เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มาเลเซียตะวันตกและรัฐกลันตัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มาเลเซียตะวันตกและรัฐกลันตัน

มาเลเซียตะวันตก vs. รัฐกลันตัน

มาเลเซียตะวันตก (Semenanjung Malaysia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูโดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยทางเหนือ และติดต่อกับสิงคโปร์ทางใต้โดยมีช่องแคบยะโฮร์กั้นอยู่ ทางตะวันตกจรดกับช่องแคบมะละกาและทางตะวันออกจรดกับทะเลจีนใต้ มาเลเซียตะวันตกยังเป็นดินแดนส่วนแรกที่รวมตัวกันเป็นสหภาพมาลายา ก่อนที่มาเลเซียตะวันออกและสิงคโปร์จะเข้าร่วมและกลายเป็นสหพันธรัฐมาลายาในเวลาต่อมา (และภายหลังสิงคโปร์ก็แยกดินแดนออกไปตั้งรัฐของตนเอง). กลันตัน (Kelantan; มลายูปัตตานี: كلنتن กลาแต) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ที่สวยงาม") เมืองหลวงและเมืองของเจ้าผู้ครองประจำรัฐคือโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทยทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐตรังกานูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเประก์ทางทิศตะวันตก และรัฐปะหังทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดทะเลจีนใต้ จากการที่พรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐนี้มานานหลายปี จึงทำให้กลันตันเป็นรัฐที่มีความเป็นอนุรักษนิยมทางสังคมมากที่สุดในประเทศ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวมลายูร้อยละ 95 ชาวไทยร้อยละ 3 ชาวจีนร้อยละ 1.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มาเลเซียตะวันตกและรัฐกลันตัน

มาเลเซียตะวันตกและรัฐกลันตัน มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รัฐตรังกานูรัฐปะหังรัฐเปรักทะเลจีนใต้ประเทศมาเลเซียประเทศไทย

รัฐตรังกานู

ตรังกานู (Terengganu เดิมสะกดว่า Trengganu หรือ Tringganu, อักษรยาวี: ترڠڬانو) เป็นรัฐสุลต่านและเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอีมาน ("ถิ่นที่อยู่แห่งความศรัทธา") รัฐตรังกานูตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐกลันตัน ทางทิศใต้ติดต่อกับรัฐปะหัง และทางทิศตะวันออกจรดทะเลจีนใต้ หมู่เกาะเปอร์เฮินเตียน (Perhentian Islands) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนี้ด้วย ทำให้รัฐตรังกานูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 12,955 ตารางกิโลเมตร องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ในปี พ.ศ. 2538 ได้แก่ ชาวมลายู (859,402 คน หรือร้อยละ 94) ชาวจีน (42,970 คน หรือร้อยละ 5) ชาวอินเดีย (4,355 คน) และอื่น ๆ (3,238 คน) เมืองชายฝั่งกัวลาเตอเริงกานู (Kuala Terengganu) ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำตรังกานูเป็นทั้งเมืองหลวงของรัฐและเมืองของสุลต่าน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรั.

มาเลเซียตะวันตกและรัฐตรังกานู · รัฐกลันตันและรัฐตรังกานู · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปะหัง

ปะหัง (Pahang, อักษรยาวี: ڨهڠ) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดบนมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมบริเวณแอ่งแม่น้ำปะหัง มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกลันตันทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐเประก์ รัฐเซอลาโงร์ และรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันทางทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐยะโฮร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกติดต่อกับรัฐตรังกานูและทะเลจีนใต้ เมืองหลวงของรัฐคือกวนตัน (Kuantan) ส่วนเมืองของเจ้าผู้ครองตั้งอยู่ที่ปกัน (Pekan) เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ กัวลาลีปิส เตเมร์โละห์ และรีสอร์ตเชิงเขาที่ที่สูงเกินติง ที่สูงจาเมรอน และเฟรเซอส์ฮิลล์ ชื่อเฉลิมเมืองของรัฐปะหังคือ ดารุลมักมูร์ ("ถิ่นที่อยู่แห่งความเงียบสงบ") องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของผู้คนในรัฐนี้ประมาณอย่างหยาบ ๆ ได้แก่ ชาวมลายู + ภูมิบุตร 1 ล้านคน ชาวจีน 233,000 คน ชาวอินเดีย 68,500 คน อื่น ๆ 13,700 คน และไร้สัญชาติ 68,000 คน.

มาเลเซียตะวันตกและรัฐปะหัง · รัฐกลันตันและรัฐปะหัง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเปรัก

ปรัก หรือ เประก์ (Perak, อักษรยาวี: ڨيرق) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศมาเลเซีย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองบนมาเลเซียตะวันตก ติดต่อกับรัฐเกอดะฮ์และจังหวัดยะลาของประเทศไทยทางทิศเหนือ รัฐปีนังทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐกลันตันและรัฐปะหังทางทิศตะวันออก รัฐเซอลาโงร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันตกจรดช่องแคบมะละกา "เปรัก" (Perak) ในภาษามลายูหมายถึงเงิน ซึ่งน่าจะมาจากสีเงินของแร่ดีบุก แต่บางคนก็ว่าชื่อของรัฐมาจาก "แสงวิบวับของปลาในน้ำ" ซึ่งส่องเป็นประกายเหมือนเงิน ส่วนชื่อเฉลิมเมืองในภาษาอาหรับคือ ดารุลริฎวาน ("ดินแดนแห่งความสง่างาม") เกาะปังกอร์เป็นเกาะเล็ก ๆ ใกล้ชายฝั่ง มีกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น การดำน้ำ.

มาเลเซียตะวันตกและรัฐเปรัก · รัฐกลันตันและรัฐเปรัก · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลจีนใต้

แผนที่ทะเลจีนใต้ ทะเลจีนใต้ (South China Sea) เป็นทะเลปิดที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ประเทศสิงคโปร์ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเพราะมีเส้นทางขนส่งทางเรือผ่านคิดเป็นหนึ่งในสามของโลก นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า ใต้พื้นทะเลมีน้ำมันและแก๊สธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ด้วย อาณาเขตของทะเลจีนใต้ อยู่ทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน, ตะวันตกของฟิลิปปินส์, ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียและบรูไน, เหนือของอินโดนีเซีย, ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ และตะวันออกของเวียดนาม หมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ มีจำนวนหลายร้อยเกาะ ทะเลและเกาะที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยส่วนใหญ่นี้เป็นหัวข้อพิพาทอธิปไตยโดยหลายประเทศ ข้อพิพาทเหล่านี้ยังได้สะท้อนในชื่ออันหลากหลายที่ตั้งให้เกาะและทะเล.

ทะเลจีนใต้และมาเลเซียตะวันตก · ทะเลจีนใต้และรัฐกลันตัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ประเทศมาเลเซียและมาเลเซียตะวันตก · ประเทศมาเลเซียและรัฐกลันตัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและมาเลเซียตะวันตก · ประเทศไทยและรัฐกลันตัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มาเลเซียตะวันตกและรัฐกลันตัน

มาเลเซียตะวันตก มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ รัฐกลันตัน มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 15.79% = 6 / (21 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มาเลเซียตะวันตกและรัฐกลันตัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: