เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กลุ่มภาษาตุงกูซิก

ดัชนี กลุ่มภาษาตุงกูซิก

300px กลุ่มภาษาตุงกูซิก (Tungusic languages) หรือ กลุ่มภาษาแมนจู-ตุงกุส เป็นภาษาที่ใช้พูดในไซบีเรียตะวันออกและแมนจูเรีย ยังเป็นที่โต้เถียงอยู่ว่าควรจัดให้อยู่ในตระกูลภาษาอัลตาอิกหรือไม่ ภาษานี้รวมอยู่ในกลุ่มภาษาเตอร์กิกและกลุ่มภาษามองโกลตามลำดับ ภาษาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่ใกล้ต.

สารบัญ

  1. 20 ความสัมพันธ์: ชาวแมนจูกลุ่มภาษามองโกลกลุ่มภาษาเตอร์กิกภาษาอุลช์ภาษาอูเดเกภาษาจูร์เชนภาษาซิเบภาษานาไนภาษาแมนจูภาษาไอนุภาษาเกาหลีภาษาเอเวนค์ราชวงศ์ชิงอักษรมองโกเลียอักษรจูร์เชนตระกูลภาษาญี่ปุ่นตระกูลภาษาอัลไตประเทศจีนแมนจูเรียไซบีเรีย

  2. ตระกูลภาษา

ชาวแมนจู

แมนจู (แมนจู:; หม่านจู๋) เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในประเทศจีนและผู้คนจากดินแดนแมนจูเรียได้ใช้ชื่อดินแดนเป็นชื่อเรียกชนเผ่าของตนเอง ชาวแมนจูเป็นกลุ่มสาขาที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มชาวตุงกูซิกที่ใช้ภาษากลุ่มตุงกูซิกและได้อาศัยกระจัดกระจายทั่วประเทศจีน ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน ชาวแมนจูได้อาศัยและพบได้ใน 31 จังหวัดของจีน โดยเฉพาะในดินแดนแมนจูเรีย เหลียวหนิงถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีประชากรแมนจูเยอะที่สุด ส่วนเหอเป่ย, เฮย์หลงเจียง, จี๋หลิน, มองโกเลียในและปักกิ่ง มีประชากรแมนจู 100,000 คนอาศัยอยู่ ประมาณครึ่งของประชากรอาศัยอยู่ในเหลียวหนิงและ 1 ใน 5 อยู่ที่เหอเป่ย์ นอกจากนี้ยังมีชาวแมนจูอาศัยอยู่ในประเทศรัสเซียอันได้แก่ ดินแดนปรีมอร์สกี บางส่วนของดินแดนฮาบารอฟสค์และแคว้นอามูร์ ประวัติโดยสังเขปของชาวแมนจูนั้น ในทัศนคติของชาวฮั่น ถือได้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนหรือคนป่าเถื่อน ชาวแมนจูได้สืบเชื้อสายมาจากชาวหนี่เจิน (Jurchen; 女真) ที่ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์จินตอนแรกขึ้นทางตอนเหนือของจีน ในช่วง..

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและชาวแมนจู

กลุ่มภาษามองโกล

กลุ่มภาษามองโกล (Mongolic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเอเชียกลาง มีสมาชิก 13 ภาษา นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มรวมกลุ่มภาษามองโกลเข้ากับกลุ่มภาษาตังกูสิต กลุ่มภาษาเตอร์กิก เป็นตระกูลภาษาอัลไตอิก แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ภาษาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาษามองโกเลีย ซึ่งเป็นภาษาแม่ของชาวมองโกล มีผู้พูด 5.7 ล้านคนในมองโกเลีย รัสเซียและจีน ภาษานิกูดารี ซึ่งเป็นภาษากลุ่มมองโกลที่จัดจำแนกไม่ได้ ยังคงมีผู้พูดราว 100 คนในเฮรัต อัฟกานิสถาน.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและกลุ่มภาษามองโกล

กลุ่มภาษาเตอร์กิก

กลุ่มภาษาเตอร์กิกเป็นกลุ่มของภาษาที่แพร่กระจายจากยุโรปตะวันออก ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปถึงไซบีเรียและจีนตะวันตก และจัดเป็นส่วนหนึ่งของสมมติฐานตระกูลภาษาอัลไตอิก กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน ถ้ารวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองด้วยมีราว 200 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40%ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหม.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและกลุ่มภาษาเตอร์กิก

