สารบัญ
21 ความสัมพันธ์: ภาษาบาสก์ภาษาอบาซาภาษาอะดีเกยาภาษาอับคาเซียภาษาอูบึกภาษาฮัตติกภาษาฮิตไทต์ภาษาคาบาร์เดียอานาโตเลียคอเคซัสตระกูลภาษายูรัลตระกูลภาษาอัลไตตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนตระกูลภาษาจีน-ทิเบตตะวันออกกลางประเทศรัสเซียประเทศอิรักประเทศจอร์แดนประเทศจอร์เจียประเทศตุรกีประเทศซีเรีย
- ตระกูลภาษา
ภาษาบาสก์
ก์ (Basque) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวบาสก์ซึ่งอาศัยอยู่แถบเทือกเขาพีเรนีสในตอนกลางของภาคเหนือของประเทศสเปน รวมทั้งในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสที่มีอาณาเขตติดต่อกัน หรือลึกลงไปกว่านั้นคือ ชาวบาสก์ได้ครอบครองแคว้นปกครองตนเองที่มีชื่อว่าแคว้นประเทศบาสก์ (Basque Country autonomous community) ซึ่งมีวัฒนธรรมและอิสระในการปกครองตนเองทางการเมือง นอกจากนี้ก็ยังมีชาวบาสก์ที่อยู่ในเขตนอร์เทิร์นบาสก์ในฝรั่งเศสและแคว้นปกครองตนเองนาวาร์ในสเปนอีกด้วย ชื่อเรียกภาษาบาสก์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาตนเอง) คือ เออุสการา (euskara) ส่วนในรูปภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ เออุสเกรา (euskera) เอสกูอารา (eskuara) และ อุสการา (üskara) แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์จะถูกล้อมรอบด้วยภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แต่ภาษาบาสก์กลับจัดเป็นภาษาโดดเดี่ยว (language isolate) ไม่ใช่ภาษาในตระกูลดังกล่าว.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและภาษาบาสก์
ภาษาอบาซา
ษาอบาซา เป็นภาษาในเทือกเขาคอเคซัส พูดโดยชาวอบาซิน ในสาธารณรัฐการาเชย์-เชอร์เคสเซียในรัสเซีย มีผู้พูด 35,000 คน เป็นภาษารูปคำติดต่อที่มีการต่อรูปคำมาก.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและภาษาอบาซา
ภาษาอะดีเกยา
ภาษาอะดืยเก (адыгэбзэ adygebze, adəgăbză; Adyghe language) เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐอะดืยเกียในรัสเซีย มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ในรัสเซีย 125,000 คน และอีก 300,000 คนในตุรกี จัดอยู่ในภาษากลุ่มคอเคซัสตะวันออกเฉียงเหนือ เคยเขียนด้วยอักษรอาหรับและอักษรละติน ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรซีริลลิก การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา และใช้รูปประโยคสัมพันธการก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศรัสเซีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศจอร์แดน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศซีเรีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศอิสราเอล หมวดหมู่:ภาษาในประเทศอิรัก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศตุรกี หมวดหมู่:ภาษาในทวีปยุโรป.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและภาษาอะดีเกยา
ภาษาอับคาเซีย
ภาษาอับฮาเซีย (Abkhaz Language) เป็นภาษาในกลุ่มคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ และเป็นภาษาราชการของอับฮาเซีย นอกจากในอับฮาเซียแล้ว ยังมีผู้พูดภาษานี้ในประเทศอื่น ๆ ที่ชาวอับฮาเซียเข้าไปอาศัย ได้แก่ ตุรกี รัสเซีย สาธารณรัฐอัดจาราของจอร์เจีย ซีเรีย จอร์แดน และประเทศในตะวันตกอีกหลายประเทศ หมวดหมู่:ภาษาในประเทศจอร์เจีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศตุรกี หมวดหมู่:ภาษาในประเทศรัสเซีย.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและภาษาอับคาเซีย
ภาษาอูบึก
ษาอูบึก (Ubykh language หรือ Ubyx) เป็นภาษากลุ่มคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือใช้พูดโดยชาวอูบึกจนถึง..
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและภาษาอูบึก
ภาษาฮัตติก
ภาษาฮัตติก เป็นภาษาที่ใช้พูดในเอเชียน้อยระหว่าง 2,457 – 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ก่อนการเข้ามาของชาวฮิตไตต์ เมื่อชาวฮิตไตต์เขามาในบริเวณนี้ พวกเข้าได้รับอิทธิพลจากภาษาฮัตติกและภาษาฮิตไตต์ได้เข้ามาแทนที่ภาษาฮัตติกในที่สุด โดยยังเรียกบริเวณนั้นว่าฮัตติ และใช้คำในภาษาฮัตติกในทางศาสนา ภาษาฮัตติกนี้มีความใกล้เคียงกับภาษากลุ่มคอเคซัสตะวันออกเฉียงเหนือ หมวดหมู่:ภาษาโบราณในทวีปเอเชีย.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและภาษาฮัตติก
ภาษาฮิตไทต์
ษาฮิตไทต์ (Hittite language) จัดเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนหรืออินเดีย-ยุโรป ในอานาโตเลีย อยู่ในกลุ่มย่อยภาษาอินโด-ฮิตไทต์ จัดเป็นภาษาที่ตายแล้ว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาลูเวีย ภาษาลิเดีย ภาษาไลเซีย และภาษาปาลา เคยใช้พูดโดยชาวฮิตไทต์ กลุ่มชนที่สร้างจักรวรรดิฮิตไทต์มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองฮัตตูซาสในอานาโตเลียภาคกลางตอนเหนือ (ตุรกีปัจจุบัน) ภาษานี้ใช้พูดในช่วง 1,057 – 557 ปีก่อนพุทธศักราช มีหลักฐานแสดงว่าภาษาฮิตไทต์และภาษาที่เกี่ยวข้องได้ใช้พูดต่อมาอีก 200 -300 ปีหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฮิตไทต์ ภาษาฮิตไทต์จัดเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนรุ่นแรกๆ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่จัดให้เป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอินโด-ยุโรเปียนดั้งเดิมและเป็นพี่น้องกับภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนในสมัยโบราณ.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและภาษาฮิตไทต์
ภาษาคาบาร์เดีย
ษาคาบาร์เดีย ใกล้เคียงกับภาษาอะดืยเกที่เป็นภาษากลุ่มคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่พูดในสาธารณรัฐคาบาร์ดีโน-บัลคาเรียและสาธารณรัฐคาราไช-เชียร์เคสส์ของประเทศรัสเซีย รวมทั้งในประเทศตุรกีและตะวันออกกลาง มีหน่วยเสียงพยัญชนะ 47-48 เสียง โดยเป็นเสียงเสียดแทรก 22-23 เสียง สำเนียงที่สำคัญมีสองสำเนียงคือ สำเนียงเบสเลเนย์และสำเนียงเตเรค นักภาษาศาสตร์บางคนจัดให้ภาษาคาบาร์เดียเป็นสำเนียงของภาษาอะดีเก ผู้พูดภาษาคาบาร์เดียมักเรียกภาษาของตนว่า Adighabze ("Adyghe language") เขียนด้วยอักษรซีริลลิก มีระบบคำกริยาที่ซับซ้อนเช่นเดียวกับภาษากลุ่มคอเคซัสตะวันออกเฉียงเหนืออื่น ๆ เป็นภาษาสัมพันธการก ตั้งแต..
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและภาษาคาบาร์เดีย
อานาโตเลีย
อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและอานาโตเลีย
คอเคซัส
คอเคซัส (อังกฤษ:Caucasus) เป็นเทือกเขาสูงขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยมียอดเขาเอลบรูสที่มีความสูง มียอดสูงสุดคือยอดเขาเอลบรุส สูง 9642 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ได้ชื่อว่าเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปสูงกว่ายอดเขามองบลังค์แห่งเทือกเขาแอลป์ในประเทศฝรั่งเศส เทือกเขาคอเคซัสแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นปราการธรรมชาติแบ่งพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชียให้ปรากฎเด่นชัดในสังคมโลก จนทำให้เกิดปรากฏการณ์กลุ่มประเทศสองทวีปขึ้นมาบนโลกใบนี้ภายใต้ร่มเงาของเทือกเขาคอเคซัส ได้แก่ ประเทศมหาอำนาจอย่างรัสเซีย จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน ยอดเขาเอลบรุส หมวดหมู่:ยุโรปตะวันออก หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปยุโรป.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและคอเคซัส
ตระกูลภาษายูรัล
ตระกูลภาษายูรัล เป็นตระกูลภาษาที่ประกอบด้วยภาษาประมาณ 30 ภาษา มีผู้พูดราว 20 ล้านคน ชื่อของตระกูลภาษานี้มีที่มาจากแหล่งกำเนิดของภาษา ซึ่งเชื่อกันว่ามาจากบริเวณเทือกเขายูรัล ภาษาในกลุ่มนี้ที่มีผู้พูดจำนวนมากได้แก่ ภาษาฟินแลนด์ ภาษาเอสโตเนีย และภาษาฮังการี ไช้ใน ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ฮังการี และยังมีภาษาอื่นอีกเช่น ภาษามอร์โดวิน ภาษาโคมิ ภาษาอุตมูร์ ภาษามอคชาฮ์ ภาษามาริ ภาษาอริสยา ภาษาคาเรเลีย ไช้ใน สาธารณรัฐโคมิ สาธารณรัฐคาเรเลีย สาธารณรัฐอุตมูร์ สาธารณรัฐมอร์โดเวีย ฯลฯ ซึ่งเป็น สาธารณรัฐปกครองตนเองของรัสเซีย *.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและตระกูลภาษายูรัล
ตระกูลภาษาอัลไต
ตระกูลภาษาอัลไต (Altaic language family) ตระกูลภาษานี้ใช้พูดกันตั้งแต่ป่าสนในไซบีเรียตะวันออกข้ามทุ่งหญ้าและทะเลทรายของเอเชียกลางไปจรดประเทศตุรกี และบางส่วนของประเทศจีน คนในแถบนี้มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนไปตามทุ่งหญ้าและทะเลทราย เช่น พวกเตอร์กและมองโกลบางเผ่า บางพวกก็อาศัยอยู่ตามป่าเขาและล่าสัตว์ เช่น พวกมองโกลบางพวกและพวกตุงกุส มีบางส่วนเท่านั้นที่รับวัฒนธรรมใกล้เคียงอย่างวัฒนธรรมจีนที่มีลักษณะแบบเกษตรกรรม เช่น ชาวเกาหลีและชาวญี่ปุ่นซึ่งอาจเป็นพวกตุงกุสดั้งเดิม (Proto-Tungusic) โดยอพยพมายังคาบสมุทรเกาหลีและหมู่เกาะญี่ปุ่นก่อนพวกอื่น ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ใช้ตระกูลภาษานี้มีประมาณ 270 ล้านคนทั่วโลก.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและตระกูลภาษาอัลไต
ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน
ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน
ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
แผนที่แสดงการแพร่กระจายของภาษากลุ่มจีน-ทิเบต (สีแดง) ตระกูลภาษาจีน – ทิเบต เป็นตระกูลของภาษาที่รวมภาษาจีนและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า มีสมาชิกทั้งสิ้น 250 ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาในเอเชียตะวันออกมีจำนวนผู้พูดเป็นอันดับสองของโลกรองจากภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ภาษาในตระกูลนี้มีลักษณะร่วมกันคือมีเสียงวรรณยุกต.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ตะวันออกกลาง
แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกกลาง
ประเทศรัสเซีย
รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและประเทศรัสเซีย
ประเทศอิรัก
ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและประเทศอิรัก
ประเทศจอร์แดน
ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan; المملكة الأردنية الهاشمية) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (Jordan; الأردن Al-Urdunn อัลอุรดุน) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมทั้งติดต่อกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครองทางทิศตะวันตก จอร์แดนเป็นประเทศที่เกือบไม่มีทางออกสู่ทะเล มีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกอบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและประเทศจอร์แดน
ประเทศจอร์เจีย
อร์เจีย (Georgia; საქართველო, Sakartvelo) เดิมระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 เรียกว่า สาธารณรัฐจอร์เจีย เป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลดำในคอเคซัสตอนใต้ ในอดีตเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศรัสเซีย ทางใต้จรดประเทศตุรกี ประเทศอาร์มีเนีย และประเทศอาเซอร์ไบจาน.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและประเทศจอร์เจีย
ประเทศตุรกี
ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและประเทศตุรกี
ประเทศซีเรีย
ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.
ดู กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือและประเทศซีเรีย
ดูเพิ่มเติม
ตระกูลภาษา
- กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ
- กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้
- กลุ่มภาษาตุงกูซิก
- กลุ่มภาษาทรานส์-นิวกินี
- กลุ่มภาษาอิระควอย
- กลุ่มภาษาเตอร์กิก
- ตระกูลภาษา
- ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
- ตระกูลภาษาญี่ปุ่น
- ตระกูลภาษาดราวิเดียน
- ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน
- ตระกูลภาษายูรัล
- ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน
- ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
- ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน
- ตระกูลภาษาเกาหลี
- ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ภาษากลุ่มคอเคเซียนตะวันตกเฉียงเหนือ