เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ความเกลียดกลัวต่างชาติ

ดัชนี ความเกลียดกลัวต่างชาติ

วามเกลียดกลัวต่างชาติ (Xenophobia) คือภาวะความชังและ/หรือความกลัวของผู้ที่มีชาติพันธุ์ที่ไม่รู้จักหรือแตกต่างจากตนเอง “Xenophobia” มาจากภาษากรีก “ξένος” (xenos) ที่แปลว่า “คนแปลกหน้า” หรือ “ชาวต่างประเทศ” และ “φόβος” (phobos) ที่แปลว่า “กลัว” ความเกลียดกลัวต่างชาติสามารถแสดงออกมาได้หลายวิธีซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์และการรับรู้ของกลุ่มในที่มีต่อกลุ่มนอก ซึ่งรวมถึงความกลัวเสียอัตลักษณ์ ความสงสัยในกิจกรรม ความก้าวร้าวและความปรารถนาทำลายการมีอยู่เพื่อธำรงความบริสุทธิ์ที่คิดGuido Bolaffi.

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดกลุ่มในและกลุ่มนอกการต่อต้านยิวการเบียดเบียนภาษากรีกคตินิยมเชื้อชาติโรคกลัวเชื้อชาติ

  2. คตินิยมเชื้อชาติ

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด

''พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด'' ฉบับตีพิมพ์ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary; OED) เป็นพจนานุกรม ที่ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ปกติถือเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษเชิงวิชาการและละเอียดที่สุด โดยมีรายการหลักประมาณ 301,100 รายการ (สถิติล่าสุด 30 พฤศจิกายน ค.ศ.

ดู ความเกลียดกลัวต่างชาติและพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด

กลุ่มในและกลุ่มนอก

ในสาขาสังคมศาสตร์และจิตวิทยาสังคม กลุ่มใน (ingroup) เป็นกลุ่มสังคมที่บุคคลนับว่าตนเป็นสมาชิก โดยเปรียบเทียบกัน กลุ่มนอก (outgroup) ซึ่งเป็นกลุ่มสังคมที่บุคคลไม่นับว่าตนเป็นสมาชิก ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเห็นว่าตนเป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ที่จำแนกโดยเชื้อชาติ วัฒนธรรม เพศ อายุ หรือศาสนา และมีการพบว่า ความรู้สึกทางจิตใจว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคม มีบทบาทในปรากฏการณ์ทางสังคมต่าง ๆ มากมาย คำภาษาอังกฤษว่า ingroup และ outgroup เกิดความนิยมเพราะงานของเฮ็นรี่ ทัชเฟ็ล และเพื่อนร่วมงาน เมื่อกำลังสร้างทฤษฎีเอกลักษณ์ทางสังคม (social identity theory) และได้ศึกษาความแตกต่างของกลุ่มในกลุ่มนอก โดยวิธีที่เรียกว่า minimal group paradigm พวกเขาพบว่า เราสามารถสร้างกลุ่มในตามความชอบใจของตน ภายในไม่กี่นาที และกลุ่มเช่นนี้อาจจะมีเอกลักษณ์อะไรบางอย่างที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ความชอบใจในภาพศิลป์บางอย่าง.

ดู ความเกลียดกลัวต่างชาติและกลุ่มในและกลุ่มนอก

การต่อต้านยิว

การ์ตูนเยาะหยันชาวยิวจากฝรั่งเศส ค.ศ. 1898 หน้าปกหนังสือ “ทางสู่ชัยชนะของความเป็นเยอรมันต่อความเป็นยิว” โดยมารร์ ฉบับ ค.ศ.

ดู ความเกลียดกลัวต่างชาติและการต่อต้านยิว

การเบียดเบียน

ริสต์ศาสนิกชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียน หรือ การบีฑา หรือ การประหัตประหาร (Persecution) เป็นการจงใจไล่ทำร้ายหรือไล่สังหารบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มชนอย่างเป็นระบบ ชนิดของ “การเบียดเบียน” ก็ได้แก่การเบียดเบียนศาสนา การเบียดเบียนชาติพันธุ์ และการเบียดเบียนทางการเมือง บางลักษณะที่กล่าวก็ซ้ำซ้อนกัน การเบียดเบียนศาสนาที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ได้แก่การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในสมัยของจักรพรรดิเนโรมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยเฉพาะในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน การเบียดเบียนในจักรวรรดิโรมันมาลดน้อยลงเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน แต่การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนก็มิได้หยุดยั้งลงและยังคงดำเนินต่อมาด้วยเหตุผลที่ต่าง ๆ ไปจากในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก เช่นการเบียดเบียนที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสระหว่างโรมันคาทอลิกและอูเกอโนต์ซึ่งเป็นโปรแตสแตนต์ชาวฝรั่งเศส การเบียดเบียนบางครั้งก็อาจจะมาจากความเชื่องมงาย (superstition) เช่น การเบียดเบียนผู้มีภาวะผิวเผือก (Persecution of albinism) ทางตะวันออกของแอฟริกาเพราะความเชื่อที่ว่าคนเผือกเป็นผู้มีอำนาจเวทมนตร์พิเศษ.

ดู ความเกลียดกลัวต่างชาติและการเบียดเบียน

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ดู ความเกลียดกลัวต่างชาติและภาษากรีก

คตินิยมเชื้อชาติ

ตินิยมเชื้อชาติ (racism) มีหลายความหมาย ส่วนมากมักจะหมายถึงการที่สมาชิกในเผ่าพันธุ์หนึ่งมีความเห็นว่าพวกของตนเหนือกว่าเผ่าพันธุ์อื่น.

ดู ความเกลียดกลัวต่างชาติและคตินิยมเชื้อชาติ

โรคกลัว

รคกลัว, อาการกลัว หรือ โฟเบีย (phobia, φόβος "กลัว") เป็นความกลัวชนิดที่ไม่ปกติ มักจะเกิดกับความกลัวสิ่งของ บุคคล การกระทำ หรือเหตุการณ์ต่างๆ การกลัวมีความรุนแรงทางอารมณ์ เป็นพฤติกรรมเชิงอารมณ์ที่รุนแรงที่จะปฏิเสธต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ภายนอกที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่ตนเอง โฟเบียนี้จะแตกต่างกับความกลัว (Fear) ที่ไม่มีการแสดงอารมณ์ที่รุนแรง อย่างการร้องไห้ฟูมฟายหรืออาเจียน และแตกต่างกับความวิตกกังวล เพราะกรณีของโฟเบียเรารู้ว่าตัวเรากลัวอะไร แต่เราไม่รู้ว่าเราเป็นกังวลในเรื่องอะไร.

ดู ความเกลียดกลัวต่างชาติและโรคกลัว

เชื้อชาติ

ื้อชาติ (race) คือ ระบบการจำแนกมนุษย์เป็นประชากรหรือกลุ่มขนาดใหญ่และแตกต่างกันชัดเจน โดยลักษณะจีโนไทป์และฟีโนไทป์ที่สืบทอดได้ บรรพบุรุษทางภูมิศาสตร์ รูปลักษณ์ทางกาย ความเป็นชาติพันธุ์ (ethnicity) และสถานภาพสังคม ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำนี้มักใช้กันแพร่หลาย ในความหมายทางอนุกรมวิธาน เพื่อแสดงการแยกความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรมนุษย์ที่นิยามโดยฟีโนไทป์ดู.

ดู ความเกลียดกลัวต่างชาติและเชื้อชาติ

ดูเพิ่มเติม

คตินิยมเชื้อชาติ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ XenophobiaXenophobicภาวะความเป็นอคติต่อชาวต่างชาติอาการกลัวคนแปลกหน้าความเกลียดชังชาวต่างประเทศ