โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเบียดเบียน

ดัชนี การเบียดเบียน

ริสต์ศาสนิกชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียน หรือ การบีฑา หรือ การประหัตประหาร (Persecution) เป็นการจงใจไล่ทำร้ายหรือไล่สังหารบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มชนอย่างเป็นระบบ ชนิดของ “การเบียดเบียน” ก็ได้แก่การเบียดเบียนศาสนา การเบียดเบียนชาติพันธุ์ และการเบียดเบียนทางการเมือง บางลักษณะที่กล่าวก็ซ้ำซ้อนกัน การเบียดเบียนศาสนาที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ได้แก่การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในสมัยของจักรพรรดิเนโรมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยเฉพาะในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน การเบียดเบียนในจักรวรรดิโรมันมาลดน้อยลงเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน แต่การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนก็มิได้หยุดยั้งลงและยังคงดำเนินต่อมาด้วยเหตุผลที่ต่าง ๆ ไปจากในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก เช่นการเบียดเบียนที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสระหว่างโรมันคาทอลิกและอูเกอโนต์ซึ่งเป็นโปรแตสแตนต์ชาวฝรั่งเศส การเบียดเบียนบางครั้งก็อาจจะมาจากความเชื่องมงาย (superstition) เช่น การเบียดเบียนผู้มีภาวะผิวเผือก (Persecution of albinism) ทางตะวันออกของแอฟริกาเพราะความเชื่อที่ว่าคนเผือกเป็นผู้มีอำนาจเวทมนตร์พิเศษ.

16 ความสัมพันธ์: การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิวการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมันภาวะผิวเผือกศาสนาคริสต์ศาสนาคริสต์ยุคแรกศาสนาประจำชาติอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอูเกอโนต์จักรพรรดิดิออเกลติอานุสจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราชจักรพรรดิแนโรจักรวรรดิโรมันความงมงายโพกรมโรมันคาทอลิก

การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว

“การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว” โดยฟรองซัวส์ ดูบัวส์ (François Dubois) การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว (ภาษาฝรั่งเศส: Massacre de la Saint Barthélemy; ภาษาอังกฤษ: St. Bartholomew’s Day massacre) เป็นระลอกของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามศาสนาของฝรั่งเศสโดยฝูงชนชาวฝรั่งเศสผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกไล่สังหารชาวฝรั่งเศสที่เรียกตัวเองว่าอูเกอโนต์ (Huguenots) หรือผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ (โปรเตสแตนต์คาลวินิสต์) เชื่อกันว่ามีต้นตอมาจากสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ พระมารดาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส การสังหารหมู่ใช้เวลาทั้งสิ้น 6 วันหลังวันแต่งงานระหว่างมาร์เกอรีต เดอ วาลัวส์ (Marguerite de Valois) พระขนิษฐาของ พระเจ้าชาร์ลที่ 9 กับอองรีแห่งนาวาร์ผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ งานแต่งงานเป็นโอกาสที่อูเกอโนต์ผู้ร่ำรวยมีฐานะดีจะออกมาร่วมงานฉลองในเมืองปารีสที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เหตุเกิดขึ้นสองวันหลังจากที่การลอบสังหารนายพลกาสปาร์ด เดอ โคลิญญี นายทหารของอูเกอโนต์ไม่ประสบความสำเร็จ เริ่มเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม..

ใหม่!!: การเบียดเบียนและการสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว · ดูเพิ่มเติม »

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ในภาพคริสตชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ การข่มเหงคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Persecution of Christians) หมายถึงการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกถูกเบียดเบียนทั้งจากชาวยิวและจักรวรรดิโรมันซึ่งปกครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ในขณะนั้น การเบียดเบียนครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 จนมาสิ้นสุดตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรรดิลิซิเนียสทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นการรับรองเสรีภาพทางศาสนาทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน จนต่อมาศาสนาคริสต์จึงกลายเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมันอย่างเป็นทางการ มิชชันนารีและผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ก็มักตกเป็นเป้าของการเบียดเบียน เป็นที่มาให้เกิดมรณสักขีในศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก แม้แต่ระหว่างนิกายในศาสนาคริสต์เองก็ยังเบียดเบียนกันเพราะกล่าวหาคริสต์ศาสนิกชนนิกายอื่นว่าเป็นพวกนอกรีต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสต์ศาสนิกชนยังคงถูกเบียดเบียนจากชาวมุสลิมและกลุ่มรัฐที่เป็นอเทวนิยม เช่น สหภาพโซเวียต ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2012) กลุ่มโอเพนดอรส์ประเมินว่ามีคริสต์ศาสนิกชนราวหนึ่งร้อยล้านคนถูกเบียดเบียน โดยเฉพาะในประเทศมุสลิม เช่น ประเทศอิหร่าน ประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศคอมมิวนิสต์ เช่น ประเทศเกาหลีเหนือ จากการศึกษาของสันตะสำนักพบว่าร้อยละ 75 ของผู้ที่ถูกฆ่าตายเพราะศาสนาเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: การเบียดเบียนและการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน

ริสต์ศาสนิกชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ในสามร้อยปีแรกของศาสนาคริสต์ยุคแรกนับเป็นสมัยของการเบียดเบียนโดยน้ำมือของทางการโรมัน คริสต์ศาสนิกชนถูกทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นช่วง ๆ นอกจากนั้นในบางครั้งก็ยังมีการเบียดเบียนไปทั่วทั้งจักรวรรดิโดยคำสั่งโดยตรงจากรัฐบาลกลางในกรุงโรม การถูกทำร้ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับมรณสักขี (martyr) และมีผลต่อประวัติศาสตร์ของคริสต์ศาสนาและเทววิทยาคริสเตียนในด้านการวิวัฒนาการของความศรัทธาในศาสนา นอกจากนั้นแล้วการเบียดเบียนยังมีผลให้เกิดลัทธิบูชานักบุญซึ่งกลับทำให้การเผยแพร่คริสต์ศาสนาเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น.

ใหม่!!: การเบียดเบียนและการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะผิวเผือก

ลิงเผือกในสวนสัตว์พาต้า ภาวะผิวเผือก (Albinism หรือ achromia หรือ achromasia หรือ achromatosis หรือถ้าเป็นคำวิเศษณ์ก็ใช้ albinoid หรือ albinic) “Albinism” มาจากภาษาละตินว่า “Albus” ที่แปลว่า “ขาว” หมายถึงภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด hypopigmentation ชนิดหนึ่ง ที่มีทำให้บางส่วนของร่างกายหรือร่างกายทั้งหมดขาดสีเมลานินในบริเวณตา ผิวหนังและผม หรือบางครั้งก็เพียงแต่ที่ตา ภาวะผิวเผือกเกิดจากการได้รับยีนส์ด้อย ภาวะที่ว่านี้มีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมทั้งมนุษย์, ปลา, นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ศัพท์ที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปของภาวะที่ว่านี้คือ “albino” ที่บางครั้งนำมาใช้ในเชิงดูหมิ่น “albino” จึงเลี่ยงมาเป็นการใช้วลีเช่น “albinistic person” หรือ “person with albinism” (ผู้มีภาวะผิวเผือก) แทนที.

ใหม่!!: การเบียดเบียนและภาวะผิวเผือก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: การเบียดเบียนและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ยุคแรก

นาคริสต์ยุคแรก (Early Christianity) หมายถึงศาสนาคริสต์ช่วงก่อนการสังคายนาที่ไนเชียครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 325) แบ่งออกได้เป็นสองยุคย่อย คือ สมัยอัครทูตและสมัยก่อนไนเซีย ตามที่ระบุในบทแรกของหนังสือกิจการของอัครทูต คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกเป็นชาวยิวทั้งหมด ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือมาเข้ารีตภายหลัง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่าคริสต์ศาสนิกชนชาวยิว การประกาศข่าวดีในสมัยนั้นเป็นแบบมุขปาฐะและใช้ภาษาแอราเมอิก หนังสือ "กิจการของอัครทูต" และ "จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย" ระบุว่าในสมัยนั้นกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของคริตชน โดยมีซีโมนเปโตร ยากอบผู้ชอบธรรม และยอห์นอัครทูต เป็นผู้ปกครองชุมชนร่วมกัน ต่อมาเปาโลซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์กับคริสตชนได้กลับใจมารับเชื่อ และประกาศตนเป็น "อัครทูตมายังพวกต่างชาติ" และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสตชนยิ่งกว่าผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ร่วมกันเขียนพันธสัญญาใหม่Oxford Dictionary of the Christian Church ed.

ใหม่!!: การเบียดเบียนและศาสนาคริสต์ยุคแรก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาประจำชาติ

นาประจำรัฐ หรือ ศาสนาประจำชาติ (state religion) บางทีเรียก ศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับ (established religion) หรือ ศาสนาทางการ (official religion) เป็นคณะหรือลัทธิทางศาสนาที่รัฐอธิปไตยรัฐหนึ่ง ๆ อนุมัติอย่างเป็นทางการ รัฐที่มีศาสนาอย่างเป็นทางการนั้น แม้ไม่ใช่รัฐฆราวาส ก็ไม่จำต้องเป็นรัฐแบบเทวาธิปไตยเสมอไป เช่น รัฐที่ผู้ปกครองควบตำแหน่งทั้งทางโลกและทางสงฆ์ ส่วนศาสนาประจำรัฐนั้น แม้ได้รับอนุมัติจากรัฐ ก็ไม่จำเป็นที่รัฐจะอยู่ในความควบคุมของศาสนา หรือศาสนาจะอยู่ในความควบคุมของรัฐเสมอไป ศาสนาประจำรัฐนั้นปรากฏโฉมอยู่ทั่วทุกวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างลัทธิศาสนาและรัฐนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาแต่โบราณ เช่น ในงานของแวร์โร (Varro) ที่เรียกศาสนาประจำรัฐว่า ศาสนาของพลเมือง (theologia civilis) สำหรับศาสนาคริสต์นั้น คริสตจักรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเป็นแห่งแรก คือ คริสตจักรอัครทูตอาร์เมเนีย (Armenian Apostolic Church) ซึ่งตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: การเบียดเบียนและศาสนาประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) เป็นการซึ่งกระทำลงโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง หรือการโจมตีแบบเอกเทศ ต่อบุคคลพลเรือนคนใด ๆ หรือต่อกลุ่มคนที่ระบุตัวได้ในหมู่ประชากรพลเรือน การดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นครั้งแรกในคดีเนือร์นแบร์ก และนับแต่นั้น การดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าวก็กลายเป็นหน้าที่ของศาลระหว่างประเทศ เช่น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย, และศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่การดำเนินคดีโดยศาลในประเทศก็มีบ้าง กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นพัฒนาขึ้นผ่านวิวัฒนาการของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ อาชญากรรมต่าง ๆ ที่กระทำต่อมนุษยชาตินั้นยังไม่มีประมวลไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใด ๆ แต่องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีโครงการริเริ่มกฎหมายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes Against Humanity Initiative) เป็นโต้โผ พยายามที่จะสร้างกฎหมายดังกล่าวให้ได้ในเร็ววัน อาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่างจากอาชญากรรมสงครามตรงที่อาชญากรรมต่อมนุษยชาติจะเกิดในยามสงครามหรือในเวลาอื่นก็ได้ แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองหรือเกิดนานทีปีหน หากแต่เป็นเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความโหดร้ายป่าเถื่อนที่กระทำเป็นวงกว้าง แล้วรัฐเพิกเฉยหรือไม่เอาโทษ ความผิดอาญา อย่างเช่น อาชญากรรมสงคราม, การฆ่าคน, การสังหารหมู่, การลดความเป็นมนุษย์, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การกวาดล้างชาติพันธุ์, การเนรเทศ, การทดลองมนุษย์โดยผิดจรรยาบรรณ, วิสามัญฆาตกรรม, การประหารแบบรวบรัด, การใช้อาวุธทำลายล้างสูง, การก่อการร้ายของรัฐ, การก่อการร้ายที่รัฐสนับสนุน, การใช้หมู่สังหาร, การลักพา, การบังคับให้บุคคลสูญหาย, การใช้เด็กทางทหาร, การกักกัน, การเอาคนลงเป็นทาส, การกินเนื้อมนุษย์, การทรมาน, การข่มขืนกระทำชำเรา, การเบียดเบียนทางการเมือง, การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ, และการละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง.

ใหม่!!: การเบียดเบียนและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อูเกอโนต์

อูเกอโนต์ (huguenots) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนาของคริสเตียน (โปรเตสแตนต์) ฝรั่งเศสผู้นับถือขนบปฏิรูป คำนี้ใช้เรียกสมาชิกคริสตจักรปฏิรูปแห่งฝรั่งเศสตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1500 ถึงประมาณปี 1800 คำนี้มีจุดกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส อูเกอโนต์เป็นคริสเตียนฝรั่งเศสซึ่งมาจากทางเหนือของประเทศฝรั่งเศสเป็นหลัก ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานเขียนของนักเทววิทยาในต้นคริสต์ทศวรรษ 1500 และผู้สนับสนุนขนบปฏิรูปของนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งขัดกับประชากรส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเยอรมันนับถือนิกายลูเทอแรนในอาลซัส มอแซลและมงเบลียาร์ ฮันส์ ฮิลเลอร์แบรนด์ (Hans Hillerbrand) ในสารานุกรมนิกายโปรเตสแตนต์อ้างว่าชุมชนอูเกอโนต์มีประชากรมากถึงร้อยละ 10 ของประชากรฝรั่งเศสในวันก่อนการสังหารหมู่วันนักบุญบาร์โทโลมิว โดยลดลงเหลือร้อยละ 7–8 เมื่อประมาณปี 1600 และยิ่งลดลงหลังการเบียดเบียนอย่างหนักซึ่งเริ่มต้นอีกหลังพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบลโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส จำนวนของอูเกอโนต์สูงสุดประมาณเกือบสองล้านคนในปี 1562 โดยส่วนใหญ่กระจุกอยู่ส่วนใต้และตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส เมื่ออูเกอโนต์มีอิทธิพลและแสดงออกซึ่งศรัทธาของพวกตนอย่างเปิดเผยมากขึ้น ความเป็นปรปักษ์ของคาทอลิกก็เติบโตขึ้นด้วย แม้มีการผ่อนปรนทางการเมืองและพระราชกฤษฎีกาการยอมรับความต่างทางศาสนาจากพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส มีความขัดแย้งทางศาสนาหลายครั้งตามมา เรียก สงครามศาสนาฝรั่งเศส ซึ่งสู้รบกันเป็นพัก ๆ ตั้งแต่ปี 1562 ถึง 1598 อูเกอโนต์มีแฌน ดาเบร (Jeanne d'Albret) และพระราชโอรส อนาคตพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และเจ้ากองเด สงครามยุติด้วยพระราชกฤษฎีกานองซ์ ซึ่งให้อัตตาณัติศาสนา การเมืองและทหารพอสมควรแก่อูเกอโนต์ กบฏอูเกอโนต์ในคริสต์ทศวรรษ 1620 ทำให้มีการเลิกเอกสิทธิ์ทางการเมืองและทางทหารของพวกเขา พวกเขายังคงไว้ซึ่งบทบัญญัติทางศาสนาของพระราชกฤษฎีกานองซ์จนถึงรัชกาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ค่อย ๆ เพิ่มการเบียดเบียนอูเกอโนต์จนทรงตราพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบล (ปี 1685) ยุติการรับรองนิกายโปรเตสแตนต์ใด ๆ ตามกฎหมายในประเทศฝรั่งเศสและบีบให้อูเกอโนต์เข้ารีตหรือหลบหนีในระลอกดราโกนาเดอ (dragonnades) รุนแรง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำให้ประชากรอูเกอโนต์ฝรั่งเศส 800,000 ถึง 900,000 คนลดเหลือ 1,000 ถึง 1,500 คน กระนั้น อูเกอโนต์จำนวนเล็กน้อยยังเหลือรอดและเผชิญการเบียดเบียนต่อเนื่องมาถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เสด็จสวรรคตในปี 1774 ลัทธิคาลวินในฝรั่งเศสเกือบสูญสิ้นทั้งหมด การเบียดเบียนคริสเตียนยุติลงอย่างเป็นทางการด้วยพระราชกฤษฎีกาแวร์ซาย (พระราชกฤษฎีกาการยอมรับความต่างทางศาสนา) ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงลงพระปรมาภิไธยในปี 1787 สองปีให้หลัง ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองปี 1789 ให้คริสเตียนได้รับสิทธิเท่าเทียมเป็นพลเมืองAston, Religion and Revolution in France, 1780–1804 (2000) pp 245–50 ผู้อพยพอูเกอโนต์จำนวนมากอพยพไปยังรัฐโปรเตสแตนต์อย่างอังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐดัตช์ รัฐผู้คัดเลือกบรันเดนบูร์กและรัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนตในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดัชชีปรัสเซีย หมู่เกาะแชนเนล ตลอดจนไอร์แลนด์ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคาทอลิกแต่โปรเตสแตนต์ควบคุม พวกเขายังแพร่ไปยังอาณานิคมแหลมดัตช์ในแอฟริกาใต้ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกดัตช์ แคริบเบียน นิวเนเธอร์แลนด์และอาณานิคมอังกฤษหลายแห่งในทวีปอเมริกาเหนือ ครอบครัวจำนวนน้อยไปยังรัสเซียที่นับถือออร์โธด็อกซ์และควิเบกที่นับถือคาทอลิก ปัจจุบัน อูเกอโนต์ส่วนใหญ่กลืนเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ แต่ชุมชนหลงเหลือกามีซาร์ (Camisards) ในเทือกเขาซีเวน (Cévennes) สมาชิกของคริสตจักรโปรเตสแตนต์รวมฝรั่งเศส สมาชิกฝรั่งเศสของคริสตจักรปฏิรูปโปรเตสแตนต์อาลซัสและลอแรนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยอรมัน ตลอดจนกลุ่มอูเกอโนต์ในประเทศอังกฤษและออสเตรเลียยังคงความเชื่อของพวกตนและการเรียกชื่ออูเกอโนต.

ใหม่!!: การเบียดเบียนและอูเกอโนต์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิดิออเกลติอานุส

ออเกลติอานุส (Gaius Aurelius Valerius Diocletianus; ภาษาอังกฤษ: Diocletian; ภาษากรีก: Διοκλής) (ราว 22 ธันวาคม ค.ศ. 244 - เสียชีวิต 3 ธันวาคม ค.ศ. 311) เมื่อแรกเกิดชื่อ “ไดโอคลีส” และรู้จักกันว่า “ดิออเกลติอานุส”เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 284 ถึงวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 286 ด้วยพระองค์เอง และระหว่างวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 286 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 305 ในฐานะออกัสตัสแห่งตะวันออก และร่วมกับแม็กซิเมียนในฐานะออกัสตัสแห่งตะวันตก ดิออเกลติอานุสเป็นจักรพรรดิที่เป็นผู้ยุติเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า วิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: การเบียดเบียนและจักรพรรดิดิออเกลติอานุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช

ักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 (ConstantineI 27 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ. 272Birth dates vary but most modern historians use "ca. 272". Lenski, "Reign of Constantine", 59. – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337) ครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 312 มีพระนามเต็มว่า “Flavius Valerius Aurelius Constantinus” หรือที่รู้จักกันว่า “คอนสตันไทน์ที่ 1” ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก หรือ “คอนสตันไทน์มหาราช” หรือ “นักบุญคอนสตันไทน์” ในบรรดาผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์หรือนิกายไบแซนไทน์คาทอลิก พระราชกรณียกิจสำคัญที่สุดคือการประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมือปี ค.ศ. 313 จักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จึงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมันที่นับถือศาสนาคริสต์ตามพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ที่ประกาศโดยจักรพรรดิลีซีนีอุส (Licinius) ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ยกเลิกการทารุณกรรมต่อคริสต์ศาสนิกชนทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน ตามปฏิทินศาสนาของไบเซ็นไทน์ของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และนิการคาทอลิกตะวันออกแห่งไบเซนไทน์บันทึกจักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1และเฮเลนแห่งคอนสแตนติโนเปิลพระมารดาว่าเป็นนักบุญ แต่ในปฏิทินศาสนาของตะวันตกไม่มีอยู่ในรายนามนักบุญ คอนสตันไทน์ได้รับนาม “มหาราช” เพราะพระราชกรณียกิจต่างที่ทรงทำให้ต่อคริสต์ศาสนา ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ทรงประกาศการปรับปรุงเมืองไบเซนเทียมให้เป็น “กรุงโรมใหม่” (Nova Roma) และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 ทรงประกาศให้เมืองไบเซ็นเทียมเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน เมืองไบเซ็นเทียมเปลื่ยนชื่อเป็น “คอนสแตนติโนเปิล” แปลว่า “เมืองของคอนสตันไทน์” หลังจากจักพรรดิคอนสตันไทน์สิ้นพระชนม์เมื่อปี..

ใหม่!!: การเบียดเบียนและจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิแนโร

แนโร เกลาดิอุส ไกซาร์ เอากุสตุส แกร์มานิกุส (NERO CLAVDIVS CAESAR AVGVSTVS GERMANICVS) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันองค์ที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 37 ที่เมืองอันติอูง จักรวรรดิโรมัน มีชื่อเต็มตอนเกิดว่า ลูกิอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส (LVCIVS DOMITIVS AHENOBARBVS) บิดาชื่อกไนอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส มารดาชื่ออากริปปีนา ซึ่งมีศักดิ์เป็นถึงน้องสาวของจักรพรรดิกาลิกุลา จักรพรรดิรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอ.

ใหม่!!: การเบียดเบียนและจักรพรรดิแนโร · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: การเบียดเบียนและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ความงมงาย

ความเชื่อโชคลาง คือกลุ่มของพฤติกรรมและความเชื่อเกี่ยวข้อกับการคิดเชิงไสยศาสตร์ ที่ผู้ฝึกฝนเชื่อว่าอนาคตหรือผลลัพธ์ของเหตุการณ์บางอย่าง สามารถถูกดลบันดาลให้เป็นไปได้ด้วยพฤติกรรมที่กำหนด แนวคิดเกี่ยวกับ "โชคดี" และ "โชคร้าย" ก่อให้เกิดความเชื่อโชคลางมากมาย เช่น ความเชื่อที่ว่าถ้าจิ้งจกร้องทักก่อนเดินทางออกจากบ้านจะมีโชคร้าย เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลาง สามารถอธิบายได้โดยใช้คำศัพท์ทางศาสนา ซึ่งทำให้นักกังขาคติหลายคนให้ความเห็นว่าทุกศาสนาคือความเชื่อโชคลางทั้งสิ้น โดยนิยามความเชื่อโชคลางนั้นจะไม่วางอยู่บนฐานของเหตุผล ความเชื่อหลายความเชื่อเกิดจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผล หรือสถิติ ความเชื่ออีกจำนวนมากเกิดจากความกลัว ที่แสดงออกในรูปของความเชื่อทางศาสนา, ความเชื่อในเหตุการณ์เหนือจริง, การยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องของสิ่งเหนือธรรมชาติ การปรากฏขึ้นของภูตผี หรือความมีประสิทธิภาพของเวทมนตร์คาถา การปลุกเสก การเชื่อในลางบอกเหตุ และการบอกเหตุล่วงหน้า ทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เกิดความกลัวที่ไม่มีหลักเกณฑ์ หรือการยึดถือหลักทางศีลธรรมอย่างเคร่งครัดจนเกินไป ความเชื่อโชคลางยังถูกใช้เพื่อหมายถึงระบบความเชื่อพื้นบ้าน ในความหมายที่แตกต่างกับความเชื่ออื่นๆ เกี่ยวกับโลกทางวิญญาณของศาสนา และในความหมายที่แตกต่างกับวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:ไสยศาสตร์.

ใหม่!!: การเบียดเบียนและความงมงาย · ดูเพิ่มเติม »

โพกรม

การจลาจลเฮ็พ-เฮ็พ (Hep-Hep riots) ในปี ค.ศ. 1819 ทางด้านซ้ายชาวนาสตรีสองคนโจมตีชายชาวยิวด้วยคราดและไม้กวาด ทางด้านขวาชายใส่แว่นตามีหางใส่เสื้อกั๊กหกกระดุมผู้อาจจะเป็นเภสัชกรหรือครูAmos Elon (2002), ''The Pity of It All: A History of the Jews in Germany, 1743–1933''. Metropolitan Books. ISBN 0-8050-5964-4. p. 103 ถูกบีบคอและกำลังจะถูกตีหัว ภาพพิมพ์กัดกรดโดยโยฮันน์ มิเคิล โวลทซ์ โพกรม หรือ การจลาจลโพกรม (Pogrom) เป็นลักษณะหนึ่งของการก่อความไม่สงบหรือการจลาจลในการต่อต้านกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อาจจะมีลักษณะร่วมกันทางชาติพันธุ์, ศาสนา, เชื้อชาติ หรืออื่นๆ ที่อาจจะออกมาในรูปของการเข่นฆ่า หรือการทำลายทรัพย์สินบ้านเรือน, ธุรกิจ หรือศาสนสถานที่อาจจะเกิดขึ้นโดยมีการวางแผนล่วงหน้าหรือไม่มีก็ได้ คำนี้เดิมใช้ในการสร้างความเสียหายและทำร้ายชาวยิว แต่ในภาษาอังกฤษ “โพกรม” ไม่จำกัดเพียงการสร้างความเสียหายและทำร้ายเฉพาะแต่ชาวยิวเท่านั้นแต่ยังรวมถึงกลุ่มอื่นๆ ที่กล่าวข้างต้น ที่มาของคำว่า “โพกรม” ในภาษาอังกฤษ “Pogrom” (погром) มาจากคำกิริยา “громить” ที่แปลว่าทำลาย, ก่อความวุ่นวาย, การทำลายอย่างรุนแรง ยูริ อาฟเนริบรรยาย “โพกรม” ว่าเป็น “การจลาจลโดยประชาชนผู้ถืออาวุธที่มัวเมาไปด้วยความเกลียดชังต่อผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ขณะที่ตำรวจและทหารยืนดูอยู่โดยไม่เข้าเกี่ยวข้อง”.

ใหม่!!: การเบียดเบียนและโพกรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: การเบียดเบียนและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Persecutionการบีฑาการไล่ทำร้ายและสังหาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »