โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกฟลามิงโก

ดัชนี นกฟลามิงโก

นกฟลามิงโกในสวนสัตว์พาต้า นกฟลามิงโก (Flamingo; ออกเสียง; 붉은 황새; นกกระสาแดง) เป็นนกน้ำจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Phoenicopteridae และอันดับ Phoenicopteriformes มี 4 ชนิดในทวีปอเมริกา และ 2 ชนิดในโลกเก่า นกฟลามิงโก เป็นนกที่มีซากฟอสซิลสามารถนับย้อนไปไกลได้กว่า 30 ล้านปีก่อน นกฟลามิงโกอาศัยอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ ซึ่งสถานที่ ๆ พบนกฟลามิงโกได้มากที่สุดในโลก คือ ทะเลสาบนากูรู ในอุทยานแห่งชาติทะเลสาบนากูรู ทางตอนเหนือของประเทศเคนยา ซึ่งมีจำนวนประชากรนกฟลามิงโกมากได้ถึง 1,500,000 ตัว นกฟลามิงโกเป็นนกที่บินได้เป็นระยะทางที่ไกล และมักบินในเวลากลางคืน ด้วยความเร็วประมาณ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และหากมีความจำเป็นต้องบินในเวลากลางวันก็จะบินในระดับสูงเพื่อหลบเลี่ยงสัตว์นักล่า ส่วนในทวีปเอเชียสามารถพบได้ที่ทุ่งหญ้าสเตปป์แถบตอนเหนือของคาซัคสถานในภูมิภาคเอเชียกลางเท่านั้น โดยผสมพันธุ์กันในฤดูใบไม้ผลิ ก่อนอพยพไปที่อื่น นกฟลามิงโก ได้ชื่อว่าเป็นนกที่ไม่มีประสาทรับกลิ่น และเป็นนกที่ส่งเสียงดังตลอดเวลา ซึ่งลูกนกแม้แต่อยู่ในไข่ก็ยังส่งเสียงร้องแล้ว ซึ่งพ่อแม่นกจะจดจำลูกของตัวเองได้จากเสียงร้องอันนี้ นอกจากนี้แล้ว นกฟลามิงโกยังเป็นนกที่ได้ชื่อว่าเป็นนกที่มีขนสีชมพู จนได้รับชื่อว่า "นกฟลามิงโกสีชมพู" ซึ่งขนของนกฟลามิงโกนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดตั้งแต่สีชมพูซีดจนถึงสีแดงเลือดหมูหรือแดงเข้ม ทั้งนี้เป็นเพราะการกินอาหารที่ได้รับสารอาหารจากกุ้งและเห็ดรามีสารประเภทอัลฟาและเบตาแคโรทีน แต่โดยมากแล้วนกที่เลี้ยงตามสวนสัตว์ขนจะเปลี่ยนเป็นสีขาวเพราะขาดสารอาหารเหล่านี้ ซึ่งหากให้ในสิ่งที่ทดแทนกันได้เช่น แครอท หรือบีทรูท สีขนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม อีกทั้งยังเป็นนกที่มีพฤติกรรมยืนด้วยขาเดียวอยู่นิ่ง ๆ แช่น้ำได้เป็นเวลานานมากถึง 4 ชั่วโมง นั่นเพราะขาของนกจะได้รับจะได้รับเลือดสูบฉีดต่ออัตราการเต้นของหัวใจได้มากเท่า ๆ กับที่กล้ามเนื้อหลักได้รับ ซึ่งเลือดจะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย การที่นกฟลามิงโกมีขายาวมาก ก็ยิ่งทำให้มีพื้นที่สูญเสียความอบอุ่น อีกทั้งขาข้างที่ไม่ถูกแช่น้ำก็จะไม่เหี่ยวแห้งอีกด้ว.

19 ความสัมพันธ์: บีตรูตบีตา-แคโรทีนพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดกุ้งสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสปีชีส์สเตปป์อุทยานแห่งชาติทะเลสาบนากูรูจอร์จ โรเบิร์ต เกรย์ทวีปอเมริกาคาโรลัส ลินเนียสซากดึกดำบรรพ์ประเทศเคนยาแคร์รอตโลกเก่าเห็ดรา

บีตรูต

ีตรูต หรือชื่ออื่นเช่น ผักกาดฝรั่ง ผักกาดแดง เป็นหัวพืชหรือรากที่สะสมอาหารที่อยู่ใต้ดิน เป็นพืชเมืองหนาวและเป็นผักเพื่อสุขภาพ มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระหลายชน.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและบีตรูต · ดูเพิ่มเติม »

บีตา-แคโรทีน

ีตา-แคโรทีน (β-carotene) เป็นรงควัตถุสีแดง-ส้มเข้มที่พบมากในพืชและผลไม้ เป็นสารประกอบอินทรีย์และในทางเคมีจัดเป็นไฮโดรคาร์บอน หรือให้เจาะจงคือ เทอร์พีนอยด์ (ไอโซพรีนอยด์) ซึ่งสะท้อนว่ามาจากหน่วยไอโซพรีน เบต้าแคโรทีนชีวสังเคราะห์จากเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟต (geranylgeranyl pyrophosphate) บีตา-แคโรทีนอยู่ในกลุ่มแคโรทีน ซึ่งเป็นเตตระเทอร์พีน ซึ่งสังเคราะห์ทางชีวเคมีจากแปดหน่วยไอโซพรีนและมี 40 คาร์บอน บีตา-แคโรทีนแตกต่างจากแคโรทีนชนิดอื่น คือ มีวงแหวนบีตาที่ทั้งสองปลายของโมเลกุล การดูดซึมบีตา-แคโรทีนเพิ่มขึ้นหากรับประทานกับไขมัน เพราะแคโรทีนละลายในไขมัน สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล (IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของบีตา-แคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและบีตา-แคโรทีน · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด

''พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด'' ฉบับตีพิมพ์ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary; OED) เป็นพจนานุกรม ที่ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ปกติถือเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษเชิงวิชาการและละเอียดที่สุด โดยมีรายการหลักประมาณ 301,100 รายการ (สถิติล่าสุด 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005) และมีตัวอักษรทั้งหมดมากกว่า 350 ล้านตัว นอกจากคำหลักของรายการหลักแล้ว ยังมีคำประสม และคำแผลงพิมพ์ตัวหนา 157,000 คำ ขณะที่มีวลีและวลีย่อยพิมพ์ตัวหนา 169,000 รายการ ทำให้มีลูกคำทั้งหมด 616,500 คำ นอกจากนี้ยังมีการเขียนคำอ่าน 137,000 คำ, รากศัพท์หรือที่มา 249,300 คำ ศัพท์เชื่อมโยง (cross-references) 577,000 มีจำนวนหน้า 21,730 หน้า และรายการศัพท์ทั้งหมด 291,500 รายการ นโยบายของพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือ พยายามที่จะบันทึกการใช้งานและลักษณะแปรผันทั้งหมดเท่าที่ทราบ ในทุกลักษณะของปลีกย่อยของภาษาอังกฤษ ที่ใช้กันทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของคำนำฉบับพิมพ์ ค.ศ. 1933 มีดังนี้ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือจุดเริ่มต้นของงานที่เน้นวิชาการที่เข้มข้น ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ การเลือกลำดับในการสะกดแบบต่างๆ ของคำหลักนั้น มีอิทธิพลต่อการเขียนภาษาอังกฤษในหลายประเท.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

กุ้ง

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

สเตปป์

ทุ่งหญ้าสเตปป์ในมองโกเลีย สเตปป์ในอุซเบกิสถาน ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) คือลักษณะทางภูมิศาสตร์ “ทุ่งหญ้าสเตปป์” เป็นบริเวณที่มีลักษณะทางสภาวะอากาศและภูมิภาคที่เป็นเอกลักษณ์ที่ประกอบด้วยที่ราบที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างที่ไม่มีต้นไม้ นอกจากบริเวณริมแม่น้ำหรือทะเลสาบ ทุ่งหญ้าแพรรี (prairie) (โดยเฉพาะทุ่งหญ้าเตี้ยแพรรี) อาจจะถือว่าเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์ ภูมิภาคของทุ่งหญ้าสเตปป์อาจจะเป็นพื้นที่กึ่งทะเลทราย หรือปกคลุมด้วย หญ้า หรือพุ่มไม้ หรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับฤดูและละติจูด “สเตปป์” อาจจะใช้หมายถึงสภาพภูมิอากาศที่พบในบริเวณที่แห้งจนไม่สามารถมีป่าได้ แต่ก็ไม่แห้งจนกระทั่งเป็นทะเลทราย “สเตปป์” เป็นลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีป (continental climate) และภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง (semi-arid climate) อุณภูมิสูงสุดในฤูดูร้อนอาจจะสูงถึง 40 °C (104 °F) และต่ำสุดในฤดูหนาวอาจจะลดลงถึง -40 °C (-40 °F) นอกจากความแตกต่างกันมากของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวแล้ว ก็ยังมีความแตกต่างกันมากระหว่างอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืน ทางบริเวณที่สูงของมองโกเลียอุณหภูมิตอนกลางวันอาจจะสูงถึง 30 °C (86 °F) แต่กลางคืนอาจจะลดต่ำลงต่ำกว่าศูนย์ °C (sub 32 °F) ทุ่งหญ้าสเตปป์ในช่วงละติจูดตอนกลางมีลักษณะที่หน้าร้อนจะร้อนจัดและหน้าหนาวจะหนาวจัด โดยมีปริมาณฝนหรือหิมะตกเฉลี่ยราว 250-500 มิลลิเมตร (10-20 นิ้ว) ต่อปี คำว่า “steppe” มาจากภาษารัสเซียว่า “степь” ที่แปลว่า “ดินแดนที่ราบและแห้ง”.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและสเตปป์ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติทะเลสาบนากูรู

ทะเลสาบนากูรู อุทยานแห่งชาติทะเลสาบนากูรู (Lake Nakuru National Park) เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งของประเทศเคนยา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงไนโรบี เมืองหลวงของประเทศเคนยา ประมาณ 180 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของทะเลสาบนากูรู (Lake Nakuru) ทะเลสาบนากูรู เป็นทะเลสาบแห่งหนึ่งในทะเลสาบริฟต์วัลเลย์ เป็นทะเลสาบอัลคาไลขนาดเล็กที่มีขนาดประมาณ 5-45 ตารางกิโลเมตร ขนาดของทะเลสาบหดลงเล็กกว่าร้อยละ 20 เมื่อราวต้นทศวรรษที่ 1980 เป็นทะเลสาบที่ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหากินของนกฟลามิงโก โดยเฉพาะนกฟลามิงโกเล็ก ด้วยการมีอาหารอุดมสมบูรณ์ทั้ง กุ้ง, หอย, ปู และปลา และบนผิวน้ำมีสาหร่ายที่อุดมไปด้วยแคโรทีนที่มีผลทำให้สีขนของนกฟลามิงโกกลายเป็นสีชมพูหรือสีแดงซีด ๆ ซึ่งปริมาณของนกฟลามิงโกจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละปี ตั้งแต่จำนวนพันกว่าตัวจนถึง 1,500,000 ตัว โดยคำว่า "นากูรู" นั้นเป็นภาษามาไซ แปลว่า "แหล่งที่พักพิงของวอเตอร์บั๊ค" ซึ่งเป็นแอนทีโลปชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นชื่ออย่างมากเรื่องกลิ่นเหม็น ซึ่งกลิ่นเหม็นอันนี้มีไว้สำหรับป้องกันตัวจากสัตว์นักล่า ทะเลสาบนากูรู ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี..

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและอุทยานแห่งชาติทะเลสาบนากูรู · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์

อร์จ โรเบิร์ต เกรย์ (George Robert Gray, FRS) (8 กรกฎาคม ค.ศ. 1808 - (6 พฤษภาคม ค.ศ. 1872) จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์เป็นนักสัตววิทยาและนักเขียนชาวอังกฤษ และเป็นประธานแผนกปักษาวิทยาของพิพิธภัณฑ์บริติชในกรุงลอนดอนเป็นเวลาสี่สิบเอ็ดปี จอร์จเป็นน้องของจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ ผู้เป็นนักสัตววิทยาเช่นกัน และเป็นลูกชายของนักพฤษศาสตร์ซามูเอล เฟรเดอริค เกรย์ งานที่ได้รับการตีพิมพ์ชิ้นสำคัญของเกรย์คือ “Genera of Birds” (ค.ศ. 1844-ค.ศ. 1849) ที่มีภาพประกอบโดยเดวิด วิลเลียม มิทเชลล์ และ โจเซฟ วูล์ฟ ที่รวมข้อมูลของนกด้วยกันทั้งหมด 46,000 สปีชี.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและจอร์จ โรเบิร์ต เกรย์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกา

แผนที่ทวีปอเมริกาโดย Jonghe. Ca. พ.ศ. 2313 แผนที่ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกา (Americas)america.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและทวีปอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเคนยา

นยา (อังกฤษและKenya) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเคนยา (Republic of Kenya; Jamhuri ya Kenya) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตจรดประเทศเอธิโอเปีย (ทางเหนือ) ประเทศโซมาเลีย (ทางตะวันออกเฉียงเหนือ) ประเทศแทนซาเนีย (ทางใต้) ประเทศยูกันดา (ทางตะวันตก) ประเทศเซาท์ซูดานและทะเลสาบวิกตอเรีย (ทางตะวันตกเฉียงเหนือ) และมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือ ไนโรบี.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและประเทศเคนยา · ดูเพิ่มเติม »

แคร์รอต

''Daucus carota subsp. maximus'' แคร์รอต (carrot) เป็นพืชกินหัวชนิดหนึ่ง มีลักษณะยาว หัวแคร์รอตมีหลายสี เช่น เหลือง ม่วง ส้ม แต่ที่นิยมรับประทานในปัจจุบันคือสีส้ม แคร์รอตเป็นพืชแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าแท่งดินสอ หรือที่เรียกว่าเบบีแคร์รอต (baby carrot) ไปจนถึงขนาดใหญ.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและแคร์รอต · ดูเพิ่มเติม »

โลกเก่า

ลกใหม่ (สีเขียว) เปรียบเทียบกับ โลกเก่า (สีเทา) โลกเก่า (Old World) ประกอบด้วยทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นที่รับรู้ของชาวยุโรป ชาวแอฟริกัน และชาวเอเชีย ก่อนการค้นพบทวีปอเมริกา ตรงข้ามกับ "โลกใหม่" ซึ่งหมายถึงทวีปอเมริกาเหนือ,ทวีปอเมริกาใต้และโอเชียเนี.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

เห็ดรา

ห็ดรา (Fungus) คือสิ่งมีชีวิตใดๆ ในกลุ่มยูแคริโอต ซึ่งประกอบด้วยทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างยีสต์และรา และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่ออกผลคล้ายกับพืช เห็ด สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถูกจัดลงอยู่ในอาณาจักรเห็ดรา ซึ่งแยกออกจากสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์กลุ่มอื่นๆ ที่เป็นพืชและสัตว์ ลักษณะเฉพาะที่จัดเห็ดราให้อยู่แยกในอาณาจักรอื่นจากพืช แบคทีเรีย และโพรทิสต์บางชนิด คือ ไคตินที่ผนังเซลล์ เห็ดราเหมือนกับสัตว์ตรงที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฮเทโรทรอพ กล่าวคือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับอาหารโดยการย่อยโมเลกุลอาหารให้มีขนาดเล็กพอกับเซลล์ และไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เช่นกัน การเติบโตของเห็ดราแสดงถึงการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน ยกเว้นสปอร์ ที่อาจจะลอยไปตามอากาศหรือน้ำ เห็ดราเป็นผู้ย่อยสลายหลักในระบบนิเวศ ตามปกติเห็ดราโดยทั่วไปที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน ที่ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนในอาณาจักรก็ตาม เรียกว่ายูเมโคตา (Eumycota) กลุ่มเห็ดรานี้แตกต่างจาก ไมเซโตซัว (ราเมือก) และโอไมซีต (ราน้ำ) ที่มีโครงสร้างคล้ายกัน การศึกษาเกี่ยวกับเห็ดรา เรียกว่า กิณวิทยา ในอดีตกิณวิทยาถูกจัดเป็นหนึ่งในสาขาของพฤกษศาสตร์ แม้ว่าทุกวันนี้จะเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เห็ดรามีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับสัตว์มากกว่าพืช เห็ดราพบได้ทั่วโลก แต่ส่วนมากไม่มีความโดดเด่นเพราะมีขนาดเล็ก และมีการพรางตัวในดินหรือบนสิ่งที่ตายแล้ว เห็ดราบางชนิดยังมีการพึ่งพาอาศัยจากพืช สัตว์ เห็ดราประเภทอื่นหรือกระทั่งปรสิต พวกมันจะเริ่มเป็นที่สังเกตได้เมื่อออกผลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเห็ดหรือราก็ตาม เห็ดรามีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์และมีบทบาทโดยพื้นฐานในวัฏจักรสารอาหารและการแลกเปลี่ยนในธรรมชาติ พวกมันยังเป็นแหล่งอาหารโดยตรงมานานแล้ว ในรูปของเห็ด เป็นหัวเชื้อในการทำขนมปัง และในการหมักผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่าง เช่น ไวน์ เบียร์ และซีอิ๊ว ตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษที่ 1940 เห็ดราถูกนำมาใช้ในการแพทย์ เพื่อผลิตยาปฏิชีวนะ และล่าสุด นำมาใช้ผลิตเอนไซม์มากมาย ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมและในผงซักฟอก เห็ดรายังถูกใช้เป็นปราบแมลง โรคในพืช และวัชพืชต่างๆ สายพันธุ์มากมายของเห็ดราผลิตสารประกอบที่ออกฤทธิ์กับสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ไมโซโทซิน เช่น อัลคาลอยด์และพอลิเคไทด์ ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ โครงสร้างในบางสายพันธุ์ประกอบด้วยสารประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อประสาท และถูกใช้บริโภค หรือในพิธีกรรมทางศาสนาแบบดั้งเดิม เห็ดรายังสามารถทำลายโครงร่างของวัตถุดิบและสิ่งก่อสร้างได้ และกลายเป็นเชื้อโรคแก่มนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ การสูญเสียไร่เนื่องจากโรคทางเห็ดรา (เช่น โรคไหม้) หรืออาหารที่เน่าเสียสามารถมีผลกระทบขนาดใหญ่กับคลังอาหารของมนุษย์และระบบนิเวศโดยรอบ อาณาจักรเห็ดราประกอบไปด้วยความหลากหลายมากมายด้วยระบบนิเวศ การดำเนินชีวิต และสัณฐาน ตั้งแต่ไคทริดน้ำเซลล์เดียวไปจนถึงเห็ดขนาดใหญ่ ถึงกระนั้น ความหลากหลายทางชีวภาพที่แท้จริงของอาณาจักรเห็ดรายังไม่มีข้อมูลมากนัก ซึ่งได้มีการประมาณจำนวนสายพันธุ์ไว้ที่ 1.5 - 5 ล้านสายพันธุ์ โดยทีเพียง 5 % เท่านั้นที่ได้รับการจำแนกประเภทแล้ว นับตั้งแต่การสำรวจในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 โดยคาร์ล ลินเนียส คริสเตียน เฮนดริก เพอร์ซูน และเอเลียส แมกนัส ฟรีส์ เห็ดราได้ถูกจำแนกประเภทตามสัณฐาน (เช่นสีของสปอร์ หรือลักษณะในระดับเล็กๆ) หรือรูปร่าง ความก้าวหน้าในอณูพันธุศาสตร์ได้เปิดทางให้สำหรับการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ เพื่อจัดลำดับตามอนุกรมวิธาน ซึ่งบางครั้งได้ขัดแย้งกับกลุ่มพันธุ์ที่ได้จัดไว้ก่อนในอดีตแล้ว การศึกษาในไม่กี่คริสต์ศตวรรษที่ผ่านมาได้ช่วยให้มีการตรวจสอบการจัดจำแนกประเภทใหม่ภายในอาณาจักรเห็ดรา ซึ่งได้แบ่งออกเป็นหนึ่งอาณาจักรย่อย เจ็ดไฟลัม และสิบไฟลัมย่อ.

ใหม่!!: นกฟลามิงโกและเห็ดรา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

FlamingoFlamingoesFlamingosPhoenicopteridaePhoenicopteriformesPink flamingoนกฟลามิงโกสีชมพู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »