โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตระกูลภาษาดราวิเดียน

ดัชนี ตระกูลภาษาดราวิเดียน

การแพร่กระจายของตระกูลภาษาดราวิเดียน ตระกูลภาษาดราวิเดียนเป็นตระกูลของภาษาที่มีสมาชิก 73 ภาษา ส่วนใหญ่ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดียและทางตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา และบางบริเวณในปากีสถาน เนปาล บังกลาเทศ และภาคกลางและภาคตะวันออกของอินเดีย รวมทั้งบางส่วนของอัฟกานิสถานด้วย นอกจากนั้นยังมีผู้ที่อพยพไปยังมาเลเซียและสิงคโปร.

37 ความสัมพันธ์: ชาวมัวร์ชาวทมิฬกลุ่มภาษาอินโด-อารยันภาษาบราฮุยภาษาบาสก์ภาษาพทคะภาษากันนาดาภาษากุย (ดราวิเดียน)ภาษากุรุขภาษามาลายาลัมภาษาสันสกฤตภาษาสิงหลภาษาอาหรับภาษาอีลาไมต์ภาษาอเวสตะภาษาทมิฬภาษาตูลูภาษาซูเมอร์ภาษาโกลามีภาษาโกทวะภาษาโกตาภาษาโคนทีภาษาโตทาภาษาเกาหลีภาษาเตลูกูศาสนาพุทธศาสนาเชนอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุตระกูลภาษาญี่ปุ่นประเทศบังกลาเทศประเทศมาเลเซียประเทศศรีลังกาประเทศสิงคโปร์ประเทศอัฟกานิสถานประเทศอินเดียประเทศปากีสถานประเทศเนปาล

ชาวมัวร์

ชาวมัวร์ (Moors) ในยุคกลาง คำว่า “มัวร์” เป็นคำที่หมายถึงชนมุสลิมที่อาศัยอยู่ที่คาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาเหนือซึ่งเดิมเป็นชนอาหรับ หรือ เบอร์เบอร์ คำนี้ใช้เฉพาะในการอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันคำนี้ไม่ใช้แล้ว คำนี้จะใช้กล่าวถึงชนมุสลิมในประเทศสเปนแม้แต่ในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นคำโบราณและไม่ถูกต้อง เพราะคำนี้รวมชนมุสลิมและชนที่ไม่ใช่มุสลิมที่เป็นชาวอาหรับ เบอร์เบอร์ และชาวอาฟริกาอื่นๆ หรือบางครั้งก็รวมชนมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรียด้วย ในภาษาสเปนคำนี้เป็นคำที่ถือผิว หมวดหมู่:ชาวอาหรับ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและชาวมัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวทมิฬ

วทมิฬ (தமிழர்) เป็นประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย และบริเวณภาคตะวันตกของประเทศศรีลังกา และชาวทมิฬอยู่ในกลุ่มของชาวดราวิเดียน พูดภาษาทมิฬเป็นภาษาแม่ในรัฐทมิฬนาฑู เขตการปกครองดินแดนสหภาพสาธารณรัฐอินเดียปูดูเชร์รี และจังหวัดเหนือ จังหวัดตะวันออก และปัตตาลัมของประเทศศรีลังกา ชาวทมิฬมีประชากรอยู่ประมาณ 76 ล้านคนที่เกิดทั่วโลก เป็นประชากรที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก ชาวทมิฬอาศัยอยู่ในศรีลังกา 24.87%, มอริเชียส 10.83%, อินเดีย 5.91%, สิงคโปร์ 5% และ มาเลเซีย 7%.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและชาวทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

ตที่มีผู้พูดกลุ่มภาษาอินโดอารยัน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน จากรายงานใน..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบราฮุย

ภาษาบราฮุย (بروہی) เป็นภาษาที่ใช้พูดในบาโลชิสถาน ประเทศปากีสถาน รวมถึงอัฟกานิสถานและอิหร่านโดยชาวบราฮุย มีรายงานว่ามีผู้พูดในปากีสถาน 2 ล้านคน (2541) ในปากีสถานส่วนใหญ่พูดในเขตกาลัตของบาโลชิสถาน เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านมาก เช่นจากภาษาบาโลชิ เชื่อว่าเป็นส่วนที่เหลืออยู่ของภาษากลุ่มดราวิเดียนที่เคยแพร่กระจายในบริเวณดังกล่าว ก่อนที่ชาวอารยันจะอพยพเข้ามา นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า ชาวบราฮุยเป็นลุกหลานของกลุ่มชนที่เจ้าของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ขณะที่สมมติฐานอื่นเชื่อว่าภาษานี้เกิดจากการกลมกลืนกันของภาษากลุ่มดราวิเดียนและอินโด-อารยันในยุคก่อนพระเวท บราฮุย บราฮุย บราฮุย.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาบราฮุย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาสก์

ก์ (Basque) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวบาสก์ซึ่งอาศัยอยู่แถบเทือกเขาพีเรนีสในตอนกลางของภาคเหนือของประเทศสเปน รวมทั้งในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสที่มีอาณาเขตติดต่อกัน หรือลึกลงไปกว่านั้นคือ ชาวบาสก์ได้ครอบครองแคว้นปกครองตนเองที่มีชื่อว่าแคว้นประเทศบาสก์ (Basque Country autonomous community) ซึ่งมีวัฒนธรรมและอิสระในการปกครองตนเองทางการเมือง นอกจากนี้ก็ยังมีชาวบาสก์ที่อยู่ในเขตนอร์เทิร์นบาสก์ในฝรั่งเศสและแคว้นปกครองตนเองนาวาร์ในสเปนอีกด้วย ชื่อเรียกภาษาบาสก์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาตนเอง) คือ เออุสการา (euskara) ส่วนในรูปภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ เออุสเกรา (euskera) เอสกูอารา (eskuara) และ อุสการา (üskara) แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์จะถูกล้อมรอบด้วยภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แต่ภาษาบาสก์กลับจัดเป็นภาษาโดดเดี่ยว (language isolate) ไม่ใช่ภาษาในตระกูลดังกล่าว.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาบาสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพทคะ

ษาพทคะ (Badaga language: ภาษาพทคะ: படக பாக்ஷே,ภาษาทมิฬ: படுகு மொழி, ภาษากันนาดา: ಬಡಗ ಭಾಷೆ) เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนใต้ (ในภาษากลุ่มทมิฬ-กันนาดา) มีผู้พูดประมาณ 400,000 คนในหุบเขานิลคีรีในอินเดียใต้ ภาษาพทคะมีสระห้าเสียง /i e a o u/ มีความพยายามที่จะเขียนภาษาพทคะด้วยระบบการออกเสียงของภาษาทมิฬ และภาษากันนาดา ซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียง รวมทั้งภาษาอังกฤษที่มีการเรียนในโรงเรียนด้ว.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาพทคะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากันนาดา

ษากันนาดา (ಕನ್ನಡ) เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่สำคัญภาษาหนึ่ง ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดีย เป็นภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ เขียนด้วยอักษรกันนาดา เช่นเดียวกับภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ในรัฐกรณาฏกะ ได้แก่ ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานีที่เขียนด้วยอักษรกันนาดาเช่นกัน ภาษากันนาดาได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ วรรณคดีรุ่นแรก ๆ ที่เขียนด้วยภาษานี้คือ กาวิราชมาร์กา ของกษัตริย์นริปาตุง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษากันนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากุย (ดราวิเดียน)

สำหรับความหมายอื่นดูที่ ภาษากุย (แก้ความกำกวม) ภาษากุย (Kui language (Dravidian)) หรือภาษากานธ์ ภาษาโขนที ภาษาโกทู ภาษาโกทูลู ภาษากุยงา เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนกลาง-ใต้ ที่พูดโดยชาวโขนธ์ ส่วนใหญ่ใช้พูดในรัฐโอริศา เขียนด้วยอักษรโอริยา มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 641,662 คน ใกล้เคียงกับภาษาโคนที ภาษาโกนทา และภาษากูวี กุย (ดราวิเดียน).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษากุย (ดราวิเดียน) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากุรุข

ษากุรุข (Kurukh; อักษรเทวนาครี: कुड़ुख़) เป็นภาษาในตระกูลภาษาดราวิเดียนที่พูดโดยเผ่าโอโรนหรือเผ่ากุรุข ที่อยู่ในรัฐพิหาร ฌารขัณฑ์ โอริศา มัธยประเทศ ฉัตตีสครห์ และเบงกอลตะวันตก ในประเทศอินเดีย และบังกลาเทศภาคเหนือ มีความใกล้เคียงกับภาษาบราฮุย และภาษามัลโตหรือภาษาปาหาเรีย บางครั้งเรียกภาษาโอโรน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษากุรุข · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาลายาลัม

ษามาลายาลัมเป็นภาษาราชการของรัฐเกราลาทางภาคใต้ของอินเดีย มีผู้พูดประมาณ 36 ล้านคน และมีผู้พูดในเกาะลักษทวีปด้วย จัดอยู่ในภาษาตระกูลดราวิเดียน ใกล้เคียงกับภาษาทมิฬ เขียนด้วยอักษรมาลายาลัม ภาษามาลายาลัมจัดอยู่ในกลุ่มดราวิเดียนใต้ คาดว่ามีกำเนิดร่วมกับภาษาทมิฬเมื่อราว..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษามาลายาลัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสิงหล

ษาสิงหล (සිංහල) เป็นภาษาของชาวสิงหล ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศศรีลังกา เป็นภาษาในสาขาอินโด-อารยันของตระกูลอินโด-ยูโรเปียน มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษามัลดีฟส์ของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 15 ล้านคน เจ้าชายวิชายาและพรรคพวกนำชาวสิงหลอพยพเข้าสู่เกาะลังกาเมื่อราว 500 ปีก่อนพุทธศักราช วรรณคดีจำนวนมากในศรีลังกาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย การติดต่อกับชาวทมิฬทำให้มีศัพท์ภาษาทมิฬปนอยู่ นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมากเพราะเคยถูกปกครองโดยชาติเหล่านี้ เขียนด้วยอักษรสิงหลที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี รัฐบาลศรีลังกาประกาศให้ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการเมื่อปี พ.ศ. 2499 และบังคับให้โรงเรียนทุกโรงเรียนสอนหนังสือด้วยภาษาสิงหล ทำให้ชาวทมิฬ ไม่พอใ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาสิงหล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีลาไมต์

ษาอีลาไมต์หรือภาษาอีแลม เป็นภาษาที่ตายแล้ว เคยใช้พูดโดยชาวอีลาไมต์ เคยเป็นภาษาทางการในจักรวรรดิเปอร์เซีย ในช่วง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ถึง..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาอีลาไมต์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอเวสตะ

ษาอเวสตะ (Avestan language) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ มีอายุไล่เลี่ยกับ ภาษาพระเวท หรือ ภาษาไวทิกะ ซึ่งเป็นภาษาบันทึกคัมภีร์พระเวทของฝ่ายอินเดีย ภาษาอเวสตะเป็นภาษาที่บันทึกความเชื่อทางศาสนาของคนอิหร่านโบราณที่เก่าแก่ที่สุดของชาตินี้ ใช้ในบทสวดมนต์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ภาษาอเวสตะจัดอยู่ในตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป สาขาย่อยอินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน)เป็นภาษากลุ่มอิหร่านที่เก่าสุดเท่าที่มีหลักฐาน เช่นเดียวกับภาษาเปอร์เซียโบราณ เขียนด้วยอักษรอเวสตะ ภาษานี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาอเวสตะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทมิฬ

ษาทมิฬ (தமிழ்) เป็นหนึ่งใน ตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของโลก วรรณกรรมภาษาทมิฬได้มีมาเป็นเวลา 2,500 ปีแล้ว และเป็นภาษาคลาสสิกภาษาแรกที่มีพัฒนาการเขียนแบบเฉพาะสำหรับบทกวี เสียง "l" ในคำว่า "Tamil" ออกเสียง "คล้าย" กับ "ร" กล่าวคือ ออกเสียงโดยให้ปลายลิ้นส่วนล่างติดกับเพดานปาก และมักจะเขียนเป็น "zh" ในอักษรโรมัน (ตรงกับเสียง j ในภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาไทยไม่มีเสียงที่เทียบได้ตรง) เชื่อว่าอักษร 'ழ' ซึ่งพบใน 'தமிழ்' (ทมิฬ) มีการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่พบในภาษาอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อักษรทมิฬ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตูลู

ษาตูลู เป็นภาษาตระกูลดราวิเดียน มีผู้พูดน้อยกว่า 2 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในทักษิณะ กันนาดา และอุทุปี ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของรัฐการณตกะ มีบางส่วนอยู่ใน กสารคท รัฐเกราลา อักษรเดิมที่ใช้เขียนภาษานี้ คล้ายอักษรมาลายาลัม แต่มีใช้น้อย ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรกันนาดา ยังเป็นข้อโต้แย้งอยู่ว่า อักษรตูลู เป็นต้นกำเนิดของอักษรมาลายาลัมหรือไม่ แต่หลักฐานจากจารึกของทั้งสองภาษา แสดงให้เห็นว่า ภาษาตูลูเก่ากว่า การเขียนภาษาตูลูด้วยอักษรกันนาดา ริเริ่มโดยมิชชันนารีชาวเยอรมันเมื่อราว..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาตูลู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซูเมอร์

ษาซูเมอร์ (Sumerian language) เป็นภาษาพูดของชาวซูเมอร์ในเมโสโปเตเมียตอนใต้เมื่อประมาณ 3,457 ปีก่อนพุทธศักราช ภาษานี้ถูกแทนที่ด้วยภาษาแอกแคดเมื่อราว 1,257 ปีก่อนพุทธศักราช แต่ยังคงใช้เป็นภาษาทางศาสนา วรรณคดีและวิทยาศาสตร์ในเมโสโปเตเมียจนถึงราว..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาซูเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโกลามี

ภาษาโกลามี อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียนกลาง ใช้พูดในรัฐอานธรประเทศและรัฐมหาราษฎระของอินเดีย มีผู้พูดประมาณ 115,000 คน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศอินเดีย.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาโกลามี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโกทวะ

ภาษาโกทวะ หรือภาษาโกทวะ ตักกะ เป็นภาษาที่ใช้พูดในตำบลโกทกุ รัฐการณตกะทางใต้ บางครั้งเรียกภาษาโจร์คี หรือโจร์คในภาษาอังกฤษ มีผู้พูดราว 122,000 คน เขียนด้วยอักษรทมิฬ อักษรกันนาดา และอักษรมาลายาลัม กโทวะ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาโกทวะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโกตา

ษาโกตา (Kota language) เป็นภาษาในตระกูลภาษาดราวิเดียน มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ 1,400 คน และมีผู้พูดทั้งหมด 2,000 คนในเทือกเขานิลคีรีในรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดี.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาโกตา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโคนที

ภาษาโคนที หรือ ภาษาโฆนที (Gōndi) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นภาษาที่พูดโดยชาวกอนด์ เป็นภาษาที่สำคัญภาษาหนึ่งของกลุ่มภาษาดราวิเดียนกลาง มีผู้พูดทั้งหมด 2,000,000 คน มักพูดในบริเวณรัฐมัธยประเทศ รัฐคุชราต รัฐอานธรประเทศ รัฐมหาราษฏระและรัฐฉัตตีสครห์ รวมทั้งรัฐใกล้เคียง ปัจจุบันมีชาวโฆนทีประมาณครึ่งหนึ่งที่พุดภาษานี้ ภาษานี้ไม่มีวรรณคดีในรูปการเขียน แต่มีเพลงพื้นบ้านมากมายเช่นเพลงเกี่ยวกับการแต่งงาน ภาษานี้มีระบบเพศสองระบบ คำนามอาจจะเป็นเพศชายหรือไม่เป็นเพศชาย ภาษานี้แยกออกจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมโดยพัฒนาเสียงโฆษะทั้งเสียงไม่มีลม (g, j, ḍ, d, b) และเสียงมีลม (kh, gh, jh, dh, ph)สำเนียงของภาษาโฆนทียังมีการศึกษาและบันทึกไว้ไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่จะแยกเป็นกลุ่มสำเนียงตะวันตกเฉียงเหนือกับตะวันออกเฉียงใต้ ในอดีตภาษานี้เคยมีอักษรเป็นของตนเองเรียกอักษรโฆนที ซึ่งใช้น้อยลงในปัจจุบัน โดยทั่วไปใช้อักษรเทวนาครีหรืออักษรเตลูกู โคนที.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาโคนที · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโตทา

ษาโตทา (Toda) เป็นภาษาในตระกูลภาษาดราวิเดียน พูดโดยชาวโตทา ซึ่งมีราวหนึ่งพันคนในหุบเขานิลคีรี ทางใต้ของอินเดีย ภาษาโตทามีสระถึง 16 เสียง มากที่สุดในบรรดากลุ่มภาษาดราวิเดียนทั้งหมด มีทั้งสระเสียงสั้นและเสียงยาว ภาษาโตทามีเสียงพยัญชนะแบบ fricatives และ trill มากที่สุดในบรรดากลุ่มภาษาดราวิเดียน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาโตทา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเกาหลี

ษาเกาหลี (한국어 หรือ 조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีเหยียนเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV) อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตลูกู

ษาเตลูกู (Telugu తెలుగు) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน แต่มีอิทธิพลพอสมควรจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันภายใต้ตระกูล อินโด-ยุโรเปียนและเป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ของอินเดีย ภาษาเตลูกูเป็นตระกูลภาษาดราวิเดียนที่มีผู้พูดมากที่สุด เป็นภาษาที่พูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาราชการของอินเดีย เขียนด้วยอักษรเตลูกู ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและภาษาเตลูกู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาเชน

ระมหาวีระ ศาสนาเชน, ไชนะ หรือ ชินะ (แปลว่า ผู้ชนะ) (Jainism) เป็นศาสนาแบบอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้งหก ที่เกิดร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้า ศาสนาเชนเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ คือไม่นับถือพระเป็นเจ้า ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบากคืออัตตกิลมถานุโยค เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ มีศาสดาคือพระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร หรือ องค์ตีรถังกร(ผู้สร้างทางข้ามพ้นไป)โดยศาสนิกเชนถือว่าเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน จึงถือว่าศาสนาเชนเก่าแก่กว่าศาสนาพุทธ ศาสนาเชนเกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียเมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและศาสนาเชน · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

อาณาเขตอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมในยุคสำริด (ประมาณ 2500 - 1900 ก่อนคริสตกาล) ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ถือเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก ซึ่งนักโบราณคดีเรียกว่ายุคฮารัปปัน วัฒนธรรมเก่าสุดเริ่มจาก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาญี่ปุ่น

ตระกูลภาษาญี่ปุ่น (Japonic languages) หรือตระกูลภาษาญี่ปุ่น-รีวกีว (Japanese-Ryukyuan language family) เป็นกลุ่มของภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมหรือภาษาญี่ปุ่น-รีวกีวดั้งเดิม จากนั้นจึงมีการแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดระหว่างภาษาญี่ปุ่นทุกสำเนียงกับภาษารีวกีว ฮัตโตริระบุเมื่อ..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและตระกูลภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบังกลาเทศ

ังกลาเทศ (বাংলাদেশ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและประเทศบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศศรีลังกา

รีลังกา (ශ්රී ලංකා; இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและประเทศศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาดราวิเดียนและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษากลุ่มดราวิเดียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »