล นกนางนวลแกลบเป็นนกที่มีอายุยืน บางชนิดมีอายุมากกว่า 25-30 ปี โดยทั่วไปแล้วมีลักษณะเหมือนกับนกนางนวล เพียงแต่จะมีรูปร่างที่เล็กและเพรียวบางกว่า มีความหลากหลายทางสีสัน หากินอยู่ใกล้ชายทะเล และบางชนิดก็พบหากินตามริมแม่น้ำ หรือแหล่งน้ำจืดด้วย พบ 44 ชนิดทั่วโลก ในประเทศไทยพบ 16 ชนิด พบเป็นทั้งนกอพยพและนกหายากเช่นเดียวกับนกนางนวลHarrison, Peter; Peterson, Roger Tory (1991).

ใหม่!!: รายชื่อนกและวงศ์นกนางนวลแกลบ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: รายชื่อนกและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกแก้ว

นกแก้ว หรือ นกปากขอ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: นกแล) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittaciformes เป็นนกที่มีความแตกต่างกันมากทางสรีระ คือมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ (19-100 เซนติเมตร) มีหัวกลมโต ลำตัวมีขนอุยปกคลุมหนาแน่น ขนมีแกนขนรอง ต่อมน้ำมันมีลักษณะเป็นพุ่มขน ผิวหนังค่อนข้างหนา มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากนกอันดับอื่น ๆ คือ จะงอยปากที่สั้นหนา และทรวดทรงงอเป็นตะขอหุ้มปากล่าง มีความคมและแข็งแรง อันเป็นที่ของชื่อสามัญ ใช้สำหรับกัดแทะอาหารและช่วยในการปีนป่าย เช่นเดียวกับกรงเล็บ รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน สันปากบนหนาหยาบและแข็งทื่อ ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนกลางปีกมี 8-14 เส้น ไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 12-14 เส้น หน้าแข้งสั้นกว่าความยาวของนิ้วที่ยาวที่สุด แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วมีการจัดเรียงแบบนิ้วคู่สลับกัน คือ เหยียดไปข้างหน้า 2 นิ้ว (นิ้วที่ 2 และ 3) และเหยียดไปข้างหลัง 2 นิ้ว (นิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 4) ซึ่งนิ้วที่ 4 สามารถหมุนไปข้างหน้าได้ เป็นนกที่อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีและบินได้เร็ว พบอาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง ทำรังตามโพรงต้นไม้ ไข่สีขาว ลักษณะทรงกลม วางไข่ครั้งละ 2-6 ฟอง ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ตามเขตร้อนทั่วโลก ในบางชนิดมีอายุยืนได้ถึง 50 ปี โดยเฉพาะนกแก้วชนิดที่มีขนาดใหญ่ และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า นกแก้วขนาดใหญ่มีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ากับเด็กอายุ 4 ขวบPets 101: Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556 เป็นนกที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องด้วยนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถฝึกหัดให้เลียนเสียงตามแบบภาษามนุษย์ในภาษาต่าง ๆ ได้ ประกอบกับมีสีสันต่าง ๆ สวยงามตามชนิด ซึ่งนกแก้วไม่มีกล่องเสียง แต่การส่งเสียงมาจากกล้ามเนื้อถุงลมและแผ่นเนื้อเยื่อ เมื่ออวัยวะส่วนนี้เกิดการสั่นสะเทือน จึงเปล่งเสียงออกมาได้ แบ่งออกได้ราว 360 ชนิด ใน 80 สกุล ในประเทศไทยพบเพียงวงศ์เดียว คือ Psittacidae หรือนกแก้วแท้ พบทั้งหมด 7 ชนิด ใน 3 สกุล อาทิ นกแขกเต้า (Psittacula alexandri), นกแก้วโม่ง (P. eupatria) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีนกเพียงชนิดเดียวในอันดับนี้ที่บินไม่ได้ และหากินในเวลากลางคืนด้วย คือ นกแก้วคาคาโป (Strigops habroptila) ที่พบเฉพาะบนเกาะนิวซีแลนด์เท่านั้น โดยเป็นนกรูปร่างใหญ่ บินไม่ได้ นอกจากจะหากินในเวลากลางคืนแล้ว ยังมีเสียงร้องประหลาดที่คล้ายกบหรืออึ่งอ่างอีกด้วย ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและอันดับนกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

อินทรีหางขาว

อินทรีหางขาว หรือ อินทรีทะเลหางขาว (White-tailed eagle, White-tailed sea-eagle) นกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกอินทรีทะเล ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) อินทรีหางขาว จัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งในทวีปยุโรป เมื่อโตเต็มที่อาจมีความสูงได้ถึง 1 เมตร มีดวงตาสีทอง มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์ในยุโรปตะวันออกเช่น เบลารุส, รัสเซีย หรือไครเมีย มีการผสมพันธุ์วางไข่ครั้งละ 2 ฟองในช่วงฤดูร้อน โดยรังจะมีขนาดใหญ่และลึก อาจมีน้ำหนักได้มากถึง 1 ตัน แขวนอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ดังนั้นจึงอาจสุ่มเสี่ยงต่อการพังทะลายลงมา บางครั้งจะทำรังใกล้กับนกล่าเหยื่ออื่น ๆ เช่น เหยี่ยวออสเปร แต่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน และบางครั้งอาจมีการรบกวนซึ่งกันและกัน พ่อและแม่นกช่วยกันเลี้ยงลูก เมื่อถึงช่วงฤดูหนาว อินทรีหางขาวบางตัวจะอพยพบินไปยังสถานที่ ๆ อบอุ่นกว่า และจะกลับมาในช่วงฤดูร้อนเพื่อจะผสมพันธุ์วางไข่ ในขณะที่บางตัวเลือกที่จะอยู่ที่เดิม ซึ่งปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจนว่าเพราะอะไร รังที่วางเปล่าบนต้นไม้ที่เนเธอร์แลนด์ อาหารหลักได้แก่ ปลา อินทรีหางขาวขนาดโตเต็มที่มีความต้องการอาหารมากถึงวันละ 2 กิโลกรัม รวมถึงอาจกินซากสัตว์ตายได้ด้วย รวมถึงการล่านกด้วยกันชนิดอื่นกินเป็นอาหาร และมีพฤติกรรมการแย่งอาหารกันเองหรือแย่งชิงอาหารจากนกชนิดอื่นบนอากาศ ในช่วงฤดูหนาวที่อุณหภูมิติดลบ น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ แข็งเป็นน้ำแข็ง นกน้ำหลายชนิดตายลงเนื่องจากทนความหนาวเย็นไม่ได้ เช่น หงส์ แต่ด้วยร่างกายที่ใหญ่โตของอินทรีหางขาวจึงทำให้เก็บความร้อนไว้ในตัวได้มาก จึงสามารถทนกับความหนาวเย็นและผ่านพ้นช่วงเวลาดังกล่าวนี้ได้ พ่อแม่นก จะแยกจากลูกนกขณะที่ลูกนกยังไม่โตเต็มที่ แต่ก็โตพอที่จะช่วยเหลือและดูแลตัวเองได้ โดยจะผละจากรังไป เมื่อลูกนกหิวจึงจะเริ่มขยับบินและออกไปใช้ชีวิตตามลำพังด้วยตัวเอง นอกจากนี้แล้ว อินทรีหางขาวยังสามารถที่จะว่ายน้ำได้ด้วย แม้จะไม่คล่องแคล่วก็ตาม เพื่อกำจัดปรสิตที่เกาะติดตามขน อินทรีหางขาว อาจพบได้ในประเทศไทย โดยถือว่าเป็นนกพลัดหลงที่หาได้ยาก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและอินทรีหางขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกชาปีไหน

thumb นกชาปีไหน หรือ นกกะดง (Nicobar pigeon, Nicobar dove) เป็นนกชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) นับเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ในสกุล Caloenas ในขณะที่ชนิดอื่น ๆ สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยมีความใกล้ชิดกับนกโดโดที่สูญพันธุ์ไปแล้วด้วย นกชาปีไหน มีขนาดลำตัวเท่า ๆ กับไก่แจ้ มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 40-41 เซนติเมตร มีลำตัวขนาดใหญ่ แต่มีหัวขนาดเล็กและมีเนื้อนูนเป็นตุ่มบริเวณจมูก ขนตามลำตัวเป็นสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว แต่จะมีขนบริเวณคอห้อยยาวออกมาเหมือนสร้อยคอ ซึ่งขนนี้จะยาวขึ้นเมื่อนกมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีขาขนาดใหญ่แข็งแรง เพราะเป็นนกที่ชอบเดินหากินตามพื้น นกชาปีไหน แม้จะเป็นนกที่หากินบนพื้นดินเป็นหลัก แต่ก็เป็นนกที่สามารถบินได้ มีรายงานว่าสามารถบินข้ามไปมาระหว่างเกาะต่าง ๆ ได้ เป็นนกที่หากตกใจจะบินหรือกระโดดขึ้นบนต้นไม้ และไม่ค่อยส่งเสียงร้องนัก นานครั้งจึงจะได้ยินเสียงร้องทีหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์เฉพาะหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณทะเลอันดามันและอินโด-แปซิฟิก เช่น หมู่เกาะนิโคบาร์, หมู่เกาะอันดามัน, หมู่เกาะโซโลมอนและปาเลา ในประเทศไทยจัดเป็นนกที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่ง โดยจะอาศัยอยู่ในป่าดิบหรือป่าชายหาดของหมู่เกาะสิมิลัน, หมู่เกาะสุรินทร์ หรือหมู่เกาะอ่างทอง รวมถึงอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี เท่านั้น เป็นนกที่ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักรราช 2535 แต่ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยทางการของไทย เมื่อปี พ.ศ. 2538 พบว่านกชาปีไหนสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยสร้างรังแบบหยาบ ๆ รูปร่างคล้ายจาน โดยใช้กิ่งไม้และใบไม้แห้งวางไข่ ครั้งละเพียง 1 ฟอง มีขนาด 31.64x45.0 มิลลิเมตร น้ำหนัก 25.05 กรัม พ่อและแม่นกช่วยกันฟักไข่ มีระยะฟัก 25-29 วัน แม่นกสามารถจะวางไข่ชุดใหม่ต่อไปได้หลังจากลูกนกมีอายุได้ประมาณ 40 วัน ลูกนกออกจากไข่ไม่มีขนปกคลุมตัว จัดอยู่ในพวกอัลติเชียล (นกที่บินไม่ได้) พ่อและแม่นกช่วยกันเลี้ยงดูลูกนกจนมีอายุได้ 34-36 วัน ลูกนกจึงจะทิ้งรังและกินอาหารเองได้ ขนชุดแรกขึ้นปกคลุมตัวสมบูรณ์หมด เมื่อลูกนกมีอายุได้ 3 เดือน และเมื่อมีอายุ 7 เดือน มีการผลัดขนปีกชุดแรก และมีขนชุดใหม่งอกขึ้นมาแทนที.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกชาปีไหน · ดูเพิ่มเติม »

นกชนหิน

นกชนหิน (Helmeted hornbill) เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์นกเงือก พบในประเทศไทย มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rhinoplax.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกชนหิน · ดูเพิ่มเติม »

นกช้อนหอย

นกช้อนหอย หรือ นกค้อนหอย หรือ นกกุลา (Ibis) เป็นนกจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Threskiornithinae ในวงศ์นกช้อนหอยและนกปากช้อน (Threskiornithidae) มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นนกที่มีจะงอยปากยาวโค้ง ปลายแหลม หากินในนํ้าตื้นกินปลา, ปู และสัตว์นํ้าเล็ก ๆ เป็นอาหาร โดยมากแล้วจะทำรังอยู่บนต้นไม้ร่วมกับนกจำพวกอื่นที่คล้ายคลึงกัน เช่น นกกระยาง หรือนกปากช้อน โดยคำว่า Ibis ที่ใช้เป็นชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ นั้นมาจากคำว่า ibis เป็นภาษาละติน จากภาษากรีกคำว่า ἶβις และ ibis จากภาษาอียิปต์ hb, hīb.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกช้อนหอย · ดูเพิ่มเติม »

นกช้อนหอยขาว

นกช้อนหอยขาว หรือ นกกุลาขาว (Black-headed ibis) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์นกช้อนหอยและนกปากช้อน (Threskiornithidae) นกช้อนหอยขาว กระจายพันธุ์อยู่แถบตอนใต้ของทวีปเอเชีย ตั้งแต่ปากีสถาน, อินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, บังกลาเทศ, ตอนใต้และตะวันออกของจีน เรื่อยมาจนถึงเอเชียอาคเนย์ เช่น พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา และเกาะชวา นอกจากนี้แล้วยังมีจำนวนประชากรบางส่วนบินย้ายถิ่นไปไกลถึงเกาะไต้หวันและฟิลิปปินส์ โดยนกช้อนหอยขาวจัดว่ามีเพียงชนิดเดียว ไม่มีชนิดย่อย เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ มีปากสีดำเรียวยาว ปลายปากโค้งลงมาก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของนกช้อนหอย หัวและคอช่วงบนเป็นหนังเกลี้ยง ๆ สีดำ ลำตัวและปีกมีขนสีขาวปกคลุมทั่ว นอกจากด้านใต้ปีกบริเวณใกล้กับขอบปีกมีเพียงหนังเปลือยเปล่าสีแดงซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อนกบิน ขายาวสีดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน อาศัยอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำในที่ราบ เช่น ริมแม่น้ำ, ทะเลสาบ, หนองบึง, ที่ลุ่มน้ำท่วมขัง รวมถึงทุ่งนา หรือทุ่งหญ้าที่น้ำท่วมขัง มักพบหากินเป็นฝูงใหญ่ มีพฤติกรรมเดินลุยน้ำหรือย่ำไปบนพื้นโคลนไปช้า ๆ พร้อมใช้ปากยาวโค้งแหย่ลงไปในน้ำ หรือชอนไชในโคลนเพื่อจับเหยื่อ เมื่อพบแล้วจะรีบใช้ปากงับและกลืนกิน และใช้วิธีจิกกินเหยื่อตามผิวน้ำด้วย อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ ปลา, กบ, งู, ปู, กุ้ง, หอย และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ นอกจากนี้แล้วยังไล่งับแมลงตามกอหญ้าหรือชายน้ำด้วย ฤดูผสมพันธุ์ขอวนกช้อนหอยขาวเริ่มในราวเดือนมิถุนายน-กันยายน ช่วงนี้นกจะมีขนงอกสีเทาออกมาจากปีกคลุมบนหลังและตะโพก ทางหลังคอและอกก็มีขนงอกยาวออกมาด้วยเช่นกัน จะเลือกทำรังเป็นกลุ่มบนยอดไม้สูงของต้นไม้ใหญ่ใกล้แหล่งน้ำ บางครั้งอาจพบทำรังปะปนกับนกน้ำชนิดอื่น ๆ เช่น นกกระสา, นกกระยาง และนกกาน้ำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันทำรัง โดยใช้กิ่งไม้มาวางซ้อนกันเป็นรังขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 45-50 เซนติเมตร แล้วรองพื้นด้วยกก, ใบไม้หรือหญ้า หลังจากนั้นจึงวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลากกไข่นาน 23-24 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยสีดำบนหัวและลำตัวสีขาว ใช้เวลาอยู่ในรังนาน 40 วัน จึงบินออกหากิน ขณะบิน นกช้อนหอยขาว เคยเป็นนกประจำถิ่นที่อาศัยหากินและแพร่ขยายพันธุ์บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างในประเทศไทย เช่น จังหวัดปทุมธานี, นครปฐม และสมุทรสาคร แต่ปัจจุบันเป็นนกที่ย้ายถิ่นเข้ามาหากินเป็นบางช่วงของฤดูกาลเท่านั้น เพราะไม่มีรายงานว่าทำรังขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า 50 ปีแล้ว คงมีจำนวนประชากรนกบางส่วนเท่านั้นที่บินอพยพมาจากอินเดียและพม่าเข้ามาอยู่อาศัยนอกฤดูผสมพันธุ์ โดยมีรายงานพบทางภาคกลาง, ภาคอีสานตอนล่าง และภาคใต้ โดยจะพบได้ที่หน่วยอนุรักษ์นกท่าเสด็จ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ ๆ นกจะอพยพบินเข้ามาประจำในช่วงฤดูหนาว เช่นเดียวกับ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง แม้นกช้อนหอยขาวจะบินอพยพเข้ามาในประเทศไทยทุกปีเป็นประจำ แต่จำนวนประชากรด็น้อยมากพบจัดได้ว่าเป็นนกหายากและใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกช้อนหอยขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกฟลอริแคนเบงกอล

นกฟลอริแคนเบงกอล (Houbaropsis bengalensis Bengal Florican) เป็นนกหายากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง ทั่วโลกมีนกฟลอริคันเบงกอลหลงเหลืออยู่เพียงไม่ถึง 1,000 ตัว โดยแหล่งที่อยู่อาศัยใหญ่ที่สุดคือ บริเวณทุ่งหญ้ารอบทะเลสาบโตนเลสาบ (Tonle Sap) ในกัมพูชา และประเทศอินเดี.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกฟลอริแคนเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

นกฟลามิงโก

นกฟลามิงโกในสวนสัตว์พาต้า นกฟลามิงโก (Flamingo; ออกเสียง; 붉은 황새; นกกระสาแดง) เป็นนกน้ำจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Phoenicopteridae และอันดับ Phoenicopteriformes มี 4 ชนิดในทวีปอเมริกา และ 2 ชนิดในโลกเก่า นกฟลามิงโก เป็นนกที่มีซากฟอสซิลสามารถนับย้อนไปไกลได้กว่า 30 ล้านปีก่อน นกฟลามิงโกอาศัยอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ ซึ่งสถานที่ ๆ พบนกฟลามิงโกได้มากที่สุดในโลก คือ ทะเลสาบนากูรู ในอุทยานแห่งชาติทะเลสาบนากูรู ทางตอนเหนือของประเทศเคนยา ซึ่งมีจำนวนประชากรนกฟลามิงโกมากได้ถึง 1,500,000 ตัว นกฟลามิงโกเป็นนกที่บินได้เป็นระยะทางที่ไกล และมักบินในเวลากลางคืน ด้วยความเร็วประมาณ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และหากมีความจำเป็นต้องบินในเวลากลางวันก็จะบินในระดับสูงเพื่อหลบเลี่ยงสัตว์นักล่า ส่วนในทวีปเอเชียสามารถพบได้ที่ทุ่งหญ้าสเตปป์แถบตอนเหนือของคาซัคสถานในภูมิภาคเอเชียกลางเท่านั้น โดยผสมพันธุ์กันในฤดูใบไม้ผลิ ก่อนอพยพไปที่อื่น นกฟลามิงโก ได้ชื่อว่าเป็นนกที่ไม่มีประสาทรับกลิ่น และเป็นนกที่ส่งเสียงดังตลอดเวลา ซึ่งลูกนกแม้แต่อยู่ในไข่ก็ยังส่งเสียงร้องแล้ว ซึ่งพ่อแม่นกจะจดจำลูกของตัวเองได้จากเสียงร้องอันนี้ นอกจากนี้แล้ว นกฟลามิงโกยังเป็นนกที่ได้ชื่อว่าเป็นนกที่มีขนสีชมพู จนได้รับชื่อว่า "นกฟลามิงโกสีชมพู" ซึ่งขนของนกฟลามิงโกนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดตั้งแต่สีชมพูซีดจนถึงสีแดงเลือดหมูหรือแดงเข้ม ทั้งนี้เป็นเพราะการกินอาหารที่ได้รับสารอาหารจากกุ้งและเห็ดรามีสารประเภทอัลฟาและเบตาแคโรทีน แต่โดยมากแล้วนกที่เลี้ยงตามสวนสัตว์ขนจะเปลี่ยนเป็นสีขาวเพราะขาดสารอาหารเหล่านี้ ซึ่งหากให้ในสิ่งที่ทดแทนกันได้เช่น แครอท หรือบีทรูท สีขนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม อีกทั้งยังเป็นนกที่มีพฤติกรรมยืนด้วยขาเดียวอยู่นิ่ง ๆ แช่น้ำได้เป็นเวลานานมากถึง 4 ชั่วโมง นั่นเพราะขาของนกจะได้รับจะได้รับเลือดสูบฉีดต่ออัตราการเต้นของหัวใจได้มากเท่า ๆ กับที่กล้ามเนื้อหลักได้รับ ซึ่งเลือดจะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย การที่นกฟลามิงโกมีขายาวมาก ก็ยิ่งทำให้มีพื้นที่สูญเสียความอบอุ่น อีกทั้งขาข้างที่ไม่ถูกแช่น้ำก็จะไม่เหี่ยวแห้งอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกฟลามิงโก · ดูเพิ่มเติม »

นกพญาปากกว้างอกสีเงิน

นกพญาปากกว้างอกสีเงิน เป็นนกในวงศ์นกพญาปากกว้าง (Family Eurylaimidae) ขนาดใกล้เคียงนกปรอด ประมาณ 16-17 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกพญาปากกว้างอกสีเงิน · ดูเพิ่มเติม »

นกพญาไฟสีเทา

นกพญาไฟสีเทา (Ashy Minivet;ชื่อวิทยาศาสตร์:Pericrocotus divaricatus) เป็นนกอยู่ในวงศ์ย่อย อีกา มีขนาดเล็กมากจนถึงขนาดกลาง ความยาวจากปลายปากจดหาง 20 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกพญาไฟสีเทา · ดูเพิ่มเติม »

นกพรานผึ้ง

นกพรานผึ้ง (Malaysian honeyguide) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพรานผึ้ง (Indicatoridae) เป็นนกขนาดเล็ก (จะงอยปากถึงปลายหาง 17 เซนติเมตร) ลักษณะคล้ายนกปรอดมาก แต่จะงอยปากหนาและอวบกว่า จะงอยปากสีคล้ำแต่ปากล่างสีจางกว่า ลำตัวด้านบนสีเทาแกมเขียว ลำตัวด้านล่างขาว อกสีเทาแกมขาว ข้างลำตัวมีลายขีดดำ ตาสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลในนกวัยอ่อน ตัวผู้ที่หัวไหล่มีแถบเหลืองเล็ก ๆ ตัวเมียลักษณะคล้ายตัวผู้แต่ไม่มีแถบเหลือง มีเสียงร้องคล้ายแมว คือ "เมี้ยว" นกพรานผึ้ง เป็นนกที่กินผึ้ง, ตัวอ่อนของผึ้ง และขี้ผึ้งเป็นอาหาร รวมถึงตัวต่อ ถึงขนาดบุกเข้าไปกินถึงในรวงผึ้ง โดยที่ไม่ได้รับอันตรายจากเหล็กไนของผึ้ง ทั้งนี้เป็นเพราะมีปีกที่หนาที่เหล็กไฟผึ้งทำอันตรายไม่ได้ และมีผู้เชื่อว่ามีกลิ่นตัวแรงจนผึ้งไม่กล้าเข้าใกล้ แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ นกพรานผึ้ง เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว นานครั้งจึงเห็นอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่บินได้เก่งและเร็ว และเป็นนกประจำถิ่น จะอยู่ในถิ่นใดถิ่นหนึ่งไปตลอด ต่อเมื่อนกตัวเก่าตายไป นกตัวใหม่ถึงเข้ามาอยู่แทน ในประเทศไทยมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้ง ในป่าในเขตชายแดนภาคใต้ที่ติดกับมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีรายงานพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ทั้งในพื้นที่ราบและที่สูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกพรานผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

นกกก

thumb นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง (Great hornbill, Great indian hornbill, Great pied hornbill) เป็นนกขนาดใหญ่จำพวกนกเงือก นกกกสามารถพบได้ในป่าของอินเดีย, คาบสมุทรมลายู, สุมาตรา และอินโดนีเซีย ด้วยขนาดและสีทำให้นกกกเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญเชิงวัฒนธรรมและพิธีกรรมในหลายชนเผ่า นกกกเป็นนกที่มีอายุยืน นกในกรงเลี้ยงสามารถมีอายุได้ถึง 50 ปี ปกติจะกินผลไม้เป็นอาหาร โดยเฉพาะลูกไทร แต่บางครั้งจะกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก, สัตว์เลื้อยคลาน และนกชนิดอื่นเป็นอาหาร นกกกจัดเป็นนกเงือกชนิดที่ใหญ่ที่สุด มีความยาวลำตัวประมาณ 130-150 เซนติเมตร มีปีกสีดำพาดเหลือง ปลายปีกขาว หางสีขาวพาดดำ ตัวผู้มีนัยน์ตาสีแดง ด้านหน้าโหนกที่อยู่บนปากมีสีดำ ส่วนตัวเมียมีนัยน์ตาสีขาว ด้านหน้าโหนกไม่มีสีดำ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก จนกว่าจะโตเต็มที่และหาคู่ได้ มีฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม โดยตัวผู้จะเป็นฝ่ายเกี้ยวพาราสีตัวเมีย และเสาะหาโพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ที่นกหรือสัตว์อื่นทิ้งไว้ ทั้งนี้เนื่องจากนกกกไม่สามารถที่จะเจาะโพรงเองได้ เนื่องจากจะงอยปากไม่แข็งแรงพอ ตัวเมียจะใช้เวลาตัดสินใจเข้าโพรงนานอาจนานเป็นสัปดาห์ ทั้งนี้เพราะระยะเวลาที่ตัวเมียจะเข้าไปอยู่ในโพรงเพื่อวางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อนกินเวลานานถึง 3 เดือน ในระยะนี้นกกกตัวผู้จะเอาใจตัวเมียเป็นพิเศษด้วยการบินออกอาหารมาป้อนตัวเมียอยู่สม่ำเสมอ ขณะที่ตัวเมียเมื่อเข้าไปในโพรงแล้วจะปิดปากโพรงเหลือเพียงช่องพอให้ปากของตัวผู้ส่งอาหารมาได้เท่านั้น ด้วยมูล, เศษอาหาร และเศษไม้ในโพรง นกกกตัวเมียใช้เวลากกไข่นาน 1 เดือน อาจวางไข่ได้ 2 ฟอง แต่ลูกนกตัวที่อ่อนแอกว่าอาจตายไปซึ่งเป็นวิถีตามธรรมชาติ เพื่อไม่ให้เป็นภาระของพ่อแม่ เมื่อลูกนกฟักเป็นตัว นกตัวผู้ต้องออกหาอาหารมากยิ่งขึ้นอาจมากถึงวันละ 10 เที่ยว ในระยะทางอาจไกลได้ถึง 10 กิโลเมตร ขณะที่นกตัวเมียจะเป็นฝ่ายสอนลูกนกปิดปากโพรงเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์นักล่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสอนที่จะตกทอดต่อไปเรื่อย ๆ จากรุ่นต่อรุ่น เมื่อลูกนกโตพอที่จะบินเองได้แล้ว เนื้อที่ในโพรงเริ่มคับแคบ นกกกตัวเมียจะเป็นฝ่ายพังโพรงรังบินออกมาก่อน ขณะที่ลูกนกจะฝึกซ้อมบินด้วยการกระพือปีกในโพรงและปิดปากโพรงตามที่แม่นกสอน เมื่อลูกนกพร้อมที่จะบินเองแล้ว พ่อแม่นกจะรอให้ลูกนกพังโพรงและบินออกมาเองด้วยการล่อด้วยอาหาร และส่งเสียงร้อง เมื่อลูกนกหิวจะกล้าบินออกมาเอง ในระยะแรกพ่อแม่นกจะยังคอยดูแลลูก จนกว่าจะโตพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกก · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาหัวดำ

นกกระสาหัวดำ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก พบมากในซับ-ซาฮารัน แอฟริกาและมาดากัสการ์ มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง แต่บางตัวในแอฟริกันตะวันตกเฉียงเหนือย้ายถิ่นที่อยู่ในฤดูฝน เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ มีความสูง 85 เซนติเมตร ปีกกว้าง 150 เซนติเมตร หมวดหมู่:วงศ์นกยาง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระสาหัวดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาคอขาวปากแดง

นกกระสาคอขาวปากแดง (อังกฤษ:Storm's Stork; ชื่อวิทยาศาสตร์:Ciconia stormi) เป็นนกกระสาชนิดที่พบเฉพาะทางภาคใต้ของประเทศไทย และจัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ พบที่อุทยานแห่งชาติเขาสก มีลักษณะคล้ายนกกระสาคอขาวแต่มีปากสีแดงสดบริเวณ หน้าสีส้มซีดๆ รอบตามีสีเหลืองทอง ขนปกคลุมที่คอ ช่วงบนสีขาว ถัดลงมาช่วงล่างสีดำ ปีกมีสีดำแกมเขียวซีดๆ พบในไทยและมาเลเซียแต่แยกกันเป็นคนละชนิดย่อ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระสาคอขาวปากแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาคอดำ

นกกระสาคอดำ (Black-necked stork) เป็นนกกระสาที่ตัวสูง คอยาว ตัวผู้ตาสีน้ำตาลแดง ปากยาวสีดำ คอและหัวสีดำเหลือบม่วง ลำตัวขาว มีสีดำที่ไหล่ตอนล่างของปีก ขณะบินจึงเห็นเป็นแถบสีดำกลางปีก หางดำ ขาสีแดง ตัวเมียหัวดำแต่ตาสีเหลือง พบตามแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ หาดทรายและหาดโคลนริมทะเล ปัจจุบันในประเทศไทยพบน้อยมากจนอาจจะสูญพันธุ์แล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระสาคอดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสานวล

กะโหลกศีรษะ นกกระสานวล (Grey heron) เป็นนกน้ำในตระกูล Ardeidae มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นในยุโรป เอเชีย และบางพื้นที่ในแอฟริกา ในฤดูหนาวมักอพยพจากพื้นที่ที่หนาวเย็นไปยังพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่นกว่า นกกระสานวลเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ มีความสูง 90-100 เซนติเมตร ช่วงปีกสองข้างกว้าง 175-195 เซนติเมตร และหนัก 1-2 กิโลกรัม ขนด้านบนเป็นสีเทา แต่ด้านล่างเป็นสีขาว ในตัวเต็มวัยจะมีขนที่ส่วนหัวเป็นสีขาวจะมีแถบขนสีดำรอบหัว จะงอยปากสีชมพูอมเหลือง ซึ่งจะมีสีสว่างขึ้นเวลาผสมพันธุ์ หมวดหมู่:วงศ์นกยาง หมวดหมู่:นกที่พบในประเทศไทย หมวดหมู่:นกในประเทศปากีสถาน หมวดหมู่:นกในประเทศอินเดีย.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระสานวล · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาแดง

นกกระสาแดง (Purple heron) เป็นนกน้ำในตระกูล Ardeidae มีถิ่นผสมพันธุ์อยู่ในแอฟริกา ยุโรปตอนกลางและตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก กลุ่มที่อาศัยอยู่ในยุโรปจะอพยพลงสู่เขตร้อนในแอฟริกาในฤดูหนาว ส่วนกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเอเชียก็จะมีการอพยพลงใต้ภายในทวีปเช่นกัน จัดว่าเป็นนกที่หายาก แต่เวลาที่อพยพจะพบเห็นได้บ่อยในภูมิภาคทางตอนเหนือของถิ่นผสมพันธุ์ นกชนิดนี้จัดเป็นนกขนาดใหญ่ โดยมีความสูง 80-90 เซนติเมตร ความกว้างของปีกสองข้าง 120-150 เซนติเมตร แต่มีลำตัวผอมบาง มีน้ำหนักเพียง 500-1,300 กรัมเท่านั้น มีลักษณะใกล้เคียงกับนกกระสานวล แต่ขนาดค่อนข้างเล็กกว่า และมีสีขนที่แตกต่างกัน โดยนกกระสาแดงจะมีขนสีน้ำตาลแดงเข้ม และเมื่อโตเต็มวัย ขนที่หลังจะเป็นสีเทาเข้มขึ้น จะงอยปากมีสีเหลืองและแคบบาง ซึ่งในตัวเต็มวัยจะมีสีสว่างขึ้น.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระสาแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาใหญ่

นกกระสาใหญ่ (Great-billed Heron) เป็นนกลุยน้ำในวงศ์นกยาง เป็นนกประจำถิ่นจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงประเทศปาปัวนิวกินีและประเทศออสเตรเลีย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล เช่น เกาะ แนวปะการัง ป่าชายเลน แม่น้ำขนาดใหญ่ แต่บางครั้งก็สามารถพบได้ภายในแผ่นดินตามบ่อน้ำ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระสาใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระจอกใหญ่

'' Passer domesticus domesticus '' นกกระจอกใหญ่ (House Sparrow) เป็นนกจับคอนในวงศ์นกกระจอก มีชื่อต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น English Sparrow, Indian Sparrow, และ Spatzie หรือ Spotsie ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติส่วนใหญ่อยู่ในแถบยุโรปบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและในเอเชียบางส่วน มีการนำนกเข้าสู่พื้นที่ในหลายๆส่วนบนโลกทั้งแบบตั้งใจหรือเป็นอุบัติเหตุ ทำให้นกกระจอกใหญ่มีการกระจายพันธุ์เกือบทั่วโลก มันสามารถปรับตัวเข้ากับถิ่นอาศัยของมนุษย์ได้ง่าย นกกระจอกใหญ่เป็นนกขนาดเล็กตัวอ้วนกลม มีสีขนน้ำตาลถึงเท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระจอกใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศ (Ostrich) จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระจอกเทศ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระจิบหญ้าสีน้ำตาล

นกกระจิบหญ้าสีน้ำตาล (Brown Prinia) เป็นนกในวงศ์นกยอดข้าวและนกกระจิบหญ้า พบในประเทศกัมพูชา, จีน, อินโดนีเซีย, ลาว, พม่า, ไต้หวัน, ไทย, และ เวียดนาม อาศัยในป่าแห้งแล้งในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระจิบหญ้าสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ

นกกระจิบหญ้าสีเรียบ (Plain Prinia หรือ White-browed Prinia หรือ Plain Wren-Warbler หรือ Brown Wren-Warbler p. 343) เป็นนกกระจิบขนาดเล็กในวงศ์นกยอดข้าวและนกกระจิบหญ้า เป็นนกประจำถิ่นที่พบจากประเทศปากีสถานและอินเดียถึงตอนใต้ของจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้าถูกรวมอยู่กับ นกกระจิบหญ้าสีข้างน้ำตาลอ่อน (Prinia subflava (Gmelin, 1789)) นกประจำถิ่นในแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา ปัจจุบันทั้งสองชนิดได้รับการพิจารณาว่าเป็นชนิดที่แยกออกจากกัน.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระจิบหญ้าสีเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง

นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง (Yellow-bellied Prinia) เป็นนกขนาดเล็กในวงศ์นกยอดข้าวและนกกระจิบหญ้า พบในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระจายพันธุ์ในประเทศบรูไน, กัมพูชา, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, ประเทศอินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ไทย, และเวียดนาม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระจิบหญ้าท้องเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

นกกระทา

นกกระทาดงแข้งเขียว (''Arborophila chloropus'') เป็นหนึ่งในนกกระทาที่พบได้ในประเทศไทย (ตัวในรูปพบที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน) นกกระทา หรือ นกคุ่ม เป็นชื่อสามัญของนกในอันดับไก่ (Galliformes) หลายชนิด นกกระทา โดยมากจะเป็นไก่ขนาดเล็ก ตัวป้อมสั้นอ้วน สีสันไม่สวยงาม ตามลำตัวมักมีลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น ทำให้บินได้เฉพาะระยะใกล้ ๆ เหมือนไก่ จึงมักหากินเมล็ดพืชและแมลงอยู่ตามพื้นดิน นกกระทา กระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั้งโลกเก่า (ยุโรป, เอเชีย, แอฟริกา) และโลกใหม่ (อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ออสเตรเลีย) เป็นนกที่มนุษย์นิยมเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อและไข่เป็นอาหาร มีบางส่วนที่เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น นกกระทาญี่ปุ่น (Coturnix japonica) ที่แต่เดิมเลี้ยงเพื่อฟังเสียงร้องคล้ายนกเขา แต่ต่อมาได้มีการพัฒนามาเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อและไข่ ซึ่งนกกระทาที่นิยมบริโภคกันในประเทศไทยก็เป็นนกกระทาชนิดนี้ ส่วนวิธี การเลี้ยงนกกระทาไข่ เป็นสัตว์เศรฐกิจตัวหนึ่งในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระทา · ดูเพิ่มเติม »

นกกระทาดงแข้งเขียว

นกกระทาดงแข้งเขียว (Green-legged partridge, Scaly-breasted partridge, Green-legged hill-partridge) เป็นนกในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) พบในป่าในอินโดจีนไปจนถึงตอนใต้สุดของประเทศจีน (มณฑลยูนนาน) จัดเป็นญาติใกล้ชิดกับนกกระทาดงเวียดนามและนกกระทาดงปักษ์ใต้.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระทาดงแข้งเขียว · ดูเพิ่มเติม »

นกกระทุง

นกกระทุง (Spot-billed pelican) นกน้ำขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระทุง (Pelecanidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ ที่พบได้ในประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระทุง · ดูเพิ่มเติม »

นกกระตั้วดำ

นกกระตั้วดำอีกจำพวกดูที่: นกกระตั้วดำ นกกระตั้วดำ (Black cockatoo, Palm cockatoo, Goliath cockatoo) นกปากขอชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) เป็นนกกระตั้วที่แตกต่างจากนกกระตั้วชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน กล่าวคือ มีลำตัวและหงอนสีทึบทึมคล้ายสีดำ จึงถูกจัดให้เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Probosciger โดยแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) ซึ่งความแตกต่างของชนิดย่อยเหล่านี้จะแตกต่างกันที่ขนาดลำตัว (ชนิด P. a. goliath จะมีขนาดใหญ่ที่สุด) ลักษณะทั่วไป คือ มีขนสีเทาดำ มีหงอนใหญ่โค้งไปด้านหลังมีลักษณะแคบและยาว สีข้างแก้มสีแดง ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ นอกจากนี้แล้วตัวผู้ขนทั่วตัวมีสีน้ำตาลปนดำ ใต้คอปลายขนมีขอบสีเขียว ส่วนบริเวณหูมีสีเหลือง ปากสีเทา ขาสีน้ำตาล ม่านตาสีน้ำตาล ส่วนตัวเมียขนบริเวณส่วนหูจะมีสีเหลืองจางกว่าเพศผู้ และจะมีลักษณะเด่นของจุดสีเหลือง ๆ บริเวณขนหาง เปลือกตาสีเทา มีขนาดลำตัวใหญ่ประมาณ 55–60 เซนติเมตร (22–24 นิ้ว) น้ำหนักตัวประมาณ 910–1,200 กรัม พบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะเกาะนิวกินีและรัฐควีนส์แลนด์ ทางตอนเหนือของออสเตรเลียเท่านั้น มีอายุการฟักไข่ประมาณ 30 วัน จัดเป็นนกที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงและแสดงตามสวนสัตว์อีกชนิดหนึ่ง แต่มีราคาซื้อขายแพงมาก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระตั้วดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระตั้วดำหางขาว

นกกระตั้วดำหางขาว หรือ นกกระตั้วบูด้า หรือ นกกระตั้วดำบูด้า (Long-billed black cockatoo, White-tailed black cockatoo, Baudin's cockatoo, Baudin's black cockatoo) นกปากขอชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) เป็นนกกระตั้วชนิดหนึ่งที่มีสีดำ บริเวณสีขนตรงตำแหน่งหูจะมีสีขาวและสีเทา สีขนใต้หางจะมีสีขาวปนเทาเข้ม ขนบริเวณใต้คอลงมาปลายขนมีขอบสีเทาปนดำ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นลักษณะเด่นที่ใช้ในการอนุกรมวิธานนกชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ยาว 56 เซนติเมตร (22 นิ้ว) มีอายุมากที่สุด 47 ปี ในปี ค.ศ. 1996 มีระยะเวลาการฟักไข่ 30 วันเหมือนนกกระตั้วชนิดอื่น ๆ โดยที่ชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ baudinii ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักสำรวจชาวฝรั่งเศส นิโกลาส์ บูด้าChristidis, Les and Walter E. Boles (2008) Systematics and Taxonomy of Australian Birds ISBN 978-0-643-06511-6 พบกระจายพันธุ์บริเวณทางตอนใต้ของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในประเทศออสเตรเลี.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระตั้วดำหางขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกกระตั้วใหญ่หงอนเหลือง

นกกระตั้วใหญ่หงอนเหลือง หรือ นกกระตั้วซัลเฟอร์เครสต์ (Sulphur-crested cockatoo) นกปากขอขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) มีความยาวของลำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร สามารถจำแนกเพศได้จาก นกตัวผู้จะมีสีน้ำตาลแดงเข้มรอบดวงตา จะเห็นได้ชัดเจนกว่าตัวเมีย ลำตัวมีสีขาวทั้งตัว มีหงอนขนาดใหญ่บนหัวสีเหลืองอันเป็นจุดเด่น มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเกาะนิวกีนี, ทัสมาเนีย, เกาะคิง, เกาะมอลลูกา รวมทั้งตอนเหนือและตะวันออกของออสเตรเลีย และยังแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ 4 ชนิด คือ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระตั้วใหญ่หงอนเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเบื้องผา

นกกระเบื้องผานกป่าสัปดาห์ละตัว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเบื้องผา · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียน

นกกระเรียน เป็นนกขนาดใหญ่ คอและขายาว อยู่ในอันดับ Gruiformes และวงศ์นกกระเรียน (Gruidae) มี 15 ชนิด คล้ายนกกระสาแต่เวลาบินนกกระเรียนจะเหยียดคอตรง ไม่งอพับมาด้านหลังเหมือนนกกระสา นกกระเรียนอาศัยอยู่ทั่วโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและทวีปอเมริกาใต้ นกส่วนมากไม่ถูกคุกคามมากนัก ยกเว้นบางชนิดที่ถูกคุกคามจนวิกฤติ เช่น นกกระเรียนกู.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเรียน · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนมงกุฎแดง

วนหัวของนกกระเรียนมงกุฎแดง นกกระเรียนมงกุฎแดง หรือ นกกระเรียนญี่ปุ่น หรือ นกกระเรียนแมนจูเรีย (Red-crowned crane).

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเรียนมงกุฎแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนมงกุฎเทา

thumb นกกระเรียนมงกุฎเทา หรือ นกกระเรียนหงอนพู่ (Grey crowned crane) เป็นนกในวงศ์นกกระเรียน พบในทุ่งหญ้าสะวันนาในทวีปแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา ทำรังในพื้นที่เปียกชื้น ไม่ใช่นกอ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเรียนมงกุฎเทา · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนยุโรป

นกกระเรียนยุโรป (Eurasian Crane) หรือ นกกระเรียนธรรมดา (Common Crane) เป็นนกในวงศ์นกกระเรียน ลูกนกที่รัฐราชสถาน, อินเดีย นกโตเต็มที่และลูกนกที่รัฐราชสถาน, อินเดีย นกกระเรียนยุโรปเป็นนกขนาดใหญ่ นกกระเรียนขนาดกลาง สูง 100-130 ซม.ช่วงปีกกว้าง 180-240 ซม.หนัก 4.5-6 กก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเรียนยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนออสเตรเลีย

นกกระเรียนออสเตรเลีย หรือ บรอลกา (Brolga) เป็นนกในวงศ์นกกระเรียน ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง อาศัยอยู่ในทางตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย และเป็นสัญลักษณ์ของรัฐควีนส์แลน.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเรียนออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนคอดำ

นกกระเรียนคอดำ (Black-necked Crane) เป็นนกกระเรียนขนาดกลาง พบในประเทศจีนบริเวณทะเลสาบปานกงในที่ราบสูงทิเบต ลำตัวยาว 139 ซม.ช่วงปีกกว้าง 235 ซม.และหนัก 5.5 กก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเรียนคอดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนไทย

thumb thumb นกกระเรียนไทย หรือ นกกระเรียน (sarus crane) เป็นนกขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่นกอพยพ พบในบางพื้นที่ของอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศออสเตรเลีย เป็นนกบินได้ที่สูงที่สุดในโลก เมื่อยืนจะสูงถึง 1.8 เมตร สังเกตเห็นได้ง่าย ในพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดโล่ง นกกระเรียนไทยแตกต่างจากนกกระเรียนอื่นในพื้นที่เพราะมีสีเทาทั้งตัวและมีสีแดงที่หัวและบริเวณคอด้านบน หากินในที่ลุ่มมีน้ำขังบริเวณน้ำตื้น กินราก หัว แมลง สัตว์น้ำ และสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร นกกระเรียนไทยเหมือนกับนกกระเรียนอื่นที่มักมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิต นกกระเรียนจะปกป้องอาณาเขตและเกี้ยวพาราสีโดยการกางปีก ส่งเสียงร้อง กระโดดซึ่งดูคล้ายกับการเต้นรำ ในประเทศอินเดียนกกระเรียนเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ในชีวิตแต่งงาน เชื่อกันว่าเมื่อคู่ตาย นกอีกตัวจะเศร้าโศกจนตรอมใจตายตาม ฤดูผสมพันธุ์หลักอยู่ในฤดูฝน คู่นกจะสร้างรังเป็น "เกาะ" รูปวงกลมจากกก อ้อ และพงหญ้า มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบสองเมตรและสูงเพียงพอที่จะอยู่เหนือจากน้ำรอบรัง นกกระเรียนไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา คาดกันว่าประชากรมีเพียง 10 หรือน้อยกว่า (ประมาณร้อยละ 2.5) ของจำนวนที่มีอยู่ในคริสต์ทศวรรษ 1850 ประเทศอินเดียคือแหล่งที่มั่นของนกชนิดนี้ ที่ซึ่งนกเป็นที่เคารพและอาศัยอยู่ในพื้นที่การเกษตรใกล้กับมนุษย์ นกกระเรียนนั้นสูญหายไปจากพื้นที่การกระจายพันธุ์ในหลาย ๆ พื้นที่ในอดีต.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเรียนไทย · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเต็นขาวดำใหญ่

นกกระเต็นขาวดำใหญ่ (Crested kingfisher) เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็นปักหลัก (Cerylidae) นกกระเต็นขาวดำใหญ่ เป็นนกกระเต็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ เพราะมีความยาวถึง 43 เซนติเมตร นับว่าเป็นนกระเต็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย และจัดเป็นนกที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่ง ด้วยที่เป็นนกที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ตามแถบเทือกเขาหิมาลัย เช่น ภูฐาน และกระจายไปจนถึงภาคใต้ของจีน, คาบสมุทรเกาหลี และญี่ปุ่น สำหรับในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จะพบได้ในประเทศไทย, ลาว และเวียดนาม ประเทศไทยจะพบได้เฉพาะผืนป่าตะวันตก เช่น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร อาศัยตามลำธารน้ำกลางป่าซึ่งเป็นแหล่งหากิน นกกระเต็นขาวดำใหญ่ มีเสียงร้องว่า "แอ๊ก-แอ๊ก-แอ๊ก".

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเต็นขาวดำใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเต็นปักหลัก

นกกระเต็นปักหลัก (Pied kingfisher) นกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็นปักหลัก (Cerylidae) ถือเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ceryle มีลักษณะทั่วไป คือ จะงอยปากยาวสีดำ หน้าและคางสีขาว มีแถบดำลากจากโคนปากผ่านตามาถึงท้ายทอย กระหม่อมสีดำมีขนยาวบริเวณหัวเป็นพู่เล็ก ๆ มีขนปกคลุมลำตัวสีขาว มีแถบดำ บริเวณเหนือหน้าอกและมีเส้นสีดำ ที่ใต้แถบสีดำ ปีกสีดำ ขอบและปลายขนปีกเป็นสีขาวคล้ายเกล็ดยาวสีขาว มีแถบดำใหญ่ก่อนถึงปลายหาง ขามีสีดำ ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ตัวผู้มีแถบดำที่หน้าอก 2 แถบ ขณะที่ตัวเมียแถบดังกล่าวมีแค่ 1 แถบและไม่ต่อเนื่อง (แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดย่อย-ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮาราและเอเชียใต้ ตั้งแต่ตุรกีถึงอินเดียและจีน ในประเทศไทยถือเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไปตามริมแม่น้ำ, คลอง หรือทะเลสาบ โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคเหนือ นกกระเต็นปักหลักส่งเสียงร้องสั้น ๆ ว่า "ชิชิริ-ชิชิริ" มีความสามารถกระพือปีกบินอยู่กับที่ในอากาศก่อนที่จะพุ่งตัวลงน้ำลงไปจับปลาได้ ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเต็นปักหลัก · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเต็นน้อยธรรมดา

นกกระเต็นน้อยธรรมดา (Common kingfisher) เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย จัดอยู่ในวงศ์นกกระเต็นน้อย (Alcedinidae) และมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กและน่ารัก มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 16–18 เซนติเมตร เมื่อเทียบกับนกกระเต็นชนิดอื่น ๆ แต่จะแตกต่างกันที่ตัวเมียมีโคนปากล่างและอาจทั้งปากล่างเป็นสีส้มแดงขณะที่ตัวผู้มีปากสีดำสนิท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเต็นน้อยธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเต็นเฮอร์คิวลิส

นกกระเต็นเฮอร์คิวลิส (Blyth's kingfisher) เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็นน้อย (Alcedinidae) นับเป็นนกระเต็นที่มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย, เนปาล, ภูฏาน, บังกลาเทศ, พม่า, ไทย, เวียดนาม, ลาว และจีน สำหรับในประเทศไทย ถือเป็นนกอพยกที่หายากมาก ในประเทศไทยมีรายงานพบที่ด้านตะวันตกของภาคเหนือ แต่ก็มีรายงานพบที่แม่น้ำโขง ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และที่อุทยานแห่งชาติดอยผาห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ แม้ว่านกกระเต็นเฮอร์คิวลิสจะเป็นนกที่ถิ่นกระจายพันธุ์ที่กว้าง แต่ถิ่นที่อาศัยกลับถูกจำกัดแคบ ๆ ตามแนวลำน้ำเท่านั้นซึ่งมักถูกบุกรุกและยึดครอง ประกอบกับมีจำนวนประชากรที่น้อย จึงเป็นนกที่หาตัวพบเห็นได้ยากมาก ในประเทศไทยมีตัวอย่างอ้างอิงของนกกระเต็นเฮอร์คิวลิสเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น เป็นตัวอย่างนกตัวเมีย เก็บโดย นายกิตติ ทองลงยา จากบริเวณป่าริมน้ำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกระเต็นเฮอร์คิวลิส · ดูเพิ่มเติม »

นกกะรางหัวหงอก

นกกะรางหัวหงอก มีชื่อสามัญว่า White-crested Laughing Thrush มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Garrulax leucolophus เป็นนกในวงกินแมลง ชอบอยู่ตามป่าไผ่หรือป่าค่อนข้างทึบ โดยจะอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักจะส่งเสียงร้องฟังคล้ายคนกำลังทะเลาะกันว่า " เจ๊กโกหก " มีลักษณะเด่นคือ มีหัวและหงอนสีขาว สามารถขยับขึ้นลงได้ เวลาส่งเสียงร้องหรือตกใจหงอนจะตั้งชันสวยงามมาก และยังมีแถบสีดำพาดผ่านตา นกกะรางหัวหงอกจะสร้างรังวางไข่ช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน หมวดหมู่:นกที่พบในประเทศไทย หมวดหมู่:นกในประเทศอินเดีย หมวดหมู่:นกที่พบในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:นกที่เป็นสัตว์เลี้ยง หมวดหมู่:วงศ์นกกะรางและนกหางรำ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกะรางหัวหงอก · ดูเพิ่มเติม »

นกกะรางหัวขวาน

นกกะรางหัวขวาน เป็นนกขนาดกลาง มีสีสวย มีลักษณะเด่นที่จำง่ายคือมีหงอน (หัวขวาน) คล้ายหมวกของพวกอินเดียแดง พบทั่วทั้งทวีปแอฟริกาและยูเรเชียพร้อมทั้งทั่วประเทศไทย เป็นสปีชีส์เดียวของวงศ์ Upupidae ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีสปีชีส์ย่อยเฉพาะเกาะเซนต์เฮเลนา (ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้) ที่สูญพันธ์ไปแล้ว และเฉพาะเกาะมาดากัสการ์ที่บางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ของตนเอง ชื่อสกุลภาษาละตินว่า Upupa คล้ายกับชื่อภาษาอังกฤษว่า "hoopoe" (อ่านว่า ฮูพู) โดยเป็นชื่อเลียนเสียงร้องของนก นกกะรางหัวขวานเป็นนกประจำชาติของประเทศอิสราเอล เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกะรางหัวขวาน · ดูเพิ่มเติม »

นกกา

นกกา หรือ อีกา (Crow) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก เป็นนกชนิดหนึ่งอยู่ในสกุล Corvus ในวงศ์นกกา (Corvidae) พบกระจายพันธุ์ทั่วโลก ยกเว้นในทวีปอเมริกาใต้ มีลักษณะเฉพาะตัวคือมีสีขนสีดำสนิทเป็นเงามันเลื่อม อยู่รวมกันเป็นกลุ่มและออกหากินเวลากลางวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่แดดแรง กาจะหาอาหารโดยการซ่อนตัวในเงาของต้นไม้ สำหรับการจู่โจมเหยื่อ นกกามีลักษณะเหมือนนกอีกประเภทหนึ่งชื่อ นกเรเวน ซึ่งเป็นนกที่มีสีดำเหมือนกัน นอกจากนี้แล้ว นกกายังถือว่าเป็นนกที่มีอายุขัยเฉลี่ยสูงถึง 90 ปี ซึ่งนับว่าสูงกว่าสัตว์ใหญ่อย่างช้างเสียอีก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกา · ดูเพิ่มเติม »

นกกาภูเขาปากแดง

นกกาภูเขาปากแดง หรือ นกกาภูเขา (Chough, Red-billed chough) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกา (Corvidae) เป็นนกที่มีรูปร่างเหมือนกับนกกาทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า กับส่วนหัวที่แหลมชี้ขึ้นและปีกที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและปลายปีกคม หน้าแข้งสีแดงและจะงอยปากสีแดง จะงอยปากเรียวยาวและคม อันเป็นลักษณะเฉพาะที่ใช้ในการอนุกรมวิธาน ผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูหนาว บนหน้าผาสูงหรือบริเวณที่เป็นพื้นหญ้า บางครั้งอาจเข้าไปทำรังในอาคารหรือตึกร้างได้ บางครั้งอาจจะกระโดดเหมือนกับกายกรรมลงมาในแนวดิ่งได้ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปยุโรป, เอเชียเหนือ, เอเชียกลาง และเอเชียตะวันออก เป็นนกที่แพร่ขยายพันธุ์และมีจำนวนประชากรที่มาก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกาภูเขาปากแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกกางเขน

นกกางเขน หรือ นกกางเขนบ้าน (Oriental magpie robin) เป็นนกชนิดหนึ่งที่กินแมลง มีขนาดไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตร ส่วนบนลำตัวสีดำเงา ส่วนล่างตั้งแต่หน้าอกลงไปจะเป็นสีขาวหม่น ใต้หางและข้างหางมีสีขาว ปีกมีลายพาดสีขาวทั้งปีก ตัวผู้สีจะชัดกว่าตัวเมีย ส่วนที่เป็นสีดำในตัวผู้ ในตัวเมียจะเป็นสีเทาแก่ ปากและขาสีดำ มักจะพบเป็นตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หากินแมลงตามพุ่มไม้ บางครั้งก็โฉบจับแมลงกลางอากาศ หางของมันมักกระดกขึ้นลง ร้องเสียงสูงบ้าง ต่ำบ้าง ฟังไพเราะ ทำรังตามโพรงไม้ที่ไม่สูงนัก มันจะวางไข่ครั้งละ 4-5 ฟองและตัวเมียเท่านั้นจะกกไข่ และจะฟักไข่นานประมาณ 8-14 วัน อายุ 15 วัน แล้วจะเริ่มหัดบิน ในประเทศไทยพบทั่วไปในทุกภาคแม้ในเมืองใหญ่ ๆ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 นกกางเขนเป็นนกเกาะคอน (อันดับ Passeriformes) ที่เคยจัดเป็นวงศ์นกเดินดง (Turdidae) แต่ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์นกจับแมลงและนกเขน (Muscicapidae) เป็นนกสีดำขาวที่เด่น มองเห็นได้ง่าย มีหางยาวที่จะกระดกขึ้นลงเมื่อหาอาหารที่พื้นหรือจับบนต้นไม้ เป็นนกที่มีอยู่กระจายไปทั่วเอเชียใต้และบางส่วนของเอเชียอาคเนย์ เป็นนกที่สามัญทั้งตามสวนในเมืองและในป่า เป็นนกที่รู้จักกันดีเพราะร้องเสียงเพราะ และเคยเป็นนกเลี้ยงที่นิยม นกกางเขนเป็นนกประจำชาติของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเรียกนกว่า "Doyel" ชื่ออังกฤษของนกคือ Oriental Magpie Robin อาจจะเป็นเพราะนกดูคล้ายนกสาลิกาปากดำ (Common Magpie).

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

นกกางเขนดง

นกกางเขนดง หรือ นกบินหลาดง (White-rumped shama) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Muscicapidae มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับนกกางเขนบ้าน แตกต่างกันที่นกกางเขนดงจะมีสีสันบริเวณท้องเป็นสีแดงอมน้ำตาลสดใส และมีสัดส่วนหางยาวกว่าปีกและลำตัวมาก มีเสียงร้องเพลงไพเราะ ชาวตะวันตกที่เข้าไปในอินเดียและพบนกชนิดนี้เข้าได้เรียกว่านกไนติงเกลแห่งอินเดียนกกางเขนดง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกางเขนดง · ดูเพิ่มเติม »

นกกาน้อยหงอนยาว

นกกาน้อยหงอนยาว เป็นนกในวงศ์นกกา (Corvidae) และัจัดเป็นชนิดเดียวในสกุล Platylophus พบในบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และไทย ถิ่นอาศัยธรรมชาติเป็นที่ราบป่าไม้เขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อนความชื้นสูงและเทือกเขาที่มีความชื้นสูงในกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อน ถูกคุกคามโดยการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกาน้อยหงอนยาว · ดูเพิ่มเติม »

นกกาน้อยแถบปีกขาว

นกกาน้อยแถบปีกขาว (Black magpie) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกกา (Corvidae) จัดเป็นนกชนิดเดียวในสกุล Platysmurus กระจายพันธุ์ในประเทศบรูไน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า, สิงคโปร์, และไทย พบในป่าลุ่มต่ำและป่าชายเลนในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ปัจจุบันกำลังถูกคุกคามจากการสูญเสียถิ่นอาศัย นกกาน้อยแถบปีกขาวยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ตาสีแดง ขนสีดำตลอดตัว ยกเว้นปีกมีแถบสีขาวตามยาว มีหงอนสั้น ๆ บนหัว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกาน้อยแถบปีกขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกกาน้ำปากยาว

นกกาน้ำปากยาว (Indian cormorant, Indian shag) เป็นนกในวงศ์นกกาน้ำ (Phalacrocoracida) พบตามแหล่งน้ำของอนุทวีปอินเดีย ออกไปทางตะวันตกถึงรัฐสินธ์ และทางตะวันออกถึงประเทศไทยและกัมพูชา ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความแตกต่างจากนกกาน้ำเล็ก (P. niger) ที่มีขนาดใกล้เคียงกันคือ ตาสีฟ้า หัวเล็ก หน้าผากลาด มีปากยาวแคบโค้งเป็นตะขอที่ปลายปาก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกาน้ำปากยาว · ดูเพิ่มเติม »

นกกาน้ำใหญ่

นกกาน้ำใหญ่ (Great cormorant, Great black cormorant, Black cormorant, Black shag) เป็นนกในวงศ์นกกาน้ำ (Phalacrocoracidae) กระจายพันธุ์ในโลกเก่าและชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกาน้ำใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกกาน้ำเล็ก

นกกาน้ำเล็ก (Little cormorant, Javanese cormorant) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกาน้ำ (Phalacrocoracidae) เป็นนกกาน้ำขนาดเล็ก มีความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 51-56 เซนติเมตร น้ำหนัก 360-525 กรัม ความกว้างระหว่างปลายปีกทั้งสอง 90 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนตามลำตัวมีสีดำเหลือบน้ำเงิน ตรงปีกมีสีน้ำตาลปน บริเวณรอบตามีจุดสีขาวขนาดเล็ก ใต้คางมีสีครีม แต่ขนชุดนอกและในฤดูผสมพันธุ์แตกต่างกัน นอกฤดูผสมพันธุ์ ปากสีเนื้อแกมเทาหม่น ขนทั่วทั้งหัว, ลำคอ, ลำตัว ปีกและหางสีน้ำตาลแกมดำ แต่ขนบริเวณไหล่และปีกสีค่อนข้างเทา แต่ขอบขนสีดำ คางค่อนข้างขาว ในฤดูผสมพันธุ์ ปากสีค่อนข้างดำ หัว, ลำคอ, อก, ท้อง, สีข้างและขนคลุมใต้โคนหางเปลี่ยนเป็นสีดำเหลือบน้ำเงินและเขียว บนกระหม่อมขนคลุมหู และท้ายทอยมีลายริ้วสีขาว พบกระจายพันธุ์ในทวีปยุโรป, แอฟริกา และในทวีปเอเชีย ได้แก่ อินเดีย, จีน, พม่า, อินโดจีน, มาเลเซีย, ชวา และในประเทศไทยพบทั่วไปทุกภาค จัดเป็นนกกาน้ำชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด อาศัยอยู่ตามหนองบึง, แม่น้ำ, ลำคลอง หรือท้องนา จับปลาขนาดเล็กจำพวกปลาตะเพียนกินเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ชอบอยู่ตามลำพัง บางครั้งอาจพบอยู่รวมกันเป็นฝูงบ้าง ชอบดำน้ำไล่จับปลาเป็นอาหาร เมื่อขึ้นจากน้ำมักจะยืนกางปีกตากแดดให้ขนแห้ง นกกาน้ำเล็กผสมพันธุ์ในราวเดือนกรกฎาคม ทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่รวมกันหลายรังบนต้นเดียวกัน ทำรังด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานไว้อย่างหยาบ ๆ และวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกาน้ำเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

นกกาเหว่า

นกกาเหว่า หรือ นกดุเหว่า (Asian koel) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) พบในเอเชียใต้ จีน เอเชียอาคเนย์รวมทั้งประเทศไทย เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นนกปรสิตที่วางไข่ให้กาและนกอื่น ๆ เลี้ยง เป็นนกจำพวกคัคคูที่ไม่เหมือนพันธุ์อื่น ๆ เพราะโดยมากกินผลไม้ (frugivore) เมื่อเติบใหญ่ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ชื่อว่า "กาเหว่า" และชื่ออื่น ๆ อีกหลายภาษารวมทั้งชื่ออังกฤษว่า "koel" เป็นชื่อเลียนเสียงนก เป็นนกที่ใช้เป็นสัญลักษณ์อย่างมากมายในวรรณกรรมอินเดี.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกาเหว่า · ดูเพิ่มเติม »

นกกินปลีหางยาวเขียว

นกกินปลีหางยาวเขียว (Green-tailed sunbird) เป็นนกในวงศ์นกกินปลี (Nectariniidae) พบในประเทศบังกลาเทศ, ภูฏาน, จีน, อินเดีย, ลาว, พม่า, เนปาล, ไทย, และ เวียดนาม อาศัยในป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนและป่าเมฆ นกเพศผู้ หัวและหางเป็นสีเขียวเหลือบ หลังแดง อกและท้องเป็นสีเหลือง มีแถบแดงที่อก หางยาว ชนิดย่อย australis ไม่มีแถบที่อก เพศเมียขนส่วนบนสีเขียว ส่วนล่างสีเหลือง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกินปลีหางยาวเขียว · ดูเพิ่มเติม »

นกกินปลีอกเหลือง

นกกินปลีอกเหลือง (Olive-backed sunbird, Yellow-bellied sunbird) เป็นนกจับคอนขนาดเล็กในวงศ์นกกินปลี (Nectariniidae) กินน้ำต้อยเป็นอาหาร พบตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงประเทศออสเตรเลี.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกินปลีอกเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

นกกินปลีดำม่วง

นกกินปลีดำม่วง (Purple sunbird) เป็นนกกินปลีขนาดเล็ก กินน้ำหวานในดอกไม้เป็นอาหารแต่บางครั้งก็กินแมลงเป็นอาหารด้วยเหมือนกันโดยเฉพาะตอนเลี้ยงดูลูกอ่อน เพศผู้มีขนสีดำยกเว้นบางแห่งที่เป็นสีม่วงเปล่งปลั่ง เพศเมียมีสีเขียวมะกอกในส่วนบนสีเหลืองจางในส่วนล่าง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกินปลีดำม่วง · ดูเพิ่มเติม »

นกกินปลีคอสีน้ำตาล

นกกินปลีคอสีน้ำตาล (Brown-throated sunbird, Plain-throated sunbird) เป็นนกในวงศ์นกกินปลี (Nectariniidae) เป็นนกที่พบในที่อยู่อาศัยแบบกึ่งเปิดหลากหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่พม่าไปถึงหมู่เกาะซุนดาน้อยและฟิลิปปินส์ตะวันตก นกกินปลีคอสีเทาที่พบในส่วนที่เหลือของฟิลิปปินส์ บ่อยครั้งถูกถือว่าเป็นชนิดย่อยของนกกินปลีคอสีน้ำตาล แต่ทั้งสองแตกต่างในการขนาดและชุดขน และไม่มีหลักฐานใดที่จะเชื่อมโยงทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน ในประเทศไทย ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกินปลีคอสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกกินปลีแดงหัวไพลิน

นกกินปลีแดงหัวไพลิน (Fire-tailed sunbird; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aethopyga ignicauda) เป็นนกเกาะคอนขนาดเล็ก ยาว 11-19 เซนติเมตร มีลักษณะร่วมของนกกินปลีมีจะงอยปากยาวโค้ง ลำตัวเรียวยาว ตัวผู้จะมีสีสันโดดเด่นกว่าตัวเมีย ตัวผู้หางสีแดงสดยาว 10-15 เซนติเมตร ตัวเมียไม่มีจุดเด่นใดๆ อาศัยในป่าดิบบนภูเขาหรือป่าสนเขา ระดับสูงหลายพันเมตร แพร่กระจายพันธุ์ตามแนวเทือกเขาสูง แนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังกลาเทศ ทิเบต จีนตอนใต้ และพม่า ในประเทศไทยพบเฉพาะดอยผ้าห่มปก และดอยลาง มักจะทำรังห้อยแขวนไว้บนกิ่งไม้ขนาดเล็ก ด้วยใบไม้แห้ง ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนมีนาคมและมิถุนายน จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกินปลีแดงหัวไพลิน · ดูเพิ่มเติม »

นกกินแมลงเด็กแนน

นกกินแมลงเด็กแนน หรือ นกกินแมลงหน้าผากน้ำตาล (Rufous-fronted babbler, Deignan's babbler) นกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกินแมลงและนกกะราง (Timaliidae) มีความยาวลำตัววัดจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 15 เซนติเมตรขนบนลำตัวสีเหลือง ขนบนกระหม่อมสีน้ำตาลแดง ปากสั้นโค้งเล็กน้อย ปลายแหลมสีน้ำตาลเข้ม กินแมลงเป็นอาหาร เดิม นกชนิดนี้เคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stachyris rodolphei แต่ปัจจุบันยอมรับว่าเป็นชนิดเดียวกันกับ Stachyridopsis rufifrons จึงใช้ชื่อนี้ในปัจจุบัน และอาจจะยังเป็นชนิดเดียวกันกับ Stachyris ambigua ด้วย เป็นนกที่พบได้เฉพาะภาคเหนือ ที่ดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ที่เดียวเท่านั้น จัดเป็นนกเฉพาะถิ่น ปัจจุบันพบได้น้อยมาก มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกินแมลงเด็กแนน · ดูเพิ่มเติม »

นกกินเปี้ยว

นกกินเปี้ยว (Collared kingfisher, White-collared kingfisher, Mangrove kingfisher) นกกระเต็นชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็น (Halcyonidae) มีส่วนหัวและลำตัวด้านบนสีเขียวแกมฟ้า รอบคอและลำตัวด้านล่างสีขาว ปีกสีฟ้า จะงอยปากใหญ่ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีเนื้อ มีพฤติกรรมหากินเป็นคู่ ตัวผู้และเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ตัวผู้จะมีสีสดใสกว่า กินปูก้ามดาบ หรือปูเปี้ยว เป็นอาหาร อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ตลอดจนแมลงและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ ทำรังโดยการขุดรูในโพรงดิน หรือในรังปลวกที่พบได้บริเวณต้นไม้ ด้วยความที่ชอบกินปูก้ามดาบ จึงพบบ่อยในป่าชายเลน พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดง, เอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์ จนถึงโพลินีเซีย และออสเตรเลีย และแบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ถึง 50 ชนิด ในประเทศไทย เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยและพบได้ทุกฤดูกาล และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกินเปี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

นกกิ้งโครงคอดำ

ทยพบได้แทบทุกภาคยกเว้นทางตอนใต้ของภาคใต้ ในต่างประเทศพบได้ในประเทศอินเดีย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และภาคใต้ของจีน เป็นนกที่กินเมล็ดพืชและธัญพืชเป็นอาหาร และกินสัตว์ขนาดเล็ก ๆ เช่น แมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานได้ด้วย อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามพื้นดิน โดยมักส่งเสียงร้องเอะอะเสียงดังทั้งฝูงโดยเฉพาะเมื่อตกใจหรือเวลาถูกรบกวน เป็นนกที่อาศัยทั้งในท้องทุ่งหรือแหล่งเกษตรกรรม จนถึงชุมชนเมืองของมนุษย์ เช่น สวนสาธารณะต่าง ๆ นกที่อาศัยอยู่ในเมืองมีพฤติกรรม นำเอาเศษวัสดุตามกองขยะ เช่น กระดาษ หรือถุงพลาสติก มาสร้างรัง วางไข่คราวละ 2-6 ฟอง กกไข่นาน 15-17 วัน จึงฟักออกเป็นตัว โดยรังเป็นรังแบบปิดมีทางเข้าออกแค่ทางเดียว ลักษณะรังเป็นรูปโดมขนาดใหญ่แขวนตามต้นไม้ ซึ่งนกในชุมชนเมืองอาจจะทำหลังใต้หลังคาบ้านของมนุษย์ มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน นกกิ้งโครงคอดำ เป็นหนึ่งของนกในวงศ์นี้ที่สามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้ จึงมีการนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกิ้งโครงคอดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกกีวี

นกกีวี (Kiwi) เป็นนกจำพวกหนึ่งที่บินไม่ได้ มีลักษณะที่แปลกไปจากนกอื่น ๆ ด้วยมีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน เป็นนกออกหากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในธรรมชาติอยู่ในนิวซีแลนด์เท่านั้น นกกีวีจัดอยู่ในสกุล Apteryx ในวงศ์ Apterygidae.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกกีวี · ดูเพิ่มเติม »

นกยางดำ

นกยางดำ (Black Bittern) เป็นนกลุยน้ำโลกเก่าในวงศ์นกยาง แพร่พันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชียจากประเทศปากีสถาน, ประเทศอินเดีย และ ประเทศศรีลังกา ไปทางตะวันออกถึงประเทศจีน, ประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศออสเตรเลีย ปกติเป็นนกประจำถิ่น แต่ในตอนเหนือบางแห่งเป็นนกอพยพระยะสั้น กินแมลง, ปลา และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกยางดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกยางควาย

นกยางควาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bubulcus ibis; Cattle egret) เป็นนกยางสีขาว ในวงศ์ Ardeidae พบในเขตร้อนและอบอุ่น นกกระยางควายมีจุดกำเนิดในทวีปเอเชีย แอฟริกาและยุโรป แต่นกยางมีการขยายพันธุ์และกระจายตัวไปทั่วโลก และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จัดเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Bubulcus.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกยางควาย · ดูเพิ่มเติม »

นกยางแดงใหญ่

นกยางแดงใหญ่ (Eurasian Bittern หรือ Great Bittern) เป็นนกลุยน้ำในวงศ์นกยาง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกยางแดงใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกยางโทนใหญ่

นกยางโทนใหญ่ (Great egret) เป็นนกลุยน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์นกยาง (Ardeidae) มีขนสีขาวตลอดตัว คอยาว มีลักษณะคล้ายนกยางโทนน้อย แต่ปากจะยาวกว่า หัวไม่กลมเหมือนนกยางโทนน้อ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกยางโทนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกยูง

นกยูง (Peacock, Peafowl) เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์เดียวกันนี้ มีจุดเด่นคือ เพศผู้มีขนหางยาวที่มีสีสันสวยงาม ที่เมื่อแผ่ขยายออกเพื่ออวดเพศเมียจะมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ที่เรียกว่า "รำแพน" นกยูงใช้ชื่อสกุลว่า Pavo ชอบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสมตามริมลำธารในป่า มีพฤติกรรมมักร้องตอนเช้าหรือพลบค่ำ กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางเหนือของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออกผ่านพม่า, ตอนใต้ของประเทศจีน, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซียและชวา นกยูงแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ นกยูงไทยตัวผู้ขณะรำแพน.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกยูง · ดูเพิ่มเติม »

นกยูงอินเดีย

นกยูงอินเดีย หรือ นกยูงสีน้ำเงิน (Indian peafowl, Blue peafowl) เป็นนกยูงชนิดหนึ่ง ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล, บังกลาเทศ, ภูฏาน และศรีลังกา มีขนาดเล็กกว่านกยูงไทย (P. muticus) ซึ่งเป็นนกยูงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนจนถึงแหลมมลายูเล็กน้อย ขนหงอนจะมีลักษณะเป็นรูปพัดต่างจากนกยูงไทยที่เป็นกระจุก สีของผิวหนังบริเวณหน้าจะมีสีขาว และมีสีดำคาดบริเวณตา ขนบริเวณคอและอกมีสีน้ำเงิน ขนบริเวณปีกเป็นลายสีขาวสลับกับสีดำ ขนตามลำตัวจะมีสีเขียวอมน้ำเงิน ด้านหลังเป็นเกล็ดคล้ายใบไม้ ในตัวเมียนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ ขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาล ขนคอและหลังจะมีสีอ่อนกว่าตัวผู้ นกยูงอินเดียตัวผู้ตัวเต็มวัย เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูสืบพันธุ์จะมีขนคลุมหางที่ยาวออกมา ประมาณ 2 เท่าของลำตัวหรือประมาณ 150 เซนติเมตร ประกอบด้วยขน 2 ประเภทด้วยกัน คือ ขนที่มีวงกลม ซึ่งเรียกว่า "แววมยุรา" และขนที่อยู่บริเวณขอบ เรียกว่า "T Feathers" ซึ่งบริเวณนี้จะไม่มีแววมยุรา ขนคลุมหางของนกยูงหนึ่งตัวจะประกอบด้วยขนคลุมหางประมาณ 200 เส้น แบ่งเป็นขนที่มีแววมยุรา ประมาณ 170 เส้น และขนคลุมหางที่เป็นขอบหรือ T-feathers อีกประมาณ 30 เส้น ซึ่งขนคลุมหางนี้จะมีเพื่อการเกี้ยวพาราสีตัวเมียในฤดูสืบพันธุ์ ที่เรียกว่า "การรำแพน" นกยูงอินเดียวางไข่ ครั้งละ 5-8 ฟอง ระยะฟักไข่นาน 28 วัน และในระยะที่เป็นวัยอ่อนนั้นจะมีความแตกต่างกับนกยูงที่ตัวโตเต็มวัยทั้งสีขนและขนาดของลำตัว ลูกนกยูงในวัยนี้จะไม่สามารถระบุเพศได้จากการสังเกตลักษณะและสีของขนจากภายนอก จนกว่าลูกนกจะมีอายุ 8 เดือน จึงจะสามารถระบุเพศด้วยจากการสังเกตลักษณะภายนอกและสีของขนได้ แต่ถ้ามองผิวเผินอาจจะเหมารวมได้ว่าเป็นลูกนกชนิดเดียวกันดังนั้นจะต้องสังเกตอย่างละเอียด โดยลูกของนกยูงไทยจะมีสีเขียวเป็นมันเหลือบบริเวณปลายขนแต่ละเส้นจะมีสีน้ำตาลแต้ม ขนบริเวณหัวและคอจะมีสีเขียวเป็นมันเหลือบและจะมีขนสีขาวแซมประปราย ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลทองและมีสีดำแต้มบ้าง ส่วนลูกนกยูงอินเดียจะมีลักษณะแตกต่างกันที่ขน บริเวณลำตัวและหลังจะมีลายสีน้ำตาลประทั้งเส้น ขนบริเวณคอจะมีสีขาวเทาและมีสีเขียวเป็นมันเหลือบแซมประปราย ส่วนขนบริเวณคอส่วนล่างและหน้าอกจะเริ่มเห็นสีน้ำเงินแซมเป็นจุด ๆ ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลลายดำ เมื่อมองโดยรวมก็จะพบว่าลูกนกยูงอินเดียจะมีสีที่อ่อนและหม่นกว่าลูกนกยูงไทย ตัวผู้ขณะยืนปกติ ตัวเมียและลูก ๆ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าดงดิบทึบ ตัวผู้ชอบทำลานเอาไว้รำแพนหาง และจะรักษาความสะอาดลานอย่างดี เป็นนกที่ระวังตัวมากและสายตาไวมาก ยากที่จะเข้าใกล้ตัวได้ จะบินหนีก่อน เป็นนกที่บินเก่ง ชอบนอนที่สูงและชอบร้องเวลาเช้าและเย็น เป็นนกที่จดจำที่อยู่ของตนได้เป็นอย่างดี นกยูงอินเดีย ถือเป็นสัตว์ประจำชาติของอินเดีย ในต้นปี..

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกยูงอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

นกยูงไทย

นกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว (Green peafowl; มาจากภาษาละติน Pavo, นกยูง; muticus, เชื่อมต่อ หรือ ตัดทอน) เป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่พบในป่าเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นญาติใกล้ชิดกับนกยูงอินเดียหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านกยูงสีฟ้า ที่ส่วนมากพบในอนุทวีปอินเดี.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกยูงไทย · ดูเพิ่มเติม »

นกร่อนทะเลหางแดง

''Phaethon rubricauda'' นกร่อนทะเลหางแดง หรือ นกนวลหางยาว Birds of Thailand.net (Red-tailed tropicbird) เป็นนกทะเลที่พบในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ในกลุ่มนกร่อนทะเลที่พบเห็นได้ยากแต่ยังมีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างจึงยังไม่จัดว่าถูกคุกคาม อยู่เป็นอาณานิคมทำรังวางไข่บนเกาะกลางทะเล.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกร่อนทะเลหางแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกลุมพู

นกลุมพู (อังกฤษ: Green imperial pigeon) เป็นนกในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) เป็นนกประจำถิ่นที่มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตร้อนของเอเชียใต้ จากประเทศอินเดียไปทางตะวันออกถึงประเทศอินโดนีเซีย นกลุมพูเป็นนกในวงศ์นี้ที่มีขนาดใหญ่ ยาว 45 เซนติเมตร มีหัว และลำตัวด้านล่างเทา แข้งและตีนแดง หลัง ปีก และหางเขียวเหลือบเป็นมัน คล้ายนกมูม แต่ไม่มีแถบสีคล้ำพาดกลางหาง ก้นและขนคลุมใต้หางน้ำตาลเข้ม เสียงร้องดัง "ฮอู่-ฮอู่" และ "ฮุค-ฮุค-ฮอู่" ก้องดัง ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกลุมพู · ดูเพิ่มเติม »

นกลุมพูขาว

นกลุมพูขาว หรือ นกกระลุมพูขาว (Pied imperial pigeon) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 40 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน รูปร่างคล้ายนกชนิดอื่นทั่วไปในวงศ์เดียวกัน ขนบริเวณหัวและลำตัวสีขาว ปลายปีกและขนหางมีสีดำ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามป่าชายเลนและเกาะกลางทะเล มักหากินอยู่รวมเป็นฝูงประมาณ 15-30 ตัว ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่บินได้เก่งและบินเร็ว มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง กินเมล็ดพืชและผลไม้ เป็นอาหาร มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย สำหรับในประเทศไทย ถือเป็นนกประถิ่นที่พบได้บ่อยพบบริเวณเกาะทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน พบหาได้ยากบนแผ่นดินใหญ่ อาจมีการย้ายถิ่นไปตามแหล่งอาหาร เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกลุมพูขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกศิวะหางสีตาล

นกศิวะหางสีตาล หรือ นกศิวะหางตาล (Bar-throated minla, Chestnut-tailed minla) เป็นนกในวงศ์นกกะรางและนกหางรำ (Leiothrichidae) พบในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกศิวะหางสีตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกสาลิกาปากดำ

นกสาลิกาปากดำ (Eurasian magpie, European magpie, Common magpie) เป็นนกสีขาวดำในวงศ์นกกา (Corvidae) พบในซีกโลกเหนือ พบทั่วไปในทวีปยุโรป บางส่วนของทวีปเอเชีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ในยุโรป โดยที่ชื่อ "Magpie" นั้นหมายถึงนกสาลิกาปากดำ เนื่องจากเป็นนกสาลิกา หรือ นกแม็กพายเพียงชนิดเดียวในยุโรปที่อยู่นอกคาบสมุทรไอบีเรีย นกสาลิกาปากดำเป็นหนึ่งในนกที่ฉลาดที่สุด และเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในที่สุดของสัตว์อัจฉริยะทั้งหมดและเป็นนกที่ชอบสะสมข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่แปลก ๆ หลายอย่างเป็นของใช้ของมนุษย์ ซึ่งมิได้มีความจำเป็นสำหรับนกเลย เช่น ลูกกอล์ฟ ในประเทศไทยถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนก นอกจากนี้แล้วนกชนิดนี้ ยังถือเป็นฉายาของนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ทีมฟุตบอลในเอฟเอ พรีเมียร์ลีก เนื่องจากมีสีขนขาว-ดำ เช่นเดียวกับสีประจำทีม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกสาลิกาปากดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกสาลิกาเขียว

นกสาลิกาเขียว (Common green magpie) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกกา (Corvidae) มีขนาด 38 ​เซนติ​เมตร มีปากหนาสี​แดงสด วงรอบตาสี​แดง​และมี​แถบสีดำคาด​เหมือนหน้ากาก บริ​เวณกระหม่อมสี​เขียวอม​เหลือง ลำตัวด้านบนสี​เขียวสด ​ใต้ท้องสี​เขียวอ่อน ช่วงปีกตรงหัว​ไหล่​เป็นสี​เขียว ปลายปีก​เป็นสี​แดง​เข้ม ​และตอน​ในของขนกลางปีกมี​แถบสีดำสลับขาว ขาสี​แดงสด ​ใต้หางมีสีดำสลับขาว ​และส่วนปลายหางจะ​เป็นสีขาว ร้องดัง “กวีก.ก..กวีก..ก..ก....” กระจายพันธุ์ในเทือกเขาหิมาลัยในตอนเหนือของภาคตะวันออกของประเทศอินเดียไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านภาคกลางของประเทศไทย มาเลเซีย ถึงเกาะสุมาตราและทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ในป่าไม่ผลัดใบ ป่า​เบญจพรรณ นกหากินเป็นคู่หรือเป็นฝูงตามต้นไม้และพื้นดิน กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก ลูกนก และไข่เป็นอาหาร ทำรังอยู่ตามง่าม​ไม้ รัง​ทำจากกิ่ง​ไม้ ​ใบ​ไม้​แห้ง ​และ​ใบ​ไผ่ วางซ้อนกัน​และสาน​ไปมา​เป็นรูปลักษณะถ้วยตื้นๆ ตรงกลางมีกิ่ง​ไม้​เล็กวางรองอีกชั้น ออก​ไข่ครั้งละ 4 - 6 ฟอง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกสาลิกาเขียว · ดูเพิ่มเติม »

นกสีชมพูสวน

นกสีชมพูสวน (Scarlet-backed Flowerpecker) เป็นนกขนาดเล็ก ความยาว (ปลายปากถึงหาง) ประมาณ 9 เซนติเมตร มีเสียงร้อง แหลมสูง และ สั้น บางครั้งฟังเหมือน เสียงร้องคำว่า ดิ๊กๆ ตามลำตัวมีสามสี ถ้าเป็นตัวผู้จะสังเกตได้ง่าย จากสีที่กลางหลัง เพราะเป็นแถบยาวสีแดง ส่วนด้านท้องจะเป็นสีขาว และข้าง ๆ เป็นสีดำ - น้ำตาล ส่วนตัวเมียมีสีอ่อนกว่า และแถบสีแดงด้านหลังจะสั้นกว่า มีอยู่บริเวณโคนหางเท่านั้น นกชนิดนี้มีลักษณะ ป้อม และหางสั้น วัยเด็ก (Juvenile) ยังไม่มีสีแดงที่ด้านหลัง และสีอ่อนกว่าวัยโตสามารถพบเห็นได้ง่ายในประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกสีชมพูสวน · ดูเพิ่มเติม »

นกหกใหญ่

นกหกใหญ่ (blue-rumped parrot) เป็นนกในอันดับนกแก้ว เป็นสมาชิกเดียวในสกุล กระจายพันธุ์ในตอนใต้สุดของประเทศพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะบอร์เนียว สุมาตราและเกาะใกล้เคียง เป็นนกแก้วขนาดเล็ก ประมาณ 18 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกหกใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกหกเล็กปากดำ

นกหกเล็กปากดำ (Blue-crowned hanging parrot) เป็นนกแก้วสีเขียวขนาดเล็ก พบในประเทศไทยไปจนถึงบอร์เนียว กินดอกไม้ หน่ออ่อน ผลไม้ และเมล็ดเป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกหกเล็กปากดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกหว้า

นกหว้า (Great argus, Double-banded argus) เป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ขนสีน้ำตาล หัวและคอเป็นสีฟ้า พบในป่าของเกาะบอร์เนียว, เกาะสุมาตรา และ คาบสมุทรมลายูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกหว้าตั้งโดยคาโรลัส ลินเนียสซึ่งโยงถึงจุดคล้ายตาบนปีกจำนวนมาก โดยตั้งตามชื่อ อาร์กัส ยักษ์ร้อยตาในเทพปกรณัมกรีก เดิมทีนกหว้าเคยถูกให้มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด โดยอีกชนิดหนึ่งนั้นใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Argusianus bipunctatus แต่ปัจจุบันได้ถูกรวมกันเป็นชนิดเดียวกัน ดังนั้นชื่อนี้จึงกลายเป็นชื่อพ้องไป เพราะการสูญเสียที่อยู่และถูกล่าเป็นอาหาร นกหว้าจึงจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามความเสี่ยงต่ำ (NT) ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และจัดอยู่ในบัญชีที่ 2 ของ CITES.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกหว้า · ดูเพิ่มเติม »

นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง

นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง (Common flameback, Common goldenback) เป็นนกหัวขวานชนิดหนึ่ง มีลำตัวยาว 30 เซนติเมตร ขนด้านหลังและขนปีกสีเหลืองอมส้ม สะโพกสีแดงสด หางดำ อกและท้องมีจุดกลมสีขาวบนพื้นสีดำ ตัวผู้มีหัวและหงอนสีแดง ตัวเมียมีหัวและหงอนสีดำจุดขาว มีนิ้วยาว 3 นิ้ว ยื่นมาทางด้านหน้า 2 นิ้ว ด้านหลัง 1 นิ้ว ขนหางสั้นมีแกนขนที่แข็งแรง ใช้สำหรับการเกาะและไต่ต้นไม้ จะงอยปากแหลมยาวเรียว พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงเขตชีวภาพซุนดา มีทั้งหมด 6 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มีพฤติกรรมชอบอาศัยในป่าโปร่ง, ป่าชายเลน ตลอดจนถึงสวนผลไม้ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร มักพบอยู่ตามลำพัง หรือเป็นคู่ตามโพรงไม้ ไต่ไม้เจาะเปลือกไม้หาแมลงกินด้วยการไต่จากโคนต้นในแนวดิ่ง มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง · ดูเพิ่มเติม »

นกหัวขวานด่างแคระ

นกหัวขวานด่างแคระ (Grey-capped pygmy woodpecker, Grey-capped woodpecker) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกหัวขวาน (Picidae) มีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ด้านบนลำตัวสีดำมีแถบเป็นจุดสีขาว ด้านล่างลำตัวสีขาวลายดำ ด้านบนหัวสีเทา มีแถบสีดำคาดเหนือตา ตัวผู้มีแถบสีแดงเล็ก ๆ เหนือคิ้ว ซึ่งบางครั้งมองเห็นได้ยากมาก ไม่มีหงอน มีพฤติกรรมเวลาบินจะใช้กระพือบินสลับกับการร่อนกันไป ขณะบินจะส่งเสียงร้องดัง เวลาหากินจะใช้ปากเจาะเข้าไปในต้นไม้ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และตายแล้ว พร้อมกับใช้ลิ้นที่ยาวซึ่งมีน้ำลายเหนียวและหนามแหลมยื่นยาวออกไปแมลงและหนอน กินเป็นอาหาร วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง มีพฤติกรรมหากินร่วมกับนกขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ เช่น นกไต่ไม้, นกเฉี่ยวดง เรียกว่า "เบิร์ดเวฟ" นกหัวขวานด่างแคระเป็นนกที่พบได้ในป่าทุกประเภท ตั้งแต่ที่ราบไปจนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,830 เมตร โดยเฉพาะป่าโปร่ง พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูฐาน, บังกลาเทศ, อินเดีย, เนปาล, บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, จีน, เกาหลี, รัสเซีย, เกาะไต้หวัน และเวียดนาม สำหรับในประเทศไทยจัดเป็นนกประจำถิ่น พบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง จึงสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้มากถึง 15 ชนิด (ดูในตาราง) สำหรับในประเทศไทย นกที่พบทางภาคใต้จัดเป็นชนิดย่อย D. c. auritus ซึ่งมีสีเข้มกว่าชนิดย่อยหลัก D. c. canicapillus ที่พบได้ทั่วไปเล็กน้อย และขนหางคู่กลางมีลายจุดจางกว่ามาก ส่วนทางภาคตะวันออกจะสามารถพบชนิดย่อย D. c. delacouri ซึ่งมีสีจางและลายขีดที่อกไม่ชัดเจนเท่าอีก 2 ชนิดย่อยนั้น และตามกฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกหัวขวานด่างแคระ · ดูเพิ่มเติม »

นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง

นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง (Black-headed woodpecker) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกหัวขวาน (Picidae) มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหัวสีดำ คอและอกสีเหลือง ใต้ท้องสีนวลและมีลายซิกแซกสีเขียวไพล ขนตะโพกสีแดงมักจะฟูฟ่องยามตกใจ หากรู้สึกคุกคามอาจกางปีกที่มีลายขาวสลับดำให้ดูน่าเกรงขามเพื่อขู่ศัตรู บางตัวมีแถบคิ้วสีขาว แต่เฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่จะมีสีแดงที่กลางกระหม่อม ขณะที่ตัวเมียมีกระหม่อมสีดำ นกหัวขวานเขียวตะโพกแดงมีอุปนิสัยต่างจากนกหัวขวานทั่วไป คือ เป็นชนิดเดียวที่มักอยู่รวมกันเป็นฝูงตลอดทั้งปี สาเหตุก็มาจากการที่พ่อแม่นกมีนกตัวอื่น ๆ มาทำหน้าที่ช่วยเลี้ยงลูกอ่อน และยังไม่ได้รวมฝูงเฉพาะนกชนิดเดียวกัน หากแต่ยังรวมฝูงหากินร่วมกับ นกกะราง, นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (Dicrurus paradiseus) หรือนกหัวขวานชนิดอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย มีอุปนิสัยชอบเลียกินมดและปลวกบนพื้นดิน แต่บางครั้งก็มากินเศษอาหารที่มนุษย์เหลือทิ้งไว้เช่นเดียวกับนกกะรางด้วย และชอบส่งเสียงร้องเอะอะเสียงดัง มักได้ยินเสียงก่อนเห็นตัว โดยส่งเสียงรัวติดต่อกันว่า "แอะแอะ แอะแอ้ว" คล้ายลูกสุนัข มีถิ่นกระจายพันธุ์ในป่าเต็งรังไม่ระดับความสูงไม่เกิน 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล พบกระจายพันธุ์ในเวียดนาม, กัมพูชา, ไทย, ลาว, พม่า สำหรับในประเทศไทยพบในป่าผลัดใบและป่าสนทางภาคตะวันตก, ภาคเหนือและภาคอีสาน พบบ่อยเฉพาะในบางพื้นที่ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกหัวขวานเขียวตะโพกแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกหัวโตกินปู

นกหัวโตกินปู (Crab-plover หรือ Crab Plover) เป็นนกชนิดเดียวในวงศ์ Dromadidae.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกหัวโตกินปู · ดูเพิ่มเติม »

นกหัวโตมลายู

นกหัวโตมลายู (Malaysian Plover) เป็นนกประจำถิ่น ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ จากการรุกทำลายป่าชายเลนอันเป็นที่อยู่อาศัยและหากิน จัดในวงศ์นกหัวโต (Family Charadriidae) อาศัยอยู่ตามหาดทราย ในการสำรวจในปี..

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกหัวโตมลายู · ดูเพิ่มเติม »

นกหัวโตทรายใหญ่

'' Charadrius leschenaultii '' นกหัวโตทรายใหญ่ เป็นนกชายเลนในสกุลนกหัวโต และเป็นนกอพยพในกลุ่มที่ผลัดขนในฤดูผสมพันธุ์ และมีความแตกต่างระหว่างเพศในฤดูผสมพันธุ์ โดยฤดูผสมพันธุ์มีถิ่นอาศัยบริเวณกึ่งทะเลทรายในประเทศตุรกี ต่อเนื่องถึงเอเชียกลาง ส่วนฤดูหนาวจะอพยพมาทางเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทย พบได้ในแหล่งน้ำใกล้ป่าชายเลน ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันช่วงประมาณเดือน พฤศจิกายน ถึง มกราคม ชื่อชนิดทางวิทยาศาสตร์ (leschenaultii) ดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล คือ Jean Baptiste Leschenault de la Tour (ค.ศ. 1773 - 1826) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้พบและจำแนกชนิดได้ครั้งแรก ที่เมืองพอนดิเชอร์รี ในประเทศอินเดี.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกหัวโตทรายใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกออก

นกออก หรือ อินทรีทะเลปากขาว (อังกฤษ: White-bellied Sea-eagle, White-bellied Fish-eagle, White-breasted Sea Eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Haliaeetus leucogaster) เป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งจำพวกเหยี่ยวและอินทรี.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกออก · ดูเพิ่มเติม »

นกอัญชันอกสีไพล

นกอัญชันอกสีไพล (Water Rail หรือ European Water Rail) เป็นนกขนาดเล็กในวงศ์นกอัญชันที่พบในพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นสัตว์สัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกอัญชันอกสีไพล · ดูเพิ่มเติม »

นกอัญชันคิ้วขาว

นกอัญชันคิ้วขาวหนังสือคู่มือดูนกหมอบุญส่ง เลขะกุล,นกเมืองไทย,โดยคณะบุคคลนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล,หน้า136 (White-browed Crake)) จัดอยู่ในวงศ์นกอัญชัน (Rallidae) เป็นนกอัญชันขนาดเล็ก นกชนิดนี้หากินตาม ทะเลสาบ บึง หนอง พรุ นากุ้ง นาข้าว ห้วย คลอง หรือ พื้นที่ที่ชุ่มน้ำต่างๆที่มีพืชลอยน้ำปกคลุมหนาแน่นในพื้นที่ราบ อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่เมล็ดของพืชน้ำ แมลง ไข่แมลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็ก ๆ ที่หาพบได้ตามกอพืชรก ๆ หรือบริเวณชายน้ำในแหล่งน้ำที่อาศัย โดยนกจะเดินจิกกินไปเรื่อย ๆ พร้อมกับกระดกหางขึ้น ๆ ลง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกอัญชันคิ้วขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกอินทรีสีน้ำตาล

นกอินทรีสีน้ำตาล(อังกฤษ:Tawny eagle-ชื่อวิทยาศาสตร์:Aquila rapax)เป็นนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ลักษณะสีขนของพวกมันแบ่งเป็น 2 แบบคือ แบบสีเข้มจะมีสีน้ำตาลและแบบสีอ่อนจะมีสีขาวน้ำตาล ขนาด 62-78 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกอินทรีสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกอีลุ้ม

นกอีลุ้ม หรือ นกอีล้ม เครือข่ายกาญจนาภิเษก (Watercock) เป็นนกน้ำในวงศ์นกอัญชัน พบในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย จีน ไต้หวัน เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และในประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกอีลุ้ม · ดูเพิ่มเติม »

นกอีวาบตั๊กแตน

นกอีวาบตั๊กแตน (plaintive cuckoo) เป็นนกสกุล Cacomantis ในวงศ์ Cuculidae (วงศ์นกคัคคู) เป็นนกประจำถิ่นของทวีปเอเชีย มีที่อยู่ตั้งแต่อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกอีวาบตั๊กแตน · ดูเพิ่มเติม »

นกอีเสือลาย

นกอีเสือลาย หรือ นกอีเสือลายเสือ (Tiger shrike, Thick-billed shrike) เป็นนกจับคอนขนาดเล็กในสกุล Lanius ในวงศ์นกอีเสือ (Laniidae) มีถิ่นอาศัยในแถบเอเชียตะวันออก มักพบอยู่ตามลำพัง กินสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร ทำรังบนต้นไม้ วางไข่ 3-6 ใ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกอีเสือลาย · ดูเพิ่มเติม »

นกอีเสือสีน้ำตาล

นกอีเสือสีน้ำตาล (Brown shrike; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lanius cristatus) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Laniidae จัดเป็นนกอพยพย้ายถิ่นอาศัยเข้ามาหากินในประเทศไทย พบได้บ่อยในช่วงปลายฤดูร้อนและปลายฤดูฝน ซึ่งนกอีเสื้อสีน้ำตาลมีถิ่นการกระจายพันธุ์กว้างขวาง โดยพบได้ตั้งแต่เอเชียเหนือจรดยุโรป, เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออก, เอเชียใต้ และยังพบได้ที่อเมริกาเหนือ จึงมีชนิดย่อยด้วยกันทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง).

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกอีเสือสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกอีเสือหลังเทา

นกอีเสือหลังเทา (Grey-backed shrike) เป็นนกในวงศ์นกอีเสือ (Laniidae) พบในประเทศบังกลาเทศ, ภูฏาน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, ลาว, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, รัสเซีย, ไทย, และเวียดนาม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกอีเสือหลังเทา · ดูเพิ่มเติม »

นกอ้ายงั่ว

นกอ้ายงั่ว หรือ นกคองู (Oriental darter; Snakebird) เป็นนกน้ำชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกอ้ายงั่ว (Anhingidae) ในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) (แต่บางข้อมูลจัดให้อยู่ในอันดับ Suliformes) ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ขนาดลำตัวยาวประมาณ 90-95 เซนติเมตร ปากตรง ปลายปากแหลม หัวเล็กคอยาวมาก ปีกยาว ปลายปีกค่อนข้างมน ขนปลายปีกเส้นที่ 2 และ 3 นับจากด้านนอกยาวที่สุด หางยาวแข็ง ปลายหางเป็นหางพลั่ว มีขนหาง 12 เส้น ขาค่อนข้างสั้นแต่ใหญ่ มีพังผืดนิ้วเป็นแบบตีนพัดเติม ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกัน ตัวเต็มวัยหัวและคอสีน้ำตาล มีลายสีขาวคาดจากคางจนถึงข้างคอ ลำตัวสีดำ ช่วงไหล่ คอด้านบน และลำตัวด้านบนมีลายขีดสีเทาแกมสีเงิน ตัวไม่เต็มวัยสีจางกว่าตัวเต็มวัย หัวและคอสีขาว ลำตัวสีน้ำตาล มีลักษณะเด่น คือ มีลำคอยาวเรียวดูคล้ายงู จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "นกคองู" เพราะขณะว่ายน้ำ ลำตัวทั้งหมดจะจมลงใต้น้ำ ชูเฉพาะคอและหัวขึ้นเหนือน้ำ ดูคล้ายกับงูที่อยู่ในน้ำมาก อยู่เป็นกลุ่มตามแหล่งน้ำ เช่น บึง, อ่างเก็บน้ำ, เขื่อน หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และอาจอยู่รวมกับนกและสัตว์ชนิดอื่น ว่ายน้ำและดำน้ำได้ดีมาก นอกจากนี้ยังบินได้ดี และชอบเกาะตามกิ่งไม้แห้งใกล้กับแหล่งน้ำหากินหรือบริเวณแหล่งอาศัย เพื่อผึ่งแดดหรือไซ้ขนหลังจากว่ายน้ำและดำน้ำหาอาหาร อาหารได้แก่ปลาชนิดต่าง ๆ ที่ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป โดยใช้ปากแทงทะลุตัวปลา จากนั้นจะชูหัวและลำคอขึ้นเหนือน้ำ โยนปลาขึ้นไปในอากาศพร้อมกับอ้าปากรับ แล้วกลืนเข้าไปทั้งตัว แต่ถ้าปลาตัวใหญ่เกินไปก็อาจจะนำขึ้นมากินบนกิ่งไม้ นกอ้ายงั่วผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนหรือระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ทำรังรวมกันเป็นกลุ่มตามต้นไม้สูง (ไม่ต่ำกว่า 20 เมตร) รังเป็นแบบง่าย ๆ ใช้กิ่งไม้มาวางซ้อนกันตามง่ามไม้ขนาดใหญ่ รังมีไข่ 3-5 ฟอง ทั้งสองคู่ผลัดกันฟักไข่ เนื่องจากนกอ้ายงั่ววางไข่ครั้งละไม่กี่ฟอง จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกศัตรูของนกอ้ายงั่ว เช่น งู, หนู และนกล่าเหยื่อ ชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง รวมทั้งการรบกวนของมนุษย์ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างยิ่งต่อการสูญพันธุ์ คอที่ยาวคล้ายงู ขณะจับปลา นกอ้ายงั่ว จัดเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ดีอย่างหนึ่ง เพราะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งปริมาณของอาหาร และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จัดเป็นนกประถิ่นในประเทศไทย แต่อยู่ในภาวะถูกคุกคาม ในประเทศจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ปัจจุบันพบเพียงไม่กี่จังหวัดเท่านั้น เช่น จังหวัดสระแก้วในภาคตะวันออก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกอ้ายงั่ว · ดูเพิ่มเติม »

นกจมูกหลอดลาย

นกจมูกหลอดลาย (Streaked Shearwater) เป็นนกทะเลชนิดหนึ่ง ลำตัวยาวประมาณ 48 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกจมูกหลอดลาย · ดูเพิ่มเติม »

นกจาบอกลาย

นกจาบอกลาย หรือ นกกระจาบอกลาย (Streaked weaver) เป็นนกในวงศ์นกจาบ (Ploceidae) ที่พบในเอเชียใต้ มีลักษณะคล้ายนกจาบธรรมดา (P. philippinus) แต่อกเป็นลาย ทำรังกันเป็นกลุ่มในกอต้นกกใกล้แหล่งน้ำ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกจาบอกลาย · ดูเพิ่มเติม »

นกจาบธรรมดา

นกจาบธรรมดา หรือ นกจาบอกเรียบ (Baya weaver) เป็นนกจาบที่พบในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ และพื้นที่เพาะปลูก นกชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันจากรังแขวนที่ถอขึ้นจากใบไม้ กลุ่มรังมักพบบนต้นไม้มีหนามหรือต้นปาล์มใกล้แหล่งน้ำหรือแขวนเหนือน้ำเพื่อที่นักล่าจะไม่สามารถเข้าถึงรังได้ มีสามชนิดย่อย ชนิดย่อย philippinus พบมากในประเทศอินเดีย ขณะที่ชนิดย่อย burmanicus พบไปทางตะวันออกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดย่อย travancoreensis มีขนสีเข้มกว่าพบในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกจาบธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

นกจาบทอง

นกจาบทอง หรือ นกกระจาบทอง (Asian golden weaver) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกจาบ (Ploceidae) พบในประเทศกัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, พม่า, ไทย, และเวียดนาม มีถิ่นอาศัยตามธรรมชาติในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ทุ่งหญ้า หนองบึง และพื้นที่เกษตรกรรม ปัจจุบันเป็นสปีชีส์ที่ถูกคุกคามเพราะการทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ นกจาบทองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง..

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกจาบทอง · ดูเพิ่มเติม »

นกจาบคาหัวเขียว

นกจาบคาหัวเขียว (Blue-tailed bee-eater) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Merops philippinus เป็นนกในตระกูล Meropidae จัดเป็นนกอพยพชนิดหนึ่ง มีแหล่งผสมพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางครั้งอาจถูกจัดให้อยู่ในสปีชีส์เดียวกับนกจาบคาแก้มฟ้า (Merops persicus) ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก นกชนิดนี้มีรูปร่างเพรียว มีสีสันสวยงาม โดยจะมีสีเขียวเด่นเป็นพิเศษ บริเวณใบหน้ามีแต้มสีฟ้าเล็กๆ และมีแถบยาวสีดำอยู่ตรงดวงตา ขนที่คอเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาล หางเป็นสีห้า และจะงอยปากสีดำ สามารถเจริญเติบโตได้ยาว 23-26 เซนติเมตร โดยรวมความยาวของขนหางตรงกลางสองเส้นที่ยาวกว่าบริเวณอื่นด้วย นกจาบคาหัวเขียวมีแหล่งผสมพันธุ์ในพื้นที่ชนบทกึ่งเขตร้อน อย่างเช่นในไร่ สวน นาข้าว หรือสวนสาธารณะ มักพบได้บ่อยครั้งบริเวณใกล้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กินแมลงชนิดต่างๆเป็นอาหารเหมือนนกจาบคาชนิดอื่น โดยเฉพาะผึ้ง ต่อ และแตน โดยจะโผลบินพุ่งออกจากที่พักเกาะไปจับเหยื่อกลางอากาศ เหยื่อจะถูกจับกลับไปที่พักเกาะ แล้วใช้จะงอยปากจิกเหยื่อจนตายและเปลือกแข็งที่ห่อหุ้มร่างกายแตกออก สำหรับนกจาบคาชนิดนี้ พบว่าเหยื่อที่ล่ามีทั้งผึ้งและแมลงปอในปริมาณที่มากพอๆกัน นกจาบคาหัวเขียวชอบสร้างรังอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ตามริมฝั่งแหล่งน้ำที่เป็นทรายหรือพื้นที่ราบเปิดโล่ง รังมีลักษณะเป็นเหมือนอุโมงค์ค่อนข้างยาว นกชนิดนี้จะวางไข่ทรงกลมสีขาวครั้งละ 5-7 ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะเฝ้าดูแลไข่ด้วยกัน นอกจากนี้ เวลาออกหากินหรือพักเกาะตามที่สูง ก็มักจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเช่นกัน นกจาบคาหัวเขียว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกจาบคาหัวเขียว · ดูเพิ่มเติม »

นกทึดทือพันธุ์เหนือ

นกทึดทือพันธุ์เหนือ (Brown fish owl; หรือ Bubo zeylonensis) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง พบในเขตอบอุ่นและเขตร้อนชื้นตามไหล่ทวีปเอเชียและหมู่เกาะGrimmett et al. (1999).

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกทึดทือพันธุ์เหนือ · ดูเพิ่มเติม »

นกทึดทือมลายู

นกทึดทือมลายู หรือ นกเค้าแมวมลายู หรือ นกฮูกมลายู หรือ นกพิทิดพิที ในภาษาใต้ (Buffy fish owl, Malay fish owl; หรือ Bubo ketupa) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว เป็นนกเค้าแมวขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 49-50 เซนติเมตร ปีกสั้นกว่า 40 เซนติเมตร ดวงตาสีเหลืองจนถึงเหลืองแกมทอง มีขนเหนือคิ้วเป็นแผงยาวออกไปด้านข้างทั้งสองด้าน ส่วนขนบริเวณเหนือโคนปากเป็นสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลมีลายสีจางกระจาย ด้านล่างสีเนื้อแกมน้ำตาลเหลือง มีลายขีดสีดำ เมื่อหุบปีกจะเห็นลายแถบสีน้ำตาลจางสลับสีเข้มบริเวณปลายปีก ขาสีเขียว มีเล็บโค้งแหลม และมีปากงุ้มแหลม มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน ทำรังอยู่ในโพรงไม้ หรือใช้รังเก่าของนกอื่น ๆ เป็นรัง ออกไข่ครั้งละ 1-3 ฟอง ลักษณะไข่มีเปลือกสีขาวและทรงกลม ตัวผู้จะเป็นฝ่ายส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย มักอาศัยอยู่ตามป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใกล้แหล่งน้ำหรือลำธารในป่า และบริเวณใกล้ชายฝั่ง ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางคืน จับสัตว์ขนาดเล็กกินเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, กบ, ปู, ค้างคาว, นกชนิดอื่น และสัตว์เลื้อยคลานเกือบทุกชนิด เมื่อเวลาบินล่าเหยื่อจะบินได้เงียบกริบมาก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของไทยเช่น จังหวัดนราธิวาส พบไปตลอดแหลมมลายูจนถึงประเทศอินโดนีเซีย, เกาะชวา และหมู่เกาะซุนดา ซึ่งนกทึดทือมลายู เป็นนกที่ถูกอ้างอิงถึงในนวนิยายสำหรับเด็กเรื่อง แฮร์รี่ พ็อตเตอร์ ด้วยเป็นนกของแฮร์รี่ พ็อตเตอร์ ตัวละครเอก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกทึดทือมลายู · ดูเพิ่มเติม »

นกขมิ้น

นกขมิ้น (Oriole, Old world oriole) เป็นวงศ์ของนกที่มีสายวิวัฒนาการอยู่ระหว่างวงศ์นกแซงแซว (Dicruridae) และวงศ์นกกา (Corvidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Oriolidae แต่มีรูปร่างลักษณะและอุปนิสัย แตกต่างจากนกทั้งสองวงศ์นี้มาก คือ นกกาและนกแซงแซวส่วนใหญ่จะมีลำตัวเพรียว หางยาว หรือค่อนข้างยาว นิสัยค่อนข้างก้าวร้าวไม่กลัวคน แต่นกขมิ้นซึ่งเป็นนกที่มีลำตัวขนาดกลางถึงขนาดเล็ก มีความยาวตัวประมาณ 20-27 เซนติเมตร ขนาดเท่านกเอื้ยง หางสั้น สีตัวส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง มีบางชนิดเป็นสีอื่นบ้าง จะงอยปากแข็งแรงและงุ้มลง ปีกยาวแหลม นกตัวผู้มีสีสดใสสวยงามกว่านกตัวเมีย ลูกนกมีลายขีดสีดำกระจายอยู่ทั่วบริเวณท้อง นกขมิ้นเป็นนกที่ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ในป่าบก, ป่าชายเลน และตามสวนผลไม้ ส่วนใหญ่หากินอยู่ตามเรือนยอดหรือพุ่มใบของต้นไม้ รวมอยู่ กับนกชนิดอื่น ๆ เช่น นกแซงแซว, นกพญาไฟ และนกไต่ไม้ พบหากินเงียบ ๆ อยู่ตัวเดียวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบลงมาหากินตามพื้นล่าง กินผลไม้, แมลง และน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร บินได้เร็วและทนนาน ชอบทำรังอยู่ตาม ง่ามไม้บนต้นไม้สูง รังอยู่สูงประมาณ 4-10 เมตร สร้างรังเป็นรูปถ้วย ก้นลึก ทำด้วยต้นหญ้าหรือเส้นใยพืชร้อยถักอย่างประณีต วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ทั้งพ่อและแม่นกจะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูก นกขมิ้นชอบสร้างรังใกล้ ๆ รังของนกแซงแซวเพื่อให้นกแซงแซวช่วยป้องกันไข่และลูกนกจากศัตรู เนื่องจากนกแซงแซวจะป้องกันไข่และลูกนกของตัวเองจากศัตรู ดังนั้นจึงช่วยป้องกันไข่ และลูกนกขมิ้นด้วย นกขมิ้นพบทั่วโลก 29 ชนิด พบในประเทศไทย 6 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกขมิ้น · ดูเพิ่มเติม »

นกขุนทอง

แสดงให้เห็นถึงหัวของนกขุนทองชนิดย่อยต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างกันที่เหนียง นกขุนทอง หรือ นกเอี้ยงคำ (คำเมือง) เป็นนกในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) มีถิ่นอาศัยอยู่ทั่วไปในเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีความสามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้เหมือนนกแก้ว จึงนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงกันสูง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกขุนทอง · ดูเพิ่มเติม »

นกขุนแผน

ำหรับนกขุนแผนจำพวกอื่น ดูที่: วงศ์นกขุนแผน นกขุนแผน หรือ นกสาลิกาดง (อังกฤษ: Red-billed blue magpie; ชื่อวิทยาศาสตร์: Urocissa erythrorhyncha) จัดเป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Corvidae อันเป็นวงศ์เดียวกับกา นกขุนแผนเป็นนกที่มีสีสันสวยงามมาก กล่าวคือ โดยมีบริเวณหัวถึงลำคอสีดำ ขนบริเวณลำตัวมีสีฟ้าแกมม่วง ส่วนโคนปีกมีสีฟ้าแกมม่วง ด้านปลายปีกสีขาว มีหางสวยงามและยาวมาก มีสีฟ้าแกมม่วงส่วนบริเวณปลายหางมีสีขาว มีขนหางคู่บนยาวกว่าคู่อื่น ๆ ปากสีแดง ขาสีแดงส้มและตาสีดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก จนยากที่จะแยกได้ออกจากการมองแค่ภายนอก ความยาวจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 65-68 เซนติเมตร และมีขนหางยาวมากราว 37-42 เซนติเมตร หรือ 2 ใน 3 ของความยาวจากปากถึงปลายหาง ขนหางค่อนข้างแข็ง มี 12 เส้น ซึ่งแต่ละคู่ยาวลดหลั่นกันลงไป โดยมีขนหางคู่บนสุดยาวที่สุด ซึ่งยาวกว่าขนหางคู่ที่ 5 อย่างเห็นได้ชัด ปลายขนหางแต่ละเส้นมีลักษณะมน ขนหางทุกเส้นมีสีฟ้าอมม่วง แต่ปลายขนหางแต่ละเส้นเป็นแถบสีขาว และเฉพาะปลายขนหางคู่ที่ 1 ถึงคู่ที่ 5 มีแถบสีดำถัดจากแถบสีขาวด้วย ปลายขนหางคู่ที่ 6 ซึ่งเป็นคู่บนสุดโค้งลงมาเล็กน้อย พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เชิงเขาหิมาลัยจนถึงจีน, พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ ตามป่าละเมาะ, ป่าโปร่ง มักส่งเสียงร้องขณะที่มันเริ่มออกหากิน บางเวลาอาจลงมาหากินตามพื้นดินหรือซอกก้อนหิน ซอกไม้ผุ ๆ อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ เช่น ด้วง, ปลวก, หนอน, หอยทาก, กิ้งก่า, จิ้งจก, จิ้งเหลน, งู รวมทั้งปาด, ตะขาบ และหนู แม้แต่ไข่นกและลูกนกชนิดอื่นในรัง รวมทั้งซากสัตว์ด้วย ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะทำรังโดยนำกิ่งไม้เล็กมาขัดสานกันเป็นแอ่งตรงกลาง และรองพื้นด้วยรากไม้หรือใบไม้ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 3-6 ฟอง อยู่สูงจากพื้น 6-8 เมตร มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพราะสีสันและหางที่สวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกขุนแผน · ดูเพิ่มเติม »

นกคอพัน

นกคอพัน (Eurasian wryneck, Spotted woodpecker) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกหัวขวาน (Picidae) มีรูปร่างเพรียว คอสั้น ปากสั้นและแบนข้างมาก สั้นปากบนโค้งลงมาเล็กน้อย ปลายปากแหลมคล้ายรูปกรวย รูจมูกค่อนข้างใหญ่อยู่เกลือบชิดสันปากบน ไม่มีขนใด ๆ แต่มีเยื่อปกคลุม ปีกมีลักษณะมนกลม ด้านบนลำตัวเป็นลายจุดสีดำและน้ำตาล ด้านล่างลำตัวมีลายพาดระหว่าง สีขาวและน้ำตาล ดูระยะไกลจะเห็นเป็นสีน้ำตาลแกมเทากลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม แต่นกคอพันไม่สามารถไต่ต้นไม้ในลักษณะแนวตั้งเหมือนนกหัวขวานทั่วไปได้ เพราะขนหางอ่อนนุ่มไม่สามารถค้ำยันตัวได้ โดยจะเกาะกิ่งไม้เหมือนนกเกาะคอน อีกทั้งยังไม่สามารถใช้จะงอยปากเจาะลำต้นของต้นไม้เพื่อหาแมลงกินได้อีกด้วย แต่นกคอพันก็มีลิ้นที่ยาวและมีน้ำลายที่เหนียวตวัดกินมดหรือหนอนตามต้นไม้เป็นอาหาร เหมือนนกหัวขวาน มีลำตัวยาวประมาณ 16-18 เซนติเมตร เป็นนกที่อาศัยอยู่เพียงลำพัง หรือเป็นคู่ หากมีนกตัวอื่นหรือฝูงนกอื่นเข้ามาใกล้ จะบินหนี มักจะลงมาหากินตามพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ เนื่องจากกินมด ซึ่งเป็นแมลงอยู่ตามพื้นดินเป็นหลัก ด้วยการกระโดดไปมาบนพื้นแล้วหยุดมองหาตามร่องของพื้นดิน มีเสียงร้อง "ควี่ ๆ ๆ ๆ" ติดต่อกันราว 8-15 คำ ได้ยินกังวาลไปไกล นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่บิดคอไปข้าง ๆ ได้เกือบ 180 องศาเหมือนงู จึงได้รับการตั้งชื่อสกุลว่า Jynx ซึ่งหมายถึง เวทมนตร์หรือการทำนายพยากรณ์ล่วงหน้า เหตุที่สามารถเลียนแบบส่วนคอได้เหมือนการเคลื่อนไหวของงู รวมถึงสามารถแลบลิ้นที่สำหรับใช้ตวัดกินแมลงได้เหมือนงูอีกด้วย ก็เพื่อป้องกันตัวเองและลูกวัยอ่อนที่อยู่ในโพรง จากนกตัวอื่นหรือสัตว์นักล่าชนิดอื่น พบกระจายพันธุ์ตามป่าโปร่ง, ชายทุ่ง, พื้นที่เกษตรกรรม ตลอดจนใกล้กับบ้านเรือนของมนุษย์ พบได้ตั้งแต่พื้นที่ราบจนถึงเหนือระดับน้ำทะเล 2,000 เมตร บนภูเขาสูง พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปยุโรปจนถึงเอเชียกลางและเอเชียตะวันออก (มีชนิดย่อย 6 ชนิด ดูในตาราง) มีการอพยพหนีหนาวในช่วงฤดูหนาวไปในทวีปแอฟริกาตอนกลาง และประเทศไทย ซึ่งพบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ โดยไม่พบการวางไข่ขยายพันธุ์ในประเทศไทย และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกคอพัน · ดูเพิ่มเติม »

นกคอกคาทีล

นกคอกคาทีล (Cockatiel) นกปากขอขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Nymphicus และนับเป็นชนิดที่เล็กที่สุดในวงศ์นี้ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ตัวผู้มีลำตัวเป็นสีเทา ๆ ปีกจะเป็นแถบสีขาว หัวเป็นสีเหลืองอ่อน มีหงอนยาวสูงขึ้นมาที่แก้ม มีหย่อมสีส้มเด่นชัดปากเป็นสีเทา ตัวเมียมีลักษณะคล้ายกับตัวผู้ แต่หัวจะเป็นสีเหลืองอมเทา สีส้มที่แก้มไม่เด่นชัดนัก และหางจะเป็นสีเหลืองมีลายขีดสีเทาขวางอยู่ มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศออสเตรเลีย มักอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งใกล้ ๆ กับแหล่งน้ำที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ห่างจากชายฝั่งทะเล มักจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือเป็นคู่ ๆ ขณะบินจะเกิดเสียงจนสามารถได้ยิน กินอาหารได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดพืชล้มลุก ผลไม้ และลูกไม้ขนาดเล็ก นกคอกคาทีล ก็เหมือนนกปากขอหรือนกกระตั้วชนิดอื่นทั่วไป ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ จนได้สายพันธุ์ที่มีสีสันและลวดลายสวยงามกว่านกที่มีอยู่ในธรรมชาติแท้.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกคอกคาทีล · ดูเพิ่มเติม »

นกคุ่มสี

นกคุ่มสี หรือ ไก่นา (King quail, Blue-breasted quail, Asian blue quail) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) ตัวผู้มีสีสันเด่นกว่านกคุ่ม (Corturnix spp.) ชนิดอื่นมาก โดยบริเวณหน้าผาก, คิ้ว และด้านข้างของคอเป็นสีน้ำเงินแกมเทา บริเวณใต้ตามีแถบสีขาว 2 แถบ คอหอยสีดำและด้านล่างมีแถบใหญ่สีขาว อกและสีข้างเป็นสีน้ำเงินแกมเทา ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้มมีลายจุดและลายขีดสีดำกระจายอยู่ ลำตัวด้านล่างส่วนที่เหลือเป็นสีน้ำตาลแดง ตัวเมียมีลำตัวด้านบนคล้ายกับตัวผู้ คอหอยสีเนื้อ ลำตัวด้านล่างสีเนื้อแกมม่วง อกและสีข้างมีลายแถบสีออกดำ นิ้วสีเหลืองเข้ม พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย, หมู่เกาะนิโคบาร์, ตอนใต้ของจีน, เกาะไต้หวัน, เกาะไหหลำ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, หมู่เกาะซุนดาใหญ่, ฟิลิปปินส์ จนถึงทวีปออสเตรเลีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในป่าหญ้า, ป่าละเมาะ และทุ่งโล่ง พบอยู่เป็นคู่หรือฝูงเล็ก ๆ หากินในเวลากลางวัน โดยหากินตามพื้นดิน ได้แก่ เมล็ดพืช และแมลงต่าง ๆ เช่น ปลวก เมื่อพบศัตรูซ่อนตามกอหญ้า ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ทำรังด้วยการขุดดินให้เป็นแอ่งเล็ก ๆ บริเวณที่เป็นซุ้มกอหญ้าหรือกอพืช อาจนำใบไม้หรือใบหญ้ามาวางในแอ่งเพื่อรองรับไข่ ออกไข่ครั้งละประมาณ 5-7 ฟอง นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ในประเทศไทยมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ปา พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกคุ่มสี · ดูเพิ่มเติม »

นกตบยุงหางยาว

นกตบยุงหางยาว (Large-tailed Nightjar) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจำพวกสัตว์ปีก (Aves) อยู่ในวงศ์นกตบยุง (Family Caprimulgidae) นกวงศ์นี้มีเพียง ๑ สกุล คือ สกุลนกตบยุง (Caprimulgus) ในประเทศไทยมีนกตบยุง 6 ชนิด ได้แก่ นกตบยุงพันธุ์มลายู (Eurostopodus temminckii) นกตบยุงยักษ์ (Eurostopodus macrotis) นกตบยุงภูเขา (Caprimulgus indicus) นกตบยุงหางยาว (Caprimulgus macrurus) นกตบยุงเล็ก (Caprimulgus asiaticus) และนกตบยุงป่าโคก (Caprimulgus affinis) ซึ่งนกตบยุงจะมีจะงอยปากแบนกว้าง ไม่ค่อยแข็งแรง ช่องปากกว้าง รูจมูกเป็นหลอดเล็กน้อยคล้ายกับจมูกของนกจมูกหลอด บริเวณมุมปากมีขนยาว ลำตัวเพรียว หางยาว ปีกยาวปลาย ปีกแหลม ดวงตากลมโต อาหารได้แก่ แมลงต่าง ๆ หากินโดยการบินโฉบจับแมลงกลางอากาศ มีนิสัยชอบอยู่โดดเดี่ยว นกตบยุงไม่สร้างรัง แต่จะวางไข่บนพื้นดิน วางไข่ครอกละ ๒ ฟอง ปกติไข่ไม่มีลายขีด ลูกนกอยู่ในไข่จนโตพอสมควรก่อนออกจากไข่ มีขนดาวน์หรือขนอุยขึ้นปกคลุมลำตัว ลืมตาได้ แต่ลูกนกยังคงต้องให้พ่อแม่หาอาหารมาป้อนให้.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกตบยุงหางยาว · ดูเพิ่มเติม »

นกตะกรุม

นกตะกรุม (Lesser adjutant stork) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Leptoptilos javanicus เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) มีถิ่นที่อยู่อาศัยในทวีปเอเชียทางตอนใต้ ตั้งแต่อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงจีนตอนใต้ และเกาะชวา มีรูปร่างคล้ายคลึงกับนกตะกราม แต่มีขนาดเล็กกว่า และไม่มีถุงใต้คอ ขณะยืนมีความสูงบนหัวประมาณ 110-120 เซนติเมตร ความกว้างของปีกทั้งสองข้างประมาณ 210 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนสีดำเหลือบเป็นมัน ใต้ท้องสีออกขาว มีจุดเด่น คือ ส่วนหัวและลำคอเป็นหนังสีเหลืองแกมแดง มีขนเป็นเส้นๆ ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ทำให้แลดูล้านเลี่ยน จะงอยปากมีขนาดใหญ่สีออกเหลืองเลอะ ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์จะมีแต้มสีแดงตรงบริเวณโคนปาก แข้งและเท้าสีน้ำตาลแกมเขียวจนถึงสีคล้ำเกือบดำ นกอายุน้อยขนสีดำค่อนข้างด้าน บนส่วนหัวและลำคอมีขนปกคลุมมากกว่านกโตเต็มวัย นกตะกรุม เป็นนกที่หากินสัตว์เล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำเป็นอาหาร เช่น กุ้ง, หอย, ปู, ปลา รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่าง งู หรือ กบ, เขียด แต่จะไม่กินซากสัตว์เหมือนนกตะกราม มีพฤติกรรมทำรังบนยอดไม้สูง ตามป่าชายเลนหรือป่าริมน้ำร่วมกับนกตะกรามและนกกระทุง วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ในช่วงปลายปี คือ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ส่วนหัวที่ล้านเลี่ยนเป็นจุดเด่น นกตะกรุม เป็นนกที่หาได้ยากมากในประเทศไทย เดิมเคยมีรายงานพบที่ จังหวัดศรีสะเกษ, ราชบุรี, ชุมพร, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์ และนราธิวาส และมีรายงานการทำรังแพร่ขยายพันธุ์ที่บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ที่จังหวัดพัทลุง และป่าพรุ ในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกตะกรุม · ดูเพิ่มเติม »

นกตะขาบทุ่ง

นกตะขาบทุ่ง หรือ นกขาบ (Indian roller, Blue jay) เป็นนกประจำถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่ประเทศอิรัก อนุทวีปอินเดีย จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน นกตะขาบทุ่งเป็นนกหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) ที่พบในประเทศไทย ซึ่งอีกชนิดคือ นกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) นกตะขาบทุ่งมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ อาหารคือแมลง สัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือกิ้งก่าในบางครั้ง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกตะขาบทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

นกตะขาบดง

นกตะขาบดง (Dollar roller, Dollarbird, Oriental dollarbird) นกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) มีขนาดเล็กกว่านกตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ซึ่งเป็นนกตะขาบ 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทยเป็นนกที่มีลำตัวสีดำ จะงอยปากสีแดง เมื่อเพ่งในระยะใกล้จะเห็นลำตัวเป็นสีน้ำเงินเหลือบเขียวเข้ม ขณะที่บินจะปรากฏเป็นสีเงินที่บริเวณโคนปีกด้านนอก ขณะที่ยังเป็นนักวัยอ่อนจะมีลำตัวสีหม่น พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียด้านเอเชียตะวันออก จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย (มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อย-ดูในตาราง)ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคกลางและภาคอีสาน อาศัยทั้งในป่าเบญจพรรณ, ป่าทุติยภูมิ, บริเวณชายป่าดงดิบที่เป็นพื้นที่โล่ง พบได้ตั้งแต่พื้นที่ราบจนถึงความสูงระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกตะขาบดง · ดูเพิ่มเติม »

นกตีทอง

นกตีทอง (coppersmith barbet, crimson-breasted barbet, coppersmith) เป็นนกโพระดก (Megalaimidae) ที่เล็กที่สุด ตัวเขียว คอเหลือง อกและหน้าผากแดง ขอบตาเหลือง มักเกาะบนต้นไม้สูง รู้จักกันดีเพราะร้องเสียง “ป๊ก ๆ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอเหมือนกับช่างตีทอง (ฝรั่งว่าเหมือนกับช่างตีทองแดง) เป็นนกประจำถิ่นของเอเชียใต้ และบางส่วนของเอเชียอาคเนย์ ทำรังโดยเจาะโพรงไม้เหมือนกับนกโพระดกประเภทอื่น ๆ โดยมากกินผลไม้ เช่น ลูกไทร แต่บางครั้งก็กินแมลงอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะแมลงเม่า (ปลวกมีปีก) ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกตีทอง · ดูเพิ่มเติม »

นกต้อยตีวิด

นกต้อยตีวิด หรือ นกกระต้อยตีวิด หรือ นกกระแตแต้แว้ด หรือ นกแต้แว้ด (red-wattled lapwing) เป็นนกที่สีสวยน่าดู พบได้ตามพื้นที่โล่งเกือบทุกสภาพทั่วประเทศ อยู่ในวงศ์นกหัวโต (Charadriidae) วงศ์ย่อย Vanellinae หรือ Charadriinae มีเสียงร้องเตือนภัยแหลมดังที่ไม่เหมือนใครว่า "แตแต้แวด" หรือตามคนพูดภาษาอังกฤษว่า did he do it หรือ pity to do it ทำให้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามเสียงร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ เป็นนกที่มักจะเห็นเป็นคู่ ๆ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ แต่อาจจะอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ในฤดูหนาวที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกต้อยตีวิด · ดูเพิ่มเติม »

นกปรอด

นกปรอด เป็นวงศ์ของนกจับคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มนกร้องเพลง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pycnonotidae เป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันต่าง ๆ กันไปตามแต่ละชนิด และสกุล เป็นนกที่ร้องได้เพราะมาก กินผลไม้และแมลงเป็นอาหาร พบได้ในหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นพัน ๆ เมตร จนถึงที่ราบลุ่ม หรือในชุมชนเมืองและตามสวนสาธารณะหรือสวนหลังบ้าน เหตุที่ได้ชื่อว่า "ปรอด" นั้นมาจากเสียงร้อง ที่มักเป็นเสียง "กรอด-กรอด" ซึ่งบางครั้งอาจเรียกเพี้ยนเป็น "นกกรอด", "นกกระหรอด" หรือ "นกกะหรอด" ก็ได้ ขณะในชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า "ฺBulbul" นั้นมาจากคำว่า بلبل (bolbol) ในภาษาเปอร์เซีย และคำว่า بُلْبُل ในภาษาอาหรับ หมายถึง "นกไนติ้งเกล" ซึ่งทั่วโลกมี 137 ชนิด ใน 21 สกุล (ดูในตาราง ขณะที่บางสกุลอาจจะซ้ำซ้อนกับอีกสกุล) ในประเทศไทย พบอยู่ 36 ชนิด 8 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกปรอด · ดูเพิ่มเติม »

นกปรอดหัวสีเขม่า

นกปรอดหัวสีเขม่า หรือ นกแทดตากแดง (Sooty-headed bulbul) เป็นนกประจำถิ่นที่จัดอยู่ในประเภทสัตว์ป่าคุ้มครอง พบเห็นได้ง่ายในทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นทางภาคใต้ จัดอยู่ในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidae).

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกปรอดหัวสีเขม่า · ดูเพิ่มเติม »

นกปรอดหัวโขน

นกปรอดหัวโขน หรือ นกปรอดหัวจุก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นกกรงหัวจุก (อังกฤษ: Red-whiskered bulbul; พายัพ: นกปิ๊ดจะลิว) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidae) ซึ่งอยู่ด้วยกันทั้งหมด 109 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบได้ 36 ชนิด นกปรอดหัวโขนเป็นนกขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ที่มีสีสันสวยงามและเสียงร้องไพเราะ ที่แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัวขนส่วนหัวจะร่วมกัน เป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน อันเป็นที่มาของชื่อ ใต้ท้องมีขนสีขาว พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงเอเชียตะวันออก พบได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ตั้งแต่ยอดเขาสูง ป่าที่ราบต่ำ จนถึงทุ่งหญ้า ชายป่า และเขตที่ใกล้กับชุมนุมมนุษย์ มีชนิดย่อยทั้งหมด 9 ชนิด ดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกปรอดหัวโขน · ดูเพิ่มเติม »

นกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่

นกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่ (Spectacled Spiderhunter) เป็นนกในวงศ์นกกินปลี พบในป่าดิบชื้น ป่าต่ำในประเทศบรูไน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย, และ เวียดนาม มันเป็นชนิดที่มีขนดใหญ่ที่สุดในสกุล.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกปากห่าง

thumb นกปากห่าง จัดอยู่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) จัดเป็นนกในวงศ์นี้ขนาดเล็ก แต่จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครก็คือปากที่ยามหุบจะเหลือช่องตรงกลาง ทำให้มันคาบเปลือกหอยโข่งและหอยเชอรี่ที่ทั้งกลมทั้งลื่นได้อย่างช่ำชอง เมื่อจับหอยได้แล้วมันจะคาบไปหาทำเลเหมาะ ๆ เพื่อใช้จะงอยปากทำหน้าที่เหมือนแหนบจิกเนื้อหอยออกมากิน thumb thumb thumb.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกปากห่าง · ดูเพิ่มเติม »

นกปากงอน

นกชายเลนปากงอน เป็นนกชายเลนย้ายถิ่น ขายาว ปากสีดำแอ่นงอนสะดุดตา นกชายเลนปากงอนยังมีขนสีขาวสลับดำ ทั่วตัว เป็นจุดเด่นอีกด้วย โดยบริเวณ หน้าผาก กระหม่อน ลงมาจนถึงใต้ตา ท้ายทอย และ หลังคอมีสีดำ รวมทั้งขนคลุมไหล่ และ ด้านข้างของหลังช่วงบนทั้งสองข้าง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกปากงอน · ดูเพิ่มเติม »

นกปีกลายสก็อต

'' Garrulus glandarius '' นกปีกลายสก็อต (Eurasian jay, Jay) เป็นนกขนาดกลางในวงศ์นกกา (Corvidae).

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกปีกลายสก็อต · ดูเพิ่มเติม »

นกนางนวลธรรมดา

นกนางนวลธรรมดา (Brown-headed gull) นกทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกนางนวล (Laridae) เป็นนกที่มีขนาดกลาง มีความยาวประมาณ 46-47 เซนติเมตร มีความแตกต่างจากนกนางนวลชนิดอื่น ๆ โดยที่มีลายแถบสีขาวขนาดใหญ่บริเวณโคนขนปลายปีก ตัวเต็มวัยจะมีลายทางสีขาวบริเวณปลายขนปีกซึ่งมีสีดำ เห็นได้จากทั้งด้านบนและด้านล่าง ปีกส่วนอื่น ๆ และช่วงไหล่สีเทาอ่อน ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุลำตัวปกติจะเป็นสีขาว มีลายแถบสีน้ำตาลเข้มบริเวณเหนือตา ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ หัว, คอหอย และต้นคอจะเป็นสีน้ำตาล ปากและนิ้วเป็นสีแดง ตัวไม่เต็มวัยจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวเต็มวัยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ แต่จะมีสีน้ำตาลบางส่วนที่ปีก และมีลายแถบสีดำใกล้ ๆ กับปลายหาง ไม่มีลายแถบสีขาวที่ปีก ปากสีแดงหรือสีส้มโดยบริเวณที่โคนจะเป็นสีเทา นิ้วสีส้มหรือสีแดง โดยขนในแต่ละช่วงวัยและแต่ละฤดูกาลจะแตกต่างกันออกไป เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียกลาง เช่น เติร์กเมนิสถาน ถึงมองโกเลีย มีการบินอพยพลงใต้ในช่วงต้นฤดูหนาว (ช่วงปลายปี) มาสู่ซีกโลกตอนใต้ เช่น ไทย, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย เพื่อหนีหนาวและขยายพันธุ์ ลูกนกมักจะเกิดในช่วงนี้ โดยวางไข่ครั้งละ 2 ฟอง ใช้เวลาฟักนานประมาณ 24 วัน ลูกนกใช้เวลา 3 เดือน จึงจะบินได้เอง (ราวเดือนพฤษภาคม) จึงจะอพยพกลับถิ่นฐานเดิม โดยสถานที่ขึ้นชื่ออย่างในประเทศไทย ที่เป็นแหล่งอพยพของนกนางนวลธรรมดา คือ บางปู ในจังหวัดสมุทรปราการ จะมีปริมาณนกไม่ต่ำกว่า 5,000 ตัว ในแต่ละปี สถานะในประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกนางนวลธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่

นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ (Greater crested tern) เป็นนกทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์นกนางนวลแกลบ (Sternidae) จัดเป็นนกนางนวลแกลบที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัวพอ ๆ กับนกนางนวลทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวลู่ลมตามประสานกนางนวลแกลบ แต่ก็มีขนาดใหญ่กว่านกนางแกลบด้วยกันอย่างเห็นได้ชัดเจน มีจะงอยปากแหลมสีเหลืองที่ใช้ในการหาอาหาร ปลายปีกแหลมยาว และลักษณะเด่นอันที่มาของชื่อสามัญ คือ มีขนกระจุกบริเวณท้ายทอยเหมือนหงอน ซึ่งนอกฤดูผสมพันธุ์จะมีลายดำเปรอะเป็นขีด ๆ ตั้งแต่รอบตา แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์หงอนจะมีสีเข้ม เหมือนใส่หมวกสีดำ แลดูสะดุดตามากยิ่งขึ้น มีถิ่นกระจายพันธุ์กว้างไกล พบได้ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนใต้ของแอฟริกา เรื่อยมาตามริมชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และรอบทวีปออสเตรเลีย รวมถึงหมู่เกาะในแถบนั้น เป็นนกที่หากินด้วยการพุ่งตัวลงไปในทะเลจับปลากินเป็นอาหาร สามารถลงไปได้ลึกถึง 1 เมตร และบินได้ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 10 กิโลเมตร ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่หนาแน่ตามชายฝั่งและเกาะ โดยจะวางไข่ครั้งละ 2 ฟองบนหลุมที่ขุดขึ้นบนดิน โดยในฝูงจะมีการป้องกันตัวจากนักล่าและปกป้องซึ่งกันและกัน ในประเทศไทย พบได้ตามอ่าวตะบูนและแหลมผักเบี้ย ในจังหวัดเพชรบุรี จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกนางนวลแกลบเล็ก

นกนางนวลแกลบเล็ก (Little tern) เป็นนกทะเลขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์นกนางนวลแกลบ (Sternidae) สีขนโดยทั่วไปเป็นสีขาว ช่วงฤดูผสมพันธุ์ปากสีเหลืองตอนปลายสีดำ ขนปลายปีกเส้นนอกๆสีดำ หน้าผากสีขาว มีแถบคาดตาสีดำ กระหม่อมและท้ายทอยสีขาว หางเว้าลึก ขาและนิ้วสีเหลือง ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์กระหม่อมส่วนใหญ่เป็นสีขาว ท้ายทอยและแถบคาดตาสีดำไม่ค่อยเข้ม ปากสีดำ ขาและนิ้วสีแดงแกมเทาพบตามชายทะเล และแหล่งน้ำจืด หากินโดยการบินเหนือน้ำ ตาจ้องหาเหยื่อในน้ำ เมื่อพบเหยื่อจะบินโฉบจับโดยใช้ปากลากเรี่ยไปกับผิวน้ำ บางครั้งใช้วิธีพุ่งตัวลงไปในน้ำใช้ปากจับเหยื่อ โดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กรวมถึงแมลงด้วย มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 22-24 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตามชายฝั่งของเขตร้อน ตั้งแต่ทวีปยุโรป, เอเชีย, แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน โดยทำรังตามพื้นดิน, พื้นทราย หรือแอ่งหิน ไม่มีวัสดุรองรัง บางครั้งอาจพบเปลือกหอยอยู่รอบ ๆ สันนิษฐานว่าทำไปเพื่ออำพรางรัง ไข่มีสีเหลืองซีดหรือสีเนื้อ มีลายจุดหรือลายขีดสีเทา คล้ายไข่นกกระทา แต่ละรังมีไข่ 2-3 ฟอง มากที่สุดได้ถึง 4 ฟอง ระยะฟัก 13-14 วัน โดยนกทั้งคู่จะช่วยกันกก และในช่วงจับคู่ นกตัวผู้มีพฤติกรรมคาบเหยื่อมาฝากนกตัวเมีย เพื่อดึงดูดใจให้เลือกเป็นคู่ด้วย ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกนางนวลแกลบเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

นกแก้วโม่ง

แก้วโม่ง (Alexandrine parakeet, Alexandrine parrot) เป็นนกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก-กลาง โดยมีชื่อสามัญตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ อเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรมาซิโดเนีย เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วชนิดนี้กลับไปยังทวีปยุโรป นกแก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไล่ลงไปยังอินเดีย, อินโดจีน เช่น พม่า หรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแก้วโม่ง · ดูเพิ่มเติม »

นกแว่นสีน้ำตาล

นกแว่นสีน้ำตาล (Malayan Peacock-Pheasant หรือ Crested Peacock-Pheasant) เป็นไก่ฟ้าขนาดกลางในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา เป็นญาติใกล้ชิดกลับนกแว่นบอร์เนียว (P. schleiermacheri) ซึ่งแต่เดิมถือเป็นชนิดเดียวกัน ก่อนจะแยกออกจากกันในภายหลังMcGowan (1994), BLI (2008).

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแว่นสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกแว่นสีเทา

นกแว่นสีเทา (Grey Peacock-Pheasant หรือ Burmese Peacock-Pheasant) เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทาพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นนกประจำชาติของประเทศพม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแว่นสีเทา · ดูเพิ่มเติม »

นกแสก

นกแสก หรือ นกแฝก หรือ นกเค้าหน้าลิง (Barn owl, Common barn owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งในวงศ์นกแสก (Tytonidae) วงศ์ย่อย Tytoninae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tyto alba จัดเป็น 1 ชนิดในจำนวน 19 ชนิดของนกในอันดับนกเค้าแมวที่พบได้ในประเทศไทย และนับเป็นนกแสกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 1 ชนิดนั้นคือ นกแสกแดง).

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแสก · ดูเพิ่มเติม »

นกแสกแดง

นกแสกแดง (Oriental bay owl) เป็นนกล่าเหยื่ออยู่ในวงศ์นกแสก (Tytonidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายนกแสกธรรมดา (Tyto alba) แต่มีขนาดที่เล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 28-29 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ มีลายจุดสีน้ำตาลเหลืองหรือสีเนื้อ ด้านล่างลำตัวและใบหน้าสีเนื้อแกมชมพู มีลายแต้มสีออกม่วง ตาสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีน้ำตาลยื่นยาวเล็กน้อยออกไปทางด้านข้างของรูหูเป็นพุ่ม ในขณะที่บินจะเห็นปีกค่อนข้างสั้น จัดเป็นนกที่บินได้เก่งมาก และอาจส่งเสียงร้องไปในขณะที่บิน โดยที่นกแสกชนิดนี้จะพบได้เฉพาะในป่าดิบและป่าเบญจพรรณ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในตอนกลางคืน ตอนกลางวันส่วนใหญ่จะหลบซ่อนตามโพรงของต้นไม้ จึงทำให้พบเห็นตัวค่อนข้างยาก มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยทำรังตามโพรงต้นไม้ ซึ่งเป็นโพรงที่เกิดตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่น ๆ ทำทิ้งเอาไว้ รังมักจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-5 เมตร หรือมากกว่า นกมักจะใช้โพรงเดิมเป็นประจำทุก ๆ ปี นอกเหนือจากโพรงเหล่านั้นถูกนกหรือสัตว์อื่น ๆใช้ และนกแสกแดงไม่สามารถที่จะขับไล่ออกไปได้ ปรกติไม่มีวัสดุรองรังอีก รูปร่างของไข่เป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ขนาดโดยเฉลี่ย 30.0 x 34.5 มิลลิเมตร เปลือกไข่มีสีขาว ผิวเรียบ ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง บางรังก็มี 5 ฟอง ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากที่ออกไข่ฟองแรก ทั้ง 2 เพศช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน การพัฒนาของลูกอ่อนไม่แตกต่างไปจากนกแสกธรรมดามากนัก นกแสกแดงจัดเป็นนกแสก 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย โดยพบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกพบได้น้อยและพบได้เฉพาะพิ้นที่บางส่วนเท่านั้น ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น ศรีลังกา จนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ ทำให้แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อยด้วยกัน เช่น P. b. badius พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, P. b. saturatus พบในรัฐสิกขิม, P. b. ripleyi พบในอินเดียตอนใต้, P. b. assimilis พบในศรีลังกา เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแสกแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกแอ่นพง

นกแอ่นพง (Ashy woodswallow) มีรูปร่างคล้ายคลึงกับนกนางแอ่น แต่ชอบอยู่ตามป่า เป็นนกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 18 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแอ่นพง · ดูเพิ่มเติม »

นกแขกเต้า

นกแขกเต้า เป็นนกแก้วชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้เท่านั้นที่ไม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแขกเต้า · ดูเพิ่มเติม »

นกแขวก

นกแขวก (Black-crowned night heron, Night heron) เป็นนกชนิดหนึ่ง จำพวกนกยาง จัดเป็นนกยางหรือนกกระยางชนิดที่ปรับตัวให้หากินในเวลากลางคืนได้ ซึ่งต่างจากนกยางทั่วไปที่หากินในเวลากลางวัน โดยได้ชื่อมาจากเสียงร้องที่ดัง "แคว้ก" ที่มักจะร้องดังขณะบินผ่านยามค่ำคืน ในขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ Nycticorax หมายถึง "นกเรเวนกลางคืน" มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า νυκτός (nuktos) หมายถึง "กลางคืน" และ κόραξ (korax) หมายถึง "นกเรเวน" อันหมายถึง พฤติกรรมที่หากินในเวลากลางคืนรวมถึงการส่งเสียงร้องที่เหมือนนกกาหรือนกเรเวน เป็นนกที่มีแหล่งอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น บึงที่มีไม้ยืนต้นขึ้นรก ๆ หรือแม้แต่ตามสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ มักเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือตอไม้นิ่ง ๆ เพื่อรอจับเหยื่อ ซึ่งได้แก่ สัตว์น้ำรวมถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเล็ก ๆ แม้จะหากินในเวลากลางคืนเป็นหลักและไม่ค่อยบินไกลในเวลากลางวัน แต่พฤติกรรมการหากินในเวลากลางวันก็เป็นเรื่องปกติ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภูมิภาคของโลก พบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย นกแขวกทางตอนใต้ของทวีปอเมริกามีกระหม่อมและหลังสีเทาอ่อนกว่าที่อื่น นอกจากนี้บริเวณส่วนหัวและอกก็เป็นสีน้ำตาลอมเทา ประชากรทางตอนเหนือจะอพยพบินสู่ทางใต้ในช่วงฤดูหนาว ทำรังวางไข่บนต้นไม้ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นอาณานิคมปะปนกับนกน้ำประเภทอื่น ๆ โดยเฉลี่ยในตัวเมียจะมีเส้นขนยาวคล้ายเปียที่ท้ายทอยสั้นกว่าตัวผู้ และมีขนาดตัวเล็กกว่า ม่านตาจะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดงก่ำเมื่ออายุได้ 3 ปีขึ้นไป ในวัยที่ยังไม่โตเต็มที่มีลำตัวเต็มไปด้วยลวดลายสีน้ำตาลกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม มีแต้มสีขาวตามขนปีก ซึ่งลวดลายเหล่านี้จะหายไปและแทนที่ด้วยกระหม่อมและหลังสีเทาเข้ม ตัดกับลำตัวสีเทาอ่อนจนเกือบขาวเมื่อมีอายุมากขึ้น.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแขวก · ดูเพิ่มเติม »

นกแคสโซแวรี

รงในหงอนของนกแคสโซแวรี นกแคสโซแวรี (Cassowary) เป็นนกบินไม่ได้ขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง อาศัยอยู่ในแถบซีกโลกใต้ (โอเชียเนีย) จัดอยู่ในสกุล Casuarius ในวงศ์ Casuariidae.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแคสโซแวรี · ดูเพิ่มเติม »

นกแต้วแร้วท้องดำ

นกแต้วแร้วท้องดำ หรือ นกแต้วแล้วท้องดำ (Gurney's Pitta) เป็นนกที่พบในพม่าและไทย ปัจจุบันพบได้ที่ เขานอจู้จี้ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และบางส่วนในประเทศพม่า นกแต้วแร้วท้องดำถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1875 ในเขตตะนาวศรี ประเทศพม่า โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเป็นเพื่อเป็นเกียรติแก่ จอห์น เฮนรี เกอนีย์ นายธนาคารและนักปักษีวิทยาสมัครเล่นชาวอังกฤษ มีรายงานการพบครั้งสุดท้าย ในประเทศพม่าปี..

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแต้วแร้วท้องดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกแต้วแร้วป่าโกงกาง

นกแต้วแร้วป่าโกงกาง หรือ นกแต้วแร้วป่าชายเลน (Mangrove pitta) เป็นนกแต้วแร้วชนิดหนึ่ง เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของนกแต้วแร้วธรรมดา (P. moluccensis) แต่ปัจจุบันถูกจัดให้เป็นชนิดต่างหากแยกออกมา ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์มาจากภาษาละตินโดยคำว่า "megas" แปลว่า "ใหญ่" และ "rhynch" หรือ "rhunkhos" แปลว่า "ปาก" รวมความหมายคือ "นกที่มีปากใหญ่".

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแต้วแร้วป่าโกงกาง · ดูเพิ่มเติม »

นกแซวสวรรค์

นกแซวสวรรค์ (Asian Paradise Flycatcher) เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทย พบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ เป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ซึ่งจะพบได้ในภาคตะวันตกและภาคใต้ ชอบอาศัยในป่าดงดิบ ป่าทุติยภูมิ ป่าเบญจพรรณ อาจพบตามป่าชายเลนหรือในสวนได้ในช่วงอพยพ พบได้ในพื้นราบจนถึงระดับความสูง 1,500 เมตร.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแซวสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

นกแซงแซวสีเทา

นกแซงแซวสีเทา (Ashy Drongo) เป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพ พบได้ในแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นของภาคเหนือ ภาคตะวันตก ส่วนนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์พบที่ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแซงแซวสีเทา · ดูเพิ่มเติม »

นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่

นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (Greater Racket-tailed Drongo) เป็นนกประจำถิ่นของประเทศในแถบเอเชีย เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา ประเทศบังคลาเทศ ประเทศจีนในตอนใต้ ประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะอันดามัน ประเทศสิงคโปร์ หมู่เกาะเล็กๆใกล้เกาะบอร์เนียว ในประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นที่สามารถพบได้ทั่วไป เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในเขตเมือง เช่น สวนผลไม้ในจังหวัดนนทบุรี พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซากด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก

นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก (Lesser Racket-tailed Drongo) เป็นนกที่พบได้ในป่าดงดิบ ที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 800 เมตร ขึ้นไป ของเขตเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศบังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา อินเดีย ลาว มาเลเซีย เนปาล เวียดนาม พม่า ในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซากด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแซงแซวหางบ่วงเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

นกแซงแซวหางปลา

นกแซงแซวหางปลา (Black Drongo, ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicrurus macrocercus) เป็นนกจับคอนขนาดเล็กในวงศ์นกแซงแซว พบทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน ไปทางตะวันออกถึงอินเดียและศรีลังกา ทางใต้ไปถึงจีน และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้บ่อยมากทั่วประเทศ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแซงแซวหางปลา · ดูเพิ่มเติม »

นกแซงแซวหงอนขน

นกแซงแซวหงอนขน (Hair-crested Drongo) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกแซงแซว มีการกระจายพันธุ์จากประเทศอินเดียและประเทศภูฏานพาดผ่านอินโดจีน ไปถึงประเทศจีน, ประเทศอินโดนีเซีย, และประเทศบรูไน นกมีลักษณะปากเล็กเรียวแหลมและโค้ง หน้าผากมีขนเป็นเส้นยาว ปลายหางบานออกและโค้งขึ้น ลำตัวสีดำ หัวสีดำเหลือบน้ำเงิน.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแซงแซวหงอนขน · ดูเพิ่มเติม »

นกแซงแซวเล็กเหลือบ

นกแซงแซวเล็กเหลือบ (Bronzed Drongo) เป็นนกขนาดเล็กในวงศ์นกแซงแซว เป็นนกประจำถิ่นที่พบในป่าของอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จับแมลงกินเป็นอาหาร นกแซงแซวเล็กเหลือบคล้ายกับนกแซงแซวชนิดอื่นๆ ในภูมิภาค แต่ต่างตรงมีขนาดเล็กกว่า ลำตัวด้านบนและอกด้านบนสีดำเหลือบฟ้าอมเขียว ปลายหางแฉกลึก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกแซงแซวเล็กเหลือบ · ดูเพิ่มเติม »

นกโพระดกคอสีฟ้า

นกโพระดกคอสีฟ้า (Blue-throated barbet) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกโพระดก (Megalaimidae) มีความยาวจากจะงอยปากจรดหางประมาณ 22-23 เซนติเมตร ขนปกคลุมลำตัวส่วนใหญ่สีเขียว บริเวณคาง ใต้คอ คอด้านข้าง และบริเวณหน้ามีสีฟ้า หน้าผากและตอนท้ายกระหม่อมเป็นสีแดง กลางกระหม่อมมีสีแถบสีดำพาดกลางและยาวลงมาทางด้านหน้าของหน้า ใต้คอตอนล่างที่เป็นสีฟ้ามีแต้มสีแดง นกทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายคลึงกัน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย โดยไม่พบในประเทศไทยเพียงแค่ชนิดเดียว ซึ่งแตกต่างกันไปตามแถบสีดำส่วนหัว (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ แต่ในสถานที่ ๆ อาหารอุดมสมบูรณ์อาจอยู่เป็นฝูงใหญ่ เป็นนกที่กินผลไม้และลูกไม้ป่า เช่น ไทร, มะเดื่อฝรั่ง เป็นอาหารหลัก ในยามที่อาหารขาดแคลนก็อาจกินหนอนหรือแมลง เป็นอาหารได้ เป็นนกที่ร้องเก่ง เสียงดัง โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์จะร้องบ่อยทั้งในตอนเช้าและตอนเย็น เวลาร้องจะหมุนคอไปรอบทิศทาง ทำให้จับทิศทางของเสียงได้ยาก ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกโพระดกคอสีฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

นกไต่ไม้สีสวย

นกไต่ไม้สีสวย (Beautiful nuthatch) เป็นนกไต่ไม้ขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงามกว่านกไต่ไม้ชนิดอื่น ๆ มีลวดลายสีขาวและฟ้าบนพื้นสีน้ำเงินเข้มที่ด้านบนของลำตัว และยังมีแถบสีฟ้ากว้างที่ปีกคาดยาวจรดหัวไหล่ ลำตัวด้านล่างมีสีส้มอมน้ำตาล ใบหน้าเป็นสีขาว มีแถบคาดตาจางๆและลายเปรอะสีเทาบริเวณแก้ม ปากและขาสีเทา ปลายปากดำ ถิ่นอยู่อาศัยในป่าดิบ ความสูง 950-2,290 เมตร การแพร่กระจายเป็นนกประจำถิ่น หายากและพบเฉพาะบางพื้นที่ นกไต่ไม้สีสวยชอบหากินเป็นคู่หรือเป็นฝูงขนาดเล็กในระดับใกล้เรือนยอดตามต้นไม้ใหญ่ที่มีพืชกาฝากและพืชชั้นต่ำปกคลุม บางครั้งหากินในเบิร์ดเวฟร่วมกับนกชนิดอื่น พบตามป่าบนภูเขาบางแห่งที่ความสูงมากกว่า 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลในประเทศภูฏาน อินเดีย บังคลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ลาว และเวียดนาม แต่ในฤดูหนาวอาจพบลงมาหากินที่ระดับความสูงต่ำลงมาจนถึงราว ๆ 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล สถานภาพระดับโลกจัดว่าเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) อันประกอบไปด้วยชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ ในประเทศไทยถือเป็นชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในประเทศไทยพบที่ ดอยผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ และ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ในบริเวณดอยดงหญ้าหว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกไต่ไม้สีสวย · ดูเพิ่มเติม »

นกเรเวน

นกเรเวนธรรมดา (''Corvus corax'') นกเรเวน (Raven) เป็นชื่อสามัญของนกจำพวกหนึ่ง ในวงศ์นกกา (Corvidae) สกุลกา (Corvus) มีขนาดตัวใหญ่กว่านกกา โดยมีความยาวลำตัว 69 เซนติเมตร (22-27 นิ้ว) หนัก 0.69-1.63 กิโลกรัม (1.5-3.6 ปอนด์) มีอายุขัยระหว่าง 10-15 ปี เคยพบนกเรเวนที่มีอายุมากที่สุดที่ได้การบันทึกเอาไว้ มีอายุประมาณ 40 ปี โดยมากแล้วนกเรเวนจะใช้เรียกนกในสกุล Corvus ที่มีขนาดใหญ่และพบทางซีกโลกทางเหนือและซีกโลกตะวันตก นกเรเวนพบได้ในซีกโลกเหนือ ในเขตอบอุ่น ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือยกเว้นส่วนตะวันออกเฉียงใต้และประเทศที่อยู่ต่ำกว่าเม็กซิโกลงไป เกาะกรีนแลนด์ตอนใต้ ทวีปยุโรปบางส่วนยกเว้นตอนเหนือของเยอรมนี เอเชียตะวันตกเฉียงใต้บริเวณคาบสมุทรอะนาโตเลียและตอนเหนือของคาบสมุทรอาหรับ เอเชียเหนือยกเว้นดินแดนแถบคาบสมุทรไทเมอร์ เอเชียกลาง บางส่วนของเอเชียใต้ ภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และตอนเหนือของทวีปแอฟริกา นกเรเวนเป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการหาแหล่งอาหารได้ด้วยตนเอง นกเรเวนเป็นสัตว์กินได้ทั้งพิชและสัตว์ และเป็นสัตว์กินซาก อาหารส่วนใหญ่ของมันได้แก่ เมล็ดพืช ผลไม้โดยเฉพาะตระกูลเบอร์รี่ แมลง อาหารบูดเน่าและซากสัตว์ นกเรเวนใช้ชีวิตร่วมกับสังคมมนุษย์เป็นเวลาหลายพันปี แต่เป็นทางลบก็คือชอบทำลายข้าวของและรบกวนมนุษย์ มีการศึกษาแล้วพบว่านกเรเวนและอีกาจัดได้ว่าเป็นนกที่มีความเฉลียวฉลาดมากจนกล่าวได้ว่าเป็นนกที่มีความเฉลียวฉลาดที่สุดในโลก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเรเวน · ดูเพิ่มเติม »

นกเหยี่ยวกินหอยทาก

นกเหยี่ยวกินหอยทาก (Snail Kite) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก หมวดหมู่:เหยี่ยว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเหยี่ยวกินหอยทาก · ดูเพิ่มเติม »

นกเอี้ยงสาลิกา

นกเอี้ยงสาลิกา หรือ นกสาลิการาชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเอี้ยงสาลิกา · ดูเพิ่มเติม »

นกเอี้ยงหัวสีทอง

วามหมายอื่น ดูที่: สาลิกาลิ้นทอง นกเอี้ยงหัวสีทอง หรือ นกสาลิกาลิ้นทอง (Golden-crested myna) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ampeliceps มีลักษณะทั่วไป คือ ตัวสีดำ มีแถบสีเหลืองที่ขอบปีกค่อนไปทางปลายปีก หนังรอบดวงตาสีเหลือง ตัวผู้ที่โคนปากด้านบนกระหม่อมไปจรดท้ายทอยสีเหลือง คอสีเหลืองไปจรดใต้ตา ตัวเมียโคนปากด้านบนจรอกระหม่อมสีเหลือง คอมีแถบสีเหลืองเล็ก ๆ มีความยาวประมาณ 22-24 เซนติเมตร เป็นนกที่พบได้ในป่าดิบ, ป่าโปร่ง และพบได้จนถึงพื้นที่ ๆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800 เมตร พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชียจนถึงบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี ในมหาสมุทรอินเดีย ในประเทศไทยจะพบได้ที่ภาคเหนือตอนบน และผืนป่าภาคตะวันตก เช่น ทุ่งใหญ่นเรศวร ส่วนภูมิภาคอื่น พบได้บางพื้นที่ จัดเป็นนกที่ไม่พบบ่อยมากนัก มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเอี้ยงหัวสีทอง · ดูเพิ่มเติม »

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง (White-eyed River-Martin, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pseudochelidon sirintarae หรือ Eurochelidon sirintarae) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร · ดูเพิ่มเติม »

นกเขาชวา

นกเขาชวา หรือ นกเขาเล็ก หรือ นกเขาแขก (- เป็นภาษาละติน แปลว่า "รอยไถ" หรือ "ลาย" มีความหมายว่า "นกเขาที่มีลาย") เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbridae) นกเขาชวามีรูปร่างเหมือนกับนกชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกันนี้ทั่วไป มีขนปกคลุมตัวสีน้ำตาลหัวสีเทา หรือมีสีที่หัวเป็นสีน้ำเงิน ด้านข้างคอมีแถบสีดำสลับกับแถบขาวเป็นลายตามขวาง ด้านหลังสีเข้มมีขีดขวาง คล้ายกับลายของม้าลายในต่างประเทศ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ (zebra dove) ด้านท้องสีจาง ใต้ลำตัวเป็นสีขาวมีขีดขวางเล็ก ขอบท้ายของขนหางสีขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ไม่เกิน 8-9 นิ้ว นกเขาชวามีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะ ชายทุ่ง และบริเวณที่ทำการเพาะปลูก ชอบอยู่กันเป็นคู่หรือลำพังเพียงตัวเดียว แต่ไม่ชอบหากินอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักร้องบ่อย ๆ ในเวลาเช้าและเวลาเย็น มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จนถึงมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ นกตัวผู้จะมีลักษณะทั่วไปใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย หัวใหญ่ค่อนข้างยาว มีสีขาวที่หน้าผากสีขาวมากยาวถึงกลางหัว ขณะที่ตัวเมียหัวกลมเล็กและสีขาวที่ส่วนหัวจะไม่ยาวเท่า และมีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย เช่น หางที่ตัวเมียจะยกแอ่นกว่าตัวผู้ และเกล็ดที่ข้อเท้าจะละเอียดเล็กกว่าตัวผู้ นกเขาชวาเป็นนกที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ ซ้ำยังมีเสียงร้องที่ไพเราะ จึงเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับฟังเสียง จนกลายเป็นวัฒนธรรมในคาบสมุทรมลายู โดยเชื่อว่ามีมาจากเกาะชวา มีการจัดแข่งขันประกวด การเพาะขยายพันธุ์ ก่อตั้งเป็นชมรมหรือสมาคมต่าง ๆ ซึ่งในตัวที่มีเสียงร้องไพเราะอาจมีราคาสูงถึงหลักล้านบาท ตลอดจนแตกแขนงกลายเป็นอาชีพอื่น ๆ ต่อด้วย เช่น ประดิษฐ์กรงนกขาย นกเขาชว ในปัจจุบันกลายเป็นนกประจำถิ่นในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จากการที่ถูกนำเข้ามาในฐานสัตว์เลี้ยง และไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองแต่ประการใ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเขาชวา · ดูเพิ่มเติม »

นกเขาพม่า

นกเขาพม่า (Oriental turtle dove) เป็นกที่อยู่ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีลักษณะคล้ายกับนกเขาใหญ่ (S. chinensis) ต่างกันตรงที่มีแถบสีดำข้างคอแบ่งเป็นสองแถบไม่ต่อเนื่องกัน และในแถบเป็นลายขีดขาวไม่เป็นจุดอย่างนกเขาใหญ่ และมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่ามากและหางสั้นกว่า (31-33 เซนติเมตร) อีกทั้งสีตามลำตัวก็คล้ำกว่า อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง, ป่าดงดิบแล้ง, ป่าที่เพิ่งฟื้นฟู, ป่าละเมาะ หรือพื้นที่เกษตรกรรม และพบได้กระทั่งที่สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 2,000 เมตร บางครั้งพบเป็นฝูงใหญ่มาก มักหากินตามพื้นดิน อาหารคือ เมล็ดพืชและธัญพืช รวมทั้งเยื่อไผ่ มีฤดูผสมพันธุ์เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ทำรังตามต้นไม้หรือกิ่งไผ่ ด้วยกิ่งไม้ขัดกันอย่างง่าย ๆ สูงจากพื้นดินประมาณ 1.5-3.6 เมตร วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง เปลือกไข่มีสีขาว เป็นนกที่ตัวใหญ่ แต่ปราดเปรียว และบินได้เร็วและแข็งแรง แม้จะอยู่เป็นฝูง แต่เวลาตกใจจะบินแตกไปเป็นคู่ ๆ พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในซีกโลกทางเหนือและเอเชียตะวันออก ในประเทศไทย ถือเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้น้อย มีบางส่วนเป็นนกอพยพช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย และถือเป็นนกประจำเมืองฮิระกะวะ และเมืองทะมะ ในประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเขาพม่า · ดูเพิ่มเติม »

นกเขาใหญ่

นกเขาใหญ่ หรือ นกเขาหลวง เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีถิ่นอาศัยในเอเชียทางใต้จากประเทศปากีสถาน อินเดีย และ ศรีลังกา ทางตะวันออกถึงตอนใต้ของประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเขาใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกเขียวก้านตองท้องสีส้ม

นกเขียวก้านตองท้องสีส้ม (Orange-Bellied Leafbird) เป็นนกที่มีถิ่าอาศัยในแถบตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย และภาคใต้ของประเทศจีนจรดคาบสมุทรมลายู มันมีท้องสีส้มสดใส หลังสีเขียว หางและปีกสีฟ้า แต้มสีดำและฟ้าที่คอและอก มีปากโค้งยาว กินแมลงและน้ำต้อยเป็นอาหาร เป็นนกประจำถิ่น.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเขียวก้านตองท้องสีส้ม · ดูเพิ่มเติม »

นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า

แถบสีฟ้าที่ปีกมักเห็นได้ชัดจนเป็นเอกลักษณ์ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าเจอร์ดอน เพศผู้ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าพายัพ เพศผู้ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าโคชินไชน่า เพศผู้ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าชวา เพศผู้ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า (Blue-winged Leafbird) เป็นชนิดพันธุ์หนึ่งของสกุลนกเขียวก้านตองลักษณะพิเศษคือมีแถบสีฟ้าที่ขอบปีกด้านนอก ยาวตั้งแต่หัวปีกถึงปลายปีก โดยความเข้มอ่อนขึ้นอยู่กับอายุและชนิดพันธุ์ย่อยของนก ชนิดพันธุ์นี้พบครั้งแรกในเขตโคชินไชน่า (ปัจจุบันคือเวียดนามใต้) จึงนำชื่อสถานที่พบมาตั้งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ว่า cochinchinensis.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

นกเขียวก้านตองใหญ่

นกเขียวก้านตองใหญ่ (Greater green leafbird) เป็นนกในวงศ์นกเขียวก้านตอง มันต่างจากนกเขียวก้านตองเล็ก (Chloropsis cyanopogon) ตรงมันมีจะงอยปากแข็งแรง คอสีเหลือง และแหวนรอบตาในเพศเมียหญิง และไม่มีแต้มสีเหลืองใต้สีดำตรงคอเหมือนในเพศผู้ของนกเขียวก้านตองเล็ก พบในประเทศบรูไน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า, สิงคโปร์, และ ไทย ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของมันคือป่าในเขตร้อนชื้นหรือกึ่งเขตร้อนและป่าชายเลนในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ปกติจะเป็นป่าเก่าแต่ก็สามารถพบในป่าชั้นสองด้วยเช่นกัน สามารถพบเห็นได้ที่ความสูงระดับหลังคาป่า กระโดดจากกิ่งไม้หนึ่งไปสู่กิ่งไม้หนึ่ง หรือบินจากต้นหนึ่งไปสู่ต้นหนึ่ง ชอบกินลูกไทร แต่บางครั้งก็กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร นกเขียวก้านตองใหญ่ส่งเสียงร้องเป็นทำนองเพลง ดัง "วี่-วิด".

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเขียวก้านตองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกเขียวก้านตองเล็ก

นกเขียวก้านตองเล็ก (Lesser Green Leafbird) เป็นนกในวงศ์นกเขียวก้านตอง พบในประเทศบรูไน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า, สิงคโปร์, และ ไทย ปัจจุบันกำลังถูกคุกคามจากการสูญเสียถิ่นที่อยู.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเขียวก้านตองเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

นกเขนน้อยไซบีเรีย

นกเขนน้อยไซบีเรีย (Siberian blue robin) เป็นนกเกาะคอนชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกจับแมลงและนกเขน (Muscicapidae) ตัวผู้และตัวเมียมีสีต่างกันอย่างเห็นชัดเจน นกตัวผู้จะมีลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงิน ท้องสีขาวโพลน มีแถบสีดำพาดผ่านตาลากยาวแบ่งสีน้ำเงินและสีขาวออกจากกัน ขณะที่นกตัวเมียหรือนกที่ยังไม่โตเต็มวัยจะเป็นสีน้ำตาลตุ่น มีลายเกล็ดจาง ๆ บริเวณคอและอก ในนกตัวผู้ที่ยังโตไม่เต็มวัยต่างกับนกตัวเมียตรงที่มีหางออกสีฟ้า มีพฤติกรรมทำรังวางไข่ทางตอนเหนือของเอเชียตะวันออก ในช่วงฤดูหนาวฝูงส่วนใหญ่จะอพยพลงใต้ไปหากินอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นกบางตัวพลัดหลงไปไกลถึงทวีปยุโรป บางครั้งอาจอพยพรวมกันเป็นกลุ่มหลายสิบตัว และอพยพในเวลากลางคืนด้วย สำหรับประเทศไทยนกเขนน้อยไซบีเรียจัดเป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ที่พบบ่อยทั่วทุกภาค แต่ในบางพื้นที่มีสถานะเป็นเพียงนกอพยพผ่านที่พบได้เฉพาะช่วงต้นและปลายฤดูหนาวเท่านั้น เป็นนกอพยพที่บินเป็นระยะทางไกลมาก ปกติจะพบเดินหาแมลงขนาดเล็กกินตามพื้นในป่าดิบ มีพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มักจะกระดกหางถี่ ๆ ตลอดเวลา แม้ตามปกติจะพบในป่า แต่ช่วงต้นและปลายฤดูกาลอพยพก็มักพบตามสวนสาธารณะได้บ่อยครั้ง และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง นอกจากนี้แล้วนกเขนน้อยไซบีเรีย ยังเป็นหนึ่งในนกที่เป็น ID Station ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเขนน้อยไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

นกเดินดงสีดำ

นกเดินดงสีดำ หรือ นกแบล็กเบิร์ด (Blackbird) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกเดินดง (Turdidae) พบได้ทั่วไปในทวีปยุโรปและเอเชีย มักอาศัยอยู่ในพื้นที่ ๆ ที่เป็นป่าโปร่ง, พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่เปิดโล่งต่าง ๆ ที่ราบถึงความสูง 950 เมตร นกตัวผู้มีขนาดใหญ่ ปากและหนังรอบตาสีเหลือง ขนลำตัวดำทั้งหมด แข้งและตีนเหลือง นกตัวเมียมีปากสีเหลืองหรือเหลืองแกมน้ำตาล ปลายอาจมีสีดำ ขนลำตัวน้ำตาลดำ คอน้ำตาลอ่อนมีลายขีดจาง ๆ มีความยาวลำตัว 23.5 - 29 เซนติเมตร อายุเฉลี่ยของนกเดินดงสีดำคือ 2.4 ปีและนกเดินดงสีดำที่อายุยืนที่สุดที่เคยมีการค้นพบคือ 20 ปี สำหรับในประเทศไทย ถือเป็นนกที่หายากมาก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเดินดงสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกเด้าลม

นกเด้าลม จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นนกขนาดเล็กที่มีหางยาว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเด้าลม · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้า

นกเค้า หรือ นกเค้าแมว หรือ นกฮูก (Owl) เป็นนกที่อยู่ในอันดับ Strigiformes มีรูปใบหน้าคล้ายแมว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ จับสัตว์เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร เช่น หนู, งู หรือสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเล็ก ๆ ในขณะที่บางชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจจับปลา หรือปูกินได้ด้วย จัดเป็นนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่งเหมือนเหยี่ยว, อินทรี และแร้ง ที่หากินในเวลากลางวัน ส่วนนกเค้าแมวนั้นมักหากินในเวลากลางคืน ทำให้มีเล็บโค้งแหลมและมีปากงุ้มแหลมสำหรับจับสัตว์กิน เหตุที่หากินในเวลากลางคืน เป็นเพราะนกเค้าแมวเป็นนกที่ไม่อาจสู้กับนกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน อย่าง เหยี่ยวหรืออินทรีได้ อีกทั้งบางครั้งยังถูกนกที่มีขนาดเล็กกว่าอย่าง นกเอี้ยงหรือนกกิ้งโครงไล่จิกตีอีกต่างหาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน จึงมีดวงตาโตกว่าเหยี่ยวและอินทรีมาก ดวงตาอยู่ด้านหน้าของใบหน้าเหมือนมนุษย์และสัตว์ตระกูลแมว หัวหมุนได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก หูของนกเค้าแมวมีความไวมากเป็นพิเศษสำหรับการฟังเสียงในเวลากลางคืนและหาเหยื่อ มีขนปีกอ่อนนุ่ม บินได้เงียบเพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัว และมีประสาทสายตาที่มองเห็นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่าโดยปกติแล้วตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียเป็นตัวที่กกไข่ ตัวผู้ไม่กกไข่ มักพบก้อนที่สำรอกคายออกทิ้งลงมาที่พื้นเบื้องล่างในรังหรือบริเวณใกล้เคียงกับรัง เพราะนกเค้าแมวมักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว กระดูกและขนที่ไม่ย่อยก็สำรอกออกมาเป็นก้อนทิ้งทีหลัง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเค้า · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้ากู่

นกเค้ากู่ หรือ นกฮูก (Collared scops owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง เป็นนกประจำถิ่นในเอเชียใต้จากตอนเหนือของประเทศปากีสถาน, ตอนเหนือของประเทศอินเดีย และเทือกเขาหิมาลัยไปทางตะวันออกถึงประเทศจีนตอนใต้ และบางตัวเป็นนกอพยพในฤดูหนาวที่พบในประเทศอินเดีย, ประเทศศรีลังกา และประเทศมาเลเซีย นกเค้ากู่เป็นนกเค้าแมวขนาดเล็ก (23–25 เซนติเมตร) มีปอยขนตั้งชันขึ้นบนหัวสองข้างหรือที่เรียกว่าหู ส่วนบนเป็นสีเทาหรือน้ำตาลขึ้นอยู่กับว่าเป็นชนิดย่อยชนิดไหน มีจุดสีน้ำตาลอมเหลืองจางๆ ส่วนล่างสีน้ำตาลอมเหลืองมีลายขีดสีเข้ม วงหน้าสีออกขาวหรือสีเนื้อ มีสร้อยคอสีเนื้อหรือน้ำตาลอมเหลือง ตากลมโตสีส้มหรือสัน้ำตาล ปากสั้น สันปากโค้งลง ทั้งสองเพศคล้ายกัน.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเค้ากู่ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าจุด

นกเค้าจุด (อังกฤษ: Spotted owlet; ชื่อวิทยาศาสตร์: Athene brama) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีลักษณะส่วนหัวกลมไม่มีขนชี้ขึ้นไปเหมือนหูอย่างนกเค้ากู่ (Otus lempiji) มีจุดสังเกตอยู่ที่ขนคิ้วสีขาวที่เห็นได้เด่นชัด หัวค่อนข้างแบน บริเวณหัวจนถึงท้ายทอยสีน้ำตาลมีจุดเล็ก ๆ สีขาวประทั่วไป บริเวณตัวด้านบนซึ่งเป็นสีน้ำตาลก็มีจุด แต่จะมีขนาดใหญ่และกระจายมากกว่าบริเวณหัว บางทีใหญ่และเรียงตัวกันดูคล้ายบั้งมากกว่าจุด โดยเฉพาะด้านหลังคอที่จะเรียงตัวต่อกันคล้ายปลอกคอ ด้านล่างของลำตัวสีขาว แต่มีลายจุดสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน โตเต็มที่มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 20 เซนติเมตร จัดว่าเป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ออกหากินในเวลากลางคืน โดยเริ่มออกจากรังตั้งแต่เวลาโพล้เพล้ เป็นนกที่บินได้เงียบมาก อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงปีกแข็ง, หนูขนาดเล็กหรือนกขนาดเล็กชนิดอื่นที่นอนหลับบนต้นไม้ เมื่อเห็นเหยื่อจะพุ่งตัวกางกรงเล็บอันแข็งแรงและแหลมคมออกจับเหยื่อ ถ้าเหยื่อตัวเล็กจะกินเลยทันที ถ้าตัวใหญ่ก็นำกลับมาที่รังก่อนแล้วใช้กรงเล็บจับเหยื่อขึ้นมาฉีกกินจนหมด นกเค้าจุดที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านอาจมีพฤติกรรมไล่จับแมลงที่มาเล่นไฟที่หลอดนีออน มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวาง โดยพบได้ตั้งแต่อิหร่าน, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อนุทวีปอินเดีย สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ที่พม่า, ไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 400 เมตร จนถึงทะเลทราย ทั้งยังปรับตัวให้อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ได้อีกด้วย โดยสามารถพบได้ตามที่ ๆ มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นหรือตามสวนสาธารณะ เป็นนกที่ปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ได้ดีมากชนิดหนึ่งและไม่ค่อยกลัวมนุษย์ มีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง) ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน โดยรังวางไข่ของนกเค้าจุด จะใช้โพรงธรรมชาติหรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ หรือรอยแตกรอยแยกในตึก, เจดีย์, ซอกหลังคาตามอาคารเป็นรัง อาจหาหญ้าหรือขนนกมารองพื้นรัง แต่ส่วนมากจะวางไข่กับพื้นเปล่าเลย วางไข่ครั้งละ3-5ฟอง ไข่มีลักษณะกลม ขนาด 37x27 มิลลิเมตร เปลือกไข่สีขาวเป็นมันเล็กน้อย นกทั้งสองเพศช่วยกันกกไข่ เช่นเดียวกับนกเค้าแมวชนิดอื่น ๆ นกเค้าจุดจะกกไข่ทันทีตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ลูกนกในรังจึงมีขนาดแตกต่างกันมาก เพราะออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ใช้เวลาเลี้ยงลูกนกประมาณ 35-40วัน ลูกนกจะสามารถออกมานอกรังได้ ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกอ่อน โดยจะออกหากินในเวลากลางวัน ถ้าเหยื่อเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะส่งให้ลูกทั้งตัว ถ้าขนาดใหญ่ก็จะฉีกเป็นชิ้นเล็กให้ ลูกนกที่โตพอสมควรแล้วจะยังคงอยู่กับพ่อแม่อีกนาน บางครั้งอาจพบนกเค้าจุด 2-3ตัว อยู่บนต้นไม้เดียวกัน หรือเกาะกิ่งเบียดใกล้ชิดกันเสมอ ๆ โดยในตอนกลางวันจะเกาะกิ่งหลับอยู่บนต้นไม้ใบหนา หรือถ้ามีโพรงก็จะมุดเข้าไปหลบในโพรงเพื่อความปลอดภัย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็เป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเค้าจุด · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าป่าสีน้ำตาล

นกเค้าป่าสีน้ำตาล (Brown wood-owl) เป็นนกเค้าแมวประจำถิ่นในเอเชียใต้จากประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกา ไปทางตะวันออกถึงทางตะวันตกของประเทศอินโดนีเซียและตอนใต้ของประเทศจีน นกเค้าป่าสีน้ำตาลเป็นนกขนาดกลาง (45–57 เซนติเมตร) ตาน้ำตาลเข้ม ปากเทาดำ วงหน้าสีน้ำตาลแกมส้มเข้ม หัวและลำตัวด้านบนเทาดำแซมน้ำตาลเข้ม มีจุดขาวและขาวแกมฟ้าที่หัวและลำตัวด้านบน ลำตัวด้านล่างขาวมีลายขวางสีน้ำตาลเข้มแกมดำ แข้งและตีนมีขนคลุม ร้องดัง "ฮู-ฮู-ฮู-ฮู-ฮู-ฮู-ฮู" ทุ้มสั่นระรัว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเค้าป่าสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าป่าหลังจุด

นกเค้าป่าหลังจุด (Spotted wood-owl) เป็นนกเค้าแมวในสกุล Strix มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างแปลก เนื่องจากพบในที่ไม่ต่อเนื่องในหลายพื้นที่รอบเกาะบอร์เนียว แต่กลับไม่พบบนเกาะ มีสามชนิดย่อยคือ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเค้าป่าหลังจุด · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าแมวหูสั้น

นกเค้าแมวหูสั้น (Short-eared owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งในสกุล Asio กระจายพันธุ์เกือบทั่วโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและประเทศออสเตรเลีย มักพบในพื้นที่เปิดโล่งในชนบทและทุ่งหญ้า ชื่อ flammeus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "เปลวไฟ หรือสีของไฟ".

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเค้าแมวหูสั้น · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าแคระ

นกเค้าแคระ (Collared owlet, Collared pygmy owl) เป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Strigidae สามารถพบได้ในอัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ, ภูฏาน, บรูไน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, ไต้หวัน, ไทย และเวียดนาม ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ คือ ป่าหนาว และจัดได้ว่าเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดเล็กที่สุดที่พบในทวีปเอเชีย ที่ขนาด 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) น้ำหนัก 60 กรัม (2.1 ออนซ์) โดยจะพบบ่อยที่สุดในบริเวณป่าดิบชื้น ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 3,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยจะพบบ่อยขึ้นที่ระดับสูงเกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป บริเวณภาคใต้และคาบสมุทรมลายู จะพบได้บ่อยมากในระดับสูง 395 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) นกเค้าแคระจัดเป็นนกเค้าแมวที่บินได้ไม่เงียบเหมือนนกเค้าแมวหรือนกแสกส่วนมาก และยังเป็นนกที่หากินในเวลากลางวัน มีรูปร่างอ้วนกลม มีขนหนานุ่มปกคลุมอย่างหนาแน่น มีสีและลวดลายที่กลมกลืนไปกับต้นไม้ บริเวณคอก็มีขนอยู่อย่างหนาแน่นทำให้ดูเหมือนหัวอยู่ติดกับตัวโดยไม่มีคอ และมีหัวที่กลมโต หน้าแบน ตากลมโตสีเหลืองอยู่ด้านหน้าของใบหน้า ปากสั้นและปากบนโค้งงุ้มแหลมลง มีขนเส้นเล็ก ๆ คล้ายหนวดแมวอยู่รอบ ๆ โคนปากทำหน้าที่เป็นเครื่องนำทาง มีปีกกว้างแต่ปลายปีกมน ขนหางยาวกว่านกเค้าแม้วชนิดอื่น ๆ มีขาสั้นแต่เข็งแรงสีเหลืองนิ้วเท้าค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง มีนิ้วตีน 4 นิ้วเวลาเกาะกิ่งจะอยู่ด้านหน้า 2 ด้านหลัง 2 นิ้ว เล็บสีดำ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน จับอาหารจำพวกสัตว์ต่าง ๆ ขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า, หนู, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก, จักจั่น, ด้วง และตั๊กแตน รวมถึงนกด้วยกันชนิดอื่นที่มีขนาดเล็ก เมื่อจะล่านก นกเค้าแคระมักจะซ่อนตัวตามพุ่มไม้ ไม่เช่นนั้นแล้วจะถูกฝูงนกเล็ก ๆ เหล่านี้ไล่จิกตี แต่นกเค้าแคระก็สามารถจับเหยื่อที่มีขนาดตัวพอ ๆ กันหรือโตกว่าเล็กน้อยได้ด้วยกรงเล็บที่แข็งแรง หากจะหากินในเวลากลางคืน มักจะเป็นในคืนวันเพ็ญ ทำรังวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม โดยใช้โพรงไม้ธรรมชาติ หรือรังของนกอื่นที่ทำรังในโพรงไม้เหมือนกัน โดยโพรงอาจเป็นรังเก่า หรืออาจมาจากการแย่งชิงมาก็ได้ ในบางครั้งอาจเป็นการฆ่ากินและปล้นชิงจากนกตัวอื่นเลยก็ได้ โพรงรังที่เลือกมักอยู่สูงจากพื้นราว 2-10 เมตร วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ลูกนกจะออกจากไข่ในช่วงต้นฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์พอดีซึ่งจะเป็นผลดีต่อการรอดชีวิตของลูกนก เนื่องจากแม่นกจะกกไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรกทันที ในขณะเดียวกันก็จะออกไข่ใบอื่น ๆ ไปด้วย ดังนั้นในแต่ละรังลูกนกเค้าแคระจะมีอายุต่างกันพอสมควร ถ้าอาหารมีไม่พอเพียง ตัวที่ออกมาทีหลังตัวเล็กกว่าก็จะแย่งอาหารตัวอื่น ๆ ไม่ทันและตายไปในที่สุด จัดเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเค้าแคระ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา

นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา (Barred-eagle owl, Malay eagle owl) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว หรือนกเค้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับนกทึดทือมลายู (Ketupa ketupu) ต่างกันที่ตรงที่มีขนคลุมขาท่อนล่าง จะงอยปากสีน้ำตาลอ่อน ตาสีน้ำตาล ขนหูใหญ่และยาวมากสีน้ำตาล อกสีน้ำตาล ท้องสีขาว ขนด้านบนมีลายขวางเล็ก ๆ สีเหลืองซีด ส่วนขนด้านล่างมีลายขวางเล็ก ๆ สีน้ำตาลปนพื้นขาว มีลายบั้งกระจายตรงขนปีก ในขณะที่ยังเป็นลูกนกหรือยังไม่โตเต็มที่ ขนตามลำตัวจะเป็นสีขาวหรือสีอ่อน พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบในแหลมมลายู โดยพบได้จนถึงหมู่เกาะซุนดา ในบริเวณที่เป็นที่ราบขึ้นไปถึงระดับสูง 600 เมตร ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในภาคใต้ตั้งแต่แนวเทือกเขาตะนาวศรีเท่านั้น ในวันที่ 3 กรกฎาคม..

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าโมง

นกเค้าโมง หรือ นกเค้าแมว (Asian barred owlet) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว มีลายสีน้ำตาลทั่วทั้งตัว ด้านใต้ของลำตัวเป็นสีขาวและมีลายสีขาวในแนวตั้งลากยาวขึ้นมาที่บริเวณอกอย่างไม่เป็นระเบียบ มีม่านตาสีเหลือง ในวัยเล็กจะมีลวดลายบนหัวเป็นจุดคล้ายกับนกเค้าแคระ (G. brodiei) ซึ่งเป็นนกในสกุลเดียวกันและเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่เล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย นกเค้าโมง มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก มีชนิดย่อยทั้งสิ้น 8 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งป่าทึบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,980 เมตร จนถึงสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ บางครั้งอาจจะพบได้ในเวลากลางวันได้อีกด้วย จึงนับเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นตัวได้บ่อยรองมาจากนกแสก (Tyto alba) สำหรับในประเทศไทย พบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ตอนล่างและภาคกลางตอนล่าง มีพฤติกรรมร้องได้หลายเสียง หลายทำนอง ในเวลากลางคืนจะร้องเป็นครั้งคราวคล้ายกับจะบอกโมงยาม จึงได้ชื่อว่า "นกเค้าโมง" เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 แต่จากความที่เป็นนกขนาดเล็ก จึงทำให้นกเค้าโมงเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกับนกเค้าแคร.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเค้าโมง · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าเหยี่ยว

นกเค้าเหยี่ยว (Brown Hawk-owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับนกเหยี่ยวหรืออินทรี มีลำตัวขนาดใหญ่ ปีกกว้างและกลมมน ตากลมโตสีเหลืองทอง ระหว่างตามีแถบคาดสีเหลือง หัวและลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านล่างสีกีกาหรือสีขาว มีลายจุดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเหลือง มีขนาดใหญ่เต็มที่สูงได้ถึง 30 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ หมู่เกาะอันดามันในทะเลอันดามัน จนถึงภาคใต้ของจีนและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ, ภาคตะวันตก, ภาคใต้, บางส่วนของภาคตะวันออก และจัดเป็นนกอพยพในภาคใต้ โดยพบในป่าโปร่ง, ป่าชายเลน จนถึงป่าที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร มีทั้งหมด 12 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในประเทศไทย พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเค้าเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือกกรามช้าง

นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู๋กี้ (Wreathed hornbill, Bar-pouched wreathed hornbill) เป็นนกในวงศ์นกเงือกพบในป่าจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศภูฏาน, ทางตะวันออกและใต้จนถึงกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะซุนดา ยกเว้น เกาะซูลาเวซี นกเงือกกรามช้างยาว 75–100 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเงือกกรามช้าง · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือกกรามช้างปากเรียบ

นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (plain-pouched hornbill) นกเงือกชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้ในประเทศไทย มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับนกเงือกกรามช้าง หรือนกกู๋กี๋ (R. undulatus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ว่านกเงือกกรามช้างปากเรียบนั้น ที่ถุงใต้คอตัวเต็มวัยจะไม่มีขีดสีดำและจะงอยปากไม่มีรอยหยัก และมีขนาดลำตัวเฉลี่ยเล็กกว่า เป็นนกที่พบได้ในประเทศไทยบ่อยกว่านกเงือกกรามช้าง โดยสถานที่ ๆ พบได้เป็นจำนวนมาก คือ ป่าบาลา-ฮาลา ในจังหวัดยะลา ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่แนวเทือกเขาตะนาวศรีของพม่า ไปจนถึงคาบสมุทรมลายู.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเงือกกรามช้างปากเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือกสีน้ำตาล

นกเงือกสีน้ำตาล (Tickell's brown hornbill, Rusty-cheeked hornbill;; ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ แซมมวล ทิคเคล นักปักษีวิทยาชาวอังกฤษ) เป็นนกเงือกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศอินเดีย, พม่า และภาคตะวันตกของไทย โดยในบางครั้งจะถูกจัดเป็นชนิดย่อยของนกเงือกสีน้ำตาลคอขาว (A. austeni) มีโหนกเล็ก จะงอยปากสีเหลือง มีหนังรอบตาสีฟ้า ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ด้นล่างแกมส้ม ปลายปีกขาว ปลายขนหาง ยกเว้นคู่บนสุดสีขาว ตัวผู้มีคอสีน้ำตาลแกมส้ม ตัวเมียมีปากเทาดำ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60–65 เซนติเมตร จัดเป็นนกเงือกขนาดกลาง มีเสียงร้อง แอ๊-แอ๊ว หรือ แว้ว-แว้ว แหลมดังไม่เป็นจังหวะ ในประเทศไทยมีถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เป็นป่าจำพวกป่าดิบ, ป่าโปร่ง และป่าเชิงเขาถึงความสูง 1,500 เมตร พบได้ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และผืนป่าด้านตะวันตกเขตจังหวัดตาก (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก).

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเงือกสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว

นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว (Austen's brown hornbill, Brown hornbill) เป็นนกเงือกที่พบในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและภาคใต้ของจีนลงไปทางใต้จนถึงตอนใต้ของเวียดนามและภาคเหนือของไทย บ่อยครั้งที่ถูกจัดเป็นชนิดย่อยของนกเงือกสีน้ำตาล เป็นนกที่อาศัยอยู่ในป่าลึกที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร ไม่ได้อยู่ใกล้ชายป่า นกเงือกสีน้ำตาลคอขาวจัดเป็นนกเงือกขนาดกลาง สีน้ำตาล มีสีขาวที่ปลายหาง ตัวผู้มีแก้มและลำคอสีขาว ปากสีครีมอ่อน ส่วนล่างสีน้ำตาลแดง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ หัวและลำคอสีน้ำตาลหรือดำ ปากสีน้ำตาลหรือดำ กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร อาศัยอยู่กันเป็นฝูง ฝูงละ 2-15 ตัว Database entry includes justification for why this species is near threatened นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว ถือเป็นนกเงือกที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงสามารถมีลูกในโพรงรังครั้งหนึ่งได้หลายตัว นอกจากนี้แล้วลูกนกที่เกิดจากพ่อแม่นกในปีก่อน ๆ จะมีพฤติกรรมกลับมาช่วยพ่อแม่นกเลี้ยงลูกอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเงือกสีน้ำตาลคอขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือกหัวหงอก

นกเงือกหัวหงอก (White-crowned hornbill) เป็นนกเงือกชนิดหนึ่ง และเป็นชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Berenicornis.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเงือกหัวหงอก · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือกหัวแรด

นกเงือกหัวแรด (Rhinoceros hornbill) เป็นนกเงือกชนิดหนึ่งที่มีขนาดค่อนข้างใหญ.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเงือกหัวแรด · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือกดำ

นกเงือกดำ (Black hornbill) เป็นนกเงือกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง พบในประเทศบรูไน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย, อินเดี.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเงือกดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือกคอแดง

นกเงือกคอแดง (Rufous-necked hornbill, Rufous-cheeked hornbill) นกเงือกชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีขนาดลำตัวยาว 116 เซนติเมตร ทั้งสองเพศมีลักษณะแตกต่างกัน ตัวผู้มีส่วนหัว คอและหน้าอกส่วนบนสีสนิมเหล็ก หน้าอกส่วนล่างสีน้ำตาลแดง อันเป็นที่มาของชื่อเรียก หลังส่วนล่างและปีกสีดำเหลือบเขียว ขนปีกบินตอนปลายสีขาว หางยาวสีดำขาว ม่านตาสีแดง แผ่นหนังรอบตาสีฟ้าอมเขียวสดใส ถุงใต้คอสีแดงอมส้ม จะงอยปากสีขาวออกเหลืองเรื่อ ๆ ด้านข้างมีสันนูนขึ้นเป็นแนวเฉียงจำนวน 8 อัน ส่วนนกตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า ขนบนลำตัวสีดำโดยตลอด นกเงือกคอแดง ได้ชื่อว่าเป็นนกเงือกชนิดที่มีความสวยงามที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะมีสีที่แตกต่างไปจากนกเงือกชนิดอื่นที่มีสีแค่สองสี คือ สีขาวกับสีดำ นกตัวผู้ขณะป้อนอาหารให้ลูกนกและนกตัวเมียในโพรง นกเงือกคอแดง เป็นนกที่จะพบกระจายพันธุ์เฉพาะป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 800-2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล พบตั้งแต่เนปาล, จีนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้, พม่า, ภาคเหนือของลาวและเวียดนามตอนเหนือ ในประเทศไทยพบได้ในเขตผืนป่าตะวันตก เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง, อุทยานแห่งชาติทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพฤติกรรมหากินผลไม้บนระดับเรือนยอดของป่า บางครั้งพบกระโดดเก็บผลไม้ที่ร่วงหล่นบนพื้นดิน เสียงร้องคล้ายเสียงเห่าของสุนัข ในประเทศไทยพบทำรังวางไข่ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคม นกเงือกทำรังบนโพรงไม้สูงราว 10-30 เมตร จากพื้นดิน นกตัวเมียจะปิดโพรงจากภายในโดยใช้มูล เศษผลไม้และอาหารที่นกสำรอกออกมาผสมกันดินโคลนที่นกตัวผู้นำมา วางไข่สีขาวครั้งละ 2 ฟอง ระยะฟักไข่ประมาณ 30 วัน นอกฤดูผสมพันธุ์นกเงือกคอแดงจะอยู่กันเป็นคู่ ๆ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ 4-5 ตัว นกเงือกคอแดง จัดเป็นนกเงือกอีกชนิดหนึ่งที่ตกอยู่ในสภาวะถูกคุกคามใกล้สูญพันธุ์ เพราะต้องการป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมากในการอยู่อาศัยและแพร่ขยายพันธุ์ ในประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเช่นเดียวกับนกเงือกชนิดอื่น.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเงือกคอแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือกปากย่น

นกเงือกปากย่น (Wrinkled hornbill, Sunda wrinkled hornbill) นกจำพวกนกเงือกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีขนาดลำตัวยาว 81 เซนติเมตร ตัวมีขนาดไล่เลี่ยกับนกแก๊ก แต่มีขนาดเล็กกว่า นกตัวผู้ลำตัวสีดำโดยตลอด เว้นบริเวณหัวและคอมีสีขาว ขนหางตอนปลายสองในสามส่วนสีขาว ขนบนกระหม่อมและหงอนสีดำ ถุงใต้คอสีขาว จะงอยปากสีเหลือง ตอนโคนสีแดงเรื่อ ๆ สันบนจะงอยปากด้านบนสีแดง นกตัวเมียสีขนสีดำตลอดตัว ถุงใต้คอสีน้ำเงินอมเขียวหรือสีน้ำเงิน หนังรอบตาสีน้ำเงิน ขณะบิน พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย เฉพาะป่าดิบชื้นตอนล่างสุดของประเทศ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบาลาฮาลา, ตลอดจนแหลมมลายู ไปจนถึงอินโดนีเซีย โดยจะอาศัยอยู่เฉพาะในป่าที่ราบต่ำติดกับชายฝั่งทะเล ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่พบนกเงือกชนิดนี้เป็นตอนบนสุด มีพฤติกรรมหากินเหนือเรือนยอดไม้ มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ เคยมีการพบอยู่เป็นฝูงจำนวนมากถึง 20 ตัว วงจรชีวิตของนกเงือกปากย่นเป็นที่รู้จักกันน้อยมาก มักใช้ต้นตะเคียน หรือต้นชมพู่ดง เป็นสถานที่ทำรัง ระยะเวลาการทำรังอยู่ที่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม มีเสียงร้องแตกต่างกันเป็น 3 แบบ คือ เสียงร้องตามปกติ, เสียงร้องในขณะบิน และเสียงร้องเวลาตกใจ เป็นนกเงือกที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่งในประเทศไทย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเช่นเดียวกับเงือกชนิดอื่น.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเงือกปากย่น · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือกปากดำ

นกเงือกปากดำ หรือ กาเขา birdsofthailand (Bushy-crested hornbill) เป็นนกเงือกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง พบในประเทศบรูไน, ประเทศอินโดนีเซีย,ประเทศมาเลเซีย, ประเทศพม่า, และประเทศไท.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเงือกปากดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกเปล้า

นกเปล้า หรือ นกเขาเปล้า หรือ นกเป้า (Green pigeons) เป็นสกุลของนกสกุลหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Treron มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับนกในสกุล Columba หรือนกพิราบ แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่า แต่มีสีลำตัวสีเขียวเห็นได้ชัด แต่ละชนิดแตกต่างกันตรงสีที่หน้าอกและไหล่ซึ่งอาจเป็นสีม่วงหรือน้ำตาล อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินเมล็ดพืชและธัญพืชเป็นอาหาร โดยปกติจะไม่อาศัยอยู่ในเมืองเหมือนนกพิราบ แต่จะอาศัยอยู่ในป่าหรือชายทะเล พบกระจายพันธุ์ระหว่างทวีปเอเชีย และแอฟริกา มีความแตกต่างระหว่างเพศสูงโดยจำแนกจากสีขน พบทั้งหมด 23 ชนิด พบในประเทศไทย 12 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเปล้า · ดูเพิ่มเติม »

นกเปล้าใหญ่

นกเปล้าใหญ่ หรือ นกพิราบเขียวใหญ่ (Large green pigeon) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายนกในวงศ์นี้ส่วนใหญ่ จัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ ปากหนาใหญ่สีขาวแกมเขียว หน้าสีเทา หนังรอบตาสีเหลือง ขนลำตัวเขียวแกมเทา มีแถบสีเหลืองที่ปีก ขนปีกสีดำ แข้งและตีนสีเหลือง นกเพศผู้ที่อกมีแถบสีส้มแกมน้ำตาลอ่อน ก้นและขนคลุมใต้โคนหางสีน้ำตาลเข้ม ในขณะที่นกเพศเมีย ที่อกมีแถบเหลือง ก้นและขนคลุมใต้โคนหางสีน้ำตาลอ่อน มีน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 400 กรัม จัดเป็นนกที่กระจายพันธุ์ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ปัจจุบันเป็นนกที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต เนื่องจากสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยจะพบได้ในป่าดิบและป่าพรุ อาทิ ป่าพรุโต๊ะแดง และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเปล้าใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกเป็ดผี

นกเป็ดผี (grebe) เป็นนกน้ำในอันดับ Podicipediformes ที่มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ปกติพบตามแหล่งน้ำจืด บางครั้งในฤดูอพยพและฤดูหนาวอาจพบในทะเล ในอันดับนี้มีเพียงวงศ์เดียวคือ Podicipedidae ซึ่งประกอบไปด้วย 22 สปีชีส์ใน 6 สกุลที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน นกเป็ดผี มีลักษณะคล้ายเป็ด แต่มิใช่เป็ด หากแต่มีกลับความใกล้ชิดกับนกฟลามิงโก (Phoenicopteridae) เสียมากกว่า ทั้งที่มิได้มีสรีระรูปร่างใกล้เคียงกันเลย เหตุที่ได้ชื่อว่า "นกเป็ดผี" มาจากพฤติกรรมที่มักผลุบหายลงไปใต้น้ำอย่างรวดเร็ว ก่อนจะไปโผล่อีกจุดหนึ่งซึ่งมักอยู่ห่างออกไปราวกับผีหลอก นกเป็ดผีเป็นนกที่วิวัฒนาการมาเพื่อการว่ายน้ำและดำน้ำโดยเฉพาะ มีความเชี่ยวชาญในการจับปลามาก ตลอดทั้งชีวิตแทบไม่เคยขึ้นจากน้ำเลย ยกเว้นยามเมื่อต้องบินและวางไข่เท่านั้น.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเป็ดผี · ดูเพิ่มเติม »

นกเป็ดผีใหญ่

นกเป็ดผีใหญ่ (Great Crested Grebe) เป็นนกน้ำในวงศ์นกเป็ดผี.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเป็ดผีใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกเป็ดผีเล็ก

นกเป็ดผีเล็ก (Little Grebe หรือ Dabchick) เป็นนกน้ำในวงศ์นกเป็ดผี มีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง.

ใหม่!!: รายชื่อนกและนกเป็ดผีเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »