โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกกาน้ำปากยาว

ดัชนี นกกาน้ำปากยาว

นกกาน้ำปากยาว (Indian cormorant, Indian shag) เป็นนกในวงศ์นกกาน้ำ (Phalacrocoracida) พบตามแหล่งน้ำของอนุทวีปอินเดีย ออกไปทางตะวันตกถึงรัฐสินธ์ และทางตะวันออกถึงประเทศไทยและกัมพูชา ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความแตกต่างจากนกกาน้ำเล็ก (P. niger) ที่มีขนาดใกล้เคียงกันคือ ตาสีฟ้า หัวเล็ก หน้าผากลาด มีปากยาวแคบโค้งเป็นตะขอที่ปลายปาก.

9 ความสัมพันธ์: สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับนกกระทุงอำเภอเมืองสมุทรสาครจังหวัดสมุทรสาครป่าชายเลนนกกาน้ำนกกาน้ำเล็ก

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: นกกาน้ำปากยาวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: นกกาน้ำปากยาวและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: นกกาน้ำปากยาวและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกกระทุง

อันดับนกกระทุง (Pelican, Cormorant, Ibis, Spoonbill) เป็นอันดับของนกขากรรไกรแบบใหม่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Pelecaniformes ลักษณะร่วมกันหลายอย่างของนกในอันดับนี้ คือ นิ้วตีนทั้ง 4 มีแผ่นพังผืดขึงติดต่อกัน เรียกว่า "Totipalmate foot" และลำคอเปลือยเปล่าหย่อนยานเป็นถุงหนัง ซึ่งเรียกว่า "Gular pouch" มีไว้สำหรับล่าหาอาหารและเก็บอาหาร เป็นนกที่พบกระจายพันธุ์ไปในทุกภูมิภาค ทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นเฉพาะทางเหนือของประเทศแคนาดาและทางเหนือของทวีปเอเชียซึ่งมีอากาศหนาวเย็น, เกาะต่าง ๆ บางแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง และทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งมีอากาศหนาวเย็น เป็นนกที่หากินและอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำเนื่องจากหากินสัตว์น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปลา, กุ้ง, ปู หรือสัตว์อื่น ๆ ขนาดเล็ก กินเป็นอาหาร เช่น บึง, หนอง, คลอง, ชายทะเล หรือเกาะกลางทะเล ว่ายน้ำได้เก่งและดำนำได้ดี แบ่งออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ 5 วงศ์ (ข้อมูลบางแห่งจัดให้มี 6 วงศ์) ซึ่งวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกที่สุดคือ Phalacrocoracidae หรือนกกาน้ำ ที่มีจำนวนชนิดมากถึง 38-39 ชนิด นับว่ามีมากกว่าครึ่งของสมาชิกในอันดับนี้ รองลงไปคือ Sulidae หรือนกบูบบี ที่มี 9 ชนิด แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลบางแหล่งจะจัดให้วงศ์ในอันดับนี้ มีอันดับของตัวเองแตกต่างกันออกไป A Phylogenomic Study of Birds Reveals Their Evolutionary History.

ใหม่!!: นกกาน้ำปากยาวและอันดับนกกระทุง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองสมุทรสาคร

อำเภอเมืองสมุทรสาคร เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร.

ใหม่!!: นกกาน้ำปากยาวและอำเภอเมืองสมุทรสาคร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรสาคร

ังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: นกกาน้ำปากยาวและจังหวัดสมุทรสาคร · ดูเพิ่มเติม »

ป่าชายเลน

ป่าชายเลน ป่าชายเลน คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มีใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง ได้มีการค้นพบป่าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในตรินิแดดและเกียนา คำว่า "mangrove" เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "mangrove" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง" บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลนเช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย เป็นต้น สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดยประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในโซนนี้ โดยป่าชายเลนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ซันดาร์บานส์ ซึ่งเป็นปากแม่น้ำคงคาระหว่างประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์) ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: นกกาน้ำปากยาวและป่าชายเลน · ดูเพิ่มเติม »

นกกาน้ำ

นกกาน้ำ (Cormorant, Shag) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Phalacrocoracidae ซึ่งมีเพียงสกุลเดียว คือ Phalacrocorax.

ใหม่!!: นกกาน้ำปากยาวและนกกาน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

นกกาน้ำเล็ก

นกกาน้ำเล็ก (Little cormorant, Javanese cormorant) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกาน้ำ (Phalacrocoracidae) เป็นนกกาน้ำขนาดเล็ก มีความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 51-56 เซนติเมตร น้ำหนัก 360-525 กรัม ความกว้างระหว่างปลายปีกทั้งสอง 90 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนตามลำตัวมีสีดำเหลือบน้ำเงิน ตรงปีกมีสีน้ำตาลปน บริเวณรอบตามีจุดสีขาวขนาดเล็ก ใต้คางมีสีครีม แต่ขนชุดนอกและในฤดูผสมพันธุ์แตกต่างกัน นอกฤดูผสมพันธุ์ ปากสีเนื้อแกมเทาหม่น ขนทั่วทั้งหัว, ลำคอ, ลำตัว ปีกและหางสีน้ำตาลแกมดำ แต่ขนบริเวณไหล่และปีกสีค่อนข้างเทา แต่ขอบขนสีดำ คางค่อนข้างขาว ในฤดูผสมพันธุ์ ปากสีค่อนข้างดำ หัว, ลำคอ, อก, ท้อง, สีข้างและขนคลุมใต้โคนหางเปลี่ยนเป็นสีดำเหลือบน้ำเงินและเขียว บนกระหม่อมขนคลุมหู และท้ายทอยมีลายริ้วสีขาว พบกระจายพันธุ์ในทวีปยุโรป, แอฟริกา และในทวีปเอเชีย ได้แก่ อินเดีย, จีน, พม่า, อินโดจีน, มาเลเซีย, ชวา และในประเทศไทยพบทั่วไปทุกภาค จัดเป็นนกกาน้ำชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด อาศัยอยู่ตามหนองบึง, แม่น้ำ, ลำคลอง หรือท้องนา จับปลาขนาดเล็กจำพวกปลาตะเพียนกินเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ชอบอยู่ตามลำพัง บางครั้งอาจพบอยู่รวมกันเป็นฝูงบ้าง ชอบดำน้ำไล่จับปลาเป็นอาหาร เมื่อขึ้นจากน้ำมักจะยืนกางปีกตากแดดให้ขนแห้ง นกกาน้ำเล็กผสมพันธุ์ในราวเดือนกรกฎาคม ทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่รวมกันหลายรังบนต้นเดียวกัน ทำรังด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานไว้อย่างหยาบ ๆ และวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: นกกาน้ำปากยาวและนกกาน้ำเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Phalacrocorax fuscicollis

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »