เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นกยูงไทย

ดัชนี นกยูงไทย

นกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว (Green peafowl; มาจากภาษาละติน Pavo, นกยูง; muticus, เชื่อมต่อ หรือ ตัดทอน) เป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่พบในป่าเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นญาติใกล้ชิดกับนกยูงอินเดียหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านกยูงสีฟ้า ที่ส่วนมากพบในอนุทวีปอินเดี.

สารบัญ

  1. 29 ความสัมพันธ์: ชนิดย่อยพฤศจิกายนกุมภาพันธ์ภาษาละตินมาเลเซียตะวันตกระดับน้ำทะเลรัฐอัสสัมรัฐเกอดะฮ์วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทาสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับไก่อินโดจีนอนุทวีปอินเดียคาโรลัส ลินเนียสตุลาคมประเทศกัมพูชาประเทศลาวประเทศอินเดียประเทศไทยประเทศเวียดนามนกยูงนกยูงอินเดียเกาะชวาเมษายนเมตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

  2. นกที่พบในประเทศพม่า
  3. สกุลนกยูง

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ดู นกยูงไทยและชนิดย่อย

พฤศจิกายน

กายน เป็นเดือนที่ 11 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนพฤศจิกายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพิจิก และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีธนู แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนพฤศจิกายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวตาชั่ง ผ่านกลุ่มดาวแมงป่องระหว่างวันที่ 24-29 พฤศจิกายน โดยประมาณ และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงูในปลายเดือน เดือนพฤศจิกายนในภาษาอังกฤษ November มาจากภาษาละติน novem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 9 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม.

ดู นกยูงไทยและพฤศจิกายน

กุมภาพันธ์

กุมภาพันธ์ เป็นเดือนที่ 2 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นเดือนที่มีจำนวนวัน 28 หรือ 29 วัน โดยปกติจะมี 28 วัน ยกเว้นปีอธิกสุรทินที่มี 29 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกุมภาพันธ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมีน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำในปลายเดือน.

ดู นกยูงไทยและกุมภาพันธ์

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ดู นกยูงไทยและภาษาละติน

มาเลเซียตะวันตก

มาเลเซียตะวันตก (Semenanjung Malaysia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูโดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยทางเหนือ และติดต่อกับสิงคโปร์ทางใต้โดยมีช่องแคบยะโฮร์กั้นอยู่ ทางตะวันตกจรดกับช่องแคบมะละกาและทางตะวันออกจรดกับทะเลจีนใต้ มาเลเซียตะวันตกยังเป็นดินแดนส่วนแรกที่รวมตัวกันเป็นสหภาพมาลายา ก่อนที่มาเลเซียตะวันออกและสิงคโปร์จะเข้าร่วมและกลายเป็นสหพันธรัฐมาลายาในเวลาต่อมา (และภายหลังสิงคโปร์ก็แยกดินแดนออกไปตั้งรัฐของตนเอง).

ดู นกยูงไทยและมาเลเซียตะวันตก

ระดับน้ำทะเล

กราฟระดับน้ำทะเลที่วัดได้จากบริเวณที่มีความเสถียรทางธรณีวิทยา แสดงถึงระดับน้ำทะเลซึ่งสูงขึ้นถึง 24 เซนติเมตรในรอบ 120 ปี (2 มิลลิเมตร/ปี) ระดับทะเลปานกลาง* (Mean Sea-Level) หรือ ร.ท.ก.

ดู นกยูงไทยและระดับน้ำทะเล

รัฐอัสสัม

รัฐอัสสัม (อัสสัม: অসম Ôxôm) เดิมภาษาไทยเรียก อาสาม เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย โดยมีเมืองหลวงคือ ทิสปุระ อยู่ในเขตเมืองคูวาหตี อยู่ทางตอนใต้ของหิมาลัยตะวันออก รัฐอัสสัมมีลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำพารัก และตำบลครรพี กับเขาจาชาร์เหนือ ปัจจุบันมีพื้นที่ 78,438 ตารางกิโลเมตร เกือบเท่ากับพื้นที่ของไอร์แลนด์ หรือออสเตรีย รัฐอัสสัมรายล้อมด้วยรัฐพี่น้องทั้งเจ็ด อันได้แก่ อรุณาจัลประเทศ, นาคาแลนด์, มณีปุระ, มิโซรัม, ตริปุระ และ เมฆาลัย รัฐเหล่านี้เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ ของอินเดีย โดยผ่านพื้นที่แคบ ในเบงกอลตะวันตก ที่เรียกว่า "คอไก่" อัสสัมยังมีชายแดนร่วมประเทศภูฏาน และบังกลาเทศ มีวัฒนธรรม ประชากร และภูมิอากาศในลักษณะเดียวกันกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นส่วนสำคัญของนโยบายมองตะวันออก ของอินเดีย ชาอัสสัม รัฐอัสสัมมีชื่อเสียงด้านแหล่งใบชา ปิโตรเลียม ไหมอัสสัม และความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ยังประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์แรดนอเดียว จากสภาพสูญพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติกาจิรังคา (Kaziranga National Park), เสือในอุทยานแห่งชาติมนัส (Manas National Park) และจัดหาแหล่งอาศัยสุดท้ายของสัตว์ป่าสำหรับช้างเอเชียด้วย อัสสัมเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในฐานะแห่งท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า และทั้งกาจิรังคาและมนัส ก็เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อัสสัมยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะป่าต้นสาละ และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนลดลงมาก อัสสัมเป็นพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก จึงมีพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำพรหมบุตร และลำน้ำสาขา กับทะเลสาบรูปเกือกม้า ที่ให้ความชุ่มชื้นและความสวยงามแก่ภูมิประเท.

ดู นกยูงไทยและรัฐอัสสัม

รัฐเกอดะฮ์

กอดะฮ์ (Kedah, قدح) หรือ ไทรบุรี มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอามัน ("ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ") เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมขนาดเนื้อที่ 9,425 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบใช้สำหรับปลูกข้าว รวมทั้งเกาะลังกาวี พรมแดนของรัฐเกอดะฮ์ทางทิศเหนือติดต่อกับรัฐปะลิส และติดต่อกับจังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลาของประเทศไทย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐเประก์ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับรัฐปีนัง เมืองหลวงของรัฐคือ อาโลร์เซอตาร์ และเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อานักบูกิต เมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ ซูไงเปอตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกูวะห์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี.

ดู นกยูงไทยและรัฐเกอดะฮ์

วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา

วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (วงศ์: Phasianidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก อันดับไก่ (Galliformes) โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Phasianidae ลักษณะโดยรวมของนกในวงศ์นี้ มีจะงอยปากสั้นหนาแข็งแรง ปลายแหลม มีหงอน มีเหนียง 2 เหนียง ขนหางมี 8-32 เส้น ขาแข็งแรง แต่ละข้างมีตีนนิ้วยื่นไปข้างหน้า 3 นิ้ว ข้างหลัง 1 นิ้ว นิ้วที่ยื่นไปข้างหลังอยู่สูงกว่านิ้วอื่นเล็กน้อย ตัวผู้มีเดือยข้างละเดือย กินเมล็ดพืชและสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ โดยเฉพาะแมลงและหนอนบนพื้นดินเป็นอาหาร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง ปีกมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับนกในวงศ์อื่น จึงทำให้ไม่สามารถบินได้ แต่จะบินได้ในระยะใกล้ ๆ เช่น บินขึ้นต้นไม้ มักอาศัยอยู่ในป่าไผ่และป่าละเมาะ มีความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจน ตัวผู้จะมีขนาดและสีสันรวมทั้งลักษณะสวยงามกว่าตัวเมีย ไข่มีสีเปลือกทั้งขาว, สีนวล และลายประแต้มสีต่าง ๆ มีขนาดแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ยาวเป็นเมตร จนเพียง 20 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์ในหลายทวีปทั่วโลก ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และแอฟริกา แบ่งออกได้เป็น 4 วงศ์ย่อย (ดูได้ในตาราง) พบราว 156 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งสิ้น 26 ชนิด อาทิ ไก่นวล (Rhizothera longirostris), นกคุ่มญี่ปุ่น (Coturnix japonica), ไก่จุก (Rollulus rouloul), ไก่ป่า (Gullus gullus) เป็นต้น นกในวงศ์นี้ มีความผูกพันกับมนุษย์มาอย่างช้านาน ด้วยการใช้เนื้อและไข่บริโภคเป็นอาหาร อาทิ ไก่ที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็มีต้นทางมาจากไก่ป่า หรือไข่นกกระทา ก็นำมาจากไข่ของนกคุ่มญี่ปุ่น หรือบางชนิดที่มีความสวยงามหรือโดดเด่น ก็ถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม เช่น ไก่ฟ้าสีทอง (Chrysolophus pictus), นกยูง (Pavo spp.) เป็นต้น.

ดู นกยูงไทยและวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู นกยูงไทยและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู นกยูงไทยและสัตว์มีแกนสันหลัง

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ดู นกยูงไทยและสัตว์ปีก

อันดับไก่

อันดับไก่ เป็นอันดับของสัตว์ปีกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galliformes สัตว์ปีกหรือนกในนี้มีขนาดลำตัวตั้งแต่เล็กมากจนถึงใหญ่มาก ตั้งแต่ 12 – 223 เซนติเมตร จะงอยปากสั้น ปลายปากทู่ จะงอยปากบนโค้งเล็กน้อย รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน ขาใหญ่ แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดแบบเกล็ดซ่อน นิ้วหลังอยู่ในระดับเดียวกับนิ้วหน้า เล็บทู่ ปากสั้น ปลายปากมนและเว้าเข้าข้างใน ขนปลายปากแข็งและโค้ง มี 10 เส้น และมีขนกลางปากเส้นที่ 5 ขนหางมี 8 – 32 เส้น ขนแต่ละเส้นมีแกนขนรอง ตัวเต็มวัยลำตัวมีขนอุยปกคลุมห่าง ๆ ต่อมน้ำมันเป็นพุ่มขน แต่บางชนิดก็ไม่เป็นพุ่มขน มีพฤติกรรมเป็นนกที่คุยเขี่ยหาอาหารตามพื้นดิน อาศัยตามต้นไม้ อาหารได้แก่ เมล็ดธัญพืช ผลไม้ เมล็ดพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ทำรังตามพื้นดินหรือกิ่งไม้ วางไข่คราวละ 1 – 20 ฟอง ไข่มีสีเนื้อหรือสีขาว อาจมีลายจุด ลูกอ่อนในระยะแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมเต็มลำตัว สามารถเดินตามพ่อแม่ไปหาอาหารได้ทันทีหลังจากขนแห้ง.

ดู นกยูงไทยและอันดับไก่

อินโดจีน

มุทรอินโดจีน เมื่อปี ค.ศ. 1886 '''อินโดจีน''': สีเขียวเข้ม: นับรวมเสมอ, สีเขียวอ่อน: นับรวมเป็นส่วนใหญ่, สีแดง: นับรวมเป็นบางครั้ง'''ภูมิภาคอินโดจีน''' (ชีววิทยา): สีเขียวเข้มและอ่อน อินโดจีน (Indochina) หรือ คาบสมุทรอินโดจีน (Indochinese Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน.

ดู นกยูงไทยและอินโดจีน

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ดู นกยูงไทยและอนุทวีปอินเดีย

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ.

ดู นกยูงไทยและคาโรลัส ลินเนียส

ตุลาคม

ตุลาคม เป็นเดือนที่ 10 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนตุลาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีตุล และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพิจิก แต่ในทางดาราศาสตร์ เดือนตุลาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวและไปอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งตอนต้นเดือนพฤศจิกายน เดือนตุลาคมในภาษาอังกฤษ October มาจากภาษาละติน octo เนื่องจากเป็นเดือนที่ 8 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนตุลาคมในปี พ.ศ.

ดู นกยูงไทยและตุลาคม

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ดู นกยูงไทยและประเทศกัมพูชา

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ดู นกยูงไทยและประเทศลาว

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ดู นกยูงไทยและประเทศอินเดีย

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู นกยูงไทยและประเทศไทย

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ดู นกยูงไทยและประเทศเวียดนาม

นกยูง

นกยูง (Peacock, Peafowl) เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์เดียวกันนี้ มีจุดเด่นคือ เพศผู้มีขนหางยาวที่มีสีสันสวยงาม ที่เมื่อแผ่ขยายออกเพื่ออวดเพศเมียจะมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ที่เรียกว่า "รำแพน" นกยูงใช้ชื่อสกุลว่า Pavo ชอบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสมตามริมลำธารในป่า มีพฤติกรรมมักร้องตอนเช้าหรือพลบค่ำ กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางเหนือของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออกผ่านพม่า, ตอนใต้ของประเทศจีน, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซียและชวา นกยูงแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ นกยูงไทยตัวผู้ขณะรำแพน.

ดู นกยูงไทยและนกยูง

นกยูงอินเดีย

นกยูงอินเดีย หรือ นกยูงสีน้ำเงิน (Indian peafowl, Blue peafowl) เป็นนกยูงชนิดหนึ่ง ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล, บังกลาเทศ, ภูฏาน และศรีลังกา มีขนาดเล็กกว่านกยูงไทย (P.

ดู นกยูงไทยและนกยูงอินเดีย

เกาะชวา

กาะชวา (อินโดนีเซีย: Pulau Jawa, ชวา: Pulo Jawa) เป็นชื่อเดิมของหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จาการ์ตา เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีประชากรมากกว่าทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา (รายชื่อเกาะตามจำนวนประชากร) มีเนื้อที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 127 ล้านคน และมีความหนาแน่นประชากร 864 คนต่อกม.² ซึ่งถ้าเกาะชวาเป็นประเทศแล้วจะมี ความหนาแน่นประชากรเป็นปันดับ 2 รองจากประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นนครรัฐที่มีขนาดเล็ก หมวดหมู่:เกาะในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรอินเดีย.

ดู นกยูงไทยและเกาะชวา

เมษายน

มษายน เป็นเดือนที่ 4 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน (เขียนย่อ เม.ย. ภาษาปากเรียก เมษา หรือเดือนเมษา) ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนเมษายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพฤษภ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนเมษายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปลาและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวแกะ ชื่อในภาษาอังกฤษ "April" มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน แอปปรีริส ("aprilis") และ แอปเปรีเร ("aperire") หมายถึง "กางออก" ซึ่งอาจหมายถึงการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ หรืออาจมาจาก Apru ชื่อเทพีแห่งความรักในภาษาของชาวอิทรูเรีย ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนเมษายนใน พ.ศ.

ดู นกยูงไทยและเมษายน

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ.

ดู นกยูงไทยและเมตร

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ดู นกยูงไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

ตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง คือแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย ประกอบด้วยสองเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี ตากและกาญจนบุรี ทางตะวันตกของประเทศใกล้กับชายแดนประเทศพม่า ครอบคลุมพื้นที่ 622,200 เฮกตาร์ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน เป็นพื้นที่ป่าที่สามารถเข้าถึงได้น้อยที่สุด และเป็นบริเวณที่รบกวนน้อยที่สุดของประเทศ โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 77% (โดยเฉพาะช้างและเสือ) นกขนาดใหญ่ 50% และ สัตว์มีกระดูกสันหลังบก 33% ที่พบในภูมิภาคสามารถพบได้ในแหล่งมรดกโลกแห่งนี้.

ดู นกยูงไทยและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

ดูเพิ่มเติม

นกที่พบในประเทศพม่า

สกุลนกยูง

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Pavo muticusนกยูงสีเขียวนกยูงเขียว