โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วรรณกรรม

ดัชนี วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

2 ความสัมพันธ์: กวีนิพนธ์ร้อยแก้ว

กวีนิพนธ์

กวีนิพนธ์ (Poetry, Poem, Poesy) คือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา เพื่อคุณประโยชน์ด้านสุนทรียะ ซึ่งเพิ่มเติมจากเนื้อหาทางความหมาย นับเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม โดยเป็นคำประพันธ์ที่กวีแต่ง เป็นงานเขียนที่มีวรรณศิลป์ เร้าให้สะเทือนอารมณ์ได้ คำที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้แก่ ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกับ กวีนิพนธ์ และร้อยกรอง ได้แก่ บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงคำประพันธ์ที่มีรูปแบบต่างกัน ก็เคยใช้ในความหมายเดียวกันกับ กวีนิพนธ์ และ ร้อยกรอง มาในยุคสมัยหนึ่ง ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี ส่วนผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว เรียกว่า กวี หรือ นักกวี บทกวี คือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน กวีอาจไม่มีหน้าที่สรุปหรือฟันธงความจริง แต่กวีอาจหมุนแปรคำและความให้เห็นความจริงใหม่ ๆ ของชีวิตหลายด้าน ทั้งเรื่องที่บางทีคนทั่วไปคิดไม่ถึง และแม้แต่ตัวกวีเองก็เพิ่งจะคิดถึง.

ใหม่!!: วรรณกรรมและกวีนิพนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ร้อยแก้ว

ร้อยแก้ว เป็นภาษารูปแบบหนึ่งซึ่งใช้โครงสร้างไวยากรณ์ปกติและการไหลของถ้อยคำอย่างเป็นธรรมชาติ แทนที่จะใช้โครงสร้างเป็นจังหวะดังในกวีนิพนธ์ แม้จะมีการถกเถียงเชิงวิจารณ์ต่อการสร้างร้อยแก้ว แต่ด้วยความเรียบง่ายและโครงสร้างที่นิยามอย่างหลวม ทำให้ร้อยแก้วถูกนำมาใช้ในบทสนทนาเป็นส่วนใหญ่ วจนิพนธ์ข้อเท็จจริง ตลอดจนการเขียนเฉพาะเรื่องและบันเทิงคดี ร้อยแก้วเป็นรูปแบบภาษาที่ใช้กันสามัญ เช่น ในวรรณกรรม หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สารานุกรม การแพร่สัญญาณทางสื่อต่างๆ หนังสือทางประวัติศาสตร์และปรัชญา กฎหมาย และการสื่อสารอีกหลายรูปแบบ หมวดหมู่:วรรณกรรม.

ใหม่!!: วรรณกรรมและร้อยแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระราชนิพนธ์งานเขียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »