สารบัญ
121 ความสัมพันธ์: บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องชายพฤติกรรมพันธุศาสตร์พจนานุกรมกฎหมายกระดูกเนื้อโปร่งการพิจารณาโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียนแม็กมาร์ตินการร่วมประเวณีกับญาติสนิทการร่วมเพศการวิจัยการวินิจฉัยทางการแพทย์การวิเคราะห์อภิมานการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กการสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็กการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองการทบทวนวรรณกรรมการทารุณเด็กทางเพศการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการทดลองแบบเปิดการข่มขืนกระทำชำเราการควบคุมทางวิทยาศาสตร์การค้าประเวณีเด็กการฆ่าคนการฆ่าตัวตายการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็กการปริทัศน์เป็นระบบการแสดงลามกอนาจารกิจกรรมทางเพศของมนุษย์ภาษากรีกภาษาเยอรมันมัลคอล์ม แกลดเวลมัธยฐานยุโรปตะวันออกยีนรสนิยมทางเพศระบบประสาทระดับเชาวน์ปัญญาระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์รักร่วมเพศรักต่างเพศรัฐรัฐสภาสหรัฐรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบวลาดีมีร์ นาโบคอฟวัยรุ่นวัยเริ่มเจริญพันธุ์วัยเด็กศาลเถื่อนศีรษะ... ขยายดัชนี (71 มากกว่า) »
- กามวิปริต
- ความใคร่เด็ก
บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems มีชื่อย่อว่า ICD) เป็นรายละเอียดของโรคและการบาดเจ็บต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแผ่โดย องค์การอนามัยโลก และใช้ข้อมูลเป็นสถิติพยาธิภาวะและอัตราตาย จากทั่วโลก มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นช่วง ๆ ปัจจุบันได้ทำการจัดพิมพ์ครั้งที่ 11 แล้ว โรคหรือกลุ่มของโรคที่มีความสัมพันธ์กันจะอธิบายด้วยการวินิจฉัยและมีรหัสกำหนดให้เป็นการเฉพาะตั้งแต่ 4-6 หลัก โดยหลักแรกในหมวดที่ 1-9 จะใช้ตัวเลข 1-9 เมื่อเข้าสู่หมวดที่ 10-26 จะใช้เป็นอักษร A-S นอกจากนี้ หมวด V คือSupplementary section for functioning assessment และหมวด X คือ External Cause แล้วจากนั้นจะแยกออกเป็นหมวดหมู่ในหลักถัดไป.
ดู โรคใคร่เด็กและบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
ชาย
อาจหมายถึง.
พฤติกรรม
ติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใ.
พันธุศาสตร์
ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.
พจนานุกรม
นานุกรม พจนานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่ง โดยทั่วไป หมายถึง หนังสือที่รวบรวบคำศัพท์ในวงศัพท์ที่กำหนด และนิยามความหมายเอาไว้ เพื่อใช้เป็นที่ค้นหาความหมายของคำ โดยมีการเรียงลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร ตามเสียง หรือตามลำดับอื่นๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้พจนานุกรมนั้นๆ พจนานุกรมยังมีนัยถึงหนังสือที่ให้รายละเอียด ครอบคลุมวงศัพท์ที่กว้าง ขณะที่หนังสือรวบรวมและอธิบายคำศัพท์ในวงแคบและมีจำนวนจำกัด มักจะเรียกว่า ปทานุกรม อย่างไรก็ตาม คำว่าปทานุกรมและพจนานุกรมอาจใช้สลับกันได้ คำว่า พจนานุกรม เป็นการคิดคำขึ้น จาก พจน (คำพูด) และ อนุกรม (ลำดับ ระเบียบ ชั้น) รวมกันด้วยวิธีสมาส เป็น “พจนานุกรม” หมายถึง หนังสือที่รวบรวมและเรียงลำดับคำ(พูด) เอาไว้ อย่างไรก็ตาม คำว่า “พจนานุกรม” เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อแปลศัพท์ dictionary ในภาษาอังกฤษนั่นเอง.
กฎหมาย
กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..
กระดูกเนื้อโปร่ง
กระดูกเนื้อโปร่ง, กระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, หรือกระดูกพรุน (spongy bone, cancellous bone, trabecular bone) เป็นเนื้อเยื่อกระดูกชนิดหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นและความแข็งแกร่งน้อยกว่า แต่มีพื้นที่ผิวมากกว่า กระดูกชนิดนี้มีลักษณะโปร่งคล้ายเส้นใยสานกันจะอยู่ภายในโพรงของกระดูกยาว ชั้นนอกของกระดูกเนื้อโปร่งจะประกอบด้วยไขกระดูกแดง (red bone marrow) ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิตองค์ประกอบของเลือด (ที่เรียกกันว่า การกำเนิดเซลล์เม็ดเลือด (hematopoiesis)) กระดูกเนื้อโปร่งนี้จะเป็นที่อยู่ของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ เนื้อเยื่อกระดูกอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า กระดูกเนื้อแน่น (cortical bone) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นผิวแข็งชั้นนอกของกระดูก.
ดู โรคใคร่เด็กและกระดูกเนื้อโปร่ง
การพิจารณาโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียนแม็กมาร์ติน
การพิจารณาโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียนแม็กมาร์ติน เป็นคดีทำทารุณทางเพศเด็กรับเลี้ยงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 สมาชิกของครอบครัวแม็กมาร์ติน ผู้ดำเนินการโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียนแห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ถูกกล่าวหาด้วยพฤติกรรมทำทารุณทางเพศเด็กในความดูแลของพวกเขา การกล่าวหามีขึ้นใน..
ดู โรคใคร่เด็กและการพิจารณาโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียนแม็กมาร์ติน
การร่วมประเวณีกับญาติสนิท
การร่วมประเวณีกับญาติสนิท"การร่วมประเวณีกับญาติสนิท" เป็นศัพท์ทางนิติศาสตร์ ส่วน "การสมสู่ร่วมสายโลหิต" เป็นศัพท์ทางแพทยศาสตร์ หรือ การสมสู่ร่วมสายโลหิต (Incest) หมายถึง การมีความสัมพันธ์ทางเพศในทุกรูปแบบกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งอาจหมายถึงคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ซึ่งถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและจารีตทางสังคม ในบางสังคม การล่วงละเมิดหมายอาจมีแค่ผู้ที่อยู่ร่วมเคหะสถานเดียวกัน หรือผู้ที่เป็นสมาชิกของเผ่าหรือมีผู้สืบสันดานเดียวกัน; ในบางสังคมมีความหมายรวมไปถึงคนที่สัมพันธ์กันทางสายเลือด; และในสังคมอื่น ๆ รวมไปถึงบุตรบุญธรรมหรือการแต่งงาน ในการศึกษาบางอย่างได้ระบุว่ารูปแบบของการล่วงละเมิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ระหว่างพ่อกับลูกสาว อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาอื่น ๆ เสนอว่าการร่วมประเวณีระหว่างพี่น้องเกิดขึ้นบ่อยเทียบเท่าหรือบ่อยครั้งกว่าการร่วมประเวณีกับญาติสนิทรูปแบบอื่น ๆ การล่วงละเมิดทางเพศเด็กโดยผู้ใหญ่ถูกพิจารณาว่าเป็นรูปแบบของการข่มขืนต่อเด็กรูปแบบหนึ่ง นักวิจัยได้ประมาณการว่าประชากรทั่วไปราว 10-15% เคยมีประสบการณ์การล่วงละเมิดทางเพศแบบดังกล่าวมากกว่าหนึ่งครั้ง ในขณะที่อีกประมาณ 2% เกี่ยวข้องกับการร่วมประเวณีหรือพยายามกระทำร่วมประเวณี ส่วนในผู้หญิง นักวิจัยได้ประมาณการตัวเลขไว้ที่ 20% ในสังคมส่วนใหญ่มักจะมีการหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดทางเพศของคนในครอบครัวเดียวกันในบางรูปแบบ ข้อห้ามการล่วงละเมิดของคนในครอบครัวเดียวกันถือว่าเป็นหนึ่งในข้อห้ามทางวัฒนธรรมในบางสังคม แต่ในทางกฎหมายการร่วมประเวณีกับญาติสนิทมีระดับการยอมรับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ บางประเทศถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและถือว่าเป็นอาชญากรรมที่มีบทลงโทษ บางประเทศยอมรับการเกิดขึ้นได้โดยไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมแต่จะไม่อนุญาตให้มีการแต่งงาน บางประเทศยอมรับด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนเช่นยอมให้พี่น้องแต่งงานกันได้แต่ห้ามการแต่งงานระหว่างบุพการีกับบุตร บางประเทศห้ามเฉพาะผู้ใหญ่กับญาติที่ยังเป็นผู้เยาว์เท่านั้น จนถึงบางประเทศที่กฎหมายเปิดเสรี.
ดู โรคใคร่เด็กและการร่วมประเวณีกับญาติสนิท
การร่วมเพศ
'''Coition of a Hemisected Man and Woman''' (ประมาณ ค.ศ. 1492) วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายในการร่วมเพศระหว่างชาย-หญิง quote.
การวิจัย
อลิน เลวี วอร์เนอร์ (Olin Levi Warner) การวิจัยชูคบเพลิงแห่งความรู้ (พ.ศ. 2439) ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ อาคารโทมัส เจฟเฟอร์สัน, วอชิงตัน ดีซี การวิจัย (research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่าง ๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้ว.
การวินิจฉัยทางการแพทย์
การวินิจฉัยทางการแพทย์เป็นวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งสาเหตุซึ่งเป็นโรคหรือความผิดปกติ รวมถึงความเห็นอันได้มาจากกระบวนการนั้น เกณฑ์การวินิจฉัยหมายถึงผลรวมระหว่างอาการ อาการแสดง และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แพทย์ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำวินิจฉัยที่ถูกต้อง.
ดู โรคใคร่เด็กและการวินิจฉัยทางการแพทย์
การวิเคราะห์อภิมาน
การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) หมายถึงวิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดสิ่งที่พบเหมือน ๆ กัน สิ่งที่ต่างกัน และความสัมพันธ์ที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่อาจปรากฏด้วยการศึกษางานวิจัยหลาย ๆ งาน Meta-analysis สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการ "ทำการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาอื่นที่ทำมาแล้ว" โดยแบบที่ง่ายที่สุด Meta-analysis จะทำโดยกำหนดการวัดค่าทางสถิติที่เหมือนกันในงานวิจัยหลาย ๆ งาน เช่น ขนาดผล (effect size) หรือ p-value แล้วสร้างค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average) ของการวัดค่าที่เหมือนกัน โดยน้ำหนักที่ให้มักจะขึ้นอยู่กับขนาดตัวอย่าง (sample size) ของแต่ละงานวิจัย แต่ก็สามารถขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอย่างอื่น ๆ เช่นคุณภาพของงานศึกษาด้วย แรงจูงใจที่จะทำงานศึกษาแบบ meta-analysis ก็เพื่อรวมข้อมูลเพื่อจะเพิ่มกำลังทางสถิติ (statistical power) ของค่าที่สนใจ เมื่อเปรียบเทียบกับเพียงใช้ค่าวัดจากงานศึกษาเดียว ในการทำงานศึกษาเช่นนี้ นักวิจัยต้องเลือกองค์ประกอบหลายอย่างที่อาจมีอิทธิพลต่อผลงาน รวมทั้งวิธีการสืบหางานวิจัย การเลือกงานวิจัยตามกฏเกณฑ์ที่เป็นกลาง การแก้ปัญหาเมื่อมีข้อมูลไม่ครบ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ และการแก้ปัญหาหรือไม่แก้ปัญหาความเอนเอียงในการตีพิมพ์ การศึกษาแบบ Meta-analysis มักจะเป็นส่วนสำคัญของงานปริทัศน์แบบทั้งระบบ (systematic review) แต่ไม่เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น อาจจะมีการทำงานแบบ Meta-analysis โดยใช้ผลงานการทดลองทางคลินิก (clinical trial) เกี่ยวกับการรักษาทางแพทย์อย่างหนึ่ง เพื่อที่จะได้ความเข้าใจที่ดีขึ้นว่าการรักษาได้ผลแค่ไหน เมื่อใช้ศัพท์ต่าง ๆ ที่กำหนดโดยองค์กร Cochrane Collaboration คำว่า meta-analysis ก็จะหมายถึงวิธีทางสถิติที่ใช้ในการประมวลหลักฐาน โดยไม่รวมเอาการประมวลข้อมูลรูปแบบอื่น ๆ เช่น research synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์งานวิจัย) หรือ evidence synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์หลักฐาน) ที่ใช้ประมวลข้อมูลจากงานศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative studies) ซึ่งใช้ในงานปริทัศน์แบบทั้งร.
ดู โรคใคร่เด็กและการวิเคราะห์อภิมาน
การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก
รื่องตรวจ MRI ภาพจากการตรวจด้วย MRI แสดงการเต้นของหัวใจ การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก หรือ การตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ หรือ nuclear magnetic resonance imaging (NMRI), or magnetic resonance tomography (MRT) คือเทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์ที่ใช้ในรังสีวิทยาเพื่อการตรวจทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของร่างกายทั้งในด้านสุขภาพและโรคต่างๆโดยเครื่องตรวจที่ใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็ง ด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ การตรวจทางการแพทย์ด้วยเครื่องมือชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง.
ดู โรคใคร่เด็กและการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก
การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก
alt.
ดู โรคใคร่เด็กและการสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก
การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือ อัตกาม (masturbation) หรือที่มักเรียกว่าการช่วยตัวเอง คือการกระตุ้นอวัยวะเพศของตนเองเพื่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศหรือความพอใจอื่น ๆ ปกติจะทำจนถึงความเสียวสุดยอดทางเพศ การกระตุ้นอาจใช้มือ นิ้วมือ วัตถุในชีวิตประจำวัน เซ็กซ์ทอย หรือหลายอย่างร่วมกัน การสำเร็จความใคร่ร่วมกัน (กระตุ้นทางเพศด้วยตนเองร่วมกับผู้อื่น) สามารถแทนการสอดใส่ได้ จากการศึกษาพบว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองพบมากในมนุษย์ทุกเพศ และทุกวัย กิจกรรมการสำเร็จความใคร่นับว่ามีประโยชน์ทางการแพทย์และจิตวิทยา ยังไม่มีความสัมพันธ์เหตุภาพระหว่างการสำเร็จความใคร่กับความผิดปกติทางจิตหรือทางร่างกายใด ๆ มีการพรรณนาถึงการสำเร็จความใคร่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีการพูดถึงและอภิปรายถึงในงานเขียนยุคแรก ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 นักเทววิทยาและหมอชาวยุโรปมองว่า "น่าเกลียด" "น่าตำหนิ" และ "น่ากลัว" แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ข้อห้ามดังกล่าวเริ่มลดความสำคัญลง มีการอภิปรายและพรรณนาถึงการสำเร็จความใคร่ในงานศิลปะ ดนตรีสมัยนิยม โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และวรรณกรรม ในปัจจุบัน ศาสนาต่าง ๆ มีมุมมองต่อการสำเร็จความใคร่ที่แตกต่างกัน บางศาสนามองว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นภัยต่อจิตใจ บางศาสนามองว่าไม่เป็นภัยดังกล่าว และบางศาสนามองต่างกันตามสถานการณ์ การสำเร็จความใคร่ในทางกฎหมายมีความแตกต่างตามช่วงประวัติศาสตร์ และการสำเร็จความใคร่ในที่สาธารณะในหลายประเทศนับเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ในโลกตะวันตก การช่วยตัวเองคนเดียวหรือกับคู่รักนับถือเป็นเรื่องปกติและนับเป็นส่วนหนึ่งของการมีความสุขทางเพศ การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองยังถูกพบในสัตว์หลายสายพันธุ์ทั้งในถิ่นที่อยู่และในกรงขัง.
ดู โรคใคร่เด็กและการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
การทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนวรรณกรรม (literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ เช่นในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือผลงานในวารสารวิชาการ การทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจั.
ดู โรคใคร่เด็กและการทบทวนวรรณกรรม
การทารุณเด็กทางเพศ
การทารุณเด็กทางเพศ (Child sexual abuse ตัวย่อ CSA, child molestation) หรือ การกระทำทารุณต่อเด็กทางเพศ หรือ การทำร้ายเด็กทางเพศ เป็นรูปแบบการกระทำทารุณต่อเด็กที่ผู้ใหญ่, หรือเยาวชนหรือวัยรุ่นที่มีอายุมากกว่าและต่างระดับพัฒนา ใช้เด็กกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ มีรูปแบบตั้งแต่การขอหรือบังคับให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศ (ไม่ว่าจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่), การแสดงสิ่งลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเพศ หัวนมหญิง เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการทางเพศของตน เพื่อขู่ขวัญเด็ก หรือเพื่อปะเหลาะประเล้าประโลมเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรม, การสัมผัสเด็กทางเพศ, หรือการใช้เด็กเพื่อผลิตสื่อลามกอนาจาร ทารุณกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายที่หลายสถาน รวมทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือสำนักงานที่มีเด็กทำงานเป็นปกติ การจับเด็กแต่งงานเป็นรูปแบบการทารุณหลักอย่างหนึ่ง ที่กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้กล่าวไว้ว่า "อาจเป็นรูปแบบการทารุณและฉวยผลประโยชน์จากเด็กหญิงทางเพศที่แพร่หลายที่สุด" ทารุณกรรมต่อเด็กส่งผลทางจิตใจ ให้เกิดความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจแบบซับซ้อน (complex post-traumatic stress disorder) ความโน้มเอียงที่จะตกเป็นเหยื่อทารุณกรรมอีกในวัยผู้ใหญ่ รวมทั้งการบาดเจ็บทางกาย และเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมด ทารุณกรรมโดยสมาชิกครอบครัวซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการร่วมประเวณีกับญาติสนิท จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงยิ่งกว่าต่อเด็ก ส่งผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาว โดยเฉพาะในกรณีที่ทำโดยผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง พ่อบุญธรรม แม่บุญธรรม ความแพร่หลายทั่วโลกของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กประเมินอยู่ที่ 19.7% ในหญิง และ 7.9% ในชาย ผู้กระทำผิดส่วนมากรู้จักเหยื่อ ราว 30% เป็นญาติ บ่อยที่สุดเป็นพี่ชาย พ่อ ลุง หรือลูกพี่ลูกน้อง ราว 60% เป็นคนรู้จักอื่นอย่างเช่น "เพื่อน"ของคนในครอบครัว พี่เลี้ยงเด็ก หรือเพื่อนบ้าน และราว 10% เป็นคนแปลกหน้า ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นชาย จากการศึกษาพบว่า หญิงทำผิดต่อ 14-40% ของเหยื่อเด็กชาย และ 6% ของเหยื่อเด็กหญิง(โดยที่เหลือของเหยื่อทำโดยผู้ทำผิดเพศชาย) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า pedophile (คนใคร่เด็ก) มักจะใช้อย่างไม่เลือกกับทุก ๆ คนที่ทารุณเด็กทางเพศ แต่ผู้ทำผิดต่อเด็กทุกคนไม่ใช่คนใคร่เด็ก ยกเว้นถ้ามีความรู้สึกทางเพศที่รุนแรงกับเด็กที่อยู่ในวัยก่อนหนุ่มสาว และคนใคร่เด็กทุกคนก็ไม่ใช่ผู้ทำผิดต่อเด็ก ในกฎหมายบางประเทศ คำว่า child sexual abuse (การทารุณเด็กทางเพศ) ใช้เป็นคำคลุมทั้งการละเมิดกฎหมายอาญาและแพ่ง ที่ผู้ใหญ่ทำกิจทางเพศร่วมกับผู้เยาว์ หรือฉวยประโยชน์จากผู้เยาว์เพื่อสนองความรู้สึกทางเพศ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ยืนยันว่า "เด็กไม่สามารถยินยอมมีกิจกรรมทางเพศร่วมกับผู้ใหญ่" และประณามการทำเช่นนั้นของผู้ใหญ่ คือ "ผู้ใหญ่ที่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกับเด็ก กำลังละเมิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม ที่ไม่มีทางพิจารณาได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ปกติหรือที่ยอมรับได้ในสังคม".
ดู โรคใคร่เด็กและการทารุณเด็กทางเพศ
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
pmc.
ดู โรคใคร่เด็กและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
การทดลองแบบเปิด
Open-label trial หรือ Open trial (การทดลองแบบเปิด) เป็นการทดลองทางคลินิกประเภทหนึ่ง ที่ทั้งผู้วิจัยและผู้ร่วมการทดลองจะรู้ว่า จะได้รับการรักษาแบบไหน (คือการรักษาของกลุ่มทดลอง หรือของกลุ่มควบคุม/เปรียบเทียบ) เปรียบเทียบกับการทดลองแบบอำพรางฝ่ายเดียว ที่ผู้ร่วมการทดลองจะไม่รู้ และการทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย ที่ทั้งผู้วิจัยและผู้ร่วมการทดลองจะไม่รู้ การทดลองแบบเปิดอาจจะเหมาะสมในการเปรียบเทียบการรักษาพยาบาลที่คล้ายกันมาก เพื่อกำหนดว่าวิธีไหนมีประสิทธิผลดีกว่า และอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ในบางสถานการณ์ เช่นการเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการให้ยากับกายภาพบำบัด การทดลองแบบเปิดอาจจะจัดสรรผู้ร่วมการทดลองเข้ากลุ่มแบบสุ่ม แม้จะไม่มีการอำพราง และอาจจะไม่มีกลุ่มควบคุม คือผู้ร่วมการทดลองทั้งหมดจะได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดียวกัน.
ดู โรคใคร่เด็กและการทดลองแบบเปิด
การข่มขืนกระทำชำเรา
การข่มขืนกระทำชำเรา (rape) เป็นการทำร้ายร่างกายทางเพศซึ่งปกติเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์หรือการใช้การล่วงล้ำทางเพศแบบอื่นต่อบุคคลโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวอาจโดยใช้กำลังทางกาย การบีบบังคับ การละเมิดอำนาจหรือต่อบุคคลที่ไม่สามารถให้ความยินยอมสมบูรณ์ได้ เช่น ผู้ที่หมดสติ ไร้ความสามารถหรืออายุต่ำกว่าอายุที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ตามกฎหมาย คำว่า "ข่มขืนกระทำชำเรา" บางครั้งใช้แทนคำว่า "การทำร้ายร่างกายทางเพศ" ได้ อุบัติการณ์การข่มขืนกระทำชำเราที่ตำรวจบันทึกทั่วโลกในปี 2553 แปรผันระหว่าง 0.2 ต่อ 100,000 คนในประเทศอาเซอร์ไบจาน ถึง 92.9 ต่อ 100,000 คนในประเทศบอตสวานา โดยมีค่า 6.3 ต่อ 100,000 คนในประเทศลิทัวเนียเป็นมัธยฐาน United Nations.
ดู โรคใคร่เด็กและการข่มขืนกระทำชำเรา
การควบคุมทางวิทยาศาสตร์
แบ่งพืชเหมือนกันเป็นสองกลุ่มแล้วให้ปุ๋ยกับกลุ่มเดียว ถ้าเกิดความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้ปุ๋ย และ "กลุ่มควบคุม" ที่ไม่ได้ ความแตกต่างอาจจะเกิดจากปุ๋ย การควบคุมทางวิทยาศาสตร์ (scientific control) หรือ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์ เป็นการทดลอง หรือการสังเกตการณ์อันหนึ่ง ที่ทำเพื่อใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองว่า การกระทำหรือความต่างอย่างอื่นที่มีในกลุ่มทดลองแต่ไม่มีในกลุ่มควบคุม มีผลต่างต่อกลุ่มทดลองอย่างไร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นกลุ่มที่ทำเพื่อลดผลต่างของตัวแปรอื่น ๆ ยกเว้นตัวแปรอิสระเดียวที่เป็นประเด็นการศึกษา เป็นวิธีการที่เพิ่มความน่าเชื่อถือของผลต่างที่พบ (ที่ควรจะเกิดจากความต่างของตัวแปรอิสระอย่างเดียว) บ่อยครั้งโดยเปรียบเทียบค่าวัดจากกลุ่มควบคุมและค่าวัดในกลุ่มอื่น ๆ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างกลุ่มควบคุม (บางครั้งเรียกว่า กลุ่มควบคุมของการทดลอง) ที่ใช้ตรวจสอบผลของปุ๋ย โดยให้ปุ๋ยกับพืชเพียงครึ่งเดียวในแปลง พืชที่ไม่ได้รับปุ๋ยก็คือกลุ่มควบคุม เพราะว่าเป็นกลุ่มแสดงระดับการเติบโตพื้นฐาน ที่จะใช้เปรียบเทียบกับพืชที่ใส่ปุ๋ย ถ้าไม่มีกลุ่มควบคุม การทดลองจะไม่สามารถกำหนดได้ว่า พืชที่ใส่ปุ๋ย โตได้ "ดีกว่า" พืชที่ไม่ใส่หรือไม่ ในการทดลองสมบูรณ์แบบ ตัวแปรทั้งหมดจะมีการควบคุม (คือโดยเปรียบเทียบค่าวัดต่าง ๆ กับกลุ่มควบคุม) และดังนั้น ถ้าตัวแปรอื่น ๆ ควบคุมได้อย่างที่คาดหวัง ก็จะสามารถสรุปได้ว่า การทดลองนั้นดำเนินไปอย่างที่ตั้งใจ และผลที่พบในการทดลอง มาจากความต่างของตัวแปรอิสระที่เป็นประเด็นศึกษา ซึ่งก็คือ เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ทำงานอ้างได้ว่า "สถานการณ์ 2 อย่างเหมือนกันทุกอย่าง จนกระทั่งปัจจัย ก เกิดขึ้น และเนื่องจากปัจจัย ก เป็นความแตกต่างอย่างเดียวที่มีในสองสถานการณ์ ผลที่พบจึงเกิดจากปัจจัย ก".
ดู โรคใคร่เด็กและการควบคุมทางวิทยาศาสตร์
การค้าประเวณีเด็ก
การค้าประเวณีเด็ก (Prostitution of children, child prostitution) เป็นการค้าประเวณีที่เกี่ยวกับเด็ก เป็นรูปแบบหนึ่งของการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก เด็กในที่นี้มักจะหมายถึงผู้เยาว์ หรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในเขตกฎหมายโดยมาก การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายโดยเป็นส่วนของกฎหมายห้ามการค้าประเวณีโดยทั่ว ๆ ไป การค้าประเวณีเด็กมักจะปรากฏในรูปแบบของการค้าเซ็กซ์ (sex trafficking) ที่เด็กถูกลักพาตัว หรือถูกหลอกให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าเพศ หรือว่า เป็นเซ็กซ์เพื่อการอยู่รอด ที่เด็กจะร่วมกิจกรรมทางเพศแลกเปลี่ยนกับปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อชีวิตรวมทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย การค้าประเวณีเด็กมักจะเกี่ยวข้องกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และบางครั้งจะเกิดขึ้นคาบเกี่ยวกัน และมีคนที่เดินทางไปต่างประเทศเพื่อจะเที่ยวเซ็กซ์ทัวร์เด็ก งานวิจัยแสดงว่า อาจจะมีเด็กมากถึง 10 ล้านคนทั่วโลกที่ค้าประเวณี โดยมีปัญหาหนักที่สุดในทวีปอเมริกาใต้และเอเชีย แต่ก็เป็นปัญหาทั่วโลก ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว สหประชาชาติได้กำหนดว่า การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายสากล โดยมีการรณรงค์และองค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติการเช่นนี้ เด็กโดยมากที่เกี่ยวข้องเป็นหญิง อาจจะอายุเพียงแค่ 4-5 ขวบ เรียนน้อยมากและถูกคนแปลกหน้าหลอกได้ง.
ดู โรคใคร่เด็กและการค้าประเวณีเด็ก
การฆ่าคน
การฆ่าคน (murder) เป็นการกระทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย จัดเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง ทางนิติศาสตร์แบ่งเป็นสองประเภท คือ การทำให้คนตายโดยเจตนา (homicide) และการทำให้คนตายโดยไม่เจตนา (manslaughter) การฆ่าคนทั้งสองประเภท ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักหรือเบาตามกฎหมายแล้วแต่กรณี.
การฆ่าตัวตาย
การฆ่าตัวตาย หรือ อัตวินิบาตกรรม เป็นการกระทำให้ตนเองถึงแก่ความตายอย่างตั้งใจ การฆ่าตัวตายมักเกิดจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โรคพิษสุรา หรือการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเช่นความลำบากทางการเงิน หรือปัญหากับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็มีส่วนเช่นกัน ความพยายามป้องกันการฆ่าตัวตายหมายรวมถึงการจำกัดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปืน และสารพิษ การรักษาอาการทางจิตและการใช้สารเสพติด และการปรับปรุงสถานะทางการเงิน แม้ว่าบริการที่ปรึกษาสายด่วนจะมีทั่วไป แต่แทบไม่มีหลักฐานว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ วิธีการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยที่สุดแตกต่างกันไปตามประเทศและส่วนหนึ่งจะขึ้นกับความเป็นไปได้ วิธีการทั่วไปได้แก่ การแขวนคอ การวางยาด้วยสารฆ่าสัตว์รังควาน และอาวุธปืน การฆ่าตัวตายคร่าชีวิตคน 842,000 คนใน..
การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก
การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (Commercial sexual exploitation of children ตัวย่อ CSEC) เป็นธุรกรรมทางการค้าที่อาศัยการฉวยประโยชน์ทางเพศ (sexual exploitation) จากเด็ก เช่นการค้าประเวณี และสื่อลามกอนาจาร อาจจะมีการบีบบังคับและการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก เท่ากับเป็นแรงงานบังคับและเป็นรูปแบบความเป็นทาสยุคปัจจุบัน รวมทั้งการให้บริการทางเพศของเด็กเพื่อผลประโยชน์แลกเปลี่ยน จะเป็นเงินทองหรืออะไรอย่างอื่นก็ดี ปฏิญญาของงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (Declaration of the First World Congress against Commercial Sexual Exploitation of Children) ที่ประชุมในเมืองสตอกโฮล์มปี 2539 นิยาม CSEC ว่า CSEC ยังหมายถึงเซ็กซ์ทัวร์ และธุรกรรมทางเพศแบบอื่น ๆ ที่เด็กร่วมกิจกรรมทางเพศเพื่อแลกปัจจัยที่จำเป็นต่อชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย หรือการศึกษา รวมทั้งรูปแบบที่สมาชิกในบ้านไม่ห้ามหรือแจ้งตำรวจเกี่ยวกับทารุณกรรมต่อเด็ก เนื่องจากได้ผลประโยชน์จากผู้กระทำผิด และอาจรวมการแต่งงานแบบคลุมถุงชนสำหรับเด็กที่ยังไม่ถึงอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ ที่เด็กไม่ได้ยินยอมและถูกทารุณทางเพศ ศูนย์เพื่อเด็กหายและถูกฉวยผลประโยชน์แห่งชาติ (National Center for Missing and Exploited Children) ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเอกชน (แต่เบื้องต้นจัดตั้งโดยรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา) กล่าวว่า เด็กหญิง 1 ใน 5 และเด็กชาย 1 ใน 10 จะถูกฉวยประโยชน์หรือทารุณกรรมทางเพศก่อนจะโตเป็นผู้หใญ่ ส่วนกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) กล่าวว่า การฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กเป็น "การล่วงละเมิดสิทธิที่รุนแรงที่สุดที่เด็กคนหนึ่งอาจจะต้องอดทนอดกลั้น".
ดู โรคใคร่เด็กและการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก
การปริทัศน์เป็นระบบ
การปริทัศน์เป็นระบบ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ review ว่า "การปริทัศน์" และของ systematic ว่า "-เป็นระบบ" (systematic review) เป็นการปริทัศน์สิ่งตีพิมพ์หลาย ๆ งานที่พุ่งความสนใจไปยังประเด็นปัญหาหนึ่งทางการวิจัย มีจุดประสงค์เพื่อจะหา ประเมิน เลือกสรร และรวบรวมหลักฐานงานวิจัยมีคุณภาพทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหานั้น ๆ การปริทัศน์ผลงานการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เป็นกระบวนการที่ขาดไม่ได้ทางแพทยศาสตร์อาศัยหลักฐาน (evidence-based medicine) ความเข้าใจในเรื่องการปริทัศน์อย่างเป็นระบบและวิธีการดำเนินงานปริทัศน์จริง ๆ เริ่มกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นอกจากจะเป็นงานเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลระดับรายบุคคลแล้ว การปริทัศน์อย่างเป็นระบบอาจจะรวบรวมข้อมูลของการทดลองทางคลินิก การรักษาพยาบาลในระดับกลุ่มชน การรักษาพยาบาลทางสังคม ผลที่ไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาล และการประเมินผลทางเศรษฐกิจ.
ดู โรคใคร่เด็กและการปริทัศน์เป็นระบบ
การแสดงลามกอนาจาร
การแสดงลามกอนาจาร (Indecent exposure) เป็นการแสดงส่วนหนึ่งหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของบุคคล ต่อหน้าชุมนุมชนหรือในที่ที่สาธารณชนสามารถมองเห็นได้ ในสถานการณ์ที่เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ผิดไปจากมาตรฐานทางศีลธรรมหรือมาตรฐานอื่น ๆ เช่นความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทัศนคติของสังคมและชุมชนเกี่ยวกับการแสดงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และกฎหมายที่ควบคุมการแสดงลามกอนาจาร แตกต่างกันอย่างสำคัญในประเทศต่าง ๆ ซึ่งห้ามตั้งแต่การแสดงบริเวณอวัยวะเพศ ก้น และหน้าอกหญิง แต่ว่าไม่ใช่ทุกประเทศที่มีกฎหมายเช่นนี้ โดยประเทศไทยถือเป็นความผิดอาญาขั้นลหุโทษปรับไม่เกิน 500 บาท การกระทำเช่นนี้บางครั้งก็เรียกว่า การกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล (public indecency) มาตรฐานความสุภาพเรียบร้อยขึ้นอยู่กับชุมชน ซึ่งบางครั้งจะกำหนดในกฎหมาย แต่อาจจะมีมูลฐานทางศาสนา ศีลธรรม หรือแม้แต่เพื่อให้ "เหมาะต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน" การแสดงลามกอนาจารบางครั้งหมายถึง การแสดงอนาจาร (exhibitionism) หรือ การเปลือยกายในที่สาธารณะ (public nudity) แต่ไม่ได้หมายความจะต้องแสดงกิจกรรมทางเพศ แต่ถ้ามีกิจกรรมทางเพศ แม้ว่าจะไม่เปลือยกาย ก็อาจจะพิจารณาได้ว่าเป็น "การกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล" และอาจจะผิดกฎหมายที่ร้ายแรงกว่า ในบางประเทศ การแสดงส่วนของร่างกายที่ผิดไปจากมาตรฐานชุมชนเกี่ยวกับความสุภาพเรียบร้อย (modesty) อาจจะจัดว่าเป็นการกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล มาตรฐานทางกฎหมายและชุมชนว่า เปลื้องผ้าแค่ไหนเป็นการแสดงลามกอนาจารต่างกันมากมาย และยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดการแสดง และมาตรฐานเช่นนี้ก็ยังเปลี่ยนไปตามกาลเวลาอีกด้วย ทำให้นิยามของคำว่าการแสดงลามกอนาจารเป็นเรื่องยุ่งยาก.
ดู โรคใคร่เด็กและการแสดงลามกอนาจาร
กิจกรรมทางเพศของมนุษย์
กิจกรรมทางเพศของมนุษย์ หรือ พฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ มีความหมายถึงการปฏิบัติที่มนุษย์ได้พบและปลดปล่อยเรื่องทางเพศ มีหลากหลายกิจกรรมแตกต่างกันไป อย่างเช่นแผนการในการหาคู่ (จับคู่และแสดงพฤติกรรม) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล, ความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางร่างกายหรืออารมณ์ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ คำว่ากิจกรรมทางเพศ สามารถหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวกับคน 2 คนหรือมากกว่า เช่นมีเพศสัมพันธ์ ออรัลเซ็กส์ หรือการสำเร็จความใคร่ให้ผู้อื่น หรือการสำเร็จความใคร่ให้ตัวเองคนเดียว ในบางวัฒนธรรม กิจกรรมทางเพศได้รับการยอมรับเฉพาะผู้ที่แต่งงานแล้วเท่านั้น ถึงแม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสและความสัมพันธ์นอกสมรสถือเป็นเรื่องทั่วไป กิจกรรมทางเพศบางชนิดก็เป็นสิ่งผิดกฎหมายและผิดปกติในบางประเทศ และในบางครั้งอาจพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่ผิดวิสัยในสังคม ตัวอย่างเช่น กิจกรรมทางเพศอย่างการข่มขืนกระทำชำเราถือเป็นอาชญากรรม.
ดู โรคใคร่เด็กและกิจกรรมทางเพศของมนุษย์
ภาษากรีก
ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..
ภาษาเยอรมัน
ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.
มัลคอล์ม แกลดเวล
มัลคอล์ม ทีโมธี แกลดเวล (Malcolm Timothy Gladwell) หรือ มัลคอล์ม แกลดเวล (เกิด 3 กันยายน ค.ศ. 1963) เป็นนักข่าว นักเขียนและนักพูดชาวแคนาดาที่เกิดในอังกฤษ เขาเป็นนักเขียนให้กับThe New Yorker ตั้งแต่ปี 1996 และเขียนหนังสือทั้งหมด 5 เล่ม ได้แก่The Tipping Point: How Little Things Can Make a Big Difference (2000), Blink: The Power of Thinking Without Thinking (2005), Outliers: The Story of Success (2008), What the Dog Saw: And Other Adventures (2009) หนังสือรวบรวมบทความ, และ David and Goliath: Underdogs, Misfits, and the Art of Battling Giants (2013) หนังสือทั้งห้าเล่มขายดีติดอันดับของ ''The New York Times'' Best Seller นอกจากนี้เขายังมีพอดแคสชื่อว่า Revisionist History อีกด้วย หนังสือและบทความของเขามักเกี่ยวกับการตีความที่คาดไม่ถึงของงานวิจัยในสังคมศาสตร์และบ่อยครั้งอ้างถึงงานวิชาการโดยเฉพาะในสาขาสังคมวิทยา จิตวิทยาและจิตวิทยาสังคม มัลคอล์มได้รับ Order of Canada เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2011.
ดู โรคใคร่เด็กและมัลคอล์ม แกลดเวล
มัธยฐาน
ในทฤษฎีความน่าจะเป็นและสถิติศาสตร์ มัธยฐาน (median) คือการวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลางชนิดหนึ่ง ที่ใช้อธิบายจำนวนหนึ่งจำนวนที่แบ่งข้อมูลตัวอย่าง หรือประชากร หรือการแจกแจงความน่าจะเป็น ออกเป็นครึ่งส่วนบนกับครึ่งส่วนล่าง มัธยฐานของรายการข้อมูลขนาดจำกัด สามารถหาได้โดยการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปมาก (หรือมากไปน้อยก็ได้) แล้วถือเอาตัวเลขที่อยู่ตรงกลางเป็นค่ามัธยฐาน ถ้าหากจำนวนสิ่งที่สังเกตการณ์เป็นจำนวนคู่ ทำให้ค่าที่อยู่ตรงกลางมีสองค่า ดังนั้นเรามักจะหามัชฌิม (mean) ของสองจำนวนนั้นเพื่อให้ได้มัธยฐานเพียงหนึ่งเดียว.
ยุโรปตะวันออก
แผนที่ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออก (Eastern Europe) มีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 - 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประกอบไปด้วยประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, อดีตเช็กโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกียและสโลวาเกีย), โปแลนด์, ฮังการี, โรมาเนีย, บัลแกเรีย และอดีตยูโกสลาเวีย ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรแมนซ์และกลุ่มสลาวอนิก.
ดู โรคใคร่เด็กและยุโรปตะวันออก
ยีน
รโมโซมคือสายดีเอ็นเอที่พันประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอที่ถอดรหัสออกมาเพื่อทำหน้าที่ ยีนสมมติในภาพนี้ประกอบขึ้นจากแค่สี่สิบคู่เบส ซึ่งยีนจริงๆ จะมีจำนวนคู่เบสมากกว่านี้ ยีน, จีน หรือ สิ่งสืบต่อพันธุกรรม (gene) คือลำดับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูกถอดรหัสออกมาเป็นอาร์เอ็รนเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจทำหน้าที่ได้เองโดยตรง หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอนการแปลรหัส ซึ่งเป็นการสร้างโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฏ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฏให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ยีนอาจเกิดการกลายพันธุ์สะสมในลำดับพันธุกรรมได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของการแสดงออกในกลุ่มประชากร เรียกว่าแต่ละรูปแบบที่แตกต่างนี้ว่า อัลลีล แต่ละอัลลีลของยีนยีนหนึ่งจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดลักษณะปรากฏทางฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันไป ในระดับคนทั่วไปเมื่อพูดถึงการมียีน เช่น มียีนที่ดี มียีนสีผมน้ำตาล มักหมายถึงการมีอัลลีลที่แตกต่างของยีนยีนหนึ่ง ยีนเหล่านี้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เกิดการอยู่รอดของอัลลีลที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ยีนเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมที่ถอดรหัสได้เป็นสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า exon และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intron.
รสนิยมทางเพศ
รสนิยมทางเพศ หรือ เพศวิถี (sexual orientation) มีความหมายถึงรูปแบบพื้นฐานของอารมณ์ ความใคร่ และ/หรือ ความสนใจทางเพศต่อชาย หญิง หรือทั้งสองเพศ หรือไม่ใช่เพศไหน หรือเพศที่ 3 จากข้อมูลของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน รสนิยมทางเพศ คือความมีอยู่ และอาจหมายถึง ความรู้สึกของบุคคล เรื่อง ลักษณะเฉพาะตัวและอัตลักษณ์ทางสังคม ที่ดูจากด้านความสนใจ การปลดปล่อยพฤติกรรม และการเป็นสมาชิกของสังคมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู.
ระบบประสาท
ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.
ระดับเชาวน์ปัญญา
ระดับเชาวน์ปัญญา หรือ ไอคิว (IQ ย่อจาก Intelligence quotient) หมายถึง ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง ไอคิว เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก ไอคิว สามารถวัดออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลขที่แน่นอนได้.
ดู โรคใคร่เด็กและระดับเชาวน์ปัญญา
ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์
ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ (scientific method) หรือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) เป็นหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบและเสาะหาความรู้ใหม่แบบวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์เสนอความเชื่อใหม่เกี่ยวกับโลกในรูปของทฤษฎีที่ผ่านขั้นตอนของ การสังเกต, การตั้งสมมติฐาน, และการอนุมาน ผลการทำนายของทฤษฎีเหล่านี้จะถูกทดสอบด้วยการทดลอง ถ้าผลการทำนายนั้นถูกต้องหรือสอดคล้องกับการทดลอง ทฤษฎีดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ ทฤษฎีที่ความน่าเชื่อถือจะถูกนำไปทดลองซ้ำเพื่อยืนยันความถูกต้องเพิ่มเติม ระเบียบวิธีนี้ถูกจัดให้เป็นตรรกะสำคัญของธรรมเนียมปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระสำคัญนั้นระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์คือวิธีการที่รอบคอบมาก สำหรับสร้างความเข้าใจ ที่มีหลักฐานและยืนยันได้เกี่ยวกับโลก.
ดู โรคใคร่เด็กและระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์
รักร่วมเพศ
รักร่วมเพศ (homosexuality) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา" รักร่วมเพศ, ไบเซ็กชวล และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมินLeVay, Simon (1996).
รักต่างเพศ
รักต่างเพศ (Heterosexuality) หมายถึง ความรักทั้งในทางโรแมนติกและทางเพศ ระหว่างสองบุคคลที่เป็นเพศตรงข้าม รักต่างเพศถือเป็นรสนิยมทางเพศอย่างหนึ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับรักเพศเดียวกัน โดยจะมีความรักในทั้งทางโรแมนติกและทางเพศ กับบุคคลในเพศตรงข้าม หรือมีความรักเฉพาะในทางโรแมนติกเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีความสนใจในเรื่องเพศเลยก็ได้ หมวดหมู่:เพศภาวะ หมวดหมู่:มนุษยสัมพันธ์ หมวดหมู่:เพศศึกษา หมวดหมู่:รสนิยมทางเพศ หมวดหมู่:ความรัก.
รัฐ
รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 1.
รัฐสภาสหรัฐ
รัฐสภาสหรัฐ (United States Congress) เป็นสภานิติบัญญัติสูงสุดในระบบการปกครองสหรัฐ ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ ที่ประกอบด้วย วุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) สมาชิกของทั้งสองสภาได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด รัฐธรรมนูญสหรัฐให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำแหน่ง (impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาฟ้องดังกล่าว ปัจจุบันเป็นสมัยประชุมที่ 115 เริ่มเมื่อวันที่ 3 มกราคม..
รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ
รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.
ดู โรคใคร่เด็กและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ
วลาดีมีร์ นาโบคอฟ
วลาดีมีร์ นาโบคอฟ (Владимир Владимирович Набоков, Vladimir Vladimirovich Nabokov) (22 เมษายน ค.ศ. 1899 – 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1977) วลาดีมีร์ นาโบคอฟเป็นนักประพันธ์ชาวรัสเซีย เป็นนักเขียนนวนิยายและนักเขียนเรื่องสั้นชาวรัสเซีย “โลลิตา” (ค.ศ.
ดู โรคใคร่เด็กและวลาดีมีร์ นาโบคอฟ
วัยรุ่น
วัยรุ่น คือขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาระหว่างวัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา (เช่นระบบสืบพันธุ์) ทางจิตวิทยา และทางสังคม การสิ้นสุดของการเป็นวัยรุ่นและเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ค่อนข้างมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศหรือตามกลุ่มสังคม ซึ่งจะเห็นได้จากการที่บุคคลนั้นได้รับความเชื่อมั่นหรือไว้ใจให้ทำหน้าที่หรืองานต่างๆ เช่น การขับขี่ยานพาหนะ การมีความสัมพันธ์ทางเพศ การเป็นทหาร การเลือกตั้ง หรือการแต่งงานเป็นต้น การเป็นวัยรุ่นมักจะสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของเสรีภาพที่ได้รับจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง หรือสิทธิตามกฎหมาย หรือความสามารถในการตัดสินใจในบางเรื่องโดยไม่ต้องขอความยินยอม.
วัยเริ่มเจริญพันธุ์
วัยเริ่มเจริญพันธุ์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพซึ่งกายของเด็กเจริญเต็มที่สู่กายผู้ใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อให้พร้อมแก่การปฏิสนธิได้ วัยเริ่มเจริญพันธุ์เริ่มจากสัญญาณฮอร์โมนจากสมองไปยังต่อมบ่งเพศ คือ รังไข่ในเด็กหญิงและอัณฑะในเด็กชาย ต่อมบ่งเพศสนองต่อสัญญาณดังกล่าวโดยผลิตฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นความต้องการทางเพศ (libido) และการเติบโต การทำหน้าที่และการแปรรูปของสมอง กระดูก กล้ามเนื้อ เลือด ผิวหนัง ขน หน้าอกและอวัยวะเพศ การเติบโตทางกาย ความสูงและน้ำหนัก เร่งเร็วขึ้นในครึ่งแรกของวัยเริ่มเจริญพันธุ์และเสร็จเมื่อเด็กนั้นพัฒนากายผู้ใหญ่ ความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์อย่างเดียว คือ อวัยวะเพศภายนอก จนกว่ามีการเจริญเต็มที่ของสมรรถภาพสืบพันธุ์ โดยเฉลี่ย เด็กหญิงเริ่มวัยเริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10–11 ปี เด็กชายเริ่มที่อายุ 11–12 ปี ปกติเด็กหญิงเสร็จวัยริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 15–17 ขณะที่เด็กชายปกติเสร็จเมื่ออายุ 16–17 ปี จุดกำหนดสำคัญของวัยเริ่มเจริญพันธุ์ของหญิง คือ การเริ่มแรกมีระดู หรือการเริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยเกินระหว่างอายุ 12–13 ปี สำหรับชายเป็นการหลั่งน้ำกามครั้งแรก ซึ่งเฉลี่ยเกิดเมื่ออายุ 13 ปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อายุเฉลี่ยซึ่งเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กหญิง ถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้แก่ 15 ปีสำหรับเด็กหญิง และ 16 ปีสำหรับเด็กชาย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเนื่องจากหลายปัจจัย รวมถึงโภชนาการที่ดีขึ้นซึ่งส่งผลให้ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว น้ำหนักและการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น หรือการสัมผัสกับตัวรบกวนฮอร์โมน เช่น ซีโนเอสโตรเจน ซึ่งบางครั้งอาจเนื่องจากการบริโภคอาหารหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น วัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่เริ่มเร็วกว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ก่อนวัย ส่วนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ซึ่งเริ่มช้ากว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ล่าช้า การเปลี่ยนแปลงกายสัณฐานวิทยาในขนาด รูปทรง องค์ประกอบและการทำหน้าที่ของกายวัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่โดดเด่น คือ การพัฒนาลักษณะทางเพศทุติยภูมิ คือ การเปลี่ยนจากกายเด็ก จากเด็กหญิงเป็นหญิงสาว จากเด็กชายเป็นชายหนุ่ม คำว่า วัยเริ่มเจริญพันธุ์อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสู่การเจริญเต็มที่ทางเพศ มิใช่การเจริญเต็มที่ทางจิตสังคมและวัฒนธรรมซึ่งแสดงด้วยคำว่า "พัฒนาการเยาวชน" ในวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเยาวชน คือ ช่วงการเปลี่ยนผ่านทางจิตใจจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งทับซ้อนกับช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์เสียมาก หมวดหมู่:เยาวชน หมวดหมู่:การเจริญของมนุษย์ หมวดหมู่:เพศสภาพกับอายุ.
ดู โรคใคร่เด็กและวัยเริ่มเจริญพันธุ์
วัยเด็ก
วัยเด็ก คือวัยที่มีระยะช่วงเวลาตั้งแต่การเกิดจนถึงวัยรุ่น ตามทฤษฎีการเจริญการรู้ของปยาเชอ (Piaget's theory of cognitive development) วัยเด็กประกอบด้วยสองขั้น คือ ขั้นก่อนดำเนินการ (preoperational stage) และขั้นดำเนินการรูปธรรม (concrete operational stage) ในจิตวิทยาการเจริญ (developmental psychology) วัยเด็กแบ่งเป็นขั้นการเจริญวัยหัดเดิน (toddlerhood) วัยเด็กตอนต้น (วัยเล่น) วัยเด็กตอนกลาง (วัยเรียน) และวัยรุ่น (วัยเริ่มเจริญพันธุ์ถึงหลังวัยเริ่มเจริญพันธุ์) ปัจจัยวัยเด็กหลายอย่างสามารถส่งผลต่อการก่อเจตคติของบุคคล.
ศาลเถื่อน
ลเถื่อน (kangaroo court หรือ kangaroo trial) หมายถึง ศาลที่ละเลยหรือบิดเบือนหลักการทางกฎหมายและความยุติธรรม ตุลาการของศาลเถื่อน เรียก "ตุลาการกำมะลอ" (mock justice) คำว่า "kangaroo court" นั้น เชื่อได้ว่าไม่ได้มีที่มาจากประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยหลักของจิงโจ้ (kangaroo) แต่มีการใช้ครั้งแรกสุดในการขุดทองที่แคลิฟอร์เนียเมื่อ พ.ศ.
ศีรษะ
ีรษะของมนุษย์ภาคตัดตามแนวขวาง (Sagittal plane) ในทางกายวิภาคศาสตร์ ศีรษะ (caput, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ หัวของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ในมนุษย์มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า สมอง เส้นประสาทสมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ฟัน อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่นหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และไขมัน สัตว์ชั้นต่ำหลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษ.
ศีลธรรม
ีลธรรม (Morality) หมายถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบทั้งศีลและธรรม ศีลธรรม ในคำวัดหมายถึง เบญจศีล และ เบญจธรรม คือศีล 5 และธรรม 5 ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข ไม่สดุ้งกลัว ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญ สังคมที่สงบสุข ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น ก็เพราะสมาชิกของสังคมยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมนี้ ศีลธรรม เป็นชื่อวิชาหนึ่งในโรงเรียนที่กำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเรียนมาตั้งแต่สมัยโบราณเรียกว่า วิชาศีลธรรม ปัจจุบันเรียกว่า วิชาพุทธศาสน.
สภาวะตื่นตัว
ใน สรีรวิทยาและจิตวิทยา สภาวะตื่นตัว หรือ ความตื่นตัว (arousal) เป็นสภาวะของการตื่นตัวหรือการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น จะมีความตื่นตัวได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานในระบบ reticular activating system (ตัวย่อ RAS)ในก้านสมอง ในระบบระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) และในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและความดันเลือด และสภาวะความตื่นตัวทางความรู้สึก ทางการเคลื่อนไหว และทางความพร้อมเพรียงในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น มีระบบประสาทหลายระบบที่เกี่ยวข้องกัน ที่เรียกรวมๆ กันว่า ระบบความตื่นตัวนี้ ระบบสำคัญ 4 ระบบในก้านสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับเปลือกสมองทั้งหมด มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับสารสื่อประสาทรวมทั้งอะเซทิลโคลิน (acetylcholine) นอเรพิเนฟรีน (norepinephrine) โดพามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin) เมื่อระบบสำคัญเหล่านี้ทำงานอยู่ เขตประสาทส่วนต่างๆ ที่รับสารสื่อประสาทเหล่านั้น ก็จะเริ่มมีความไวและมีการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามาในเขตประสาท.
สมอง
มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.
สหรัฐ
หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).
สหราชอาณาจักร
หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..
ดู โรคใคร่เด็กและสหราชอาณาจักร
สหสัมพันธ์
ำหรับสถิติศาสตร์ สหสัมพันธ์ (correlation) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรสุ่มตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป Several sets of (''x'', ''y'') points, with the Pearson correlation coefficient of ''x'' and ''y'' for each set.
สังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (social science) คือ สาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2529: 129) ทรงกล่าวถึงความหมายของสังคมศาสตร์และขอบเขตของการศึกษาวิชานี้ไว้ว่า สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตามความเป็นจริง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ.
สารานุกรมบริตานิกา
รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.
ดู โรคใคร่เด็กและสารานุกรมบริตานิกา
สำนักงานสอบสวนกลาง
ำนักงานสอบสวนกลาง ย่อว่า เอฟบีไอ ชื่อเดิม สำนักงานสอบสวน ย่อว่า บีโอไอ (Bureau of Investigation: BOI) เป็นหน่วยงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงภายในของสหรัฐ และเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับกลางของสหรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ภายในเขตอำนาจของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ทั้งเป็นสมาชิกของประชาคมข่าวกรองสหรัฐ รายงานตรงต่อทั้งอัยการสูงสุดสหรัฐและผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ อนึ่ง เอฟบีไอยังเป็นองค์การหลักของสหรัฐในการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านข่าวกรอง และการสืบสวนอาชญากรรม โดยมีเขตอำนาจเหนือการละเมิดกฎหมายในกลุ่มอาชญากรรมกลางกว่า 200 กลุ่ม แม้ว่าหน้าที่หลายอย่างของเอฟบีไอจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ กิจกรรมของเอฟบีไอในการสนับสนุนงานด้านความมั่นคงแห่งชาตินั้นเทียบได้กับบทบาทของหน่วยงานเอ็มไอไฟฟ์ (MI5) ของบริเตน และเอฟเอสบี (FSB) ของรัสเซีย แต่ไม่เหมือนกับสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) เพราะซีไอเอไม่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย และเน้นการรวบรวมข่าวกรองจากต่างประเทศ ขณะที่เอฟบีไอเป็นหน่วยงานภายในประเทศ โดยมีสำนักงานภาคสนาม (field office) 56 แห่งในนครหลักทั่วสหรัฐ ทั้งสำนักงานประจำ (resident office) อีก 400 แห่งในนครเล็กและท้องที่อื่นทั่วประเทศ ที่สำนักงานภาคสนาม เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจะทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติไปพร้อมกันด้วย แม้จะเน้นเรื่องภายในประเทศ เอฟบีไอก็ยังมีเขตบริการระหว่างประเทศ (international footprint) ที่สำคัญอยู่หนึ่งเขต ทำหน้าที่บริหารสำนักงานนิติกรทูต (Legal Attache office) 60 แห่ง กับสำนักงานย่อย (sub-office) อีก 15 แห่ง ซึ่งอยู่ในสถานทูตและกงสุลสหรัฐทั่วโลก สำนักงานต่างแดนเหล่านี้มีขึ้นเพื่อประสานงานกับหน่วยงานราชการด้านความมั่นคงในต่างประเทศเป็นหลัก และโดยปรกติแล้วจะไม่ปฏิบัติการฝ่ายเดียวภายในประเทศที่ตั้งสำนักงาน อนึ่ง เอฟบีไอยังสามารถดำเนินกิจกรรมลับในต่างประเทศ ซึ่งก็ได้ปฏิบัติในบางครั้ง ในทำนองเดียวกับที่ซีไอเอมีหน้าที่จำกัดในประเทศ กิจกรรมดังกล่าวโดยทั่วไปแล้วต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน เอฟบีไอก่อตั้งขึ้นใน..
ดู โรคใคร่เด็กและสำนักงานสอบสวนกลาง
สื่อลามกอนาจารเด็ก
ื่อลามกอนาจารเด็ก (Child pornography) คือสื่อลามกอนาจารที่ฉวยประโยชน์จากเด็ก (รวมทั้งวัยรุ่น) มีจุดประสงค์เพื่อเร้าอารมณ์ทางเพศ ซึ่งอาจจะผลิตโดยทำร้ายเด็กทางเพศ (เช่น ภาพทารุณเด็กทางเพศ) หรืออาจจะเป็นสื่อแบบเทียมคือเป็นสื่อแต่ง ใช้ผู้ใหญ่ที่แต่งให้เหมือนเด็ก หรือเป็นภาพสร้างขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ล้วน ๆ โดยบางทีแม้ภาพวาดหรือแอนิเมชัน ก็สามารถพิจารณาว่าเป็นสื่อเทียมได้เหมือนกัน ทารุณกรรมต่อเด็กเกิดขึ้นเมื่อมีกิจกรรมทางเพศกับเด็ก หรือให้เด็กแสดงบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณหัวหน่าวเพื่อเร้าอารมณ์ แล้วบันทึกลงในสื่อ สื่อที่ใช้อาจมีหลายแบบ รวมทั้งวรรณกรรม นิตยสาร ภาพถ่าย ประติมากรรม จิตรกรรม การ์ตูน แอนิเมชัน บันทึกเสียง วิดีโอ และวิดีโอเกม กฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กมักจะรวมภาพทางเพศที่เกี่ยวกับเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ เด็กวัยเจริญพันธุ์ ผู้เยาว์หลังวัยเจริญพันธุ์ และภาพเด็กที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ ผู้ทำผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กที่ถูกจับโดยมากจะมีรูปเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ที่มีภาพเด็กหลังวัยเจริญพันธุ์มีโอกาสน้อยกว่าที่จะถูกดำเนินคดี แม้ว่าจะผิดกฎหมายเช่นกัน ผู้ผลิตสื่อนาจารเด็กพยายามจะหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีโดยขายสื่อนอกประเทศ แต่ก็มีการจับกุมผู้ทำผิดเช่นนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศต่าง ๆ คนใคร่เด็กดูและเก็บสะสมสื่อเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์มีจุดประสงค์หลายอย่าง เริ่มตั้งแต่การใช้เพื่อประโยชน์ทางเพศส่วนตัว การแลกเปลี่ยนกับคนใคร่เด็กอื่น ๆ การเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรมทางเพศ หรือการหลอกล่อเด็กให้ติดกับเพื่อฉวยประโยชน์ทางเพศ เช่น เพื่อทำสื่อลามกหรือเพื่อการค้าประเวณี เด็กบางครั้งก็ผลิตสื่อลามกเองหรือเพราะถูกบีบบังคับโดยผู้ใหญ่ สื่อลามกอนาจารเด็กผิดกฎหมายและจะถูกตรวจพิจารณาในที่ต่าง ๆ โดยมากในโลก รวมทั้งประเทศไทยที่นิยามคำว่า "เด็ก" ว่าหมายถึงบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ประเทศสมาชิกขององค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) 94 ประเทศจาก 187 มีกฎหมายโดยเฉพาะในเรื่องนี้โดยปี 2551 และนี่ยังไม่ได้รวมประเทศที่ห้ามสื่อลามกทุกอย่าง ในบรรดา 94 ประเทศเหล่านี้ การมีสื่อลามกอนาจารเด็กจัดเป็นอาชญากรรมใน 58 ประเทศไม่ว่าตั้งใจจะขายหรือเผยแพร่หรือไม่ รวมทั้งประเทศไทย ทั้งการเผยแพร่และการมี จัดเป็นอาชญากรรมในประเทศตะวันตกโดยมาก มีขบวนการที่ขับเคลื่อนให้สื่อลามกอนาจารเด็กเป็นสิ่งผิดกฎหมายทั่วโลก รวมทั้งองค์กรเช่นสหประชาชาติและคณะกรรมาธิการยุโรป เหตุผลที่ต้องมีกฎหมายสื่อลามกเด็กเป็นการเฉพาะ เหตุผลที่ประเทศต่างๆ มีกฎหมายสื่อลามกเด็กโดยเฉพาะแยกต่างหากจากกฎหมายสื่อลามกผู้ใหญ่ เนื่องจากแนวคิดควบคุมสื่อลามกทั้งสองประเภทต่างกัน เหตุผลหลักในการกำหนดโทษอาญากับการกระทำที่เกี่ยวกับสื่อลามกผู้ใหญ่ตั้งอยู่บนแนวคิดเรื่องการปกป้องศีลธรรมโดยรวมของสังคม กล่าวคือ ภาครัฐเชื่อว่าการปล่อยให้มีการผลิต จำหน่าย หรือ เผยแพร่สื่อลามกผู้ใหญ่อย่างเสรีอาจก่อให้เกิดความเสื่อมทรามต่อศีลธรรมทางเพศของคนในสังคมได้ การกำหนดโทษอาญาเพื่อควบคุมและปราบปรามสื่อลามกเด็กมีเหตุผลพื้นฐานที่ต่างออกไป กล่าวคือ เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เพราะการผลิตสื่อลามกเด็ก (โดยเฉพาะที่ใช้เด็กจริงๆ แสดง) เป็นรูปแบบหนึ่งของการล่วงละเมิดทางเพศจากเด็ก ในด้านร่างกาย เด็กยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ การให้เด็กมีกิจกรรมทางเพศอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บในด้านจิตใจ เนื่องจากการเรียนรู้ของเด็กยังไม่พัฒนาเพียงพอที่จะเข้าใจในเรื่องความเหมาะสมของเรื่องเพศ การบังคับหรือล่อลวงให้เด็กมีกิจกรรมทางเพศหรือการถ่ายภาพยั่วยุทางเพศต่างๆ ถือได้ว่าเป็นการทำร้ายจิตใจเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเด็กพบว่าสิ่งที่ตนกระทำไปเป็นเรื่องไม่เหมาะสมสำหรับวัยตัวเอง ก็อาจเกิดความอับอายกลายเป็นบาดแผลทางจิตใจซึ่งอาจจะฝังลึกในใจเด็กไปตลอดชีวิต นอกจากนี้ ในหลายๆ กรณี การที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมทางเพศโดยไม่สมัครใจหรือเกิดจากการล่อลวง บังคับข่มขู่ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบจากความเยาว์วัยของเด็กที่ยังไม่มีความสามารถในการตัดสินใจเพียงพอเกี่ยวกับความเหมาะสมของการมีเพศสัมพันธ์ ยิ่งในกรณีของสื่อลามกเด็กบนอินเทอร์เน็ต ผลกระทบร้ายแรงต่อตัวเด็กอาจขยายเป็นวงกว้างกว่า กล่าวคือ ภาพหรือคลิปวิดีโอบันทึกการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กดังกล่าวจะถูกส่งผ่านต่อกันไปและหมุนเวียนอยู่ในโลกไซเบอร์ไม่มีวันสิ้นสุด สิ่งนี้ยิ่งสร้างบาดแผลทางใจให้กับเด็กผู้ปรากฏในสื่อลามกอย่างไม่มีทางเยียวยาหรือลบเลือนออกไปได้.
ดู โรคใคร่เด็กและสื่อลามกอนาจารเด็ก
หญิง
หญิง อาจหมายถึง.
หมดสติชั่วคราว
หมดสติชั่วคราว (syncope, "ซิงคะพี") คือการที่ผู้ป่วยมีทั้งอาการหมดสติและเสียการทรงตัว (postural tone) พร้อมกัน มีลักษณะเฉพาะคือ เป็นเร็ว เป็นไม่นาน และหายได้เอง ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงจากสาเหตุต่างๆ ที่พบบ่อยคือภาวะความดันเลือดต่ำ.
ดู โรคใคร่เด็กและหมดสติชั่วคราว
ออนไลน์และออฟไลน์
ออนไลน์ (Online, on-line) และ ออฟไลน์ (Offline, off-line) เป็นคำศัพท์ในวงการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ออนไลน์แสดงถึงสถานะของการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายใด ๆ และออฟไลน์แสดงถึงสถานะของการไม่เชื่อมต่อ ในความหมายปกติทั่วไป ออนไลน์อาจหมายถึงการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตหรือเวิลด์ไวด์เว็.
ดู โรคใคร่เด็กและออนไลน์และออฟไลน์
อาชญากรรม
อาชญากรรม คือ การกระทำผิด โดยทำให้เกิดความเดือดร้อน เสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน หรือ บุคคล เป็นการเรียกการกระทำทางคดีอาญาแบบทั่วไป ตัวอย่าง อาชญากรรม เช่น การฆ่าคนตาย ปล้นทรัพย์ ข่มขืน ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปของทุกสังคมมักกำหนดบทลงโทษของผู้ก่ออาชญากรรม (เรียกว่า อาชญากร).
อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้
#D3D3D3 – ไม่มีข้อมูล อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ (age of consent) คือ อายุที่บุคคลบรรลุแล้วกฎหมายก็อนุญาตให้สามารถร่วมประเวณีหรือถูกกระทำทางเพศได้นับแต่นั้นเป็นต้นไป ซึ่งไม่พึงสับสนกับนิติภาวะและอายุที่อยู่ในเกณฑ์สมรสได้ อายุที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ ย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละรัฐนั้น ๆ จะกำหนด ทั้งนี้ ค่ามัธยฐานของการกำหนดดังกล่าวอยู่ที่อายุระหว่างสิบสี่ถึงสิบหกปี อายุน้อยสุดที่มีกำหนดไว้คือตั้งแต่สิบสองปี ส่วนมากสุดได้แก่ยี่สิบเอ็ดปี ประเทศไทยมิได้กำหนดเกณฑ์อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 และมาตรา 279 บัญญัติห้ามมิให้กระทำชำเราหรือกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าจะหญิงหรือชาย ที่ไม่ใช่ภรรยาหรือสามีของตน แต่ว่า การนำพาผู้เยาว์อายุระหว่าง 15-18 ปีไปเพื่อการอนาจาร ผิดกฎหมายมาตรา 283 ทวิ ไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมหรือไม่ นอกจากนั้นแล้ว การพรากผู้เยาว์อายุระหว่าง 15-18 ปีไปเพื่อการอนาจาร แม้ว่าผู้เยาว์จะยินยอมพร้อมใจ ก็ยังผิดกฎหมายอาญา มาตรา 319 อีกด้วย ดังที่พบในคดีฟ้องร้องต่อแด๊ก บิ๊กแอส (นายเอกรัตน์ วงศ์ฉลาด) ที่ต่อมาศาลอุทธรณ์ยกฟ้องฐานสำคัญผ.
ดู โรคใคร่เด็กและอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้
อารมณ์ทางเพศ
อารมณ์ทางเพศ (Sexual arousal) เป็นความรู้สึกขณะที่ร่างกายมีการตอบสนองต่อสัญชาตญาณในการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ โดยร่างกายจะทำการสูบฉีดเลือดไปกระตุ้นบริเวณรอบๆอวัยวะเพศ เมื่อร่างกายมีการตอบสนอง เซลล์ประสาทโดยรอบจะส่งผลให้เกิดความต้องการที่จะถูกสัมผัส ทำให้เกิดการร่วมเพศต่อไป หมวดหมู่:อารมณ์.
อินเทอร์เน็ต
วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.
อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง
อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง หรือ ความเอนเอียงโดยการคัดเลือก"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ selection ว่า "การคัดเลือก, การเลือกสรร, และการเลือกหา" (Selection bias) คือความผิดพลาดทางสถิติ เนื่องมาจากวิธีการเลือกตัวอย่างหรือกลุ่มตัวอย่างในงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ที่โดยเฉพาะหมายถึงการคัดเลือกบุคคล กลุ่ม หรือข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ โดยที่ไม่มีการสุ่ม (randomization) ที่สมควร และดังนั้นจึงทำให้ตัวอย่างที่ชัก ไม่สามารถเป็นตัวแทนประชากรที่ต้องการจะวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น.
ดู โรคใคร่เด็กและอคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง
องค์การอนามัยโลก
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..
ดู โรคใคร่เด็กและองค์การอนามัยโลก
ฮอร์โมน
อร์โมน (hormone มาจากภาษากรีก horman แปลว่า เคลื่อนไหว) คือ ตัวนำส่งสารเคมีจากเซลล์กลุ่มของเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งพืชและสัตว์ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น.
ผู้ป่วย
แพทย์กำลังวัดความดันเลือดให้กับผู้ป่วย ผู้ป่วย, ผู้รับการรักษา, คนไข้ หมายถึงผู้ที่เข้ารับบริการสุขภาพรูปแบบใด ๆ จากแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติ สัตวแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการป่วยจากโรคหรือการบาดเจ็บ และจำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่บางครั้งอาจไม่ต้องก็ได้ หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์ หมวดหมู่:การพยาบาล หมวดหมู่:มนุษย์.
ผู้ใหญ่
ในทางชีววิทยา ผู้ใหญ่ คือ มนุษย์ที่ถึงช่วงการเจริญทางเพศเต็มที่ คำนี้ยังมีความหมายสัมพันธ์กับมโนทัศน์ทางสังคมและกฎหมายด้วย ตรงข้ามกับ "ผู้เยาว์" ผู้ใหญ่ตามกฎหมายคือบุคคลที่อายุถึงอายุที่บรรลุนิติภาวะ ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นอิสระ พึ่งตนเองได้และมีความรับผิดชอบ วัยผู้ใหญ่ของมนุษย์รวมเอาการเจริญผู้ใหญ่ทางจิตวิทยา นิยามของวัยผู้ใหญ่มักไม่ตรงและขัดแย้งกัน บุคคลอาจเป็นผู้ใหญ่ทางชีววิทยา และมีพฤติกรรมผู้ใหญ่ แต่ยังถูกปฏิบัติเหมือนเด็กหากมีอายุต่ำกว่าอายุที่บรรลุนิติภาวะ ในทางกลับกัน บุคคลอาจเป็นผู้ใหญ่ทางกฎหมายแต่ไม่มีวุฒิภาวะและความรับผิดชอบซึ่งอาจนิยามลักษณะของผู้ใหญ่ หมวดหมู่:วุฒิภาวะ หมวดหมู่:มโนทัศน์ชีววิทยา.
จิตวิทยา
ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.
จิตแพทย์
ตแพทย์ (psychiatrist) เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านจิตเวชศาสตร์และได้รับการรับรองให้ทำการรักษาความผิดปกติทางจิตAmerican Psychiatric Association.
จิตเวชศาสตร์
ตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต ต่างกับ คำว่า จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ อาการบกพร่องทางจิต มีความหมายตามแนวความคิดที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นอาการที่เกิดจากความบกพร่องจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนาสมองที่ถูกกำหนดจากยึน และสภาพแวดล้อม.
จินตนาการ
นตนาการ (Imagination) เป็นความสามารถในการสร้างภาพในสมอง ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่ได้รับรู้ผ่านการมองเห็น การได้ยิน หรือผ่านวิธีการรับรู้อื่น ๆ จินตนาการถือได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการนำความรู้ไปใช้งานจริงและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และยังเป็นรากฐานในการรวมประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้เข้าด้วยกันNorman 2000 pp.
ทัศนคติ
ทัศนคติ หรือ เจตคติ ในทางจิตวิทยา คือการแสดงออกถึงความชอบหรือไม่ชอบต่อบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ซึ่งเรียกว่าวัตถุแห่งทัศนคติ) กอร์ดอน ออลพอร์ต นักจิตวิทยาได้อธิบายเกี่ยวกับทัศนคติไว้ว่า "เป็นแนวคิดอันเด่นชัดที่สุดและจำเป็นที่สุดในจิตวิทยาสังคมร่วมสมัย" Allport, Gordon.
ทารก
ทารก (infant) คือ เด็กแบเบาะ หรือ เด็กเล็กๆ โดยทั่วไปหมายถึงเด็กอายุระหว่าง 1 เดือนขึ้นไป จนถึง 1-2 ปี ทารกอายุน้อยกว่า 1 เดือน เรียกว่า ทารกแรกเกิด (newborn, neonate) เด็กอายุ 1-2 ปีขึ้นไป อาจเรียกว่า เด็กวัยหัดเดิน (toddler) เด็กที่อยู่ในครรภ์ เรียกว่า ทารกในครรภ์ (fetus).
ดิอินดีเพ็นเดนต์
อินดีเพ็นเดนต์ (The Independent) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1986 โดยIndependent News & Media ฉบับวันราชการเรียกกันสั้นๆ ว่า “อินดี้” และฉบับวันอาทิตย์เรียกกันสั้นๆ ว่า “ซันดี้” “ดิอินดีเพ็นเดนต์” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับล่าที่สุดฉบับหนึ่งในสหราชอาณาจักร ในปี..
ดู โรคใคร่เด็กและดิอินดีเพ็นเดนต์
คริสต์ศตวรรษ
หน้านี้แสดงช่วงเวลาเป็นสหัสวรรษและศตวรรษตามปีคริสต์ศักร.
คริสต์ทศวรรษ
ริสต์ทศวรรษ เป็นช่วงสิบปีของ คริสต์ศักราช ในการกล่าวถึงประวัติศาสตร์บางครั้งนิยมกล่าวถึงในลักษณะช่วงของทศวรรษซึ่งเป็นการเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาหลายปี.
ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน
ลักษณะ ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน หรือ ความสนใจภายนอก-ความสนใจภายใน (extraversion-introversion) เป็นมิติหลักอย่างหนึ่งของทฤษฎีบุคลิกภาพมนุษย์ ส่วนคำภาษาอังกฤษทั้งสองคำ คือ introversion และ extraversion เป็นคำที่จิตแพทย์ คาร์ล ยุง ได้สร้างความนิยม (translation H.G.
ดู โรคใคร่เด็กและความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน
ความผิดปกติทางจิต
วามผิดปกติทางจิต หรือ การป่วยทางจิต เป็นรูปแบบทางจิตวิทยาหรือวิกลภาพ ซึ่งอาจสะท้อนออกมาทางพฤติกรรม ที่โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับความทุกข์ทรมาน (distress) หรือความพิการ และไม่ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการปกติของวัฒนธรรมของบุคคล ความผิดปกติทางจิตโดยทั่วไปนิยามโดยการรวมว่าบุคคลรู้สึก กระทำ คิดหรือรับรู้อย่างไร ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือการทำหน้าที่ของสมองหรือระบบประสาทส่วนที่เหลือ มักในบริบททางสังคม การยอมรับและการเข้าใจภาวะสุขภาพจิตเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและวัฒนธรรม และยังมีข้อแตกต่างในการนิยาม ประเมินและจำแนกอยู่บ้าง แม้เกณฑ์แนวปฏิบัติมาตรฐานจะใช้กันอย่างกว้างขวางก็ตาม ในหลายกรณี ดูเหมือนจะมีความต่อเนื่องระหว่างสุขภาพจิตและการป่วยทางจิต ทำให้การวินิจฉัยซับซ้อน ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประชาชนกว่าหนึ่งในสามในประเทศส่วนใหญ่รายงานปัญหาที่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของเขา ซึ่งเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยประเภทความผิดปกติทางจิตที่พบทั่วไปหนึ่งชนิดหรือมากกว่าWHO International Consortium in Psychiatric Epidemiology (2000), Bulletin of the World Health Organization v.78 n.4 สาเหตุของความผิดปกติทางจิตมีหลากหลายและไม่ชัดเจนในบางกรณี และหลายทฤษฎีอาจรวมเอาการค้นพบจากหลายสาขาเข้าด้วยกัน มีการบริหารอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชหรือในชุมชน และการประเมินกระทำโดยจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และนักสังคมสงเคราะห์คลินิก โดยใช้หลายวิธี แต่มักอาศัยการสังเกตและการถาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจำนวนมากเป็นผู้ให้การรักษาทางคลินิก จิตบำบัดและการเยียวยาจิตเวชเป็นสองทางเลือกหลักในการรักษา เช่นเดียวกับการแทรกแซงทางสังคม การสนับสนุนจากเพื่อนและการช่วยเหลือตนเอง ในกรณีส่วนน้อยอาจมีการกักขังโดยไม่สมัครใจหรือการรักษาโดยไม่สมัครใจ ตามที่กฎหมายอนุญาต การประทับตราทางสังคม (social stigma) และการเลือกปฏิบัติเพราะสภาพจิต (mentalism หรือ sanism) สามารถซ้ำเติมความทุกข์ทรมานและความพิการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิต (หรือที่ถูกวินิจฉัยหรือตัดสินว่ามีความผิดปกติทางจิต) นำไปสู่ขบวนการทางสังคมจำนวนมากที่พยายามเพิ่มความเข้าใจและคัดค้านการกีดกันทางสังคม ปัจจุบันการป้องกันปรากฏในยุทธศาสตร์สุขภาพจิตบ้างแล้ว.
ดู โรคใคร่เด็กและความผิดปกติทางจิต
ความต้องการ
ความต้องการ เป็นรูปแบบทางจิตวิทยาหรือความรู้สึก ที่นำไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือเหตุผล การกระทำของพฤติกรรม แบบจำลองสำหรับความต้องการที่เป็นที่รู้จักคือ ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ที่นิยามในปี ค.ศ.
ความเชื่อ
วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.
ความเป็นจริง
วามเป็นจริง เป็นสภาพของสิ่งตามที่มีอยู่จริง หาใช่สภาพของสิ่งที่อาจปรากฏหรืออาจจินตนาการขึ้น ในคำนิยามอย่างกว้าง ความเป็นจริงรวมไปถึงทุกสิ่งที่มีอยู่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะสังเกตได้หรือเข้าใจได้หรือไม่ก็ตาม นิยามกว้างกว่านั้นรวมถึงทุกสิ่งที่เคยมีอยู่ในอดีต มีอยู่ในปัจจุบัน หรือจะมีอยู่ในอนาคต นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ และนักคิดอื่นทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ เช่น อริสโตเติล เพลโต เฟรเกอ วิทท์เกนชไตน์ และรัสเซลล์ ต่างแยกความแตกต่างระหว่างความคิดที่สัมพันธ์กับความเป็นจริง ภาวะนามธรรมสัมพันธ์ และความคิดที่ไม่สามารถเป็นความคิดที่สมเหตุผล ในทางตรงข้าม การดำรงอยู่นั้นมักจำกัดอยู่เฉพาะการดำรงอยู่ทางกายภาพหรือมีพื้นฐานโดยตรงในสิ่งนั้นอย่างเดียวกับความคิดในสมอง.
คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า
อร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex, ตัวย่อ PFC) เป็นส่วนหน้าของสมองกลีบหน้าผาก อยู่ข้างหน้าของคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (primary motor cortex) และ คอร์เทกซ์ก่อนคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (premotor cortex) สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนหรือโปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน เกี่ยวข้องกับบุคลิก เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และเกี่ยวข้องกับการควบคุมความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับสังคม กิจหลักในสมองส่วนนี้ก็คือ การคิดและการกระทำที่เป็นไปตามเป้าหมายของแต่ละคน ในศาสตร์ของจิตวิทยา กิจที่ PFC ทำเรียกว่ากิจบริหาร (executive function) กิจบริหารมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการจำแนกความคิดที่ขัดแย้งกัน กับการตัดสินความมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ความดีและความดีที่สุด ความเหมือนกันและความต่างกัน ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากการกระทำปัจจุบัน การทำการเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ การพยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้น ความมุ่งหวังในการกระทำ และการควบคุมตนในสังคม (คือสมรรถภาพในการระงับความอยากตามสัญชาตญาณที่ถ้าไม่ระงับแล้ว ก็อาจจะนำไปสู่ผลเกี่ยวกับสังคมที่ไม่เป็นที่น่าชอบใจ) นักวิชาการหลายท่านได้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างบุคลลิกของคนๆหนึ่ง และหน้าที่ของ PFC.
ดู โรคใคร่เด็กและคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า
คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต
ู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, ย่อ: DSM) เป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) ซึ่งถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางโดยแพทย์ นักวิจัย ผู้ผลิตและผู้ตรวจสอบคุณภาพยาในทางจิตเวช และบริษัทประกันภัยทั้งในสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ในปัจจุบันฉบับปรับปรุงล่าสุดคือเป็นฉบับที่ 4 เรียกว่า DSM-IV ในปี พ.ศ.
ดู โรคใคร่เด็กและคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต
ตับ
ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.
ตัวกระตุ้น
ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.
ซิกมุนด์ ฟรอยด์
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p.
ดู โรคใคร่เด็กและซิกมุนด์ ฟรอยด์
ซีกสมอง
ซีกสมอง หรือ ซีกสมองใหญ่' (cerebral hemisphere, hemispherium cerebri) เป็นคู่ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่แยกออกจากกันโดยระนาบแบ่งซ้ายขวา คือ medial longitudinal fissure (ช่องตามยาวแนวกลาง) ดังนั้น จึงพรรณนาสมองได้ว่าแบ่งออกเป็นสมองซีกซ้าย (left cerebral hemisphere) และสมองซีกขวา (right cerebral hemisphere) สมองแต่ละซีกมีชั้นด้านนอกเป็นเนื้อเทาที่เรียกว่าเปลือกสมอง (cerebral cortex) มีชั้นด้านในเป็นเนื้อขาวที่พยุงรับชั้นด้านนอก.
ปรวิสัย
ปรวิสัย, ปรนัย, วัตถุวิสัย หรือ ภววิสัย (objectivity) คือสิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง เงื่อนไขที่เป็นความจริง โดยไม่ขึ้นอยู่กับจิตใจ นั่นคือผลของการตัดสินใด ๆ จะไม่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นและความรู้สึก ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามปรวิสัยมักจะถูกค้นพบมากกว่าที่จะถูกสร้างขึ้นมา ในทางปรัชญา สิ่งที่เป็นปรวิสัยจะเป็นจริงเสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในเวลาใด หรือกับบุคคลใด มีความหมายตรงข้ามกับอัตวิสัย ข้อเท็จจริงที่เป็นอัตวิสัยจะเป็นปรวิสัยก็ต่อเมื่อ สิ่งนั้นเป็นข้อเท็จจริงบนเงื่อนไขเฉพาะอย่าง ในเวลาเฉพาะ ในสถานที่เฉพาะ หรือกับบุคคลเฉ.
ประชาน
ประชาน หรือ ปริชาน หรือ การรับรู้ (Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางใจเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส" ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง.
ประสาทวิทยา
Jean-Martin Charcot ประสาทวิทยา (Neurology) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาท กล่าวคือเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาโรคที่จัดว่าเกี่ยวข้องกับระบบประสาทกลาง, ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และระบบประสาทอิสระ รวมทั้งหลอดเลือด เนื้อเยื่อปกคลุม และอวัยวะที่ประสาทสั่งการ เช่น กล้ามเนื้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาจะได้รับการฝึกเพื่อการสืบค้น, การวินิจฉัย และรักษาความผิดปกติของระบบประสาท.
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.
ดู โรคใคร่เด็กและประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ประเทศแคนาดา
แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.
ประเทศเช็กเกีย
็กเกีย (Czechia; Česko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic; Česká republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.
ดู โรคใคร่เด็กและประเทศเช็กเกีย
ประเทศเยอรมนี
ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.
ดู โรคใคร่เด็กและประเทศเยอรมนี
ปริมาตร
ออนซ์ และมิลลิลิตร ปริมาตร หมายถึง ปริมาณของปริภูมิหรือรูปทรงสามมิติ ซึ่งยึดถือหรือบรรจุอยู่ในภาชนะไม่ว่าจะสถานะใดๆก็ตาม บ่อยครั้งที่ปริมาตรระบุปริมาณเป็นตัวเลขโดยใช้หน่วยกำกับ เช่นลูกบาศก์เมตรซึ่งเป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ นอกจากนี้ยังเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ปริมาตรของภาชนะคือ ความจุ ของภาชนะ เช่นปริมาณของของไหล (ของเหลวหรือแก๊ส) ที่ภาชนะนั้นสามารถบรรจุได้ มากกว่าจะหมายถึงปริมาณเนื้อวัสดุของภาชนะ รูปทรงสามมิติทางคณิตศาสตร์มักถูกกำหนดปริมาตรขึ้นด้วยพร้อมกัน ปริมาตรของรูปทรงอย่างง่ายบางชนิด เช่นมีด้านยาวเท่ากัน สันขอบตรง และรูปร่างกลมเป็นต้น สามารถคำนวณได้ง่ายโดยใช้สูตรต่าง ๆ ทางเรขาคณิต ส่วนปริมาตรของรูปทรงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นสามารถคำนวณได้ด้วยแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ถ้าทราบสูตรสำหรับขอบเขตของรูปทรงนั้น รูปร่างหนึ่งมิติ (เช่นเส้นตรง) และรูปร่างสองมิติ (เช่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส) ถูกกำหนดให้มีปริมาตรเป็นศูนย์ในปริภูมิสามมิติ ปริมาตรของของแข็ง (ไม่ว่าจะมีรูปทรงปกติหรือไม่ปกติ) สามารถตรวจวัดได้ด้วยการแทนที่ของไหล และการแทนที่ของเหลวสามารถใช้ตรวจวัดปริมาตรของแก๊สได้อีกด้วย ปริมาตรรวมของวัสดุสองชนิดโดยปกติจะมากกว่าปริมาตรของวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นแต่เมื่อวัสดุหนึ่งละลายในอีกวัสดุหนึ่งแล้ว ปริมาตรรวมจะไม่เป็นไปตามหลักการบวก ในเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ ปริมาตรถูกอธิบายด้วยความหมายของรูปแบบปริมาตร (volume form) และเป็นตัวยืนยงแบบไรมันน์ (Riemann invariant) ที่สำคัญโดยรวม ในอุณหพลศาสตร์ ปริมาตรคือตัวแปรเสริม (parameter) ชนิดพื้นฐาน และเป็นตัวแปรควบคู่ (conjugate variable) กับความดัน.
นวนิยาย
นวนิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมลายลักษณ์ แต่งในรูปของร้อยแก้ว มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งงงแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือนิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ (novel) ตามแบบตะวันตก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาพูดโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "นิยาย" ซึ่งกะทัดรัดกว่า โดยคำว่า "นิยาย" เป็นคำมาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า "นิเยย" (និយាយ) หมายถึง "พูด" นวนิยายนั้น เป็นเรื่องราวที่มีลักษณะสมจริงมากกว่านิทานหรือนิยายแบบเดิม บางครั้งอาศัยฉากหรือเหตุการณ์จริง หรืออิงความเป็นจริง มีบทสนทนา และบรรยายเหตุการณ์อย่างปุถุชนทั่วไป.
นิตยสาร
นิตยสาร (magazine) คือสิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้ คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" โดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่า วารสาร ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ ปัจจุบัน เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร" เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ..ท." ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน โดยทั่วไปนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม นิตยสารสำหรับคนอ่านเฉพาะกลุ่มฉบับแรกของโลกตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ.
นิติเวชศาสตร์
นิติเวชศาสตร์ (Forensic Medicine) มาจากคำว่า "Forensic" ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายความถึงข้อตกลงที่มีการพิพาทกันทางกฎหมาย และคำว่า "Medicine" หมายถึงวิชาทางด้านการแพทย์ ซึ่งหมายความรวมถึงแพทย์ศาสตร์หรือเวชศาสตร์อีกด้วย นิติเวชศาสตร์เริ่มมีการเรียนการสอนครั้งแรกในประเทศไทย ปี..
ดู โรคใคร่เด็กและนิติเวชศาสตร์
นิ้วชี้
ผู้ชายกำลังชี้ไปที่ผู้หญิงคนหนึ่งในระหว่างการโต้แย้งทางการเมือง นิ้วชี้ (index finger; หรือชื่อเรียกอื่น forefinger, pointer finger, trigger finger, digitus secundus, digitus II และ ฯลฯ) เป็นนิ้วมือแรกในการนับจำนวนของมือมนุษย์ ซึ่งมีอยู่ระหว่างนิ้วมือแรกกับนิ้วมือที่สามคือนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลาง ซึ่งเป็นนิ้วมือที่มีความคล่องตัวและมีความละเอียดอ่อนมากที่สุด แต่ไม่ได้เป็นนิ้วที่ยาวที่สุดเนื่องด้วยสั้นกว่านิ้วกลาง โดยที่อาจมีความสั้นหรือยาวกกว่านิ้วนาง เมื่อเทียบกับอัตราส่วนของนิ้วมือ "index finger" ในภาษาอังกฤษแท้จริงแล้วหมายถึง "นิ้วสำหรับชี้" จากภาษาละตินเช่นเดียวกับคำว่า indicate ซึ่งมีชื่อทางกายวิภาคคือ "นิ้วชี้" หรือ "นิ้วหลักที่สอง".
นิ้วนาง
นิ้วนาง นิ้วนาง คือนิ้วที่สี่บนมือของมนุษย์ อยู่ระหว่างนิ้วกลางและนิ้วก้อย หลายคนมีนิ้วนางยาวเท่ากับนิ้วชี้ ในทางกายวิภาคศาสตร์ นิ้วนางอาจมีชื่อเรียกอื่นเป็นภาษาละตินเช่น digitus medicinalis, digitus annularis, digitus quartus หรือ digitus IV เป็นต้น นิ้วนางไม่ค่อยมีบทบาทเด่นชัดมากนัก เพราะเมื่อหยิบจับสิ่งของก็ต้องใช้งานร่วมกับนิ้วอื่นหรือไม่ใช้เลย บางภาษาไม่มีชื่อเรียกเฉพาะสำหรับนิ้วนางด้วยซ้ำ สำหรับวัฒนธรรมตะวันตก การใส่แหวนที่นิ้วนาง โดยเฉพาะนิ้วนางมือซ้าย สื่อความหมายว่าผู้นั้นได้หมั้นหรือแต่งงานแล้ว ด้วยความเชื่อที่ว่า เส้นเลือดดำที่นิ้วนางมือซ้ายเชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับหัวใจที่อยู่ข้างซ้ายเช่นกัน อันเป็นตัวแทนแห่งความรัก แต่สำหรับวัฒนธรรมยุโรป การใส่แหวนที่นิ้วนางมือซ้ายหมายถึงการหมั้น ส่วนนิ้วนางมือขวาหมายถึงการแต่งงาน ด้วยเหตุนี้หลายภาษาจึงเรียกนิ้วนางว่าเป็น นิ้วเพื่อสวมแหวน (ring finger).
โรคกามวิปริต
รคกามวิปริต (paraphilia, sexual perversion, sexual deviation) หรือ กามวิปริต เป็นประสบการณ์ความตื่นตัวทางเพศระดับสูงต่อวัตถุ สถานการณ์ หรือบุคคลที่ไม่ทั่วไป แต่ก็ไม่มีมติส่วนใหญ่ของนักวิชาการว่าเส้นแบ่งระหว่างความสนใจทางเพศที่แปลก กับโรคกามวิปริตอยู่ที่ไหน มีข้อโต้แย้งที่ยังไม่ยุติว่า กามวิปริตแบบไหน ควรจะมีรายชื่ออยู่ในคู่มือวินิจฉัยทางแพทย์เช่น คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) หรือ บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD) หรือถ้าจะต้องมีโดยประการทั้งปวง จำนวนประเภทและอนุกรมวิธาน (taxonomy) ของกามวิปริตก็ยังโต้เถียงยังไม่ยุติอีกด้วย มีหนังสือเล่มหนึ่งที่มีรายการถึง 549 ประเภท ส่วน DSM-5 มีรายการความผิดปกติทางกามวิปริต (paraphilic disorder) 8 ประเภท นักวิชาการได้เสนอการจัดหมวดหมู่ย่อยแบบต่าง ๆ โดยอ้างว่า วิธีการจัดหมวดหมู่แบบอื่น ๆ เช่นวิธีการที่รวมมิติทั้งหมด วิธีกำหนดอาการเป็นพิสัย หรือวิธีกำหนดตามคำให้การของคนไข้ (complaint-oriented) จะเข้ากับหลักฐานได้ดีกว.
โรงพยาบาล
ห้องพยาบาลในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเดนมาร์ก โรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์ เป็นสถานที่สำหรับให้บริการด้านสุขภาพให้กับผู้ป่วย โดยมักที่จะมุ่งเน้นการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูภาวะความเจ็บป่วย หรือโรคต่างๆ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ปัจจุบันโรงพยาบาลได้ถูกแบ่งประเภทตามการดูแลควบคุมบริการเป็น โรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน นอกจากนี้โรงพยาบาลยังถูกแบ่งเป็นสถานพยาบาลเฉพาะทางอีก เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, โรงพยาบาลสงฆ์, โรงพยาบาลตา, โรงพยาบาลฟัน, สถาบันโรคผิวหนัง.
โลกตะวันตก
ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.
โลลิตา
ลลิตา (Lolita) เป็นนวนิยายที่เขียนโดยวลาดีมีร์ นาโบคอฟที่เขียนครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.
ไวพจน์
วพจน์ อาจหมายถึง; ไวยากรณ.
ไฮโปทาลามัส
ปทาลามัส มาจากภาษากรีซ ὑποθαλαμος แปลว่า ใต้ทาลามัส เป็นโครงสร้างของสมองที่อยู่ใต้ทาลามัส (thalamus) แต่เหนือก้านสมอง (brain stem) ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ โครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างหลักที่อยู่ด้านล่างของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) พบในสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด ในมนุษย์มีขนาดประมาณเมล็ดอัลมอนด์ ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึมบางอย่าง และหน้าที่อื่นๆ ของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่สังเคราะห์และหลั่งฮอร์โมนประสาท (neurohormones) ซึ่งมักเรียกว่า hypothalamic-releasing hormones ซึ่งทำหน้าที่ในการกระตุ้นหรือยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย, ความหิว, ความกระหายน้ำ, ความเหนื่อยล้า, ความโกรธ และจังหวะรอบวัน (Circadian rhythm) ไฮโปทาลามัสเป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ความหิว การนอนหลับ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ การหลั่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ความสมดุลของน้ำในร่างกายและการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก.
เพศวิทยา
ตร์ หรือ เพศวิทยา เป็นสหสาขาวิชาประกอบด้วยจิตวิทยา แพทยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และเพศศึกษา เพศศาสตร์จะมีเนื้อหาเชิงสังคมและจิตวิทยามาก ตัวอย่างเช่น การให้คำปรึกษาทางด้านเพศ ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปัญหาผู้หญิงที่ถูกข่มขืน ผู้หญิงที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ โดยผู้ที่เรียนสาขานี้ต้องผ่านการคัดเลือก วิชาชีววิทยา, สถิติ, คุณธรรมและจริยธรรม, การให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา และทัศนคติทางด้านเพศศาสตร์ ในประเทศไทยมีการสอนสาขาวิชานี้ในระดับปริญญาโท ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.
เลอมงด์
ลอมงด์ (Le Monde) คือ หนังสือพิมพ์รอบค่ำรายวันของฝรั่งเศส ด้วยยอดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2547 จำนวน 371,803 ฉบับ และถูกจัดเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแนวหน้าของฝรั่งเศส และบ่อยครั้งที่เป็นหนังสือพิมพ์ในประเทศฝรั่งเศสฉบับเดียว ซึ่งไม่ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศส ที่สามารถเข้าใจได้โดยง่าย นอกจากนี้ผู้คนส่วนใหญ่มักสับสนกับ เลอมงด์ดีปโลมาตีก (Le Monde diplomatique) ซึ่ง เลอมงด์ เองเป็นหุ้นส่วนอยู่ร้อยละ 54 แต่เลอมงด์ดีปโลมาตีก ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายแยกอิสระจาก เลอมงด์ รวมทั้งมีกองบรรณาธิการเป็นของตัวเอง เลอมงด์นั้น ก่อตั้งโดย อูแบร์ต เบิฟว์-เมรี ตามคำของร้องของนายพลชาร์ล เดอ โกลล์ หลังจากกองทัพเยอรมนีถอนทัพออกจากปารีสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเข้าแทนที่หนังสือพิมพ์ เลอต็อง (Le Temps) โดยชื่อเสียงของเลอต็องถูกบ่อนทำลายลงในช่วงที่เยอรมนีเข้ายึดครองฝรั่งเศส โดยที่อูแบร์ต เบิฟว์-เมรี เป็นบรรณาธิการที่มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการทุกด้านภายในสำนักพิมพ์ เลอมงด์ฉบับแรกวางจำหน่ายวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.
เวียนนา
วียนนา (Vienna) หรือ วีน (Wien) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และเป็นชื่อเขตการปกครองในออสเตรียด้วย เวียนนาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรีย เป็นศูนย์กลางทั้งเศรษฐกิจและการปกครอง มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน มีแม่น้ำดานูบไหลผ่าน เวียนนายังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานในสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น โอเปก (OPEC).
เว็บไซต์
หน้าหนึ่งในเว็บไซต์วิกิพีเดีย เว็บไซต์ (website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์ เว็บไซต์แห่งแรกของโลกถูกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ.
เทสโทสเตอโรน
ทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง (anabolic steroid) ประเภทหนึ่งที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของเนื้อเยื่อในระบบสืบพันธุ์ชาย เช่น อัณฑะและต่อมลูกหมาก ตลอดจนส่งเสริมลักษณะเฉพาะทางเพศทุติยภูมิ เช่น การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกับกระดูก และการเกิดขนตัว นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาพและความอยู่เป็นสุข ตลอดจนป้องกันโรคกระดูกพรุน ระดับฮอร์โมนที่ไม่พอในชาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอและการเสียกระดูก ฮอร์โมนอาจใช้เพื่อรักษาอวัยวะเพศชายทำงานไม่พอ (male hypogonadism) และมะเร็งเต้านมบางชนิด เนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ แพทย์บางครั้งจะให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับชายสูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการขาด เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ในกลุ่ม androstane ที่มีกลุ่มคีโทนและไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3 และ 17 ตามลำดับ ซึ่งสามารถสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลในหลายขั้นตอน และตับจะเปลี่ยนมันเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์ ฮอร์โมนสามารถเข้ายึดและออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptor) ในนิวเคลียสของเซลล์ ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า ต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย โดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่ เพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า หญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้ว.
เดอะนิวยอร์กไทมส์
อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..
ดู โรคใคร่เด็กและเดอะนิวยอร์กไทมส์
เด็ก
็กในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เด็ก หมายถึง มนุษย์ที่อยู่ระหว่างการเกิดและวัยแรกรุ่น ส่วนคำจำกัดความในทางกฎหมาย "เด็ก" หมายถึง ผู้เยาว์ หรือบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าประชากรส่วนใหญ่ คำว่า "เด็ก" ยังอาจใช้อธิบายความสัมพันธ์กับผู้ปกครองหรือต่ออำนาจหน้าที่ หรือแสดงความเป็นส่วนหนึ่งในสกุล เผ่าหรือศาสนา และความหมายอื่น.
เด็กหญิง
็กผู้หญิงคนหนึ่ง เด็กผู้หญิง เป็นมนุษย์เพศหญิงตั้งแต่แรกเกิด วัยเด็กและวัยรุ่น จนกลายเป็นผู้หญิงเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ ในภาษาอังกฤษ คำว่า girl อาจใช้หมายถึงผู้หญิงอายุน้อย dictionary.com,, retrieved 2 January 2008 และยังใช้เป็นไวพจน์หมายถึง ลูกสาว ด้ว.
เนื้อขาว
นื้อขาว"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (White matter, substantia alba) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสองส่วนของระบบประสาทกลางในสมอง โดยมากประกอบด้วยเซลล์เกลียและแอกซอนหุ้มด้วยปลอกไมอิลิน ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากเขตหนึ่งในซีรีบรัมไปยังอีกเขตหนึ่ง และส่งสัญญาณระหว่างซีรีบรัมและศูนย์สมองอื่น ๆ ในระดับที่ต่ำกว่า เนื้อขาวของสมองที่ผ่าออกใหม่ ๆ ปรากฏเป็นสีชมพูอมขาวดังที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็เพราะว่าปลอกไมอิลินโดยมากทำด้วยลิพิด (ไขมัน) มีหลอดเลือดฝอยวิ่งผ่าน และที่มีสีขาวก็เพราะดองไว้ในฟอร์มาลดีไฮด์ องค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งของสมองก็คือเนื้อเทา (ซึ่งปรากฏเป็นสีชมพูอมน้ำตาลก็เพราะหลอดเลือดฝอย) ซึ่งประกอบด้วยนิวรอน ส่วนที่สามในสมองที่ปรากฏเป็นสีที่ดูเข้มกว่า ก็เพราะมีระดับเม็ดสี melanin ที่สูงกว่าเขตรอบข้าง เป็นส่วนของ substantia nigra ที่มีนิวรอนประเภทที่ใช้โดพามีนเป็นสารสื่อประสาท ให้สังเกตว่าเนื้อขาวบางครั้งปรากฏเป็นสีเข้มกว่าเนื้อเทาเมื่อดูในสไลด์ใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ก็เพราะเหตุสีที่ย้อม ถึงแม้ว่าเนื้อขาวจะได้รับการพิจารณามานานว่าเป็นส่วนที่ไม่ได้ทำอะไร แต่จริง ๆ ก็ทำหน้าที่มีผลสำคัญต่อการเรียนรู้และการทำงานของสมอง ในขณะที่เนื้อเทาทำหน้าที่เกี่ยวกับการแปลผลและประชาน (คือการรับรู้) เนื้อขาวก็ทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดศักยะงาน ที่ประสานการสื่อสารระหว่างเขตต่าง ๆ ของสมอง.
ICD-10
ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) เป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก รหัสได้ถูกจัดทำขึ้นแตกต่างกันถึง 155,000 รหัสและสามารถติดตามการวินิจฉัยและหัตถการใหม่ๆ ดังจะเห็นจากรหัสที่เพิ่มขึ้นจากฉบับก่อนหน้า ICD-9 ที่มีอยู่เพียง 17,000 รหัส งานจัดทำ ICD-10 เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.
ดูเพิ่มเติม
กามวิปริต
- การแสดงลามกอนาจาร
- อาการกระสันสัตว์
- อาการคลั่งไคล้อาชญากร
- อาการชอบถูไถอวัยวะเพศ
- อาการชอบน้ำปัสสาวะ
- โรคกามวิปริต
- โรคถ้ำมอง
- โรคใคร่เด็ก
ความใคร่เด็ก
- การเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรมทางเพศ
- สื่ออีโรติกาเด็ก
- โรคใคร่เด็ก
- โลลิคอน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ InfantophileInfantophiliaNepiophileNepiophiliaPaedophiliaPedophilePedophiliaPedophilic disorderกามวิปริตแบบใคร่เด็กอาการใคร่ทารกอารมณ์ทางเพศกับเด็กอารมณ์เพศกับเด็กความผิดปกติทางจิตแบบใคร่เด็กความผิดปกติแบบใคร่เด็กความต้องการทางเพศกับเด็กความใคร่ทารกคนใคร่ทารกใคร่เด็กโรคมีอารมณ์เพศกับเด็กโรคมีความต้องการทางเพศกับเด็ก