โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐปะหัง

ดัชนี รัฐปะหัง

ปะหัง (Pahang, อักษรยาวี: ڨهڠ) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดบนมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมบริเวณแอ่งแม่น้ำปะหัง มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกลันตันทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐเประก์ รัฐเซอลาโงร์ และรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันทางทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐยะโฮร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกติดต่อกับรัฐตรังกานูและทะเลจีนใต้ เมืองหลวงของรัฐคือกวนตัน (Kuantan) ส่วนเมืองของเจ้าผู้ครองตั้งอยู่ที่ปกัน (Pekan) เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ กัวลาลีปิส เตเมร์โละห์ และรีสอร์ตเชิงเขาที่ที่สูงเกินติง ที่สูงจาเมรอน และเฟรเซอส์ฮิลล์ ชื่อเฉลิมเมืองของรัฐปะหังคือ ดารุลมักมูร์ ("ถิ่นที่อยู่แห่งความเงียบสงบ") องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของผู้คนในรัฐนี้ประมาณอย่างหยาบ ๆ ได้แก่ ชาวมลายู + ภูมิบุตร 1 ล้านคน ชาวจีน 233,000 คน ชาวอินเดีย 68,500 คน อื่น ๆ 13,700 คน และไร้สัญชาติ 68,000 คน.

23 ความสัมพันธ์: ชาวอินเดียกวนตันการไม่มีศาสนาภูมิบุตรมาเลเซียตะวันตกรัฐกลันตันรัฐยะโฮร์รัฐตรังกานูรัฐเซอลาโงร์รัฐเปรักรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันศาสนาพุทธศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูสถานพักตากอากาศอักษรยาวีอัลละห์ สลามัตกัน ซุลตัน กามีทะเลจีนใต้ดัชนีการพัฒนามนุษย์คริสต์ความไร้สัญชาติประเทศมาเลเซียเปอกัน

ชาวอินเดีย

วอินเดีย (Indian people) เป็นประชากรของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีพลเมืองหนาแน่นในเอเชียใต้หรือ 17.31% ของประชากรโลก.

ใหม่!!: รัฐปะหังและชาวอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

กวนตัน

กวนตัน (Kuantan) เป็นเมืองหลวงของรัฐปะหัง รัฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของมาเลเซีย เมืองตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำกวนตัน อยู่ทางทิศตะวันออกของรัฐปะหัง เป็นเมืองใหญ่อันดับ9ของมาเลเซีย หมวดหมู่:เมืองในประเทศมาเลเซีย.

ใหม่!!: รัฐปะหังและกวนตัน · ดูเพิ่มเติม »

การไม่มีศาสนา

การแบ่งประเทศตามร้อยละของการให้ความสำคัญแก่ศาสนา ตามผลสำรวจของสำนักวิจัยพิว ใน พ.ศ. 2545 การไม่มีศาสนา (Irreligion หรือ No religion) หมายความว่า ภาวะที่ไม่นับถือศาสนา ไม่แบ่งแยกศาสนา หรือเป็นปรปักษ์ต่อศาสนา ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสนา ว่ากันตามแต่ละนิยามหรือความเข้าใจของบุคคล การไม่มีศาสนาอาจเข้าใจได้ว่าหมายถึง อเทวนิยม (atheism), อไญยนิยม (agnosticism), ศาสนวิมตินิยม (religious skepticism) หรือ มนุษยนิยมแบบฆราวาส (secular humanism) เป็นต้น สำหรับในบางสังคมอาจไม่ยอมรับการไม่มีศาสนา หรืออาจมีอคติต่อผู้ที่ไม่มีศาสนา เช่นการเหมารวมว่าคนที่ไม่มีศาสนาทั้งหมดคือคนที่ชั่วร้าย เป็นต้น บ่อยครั้งที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้ก่อเหตุอาชญากรรมหรือผู้ก่อการร้ายเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา แม้ว่าผู้ก่อเหตุจะแสดงตัวว่ามีศาสนาก็ตาม ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจเข้าใจการไม่มีศาสนาเท่า ๆ กับศาสนิกชน เช่น ผู้นับถือลัทธิมนุษยนิยมมีความเชื่ออย่างลึกซึ้งยิ่งในวัตรปฏิบัติของตนเองพอ ๆ กับความลึกซึ้งของความเชื่อที่ศาสนิกชนมีต่อศาสนาของตน เป็นต้น ถึงแม้ว่าคนที่ระบุว่าตนเองเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาจะมิได้รับนับถือศาสนาใด ๆ แต่ผู้ที่ไม่มีศาสนาบางกลุ่มยังคงเชื่อถือในเทวะหรือผีสางนางไม้เป็นต้น เช่น คนที่นับถือผีหรือเชื่อโชคลาง แต่ไม่ได้ประกอบพิธีกรรมใด ๆ หรือไม่ได้เป็นศาสนิก เป็นต้น พึงทราบว่า ในบางประเทศ เช่น ซาอุดีอาระเบีย บังคับให้พลเมืองต้องเป็นศาสนิกชน หรือประเทศไทย ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจถูกระบุโดยบุคคลอื่นว่าเป็นพุทธศาสนิกชน หรือในบางสังคมที่ไม่ยอมรับการไม่มีศาสนาอาจมีผู้ที่ไม่เปิดเผยว่าตนเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาในการสำรวจข้อมูลหรือการทำสำมะโนประชากร ดังนั้น จำนวนของผู้ที่ไม่มีศาสนาในโลกนี้จึงยังไม่อาจระบุให้เป็นที่แน่นอนได้ แต่คาดว่าอาจมีมากกว่า 900 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: รัฐปะหังและการไม่มีศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิบุตร

ูมิบุตร หรือ ภูมิปุตรา (Bumiputera, بوميڤوترا, บูมีปูเตอรา; แยกความหมายตรงตัวออกมาคือ ภูมิ แปลว่า แผ่นดิน บุตรแปลว่า ลูก)แปลว่า "ลูกของแผ่นดิน") หมายถึงชาวมลายูดั้งเดิม อันรวมถึงชาวโอรังอัสลี (Orang Asli)​ ซึ่งเป็นชาวเผ่าดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูและชนพื้นเมืองของรัฐซาบะฮ์และซาราวะก์ ทั้งนี้ในปัจจุบัน "ภูมิบุตร" ยังรวมถึงชาวมาเลเซียซึ่งอพยพมาจากอินโดนีเซีย (เรียกว่า ปรีบูมี), ชาวมาเลเซียเชื้อสายสยาม, ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียมุสลิม, ชาวจีนช่องแคบ (กลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีน) และชาวคริสตัง (กลุ่มคริสตังลูกครึ่งมลายู-โปรตุเกส) แต่ไม่รวมถึงชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนหรืออินเดียที่มีจำนวนมากในประเทศ ชาวมาเลเซียภูมิบุตรจะได้รับความช่วยเหลือพิเศษทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติตาม "นโยบายเศรษฐกิจใหม่" ซึ่งได้เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 แต่ชาวจีนและชาวฮินดูจะถูกกีดกันจากสิทธิพิเศษต่างๆ รวมถึงการห้ามเข้าโรงเรียนที่สงวนไว้เฉพาะคนมาเลย์ ทฤษฏีภูมิบุตรจึงถือว่าเป็นทฤษฎีเหยียดผิว และเลือกปฏิบัติทางชาติพันธ์ โดยนโยบายกดขี่ชาติพันธ์อื่นเป็นนโยบายทางการเมืองของมาเลย์เซียมาตั้งแต่หลังได้รับเอกราช และเป็นเงื่อนไขโดยตรงหนึ่งที่ให้เกิดความรุนแรงในเดือนพฤษภาคม ปี 1963 ที่คนจีนจำนวนมากถูกชาวมาเลย์รุมสังหาร และทำให้ความขัดแย้งทางชาติพันธ์ในมาเลย์เซียเป็นเรื่องแก้ไม่ตกมาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: รัฐปะหังและภูมิบุตร · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียตะวันตก

มาเลเซียตะวันตก (Semenanjung Malaysia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูโดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยทางเหนือ และติดต่อกับสิงคโปร์ทางใต้โดยมีช่องแคบยะโฮร์กั้นอยู่ ทางตะวันตกจรดกับช่องแคบมะละกาและทางตะวันออกจรดกับทะเลจีนใต้ มาเลเซียตะวันตกยังเป็นดินแดนส่วนแรกที่รวมตัวกันเป็นสหภาพมาลายา ก่อนที่มาเลเซียตะวันออกและสิงคโปร์จะเข้าร่วมและกลายเป็นสหพันธรัฐมาลายาในเวลาต่อมา (และภายหลังสิงคโปร์ก็แยกดินแดนออกไปตั้งรัฐของตนเอง).

ใหม่!!: รัฐปะหังและมาเลเซียตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกลันตัน

กลันตัน (Kelantan; มลายูปัตตานี: كلنتن กลาแต) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ที่สวยงาม") เมืองหลวงและเมืองของเจ้าผู้ครองประจำรัฐคือโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทยทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐตรังกานูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเประก์ทางทิศตะวันตก และรัฐปะหังทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดทะเลจีนใต้ จากการที่พรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐนี้มานานหลายปี จึงทำให้กลันตันเป็นรัฐที่มีความเป็นอนุรักษนิยมทางสังคมมากที่สุดในประเทศ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวมลายูร้อยละ 95 ชาวไทยร้อยละ 3 ชาวจีนร้อยละ 1.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1.

ใหม่!!: รัฐปะหังและรัฐกลันตัน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐยะโฮร์

ร์ (Johor, อักษรยาวี: جوهور) เป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 1°20" เหนือ และ 2°35" เหนือ เมืองหลวงของรัฐตั้งอยู่ที่เมืองโจโฮร์บะฮ์รู (Johor Bahru) ซึ่งเมื่อก่อนนี้ชื่อเมืองตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) เมืองหลวงเก่าคือเมืองยะโฮร์ลามา (Johor Lama) คำเฉลิมเมืองที่เป็นภาษาอาหรับคือ ดารุลตาอาซิม (Darul Ta'azim) ซึ่งแปลว่า ที่สถิตแห่งเกียรติยศ รัฐนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ SIJORI เพื่อเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร.

ใหม่!!: รัฐปะหังและรัฐยะโฮร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐตรังกานู

ตรังกานู (Terengganu เดิมสะกดว่า Trengganu หรือ Tringganu, อักษรยาวี: ترڠڬانو) เป็นรัฐสุลต่านและเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอีมาน ("ถิ่นที่อยู่แห่งความศรัทธา") รัฐตรังกานูตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐกลันตัน ทางทิศใต้ติดต่อกับรัฐปะหัง และทางทิศตะวันออกจรดทะเลจีนใต้ หมู่เกาะเปอร์เฮินเตียน (Perhentian Islands) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนี้ด้วย ทำให้รัฐตรังกานูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 12,955 ตารางกิโลเมตร องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ในปี พ.ศ. 2538 ได้แก่ ชาวมลายู (859,402 คน หรือร้อยละ 94) ชาวจีน (42,970 คน หรือร้อยละ 5) ชาวอินเดีย (4,355 คน) และอื่น ๆ (3,238 คน) เมืองชายฝั่งกัวลาเตอเริงกานู (Kuala Terengganu) ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำตรังกานูเป็นทั้งเมืองหลวงของรัฐและเมืองของสุลต่าน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรั.

ใหม่!!: รัฐปะหังและรัฐตรังกานู · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเซอลาโงร์

ซอลาโงร์ (Selangor, อักษรยาวี: سلانڠور) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของคาบสมุทรมลายู และล้อมรอบกัวลาลัมเปอร์ไว้ทั้งหมด อาณาเขตของรัฐเซอลาโงร์ ทิศเหนือติดรัฐเปรัก ทิศตะวันออกติดรัฐปะหัง ทิศตะวันตกติดช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน เมืองหลวงของเซอลาโงร์ชื่อ ชะฮ์อาลัม เมืองเจ้าผู้ครองชื่อ กลัง เป็นรัฐทีใหญ่อันดับ 9 ของมาเลเซีย อีกเมืองหนึ่งที่สำคัญของเซอลาโงร์คือเปอตาลิงจายา ซึ่งได้รับเป็นสถานะเป็นเมืองดีเด่นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2006.

ใหม่!!: รัฐปะหังและรัฐเซอลาโงร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเปรัก

ปรัก หรือ เประก์ (Perak, อักษรยาวี: ڨيرق) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศมาเลเซีย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองบนมาเลเซียตะวันตก ติดต่อกับรัฐเกอดะฮ์และจังหวัดยะลาของประเทศไทยทางทิศเหนือ รัฐปีนังทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐกลันตันและรัฐปะหังทางทิศตะวันออก รัฐเซอลาโงร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันตกจรดช่องแคบมะละกา "เปรัก" (Perak) ในภาษามลายูหมายถึงเงิน ซึ่งน่าจะมาจากสีเงินของแร่ดีบุก แต่บางคนก็ว่าชื่อของรัฐมาจาก "แสงวิบวับของปลาในน้ำ" ซึ่งส่องเป็นประกายเหมือนเงิน ส่วนชื่อเฉลิมเมืองในภาษาอาหรับคือ ดารุลริฎวาน ("ดินแดนแห่งความสง่างาม") เกาะปังกอร์เป็นเกาะเล็ก ๆ ใกล้ชายฝั่ง มีกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น การดำน้ำ.

ใหม่!!: รัฐปะหังและรัฐเปรัก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน

นอเกอรีเซิมบีลัน (Negeri Sembilan, อักษรยาวี: نڬري سمبيلن) เป็น 1 ใน 13 รัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,650 ตารางกิโลเมตร คำว่า "เนอเกอรีเซิมบีลัน" แปลว่า 9 รัฐ สืบเนื่องจากในสมัยก่อนแบ่งการปกครองเป็น 9 อำเภอ มีเมืองหลวงชื่อ เซอเริมบัน เป็นเมืองท่าที่มีชายฝั่งทะเลสวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อน องค์ประกอบของกลุ่มชาติพันธุ์ในปี..

ใหม่!!: รัฐปะหังและรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: รัฐปะหังและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: รัฐปะหังและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: รัฐปะหังและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สถานพักตากอากาศ

นพักตากอากาศจะรวมโรงแรมและนันทนาการเข้าหลายอย่าง เช่นสระน้ำเป็นต้น สถานพักตากอากาศ หรือ รีสอร์ต (resort) เป็นสถานที่ที่ใช้พักผ่อนหรือนันทนาการ ผู้พักใช้ในวันหยุดหรือวันพักผ่อน รีสอร์ตเป็นสถานที่หรืออาจเป็นเมืองหรือในบางครั้งอาจะเป็นสิ่งก่อสร้างการค้าที่บริหารโดยบริษัทเดียว เป็นสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันสำหรับผู้มาพัก ทั้งอาหาร ที่พัก กีฬา สิ่งบันเทิงและศูนย์การค้า เมืองที่มีรีสอร์ตอยู่หรือสถานที่ท่องเที่ยวหรือพักผ่อนเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมในเมือง มักจะเรียกว่าเมืองพักตากอากาศ (สถานที่พักตากอากาศ) หรือรีสอร์ตทาวน์ เมืองอย่างเช่น โซชีในรัสเซีย, ชาร์ม เอล-ชีคในอียิปต์, บาริโซในสเปน, กอร์ตีนาดัมเปซโซในอิตาลี, Druskininkai ในลิทัวเนีย, นิสหรือเฟรนช์ริวีเอราของฝรั่งเศส หรือนิวพอร์ต, โรดไอแลนด์ หรือเซนต์มอริตซ์, สวิตเซอร์แลนด์ หรือในเขตที่ใหญ่กว่าอย่าง ภูเขาอดีรอนเดค หรืออิตาเลียนริวีเอรา ที่เป็นที่รู้จักดี ส่วนวอลต์ดิสตีย์เวิลด์รีสอร์ตเป็นตัวอย่างที่โด่งดังของรีสอร์ตสมัยใหม่ รีสอร์ตถือเป็นจุดหมายปลายทางที่เพิ่มมากขึ้นกับนักท่องเที่ยวทั่วโลก ตัวอย่างเช่นประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่มีชื่อเสียง และรีสอร์ตในแถบอเมริกากลางและทะเลแคริบเบียนก็มีอยู่มากม.

ใหม่!!: รัฐปะหังและสถานพักตากอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรยาวี

ตัวอย่างอักษรยาวี อักษรยาวี (حروف جاوي) เป็นอักษรอาหรับดัดแปลงสำหรับเขียนภาษามลายู ภาษาอาเจะฮ์ ภาษาบันจาร์ ภาษามีนังกาเบา ภาษาเตาซูก และภาษาอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นักปราชญ์คนหนึ่งของปัตตานี ชื่อ ชัยค์ อะห์มัด อัลฟะฏอนี (Syeikh Ahmad al-Fathani) ได้วางกฎเกณฑ์การใช้อักษรยาวีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนภาษามลายูในท้องถิ่นนี้ ในอดีต โลกมลายูใช้อักษรยาวีมาช้านาน ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้อักษรรูมี ปัจจุบันชาวมุสลิมในประเทศไทยที่พูดภาษามลายู นิยมใช้อักษรยาวีบันทึกเรื่องราวในศาสนา และการสื่อสารต่าง ๆ ส่วนนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะ หรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะเริ่มเรียนอักษรยาวีสำหรับอ่านเขียนภาษาอาหรับ (ภาษาในคัมภีร์อัลกุรอาน) ตั้งแต่ยังเยาว์ อักษรยาวียังคงใช้กันอยู่บ้างในมาเลเซีย บรูไน และสุมาตรา คำว่า ยาวี นั้นมาจากคำว่า jawa หมายถึง ชวา นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะชาวชวาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานี ได้นำอักษรอาหรับดัดแปลงมาเผยแพร่ และในที่สุดได้รับมาใช้ในชุมชนที่พูดภาษามลายูปัตตานีมาช้านาน เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีความสับสนในการเรียกชื่ออักษรยาวี และภาษามลายูว่า "ภาษายาวี" แม้กระทั่งในหมู่ผู้พูดภาษามลายู ทว่าความจริงแล้วไม่มีภาษายาวี มีแต่อักษรยาวีกับภาษามลายู.

ใหม่!!: รัฐปะหังและอักษรยาวี · ดูเพิ่มเติม »

อัลละห์ สลามัตกัน ซุลตัน กามี

หมวดหมู่:เพลงมาเลเซีย.

ใหม่!!: รัฐปะหังและอัลละห์ สลามัตกัน ซุลตัน กามี · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลจีนใต้

แผนที่ทะเลจีนใต้ ทะเลจีนใต้ (South China Sea) เป็นทะเลปิดที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ประเทศสิงคโปร์ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเพราะมีเส้นทางขนส่งทางเรือผ่านคิดเป็นหนึ่งในสามของโลก นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า ใต้พื้นทะเลมีน้ำมันและแก๊สธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ด้วย อาณาเขตของทะเลจีนใต้ อยู่ทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน, ตะวันตกของฟิลิปปินส์, ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียและบรูไน, เหนือของอินโดนีเซีย, ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ และตะวันออกของเวียดนาม หมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ มีจำนวนหลายร้อยเกาะ ทะเลและเกาะที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยส่วนใหญ่นี้เป็นหัวข้อพิพาทอธิปไตยโดยหลายประเทศ ข้อพิพาทเหล่านี้ยังได้สะท้อนในชื่ออันหลากหลายที่ตั้งให้เกาะและทะเล.

ใหม่!!: รัฐปะหังและทะเลจีนใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีการพัฒนามนุษย์

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI) คือดัชนีทางสถิติแบบองค์รวมที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัว ซึ่งใช้จัดลำดับการพัฒนามนุษย์ในแต่ละประเทศเป็น 4 กลุ่ม ยิ่งประเทศใดมีระดับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัวมาก ก็จะยิ่งส่งผลให้ระดับการพัฒนามนุษย์มากตามไปด้วย ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวถูกพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถาน มาห์บับ อุล ฮัก ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย อมรรตยะ เสน ซึ่งได้วางกรอบการศึกษาไว้ว่าผู้คนสามารถที่จะ "เป็น" หรือ "กระทำ" สิ่งที่ตนปรารถนาในชีวิตได้หรือไม่ และเผยแพร่รายงานการศึกษาโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี..

ใหม่!!: รัฐปะหังและดัชนีการพัฒนามนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์

ริสต์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รัฐปะหังและคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ความไร้สัญชาติ

วามไร้สัญชาติ (statelessness) เป็นข้อความคิดทางกฎหมายซึ่งพรรณนาถึงการที่บุคคลไม่มีสัญชาติ (nationality) ใด ๆ เลย กล่าวคือ สภาวะซึ่งบุคคลไม่เป็นที่รับรองว่าเกี่ยวข้องกับรัฐชาติรัฐใด ๆ เลย บุคคลเช่นนี้เรียก คนไร้สัญชาติ (stateless person) ไร้สัญชาติ แบ่งเป็นสองลักษณะ คือ.

ใหม่!!: รัฐปะหังและความไร้สัญชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: รัฐปะหังและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เปอกัน

ปกัน (Pekan) เป็นเมืองที่สุลต่านแห่งรัฐปะหังประทับอยู่ เป็นเมืองที่มีแม่น้ำปะหังไหลผ่าน พื้นที่ของรัฐปกันมีพื้นที่ 3,805ตารางกิโลเมตร ปกันมีประชากรทั้งหมด 60,000 คน อยู่ห่าจากกัวลาลัมเปอร์ 280 กิโลเมตร อยู่ทางทิศใต้ของกวนตัน หมวดหมู่:เมืองในประเทศมาเลเซีย.

ใหม่!!: รัฐปะหังและเปอกัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pahangรัฐปาหังปะหังปาหัง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »