เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก

ดัชนี ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก

แสดงการแพร่กระจายของภาษาตระกูลแอโฟรเอชีแอติกด้วยสีเหลือง ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afroasiatic languages) เป็นตระกูลภาษาที่มีสมาชิก 375 ภาษาและมีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคน แพร่กระจายในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตะวันออก แอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (รวมผู้พูดภาษาอาหรับ 200 ล้านคน) ชื่อของภาษาตระกูลนี้ตั้งโดย Joseph Greenberg เพื่อใช้แทนชื่อเดิม ตระกูลภาษาฮามิโต-เซมิติก กลุ่มย่อยของภาษาตระกูลนี้ได้แก.

สารบัญ

  1. 16 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาเซมิติกภาษาอาหรับภาษาฮีบรูภาษาแอราเมอิกยุคหินอักษรเมรอยติกทะเลทรายสะฮาราทะเลแดงคาบสมุทรไซนายตะวันออกกลางประเทศซูดานประเทศแอลจีเรียประเทศเอริเทรียประเทศเอธิโอเปียนิวเบียแม่น้ำไนล์

  2. กลุ่มชาติพันธุ์ในทวีปแอฟริกา
  3. กลุ่มชาติพันธุ์ในยุโรป
  4. กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชีย
  5. ชาวแอโฟรเอชีแอติก
  6. ตระกูลภาษา

กลุ่มภาษาเซมิติก

หมายของอมาร์นา เขียนด้วย ภาษาอัคคาเดีย กลุ่มภาษาเซมิติก (Semitic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจะงอยของแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอัมฮารา (27 ล้านคน) ภาษาตึกรึญญา (6.9 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน) กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรกๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอาหรับ อักษรแอราเมอิก อักษรซีรีแอก อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและกลุ่มภาษาเซมิติก

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและภาษาอาหรับ

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและภาษาฮีบรู

ภาษาแอราเมอิก

ษาแอราเมอิก (Aramaic language) เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 3,000 ปืเป็นภาษากลางของบริเวณตะวันออกใกล้ในช่วง 157 ปีก่อนพุทธศักราชถึง..

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและภาษาแอราเมอิก

ยุคหิน

หิน (Stone Age) หมายถึง ช่วงเวลาสมัยบรรพบุรุษมนุษย์สร้างเครื่องมือจากหิน ไม้ และกระดูก หรือวัสดุอื่น ๆ เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิต โดยมีหินลักษณะเฉพาะที่ใช้ในการตัดสิ่งของต่าง ๆ ที่เรียกว่าฟลินต์ (flint) จุดเริ่มต้นของยุคหินนั้นนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดอยู่ในช่วง 2-5 ล้านปีมาแล้ว ระยะเวลานั้นแตกต่างกันไปตามสถานที่พบซากวัสดุ แต่เนื่องจากไม่ได้มีหลักฐานบันทึกไว้แน่ และมนุษย์ก็ยังมีการใช้เครื่องมือที่ทำจากหินเป็นระยะเวลานานต่อมา หลังจากหมดยุคหินแล้ว จะเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า ยุคสำริด (Bronze Age) เนื่องจากมีพัฒนาวัสดุที่จำนำมาใช้เป็นเครื่องมือ จากหินมาเป็นโลหะสำริดแทน พบหลักฐานจากบริเวณตะวันออกกลาง คาดว่าน่าจะอยู่ในช่วง 2,000 - 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ยุคหินนั้นยังแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ช่วงย่อยคือ.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและยุคหิน

อักษรเมรอยติก

อักษรเมรอยติก พัฒนามาจากอักษรอียิปต์โบราณเพื่อใช้เขียนเมื่อราว..

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและอักษรเมรอยติก

ทะเลทรายสะฮารา

ทะเลทรายสะฮารา หรือ ซาฮารา หรือ สาฮารา (Sahara) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า สะฮารา ในภาษาอาหรับ (صحراء) หมายถึง ทะเลทราย อาณาเขตของทะเลทรายสะฮารา ด้านทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศเหนือคือเทือกเขาแอตลาสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกจรดทะเลแดงและประเทศอียิปต์ ทิศใต้จรดประเทศซูดานและหุบเขาของแม่น้ำไนเจอร์ วิดีโอที่ถ่ายในมุมมองจากอวกาศ ของ ทะเลทรายสะฮารา และ แถวตะวันออกกลาง โดยสมาชิกนักบินอวกาศในการสำรวจที่ 29.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและทะเลทรายสะฮารา

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและทะเลแดง

คาบสมุทรไซนาย

ภาพถ่ายดาวเทียมของคาบสมุทรไซนาย คาบสมุทรไซนาย (Sinai Peninsula) เป็นแผ่นดินรูปสามเหลี่ยมที่มียอดแหลมอยู่ทางทิศใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองท่าตากอากาศชาร์เมลเชค (Sharm el Sheikh) บนริมฝั่งทะเลแดง ส่วนด้านทิศเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นทางแผ่นดินที่พาดผ่านจากแอฟริกาสู่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีเนื้อที่ราว 60,000 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่ของประเทศอียิปต์ ซ.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและคาบสมุทรไซนาย

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและตะวันออกกลาง

ประเทศซูดาน

ซูดาน (Sudan; السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (Republic of the Sudan; جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเคนยาและยูกันดา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับคองโกและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและประเทศซูดาน

ประเทศแอลจีเรีย

แอลจีเรีย (Algeria; الجزائر) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย (People's Democratic Republic of Algeria; الجمهورية الجزائرية الديمقراطية الشّعبية) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ และเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 1ในทวีปแอฟริกา หลังจากประเทศซูดานใต้ แยกออกจากประเทศซูดานมีอาณาเขตทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศตูนิเซีย ทางตะวันออกจรดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกเฉียงใต้จรดประเทศไนเจอร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศมาลีและประเทศมอริเตเนีย และทางตะวันตกจรดประเทศโมร็อกโก รวมถึงหลายกิโลเมตรของพื้นที่ที่ยึดครองมาได้บางส่วน คือ เวสเทิร์นสะฮารา ประเทศแอลจีเรียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ โดยรัฐธรรมนูญ ได้นิยามไว้ว่าแอลจีเรียเป็นประเทศ อิสลาม อาหรับ และอะมาซิก (เบอร์เบอร์) ชื่อประเทศแอลจีเรีย (Algeria) มาจากชื่อเมืองหลวงแอลเจียร์ ซึ่งมาจากคำภาษาอาหรับว่า อัลญะซาอิร (al-jazā’ir) ซึ่งแปลว่า "หมู่เกาะ" หมายถึงเกาะ 4 เกาะ ที่อยู่นอกชายฝั่งของเมือง ก่อนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่เมื่อปี พ.ศ.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและประเทศแอลจีเรีย

ประเทศเอริเทรีย

อริเทรีย (Eritrea; ตึกรึญญา:; إرتريا) หรือชื่อทางการคือ รัฐเอริเทรีย (State of Eritrea; ตึกรึญญา:; دولة إرتريا) เป็นประเทศทางตอนเหนือของแอฟริกาตะวันออก มีชายฝั่งทะเลติดกับทะเลแดงเกือบหนึ่งพันกิโลเมตร ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดทะเลแดง ทิศตะวันตกติดซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดจิบูตี ทิศใต้ติดเอธิโอเปีย มีเมืองหลวงชื่อแอสมาร.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและประเทศเอริเทรีย

ประเทศเอธิโอเปีย

อธิโอเปีย (Ethiopia; อามฮารา) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; อามฮารา) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและประเทศเอธิโอเปีย

นิวเบีย

ูมิภาคนิวเบียปัจจุบัน นิวเบีย หรือ นูเบีย (Nubia) เป็นภูมิภาคตามแม่น้ำไนล์ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศซูดานตอนเหนือและประเทศอียิปต์ตอนใต้ เป็นอารยธรรมแรก ๆ ในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือโบราณ โดยสามารถสืบย้อนประวัติศาสตร์มาแต่ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นต้นมา (ผ่านสิ่งก่อสร้างและสิ่งประดิษฐ์นิวเบีย ตลอดจนบันทึกลายลักษณ์จากอียิปต์และโรม) และเป็นที่ตั้งของจักรวรรดิแห่งหนึ่งของแอฟริกา มีราชอาณาจักรนิวเบียขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งตลอดสมัยหลังคลาสสิก ราชอาณาจักรแห่งสุดท้ายล่มสลายใน..

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและนิวเบีย

แม่น้ำไนล์

แผนที่แสดงเส้นทางการไหลของแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์ ในบริเวณอียิปต์ แม่น้ำไนล์ และ กรุงไคโรด้านหลัง แม่น้ำไนล์ (النيل อันนีล; Nile) เป็นแม่น้ำใน ทวีปแอฟริกา เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก โดยถูกค้นพบแหล่งต้นน้ำใหม่ที่ทำให้มีความยาวกว่าเดิมเมื่อไม่นานมานี้ โดยแม่น้ำไนล์มีความยาวทั้งสิ้น 6,695 กิโลเมตร^~^.

ดู ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติกและแม่น้ำไนล์

ดูเพิ่มเติม

กลุ่มชาติพันธุ์ในทวีปแอฟริกา

กลุ่มชาติพันธุ์ในยุโรป

กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชีย

ชาวแอโฟรเอชีแอติก

ตระกูลภาษา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ภาษากลุ่มแอฟโร-เอเชียติกตระกูลภาษาฮามิโต-เซมิติกตระกูลภาษาแอฟโร-เอเชียติกตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติกแอโฟร-เอเชียติก