โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเหมารวม

ดัชนี การเหมารวม

รูปลักษณ์ของโฮเมอร์ ซิมป์สันแสดงถึงการมองชายวัยกลางคนผิวขาวจากอเมริกากลางแบบเหมารวม การเหมารวม หรือ สามัญทัศน์ (Stereotype) คือ คตินิยมหรือทัศนคติของสังคมทั่วไปที่มีต่อกลุ่มคนอื่น ชาติอื่น หรือลักษณะของบุคคลบางประเภทจนกลายเป็นมาตรฐาน มีพื้นฐานมาจากการสรุปเอาจากข้อสมมุติพื้นฐานที่มีแนวโน้มที่เป็นอัตวิสัย การเหมารวมเกิดขึ้นจากความคิดที่คุ้นเคยทางมโนธรรม เช่น จากพฤติกรรมบางอย่าง หรือลักษณะพิเศษอันแตกต่างจากผู้อื่นที่ปรากฏและเป็นที่สังเกตอยู่ชั่วระยะเวลาอันยาวพอประมาณ การที่แนวคิดทางวัฒนธรรม (Meme) จะกลายมาเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยสังคมโดยทั่วไปได้ สามัญทัศน์ไม่อาจจะเป็นแนวคิดที่ผิดไปทั้งหมด และจะต้องมีองค์ประกอบที่สังคมยอมรับ (Social recognition) การเหมารวมมิได้ใช้แต่เฉพาะกลุ่มคนแต่อาจจะใช้ในสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนสามารถทำนายผลที่จะออกมาได้ การเหมารวมอาจจะเป็นได้ทั้ง “ดี” และ “ไม่ดี” แต่แนวคิดทางของการเหมารวมส่วนใหญ่แล้วยากที่จะเสนอภาพพจน์ทางบวกของกลุ่มชน.

76 ความสัมพันธ์: บลูส์ชาวยิวชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาชาวแองโกล-แซกซันชาวไอริชชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาพ่อมดกฎหมายกระบวนการคิดเชิงเทิดทูนกอสเปลกะยันการต่อต้านยิวการโฆษณาการเบียดเบียนฝ้ายภาพยนตร์การ์ตูนภาวะอยากแปลงเพศมหาวิทยาลัยเยลมาเฟียมุสลิมระดับเชาวน์ปัญญารับบีรักร่วมสองเพศรักร่วมเพศริกก์ส คนมหากาฬละครวรรณกรรมวอลรัสวัฒนธรรมตะวันตกวิลเลียม เชกสเปียร์วงศ์แมวน้ำศิลปะสหรัฐสังคมวิทยาสำนวนจำเจสื่อมวลชนสุพันธุศาสตร์สุหนัตสงครามโลกครั้งที่สองสตาร์ วอร์สสไปค์ ลีหญิงรักร่วมเพศหมีขาวหลุยส์ อาร์มสตรองอัตวิสัยอาการกลัวอิสลามอคติอ้อยอเมริกันฟุตบอลผู้เล่าเรื่อง...ทัศนคติทาสขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนือดาริโอ โฟความถูกต้องทางการเมืองความเกลียดกลัวต่างชาติคนข้ามเพศตำนานพื้นบ้านซิตคอมนาซีเยอรมนีแฟชั่นแตงโมโรคใคร่เด็กโฮเมอร์ ซิมป์สันไวโอลินไฮสกูลไซลีเซียเชียร์ลีดเดอร์เพนกวินเกย์เหตุผลวิบัติเอียน เฟลมมิงเอเชียตะวันออกเจมส์ บอนด์เดอะซิมป์สันส์ ขยายดัชนี (26 มากกว่า) »

บลูส์

ลูส์ (Blues) เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลงด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่ไม่มีคุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้างความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ ลักษณะสำคัญของเพลงบลูส์คือ การใช้เสียงร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียง ซึ่งเรียกกันว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการอิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์, ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น BB.king ("You Know I Love You," "Woke Up This Morning," "Please Love Me,"), Muddy Waters, Buddy Guy, Stevie Ray Vaughan, Eric Clapton, John Lee Hooker,Jimi Hendrix ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.

ใหม่!!: การเหมารวมและบลูส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: การเหมารวมและชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา

ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาที่มีชื่อเสียง แถวบน:ดับเบิลยู. อี. บี. ดู บอยส์ • มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ • เอดเวิร์ด บรูกแถวล่าง:มัลคอล์ม เอกซ์ • โรซา พรากส์ • ซอเยอร์เนอร์ ทรูธ ในสหรัฐอเมริกา คำว่า ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา (African-American, Afro-American) ภาษาปากว่า ชาวอเมริกันผิวดำ (Black American) เป็นชื่อเรียกของคนที่มีผิวสีดำแตกต่างจากคนอเมริกันที่มีผิวขาว โดยต้นกำเนิดของคนผิวสีส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมาจากทวีปแอฟริกา แต่เนื่องจากเหตุการณ์การล่าอาณานิคมและธุรกิจการค้าทาส ทำให้ผู้คนเหล่านี้ถูกพาเข้ามาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก ในอดีตสหรัฐอเมริกามีปัญหาการเหยียดสีผิวอย่างรุนแรง แต่ในปัจจุบันนี้ทุกคนได้รับความเท่าเทียมกันในสังคม วัฒนธรรมของคนดำนั้นได้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านดนตรี รวมทั้งการแต่งกายและการกีฬา หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน.

ใหม่!!: การเหมารวมและชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแองโกล-แซกซัน

ราชอาณาจักรแองโกล-แซกซัน ราว ค.ศ. 600 หมวกนักรบที่พบในซัตตันฮูที่อาจจะเป็นของเรดวอลดแห่งอีสแองเกลีย (Raedwald of East Anglia) (ราว ค.ศ. 625) ออกแบบตามแบบหมวกนักรบของโรมันและตกแต่งแบบหมวกนักรบของสวีเด็นที่ทำในสมัยเดียวกันที่โอลด์อุพพ์ซาลา แองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxons) เป็นคำที่ใช้เรียกชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักรระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนกระทั่งถึงการรุกรานของนอร์มัน ในปี..

ใหม่!!: การเหมารวมและชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไอริช

วไอริช (Muintir na hÉireann หรือ na hÉireannaigh หรือ na Gaeil, Irish people) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวยุโรปตะวันตกที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป จากหลักฐานทางโบราณคดีไอร์แลนด์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษยชนมาราว 9,000 ปีโดยมีบรรพบุรุษของชาวไอริช ที่เป็นชนเนเมเดียน (Nemedians), ชนโฟโมเรียน (Fomorians), Fir Bolgs, Tuatha Dé Danann และ ชนมิเลเซียน (Milesians) (ตามตำนาน - ไม่มีหลักฐานบันทึกเป็นอักษรก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6)—กลุ่มสุดท้ายกล่าวกันว่าเป็นกลุ่มที่เป็นบรรพบุรุษเกลลิคที่แท้จริง และยังคงใช้เป็นคำที่เรียกชนไอริชจนกระทั่งปัจจุบันนี้ กลุ่มชาติพันธุ์หลักที่มีการติดต่อกับชาวไอริชในยุคกลางก็ได้แก่ชาวสกอต และ ไวกิง และ ชาวไอซ์แลนด์โดยเฉพาะที่มีเชื้อสายไอริช การรุกรานของแองโกล-นอร์มันในยุคกลางตอนกลาง, การก่อตั้งดินแดนของอังกฤษ และต่อมาการปกครองโดยอังกฤษเป็นการนำกลุ่มชนนอร์มัน, เวลช์, เฟลมมิช, แองโกล-แซ็กซอน และ เบรทอน เข้ามาในไอร์แลนด์ ชาวไอริชที่มีชื่อเสียงก็มีมาตลอดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เมื่อนักบวชไอริชและนักเผยแพร่ศาสนาโคลัมบานัสผู้ถือกันว่าเป็น “บิดาแห่งยุโรป” คนหนึ่ง ตามด้วยนักบุญคิลเลียน และ เวอร์กิลเลียสแห่งซอลซบวร์ก นักวิทยาศาสตร์โรเบิร์ต บอยล์ผู้ถือกันว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาเคมี” นักสำรวจผู้มีชื่อเสียงที่เป็นชาวไอริชก็ได้แก่เบรนดันนักเดินเรือ (Brendan the Navigator), เอิร์นเนสต์ แช็คเคิลตัน (Ernest Shackleton) และ ทอม ครีน (Tom Crean) ในด้านวรรณกรรมชาวไอริชก็เป็นผู้มีชื่อเสียงหลายคนที่รวมทั้งโจนาธาน สวิฟท์, จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์, ออสคาร์ ไวล์ด และ เจมส์ จอยซ.

ใหม่!!: การเหมารวมและชาวไอริช · ดูเพิ่มเติม »

ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา

วาดของชนกลุ่มน้อยหลากหลายกลุ่มในอเมริกา ก่อนยุคศตวรรษที่ 20 ชาวอินเดียนแดง ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา หรือ อินเดียนแดง หรือ ชนพื้นเมืองชาวอเมริกัน (Indigenous people of the Americas หรือ Red Indian หรือ Native American) เป็นกลุ่มคนที่อาศัยในทวีปอเมริกามานานก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกราก ในอดีตได้มีสงครามเกิดขึ้นมากมายในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ในการแย่งชิงดินแดน การต่อสู้ รวมถึงการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างชาวยุโรป กับชาวอินเดียนแดง ในปัจจุบันชาวอินเดียนแดงบางกลุ่มอาศัยรวมอยู่กับชาวอเมริกันทั่วไป และบางกลุ่มได้จัดตั้งพื้นที่อาศัยในเขตสงวนอินเดียนแดง คำว่าอินเดียนแดงนั้น ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Indian หรือ Native American โดยในอดีตได้ใช้คำว่า Red Indian แต่ได้เลิกใช้แล้วโดยถือว่าเป็นคำไม่สุภาพในการกล่าวถึง แบ่งออกเป็น 3 เผ่าใหญ่ ได้แก่ เผ่ามายา เผ่าแอซแทค และเผ่าอิน.

ใหม่!!: การเหมารวมและชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

พ่อมด

อมด (อังกฤษ: wizard) ในภาษาแองโกลแซกซอน Wit(z) หมายถึง ผู้รอบรู้ หรือ ผู้แสวงหาความรู้ บางทีคำว่า wit แต่เดิมอาจหมายรวมทั้งพ่อมดและแม่มด แล้วเพี้ยนเป็น witch กับ wizard ในภายหลัง ในภาษาไทยมาจากคำว่า มด พ่อมด นักเวทมนตร์ หรือผู้ใช้เวทมนตร์ คือผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ลึกลับ หรือมีศิลปะในการใช้เวทมนตร์หรือคาถา หรือมีความสามารถในการทำสิ่งต่าง ๆ โดยใช้วิธีเหนือธรรมชาติ หรือวิธีที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลที่มีอยู่ หรือวิธีที่ไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย พ่อมดในตำนาน มักเป็นคนแก่ตัวสูงใหญ่ ใส่หมวกปลายแหลมยาวปิดบังใบหน้า มีหนวดเคราสีขาวยาว (พ่อมดขาว) ใส่ชุดคลุมยาวจนถึงพื้น ถือไม้เท้าหรือคทา มีความเก่งกาจทางด้าน เวทมนตร์ มีอายุหลายร้อยปี มักกล่าวถึงคู่กับ แม่มด ส่วนใหญ่พ่อมดจะมีคุณธรรม ศีลธรรม ซึ่งตรงกันข้ามกับ แม่มด ลักษณะของพ่อมดในบางครั้งอาจดูคลับคล้ายกับร่างแปลงของเทพ โอดิน ในตำนานนอร์ส ที่มักใส่หมวกปิดบังใบหน้า และใส่ชุดคลุมยาวเช่นเดียวกัน พ่อมดคนสำคัญเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือ เมอร์ลิน พ่อมดผู้เป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์อาเธอร์แห่งอัศวินโต๊ะกลม นั่นเอง.

ใหม่!!: การเหมารวมและพ่อมด · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ใหม่!!: การเหมารวมและกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน

แอปเปิล กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน (Halo effect) หมายถึงกระบวนการคิดเชิงลำเอียง (Cognitive bias) ที่เกิดขึ้นเมื่อสัญชานของบุคลิกภาพหนึ่งก่อตัวขึ้นจากอิทธิพลของอีกบุคลิกภาพเดิมบุคลิกภาพหนึ่งตามขั้นตอนของกระบวนการการตีความหมาย นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเอดเวิร์ด แอล. ธอร์นไดค์เป็นบุคคลแรกที่สนับสนุนทฤษฎี “กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน” ที่มาจากการค้นคว้าการวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research) ในการวิจัยค้นคว้าทางจิตวิทยาที่ตีพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: การเหมารวมและกระบวนการคิดเชิงเทิดทูน · ดูเพิ่มเติม »

กอสเปล

กอสเปล(boere) (Gospel music) คือแนวเพลงที่เน้นเสียงร้องเป็นหลัก กอสเปลจะมีลักษณะการร้องประสานเสียง การร้องเฉลิมฉลอง และใส่ความเชื่อทางศาสนาในเนื้อร้อง โดยกอสเปลได้ซึมเข้าไปดนตรีหลายๆประเภทอย่าง ดู-ว็อป,คันทรี-กอสเปล,contemporary gospel, urban contemporary gospel,Modern Gospel music กอสเปลเชื่อว่ามีที่มาจากโบสถ์ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ตอนต้นศตวรรษที่ 20 นักร้องชื่อดังแนวกอสเปล Sister Rosetta Tharpe มีเพลงขึ้นในชาร์ทในปี 1938 ทุกวันนี้กอสเปลได้แตกแยกย่อยเป็นหลายๆแนว ปลายยุค 70 Contemporary Christian Music คือเพลงซอฟต์ร็อกประเภทนึงได้เข้าสู่ดนตรีกระแสหลัก จนมาถึงยุค 80 และ 90 เพลง Contemporary Christian Music ก็ยังอยู่ได้รับความนิยมเพียงแต่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสน.

ใหม่!!: การเหมารวมและกอสเปล · ดูเพิ่มเติม »

กะยัน

กะยัน (Kayan) เป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่าในรัฐกะยา หรือที่คนไทยเรียกพวกเขาว่ากะเหรี่ยงคอยาว เนื่องจากผู้หญิงของเผ่านี้จะสวมห่วงทองเหลืองไว้ที่คอจนดูเหมือนว่าคอยาว ปัจจุบันอพยพหนีภัยสงครามมาอยู่ที่บ้านห้วยปูแกง บ้านในสอย บ้านห้วยเสือเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.

ใหม่!!: การเหมารวมและกะยัน · ดูเพิ่มเติม »

การต่อต้านยิว

การ์ตูนเยาะหยันชาวยิวจากฝรั่งเศส ค.ศ. 1898 หน้าปกหนังสือ “ทางสู่ชัยชนะของความเป็นเยอรมันต่อความเป็นยิว” โดยมารร์ ฉบับ ค.ศ. 1880 การต่อต้านยิว (Antisemitism หรือ Anti-semitism หรือ anti-Semitism หรือ Judeophobia) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายความเป็นอคติ (prejudice) ต่อหรือความรู้สึกต่อต้านชาวยิว ที่มักจะมาจากความมีอคติต่อศาสนา, วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ของชาวยิว แม้ว่าที่มาของคำว่า “ลัทธิความเป็นอคติต่อเซมิติค” ในภาษาอังกฤษ “Antisemitism” ตามอักขระแล้วจะหมายถึงความเป็นอคติต่อชนเซมิติค (Semitic peoples) แต่โดยทั่วไปคำนี้จะหมายถึงเฉพาะความเป็นอคติต่อชาวยิวตั้งแต่เริ่มใช้กันมา"Antisemitism has never anywhere been concerned with anyone but Jews." Bernard Lewis.

ใหม่!!: การเหมารวมและการต่อต้านยิว · ดูเพิ่มเติม »

การโฆษณา

การโฆษณา (advertising) เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเพื่อบอกกล่าวให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณค่าและความแตกต่าง รู้จักและก่อให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือใช้บริการนั้น ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันทำโดยเผยแพร่งานโฆษณา ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำตราสินค้าได้อีกทางใดทางหนึ่ง.

ใหม่!!: การเหมารวมและการโฆษณา · ดูเพิ่มเติม »

การเบียดเบียน

ริสต์ศาสนิกชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียน หรือ การบีฑา หรือ การประหัตประหาร (Persecution) เป็นการจงใจไล่ทำร้ายหรือไล่สังหารบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มชนอย่างเป็นระบบ ชนิดของ “การเบียดเบียน” ก็ได้แก่การเบียดเบียนศาสนา การเบียดเบียนชาติพันธุ์ และการเบียดเบียนทางการเมือง บางลักษณะที่กล่าวก็ซ้ำซ้อนกัน การเบียดเบียนศาสนาที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ได้แก่การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในสมัยของจักรพรรดิเนโรมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยเฉพาะในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน การเบียดเบียนในจักรวรรดิโรมันมาลดน้อยลงเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน แต่การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนก็มิได้หยุดยั้งลงและยังคงดำเนินต่อมาด้วยเหตุผลที่ต่าง ๆ ไปจากในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก เช่นการเบียดเบียนที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสระหว่างโรมันคาทอลิกและอูเกอโนต์ซึ่งเป็นโปรแตสแตนต์ชาวฝรั่งเศส การเบียดเบียนบางครั้งก็อาจจะมาจากความเชื่องมงาย (superstition) เช่น การเบียดเบียนผู้มีภาวะผิวเผือก (Persecution of albinism) ทางตะวันออกของแอฟริกาเพราะความเชื่อที่ว่าคนเผือกเป็นผู้มีอำนาจเวทมนตร์พิเศษ.

ใหม่!!: การเหมารวมและการเบียดเบียน · ดูเพิ่มเติม »

ฝ้าย

การเก็บเกี่ยวฝ้ายในรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา เมื่อราว พ.ศ. 2433 ฝ้าย เป็นพันธุ์ไม้สกุลกอสไซเพียมในวงศ์ชบา เป็นไม้ขนาดเล็ก ถิ่นเดิมอยู่ในแถบทวีปอเมริกาใต้ ต่อมามีการนำไปปลูกในทวีปแอฟริกา เอเชีย และที่ที่อยู่ในโซนร้อนทั่ว ๆ ไป ฝ้ายเป็นพืชที่ให้เส้นใยโดยเส้นใยของฝ้ายเกือบทั้งหมดเป็นเซลลูโลส คำว่า Cotton ซึ่งหมายถึงฝ้ายในภาษาอังกฤษมาจากคำภาษาอาหรับว่า (al) qutn قُطْن เปลือกหุ้มเมล็ดฝ้ายมีเพกทินซึ่งประกอบด้วยกรดกาแลกทูโรนิกและเมทิลเอสเทอร์เป็นองค์ประกอบ สามารถใช้เป็นตัวดูดซับตะกั่วในน้ำเสียได้ โดยถ้าล้างด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ก่อนใช้จะดูดซับได้มากขึ้น.

ใหม่!!: การเหมารวมและฝ้าย · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์การ์ตูน

การ์ตูนม้าเคลื่อนไหว เกิดจากการซ้อนภาพหลายภาพต่อเนื่องกัน ภาพยนตร์การ์ตูน เป็นทัศนศิลป์รูปแบบหนึ่ง มีรูปแบบเป็นภาพเคลื่อนไหวที่สร้างด้วยการฉายภาพวาด ต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง ผิดกับภาพยนตร์ซึ่งสร้างโดยใช้กล้องบันทึกภาพของวัตถุเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง.

ใหม่!!: การเหมารวมและภาพยนตร์การ์ตูน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะอยากแปลงเพศ

ผู้แปลงเพศ ชูตัวหนังสือเอ็กซ์วายที่เขียนบนฝ่ามือ ภาวะอยากแปลงเพศ (Transsexualism) เป็นภาวะที่แสดงตนเองทางเพศด้านกายภาพที่แตกต่างจากเพศแรกเกิดของตน สาเหตุอาจเกิดจากความรู้สึกไม่สะดวกสบายใจและต้องการเปลี่ยนไปเป็นเพศตรงข้าม หรือถ้าการทำงานไม่ปกติหรือความยุ่งยากในการแสดงตัวตนในเพศนั้น ภาวะอยากแปลงเพศถูกตีตราในหลายส่วนของโลกแต่เป็นที่เปิดกว้างมากกว่าในสังคมตะวันตกในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ร่วมไปกับการพัฒนาเรื่องการผ่าตัดแปลงเพศ แต่ก็ยังคงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น ทั้งการเลือกปฏิบัติและทัศนคติแง่ลบต่อบุคคลแปลงเพศ ที่มักเกี่ยวข้องกับความเชื่อด้านศาสนาและวัฒนธรรม.

ใหม่!!: การเหมารวมและภาวะอยากแปลงเพศ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเยล

ห้องสมุดรัฐศาสมหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ในนิวเฮเวน รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งใน ค.ศ. 1701 มหาวิทยาลัยเยลเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเยลอยู่ในกลุ่มไอวี่ลีก ในปี พ.ศ. 2549 มีนักเรียน 16,700 คน อาจารย์ 2,300 คน.

ใหม่!!: การเหมารวมและมหาวิทยาลัยเยล · ดูเพิ่มเติม »

มาเฟีย

'''ชาร์ลส์ "ลัคกี้" ลูเซียโน''' (ค.ศ. 1897-1962) ผู้ก่อตั้ง The Comssion หรือสภาของมาเฟียอิตาเลียนซิซิเลียนของสหรัฐอเมริกา มาเฟีย (Mafia) เป็นกลุ่มคน หรือสมาชิกของกลุ่มคน ที่รวมตัวกันเพื่อประกอบมิจฉาชีพในการทำมาหากิน โดยดั้งเดิมแล้ว มาเฟีย คือ กลุ่มพันธมิตรในยุคกลางของอิตาลี ที่รวมตัวกันเพื่อต่อต้านชาวนอร์มันและชาวเติร์ก ต่อมาจึงกลายเป็นคำเรียกองค์กรลับต่างๆ ในอิตาลี มาเฟีย เป็นชื่อเรียกของกลุ่มสังคมที่ผิดกฎหมายอย่างลับๆ เชื่อกันว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงกลางของศตวรรษที่ 18 ในซิซิลีประเทศอิตาลี จากนั้นจึงเริ่มแผ่กระจายไปยังสหรัฐอเมริกาแคนาดา และออสเตรเลีย มาเฟียในซิซิลี จะถูกเรียกว่า Cosa nostra หรือในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Our thing จะเมื่อช่วงปลายศตวรรตที่ 18 ชาวอิตาลีจำนวนมากอพยพไปอยู่ที่อเมริกา แคนาดา สังคมของมาเฟียในอเมริกาจึงเกิดขึ้นจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากซิซิลี มีและมาเฟียประมาณ 20 ครอบครัวทั่วสหรัฐอเมริกา โดยหลักๆจะต้องปฏิบัติตามกฏที่เรียกว่า Code of omerta ซึ่งเป็นธรรมเนียมดั้งเดิมของชาวซิซิเลียน และจะมีสภาที่เรียกว่า The commission ออกคำสั่งโดยใช้ครอบครัวหลักๆอยู่ที่นิวยอร์ทั้งห้าครอบครัว ได้แก่ Genovese,Gambino,Bonanno,Lucchese,Colombo ส่วนครอบครัวอื่นๆจะกระจายอยู่ทั่วไปทั้งสหรัฐอเมริกาส่วนมากจะอยู่ในแถบ East coast ส่วนมาเฟียดั้งเดิมในซิซิลีจะเรียกครอบครัวว่า Clan หรือ Cosca แทนคำว่า Family แบบของมาเฟียอเมริกา ส่วนมาเฟียจากทางใต้ของอิตาลีท้องถิ่นอื่นๆจะเรียกแตกต่างกันไป เช่น มาเฟียจากจังหวัด เนเปิลส์ จะเรียกตัวเองว่า Camorra หรือ Camorrista มีหลายครอบครัวหลายแคลนแบ่งตามท้องที่กันไปเช่น Casalesi clan, Di Lauro clan,Nuvoletta clan,Vollaro clan เป็นต้น และมาเฟียจากแคว้นกาลาเบรีย จะเรียกว่า 'Ndrangheta ส่วนจะใช้เรียกครอบครัวด้วยคำว่า'Ndrina ยกตัวอย่างเช่น 'Ndrina Commisso,'Ndrina Piromalli,'Ndrina Ursini,'Ndrina Ierinò Sacra Corona Unita เป็นชื่อเรียกของมาเฟียจากแคว้นปูลยา และ Basilischi เป็นชื่อเรียกมาเฟียที่มีถิ่นกำเนิดในแคว้นบาซีลีกาตา ทั้งหมดอยู่ในภาคใต้ของอิตาลี และพิธีกรรมของมาเฟียก็จะคล้ายคลึงกันแต่สมาชิกต้องสืบเชื้อสายอิตาเลียนโดยตรงและนับถือศาสนาโรมันคาทอลิก และผู้ที่เป็นสมาชิกอย่างเต็มตัวโดยผ่านพิธีกรรมมาแล้วผู้ใดผู้หนึ่งจะแตะต้องหรือฆ่าไม่ได้นอกจากได้รับคำสั่งจากหัวหน้าครอบครัว ส่วนมากมาเฟียจะอยู่ในจังหวัดทางภาคใต้ของอิตาลี อันที่จริง มาเฟียไม่ได้ทำแต่เรื่องผิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรับใช้ราชวงศ์ หรือมีส่วนร่วมในหน่วยงานของรัฐ หรือแม้แต่การแผ่ขยายอาณาเขตของตนและยังมีส่วนร่วมในการช่วยสงครามโลกครั้งที่สองSeindal, Mafia: money and politics in Sicily,.

ใหม่!!: การเหมารวมและมาเฟีย · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: การเหมารวมและมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

ระดับเชาวน์ปัญญา

ระดับเชาวน์ปัญญา หรือ ไอคิว (IQ ย่อจาก Intelligence quotient) หมายถึง ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง ไอคิว เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก ไอคิว สามารถวัดออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลขที่แน่นอนได้.

ใหม่!!: การเหมารวมและระดับเชาวน์ปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รับบี

ราไบโมเช ไฟน์สไตน์ผู้นำคนสำคัญของศาสนายูดาห์ออร์ทอดอกซ์ของครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 รับบี (רב รับบี; Rabbi, แรบาย) เป็นภาษาฮิบรูแปลว่า “อาจารย์” เป็นคำที่ใช้ในศาสนายูดาห์ที่หมายถึงผู้สอนศาสนา คำว่า “rabbi” มีรากมาจากภาษาฮิบรูว่า “רַב” หรือ “rav” ที่ในคัมภีร์ฮีบรูหมายความว่า “ยิ่งใหญ่” หรือ “เป็นที่เคารพ” คำนี้มีรากมาจากรากภาษากลุ่มเซมิติก R-B-B เทียบเท่ากับภาษาอาหรับ “ربّ” หรือ “rabb” ที่แปลว่า “lord” (ที่โดยทั่วไปเป็นการเอ่ยถึงพระเจ้าทางโลกด้วย เพื่อเป็นการแสดงความนับถือบางครั้งรับบีผู้มีชื่อเสียงก็จะเรียกกันว่า “The Rav.” รับบีไม่ใช่งานอาชีพตามคัมภีร์โทราห์ ฉะนั้นจึงไม่มีการใช้ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเช่น “Rabban” “Ribbi” หรือ “Rab” เพื่อกล่าวถึงนักปราชญ์ในบาบิโลเนียหรือในอิสราเอล แม้แต่ศาสดาผู้มีความสำคัญในพระคัมภีร์ก็ยังไม่เรียกว่ารับบี แต่เรียกว่า “ฮักไก” ตำแหน่ง “รับบัน” หรือ “รับบี” เริ่มใช้กันเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ฮีบรูในมิชนาห์ (ราว 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกสำหรับรับบันกามาลิเอลผู้อาวุโส (Rabban Gamaliel the elder), ราบันซิเมอันลูกชาย และโยฮานัน เบน ซัคไค ซึ่งต่างก็เป็นประธานสภาซันเฮดริน คำนี้ในภาษากรีกพบในพระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญยอห์นในพันธสัญญาใหม่เมื่อกล่าวถึงพระเยซู. การพัฒนาความคิดเกี่ยวกับรับบีเริ่มขึ้นในสมัยฟาริสีและทาลมุด เมื่อปรจารย์มาประชุมกันเพื่อร่างกฎเกี่ยวกับศาสนายูดาห์ทั้งทางภาษาเขียนและภาษาพูด ในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา หน้าที่ของรับบีก็ยิ่งเพิ่มความมีอิทธิพลมากขึ้น ที่ทำให้เกิดคำใหม่ๆ เช่น “รับบีแท่นเทศน์” (pulpit rabbi) และในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หน้าที่ของราไบก็รวมการเทศนา, การให้คำปรึกษา และ การเป็นผู้แทนชองประชาคมในโลกภายนอกก็เพิ่มความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ ในนิกายต่างๆ ของศาสนายูดาห์ ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการแต่งตั้งรับบีก็แตกต่างกันออกไป หรือกฎที่ใครควรจะเรียกว่าเป็นรับบี.