ภาษาอุลช์

ษาอุลช์ (Ulch language) เป็นภาษาของชาวอุลช์ในไซบีเรีย มีผู้พูดประมาณ 500 - 1,000 คน.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและภาษาอุลช์

ภาษาอูเดเก

ษาอูเดเก เป็นภาษากลุ่มตุงกูซิก ใกล้เคียงกับภาษานาไนและมีอิทธิพลต่อภาษานาไนสำเนียงบิกินที่ใช้พูดในเขตบิกินมาก เพราะบริเวณนั้นมีผู้พูดทั้งสองภาษาอยู่ด้วยกัน ภาษาอูเดเคมีคำยืมจากภาษานาไนมาก.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและภาษาอูเดเก

ภาษาจูร์เชน

ษาจูร์เชน (Jurchen language) เป็นภาษาที่ตายแล้ว เคยใช้พูดโดยชาวจูร์เชนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวแมนจู ต่อมาได้พัฒนามาเป็นภาษาแมนจู เขียนด้วยอักษรจูร์เชน.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและภาษาจูร์เชน

ภาษาซิเบ

ษาซิเบ หรือ ภาษาซิโบ เป็นภาษากลุ่มตังกูสิต พูดโดยชาวซิเบในมณฑลซินเจียง เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาแมนจูมาก ที่ต่างไปคือภาษาซิเบมีสระ 8 เสียง ส่วนภาษาแมนจูมีสระ 6 เสียง ภาษาซิเบมีการรวมเสียงสระมากกว่า และมีคำยืมจากภาษาจีนน้อยกว่าภาษาแมนจู มีอักษรเป็นของตนเองคืออักษรซิเบซึ่งใกล้เคียงกับอักษรแมนจู ภาษาซิเบใช้สอนเป็นภาษาที่สองในวิทยาลัยครูยิลี ในเขตปกครองตนเอง อีลิ คาซัค ในมณฑลซินเจียง.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและภาษาซิเบ

ภาษานาไน

ษานาไน (Nanai) เป็นภาษาที่ใช้พูดโดยชาวนาไนในไซบีเรีย และมีบางส่วนอยู่ในประเทศจีน มีผู้พูดทั้งหมดราว 5,772 คน จากชาวนาไนทั้งหมด 11,000 คน ผู้พูดภาษานี้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่จะพูดภาษาจีนหรือภาษารัสเซียได้ด้วย และใช้เป็นภาษาสำหรับการติดต่อสื่อสาร.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและภาษานาไน

ภาษาแมนจู

ษาแมนจู (จีนกลาง: 满语; พินอิน: mǎn yǔ หมาน อวี่) เป็นภาษากลุ่มตังกูสิตใกล้สูญพันธุ์ซึ่งมีผู้พูดทางภาคเหนือของประเทศจีน เป็นภาษาแม่ของชาวแมนจู แต่ปัจจุบัน ชาวแมนจูส่วนมากพูดภาษาจีนกลาง และมีผู้พูดเป็นภาษาแม่และพูดได้บ้างน้อยกว่า 70 คน จากผู้มีเชื้อสายแมนจูรวมเกือบ 10 ล้านคน แม้ภาษาซิเบที่มีผู้พูด 40,000 คน แทบเหมือนกับภาษาแมนจูในทุกด้าน แต่ผู้พูดภาษาซิเบ ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียงทางตะวันตกไกล มีเชื้อสายแตกต่างจากชาวแมนจู ภาษาแมนจูเป็นภาษารูปคำติดต่อ เขียนจากบนลงล่าง คาดว่าพัฒนามาจากภาษาจูร์เชน มีคำยืมจากภาษามองโกเลียและภาษาจีนจำนวนมาก มีอักษรเป็นของตนเองเรียกว่าอักษรแมนจู ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรมองโกเลีย โครงสร้างประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กร.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและภาษาแมนจู

ภาษาไอนุ

ษาไอนุ หรือ ไอนู (ไอนุ: アイヌ イタク ไอนู อีตัก; アイヌ語 ไอนุโงะ) เป็นภาษาของชาวไอนุ ชนกลุ่มน้อยในเกาะฮกไกโด ครั้งหนึ่งเคยใช้พูดในหมู่เกาะคูริล ทางภาคเหนือของเกาะฮนชูและภาคใต้ของเกาะซาฮาลิน คำหลายคำของภาษาไอนุก็ได้กลายเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นเลยด้วย เช่นเมืองซัปโปะโระบนเกาะฮกไกโด และคำว่ารักโกะ ที่แปลว่าแมวน้ำ.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและภาษาไอนุ

ภาษาเกาหลี

ษาเกาหลี (한국어 หรือ 조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีเหยียนเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV) อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและภาษาเกาหลี

ภาษาเอเวนค์

ษาเอเวนค์ (Evenki language) เป็นกลุ่มของภาษาที่ใหญ่ที่สุดในภาษากลุ่มตุงกูซิกเหนือ เป็นกลุ่มที่รวมภาษาเอเวนและภาษาเนกีดัล ใช้พูดโดยชาวเอเวนค์ในรัสเซีย มองโกเลีย และจีน ใน..

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและภาษาเอเวนค์

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและราชวงศ์ชิง

อักษรมองโกเลีย

อักษรมองโกเลีย (17px Mongγol bičig, ซีริลลิก: Монгол бичиг, Mongol bichig) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษามองโกเลีย เมื่อ..

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและอักษรมองโกเลีย

อักษรจูร์เชน

อักษรจูร์เชน ประดิษฐ์โดย วันยัน ซิยิน เมื่อ..

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและอักษรจูร์เชน

ตระกูลภาษาญี่ปุ่น

ตระกูลภาษาญี่ปุ่น (Japonic languages) หรือตระกูลภาษาญี่ปุ่น-รีวกีว (Japanese-Ryukyuan language family) เป็นกลุ่มของภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมหรือภาษาญี่ปุ่น-รีวกีวดั้งเดิม จากนั้นจึงมีการแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดระหว่างภาษาญี่ปุ่นทุกสำเนียงกับภาษารีวกีว ฮัตโตริระบุเมื่อ..

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและตระกูลภาษาญี่ปุ่น

ตระกูลภาษาอัลไต

ตระกูลภาษาอัลไต (Altaic language family) ตระกูลภาษานี้ใช้พูดกันตั้งแต่ป่าสนในไซบีเรียตะวันออกข้ามทุ่งหญ้าและทะเลทรายของเอเชียกลางไปจรดประเทศตุรกี และบางส่วนของประเทศจีน คนในแถบนี้มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนไปตามทุ่งหญ้าและทะเลทราย เช่น พวกเตอร์กและมองโกลบางเผ่า บางพวกก็อาศัยอยู่ตามป่าเขาและล่าสัตว์ เช่น พวกมองโกลบางพวกและพวกตุงกุส มีบางส่วนเท่านั้นที่รับวัฒนธรรมใกล้เคียงอย่างวัฒนธรรมจีนที่มีลักษณะแบบเกษตรกรรม เช่น ชาวเกาหลีและชาวญี่ปุ่นซึ่งอาจเป็นพวกตุงกุสดั้งเดิม (Proto-Tungusic) โดยอพยพมายังคาบสมุทรเกาหลีและหมู่เกาะญี่ปุ่นก่อนพวกอื่น ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ใช้ตระกูลภาษานี้มีประมาณ 270 ล้านคนทั่วโลก.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและตระกูลภาษาอัลไต

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและประเทศจีน

แมนจูเรีย

นแดนแมนจูเรีย แมนจูเรีย เป็นแคว้นหนึ่งทางเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ในบางบริบทอาจหมายถึงแคว้นหนึ่งของประเทศจีน (ปัจจุบันเรียกว่าจีนตะวันออกเฉียงเหนือ) หรือครอบคลุมถึงประเทศรัสเซีย ดินแดนนี้เป็นถิ่นอาศัยของชาวเซียนเปย์ ชาวชี่ตัน และชาวแมนจู (ชื่อแคว้นมาจากชื่อชนกลุ่มนี้) ซึ่งสถาปนารัฐของตนขึ้นหลายรัฐในดินแดนนี้.

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและแมนจูเรีย

ไซบีเรีย

ซบีเรีย ไซบีเรีย (Siberia, Сиби́рь) ถูกครอบครองโดยชนเผ่าเร่ร่อนหลากหลายกลุ่มแตกต่างออกไป เช่น Yenets, the Nenets, the Hun และ the Uyghurs Khan of Sibir ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง มีอากาศหนาวเย็นได้เข้าครอบครองแล้วตั้งชื่อว่า Khagan ใน Avaria ในปี..

ดู กลุ่มภาษาตุงกูซิกและไซบีเรีย

ดูเพิ่มเติม

ตระกูลภาษา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ภาษากลุ่มแมนจู-ตันกัต