โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์นกนางนวลแกลบ

ดัชนี วงศ์นกนางนวลแกลบ

นกนางนวลแกลบ (Tern) เป็นวงศ์ของนกทะเลวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sternidae เดิมเคยถูกจัดให้เป็นวงศ์ย่อยของนกนางนวล (Laridae) มาก่อน ลักษณะโดยทั่วไปของนกนางนวลแกลบ คือ เป็นนกขนาดกลางถึงใหญ่ ปกติมีขนสีเทาหรือขาว บางชนิดมีสีดำแต้มที่หัว ปลายหางเป็น 2 แฉก นกนางนวลแกลบส่วนมากจับปลาโดยการดำน้ำลงไป แต่บางครั้งก็จับแมลงบนผิวน้ำกินเป็นอาหาร แต่ไม่ชอบว่ายน้ำเหมือนนกนางนวล นกนางนวลแกลบเป็นนกที่มีอายุยืน บางชนิดมีอายุมากกว่า 25-30 ปี โดยทั่วไปแล้วมีลักษณะเหมือนกับนกนางนวล เพียงแต่จะมีรูปร่างที่เล็กและเพรียวบางกว่า มีความหลากหลายทางสีสัน หากินอยู่ใกล้ชายทะเล และบางชนิดก็พบหากินตามริมแม่น้ำ หรือแหล่งน้ำจืดด้วย พบ 44 ชนิดทั่วโลก ในประเทศไทยพบ 16 ชนิด พบเป็นทั้งนกอพยพและนกหายากเช่นเดียวกับนกนางนวลHarrison, Peter; Peterson, Roger Tory (1991).

8 ความสัมพันธ์: วงศ์นกนางนวลสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสีสันนกนางนวลแกลบหงอนใหญ่นกนางนวลแกลบเล็ก

วงศ์นกนางนวล

นกนางนวล เป็นนกทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับนกชายเลนและนกนางนวล (Charadriiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Laridae เป็นนกที่มีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนสีเทาหรือขาว บางชนิดมีสีดำแต้มที่หัวหรือปีก มีปากหนายาว และเท้าเป็นผังพืด เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินตามชายฝั่งทะเล และบางชนิดเข้ามาหากินในแหล่งน้ำจืดบ้าง เป็นนกที่ชาวทะเลหรือนักเดินเรือให้ความนับถือ โดยถือว่า หากได้พบนกนางนวลแล้วก็แสดงว่าอยู่ใกล้แผ่นดินมากเท่านั้น พบทั่วโลก 55 ชนิด ใน 11 สกุล (ดูในตาราง) พบในประเทศไทยทั้งหมด 9 ชนิด โดยทุกชนิดถือเป็นนกอพยพหนีความหนาวจากซีกโลกทางเหนือ จะพบได้บ่อยในช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูกาลระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาว โดยสามารถบินได้เร็วในระยะทาง 170-190 กิโลเมตร/ชั่วโมง และบินตามมากันเป็นฝูง ใช้เวลากกไข่นานราว 24 วัน ลูกนกใช้เวลา 3 เดือน จึงจะบินได้เหมือนพ่อแม่ สถานที่ ๆ ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งอพยพของนกนางนวลในประเทศไทย คือ บางปู ในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นแหล่งที่ชมนกนางนวลอพยพได้ในทุกปี โดยแต่ละครั้งจะมีจำนวนนกไม่ต่ำกว่า 5,000 ตัว อนึ่ง นกในวงศ์นกนางนวล เดิมเคยถูกจัดเป็นวงศ์ใหญ่ เคยมีนกในวงศ์อื่นถูกจัดให้อยู่ร่วมวงศ์เดียวกัน ได้แก่ Rynchopidae (นกกรีดน้ำ) และSternidae (นกนางนวลแกลบ) แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก Harrison, Peter; Peterson, Roger Tory (1991).

ใหม่!!: วงศ์นกนางนวลแกลบและวงศ์นกนางนวล · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์นกนางนวลแกลบและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์นกนางนวลแกลบและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์นกนางนวลแกลบและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: วงศ์นกนางนวลแกลบและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สีสัน

ียวกัน แต่มี'''สีสัน'''ที่เปลี่ยนไป สีสัน หมายถึง ระดับสีภายในช่วงสเปคตรัมแสง หรือ ช่วงแสงที่มองเห็น เป็นการเพิ่มคุณลักษณะเฉพาะของที่ทำให้สีแดงแตกต่างจากสีเหลืองจากสีน้ำเงิน สีสันเหล่านี้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นเป็นใหญ่ (dominant wavelength) ของแสงที่เปล่งออก หรือสะท้อนจากวัตถุ ตัวอย่างเช่น ในแสงที่มองเห็น ปกติจะอยู่ระหว่างแสงอินฟราเรด (ความยาวคลื่นประมาณ 700 นาโนเมตร) และแสงอัลตราไวโอเลต (ความยาวคลื่นประมาณ 400 นาโนเมตร) คำว่า "สีสัน" อาจหมายถึง สีพิเศษชนิดใดชนิดหนึ่งในสเปคตรัมนั้นก็ได้ ซึ่งกำหนดได้จากความยาวคลื่นหลัก หรือแนวโน้มกลางของความยาวคลื่นรวม ตัวอย่างเช่น คลื่นแสงที่มีแนวโน้มกลางภายใน 565-590 นาโนเมตร จะเป็นสีเหลือง ในทฤษฎีการระบายสี คำว่า "สีสัน" หมายถึง สีบริสุทธิ์ คือสีที่ไม่มีการเติมสีขาว หรือสีดำ เข้ามา สำหรับในปริภูมิสีแบบ RGB นั้น คำว่า "สีสัน" อาจถือได้ว่าเป็นมุมพไซ (φ) ในตำแหน่งมาตรฐาน การคำนวณ φ นั้น ให้ R, G และ B เป็นโคออร์ดิเนตสีในพื้นที่สี RGB ซึ่งกำหนดสเกลจาก 0 ถึง 1 จากนั้น เมื่อได้ค่าความสว่าง (brightness) μ และค่าความอิ่มตัว (saturation) σ แล้ว ก็จะได้สีสัน จากสูตร (เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน) การใช้สูตรนี้ φ.

ใหม่!!: วงศ์นกนางนวลแกลบและสีสัน · ดูเพิ่มเติม »

นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่

นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ (Greater crested tern) เป็นนกทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์นกนางนวลแกลบ (Sternidae) จัดเป็นนกนางนวลแกลบที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัวพอ ๆ กับนกนางนวลทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวลู่ลมตามประสานกนางนวลแกลบ แต่ก็มีขนาดใหญ่กว่านกนางแกลบด้วยกันอย่างเห็นได้ชัดเจน มีจะงอยปากแหลมสีเหลืองที่ใช้ในการหาอาหาร ปลายปีกแหลมยาว และลักษณะเด่นอันที่มาของชื่อสามัญ คือ มีขนกระจุกบริเวณท้ายทอยเหมือนหงอน ซึ่งนอกฤดูผสมพันธุ์จะมีลายดำเปรอะเป็นขีด ๆ ตั้งแต่รอบตา แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์หงอนจะมีสีเข้ม เหมือนใส่หมวกสีดำ แลดูสะดุดตามากยิ่งขึ้น มีถิ่นกระจายพันธุ์กว้างไกล พบได้ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนใต้ของแอฟริกา เรื่อยมาตามริมชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และรอบทวีปออสเตรเลีย รวมถึงหมู่เกาะในแถบนั้น เป็นนกที่หากินด้วยการพุ่งตัวลงไปในทะเลจับปลากินเป็นอาหาร สามารถลงไปได้ลึกถึง 1 เมตร และบินได้ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 10 กิโลเมตร ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่หนาแน่ตามชายฝั่งและเกาะ โดยจะวางไข่ครั้งละ 2 ฟองบนหลุมที่ขุดขึ้นบนดิน โดยในฝูงจะมีการป้องกันตัวจากนักล่าและปกป้องซึ่งกันและกัน ในประเทศไทย พบได้ตามอ่าวตะบูนและแหลมผักเบี้ย ในจังหวัดเพชรบุรี จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: วงศ์นกนางนวลแกลบและนกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกนางนวลแกลบเล็ก

นกนางนวลแกลบเล็ก (Little tern) เป็นนกทะเลขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์นกนางนวลแกลบ (Sternidae) สีขนโดยทั่วไปเป็นสีขาว ช่วงฤดูผสมพันธุ์ปากสีเหลืองตอนปลายสีดำ ขนปลายปีกเส้นนอกๆสีดำ หน้าผากสีขาว มีแถบคาดตาสีดำ กระหม่อมและท้ายทอยสีขาว หางเว้าลึก ขาและนิ้วสีเหลือง ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์กระหม่อมส่วนใหญ่เป็นสีขาว ท้ายทอยและแถบคาดตาสีดำไม่ค่อยเข้ม ปากสีดำ ขาและนิ้วสีแดงแกมเทาพบตามชายทะเล และแหล่งน้ำจืด หากินโดยการบินเหนือน้ำ ตาจ้องหาเหยื่อในน้ำ เมื่อพบเหยื่อจะบินโฉบจับโดยใช้ปากลากเรี่ยไปกับผิวน้ำ บางครั้งใช้วิธีพุ่งตัวลงไปในน้ำใช้ปากจับเหยื่อ โดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กรวมถึงแมลงด้วย มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 22-24 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตามชายฝั่งของเขตร้อน ตั้งแต่ทวีปยุโรป, เอเชีย, แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน โดยทำรังตามพื้นดิน, พื้นทราย หรือแอ่งหิน ไม่มีวัสดุรองรัง บางครั้งอาจพบเปลือกหอยอยู่รอบ ๆ สันนิษฐานว่าทำไปเพื่ออำพรางรัง ไข่มีสีเหลืองซีดหรือสีเนื้อ มีลายจุดหรือลายขีดสีเทา คล้ายไข่นกกระทา แต่ละรังมีไข่ 2-3 ฟอง มากที่สุดได้ถึง 4 ฟอง ระยะฟัก 13-14 วัน โดยนกทั้งคู่จะช่วยกันกก และในช่วงจับคู่ นกตัวผู้มีพฤติกรรมคาบเหยื่อมาฝากนกตัวเมีย เพื่อดึงดูดใจให้เลือกเป็นคู่ด้วย ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: วงศ์นกนางนวลแกลบและนกนางนวลแกลบเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SternidaeSterninaeTernนกนางนวลแกลบนางนวลแกลบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »