สารบัญ
21 ความสัมพันธ์: ช่องแคบมะละกากัวลาลัมเปอร์รัฐกลันตันรัฐมะละการัฐยะโฮร์รัฐตรังกานูรัฐปะลิสรัฐปะหังรัฐปีนังรัฐเกอดะฮ์รัฐเซอลาโงร์รัฐเปรักรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันสหพันธรัฐมาลายาสหภาพมาลายาทะเลจีนใต้คาบสมุทรมลายูประเทศมาเลเซียประเทศสิงคโปร์ประเทศไทยปูตราจายา
- คาบสมุทรมลายู
- คาบสมุทรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ภูมิศาสตร์มาเลเซีย
ช่องแคบมะละกา
องแคบมะละกา อยู่ระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย 250px ช่องแคบมะละกา (Strait of Malacca) เป็นช่องแคบระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา อยู่บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ตะวันตกและใต้ของมาเลเซีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของเกาะสุมาตรา และเลยไปถึงทางด้านใต้ของสิงคโปร์ ระบุพิกัดที่ประมาณ 1.43 องศาเหนือ และ 102.89 องศาตะวันออก ช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบที่มีความกว้างบริเวณทางเข้าประมาณ 5 ไมล์ ยาวประมาณ 600 ไมล์ ช่วงที่แคบที่สุดประมาณ 1.5 ไมล์ มีเรือผ่านประมาณ 900 ลำต่อวันหรือประมาณ 50,000 ลำต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วมีประมาณเรือที่ผ่านมากกว่าคลองสุเอซประมาณ 2 เท่า และมากกว่าคลองปานามากว่า 3 เท่า มะละกา มะละกา หมวดหมู่:ประเทศสิงคโปร์ มะละกา หมวดหมู่:ชายแดนมาเลเซีย - อินโดนีเซีย.
ดู มาเลเซียตะวันตกและช่องแคบมะละกา
กัวลาลัมเปอร์
กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, อักษรยาวี: كوالا لومڤور, ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐเซอลาโงร์บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมลายู ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปูตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร.
ดู มาเลเซียตะวันตกและกัวลาลัมเปอร์
รัฐกลันตัน
กลันตัน (Kelantan; มลายูปัตตานี: كلنتن กลาแต) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ที่สวยงาม") เมืองหลวงและเมืองของเจ้าผู้ครองประจำรัฐคือโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทยทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐตรังกานูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเประก์ทางทิศตะวันตก และรัฐปะหังทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดทะเลจีนใต้ จากการที่พรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐนี้มานานหลายปี จึงทำให้กลันตันเป็นรัฐที่มีความเป็นอนุรักษนิยมทางสังคมมากที่สุดในประเทศ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวมลายูร้อยละ 95 ชาวไทยร้อยละ 3 ชาวจีนร้อยละ 1.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1.
ดู มาเลเซียตะวันตกและรัฐกลันตัน
รัฐมะละกา
มะละกา (Melaka; ยาวี: ملاك; Malacca) เป็นรัฐทางตอนใต้ในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ตรงข้ามกับเกาะสุมาตรา รัฐมะละกาเป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียที่ไม่มีเจ้าผู้ครองรัฐเป็นประมุขแต่มีผู้ว่าราชการรัฐแทน ในอดีต มะละกาเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตกบนช่องแคบมะละกามากว่า 500 ปี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมโปรตุเกส ดัตช์ และมลายู ได้รับการยกย่องให้เป็นนครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกาจากองค์การยูเนสโก.
ดู มาเลเซียตะวันตกและรัฐมะละกา
รัฐยะโฮร์
ร์ (Johor, อักษรยาวี: جوهور) เป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 1°20" เหนือ และ 2°35" เหนือ เมืองหลวงของรัฐตั้งอยู่ที่เมืองโจโฮร์บะฮ์รู (Johor Bahru) ซึ่งเมื่อก่อนนี้ชื่อเมืองตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) เมืองหลวงเก่าคือเมืองยะโฮร์ลามา (Johor Lama) คำเฉลิมเมืองที่เป็นภาษาอาหรับคือ ดารุลตาอาซิม (Darul Ta'azim) ซึ่งแปลว่า ที่สถิตแห่งเกียรติยศ รัฐนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ SIJORI เพื่อเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร.
ดู มาเลเซียตะวันตกและรัฐยะโฮร์
รัฐตรังกานู
ตรังกานู (Terengganu เดิมสะกดว่า Trengganu หรือ Tringganu, อักษรยาวี: ترڠڬانو) เป็นรัฐสุลต่านและเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอีมาน ("ถิ่นที่อยู่แห่งความศรัทธา") รัฐตรังกานูตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐกลันตัน ทางทิศใต้ติดต่อกับรัฐปะหัง และทางทิศตะวันออกจรดทะเลจีนใต้ หมู่เกาะเปอร์เฮินเตียน (Perhentian Islands) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนี้ด้วย ทำให้รัฐตรังกานูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 12,955 ตารางกิโลเมตร องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ในปี พ.ศ.
ดู มาเลเซียตะวันตกและรัฐตรังกานู
รัฐปะลิส
ปะลิส หรือเดิมสะกดว่า ปลิศ หรือ เปอร์ลิศ (Perlis, ยาวี: فرليس) มีชื่อเต็มคือ เปอร์ลิซอินเดอรากายางัน (Perlis Indera Kayangan; ยาวี: ڤرليس ايندرا كايڠن) เป็นรัฐที่เล็กที่สุดในมาเลเซีย อยู่ทางตอนเหนือสุดของมาเลเซียตะวันตก และติดชายแดนประเทศไทย ประชากรของรัฐมีจำนวน 198,335 คน ในปี 2543 ในจำนวนนี้เป็นชาวมลายูประมาณ 166,200 คนหรือร้อยละ 78, ชาวจีน 24,000 คนหรือร้อยละ 17, ชาวอินเดีย 3,700 คน และอื่น ๆ 5,400 คน) เมืองหลวงของรัฐปะลิสคือ กังการ์ เมืองที่เป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครคืออาเรา นอกจากนี้เมืองการค้าสำคัญบริเวณชายไทย-มาเลเซียคือปาดังเบซาร์ ส่วนเมืองท่าของรัฐซึ่งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐคือกัวลาปะล.
รัฐปะหัง
ปะหัง (Pahang, อักษรยาวี: ڨهڠ) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดบนมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมบริเวณแอ่งแม่น้ำปะหัง มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกลันตันทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐเประก์ รัฐเซอลาโงร์ และรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันทางทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐยะโฮร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกติดต่อกับรัฐตรังกานูและทะเลจีนใต้ เมืองหลวงของรัฐคือกวนตัน (Kuantan) ส่วนเมืองของเจ้าผู้ครองตั้งอยู่ที่ปกัน (Pekan) เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ กัวลาลีปิส เตเมร์โละห์ และรีสอร์ตเชิงเขาที่ที่สูงเกินติง ที่สูงจาเมรอน และเฟรเซอส์ฮิลล์ ชื่อเฉลิมเมืองของรัฐปะหังคือ ดารุลมักมูร์ ("ถิ่นที่อยู่แห่งความเงียบสงบ") องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของผู้คนในรัฐนี้ประมาณอย่างหยาบ ๆ ได้แก่ ชาวมลายู + ภูมิบุตร 1 ล้านคน ชาวจีน 233,000 คน ชาวอินเดีย 68,500 คน อื่น ๆ 13,700 คน และไร้สัญชาติ 68,000 คน.
รัฐปีนัง
ปูเลาปีนัง (Pulau Pinang) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย เดิมชาวมลายูรุ่นแรกเรียกว่า ปูเลาวาซาตู หรือเกาะเดี่ยว ต่อมาพบในแผนที่เดินเรือ เรียกว่า ปูเลาปีนัง หรือเกาะหมาก ต่อมาอังกฤษเรียกว่า เกาะพรินซ์ออฟเวล.
รัฐเกอดะฮ์
กอดะฮ์ (Kedah, قدح) หรือ ไทรบุรี มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอามัน ("ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ") เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมขนาดเนื้อที่ 9,425 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบใช้สำหรับปลูกข้าว รวมทั้งเกาะลังกาวี พรมแดนของรัฐเกอดะฮ์ทางทิศเหนือติดต่อกับรัฐปะลิส และติดต่อกับจังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลาของประเทศไทย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐเประก์ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับรัฐปีนัง เมืองหลวงของรัฐคือ อาโลร์เซอตาร์ และเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อานักบูกิต เมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ ซูไงเปอตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกูวะห์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี.
ดู มาเลเซียตะวันตกและรัฐเกอดะฮ์
รัฐเซอลาโงร์
ซอลาโงร์ (Selangor, อักษรยาวี: سلانڠور) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของคาบสมุทรมลายู และล้อมรอบกัวลาลัมเปอร์ไว้ทั้งหมด อาณาเขตของรัฐเซอลาโงร์ ทิศเหนือติดรัฐเปรัก ทิศตะวันออกติดรัฐปะหัง ทิศตะวันตกติดช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน เมืองหลวงของเซอลาโงร์ชื่อ ชะฮ์อาลัม เมืองเจ้าผู้ครองชื่อ กลัง เป็นรัฐทีใหญ่อันดับ 9 ของมาเลเซีย อีกเมืองหนึ่งที่สำคัญของเซอลาโงร์คือเปอตาลิงจายา ซึ่งได้รับเป็นสถานะเป็นเมืองดีเด่นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2006.
ดู มาเลเซียตะวันตกและรัฐเซอลาโงร์
รัฐเปรัก
ปรัก หรือ เประก์ (Perak, อักษรยาวี: ڨيرق) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศมาเลเซีย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองบนมาเลเซียตะวันตก ติดต่อกับรัฐเกอดะฮ์และจังหวัดยะลาของประเทศไทยทางทิศเหนือ รัฐปีนังทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐกลันตันและรัฐปะหังทางทิศตะวันออก รัฐเซอลาโงร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันตกจรดช่องแคบมะละกา "เปรัก" (Perak) ในภาษามลายูหมายถึงเงิน ซึ่งน่าจะมาจากสีเงินของแร่ดีบุก แต่บางคนก็ว่าชื่อของรัฐมาจาก "แสงวิบวับของปลาในน้ำ" ซึ่งส่องเป็นประกายเหมือนเงิน ส่วนชื่อเฉลิมเมืองในภาษาอาหรับคือ ดารุลริฎวาน ("ดินแดนแห่งความสง่างาม") เกาะปังกอร์เป็นเกาะเล็ก ๆ ใกล้ชายฝั่ง มีกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น การดำน้ำ.
รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน
นอเกอรีเซิมบีลัน (Negeri Sembilan, อักษรยาวี: نڬري سمبيلن) เป็น 1 ใน 13 รัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,650 ตารางกิโลเมตร คำว่า "เนอเกอรีเซิมบีลัน" แปลว่า 9 รัฐ สืบเนื่องจากในสมัยก่อนแบ่งการปกครองเป็น 9 อำเภอ มีเมืองหลวงชื่อ เซอเริมบัน เป็นเมืองท่าที่มีชายฝั่งทะเลสวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อน องค์ประกอบของกลุ่มชาติพันธุ์ในปี..
ดู มาเลเซียตะวันตกและรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน
สหพันธรัฐมาลายา
หพันธรัฐมาลายา (Federation of Malaya; Persekutuan Tanah Melayu) เป็นสหพันธรัฐที่จัดตั้งขึ้นจากรัฐมลายูและดินแดนต่าง ๆ รวม 11 รัฐ ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ.
ดู มาเลเซียตะวันตกและสหพันธรัฐมาลายา
สหภาพมาลายา
หภาพมาลายา เป็นสหพันธ์ของกลุ่มรัฐมลายูและอาณานิคมช่องแคบรวมทั้งสิงคโปร์ ซึ่งสืบทอดมาจากกลุ่มอาณานิคมบริติชมาลายา สหภาพแห่งนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรวมศูนย์การปกครองของรัฐต่าง ๆ ที่อยู่บนคาบสมุทรมลายูให้อยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการ สหภาพมาลายาเป็นรูปแบบการปกครองที่อังกฤษเสนอขึ้นเพื่อใช้ปกครองดินแดนมลายูที่เป็นอาณานิคมภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในแผนการสหภาพมาลายานั้นมีส่วนสำคัญคือ.
ดู มาเลเซียตะวันตกและสหภาพมาลายา
ทะเลจีนใต้
แผนที่ทะเลจีนใต้ ทะเลจีนใต้ (South China Sea) เป็นทะเลปิดที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ประเทศสิงคโปร์ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเพราะมีเส้นทางขนส่งทางเรือผ่านคิดเป็นหนึ่งในสามของโลก นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า ใต้พื้นทะเลมีน้ำมันและแก๊สธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ด้วย อาณาเขตของทะเลจีนใต้ อยู่ทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน, ตะวันตกของฟิลิปปินส์, ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียและบรูไน, เหนือของอินโดนีเซีย, ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ และตะวันออกของเวียดนาม หมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ มีจำนวนหลายร้อยเกาะ ทะเลและเกาะที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยส่วนใหญ่นี้เป็นหัวข้อพิพาทอธิปไตยโดยหลายประเทศ ข้อพิพาทเหล่านี้ยังได้สะท้อนในชื่ออันหลากหลายที่ตั้งให้เกาะและทะเล.
ดู มาเลเซียตะวันตกและทะเลจีนใต้
คาบสมุทรมลายู
มุทรมลายู คาบสมุทรมลายู หรือ แหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu; Malay Peninsula) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดของทวีปเอเชีย ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู คือ คอคอดกระ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกออกจากเกาะสุมาตราด้วยช่องแคบมะละกา มีเกาะบอร์เนียวอยู่ทางตะวันออกในทะเลจีนใต้.
ดู มาเลเซียตะวันตกและคาบสมุทรมลายู
ประเทศมาเลเซีย
มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..
ดู มาเลเซียตะวันตกและประเทศมาเลเซีย
ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..
ดู มาเลเซียตะวันตกและประเทศสิงคโปร์
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
ดู มาเลเซียตะวันตกและประเทศไทย
ปูตราจายา
200px มัสยิดปูตรา ในปูตราจายา ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ปูตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองใหม่ ตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายกรัฐมนตรี ดร.
ดู มาเลเซียตะวันตกและปูตราจายา
ดูเพิ่มเติม
คาบสมุทรมลายู
- ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
- คอคอดกระ
- คาบสมุทรมลายู
- ค่างแว่นถิ่นใต้
- ช่องแคบมะละกา
- ทะเลอันดามัน
- ทิวเขานครศรีธรรมราช
- ทิวเขาภูเก็ต
- ภาคใต้ (ประเทศไทย)
- ภาษามลายูปัตตานี
- ภาษาโอรังเซอเลตาร์
- ภาษาไทยถิ่นใต้
- มาเลเซียตะวันตก
- มโนราห์ (รำ)
- อาณาจักรลังกาสุกะ
- เทือกเขาตะนาวศรี
คาบสมุทรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- มาเลเซียตะวันตก
- อินโดจีน
ภูมิศาสตร์มาเลเซีย
- มาเลเซียตะวันตก