ใหม่!!: การเหมารวมและรับบี · ดูเพิ่มเติม »

รักร่วมสองเพศ

รักร่วมสองเพศ หรือ ไบเซ็กชวล (Bisexual) เป็นรสนิยมทางเพศ ที่ชอบคนทั้ง 2 เพศ ทั้งชายและหญิง คนที่มีรสนิยมแบบไบเซ็กชวลอาจมีประสบการณ์ทางเพศ ภาวะอารมณ์ ความรัก กับทั้งเพศตัวเองและเพศตรงข้าม และยังมีความหมายถึงความรู้สึกส่วนตัวและอัตลักษณ์ทางสังคม โดยยึดจากความสนใจทางเพศ การแสดงออกทางพฤติกรรม และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคม และยังถือเป็น 1 ใน 4 ของการจำแนกเพศ ร่วมไปกับรักต่างเพศ รักเพศเดียวกัน และไม่ฝักใจทางเพศ จากการสำรวจของอัลเฟรด คินเซย์เกี่ยวกับเพศของมนุษย์ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 กล่าวว่า มีมนุษย์หลายคนที่ไม่ได้เป็นบุคคลรักเพศตรงข้าม และรักเพศเดียวกัน แต่อยู่ระหว่างนั้น มีการวัดความสนใจทางเพศและพฤติกรรม ความกว้าง 0-7 โดย 0 (รักเพศตรงข้าม) ถึง 6 (รักเพศเดียวกัน) จากการศึกษาพบว่ามีจำนวนมากที่อยู่ระหว่าง 1 ถึง 5 (ระหว่างรักเพศตรงข้ามและรักเพศเดียวกัน) แต่วิธีนี้ก็ได้รับการวิจารณ์ว่า เลขการวัดยังคงกว้างที่จะอธิบายเพศของมนุษย์ ไบเซ็กชวล ได้รับการสังเกตในสังคมมนุษย์หลายสังคม รวมไปถึงอาณาจักรสัตว์ด้วย จากประวัติการบันทึก เกี่ยวกับไบเซ็กชวล น่าจะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับ รักร่วมเพศ และรักเพศเดียวกัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: การเหมารวมและรักร่วมสองเพศ · ดูเพิ่มเติม »

รักร่วมเพศ

รักร่วมเพศ (homosexuality) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา" รักร่วมเพศ, ไบเซ็กชวล และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมินLeVay, Simon (1996).

ใหม่!!: การเหมารวมและรักร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ริกก์ส คนมหากาฬ

ริกก์ส คนมหากาฬ (Lethal Weapon) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแอคชั่น ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 1987 กำกับโดย ริชาร์ด ดอนเอนอร์ นำแสดงโดย เมล กิ๊บสัน และ แดนนี่ โกลฟเวอร.

ใหม่!!: การเหมารวมและริกก์ส คนมหากาฬ · ดูเพิ่มเติม »

ละคร

ละคร หมายถึงการแสดงรำที่เป็นเรื่องเป็นราว ดำเนินเรื่องไปโดยลำดับ มีตัวเอกของเรื่อง ฝ่ายชายเรียกว่าตัวพระ เพราะสมัยโบราณแสดงแต่เรื่องจักรๆวงศ์ๆ เป็นเรื่องของกษัตริย์ มีชื่อว่าพระต่างๆ เช่น พระอนิรุทธิ์ พระไชยเชษฐ์ พระอภัยมณี ฝ่ายหญิงเรียกว่า ตัวนาง เพราะในเรื่องที่แสดงมักชื่อว่านางต่างๆ เช่น นางสีดา นางบุษบา นางทิพย์เกสร ยังไม่มีการแบ่งเป็นนางสาวและนางที่มีสามีแล้ว และตัวประกอบอื่นๆแล้วแต่ในเรื่องจะมีละครมีหลายแบบ แต่ละวฝฝใมีการแสดงและความมุ่งหมายแตกต่างกัน เช่น ละครโนรา ละครนอก ละครใน ละครถาม😴😴😴😴😴 และละครดึกดำบรรพ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจดบันทึกโดย ซิมง เดอ ลาลูแบร์ ราชฑูตแห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ใน ปี..

ใหม่!!: การเหมารวมและละคร · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: การเหมารวมและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วอลรัส

วอลรัส (walrus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวในวงศ์ Odobenidae และสกุล Odobenus อาศัยอยู่แถบขั้วโลกเหนือ รูปร่างคล้ายสิงโตทะเล แต่ตัวใหญ่กว่ามากและมีเขี้ยวยาว วอลรัสเพศผู้โตเต็มวัยอาจมีน้ำหนักได้มากถึง 2,000 กิโลกรัม และมีอายุยืนถึง 20-30 ปี วอลรัสมีความสำคัญต่อชนพื้นเมืองที่อาศัยในเขตอาร์กติก การล่าวอลรัสในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ส่งผลให้จำนวนวอลรัสลดลง.

ใหม่!!: การเหมารวมและวอลรัส · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมตะวันตก

วัฒนธรรมตะวันตก หรือคำอื่นที่ใช้แทนกันได้เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบตะวันตก, อารยธรรมตะวันตก, อารยธรรมยุโรป, วัฒนธรรมยุโรป ฯลฯ เป็นศัพท์ที่มีความหมายอย่างกว้างครอบคลุมถึงมรดกทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับบรรทัดฐานทางสังคม คุณธรรม ประเพณี ระบบความเชื่อ ระบบการเมือง สิ่งประดิษฐ์ และวิทยาการที่ได้รับจากโลกตะวันตก คำว่า "ตะวันตก" หมายถึงประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของการย้ายถิ่นเข้ามาของชาวยุโรปด้วย อาทิกลุ่มประเทศในทวีปอเมริการวมไปถึงออสตราเลเซีย ซึ่งไม่จำกัดว่าต้องมาจากทวีปยุโรปเท่านั้น หมวดหมู่:Classical studies หมวดหมู่:มานุษยวิทยาวัฒนธรรม หมวดหมู่:อภิธานศัพท์สังคมวิทยา.

ใหม่!!: การเหมารวมและวัฒนธรรมตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: การเหมารวมและวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แมวน้ำ

วงศ์แมวน้ำแท้ (อังกฤษ: true seal, earless seal) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ วงศ์ Phocidae (ไม่มีใบหู) และวงศ์ Otariidae (มีใบหู) และ Odobenidae (วอลรัส).

ใหม่!!: การเหมารวมและวงศ์แมวน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะ

ลปะ (शिल्प ศิลฺป) ทั่ว ๆ ไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่าง ๆ งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลาย ๆ ชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร, สื่ออารมณ์, หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวม ๆ ว่า ศิลปิน ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน despacito หรือ อื่น ๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art ศิลปะนับว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษดขึ้น และนับว่าเป็นศาสตร์ของนักปราชญ์ที่เป็นที่ชื่นชม.

ใหม่!!: การเหมารวมและศิลปะ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: การเหมารวมและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมวิทยา

ังคมวิทยา (อังกฤษ: sociology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฎเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก.

ใหม่!!: การเหมารวมและสังคมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สำนวนจำเจ

“รสเหมือนไก่” เป็นสำนวนจำเจที่ใช้ในการบรรยายรสชาติของเนื้อที่แปลกไปจากเนื้อสัตว์ที่กินกันโดยทั่วไป เช่นการบรรยายรสชาติของขากบต่อผู้ไม่รู้รส “ภาพจำเจ” เช่นภาพทิวทัศน์ที่มีกิ่งไม้ห้อยอยู่หน้าภาพ สำนวนจำเจ หรือ ภาพจำเจ (cliché หรือ cliche เป็นคำยืมภาษาฝรั่งเศส) คือคำกล่าว, การแสดงความเห็น หรือ ความคิด หรือองค์ประกอบของศิลปะที่เป็นสำนวนที่ใช้กันมากเกินไปจนกระทั่งหมดประสิทธิภาพของความหมายที่ตั้งใจไว้แต่เดิม และจนกระทั่งกลายเป็นสามัญทัศน์โดยเฉพาะในกรณีที่เมื่อเริ่มใช้ใหม่ๆ เป็นสำนวนที่มีใหม่และมีความหมายดี “สำนวนจำเจ” เป็นสำนวนที่ใช้กันเสมอในวัฒนธรรมยุคใหม่ซึ่งเป็นการบ่งถึงพฤติกรรมหรือความคิดที่คาดได้ล่วงหน้าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อหน้านั้น บางครั้งการใช้ก็มีวัตถุประสงค์เชิงเหยียด (pejoratively) หรือบางครั้งก็อาจจะใช้ในนวนิยายหรือการแสดงชวนขันเพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ชมได้หัวเราะ ตัวอย่างของการใช้สำนวนจำเจก็ได้แก่การบรรยายรสชาติของเนื้อที่แปลกไปจากเนื้อสัตว์ที่กินกันโดยทั่วไปที่ผู้ตอบมักจะตอบเชิงเสียดสีหรือเชิงชวนขันว่า “รสเหมือนไก่” แม้ว่าจะไม่ทราบรสชาติที่แท้จริงก็ตาม หรือในกรณี ภาพจำเจ ก็ได้แก่ภาพทิวทัศน์ชายทะเลที่มีลักษณะพื้นๆ เป็นภาพภูเขากับทะเลที่มีกิ่งไม้ห้อยอยู่ข้างหน้าเป็นต้น.

ใหม่!!: การเหมารวมและสำนวนจำเจ · ดูเพิ่มเติม »

สื่อมวลชน

ื่อมวลชน (mass media) เป็นสื่อที่สามารถกระจายข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งหรือจากองค์กรหนึ่ง ไปยังมวลชนจำนวนมากโดยเฉพาะประชาชนทั้งประเทศ ในเวลาอันรวดเร็ว ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ตฯลฯ การเผยแพร่ในสื่อมวลชนส่วนหนึ่งต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อเวลา ซื้อพื้นที่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อย่างไรก็ตามองค์กรสามารถใช้สื่อมวลชนแบบให้เปล่าได้ หากองค์กรนั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจแก่การเผยแพร่ หรือบังคับโดยข้อกฎหม.

ใหม่!!: การเหมารวมและสื่อมวลชน · ดูเพิ่มเติม »

สุพันธุศาสตร์

isbn.

ใหม่!!: การเหมารวมและสุพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สุหนัต

ีตาน (ختان; Khitan) คนไทยมักเรียกว่า สุหนัต (สุ-หนัด) หมายถึง พิธีการขริบหนังหุ้มปลายตามข้อกำหนดในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม คำว่า สุหนัต มาจากคำว่า "ซูนัต" ในภาษามลายู ซึ่งมาจากคำว่า "ซุนนะฮ์" ในภาษาอาหรับ ซึ่งหมายถึงแบบแผนการปฏิบัติของนบีมุฮัมมัด พิธีสุหนัตเกิดขึ้นครั้งแรกในศาสนายูดาห์ ซึ่งเริ่มทำพิธีนี้ครั้งแรกในสมัยของอับราฮัม การเรียกว่า "เข้าสุนัต" มาจากวลี "มาซุก ญาวี" หรือ "มะโซะยาวี" (แปลว่า เข้าญาวี) ในภาษามลายู หมายถึง เข้า (ศาสนาของ) คนญาวี (มลายูมุสลิม) ด้วยการขริบหนังที่ปลายอวัยวะเพศ การขริบหนังองคชาตเป็นประเพณีของชาวยิว ชาวมุสลิม และคริสต์ศาสนิกชนบางนิกาย เช่นเดียวกับเผ่าหลายเผ่าในแอฟริกา ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นนิยมขริบเนื่องจากเหตุผลทาง.

ใหม่!!: การเหมารวมและสุหนัต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: การเหมารวมและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สตาร์ วอร์ส

ตาร์ วอร์ส (Star Wars) เป็นภาพยนตร์ชุดแนวมหากาพย์ละครอวกาศ สร้างโดย จอร์จ ลูคัส นอกจากนี้ยังมีสื่อต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากภาพยนตร์ เรียกว่า จักรวาลขยาย ได้แก่ หนังสือ ละครโทรทัศน์ วิดีโอเกมและหนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ชุดแรกออกฉายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม..

ใหม่!!: การเหมารวมและสตาร์ วอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

สไปค์ ลี

ลตัน แจ็กสัน "สไปค์" ลี (Shelton Jackson "Spike" Lee) ผู้กำกับภาพยนตร์แนวอิสระ ผู้อำนวยการสร้าง นักเขียน และนักแสดงชาวอเมริกัน นอกจากนี้ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาของผลิตภัณฑ์ไนกี้ และมิวสิกวิดีโอให้กับศิลปินนักร้อง เช่น พรินซ์, ไมเคิล แจ็กสัน, แอนิตา เบเกอร์, พับลิกเอเนมี สไปค์ ลี ยังเป็นอาจารย์สอนวิชาภาพยนตร์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ผลงานกำกับภาพยนตร์ของสไปค์ ลี มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกีดกันทางเชื้อชาติ บทบาทของสื่อมวลชน อาชญากรรมในเมืองใหญ่ ความยากจน และประเด็นทางการเมือง โด่นเด่นด้วยฉากที่มีสีสันฉูดฉาดและมุมกล้องที่น่าเวียนหัว ภาพยนตร์หลายเรื่องถ่ายทำในบรูกลิน นิวยอร์ก ซึ่งเป็นย่านที่เขาเติบโตม.

ใหม่!!: การเหมารวมและสไปค์ ลี · ดูเพิ่มเติม »

หญิงรักร่วมเพศ

หญิงรักร่วมเพศ หรือ เลสเบียน (lesbian) เป็นการอธิบายความต้องการทางเพศและความต้องการฉันคู่รัก (romantic desire) ระหว่างหญิง"Lesbian",, Second Edition, 1989.

ใหม่!!: การเหมารวมและหญิงรักร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

หมีขาว

หมีขาว หรือ หมีขั้วโลก (polar bear) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) จัดเป็นหมีชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: การเหมารวมและหมีขาว · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ อาร์มสตรอง

หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) (4 สิงหาคม ค.ศ. 1901 - 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1971) มีชื่อเล่นว่า "แซทช์โม" (Satchmo) หรือ ป็อปส์ (Pops) นักทรัมเป็ตและนักร้องเพลงแจ๊สชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: การเหมารวมและหลุยส์ อาร์มสตรอง · ดูเพิ่มเติม »

อัตวิสัย

อัตวิสัย หรือ จิตวิสัย (subjectivity) หมายถึงมุมมองหรือความคิดเห็นของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อ หรือความต้องการ อาจหมายถึงแนวความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้และความเชื่อที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง ในทางปรัชญา คำนี้มักมีความหมายตรงข้ามกับ ปรวิสัย อัตวิสัยเป็นทัศนะที่มีความเชื่อว่า การมีอยู่ หรือ ความจริงของสิ่งสิ่งหนึ่งอยู่กับตัวเราเองเป็นคนตัดสิน เช่น คุณได้กลิ่นน้ำหอมยี่ห้อนี้แล้วหอม แต่ในคนอื่นเมื่อได้กลิ่นแล้วเหม็นก็ได้.

ใหม่!!: การเหมารวมและอัตวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

อาการกลัวอิสลาม

อาการกลัวอิสลาม (Islamophobia) เป็นความเกลียดกลัวอย่างรุนแรง หรือความเดียดฉันท์ต่อศาสนาอิสลามหรือมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองว่าเป็นกำลังภูมิรัฐศาสตร์หรือบ่อเกิดของการก่อการร้าย คำนี้เป็นคำสร้างใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 1970 และโดดเด่นขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 และมีความโดดเด่นในนโยบายสาธารณะด้วยรายงานโดยคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์และอาการกลัวอิสลามบริติชของรันนีมีดทรัสต์ ชื่อ อาการกลัวอิสลาม: ความท้าทายสำหรับเราทุกคน (ปี 1997) สาเหตุและลักษณะของอาการกลัวอิสลามยังมีการโต้เถียงกัน นักวิจารณ์บางคนระบุว่าอาการกลัวอิสลามเพิ่มขึ้นจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 บ้างว่ามาจากการก่อการร้ายหลายครั้งในทวีปยุโรปและสหรัฐ บ้างสัมพันธ์กับการมีมุสลิมในสหรัฐและสหภาพยุโรปมากขึ้น บ้างยังสงสัยความถูกต้องของคำนี้ นักวิชาการ S. Sayyid และ Abdoolkarim Vakil ยืนยันว่าอาการกลัวอิสลามเป็นการตอบสนองต่อการถือกำเนิดของอัตลักษณ์สาธารณะของมุสลิมที่แตกต่าง และการมีมุสลิมไม่ใช่ตัวบ่งชี้ระดับของอาการกลัวอิสลามในสังคม โดยว่าสังคมที่แทบไม่มีมุสลิมเลยแต่มีอาการกลัวอิสลามแบบสถาบันหลายแบบอยู.

ใหม่!!: การเหมารวมและอาการกลัวอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

อคติ

อคติ แปลว่า ไม่ควรถึง หมายถึงไม่ควรประพฤติ ในศาสนาพุทธที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาใช้ในความหมายว่าลำเอียง มี 4 คือ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ โมหาคติ เป็นธรรมของผู้เป็นผู้ใหญ่ควรยึดถือ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมสามารถใช้ในการพิจารณาสรรพสิ่ง ว่าเราเห็นผิดวิปลาสจากความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง เป็นเพราะอคติทั้ง 4 ต่อสิ่งทั้งปวง หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ หมวดหมู่:อคติ.

ใหม่!!: การเหมารวมและอคติ · ดูเพิ่มเติม »

อ้อย

อ้อย (อังกฤษ: Sugar-cane; ชื่อวิทยาศาสตร์: Saccharum officinarum  L.) เป็นพืชวงศ์ POACEAE วงศ์เดียวกับ ไผ่ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าว ข้าวโพด และ ข้าวบาร์เลย์ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในลำต้นอ้อยที่นำมาใช้ทำน้ำตาลมีปริมาณซูโครสประมาณ 17-35% ชานอ้อย (bagasse) ที่ถูกบีบเอาน้ำอ้อยออกไปแล้ว สามารถนำมาใช้ทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ ส่วนกากน้ำตาล (molasses) ที่แยกออกจากน้ำตาลในระหว่างการผลิต สามารถนำไปหมักเป็นเหล้ารัม (rum) ได้อีกด้วย อ้อยเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเมื่อพิจารณาในแง่ของผลผลิต เพราะอ้อยสามารถใช้ปัจจัยสำหรับการเจริญเติบโต เช่น แสงแดด น้ำ อากาศ และธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้อ้อยยังเป็นพืชที่ปลูกง่าย และเมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้ว สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง อ้อยชอบอากาศร้อนและชุ่มชื้น ดังนั้นประเทศที่ปลูกอ้อย ซึ่งมีประมาณ 70 ประเทศจึงอยู่ในแถบร้อนและชุ่มชื้นในระหว่างเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ และ 35 องศาใต้ ประเทศผู้ปลูกอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ บราซิล คิวบา อินเดี.

ใหม่!!: การเหมารวมและอ้อย · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกันฟุตบอล

กีฬาอเมริกันฟุตบอลในช่วงก่อนเริ่มเทิร์น ทั้งสองฝ่ายจะเตรียมพร้อมในแนวหน้ากระดาน ในภาพมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต (ชุดแดง) แข่งกับ มหาวิทยาลัยเทกซัสเทค (ชุดขาว) ลูกอเมริกันฟุตบอล รูปร่างกลมรี ปลายแหลม และโดยทั่วไปจะมี แนวตะเข็บด้ายขนาดใหญ่อยู่ที่ด้านหนึ่ง อเมริกันฟุตบอล (American football) เป็นกีฬาประเภททีมที่นิยมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา จุดมุ่งหมายของการแข่งขันคือแต่ละทีมจะต้องพยายามเคลื่อนลูกบอลเข้าไปสู่ เขตปลายสุดสนาม หรือที่เรียกว่าเอนด์โซนของฝ่ายตรงข้าม การเคลื่อนนั้นสามารถกระทำได้โดย การถือลูกวิ่ง และ การขว้างลูกไปให้เพื่อนร่วมทีม การทำคะแนนสามารถทำได้หลายวิธีคือ การถือลูกวิ่งผ่านเส้นเขตประตู การขว้างลูกไปให้เพื่อนร่วมทีมที่อยู่ในเขตสนามหลังเส้นประตู หรือ การแตะประตู โดยการเตะลูกที่มีเพื่อนร่วมทีมจับตั้งกับพื้นสนามให้ผ่านระหว่างเสาประตู (goalposts หรือ uprights) หลังจากหมดเวลาการแข่งขันทีมที่ได้คะแนนสูงกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ ในสหรัฐอเมริกา และ ประเทศแคนาดา เรียกกีฬาประเภทนี้ว่า "ฟุตบอล (football) " (ในขณะเดียวกันเรียกฟุตบอล ว่า ซอคเกอร์) ในบางประเทศเรียกอเมริกันฟุตบอลว่า "กริดไอเอิร์นฟุตบอล (grid-iron football) " อเมริกันฟุตบอลนั้นเริ่มมีการพัฒนาแยกตัวออกมาจาก รักบี้ฟุตบอล ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อรีนาฟุตบอล หรือ ฟุตบอลในร่ม เป็นกีฬาที่ดัดแปลงมาจากอเมริกันฟุตบอล.

ใหม่!!: การเหมารวมและอเมริกันฟุตบอล · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เล่าเรื่อง

ผู้เล่าเรื่อง (Storyteller) อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: การเหมารวมและผู้เล่าเรื่อง · ดูเพิ่มเติม »

ทัศนคติ

ทัศนคติ หรือ เจตคติ ในทางจิตวิทยา คือการแสดงออกถึงความชอบหรือไม่ชอบต่อบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ซึ่งเรียกว่าวัตถุแห่งทัศนคติ) กอร์ดอน ออลพอร์ต นักจิตวิทยาได้อธิบายเกี่ยวกับทัศนคติไว้ว่า "เป็นแนวคิดอันเด่นชัดที่สุดและจำเป็นที่สุดในจิตวิทยาสังคมร่วมสมัย" Allport, Gordon.

ใหม่!!: การเหมารวมและทัศนคติ · ดูเพิ่มเติม »

ทาส

''Le Marché aux esclaves'', ตลาดค้าทาส ฌอง-เลออง เจอโรม ราว ค.ศ. 1884) ทาส หมายถึง บุคคลซึ่งถูกนับสิทธิเสมือนสิ่งของของผู้อื่น ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิต และมีหน้าที่รับใช้ผู้อื่นโดยมิได้รับการตอบแทนจากเจ้าของ (นายทาส) เช่น การรับใช้ทางด้านแรงงาน และหากไม่เชื่อฟังคำสั่ง อาจถูกลงโทษได้ตามแต่นายทาสจะกำหนด ยกเว้นเป็นการกระทำอันทำให้ถึงแก่ความต.

ใหม่!!: การเหมารวมและทาส · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกใต้

ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.

ใหม่!!: การเหมารวมและขั้วโลกใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ใหม่!!: การเหมารวมและขั้วโลกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ดาริโอ โฟ

ริโอ โฟ (Dario Fo) (24 มีนาคม ค.ศ. 1926 – 13 ตุลาคม ค.ศ. 2016) เป็นนักเขียนเชิงเสียดสี, นักเขียนบทละคร, ผู้กำกับละครเวที, นักแสดงและคีตกวีคนสำคัญชาวอิตาลี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 1997 งานเขียนของโฟแฝงด้วยแนวชวนขันของ ศิลปะชวนขันอาชีพ (commedia dell'arte) ของอิตาลีโบราณ ซึ่งเป็นลักษณะการเขียนบทละครเวทีที่เป็นที่นิยมกันในบรรดาชนชั้นที่เรียกว่า “proletarian class” ของสังคม ดาริโอ โฟผู้เป็นบิดาของนักเขียนจาโคโป โฟ เป็นผู้จัดการโรงละครร่วมกับภรรยาผู้เป็นดารานำ ฟรังคา เรเม ดาริโอ โฟ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม..

ใหม่!!: การเหมารวมและดาริโอ โฟ · ดูเพิ่มเติม »

ความถูกต้องทางการเมือง

วามถูกต้องทางการเมือง (Political correctness หรือใช้อักษรย่อว่า “PC”) คือคำที่ใช้สำหรับภาษา, ความคิดเห็น, นโยบาย และ พฤติกรรมที่เป็นการหลีกเลี่ยงการดูหมิ่นหรือการสร้างความรู้สึกขุ่นเคืองแก่เพศ, ผิว, วัฒนธรรม, เพศภาพ (sexual orientation), ผู้พิการ และ สิ่งที่เกี่ยวกับผู้มีอายุขัย การใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะใช้ไปในเชิงเสียดสี (pejorative) ที่สื่อความคิดของ “การยอมรับ” และ “การไม่ยอมรับ”Ruth Perry, (1992), “A short history of the term ‘politically correct’ ”, in Beyond PC: Toward a Politics of Understanding, by Patricia Aufderheide, 1992Schultz, Debra L. (1993).

ใหม่!!: การเหมารวมและความถูกต้องทางการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ความเกลียดกลัวต่างชาติ

วามเกลียดกลัวต่างชาติ (Xenophobia) คือภาวะความชังและ/หรือความกลัวของผู้ที่มีชาติพันธุ์ที่ไม่รู้จักหรือแตกต่างจากตนเอง “Xenophobia” มาจากภาษากรีก “ξένος” (xenos) ที่แปลว่า “คนแปลกหน้า” หรือ “ชาวต่างประเทศ” และ “φόβος” (phobos) ที่แปลว่า “กลัว” ความเกลียดกลัวต่างชาติสามารถแสดงออกมาได้หลายวิธีซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์และการรับรู้ของกลุ่มในที่มีต่อกลุ่มนอก ซึ่งรวมถึงความกลัวเสียอัตลักษณ์ ความสงสัยในกิจกรรม ความก้าวร้าวและความปรารถนาทำลายการมีอยู่เพื่อธำรงความบริสุทธิ์ที่คิดGuido Bolaffi.

ใหม่!!: การเหมารวมและความเกลียดกลัวต่างชาติ · ดูเพิ่มเติม »

คนข้ามเพศ

ปริญญา เจริญผลจากภาพยนตร์ ''บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์'' คนข้ามเพศ (transgender) คือ บุคคลที่มีเพศภาวะไม่สัมพันธ์กับเพศสภาพของตนเอง ไม่ได้หมายถึง รูปแบบของเพศวิธีหรือรสนิยมทางเพศ คนข้ามเพศอาจจะแสดงตนเป็นคนรักต่างเพศ (heterosexual), รักร่วมเพศ (homosexual), รักร่วมสองเพศ (bisexual), รักทุกเพศ (pansexual), รักหลายเพศ (pansexual) หรือไม่ฝักใจทางเพศ (asexual) ก็ได้ คนข้ามเพศยังอาจหมายถึง บุคคลที่แสดงตนไม่เหมือนเพศชายหรือเพศหญิงตามธรรมเนียมนิยม แต่รวมหรือย้ายไปในทางเพศตรงข้ามAuthor unknown, (2004) "...Transgender, adj.

ใหม่!!: การเหมารวมและคนข้ามเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานพื้นบ้าน

ตำนานพื้นบ้าน (urban legend, urban myth, urban tale หรือ contemporary legend) เป็นคติชน (folklore) ยุคปัจจุบันรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเรื่องที่ผู้เล่าอาจเชื่อว่าจริงหรือไม่จริง เฉกเช่นเดียวกับคติชนและปกรณัม (mythology) ตำนานพื้นบ้านไม่ได้มุ่งหมายที่ความถูกต้องแท้จริงของเนื้อหา เพียงแต่ได้ไขเรื่องราวนั้นให้แพร่หลาย ฉะนั้น เนื้อหาจึงมีลักษณะเปลี่ยนแปลงผกผันได้เป็นระยะ ๆ แต่ก็มีความสำคัญบางประการที่จูงใจให้ชุมชนรักษาและถ่ายทอดเรื่องนั้นต่อ ๆ ไป แม้ในภาษาอังกฤษเรียก "urban" ซึ่งหมายถึง ชุมชนเมือง แต่ก็ไม่จำเป็นว่าเรื่องราวจะต้องเกิดในชุมชนเมืองเสมอไป ที่ใช้คำเช่นนั้นก็เพื่อให้ต่างกับคติชนดั้งเดิม (traditional folklore) ในยุคก่อนอุตสาหกรรมเท่านั้น ด้วยเหตุผลนี้ นักสังคมวิทยากับนักคติชนวิทยาจึงพอใจจะเรียกตำนานพื้นบ้านว่า "ตำนานร่วมสมัย" (contemporary legend) มากกว่า ตำนานพื้นบ้านนั้นบางทีก็เล่าซ้ำ ๆ กันในรูปแบบรายงานข่าว และในช่วงหลัง ๆ มักแพร่หลายในรูปแบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้คนมักอ้างว่าเรื่องราวที่โจษจันกันนั้นเกิดขึ้นแก่เพื่อนของเพื่อน เมื่อเล่าตำนานพื้นบ้านก็จึงมักอ้างถึง "เพื่อนของเพื่อน" (หรือที่ในภาษาไทยแต่โบราณว่า "กิร ดังได้สดับมา") แม้เวลาผ่านไปหลายปี ตำนานพื้นบ้านบางเรื่องเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากก็มี เช่น เรื่องหญิงถูกแมงมุมซึ่งทำรังอยู่ในทรงผมของนางฆ่าตาย ตำนานพื้นบ้านในระยะหลัง ๆ มักสะท้อนพฤติการณ์สมัยใหม่ขึ้น เช่น เรื่องปล้นไต (Kidney Heist) ความว่า มีคนถูกดักทำร้าย โปะยาสลบ พอตื่นขึ้นมาก็พบว่าไตหายไปข้างหนึ่ง เพราะถูกลักไปใช้ปลูกถ่ายให้แก่ผู้อื่น เป็นต้น.

ใหม่!!: การเหมารวมและตำนานพื้นบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

ซิตคอม

ซิตคอม (sitcom) ย่อมาจาก ซิจูเอชันคอเมดี (situation comedy) มีลักษณะ คือ ตัวละครจะอยู่ในสถานการณ์จำลองเดียวกันจากตอนหนึ่งไปตอนถัดไป สถานการณ์จำลองมักจะเป็นในครอบครัว ที่ทำงาน หรือ ในวงเพื่อน มุกตลกในซิตคอมมีหลากหลาย แต่ปกติแล้วจะมีลักษณะเป็นแบบตัวละครนำเรื่องไป (character-driven) นำมาซึ่งการใช้ running gags (มุกซ้ำๆประจำตัวละคร ย้ำเรื่อยๆตลอดเรื่อง) เพื่อที่จะรักษาสถานการณ์ให้คงที่ตลอดจำนวนตอนที่มากมาย ในซิตคอมต่างๆ ตัวละครจึงมักมีความเป็นไปที่คงที่ (เช่น ถ้าเป็นเรื่องความรัก ก็จะไม่มีความคืบหน้าของความรักในแต่ละตอนมากนัก ทำให้ความสัมพันธ์ของตัวละครคงเดิม) เหตุการณ์ในแต่ละตอนก็จะมีบทสรุปภายในตอน และมีไม่บ่อยนักที่จะเกี่ยวโยงข้ามตอน.

ใหม่!!: การเหมารวมและซิตคอม · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: การเหมารวมและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แฟชั่น

นางแบบบนเวทีเดินแบบในปี ค.ศ. 2014 ภาพ ''ฟอลโลว์อิงเดอะแฟชั่น'' ในปี ค.ศ. 1794 แสดงการแต่งกายผู้หญิงยุคสมัยนั้น รสนิยมการแต่งกายในอดีต แฟชั่นหรือสมัยนิยม (fashion) ราชบัณฑิตยสถาน นิยามว่า "สมัยนิยม, แบบหรือวิธีการที่นิยมกันทั่วไปในชั่วระยะเวลาหนึ่ง." เป็นการยอมรับจนเกิดเป็นค่านิยม มีกระบวนการเกิดภาษาใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น.

ใหม่!!: การเหมารวมและแฟชั่น · ดูเพิ่มเติม »

แตงโม

ใบแตงโม แตงโม เป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก บักโม ภาคเหนือเรียก บะเต้า จังหวัดตรังเรียกแตงจีน ถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารีทวีปแอฟริกา ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานเมื่อสี่พันปีมาแล้ว ชาวจีนเริ่มปลูกแตงโมที่ซินเกียงสมัยราชวงศ์ถัง และชาวมัวร์ได้นำแตงโมไปสู่ทวีปยุโรป แตงโมแพร่หลายเข้าสู่ทวีปอเมริกาพร้อมกับชาวแอฟริกาที่ถูกขายเป็นทาส แตงโมต้องการดินที่มีความชุ่มชื้นพอเหมาะ น้ำไม่ขัง มักปลูกกันในดินร่วนปนทราย ในประเทศไทยมีการปลูกแตงโมทั่วทุกภูมิภาค และปลูกได้ทุกฤดู แตงโมเป็นพืชในวงศ์เดียวกับแคนตาลูปและฟัก เป็นพืชล้มลุกเป็นเถา อายุสั้น เถาจะเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนอ่อนปกคลุม ผลมีทั้งทรงกลมและทรงกระบอก เปลือกแข็ง มีทั้งสีเขียวและสีเหลือง บางพันธุ์มีลวดลายบนเปลือก ในเนื้อมีเมล็ดสีดำแทรกอยู่ แตงโมที่นิยมปลูกโดยทั่วไปมี 3 พันธุ์คือปลาดุก.

ใหม่!!: การเหมารวมและแตงโม · ดูเพิ่มเติม »

โรคใคร่เด็ก

รคใคร่เด็ก หรือ ความใคร่เด็ก (Pedophilia, paedophilia) เป็นความผิดปกติทางจิตที่ผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นตอนปลายมีความต้องการทางเพศเป็นหลักหรืออย่างจำกัดเฉพาะ ต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพัน.

ใหม่!!: การเหมารวมและโรคใคร่เด็ก · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์ ซิมป์สัน

มอร์ ซิมป์สัน โฮเมอร์ เจย์ ซิมป์สัน (Homer Jay Simpson) เป็นตัวการ์ตูนหลักในการ์ตูนชุดทางโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา เรื่อง เดอะซิมป์สันส์ สร้างโดย แมตต์ เกรนนิง (Matt Groening) ให้เสียงพากย์โดย แดน คาสเทลลาเนตา (Dan Castellaneta) โฮเมอร์เป็นพ่อในครอบครัวซิมป์สัน ลักษณะอ้วนลงพุง ขี้เกียจ ตะกละ และไม่ฉลาด เขาทำงานที่โรงไฟฟ้าพลังปรมาณูของ ชารลส์ มอนโกเมอร์รี่ เบิร์นส์ (C.M. Burns)ในเมืองสปริงฟิลด์ (Springfield) ที่แผนก Sector 7G โดยใช้เวลาส่วนใหญ่กินโดนัทแทนที่จะทำงาน และงีบหลับ และใช้เวลาหลังเลิกงานที่ผับชื่อโม เมื่ออยู่บ้านก็มักจะนั่งบนโซฟาหน้าจอโทรทัศน์ พร้อมกับแกล้มและเบียร์ในมือ และมีคำอุทานติดปากว่า "โด้ะ!" (D'oh!)ซึ่งคำนี้ถูกบรรจุแล้วในพจนานุกรมของ Oxford โฮเมอร์เกิดที่เมืองและโตที่เมืองสปริงฟิลด์ เป็นลูกชายคนแรกของ อับราฮัม ซิมป์สัน และแต่งงานกับ มาร์จอรี บูเวียร์ (Marjorie Bouvier) หรือเรียกว่ามาร์จ มีลูกสามคนได้แก่ บาร์ต ลิซา และ แมกกี มีพี่น้องต่างมารดาชื่อ เฮิร์บ โพเวลล์ (Herb Powell).

ใหม่!!: การเหมารวมและโฮเมอร์ ซิมป์สัน · ดูเพิ่มเติม »

ไวโอลิน

วโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตร.

ใหม่!!: การเหมารวมและไวโอลิน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮสกูล

นักเรียนไฮสคูลอเมริกันในห้องเรียน ไฮสกูล (high school) เป็นชื่อเรียกระบบการศึกษาภาคบังคับส่วนสุดท้าย มีลักษณะเหมือนกับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย โดยจะแตกต่างกันในระยะเวลาในการเรียนตั้งแต่ 3-5 ปี ในประเทศต่างๆที่ใช้ระบบไฮสกูล รวมถึง ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ใน อังกฤษ สิงคโปร์ และ ฮ่องกง เรียกว่า "เซเกินแดรีสกูล" (secondary school).

ใหม่!!: การเหมารวมและไฮสกูล · ดูเพิ่มเติม »

ไซลีเซีย

ูมิภาคในประวัติศาสตร์ (ในวงสีฟ้าและเหลือง) และเขตแดนประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไซลีเซีย (Silesia; ไซลีเซีย: Ślůnsk; Śląsk; Slezsko; Schlesien) เป็นภูมิภาคในประวัติศาสตร์ของยุโรปกลาง ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และเยอรมนี ไซลีเซียเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีบริเวณสำคัญทางอุตสาหกรรมหลายแห่ง เมืองที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนี้ได้แก่วรอตสวัฟ (Wrocław) ซึ่งเป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ คาโตวีตเซในโปแลนด์ และออสตราวา (Ostrava) ในสาธารณรัฐเช็ก แม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำโอเดอร์ เขตแดนของไซลีเซียเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากตลอดมาในประวัติศาสตร์ทั้งตั้งแต่ยังเป็นของขุนนางในสมัยศักดินา มาจนถึงหลังจากการรุ่งเรืองของรัฐชาติสมัยใหม่ รัฐแรกที่เป็นที่ทราบว่ามีอำนาจในบริเวณนี้คือเกรตเตอร์โมราเวีย (Greater Moravia) และโบฮีเมีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐโปแลนด์สมัยแรก แต่ต่อมาก็แยกตัวออกไปเป็นดัชชีอิสระแต่ตกเข้ามาอยู่ภายใต้อิทธิพลของเยอรมนีมากขึ้นทุกขณะ ในที่สุดไซลีเซียก็ตกมาเป็นของราชบัลลังก์โบฮีเมีย ที่ผ่านต่อไปยังออสเตรียในปี..

ใหม่!!: การเหมารวมและไซลีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เชียร์ลีดเดอร์

ียร์ลีดเดอร์ แสดงการเชียร์โดยยืนบนมือของเพื่อนร่วมทีมเชียร์ เชียร์ลีดเดอร์ของจอร์เจียเทค ขณะที่แข่งกีฬาบาสเกตบอล เชียร์ลีดเดอร์ (cheerleader) หรือ ผู้นำเชียร์ คือผู้ที่ทำหน้าที่ในการนำฝูงชนให้มีความฮึกเหิม โห่ร้อง ตะโกน ร้องเพลง ให้กำลังใจ เชียร์นักกีฬาที่กำลังทำการแข่งขัน เพื่อให้นักกีฬามีกำลังใจสู้ในการแข่งขัน ในประเทศไทยเน้นการให้จังหวะ รหัส สัญญาณ ให้กองเชียร์ร้องเพลง พร้อมเพรียง เสียงดัง และ เกิดความสนุกนานในการชมการแข่งขัน ส่วนเชียร์ลีดเดอร์ในบางประเทศถือเป็นนักกีฬาเช่นกัน เรียกว่ากีฬา เชียร์ลีดดิง (cheerleading)ซึ่งประกอบไปด้วยหลายแขนง ประกอบไปด้วย การต่อตัว การเชียร์ประกอบท่าท่างหรือที่เรียกว่าเชียร์และแชนท์ ยิมนาสติก การทำงานร่วมกันเป็นทีม การเต้น เป็นกีฬาที่ให้ทั้งความสนุกสนาน ความตื่นเต้น เนื่องจากทั้งหมดนี้มีการใช้ดนตรีเข้ามาประกอบจังหวะ ซึ่งประวัติศาสตร์ของกีฬาประเภทนี้มีมายาวนานแล้ว และปัจจุบันทุกประเทศเริ่มให้ความสนใจกีฬาประเภทนี้กันมากขึ้น.

ใหม่!!: การเหมารวมและเชียร์ลีดเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวิน

นกวิน (Penguin) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Spheniscidae อันดับ Sphenisciformes.

ใหม่!!: การเหมารวมและเพนกวิน · ดูเพิ่มเติม »

เกย์

มชนเกย์ในอาร์เจนตินา เกย์ (Gay) มักหมายถึงบุคคลที่มีรสนิยมทางเพศแบบรักร่วมเพศ เดิมคำว่าเกย์ในภาษาอังกฤษมีความหมายว่า ไร้กังวล มีความสุข ความสำราญใจ เฉียบแหลมและน่าประทับใจ แต่ในทุกวันนี้คำว่าเกย์มีความหมายทางวัฒนธรรมย่อยของคนที่รักเพศเดียวกัน และอาจมีความหมายร่วมกระบวนทัศน์ความเป็นเกย์เช่น เพลงเกย์ หนังเกย์ เป็นต้น หรืออาจหมายถึงภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน แม้คำว่าเกย์ไม่ได้จำกัดความทางเพศ แต่มักใช้เฉพาะกับกลุ่มผู้ชายรักเพศเดียวกัน ในขณะที่คำจำกัดความทางเพศอย่างเลสเบี้ยน ก็ใช้เฉพาะกลุ่มผู้หญิงรักเพศเดียวกัน การใช้คำว่าเกย์ในภาษาไทย จะหมายความถึงเฉพาะผู้ชายที่รักร่วมเพศเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ชายที่รักสองเพศ (รักและมีเพศสัมพันธ์ได้กับทั้งชายและหญิง; ไบเซ็กชวล) ก็มักถูกเรียกว่าเป็นเกย์เช่นกัน ในประเทศไทยมีการใช้คำว่าเกย์คิงและเกย์ควีน โดยทั่วไปเกย์คิงมักหมายถึงเกย์ที่เป็นฝ่ายรุก และเกย์ควีนมักหมายถึงเกย์ที่เป็นฝ่ายรั.

ใหม่!!: การเหมารวมและเกย์ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผลวิบัติ

หตุผลวิบัติ (fallacy) หมายถึง การพิสูจน์โดยการอ้างเหตุผลที่มีน้ำหนักอ่อนเพื่อสนับสนุนในข้อสรุป การให้เหตุผลวิบัติมีความแตกต่างจากการให้เหตุผลแบบอื่น ๆ เนื่องจากหลายคนมักจะพบว่าการให้เหตุผลนั้นมีความน่าเชื่อถือในทางจิตวิทยา ซึ่งจะส่งผลให้คนจำนวนมากเกิดความเข้าใจผิดและยกเหตุผลอย่างผิด ๆ โดยใช้เป็นเหตุผลที่จะเชื่อในข้อสรุปนั้น การให้เหตุผลอาจจะกลายเป็น "เหตุผลวิบัติ" ได้ แม้ว่าข้อสรุปนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม เหตุผลวิบัติสามารถจำแนกออกได้ในหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น เหตุผลวิบัติอย่างเป็นทางการ เกิดจากหลักตรรกะที่ไม่ถูกต้อง เหตุผลวิบัติอย่างไม่เป็นทางการ ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาว่าผิดตามหลักตรรกะ และเหตุผลวิบัติเกี่ยวกับถ้อยคำ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาชักนำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การพูดกำกวม หรือการพูดมากโดยไม่จำเป็น เหตุผลวิบัติมักจะมีความเกี่ยวข้องกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา อันเนื่องมาจากเหตุผลที่ไม่เป็นไปตามหลักตรรกะอย่างถูกต้อง และเหตุผลวิบัติยังเกี่ยวข้องกับการสันนิษฐานด้วย เหตุผลวิบัติมักจะดูเหมือนกับว่าเป็นสิ่งที่เลวร้ายอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม การยกเหตุผลมักจะมีลักษณะรูปแบบการเล่นสำนวนเพื่อให้เกิดความเคลือบแคลงในการยกเหตุผลในทางตรรกะ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม จะทำให้เหตุผลวิบัติยากที่จะสามารถตรวจจับได้ และส่วนประกอบของเหตุผลวิบัตินั้นก็อาจแพร่ขยายได้อีกเป็นเวลานาน คำว่า เหตุผลวิบัติ อาจมีการเรียกในชื่ออื่น ๆ อีกเช่น เหตุผลลวง, ทุตรรกบท, ตรรกะวิบัติ, ปฤจฉวาที, มิจฉาทิฐิ, ความผิดพลาดเชิงตรรกะ, การอ้างเหตุผลบกพร่อง เป็นต้น.

ใหม่!!: การเหมารวมและเหตุผลวิบัติ · ดูเพิ่มเติม »

เอียน เฟลมมิง

อียน แลนแคสเตอร์ เฟลมมิง (Ian Lancaster Fleming) เป็นนักประพันธ์ชาวอังกฤษ เจ้าของนวนิยายเรื่อง เจมส์ บอนด์ 007 ซึ่งต่อมามีการนำไปสร้างเป็นการ์ตูน และภาพยนตร์อีกมากมาย เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) ณ บ้านเลขที่ 7 ถนนกรีนสตรีท เมืองเมย์แฟร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร เรียนภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิวนิค และมหาวิทยาลัยเจนิวา จากนั้นได้เป็นนักข่าวของศูนย์ข่าวรอยเตอร์ส (Reuters news service) ซึ่งเคยส่งเขาไปทำข่าวจารกรรมที่รัสเซี.

ใหม่!!: การเหมารวมและเอียน เฟลมมิง · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออก

แผนที่เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 6,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 15% ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย ประเทศซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: การเหมารวมและเอเชียตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ บอนด์

มส์ บอนด์ (James Bond) เป็นตัวละครสมมติ สร้างโดย เอียน เฟลมมิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2496 ซึ่งปรากฏอยู่ในนวนิยาย 12 ตอนและรวมเรื่องสั้นอีก 2 เล่ม ต่อมาหลังจากเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2507 มีนักประพันธ์อีกหลายคนได้สิทธิ์ในการประพันธ์ เจมส์ บอนด์ ต่อ ได้แก่ คิงส์ลีย์ เอมิส, คริสโตเฟอร์ วูด, จอห์น การ์ดเนอร์, เรย์มอนด์ เบ็นสัน, เซบาสเตียน ฟอล์ค, เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์ และ วิลเลียม บอยด์ นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์ของ ชาร์ลี ฮิกสัน ในชุด ยังบอนด์ และ เคต เวสต์บรูค ประพันธ์ในรูปแบบไดอารีของตัวละคร มิสมันนีเพนนี เจมส์ บอนด์ ยังได้ถูกดัดแปลงออกมาเป็นสื่อต่างๆ เช่น ละครโทรทัศน์, ละครวิทยุ, การ์ตูน, วิดีโอเกมและภาพยนตร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากทั่วโลก โดยเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่ 4 เริ่มจากเรื่อง พยัคฆ์ร้าย 007 (Dr.No) เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยมี ฌอน คอนเนอรี รับบท เจมส์ บอนด์ ปัจจุบันออกฉายแล้วทั้งหมด 24 ภาค ผลิตโดย อีโอเอ็น โปรดักชันส์ ภาคล่าสุด ชื่อว่า องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (Spectre) แดเนียล เคร็ก เป็นเจมส์ บอนด์ ครั้งที่ 4 และเป็นคนที่ 6 ที่รับบทนี้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ของ อีโอเอ็น คือ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (Casino Royale) เมื่อปี พ.ศ. 2510 เดวิด นิเวน เป็นเจมส์ บอนด์ และ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) เมื่อปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นการรีเมค ธันเดอร์บอลล์ 007 (Thunderball) โดย ฌอน คอนเนอรี กลับมารับบทเป็นเจมส์ บอนด์ อีกครั้ง ตัวเลข 007 ที่อยู่ท้ายชื่อของเจมส์ บอนด์ หมายถึงรหัสลับประจำตัวที่ใช้เรียกแทนตัวเขาในฐานะของสายลับคนหนึ่ง โดยเลข 00 ที่นำหน้าเลข 7 อยู่นั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แจ้งให้ทราบว่า ตัวเขาเป็นสายลับที่ได้รับอนุญาตให้สามารถสังหารชีวิตผู้อื่นได้โดยไม่ผิดกฎหมายสมเกียรติ อ่อนวิมล.

ใหม่!!: การเหมารวมและเจมส์ บอนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะซิมป์สันส์

อะซิมป์สันส์ (The Simpsons) เป็นรายการการ์ตูนซิตคอมในสหรัฐอเมริกา สร้างโดย แม็ตต์ เกรนิง สำหรับ บริษัทฟ็อกซ์บรอดแคสติง มีเนื้อเรื่องตลกเสียดสีวิถีชีวิตชนชั้นกลางของชาวอเมริกัน โดยผ่านตัวละครในครอบครัวคือ โฮเมอร์, มาร์จ, บาร์ต, ลิซา และ แม็กกี โดยมีเนื้อหาเกิดที่เมืองที่ชื่อ สปริงฟิลด์ ที่ถากถางมุมมองของสังคมมนุษย์ วัฒนธรรมอเมริกัน สังคมทั้งหมดและวงการโทรทัศน์ แนวความคิดเรื่องตัวละครเกิดจากเกรนิง ก่อนที่เขาจะนำไปสร้างขึ้นเป็นตอนสั้น ๆ โดยผู้สร้าง เจมส์ แอล.

ใหม่!!: การเหมารวมและเดอะซิมป์สันส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Stereotypeสามัญทัศน์เหมารวม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »