โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พันธุศาสตร์

ดัชนี พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

136 ความสัมพันธ์: ชาลส์ ดาร์วินชีววิทยาชีวสารสนเทศศาสตร์ชีวเคมีฟรานซิส คริกฟีนิลอะลานีนฟีนิลคีโตนูเรียพล็อยดีพันธุวิศวกรรมพันธุศาสตร์ของเมนเดลพันธุศาสตร์ประชากรพันธุ์ป่าพืชพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดพงศาวลีกรรมพันธุ์กรดอะมิโนการกลายพันธุ์การสับเปลี่ยนของโครโมโซมการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศการสุ่มแบบเมนเดลการหลุดหายการหาลำดับดีเอ็นเอการถอดรหัส (พันธุศาสตร์)การถ่ายทอดยีนในแนวราบการถ่ายทอดลักษณะแบบผสมการถ่ายแบบดีเอ็นเอการทดลองเฮอร์ชีย์–เชสการข่มข้ามคู่การควบคุมการแสดงออกของยีนการคัดเลือกพันธุ์การคัดเลือกโดยธรรมชาติการซ่อมแซมดีเอ็นเอการปรับตัวการป้อนกลับเชิงลบการแบ่งเซลล์การแสดงออกของยีนการแปลรหัส (พันธุศาสตร์)การแปลงพันธุ์ (พันธุศาสตร์)การโคลนการไขว้เปลี่ยนของโครโมโซมการเกิดสัณฐานการเกิดสปีชีส์การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงมะเร็งมนุษย์ยูแคริโอตยีนรหัสพันธุกรรม...รังสีอัลตราไวโอเลตรูปแบบพันธุกรรมรูปแบบปรากฏลอนดอนวิวัฒนาการสัตว์สารานุกรมบริตานิกาสิ่งมีชีวิตสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตตัวแบบหลอดเลือดหนูหริ่งบ้านอะพอพโทซิสอัลลีลอัตราพันธุกรรมอาร์เอ็นเออิเล็กโตรโฟรีซิสอุณหภูมิอีพีเจเนติกส์อณูชีววิทยาอณูพันธุศาสตร์ฮิสโตนฮือโค เดอ ฟรีสจีโนมจีโนมมนุษย์จีโนมิกส์ทริปโตเฟนทฤษฎีของลามาร์กทีอาร์เอ็นเอดีเอ็นเอดีเอ็นเอพอลิเมอเรสความหลากหลายทางพันธุกรรมความเชื่อมโยงของพันธุกรรมความเชื่อหลักของอณูชีววิทยาความเด่น (พันธุศาสตร์)คอลลาเจนคู่กรด-เบสตัวอสุจิตารางพันเนตต์ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสปฏิกิริยาเคมีประเทศอังกฤษนิวคลีโอไทด์แบคทีเรียแมลงวันทองแมวไทยโภชนาการโมเลกุลโรคจิตเภทโรคทางพันธุกรรมโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวโรซาลินด์ แฟรงคลินโลคัส (พันธุศาสตร์)โลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณโครมาตินโครงการจีโนมมนุษย์โครโมโซมโครโมโซมวายโครโมโซมเพศโครโมโซมเอกซ์โปรตีนไมโอซิสไมโทซิสไมโครอาร์เอ็นเอไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอไวรัสไทมีนไซโกซิตีเบอร์โนเกรกอร์ เมนเดลเกลียวคู่กรดนิวคลีอิกเภสัชพันธุศาสตร์เม็ดเลือดแดงเวชพันธุศาสตร์เอนไซม์เอ็มอาร์เอ็นเอเฮโมโกลบินเจมส์ ดี. วัตสันเซลล์ (ชีววิทยา)Caenorhabditis elegansEscherichia coliGene flowNon-coding RNAPangenesisSaccharomyces cerevisiae ขยายดัชนี (86 มากกว่า) »

ชาลส์ ดาร์วิน

ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี..

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และชาลส์ ดาร์วิน · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชีวสารสนเทศศาสตร์

การทำความเข้าใจข้อมูลดีเอ็นเอ (ในภาพ) จำนวนมหาศาล จากโครงการจัดลำดับรหัสพันธุกรรมนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่ชีวสารสนเทศศาสตร์เผชิญ ชีวสารสนเทศศาสตร์ หรือ ชีววิทยาเชิงคำนวณ (Bioinformatics หรือ Computational Biology) เป็นสาขาที่ใช้ความรู้จากคณิตศาสตร์ประยุกต์, สถิติศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์, และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาทางชีววิท.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และชีวสารสนเทศศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวเคมี

ชีวเคมี (biochemistry) หรือเรียกว่า เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เป็นวิชาที่ศึกษากระบวนการเคมีในสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างเช่นที่เกี่ยวกับการแปรรูปสารอาหารไปเป็นพลังงาน, การสร้างและเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ที่เรียกว่า กระบวนการ เมแทบอลิซึม การทำงานของเอนไซม์และโคเอนไซม์, ระบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต, การสลายและการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ ชื่อนี้มาจากภาษาเยอรมันว่า บิโอเคมี (Biochemie) ซึ่งแรกตั้งโดย ฮอปเปอ-ซีเลอร์ (Hoppe-Sieler) ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยเขาให้คำจำกัดความไว้เป็นอย่างดีว่า เป็นเนื้อหาวิชาซึ่งครอบคลุมการเข้าศึกษาชีววิทยาในเชิงโมเลกุลทุกๆ ด้าน หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:ชีวเคมี.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และชีวเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ฟรานซิส คริก

ฟรานซิส คริก ฟรานซิส คริก (Francis Harry Compton Crick OM FRS (8 มิถุนายน พ.ศ. 2459 – 28 กรกฎาคม 2547) นักอณูชีววิทยาชาวอังกฤษ นักฟิสิกส์และนักประสาทวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับการยกย่องเป็นผู้ร่วมค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของ “กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก” หรือ “ดีเอ็นเอ” เมื่อ พ.ศ. 2496 ฟรานซิส คริก กับ เจมส์ ดี. วัตสัน ผู้ร่วมค้นพบ ได้ร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา หรือ การแพทย์ “สำหรับการค้นพบที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลิอิกและความสำคัญของมันในการถ่ายทอดข้อมูลสำคัญในสิ่งมีชีวิต” งานของฟรานซิส คริกในช่วงหลังจนถึงปี พ.ศ. 2520 ที่หอทดลองอณูชีววิทยา “เอ็มอาร์ซี” หรือ “สภาวิจัยทางการแพทย์” (MRC-Medical Research Council) ไม่ได้รับการยอมรับเป็นทางการมากนัก ในช่วงท้ายในชีวิตงาน คริกได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เมธีวิจัย “เจ ดับบลิว คีกเคเฟอร์” ที่ “สถาบันซอล์คชีววิทยาศึกษา” ที่เมืองลาโฮลา รัฐแคลิฟอร์เนีย และได้ดำรงตำแหน่งนี้จนสิ้นชีวิตเมื่ออายุได้ 88 ปี.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และฟรานซิส คริก · ดูเพิ่มเติม »

ฟีนิลอะลานีน

ฟีนิลอะลานีน (phenylalanine, Phe, F) คือ กรดอะมิโน (amino acid) ชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ กรดอะโนชนิดนี้จึงต้องได้รับจากอาหาร ฟีนิลอะลานีนมีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ C6H5CH2CH(NH2)COOH.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และฟีนิลอะลานีน · ดูเพิ่มเติม »

ฟีนิลคีโตนูเรีย

ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria หรือ Phenylpyruvic oligophrenia; ย่อ: PKU) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางเมแทบอลิซึมของร่างกาย โรคนี้ถ่ายทอดทางโครโมโซมทั่วไป (autosome) ซึ่งไม่ใช่โครโมโซมเพศ ควบคุมด้วยยีนลักษณะด้อย โดยโครโมโซมดังกล่าวมีความบกพร่องของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างฟีนิลอะลานีนไฮดรอกซิเลส ผู้ที่เป็นโรคนี้จึงไม่สามารถสร้างเอนไซม์ดังกล่าวได้ มีผลให้ไม่สามารถย่อยสลายกรดอะมิโน ฟีนิลอะลานีนไปเป็นไทโรซีนเหมือนคนปกติ จึงเกิดภาวะฟีนิลอะลานีนสะสมในเลือดมากผิดปกติ และมีกรดฟีนิลไพรูวิกและกรดอินทรีย์อื่นปนในปัสสาวะ รวมทั้งอาการโลหิตเป็นพิษด้วย ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวมักมีภาวะปัญญาอ่อนด้วย ผู้ป่วยโรคนี้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เหมือนคนทั่วไป ไม่เฉพาะแอสปาร์แตม จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าคนไทยเป็นโรคนี้น้อยมาก ไม่ถึง 1 ในประชากร 100,000 คน โรคฟีนิลคีโตนูเรียมักพบได้บ่อยในคนผิวขาว อุบัติการณ์ประมาณ 1 ต่อ 1 หมื่นในคนผิวขาว ประเทศไทยพบน้อยประมาณ 1 ต่อ 2 แสน ปีหนึ่งพบทารกแรกเกิดเป็นโรคนี้ประมาณ 4 ราย หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษา ทารกจะมีพัฒนาการช้า ปัญญาอ่อนขั้นรุนแรง แต่ในปัจจุบันทารกแรกเกิดในประเทศไทยกว่า 95% ได้รับการตรวจกรองทารกแรกเกิด สำหรับโรคฟีนิลคีโตนูเรีย และภาวะไทรอยด์ต่ำแต่กำเนิด โดยทางโรงพยาบาลจะทำการเก็บตัวอย่างเลือดด้วยการเจาะส้นเท้าของทารกหยดลงบนกระดาษซับกรอง และส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการตรวจคัดกรองด้วยวิธีนี้ทำมาเป็น 10 ปีแล้ว การเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจมักจะรู้ผลอย่างช้าที่สุดภายใน 1 เดือน หากพบว่าฟีนิลอะลานีนในเลือดมีค่าเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แสดงว่าเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย โดยในคนปกติ ระดับของสารฟีนิลอะลานีนจะต่ำกว่า 2 มิลลิ กรัมเปอร์เซ็นต์ แต่ในรายที่เป็นโรคไม่รุนแรง ระดับของสารฟีนิลอะลานีนอาจจะมีค่าต่ำกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ โดยอาจจะอยู่ที่ 5 หรือ 10 หรือ 12 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจจะทำให้ระดับไอคิวต่ำกว่าคนปกติ หมวดหมู่:โรคทางพันธุกรรม ฟีนิลคีโตนูเรีย.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และฟีนิลคีโตนูเรีย · ดูเพิ่มเติม »

พล็อยดี

พล็อยดี (ploidy) หมายถึงจำนวนชุดของโครโมโซมในเซลล์ เซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์มีโครโมโซมชุดสมบูรณ์หนึ่งชุด อยู่ในเซลล์อสุจิและเซลล์ไข่ ซึ่งได้รับโครโมโซมแต่ละชุดมาจากพ่อหรือแม่ จึงมีจำนวนโครโมโซมเป็น แฮพลอยด์ (haploid: n) เซลล์สืบพันธุ์นี้จะมาผสมกันได้เป็นเซลล์โซมาติกซึ่งมีจำนวนชุดโครโมโซมมากขึ้นเป็นสองเท่า เรียกว่า ดิพลอยด์ (diploid: 2n) หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:เซลล์พันธุศาสตร์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และพล็อยดี · ดูเพิ่มเติม »

พันธุวิศวกรรม

ันธุวิศวกรรม หรือ วิศวกรรมพันธุศาสตร์ (Genetic engineering), หรือที่เรียกว่า "การดัดแปลงพันธุกรรม" (genetic modification) คือการยักย้ายถ่ายเทโดยตรงของจีโนมของสิ่งมีชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีชีว.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และพันธุวิศวกรรม · ดูเพิ่มเติม »

พันธุศาสตร์ของเมนเดล

ันธุศาสตร์เมนเดเลียนหรือ พันธุศาสตร์ของเมนเดล (Mendelian inheritance, Mendelian genetics, Mendelism) เป็นชุดของทฤษฎีว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาพันธุศาสตร์ในปัจจุบัน มีที่มาจากการศึกษาของเกรเกอร์ เมนเดล ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1865 และ 1866 ซึ่งได้รับการค้นพบอีกครั้งในปี ค.ศ. 1900 และเป็นที่ถกเถียงอย่างมากในช่วงแรก ต่อมาเมื่อถูกผนวกเข้ากับทฤษฎีทายกรรมโครโมโซม (chromosome theory of inheritance) ของ Thomas Hunt Morgan ในปี ค.ศ. 1915 ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของแก่นของวิชาพันธุศาสตร์คลาสสิก.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และพันธุศาสตร์ของเมนเดล · ดูเพิ่มเติม »

พันธุศาสตร์ประชากร

พันธุศาสตร์ประชากรคือการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายและการเปลี่ยนแปลงของความถี่ของอัลลีลในประชากร ภายใต้ผลของกระบวนการทางวิวัฒนาการทั้ง 4 กระบวนการ ได้แก่ การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ความไม่แน่นอนทางพันธุกรรม การกลายพันธุ์ และ การถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ประชากร หมวดหมู่:ชีววิทยาวิวัฒนาการ หมวดหมู่:สถิติพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และพันธุศาสตร์ประชากร · ดูเพิ่มเติม »

พันธุ์ป่า

ันธุ์ป่าหรือไวลด์ไทป์ (wild type) เป็นฟีโนไทป์หนึ่งของสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่งๆ ที่เป็นรูปแบบพื้นฐานเกิดขึ้นเองและพบได้ในธรรมชาติ ตามความเข้าใจเดิมนั้นลักษณะที่เป็นพันธุ์ป่าหมายถึงลักษณะที่เกิดจากอัลลีล "ปกติ" ของโลคัสนั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนกับอัลลีล "กลายพันธุ์" ซึ่งไม่ปกติ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าโลคัสส่วนใหญ่ของยีนนั้นมีอัลลีลหลายรูปแบบซึ่งมีความถี่แตกต่างกันไปตามภูมิประเทศที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆ อยู่อาศัย ดังนั้นรูปแบบพันธุ์ป่าที่เป็นพื้นฐานจริงๆ นั้น จึงไม่มีอยู่จริง อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปนั้นถือว่าอัลลีลที่พบบ่อยที่สุด หรือมีความถี่มากที่สุด จะถือว่าเป็นอัลลีลที่เป็นพันธุ์ป่า หลักการว่าด้วยการมีอยู่ของไวลด์ไทป์มีประโยชน์ในการศึกษาสิ่งมีชีวิตต้นแบบเช่นแมลงวันผลไม้ Drosophila melanogaster ซึ่งลักษณะปรากฎ (ฟีโนไทป์) บางอย่างของแมลงวันนี้ เช่น สีตา หรือรูปร่างปีก สามารถถูกเปลี่ยนแปลงโดยการเกิดการกลายพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น การมีตาสีขาว การมีร่องที่ปีก เป็นต้น อัลลีลที่เป็นไวลด์ไทป์จะถูกกำหนดด้วยสัญลักษณ์ "+" ที่ด้านบน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และพันธุ์ป่า · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และพืช · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด

''พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด'' ฉบับตีพิมพ์ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary; OED) เป็นพจนานุกรม ที่ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ปกติถือเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษเชิงวิชาการและละเอียดที่สุด โดยมีรายการหลักประมาณ 301,100 รายการ (สถิติล่าสุด 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005) และมีตัวอักษรทั้งหมดมากกว่า 350 ล้านตัว นอกจากคำหลักของรายการหลักแล้ว ยังมีคำประสม และคำแผลงพิมพ์ตัวหนา 157,000 คำ ขณะที่มีวลีและวลีย่อยพิมพ์ตัวหนา 169,000 รายการ ทำให้มีลูกคำทั้งหมด 616,500 คำ นอกจากนี้ยังมีการเขียนคำอ่าน 137,000 คำ, รากศัพท์หรือที่มา 249,300 คำ ศัพท์เชื่อมโยง (cross-references) 577,000 มีจำนวนหน้า 21,730 หน้า และรายการศัพท์ทั้งหมด 291,500 รายการ นโยบายของพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือ พยายามที่จะบันทึกการใช้งานและลักษณะแปรผันทั้งหมดเท่าที่ทราบ ในทุกลักษณะของปลีกย่อยของภาษาอังกฤษ ที่ใช้กันทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของคำนำฉบับพิมพ์ ค.ศ. 1933 มีดังนี้ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือจุดเริ่มต้นของงานที่เน้นวิชาการที่เข้มข้น ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ การเลือกลำดับในการสะกดแบบต่างๆ ของคำหลักนั้น มีอิทธิพลต่อการเขียนภาษาอังกฤษในหลายประเท.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

พงศาวลี

Pedigree of horse Shagya IX b. 1895 Geneticist working with a pedigree แผนภูมิเพดิกรี (pedigree chart) เป็นแผนภูมิอย่างหนึ่ง แสดงถึงการเกิดลักษณะทางพันธุกรรมอย่างหนึ่งๆ ของยีนหรือสิ่งมีชีวิตในเชื้อสายวงศ์ตระกูล รุ่นต่อรุ่น ส่วนใหญ่ใช้ในมนุษย์ หมวดหมู่:แผนภาพ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และพงศาวลี · ดูเพิ่มเติม »

กรรมพันธุ์

กรรมพัน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และกรรมพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

กรดอะมิโน

กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า \alpha-คาร์บอน เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไท.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และกรดอะมิโน · ดูเพิ่มเติม »

การกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์ (mutation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaibiotech.info.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการกลายพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การสับเปลี่ยนของโครโมโซม

การสับเปลี่ยนของโครโมโซมคู่ที่ 4 กับ 20 การสับเปลี่ยนของโครโมโซม (chromosomal translocation) เป็นความผิดปกติของโครโมโซมอย่างหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของโครโมโซมที่ไม่ใช่คู่กัน จุดที่โครโมโซมมาต่อกันนั้นเกิดการผสมยีนเกิดเป็นยีนใหม่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยอย่างหนึ่งของการเกิดมะเร็ง ความผิดปกตินี้อาจตรวจพบได้จากการตรวจทางเซลล์พันธุศาสตร์หรือการตรวจแครีโอไทป์ของเซลล์ที่มีการสับเปลี่ยน การสับเปลี่ยนของโครโมโซมแบ่งออกเป็นสองชนิดหลัก คือแบบมีการแลกเปลี่ยน (reciprocal, หรือ "แบบไม่ใช่โรเบิร์ตโซเนียน") และแบบโรเบิร์ตโซเนียน (Rebertsonian) หรืออาจแบ่งเป็น แบบสมดุล (ไม่มีการเพิ่มหรือลดของสารพันธุกรรม และทางทฤษฎีแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงหน้าที่เกิดขึ้น) และแบบไม่สมดุล (ซึ่งมีการเพิ่มหรือลดของสารพันธุกรรม ทำให้มียีนเกินขึ้นมาหรือขาดหายไป).

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการสับเปลี่ยนของโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) คือการสืบพันธุ์ที่ต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (สเปิร์ม) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่) แล้วเกิดออกมาเป็นไซโกตและเจริญมาเป็นเอมบริโอในเวลาต่อม.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) คือการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตโดยไม่มีการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งการสืบพันธุ์แบบนี้จะไม่มีการกลายพันธุ์หรือสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมขึ้น ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นต่ำและเป็นการสืบพันธุ์อย่างไม่สลับซับซ้อน ข้อดีของการสืบพันธุ์แบบนี้ได้แก่ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถเพิ่มจำนวนได้โดยไม่ต้องหาคู่ ในกรณีของสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องรอเวลาและพลังงานในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ เหมาะกับสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้น.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การสุ่มแบบเมนเดล

การสุ่มแบบเมนเดล (Mendelian randomization) เป็นวิธีการทางระบาดวิทยาอย่างหนึ่งใช้ในการหาการกระจายของยีนที่ทราบหน้าที่อยู่ก่อนแล้วเพื่อหาความเป็นสาเหตุของปัจจัยสัมผัสที่เปลี่ยนแปลงได้ (modifiable exposure) ต่อการเกิดโรคในการศึกษาวิจัยแบบเก็บข้อมูลที่ไม่ใช่การทดลอง วิธีนี้บรรยายไว้ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการสุ่มแบบเมนเดล · ดูเพิ่มเติม »

การหลุดหาย

ในสาขาวิชาพันธุศาสตร์ การหลุดหาย เป็นการกลายพันธุ์อย่างหนึ่งที่มีส่วนหนึ่งของโครโมโซมหรือดีเอ็นเอหายไป การหลุดหายทำให้เกิดการสูญเสียสารพันธุกรรมไป อาจมีนิวคลีโอไทด์หลุดหายไปจำนวนเท่าใดก็ได้ ตั้งแต่หนึ่งลำดับเบสไปจนถึงโครโมโซมทั้งอัน การหลุดหายอาจเป็นสาเหตุของโรคทางพันธุกรรมได้หลายชน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการหลุดหาย · ดูเพิ่มเติม »

การหาลำดับดีเอ็นเอ

การหาลำดับ DNA คือกระบวนการที่ทำขึ้นเพื่อหาลำดับของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุล DNA อย่างแม่นยำ ได้แก่ A(adenine) G(guanine) C(cytosine) และ T(thymine) ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิกที่ทำให้การหาลำดับ DNA ทำได้อย่างรวดเร็ว นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางชีววิทยาและการแพทย์อย่างรวดเร็วก้าวกระโดด หมวดหมู่:อณูชีววิทยา หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:ดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการหาลำดับดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การถอดรหัส (พันธุศาสตร์)

การถอดรหัส หรือ การสร้างอาร์เอ็นเอ (Transcription หรือ RNA synthesis) คือ กระบวนการการสร้างอาร์เอ็นเอจากดีเอ็นเอ ซึ่งทั้งอาร์เอ็นเอและดีเอ็นเอต่างเป็นกรดนิวคลิอิกซึ่งใช้ลำดับคู่เบสของนิวคลีโอไทด์เป็นส่วนเติมเต็มซึ่งกันและกันซึ่งสามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้หากมีเอนไซม์ที่เหมาะสม ในช่วงการถอดรหัสนั้น ลำดับดีเอ็นเอจะถูกอ่านโดยเอนไซม์ RNA polymerase ซึ่งจะสร้างคู่เติมเต็มซึ่งเป็นสายอาร์เอ็นเอที่ขนานสวนกัน เทียบกันกับการสร้างดีเอ็นเอแล้ว การถอดรหัสจะทำให้ได้ผลเป็นอาร์เอ็นเอคู่เติมเต็มที่มีเบสยูราซิล (Uracil, U) แทนที่ตำแหน่งของเบสไทมีน (Thymine, T) ที่เคยมีในสายดีเอ็นเอคู่นั้น.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการถอดรหัส (พันธุศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายทอดยีนในแนวราบ

การถ่ายทอดยีนในแนวราบหรือการถ่ายทอดยีนในแนวข้างคือกระบวนการใดๆ ที่ทำให้มีการถ่ายทอดสารพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งซึ่งไม่ใช่ทายาท แตกต่างจากการถ่ายทอดยีนในแนวดิ่งซึ่งเป็นการถ่ายทอดสารพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่นไปยังทายาท การศึกษาทางพันธุศาสตร์แต่เดิมส่วนใหญ่จะเน้นไปทางการถ่ายทอดยีนในแนวดิ่ง แต่ปัจจุบันพบว่าการถ่ายทอดยีนในแนวราบเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลสำคัญและเกิดขึ้นมากกว่าที่เคยเข้าใจกัน การถ่ายทอดยีนในแนวราบที่ทำโดยมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของพันธุวิศวกรรม หมวดหมู่:พันธุศาสตร์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการถ่ายทอดยีนในแนวราบ · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายทอดลักษณะแบบผสม

Example of blending inheritance using the color of flowers to show how a species color variation would converge upon one color in relatively few generations if its offspring's color variations were truly bounded by the parent's colors. แนวคิดว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะแบบผสม (blending inheritance) เป็นแนวคิดที่แพร่หลายในหมู่นักชีววิทยาจำนวนมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนที่วิชาพันธุศาสตร์จะได้รับการพัฒนา มีลักษณะเป็นเพียงแนวคิดที่เชื่อกันทั่วไปมากกว่าจะเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ โดยเชื่อว่าลักษณะที่จะได้รับการถ่ายทอดมานั้นเกิดจากการสุ่มผสมระหว่างลักษณะสุดขั้วทั้งสองในรุ่นพ่อแม่ เช่นความสูงของคนคนหนึ่งที่มีพ่อแม่คนหนึ่งสูงคนหนึ่งเตี้ยจะอยู่ระหว่างความสูงของพ่อแม่เสมอ ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดของแนวคิดนี้ เนื่องจากหากเป็นจริง ขอบเขตความสูงของคนในแต่ละรุ่นย่อมแคบลงเรื่อยๆ จนถึงรุ่นหนึ่งความสูงของแต่ละคนจะแทบไม่ต่างกัน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในสปีชีส์หนึ่งๆ จะมีลักษณะที่ขมวดรวมเข้าหาจนแทบจะเหมือนกัน ดังนั้นกล่าวได้ว่า "แนวคิดการถ่ายทอดลักษณะแบบผสมนั้นเข้าไม่ได้กับความเป็นจริงที่เห็นชัดแจ้ง ถ้าความแตกต่างจะค่อยๆ หายไปจริง แต่ละรุ่นที่ผ่านไปก็ควรจะมีลักษณะเหมือนกันมากกว่ารุ่นก่อน จนถึงตอนนี้คนทุกคนก็ควรจะมีหน้าตาเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนเหมือนโคลนกันมาไปแล้ว""blending inheritance is incompatible...with obvious fact.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการถ่ายทอดลักษณะแบบผสม · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายแบบดีเอ็นเอ

กลียวคู่ของดีเอ็นเอคลายตัวและเป็นแม่แบบขแงสายใหม่ การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) เป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเพื่อจำลองดีเอ็นเอของตนเอง กระบวนการนี้เริ่มจากดีเอ็นเอสายเดี่ยวสร้างดีเอ็นเออีกสายที่เป็นคู่สมของตนจนกลายเป็นดีเอ็นเอเกลียวคู่ กระบวนการเป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) มีการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการเพื่อป้องกันการกลายพัน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการถ่ายแบบดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองเฮอร์ชีย์–เชส

การทดลองเฮอร์ชีย์–เชส การทดลองเฮอร์ชีย์–เชส (Hershey–Chase experiment) เป็นชุดของการทดลองที่ทำขึ้นในช่วงปี..

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการทดลองเฮอร์ชีย์–เชส · ดูเพิ่มเติม »

การข่มข้ามคู่

การข่มข้ามคู่ (epistasis) ในทางพันธุศาสตร์หมายถึงปรากฎการณ์ที่การที่การแสดงออกของยีนยีนหนึ่งต้องขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของยีนปรับแต่ง (modifier gene) หนึ่งอันหรือมากกว่า การกลายพันธุ์ที่มีลักษณะข่มข้ามคู่จะส่งผลต่อลักษณะปรากฎเป็นลักษณะที่ผ่านการผสมผสานกันมาจากยีนหลายๆ ยีน แทนที่จะเป็นมาจากยีนใดยีนหนึ่ง เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ของยีน อาจเป็นระหว่างยีนคนละยีนหรือภายในยีนเดียวกันทำให้เกิดผลที่ไม่เสริมกัน (non-additive) หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการข่มข้ามคู่ · ดูเพิ่มเติม »

การควบคุมการแสดงออกของยีน

แผนภาพแสดงระยะที่สามารถมีการควบคุมการแสดงออกของกระบวนการสร้างโปรตีนจากดีเอ็นเอได้ การควบคุมการแสดงออกของยีน คือ กระบวนการใด ๆ ที่เซลล์หรือไวรัสใช้ในการควบคุมแนวทางที่ข้อมูลจากยีนถูกสร้างเป็นผลผลิตของยีน ทั้งนี้แม้ผลผลิตของยีนที่ทำหน้าที่อาจจะเป็นอาร์เอ็นเอหรือโปรตีนได้ทั้งคู่ แต่กระบวนการควบคุมการแสดงออกของยีนส่วนใหญ่จะควบคุมยีนที่ถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีน ทุกขั้นตอนของการแสดงออกของยีนสามารถถูกควบคุมได้ ตั้งแต่การถอดรหัสจากดีเอ็นเอเป็นอาร์เอ็นเอ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงโปรตีนภายหลังการแปลรหัสเสร็จเรียบร้อยแล้ว การควบคุมการแสดงออกของยีนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับไวรัส โปรคารีโอต และยูคารีโอต เนื่องจากเป็นการเพิ่มความสามารถในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยเป็นการทำให้โปรตีนหนึ่งๆ สามารถแสดงออกได้เมื่อมีความจำเป็น ถือกันว่าระบบควบคุมการแสดงออกของยีนที่ค้นพบเป็นครั้งแรกคือการค้นพบ lac operaon โดย Jacques Monod ใน..

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการควบคุมการแสดงออกของยีน · ดูเพิ่มเติม »

การคัดเลือกพันธุ์

การคัดเลือกพันธุ์ หรือ การคัดเลือกโดยมนุษย์ คือกระบวนการที่มนุษย์ผสมพันธุ์สัตว์และพืชเพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลี้ยง และทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการผสมพันธุ์สัตว์ ชาร์ลส์ ดาร์วิน กล่าวไว้ใน Origin of Species ว่าการคัดเลือกพันธุ์สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริงเมื่อเวลาผ่านไป เป็นข้อมูลสนับสนุนให้ดาร์วินเสนอทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติขึ้นมาได้ หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการคัดเลือกพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การคัดเลือกโดยธรรมชาติ

Modern biology began in the nineteenth century with Charles Darwin's work on natural selection. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เป็นขบวนการแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่สุ่ม ซึ่งลักษณะทางชีววิทยาจะพบมากขึ้นหรือน้อยลงในประชากรเป็นหน้าที่ของการสืบพันธุ์แตกต่างกันของผู้ให้กำเนิด มันเป็นกลไกสำคัญของวิวัฒนาการ คำว่า "การคัดเลือกโดยธรรมชาติ" นั้น ถูกทำให้แพร่หลายโดย ชาลส์ ดาร์วิน ผู้ตั้งใจให้เทียบได้กับการคัดเลือกโดยมนุษย์ (artificial selection) หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า การคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) การแปรผันเกิดขึ้นในประชากรสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ซึ่งบางส่วนเกิดขึ้นเพราะการกลายพันธุ์สุ่มในจีโนมของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง และการกลายพันธุ์นั้นถูกส่งต่อไปยังลูกหลาน ตลอดชีวิตของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ จีโนมของสิ่งมีชีวิตนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งทำให้ลักษณะมีการแปรผัน (varient) สิ่งแวดล้อมของจีโนม ได้แก่ ชีววิทยาโมเลกุลในเซลล์ เซลล์อื่น สิ่งมีชีวิตอื่น ประชากร สปีชีส์ เช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมอชีวนะ สิ่งมี่ชีวิตที่มีลักษณะแปรผันบางอย่างอาจมีชีวิตรอดและสืบพันธุ์ได้มากกว่าสิ่งมีชีวิตที่มีการแปรผันแบบอื่น ฉะนั้น ประชากรจึงเกิดวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสืบพันธุ์เองก็สำคัญเช่นกัน และเป็นประเด็นที่ชาลส์ ดาร์วินบุกเบิกในความคิดการคัดเลือกทางเพศของเขา การคัดเลือกโดยธรรมชาติมีผลต่อฟีโนไทป์ หรือคุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่สังเกตได้ แต่พื้นฐานทางพันธุกรรมซึ่งสืบทอดได้ของฟีโนไทป์ใด ๆ ที่ให้ข้อได้เปรียบในการสืบพันธุ์จะกลายมาปรากฏมากขึ้นในประชากร (ดูที่ ความถี่แอลลีล) เมื่อเวลาผ่านไป ขบวนการนี้สามารถส่งผลให้ประชากรมีความพิเศษในระบบนิเวศ และอาจลงเอยด้วยการถือกำเนิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติเป็นขบวนการที่สำคัญ แม้จะมิใช่ขบวนการเดียว ซึ่งทำให้วิวัฒนาการเกิดขึ้นในประชากรสิ่งมีชีวิต ในการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมเสมือนเป็นตะแกรงที่การแปรผันบางอย่างเท่านั้นที่ผ่านไปได้.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการคัดเลือกโดยธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

การซ่อมแซมดีเอ็นเอ

DNA damage resulting in multiple broken chromosomes การซ่อมแซมดีเอ็นเอ (DNA repair) คือชุดของกระบวนการที่เซลล์ตรวจพบและแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอที่ประกอบกันเป็นจีโนมของเซลล์นั้น ในเซลล์มนุษย์กระบวนการเผาผลาญตามปกติและปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น รังสียูวีหรือรังสีอื่นทำให้ดีเอ็นเอเสียหายและก่อให้เกิดรอยโรคระดับโมเลกุลได้สูงสุดถึงหนึ่งล้านตำแหน่งต่อเซลล์ต่อวันLodish H, Berk A, Matsudaira P, Kaiser CA, Krieger M, Scott MP, Zipursky SL, Darnell J. (2004).

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการซ่อมแซมดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัว

การปรับตัว (adaptation) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการปรับตัว · ดูเพิ่มเติม »

การป้อนกลับเชิงลบ

Simple feedback model. The feedback is negative if AB การป้อนกลับเชิงลบ คือการที่ความต่างระหว่างค่าจริงกับค่าอ้างอิงของระบบ ไปส่งผลให้ความต่างนั้นลดขนาดลง การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ทำให้ค่าจริงเคลื่อนออกจากค่าอ้างอิงจะถูกควบคุม ระบบที่มีดัชนีการป้อนกลับทางลบสูงมีแนวโน้มจะมีความเสถียรมาก.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการป้อนกลับเชิงลบ · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งเซลล์

Three types of cell division การแบ่งเซลล์คือกระบวนการที่เซลล์ตั้งต้น (parent cell) แบ่งตัวออกเป็นเซลล์ลูก (daughter cell) จำนวนสองเซลล์ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:วัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:กระบวนการของเซลล์ หมวดหมู่:เทโลเมียร์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการแบ่งเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

การแสดงออกของยีน

การแสดงออกของยีนคือกระบวนการที่ข้อมูลในยีนถูกใช้ในการสังเคราะห์ผลผลิตของยีนที่ทำงานได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีน แต่บางยีน เช่น rRNA tRNA หรือ snRNA มีผลผลิตเป็น RNA ซึ่งมีบทบาททำงานได้เช่นกัน กระบวนการที่ใช้ในการแสดงออกของยีนเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งยูคาริโอต (รวมถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ด้วย) โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) และอาจนับรวมถึงไวรัสด้วย กระบวนการนี้ทำให้เกิดกลไกที่เกิดจากโมเลกุลขนาดใหญ่ และทำให้เกิดชีวิต กระบวนการที่เซลล์ใช้ในการทำให้เกิดการแสดงออกของยีนมีหลายขั้นตอน เช่น การถอดรหัส การตัดแบ่ง RNA การแปลรหัส และการดัดแปลงโปรตีนหลังการแปลรหัส หมวดหมู่:อณูชีววิทยา หมวดหมู่:การแสดงออกของยีน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการแสดงออกของยีน · ดูเพิ่มเติม »

การแปลรหัส (พันธุศาสตร์)

ทรานสเลชันของโปรตีนที่หลั่งเข้าสู่เอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม ทรานสเลชัน (Translation) เป็นขั้นตอนแรกของการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกของยีน ทรานสเลชันเป็นการผลิตโปรตีนโดยอ่านรหัสจาก mRNA ที่ได้จากทรานสคริบชัน ทรานสเลชันเกิดในไซโตพลาสซึมซึ่งมีไรโบโซมอยู่ ไรโบโซมนั้นประกอบด้วยหน่วยย่อยขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ซึ่งจะมาประกบกันเมื่อมี mRNA ทรานสเลชันนี้จะสร้างพอลิเพปไทด์จากการอ่านรหัสพันธุกรรมที่เป็นลำดับเบสบน mRNA รหัสพันธุกรรมจะเป็นตัวบอกลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน ส่วน RNA ชนิดอื่น เช่น rRNA, tRNA, snRNA ไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดกรดอะมิโน ทรานสเลชันมี 4 ขั้นตอนคือ การกระตุ้น การเริ่มต้น การต่อเนื่องและการสิ้นสุด กรดอะมิโนจะถูกนำมายังไรโบโซมจากนั้นจึงต่อกันเป็นโปรตีน ขั้นตอนการกระตุ้น กรดอะมิโนจะเกิดพันธะโควาเลนต์กัน tRNA ที่เป็นคู่กัน กรดอะมิโนจะใช้หมู่คาร์บอกซิลจับกับหมู่ 3' OH ของ tRNA ด้วยพันธะเอสเทอร์ ขั้นตอนการเริ่มต้น เริ่มจากหน่วยเล็กของไรโบโซมจับกับปลาย 5' ของ mRNA โดยมี initiation factors (IF) เป็นผู้ช่วย การสิ้นสุดของการสร้างสายพอลิเพปไทด์เกิดขึ้นเมื่อด้าน A ของไรโบโซมเป็นรหัสพันธุกรรมหยุด (UAA, UAG, UGA) ซึ่งจะไม่มี tRNA เข้ามา แต่ releasing factor จะเข้ามาทำให้ปล่อยสายพอลิเพปไทด์ออกไป ปลาย 5' ของ mRNA ไปเป็นปลาย N ของพอลิเพปไทด์ และขั้นตอนทรานสเลชันเริ่มจาก N->C ยาปฏิชีวนะจำนวนหนึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งทรานสเลชัน เช่น anisomycin, cycloheximide, chloramphenicol, tetracycline, streptomycin, erythromycin และpuromycin ไรโบโซมของโปรคาริโอตมีโครงสร้างต่างจากของยูคาริโอต ทำให้ยาปฏิชีวนะจำเพาะเฉพาะแบคทีเรียไม่ทำลายยูคาริโอตที่เป็นเจ้าบ้าน หมวดหมู่:การแสดงออกของยีน หมวดหมู่:เซลล์ หมวดหมู่:อณูชีววิทยา.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการแปลรหัส (พันธุศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

การแปลงพันธุ์ (พันธุศาสตร์)

ในอณูชีววิทยา การแปลงพันธุ์ (transformation) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเซลล์ที่ได้จากการรับเอาสารพันธุกรรม (DNA) จากภายนอก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพันธุกรรมของเซลล์ และมีการแสดงออกของพันธุกรรมนั้น การแปลงพันธุ์นี้เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งในจำนวนสามกระบวนการที่ทำให้เกิดการถ่ายทอดยีนในแนวราบ ซึ่งหมายถึงการส่งผ่านสารพันธุกรรมจากแบคทีเรียตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง หมวดหมู่:อณูชีววิทยา.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการแปลงพันธุ์ (พันธุศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

การโคลน

thumb การโคลน (cloning) ในทางชีววิทยา หมายถึง กระบวนการผลิตประชากรที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันซึ่งเกิดขึ้นในธรรมชาติเมื่อสิ่งมีชีวิต เช่น แบคทีเรีย แมลงหรือพืชสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ การโคลนในทางเทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการสร้างสำเนาส่วนดีเอ็นเอ (การโคลนโมเลกุล), เซลล์ (การโคลนเซลล์) หรือสิ่งมีชีวิต คำว่า "การโคลน" ยังหมายถึงการผลิตสำเนาของผลิตภัณฑ์ เช่น สื่อดิจิตอลหรือซอฟต์แวร์ ขึ้นเป็นจำนวนมาก คำว่า "โคลน" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า κλών (klōn, “กิ่ง”) โดยหมายถึง ขั้นตอนซึ่งพืชต้นใหม่สามารถถูกสร้างขึ้นจากกิ่งได้ โดยสิ่งมีชีวิที่ได้รับการโคลนตัวแรกของโลกก็คือ "แกะ" ชื่อว่าดอลลี่ ประวัติการโคลน ความจริงแล้วการโคลนนิ่ง (Cloning)นั้น มนุษย์สามารถที่จะทำได้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ซึ่งเป็นการโคลนนิ่ง (Cloning) ที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนอะไรมากมาย นั่นคือ การโคลนนิ่ง(Cloning)ที่ทำกับพืชนั่นเอง หรือคือ การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัยเพศของพืช ที่เรียกกันว่า “การเพาะชำพืช” ซึ่งเรื่องการโคลนนิ่ง(Cloning) ของสัตว์และมนุษย์ก็เป็นเรื่องของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเช่นกัน โดยต่อมาการโคลนนิ่งพืช ก็ได้มีการพัฒนาโดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย อย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช นั่นเอง ส่วนด้านการโคลนนิ่งสัตว์นั้น ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการโคลน · ดูเพิ่มเติม »

การไขว้เปลี่ยนของโครโมโซม

ภาพวาดการไขว้เปลี่ยนของโทมัส ฮันท์ มอร์แกน (1916) การไขว้เปลี่ยนสองชั้น การจัดเรียงใหม่ต้องเกิดจากการตัดและต่อของสายโครโมโซมของรุ่นพ่อแม่ กระบวนการไขว้เปลี่ยนของโครโมโซมหรือครอสซิง โอเวอร์ คือกระบวนการซึ่งทำให้มีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างโครโมโซมซึ่งเป็นโฮโมโลกัสกัน ถือเป็นขั้นตอนท้ายๆ ของกระบวนการจัดเรียงใหม่ของพันธุกรรมในโปรเฟส 1 ของไมโอซิส (แพคีทีน) ในขั้นตอนไซแนปซิส ซึ่งไซแนปซิสเริ่มขึ้นก่อนที่จะมีการสร้างไซแนปโตนีมาลคอมเพลกซ์ และยังไม่เสร็จจนกระทั่งช่วงท้ายของโปรเฟส 1 กระบวนการไขว้เปลี่ยนส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อบริเวณซึ่งพอดีกันบนโครโมโซมที่เป็นคู่กันเกิดการแตกและต่อกันระหว่างโครโมโซมคู่กันคนละตัว หมวดหมู่:กระบวนการของเซลล์ หมวดหมู่:อณูพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการไขว้เปลี่ยนของโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

การเกิดสัณฐาน

การเกิดสัณฐาน (morphogenesis) หรือการเกิดรูปร่าง เป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดเป็นรูปร่างดังที่เป็นอยู่ได้ ถือเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งในพื้นฐานสำคัญที่สุดทั้ง 3 ของชีววิทยาพัฒนาการ (อีก 2 อย่าง คือ การเจริญของเซลล์แบบควบคุม และการแยกประเภทของเซลล์) กระบวนการนี้ทำให้เซลล์ที่แบ่งแล้วสามารถจัดระเบียบในพื้นที่ทางกายภาพได้ในช่วงการเจริญระยะตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังอาจพบได้ในสิ่งมีชีวิตที่เจริญเต็มที่แล้ว ในการเพาะเลี้ยงเซลล์ และในเนื้องอก นอกจากนี้คำนี้ยังอาจหมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่วงจรชีวิตไม่มีระยะเอมบริโอ หรือกระบวนการวิวัฒนาการของส่วนของร่างกายก็ได้ กระบวนการการเกิดสัณฐานเป็นผลตอบสนองที่อาจเกิดจากฮอร์โมน จากสารเคมีแวดล้อม เช่นจากสิ่งมีชีวิตอื่น จากสารพิษ จากสารรังสีปนเปื้อน หรือจากแรงกดดันทางกล (mechanical stress) ที่เกิดแบบแผนการจัดเรียงตัวทางกายภาพของเซลล์ หมวดหมู่:สัณฐานวิทยา หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการเกิดสัณฐาน · ดูเพิ่มเติม »

การเกิดสปีชีส์

การเกิดสปีชีส์ หรือ การเกิดชนิด (Speciation) เป็นกระบวนการทางวิวัฒนาการที่กลุ่มประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการเป็นสปีชีส์ต่าง ๆ กัน นักชีววิทยาชาวอเมริกันออเรเตอร์ เอฟ คุ๊ก (Orator F. Cook) ได้บัญญัติคำภาษาอังกฤษว่า speciation ในปี 1906 โดยหมายการแยกสายพันธุ์แบบ cladogenesis (วิวัฒนาการแบบแยกสาย) ไม่ใช่ anagenesis (วิวัฒนาการแบบสายตรง) หรือ phyletic evolution ซึ่งเป็นวิวัฒนาการแบบในสายพันธุ์ ชาลส์ ดาร์วินเป็นบุคคลแรกที่กล่าวถึงบทบาทของการคัดเลือกโดยธรรมชาติต่อการเกิดสปีชีส์ใหม่ในหนังสือปี 1859 ของเขา คือ กำเนิดสปีชีส์ (The Origin of Species) เขายังได้ระบุการคัดเลือกทางเพศ (sexual selection) ว่าเป็นกลไกหนึ่งที่เป็นไปได้ แต่ก็พบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับมัน มีการเกิดสปีชีส์ตามภูมิภาค 4 ประเภทในธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับระดับที่กลุ่มประชากรที่กำลังเกิดสปีชีส์อยู่แยกจากกัน คือ การเกิดสปีชีส์ต่างบริเวณ (allopatric speciation), การเกิดสปีชีส์รอบบริเวณ (peripatric speciation), การเกิดสปีชีส์ข้างบริเวณ (parapatric speciation), และการเกิดสปีชีส์ร่วมบริเวณ (sympatric speciation) การเกิดสปีชีส์สามารถทำขึ้นได้ผ่านการทดลองทางสัตวบาล ทางเกษตรกรรม และทางห้องปฏิบัติการ ยังไม่ชัดเจนว่า การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงมีบทบาทสำคัญหรือไม่ในกระบวนการเกิดสปีชี.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการเกิดสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง

ร์วินให้เป็น '''ทฤษฎีวิวัฒนาการสังเคราะห์แบบปัจจุบัน''' (Modern evolutionary synthesis) การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (Genetic drift, allelic drift, Sewall Wright effect) เป็นการเปลี่ยนความถี่รูปแบบยีน (คือ อัลลีล) ในกลุ่มประชากรเพราะการชักตัวอย่างอัลลีลแบบสุ่มของสิ่งมีชีวิต คือ อัลลีลที่พบในสิ่งมีชีวิตรุ่นลูก จะเป็นตัวอย่างของอัลลีลที่ชักมาจากพ่อแม่ โดยความสุ่มจะมีบทบาทกำหนดว่า สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกนั้น ๆ จะรอดชีวิตแล้วสืบพันธุ์ต่อไปหรือไม่ ส่วน ความถี่อัลลีล (allele frequency) ก็คืออัตราที่ยีนหนึ่ง ๆ จะมีรูปแบบเดียวกันในกลุ่มประชากร การเปลี่ยนความถี่ยีนอาจทำให้อัลลีลหายไปโดยสิ้นเชิงและลดความแตกต่างของยีน (genetic variation) เมื่ออัลลีลมีก๊อปปี้น้อย ผลของการเปลี่ยนความถี่จะมีกำลังกว่า และเมื่อมีก๊อปปี้มาก ผลก็จะน้อยกว่า ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีการอภิปรายอย่างจริงจังว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติสำคัญเทียบกับกระบวนการที่เป็นกลาง ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงแค่ไหน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ยีน

รโมโซมคือสายดีเอ็นเอที่พันประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอที่ถอดรหัสออกมาเพื่อทำหน้าที่ ยีนสมมติในภาพนี้ประกอบขึ้นจากแค่สี่สิบคู่เบส ซึ่งยีนจริงๆ จะมีจำนวนคู่เบสมากกว่านี้ ยีน, จีน หรือ สิ่งสืบต่อพันธุกรรม (gene) คือลำดับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูกถอดรหัสออกมาเป็นอาร์เอ็รนเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจทำหน้าที่ได้เองโดยตรง หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอนการแปลรหัส ซึ่งเป็นการสร้างโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฏ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฏให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ยีนอาจเกิดการกลายพันธุ์สะสมในลำดับพันธุกรรมได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของการแสดงออกในกลุ่มประชากร เรียกว่าแต่ละรูปแบบที่แตกต่างนี้ว่า อัลลีล แต่ละอัลลีลของยีนยีนหนึ่งจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดลักษณะปรากฏทางฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันไป ในระดับคนทั่วไปเมื่อพูดถึงการมียีน เช่น มียีนที่ดี มียีนสีผมน้ำตาล มักหมายถึงการมีอัลลีลที่แตกต่างของยีนยีนหนึ่ง ยีนเหล่านี้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เกิดการอยู่รอดของอัลลีลที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ยีนเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมที่ถอดรหัสได้เป็นสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า exon และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intron.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และยีน · ดูเพิ่มเติม »

รหัสพันธุกรรม

ลำดับของกรดอะมิโนบน mRNAแต่ละรหัสมีนิวคลีโอไทด์ 3 ตัว และกำหนดกรดอะมิโน 1 ตัว รหัสพันธุกรรม (genetic code) เป็นชุดของการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ และถูกทรานสเลชันเป็นโปรตีน หรือลำดับกรดอะมิโน ในเซลล์ที่มีชีวิต รหัสแต่ละรหัสประกอบไปด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์สามตัว ซึ่งกำหนดกรดอะมิโน 1 ตัว แม้จะมีรหัสพันธุกรรมที่เป็นสากล แต่ก็อาจจะมีความแตกต่างกันไปได้บ้าง เช่น รหัสพันธุกรรมในไมโทคอนเดรียของคน ต่างจากรหัสพันธุกรรมที่รู้จักกันทั่วไป ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดอาจไม่จำเป็นต้องเก็บในรหัสพันธุกรรม ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีลำดับควบคุม (regulatory sequences) ส่วนที่รวมเข้าด้วยกัน (intergenic segments) และโครงสร้างโครโมโซม ที่มีผลต่อฟีโนไทป์ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรหัสที่กำหนดกรดอะมิโน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และรหัสพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รังสีอัลตราไวโอเลต

แสงออโรราจากดาวพฤหัสบดีในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต ถ่ายโดยองค์การนาซา รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และรังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบพันธุกรรม

ลักษณะทางพันธุกรรม (genotype.) หมายถึงลักษณะองค์ประกอบของยีน (gene) ของสิ่งมีชีวิตที่มีการแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏที่แตกต่างกัน และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นอื่นๆ ต่อไปได้ โดยการถ่ายทอดยีน ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะมีหน่วยควบคุมลักษณะ (genetic unit) ควบคุมสิ่งมีชีวิตให้มีรูปร่าง และลักษณะเป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของพ่อแม่ เรียกว่า ยีน ดังนั้นยีนจึงทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นหลาน ลักษณะต่างๆ ที่ถ่ายทอดไปนั้นพบว่าบางลักษณะไม่ปรากฏในรุ่นลูก แต่อาจจะปรากฏในรุ่นหลานหรือเหลนก็ได้ จึงมีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันของลักษณะทางพันธุกรรมจนมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลาย แต่การสะสมลักษณะทางพันธุกรรมจำนวนมากทำให้เกิดสปีชีส์ต่างๆ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน หมวดหมู่:ภาวะพหุสันฐาน หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ he:גן (ביולוגיה)#מושגים בסיסיים.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และรูปแบบพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบปรากฏ

patterning in their phenotypes. Here the relation between genotype and phenotype is illustrated, using a Punnett square, for the character of petal color in pea plants. The letters B and b represent genes for color, and the pictures show the resultant flowers. ลักษณะปรากฏ หรือ รูปแบบปรากฏ (phenotype) (φαίνω แปลว่า "เปิดเผย, แสดงออก"; τύπος แปลว่า "รูปแบบ") หมายถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็นได้หรือตรวจสอบได้ โดยไม่ต้องตรวจลงไปถึงระดับพันธุกรรม ลักษณะเหล่านี้ เช่น รูปร่าง การพัฒนา คุณสมบัติทางสรีรวิทยา คุณสมบัติทางชีวเคมี พฤติกรรม หรือผลที่เกิดจากพฤติกรรม (เช่น รูปร่างใยแมงมุม) ลักษณะปรากฏเหล่านี้เป็นผลจากการแสดงออกของพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเรียกว่า ลักษณะพันธุกรรม (genotype) ซึ่งอาจมีหรือไม่มีผลจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องก็ได้ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:ภาวะพหุสันฐาน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และรูปแบบปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์มากกว่าหนึ่งเซลล์ ต่างจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ในการจะเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์นั้น เซลล์เหล่านี้จำต้องระบุเอกลักษณ์และยึดเข้ากับเซลล์อื่น สัตว์เกือบทั้งหมด 1.5 ล้านสปีชีส์ ตลอดจนพืชและฟังไจจำนวนมากเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม

กลฟิช (GloFish) สัตว์ดัดแปรพันธุกรรมอย่างแรกที่มีขายเป็นสัตว์เลี้ยง สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (genetically modified organism, GMO) คือ สิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรม จีเอ็มโอเป็นแหล่งของยาและอาหารดัดแปรพันธุกรรมและมีใช้แพร่หลายในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และในการผลิตสินค้าอื่น คำว่าจีเอ็มโอคล้ายกับศัพท์กฎหมายเฉพาะวงการ "สิ่งมีชีวิตดัดแปรที่ยังมีชีวิต" (living modified organism) ที่นิยามว่า "สิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตใด ๆ ที่มีการรวมสารพันธุกรรมใหม่ที่ได้มาโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่" ในพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) ที่กำกับการค้าจีเอ็มโอที่ยังมีชีวิตระหว่างประเทศ หนูดัดแปรพันธุกรรมตัวแรกกำเนิดในปี 2524 พืชต้นแรกผลิตในปี 2526 และมนุษย์ดัดแปรพันธุกรรมคนแรก (ดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียดัดแปร) เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2540.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตตัวแบบ

''Escherichia coli'' เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแบบที่เป็นโพรแคริโอตและแบคทีเรียแกรมลบ แมลงวันทองเป็นสัตว์ทดลองที่ใช้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ''Saccharomyces cerevisiae'' เป็นโพรแคริโอตตัวแบบที่ใช้ศึกษามากที่สุดในอณูชีววิทยาและชีววิทยาของเซลล์ สิ่งมีชีวิตตัวแบบ หรือ สิ่งมีชีวิตแบบจำลอง (model organism) เป็นสปีชีส์สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ ที่ใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาเพื่อเข้าใจปรากฏการณ์ทางชีววิทยาต่าง ๆ โดยคาดหวังว่า สิ่งที่ค้นพบในแบบจำลองจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตแบบจำลองจะเป็นแบบยังมีชีวิตอยู่ และได้ใช้อย่างกว้างขวางในงานวิจัยโรคมนุษย์ที่การทดลองในมนุษย์เป็นไปไม่ได้หรือไม่ถูกจริยธรรม กลยุทธ์นี่ใช้ได้ก็เพราะสิ่งมีชีวิตทั้งหมดสืบเชื้อสายร่วมกันจากบรรพบุรุษเดียวกัน โดยได้อนุรักษ์วิถีเมแทบอลิซึม วิถีพัฒนาการ และกระบวนการอื่น ๆ ทางพันธุกรรมตลอดวิวัฒนาการ แม้การศึกษาสิ่งมีชีวิตตัวแบบจะให้ข้อมูลที่ดี แต่ก็ต้องระวังเมื่อประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในการวิจัยโรคมนุษย์ สิ่งมีชีวิตตัวแบบจะทำให้เข้าใจกระบวนการของโรคดีขึ้นโดยไม่ต้องเสี่ยงทำอันตรายแก่มนุษย์ สปีชีส์ที่เลือกปกติจะผ่านเกณฑ์ความสมมูลทางอนุกรมวิธาน (taxonomic equivalency) บางอย่างกับมนุษย์ คือสัตว์จะมีปฏิกิริยาทางสรีรภาพต่อโรคหรือต่อการรักษา ในรูปแบบที่คล้าย ๆ กับของมนุษย์ ถึงแม้จะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า กระบวนการทางชีววิทยาที่พบในสัตว์ตัวแบบจะเป็นอย่างเดียวกันในมนุษย์ แต่วิธีการรักษาและยาจำนวนมากที่ใช้ในโรคมนุษย์ ก็ได้พัฒนาอาศัยแนวคิดที่ได้จากสัตว์ตัวแบบเป็นบางส่วน มีแบบจำลองโรค 3 ประเภทหลัก ๆ คือ homologous (กำเนิดเดียวกัน), isomorphic (สมสัณฐาน) และ predictive (พยากรณ์) สัตว์จำลองแบบกำเนิดเดียวกันจะมีเหตุโรค อาการ และการรักษาเหมือนกับของมนุษย์ที่มีโรค สัตว์จำลองแบบสมสัณฐานจะมีอาการและการรักษาเหมือนกัน สัตว์จำลองแบบพยากรณ์จะมีสภาพเพียงแค่บางอย่างที่คล้ายกับมนุษย์ผู้มีโรค แต่ก็มีประโยชน์ในการคาดหมายกลไกต่าง ๆ เกี่ยวกับโร.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และสิ่งมีชีวิตตัวแบบ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

หนูหริ่งบ้าน

หนูหริ่งบ้าน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์หนู (Muridae) หนูหริ่งบ้านจัดเป็นหนูที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียประมาณ 30-40 กรัม มีขนสีน้ำตาลอ่อนตลอดทั้งลำตัว ส่วนท้องสีขาว ไม่มีขนที่หาง ขาหน้ามี 4 นิ้ว ขาหลังมี 5 นิ้ว ตัวเมียมีเต้านม 10 เต้า มีอายุขัยประมาณ 1.5-3 ปี หนูหริ่งบ้านเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไว ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารได้แทบทุกอย่างเช่นเดียวกับหนูทั่วไป และจัดเป็นหนูอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ตามบ้านเรือนของมนุษย์ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบแทบทุกมุมของโลกและทุกทวีป แต่เชื่อว่า ดั้งเดิมเป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ก่อนจะกระจายไปทั่วโลกอย่างในปัจจุบัน หนูหริ่งบ้านเป็นหนูชนิดที่ได้รับความนิยมในการนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง โดยมีการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์โดยชาวจีนและชาวญี่ปุ่นจนกลายเป็นหนูเผือกทั้งตัว ตาสีแดง และพัฒนาจนเป็นสีต่าง ๆ ตามลำตัว โดยแรกเรี่มเลี้ยงกันในพระราชวัง และเป็นหนูชนิดที่นิยมเป็นสัตว์ทดลองและเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงแก่สัตว์เลื้อยคลาน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และหนูหริ่งบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

อะพอพโทซิส

ตัดขวางของตับหนูแสดงเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส (ลูกศร) อะพอพโทซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing), การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis) อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไป ทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะพอพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะพอพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และอะพอพโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

อัลลีล

อัลลีล (allele) คือรูปแบบหนึ่ง ๆ จากหลาย ๆ รูปแบบของยีนหนึ่ง ๆ บางครั้งอัลลีลที่แตกต่างกันอาจทำให้เกิดลักษณะแสดงออก เช่น สีตา สีผม ที่แตกต่างกันได้ บางครั้งอัลลีลที่แตกต่างกันอาจไม่ได้ทำให้มีลักษณะแสดงออกที่แตกต่างกันก็ได้ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ส่วนใหญ่มีโครโมโซมสองชุด เรียกว่าเป็นสิ่งมีชีวิตแบบดิพลอยด์ โครโมโซมเหล่านี้เรียกว่าเป็นโครโมโซมที่เป็นโฮโมโลกัสกัน สิ่งมีชีวิตแบบดิพลอยด์จะมียีนหนึ่ง ๆ หนึ่งยีน (และหมายถึงอัลลีลหนึ่ง ๆ หนึ่งอัลลีล) บนโครโมโซมแต่ละอัน หากทั้งสองอัลลีลเป็นอัลลีลที่เหมือนกัน เรียกว่าเป็นอัลลีลที่เป็นโฮโมไซกัส ถ้าไม่เหมือนกันเรียกว่าเป็นเฮเทอโรไซกั.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และอัลลีล · ดูเพิ่มเติม »

อัตราพันธุกรรม

อัตราพันธุกรรมตั้งคำถามว่า พันธุกรรมส่งผลต่อความแตกต่างของส่วนสูงระหว่างคนมากน้อยเพียงใด ไม่ได้ตั้งคำถามว่าพันธุกรรมส่งผลต่อความสูงของคนคนหนึ่งมากน้อยเพียงใด อัตราพันธุกรรม (heritability) ของลักษณะหนึ่งๆ ในประชากร คือสัดส่วนของความแตกต่างที่สังเกตได้ของลักษณะนั้นๆ ระหว่างบุคคล ที่เป็นผลจากความแตกต่างทางพันธุกรรม ลักษณะที่สังเกตได้ (ฟีโนไทป์) อย่างหนึ่งๆ ของคนคนหนึ่งนั้น เป็นผลจากปัจจัยหลายอย่างรวมถึงพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการสุ่ม อัตราพันธุกรรมจึงเป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่พันธุกรรมมีผลเชิงสัมพัทธ์ต่อกันมากน้อยเพียงใด ในการกำหนดความหลากหลายทางลักษณะที่สังเกตได้ในประชากร หมวดหมู่:พันธุศาสตร์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และอัตราพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เอ็นเอ

กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid) หรือ อาร์เอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิก ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สารชีวโมเลกุลหลัก ร่วมกับลิพิด คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ที่สำคัญแก่สิ่งมีชีวิตทุกชนิด อาร์เอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ สายยาว เช่นเดียวกับดีเอ็นเอ นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยประกอบด้วยนิวคลีโอเบส น้ำตาลไรโบสและหมู่ฟอสเฟต ลำดับนิวคลีโอไทด์ทำให้อาร์เอ็นเอเข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรมได้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดใช้อาร์เอ็นเอนำรหัส (mRNA) นำข้อมูลพันธุกรรมที่ชี้นำการสังเคราะห์โปรตีน ยิ่งไปกว่านั้น ไวรัสหลายชนิดใช้อาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมแทนดีเอ็นเอ โมเลกุลอาร์เอ็นเอบางอย่างมีบทบาทสำคัญในเซลล์โดยเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ ควบคุมการแสดงออกของยีนหรือรับรู้และสื่อสารการตอบสนองต่อสัญญาณของเซลล์ ขบวนการหนึ่ง คือ การสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งเป็นหน้าที่สากลซึ่งโมเลกุลอาร์เอ็นเอสื่อสารชี้นำการสร้างโปรตีนบนไรโบโซม ขบวนการนี้ใช้โมเลกุลอาร์เอ็นเอถ่ายโอน (tRNA) เพื่อขนส่งกรดอะมิโนไปยังไรโบโซม ที่ซึ่งอาร์เอ็นเอไรโบโซม (rRNA) เชื่อมกรดอะมิโนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโปรตีน เรียกขั้นตอนการสังเคราะห์โปรตีนจากสายอาร์เอ็นเอนี้ว่า การแปลรหัส โครงสร้างทางเคมีของอาร์เอ็นเอคล้ายคลึงกับของดีเอ็นเอเป็นอย่างมาก แต่มีข้อแตกต่างอยู่สองประการ (1) อาร์เอ็นเอมีน้ำตาลไรโบส ขณะที่ดีเอ็นเอมีน้ำตาลดีออกซีไรโบส (ขาดออกซิเจนหนึ่งอะตอม) ซึ่งแตกต่างเล็กน้อย และ (2) อาร์เอ็นเอมีนิวคลีโอเบสยูราซิล ขณะที่ดีเอ็นเอมีไทมีน โมเลกุลอาร์เอ็นเอส่วนมากเป็นสายเดี่ยว และสามารถเกิดโครงสร้างสามมิติที่ซับซ้อนมากได้ ต่างจากดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กโตรโฟรีซิส

อิเล็กโตรโฟรีซิส (Electrophoresis) เป็นเทคนิคที่ใช้แยกสาร วิเคราะห์ และเตรียมสารที่มีประจุไฟฟ้า เช่น กรดอะมิโน โปรตีน และ กรดนิวคลีอิก ให้บริสุทธิ์ โดยอาศัยหลักการที่ว่า เมื่อให้สนามไฟฟ้า สารที่มีประจุไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ไปยังขั้วที่ตรงข้ามกันด้วย อัตราเร็วในการเคลื่อนที่ ซึ่งขึ้นกับปริมาณประจุสุทธิบนโมเลกุลของสาร รูปร่างและขนาดของโมเลกุลของสารนั้น และกระแสไฟฟ้.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และอิเล็กโตรโฟรีซิส · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และอุณหภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

อีพีเจเนติกส์

อีพีเจเนติกส์ (epigenetics) หรือพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรม คือองค์ความรู้ทางชีววิทยาโดยเฉพาะพันธุศาสตร์ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของยีนที่เกิดจากกระบวนการอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงลำดับดีเอ็นเอ ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนแบบนี้เช่นการเติมหมู่เมธิลบนดีเอ็นเอหรือการถอนหมู่อะเซทิลออกจากฮิสโตน เป็นการยับยั้งการแสดงออกของยีนนั้นๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอในยีนนั้นๆ การควบคุมการแสดงออกในลักษณะนี้อาจสามารถคงอยู่ได้หลังการแบ่งเซลล์ และอาจคงอยู่ข้ามไปสู่สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกและรุ่นต่อๆ ไปได้ แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยมีปัจจัยที่นอกเหนือจากพันธุกรรมที่ทำให้ยีนแต่ละยีนแสดงออก ("ประพฤติตัว") เปลี่ยนแปลงไปจากที่ควรเป็น ตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการอีพิเจเนติกส์ในเซลล์สิ่งมีชีวิตยูคาริโอตคือกระบวนการการเปลี่ยนชนิดของเซลล์ (cellular differentiation) ซึ่งระหว่างขั้นตอนมอร์โฟเจเนซิสนั้นเซลล์ต้นกำเนิดชนิดโททิโพเทนท์จะแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสายพันธุ์เซลล์พลูริโพเทนท์หลายๆ สายพันธุ์ ของตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต ซึ่งก็จะแบ่งตัวและพัฒนาต่อไปกลายเป็นเซลล์ที่มีการกำหนดหน้าที่ชัดเจน กล่าวคือ เซลล์ไข่ซึ่งปฏิสนธิแล้ว (ไซโกต) เพียงเซลล์เดียว ได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์หลายต่อหลายชนิดทำหน้าที่แตกต่างกัน ตั้งแต่เซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เยื่อบุผิว เซลล์ผนังหลอดเลือด ฯลฯ ซึ่งกลไกนี้เกิดขึ้นโดยที่เซลล์ต่างๆ มีกระบวนการที่ทำให้ยีนบางยีนทำงาน และยีนบางยีนไม่ทำงาน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และอีพีเจเนติกส์ · ดูเพิ่มเติม »

อณูชีววิทยา

อณูชีววิทยา หรือ ชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง และการทำงานของหน่วยพันธุกรรม ในระดับโมเลกุล เป็นสาขาที่คาบเกี่ยวกันระหว่างชีววิทยาและเคมี โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์และชีวเคมี อณูชีววิทยามุ่งเน้นศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆภายในเซลล์ ซึ่งรวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ และ โปรตีน และรวมถึงว่าขบวนการเหล่านี้ถูกควบคุมอย่างไร.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และอณูชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

อณูพันธุศาสตร์

อณูพันธุศาสตร์ (อังกฤษ: molecular genetics) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่ว่าด้วยเรื่องพันธุกรรมระดับโมเลกุล หรือ ดีเอ็นเอ และ ยีน ซึ่งนำมาสามเข้าใจในเรื่องพันธุศาสตร์ อีกทั้งเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับวิชาชีวเคมี และนำไปประยุกต์ใช้ในแบบของวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:อณูพันธุศาสตร์ หมวดหมู่:อณูชีววิทยา.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และอณูพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิสโตน

รงสร้างของฮิสโตนที่เป็นแกนของนิวคลีโอโซม โปรตีนฮิสโตนเป็นโปรตีนที่มีประจุบวกสูงพันอยู่กับดีเอ็นเอของยูคาริโอตเป็นโครงสร้างที่เรียกว่านิวคลีโอโซม และเป็นโครงสร้างหลักของโครมาติน เกี่ยวข้องกับการม้ววนตัวของดีเอ็นเอและการแสดงออกของยีน ทำให้โครงสร้างของจีโนมมีขนาดเล็กลงเมื่อม้วนตัวจนแน่นเป็นโครโมโซมในการแบ่งเซลล์ระยะไมโทซ.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และฮิสโตน · ดูเพิ่มเติม »

ฮือโค เดอ ฟรีส

ือโค มารี เดอ ฟรีส (Hugo Marie de Vries) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์และถือเป็นนักพันธุศาสตร์คนแรก ๆ ของโลก เป็นที่รู้จักจากการเสนอแนวคิดว่าด้วยยีน การค้นพบกฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมซ้ำอีกครั้งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 โดยไม่รู้จักผลงานของเกรเกอร์ เมนเดล มาก่อน การเสนอใช้คำว่าการกลายพันธุ์ (mutation) และการพัฒนาทฤษฎีการกลายพันธุ์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการ.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และฮือโค เดอ ฟรีส · ดูเพิ่มเติม »

จีโนม

วิชาพันธุศาสตร์และอณูชีววิทยายุคใหม่กำหนดใช้คำว่า จีโนม (genome) หมายถึง ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ โดยอาจอยู่ในรูปของดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ (ในกรณีของไวรัสหลายชนิด) ก็ได้ โดยนับรวมทั้งส่วนที่เป็นยีนและส่วนที่ไม่มีการถอดรหัสด้ว.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และจีโนม · ดูเพิ่มเติม »

จีโนมมนุษย์

จีโนมของมนุษย์คือชุดของข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของมนุษย์ ข้อมูลนี้อยู่ในลำดับ DNA ซึ่งกระจายอยู่บนโครโมโซม 23 คู่ในนิวเคลียสของเซลล์แต่ละเซลล์ รวมทั้งในโมเลกุล DNA อีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในไมโตคอนเดรีย ข้อมูลในจีโนมของมนุษย์มีทั้ง DNA ส่วนที่จะถูกถอดรหัสเป็นโปรตีน (coding DNA) และส่วนที่จะไม่ถูกถอดรหัสเป็นโปรตีน (noncoding DNA) ครึ่งหนึ่งหรือส่วนที่เป็นแฮพลอยด์ของจีโนมมนุษย์ (พบในเซลล์ไข่หรือเซลล์อสุจิ) มีจำนวนสามพันล้านคู่เบส ในขณะที่จีโนมทั้งหมดหรือดิพลอยด์ของจีโนม (พบในเซลล์โซมาติกทั่วไป) มีจำนวนคู่เบสดีเอ็นเอเป็น 2 เท่า หมวดหมู่:แผนที่พันธุกรรม หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:จีโนมิกส์ หมวดหมู่:มนุษย์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการของมนุษย์ หมวดหมู่:มนุษยพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และจีโนมมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

จีโนมิกส์

จีโนมิกส์ (Genomics) เป็นการศึกษาจีโนม (genome) ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต สาขาวิชานี้เกี่ยวข้องกับความพยายามจะค้นหาลำดับดีเอ็นเอ (DNA sequence) ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตและการทำแผนที่พันธุศาสตร์ (genetic mapping) สาขาวิชานี้ยังรวมถึงการศึกษาปรากฏการณ์ภายในจีโนม (intragenomic phenomena) เช่น อภิชาตพันธุ์ (heterosis), การกดการหลั่ง (epistasis), การที่ยีนเพียงโลกัสเดียวควบคุมลักษณะหลายลักษณะ (pleiotropy) และปฏิสัมพันธ์อื่นๆ ระหว่างโลคัสและอัลลีลภายในจีโนม ในทางกลับกัน การศึกษาหน้าที่การทำงานและบทบาทของยีนเดี่ยวหนึ่งยีน ซึ่งเป็นการวิจัยทางชีววิทยาและทางการแพทย์ในปัจจุบันที่ทำกันโดยทั่วไปในทุกวันนี้ และการมุ่งเน้นไปเฉพาะด้านอณูชีววิทยา (molecular biology) ไม่ใช่ความหมายของจีโนมิกส์ แต่จีโนมิกส์มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุศาสตร์ วิถี และหน้าที่เพื่อจะทำความเข้าใจผล ตำแหน่ง และการตอบสนองต่อเครือข่ายในจีโนมทั้งหมด หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:จีโนมิกส์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ทริปโตเฟน

ทริปโตเฟน (Tryptophan;ย่อ Trp หรือ W) เป็นหนึ่งใน 8 กรดอะมิโนที่จำเป็นในความต้องการของมนุษย์ มันถูกเข้ารหัสในรหัสทางพันธุกรรมพื้นฐานเป็นโคดอน UGG เพียงแค่ L-สเตอริโอไอโซเมอร์ของทริปโตเฟนเท่านั้นถูกใช้ในสเกลอโรโปรตีนหรือโปรตีนเอนไซม์ แต่ D-สเตอริโอไอโซเมอร์บางครั้งพบในเพปไทด์ที่ถูกสร้างขึ้นตามธรรมชาติ (ตัวอย่าง คอนทริปเฟนเพปไทด์พิษทะเล) ลักษณะโครงสร้างเด่นของทริปโตเฟนคือบรรจุด้วยหมู่ฟังก์ชันอินโดล.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และทริปโตเฟน · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีของลามาร์ก

ทฤษฎีของลามาร์ก (Lamarkism, Lamarckian inheritance) คือแนวคิดที่ว่าสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะที่ได้รับมาใหม่ไปยั่งรุ่นลูกได้ ตั้งชื่อตามนักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส Jean-Baptiste Lamarck ขณะที่ Charles Darwin เสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการโดยการคัดเลือกจากธรรมชาติลงในหนังสือ On the Origin of Species ดาร์วินก็ยังไม่ตัดแนวคิดนี้ โดยเรียกว่า การถ่ายทอดโดยการใช้และไม่ใช้ (use and disuse inheritance) แต่ปฏิเสธแง่มุมอื่นของทฤษฎี ต่อมาเมื่อพันธุศาสตร์แบบเมนเดลพัฒนามากขึ้น ทำให้แนวคิดว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะที่ได้รับมาใหม่ถูกเลิกเชื่อไป หมวดหมู่:ทฤษฎีชีววิทยา.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และทฤษฎีของลามาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ทีอาร์เอ็นเอ

tRNA_phe ในยีสต์ ทีอาร์เอ็นเอ หรือ อาร์เอ็นเอถ่ายโอน (transfer RNA; tRNA) เป็นอาร์เอ็นเอขนาดเล็ก ประมาณ 74-95 นิวคลีโอไทด์ มีหน้าที่นำกรดอะมิโนที่จำเพาะเข้ามาต่อเป็นสายพอลิเพปไทด์ที่ไรโบโซมระหว่างการแปลรหัส กรดอะมิโนจับกับปลาย 3' การสร้างพันธะเพปไทด์อาศัยการทำงานของ aminoacyl tRNA synthetase มีบริเวณที่มีเบสสามเบสเรียกแอนติโคดอนซึ่งจะจับกับโคดอนหรือรหัสพันธุกรรมบน mRNA tRNA แต่ละชนิดจะจับกับกรดอะมิโนตัวเดียวเท่านั้น แต่รหัสพันธุกรรมอาจจะมีหลายรหัสที่กำหนดกรดอะมิโนตัวเดียวกัน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และทีอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอพอลิเมอเรส

วามสามารถในการตรวจสอบของดีเอ็นเอพอลิเมอเรส ดีเอ็นเอพอลิเมอเรส (DNA polymerase) เป็นเอนไซม์ที่ทำงานระหว่างการสร้างดีเอ็นเอสายใหม่ในการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอโดยจำเป็นต้องใช้แม่แบบ (Template) โดยดีเอ็นเอพอลิเมอเรสจะเติมเบสตัวใหม่ที่เป็นเบสคู่สมของแม่แบบเสมอ และไพรเมอร์ (Primer) ซึ่งเป็นลำดับนิวคลีโอไทด์สายสั้นๆ ที่เข้าคู่กับแม่แบบได้ และสามารถเติมนิวคลีโอไทด์ตัวใหม่เข้าที่ปลาย 3′ ได้ คุณสมบัติที่สำคัญของดีเอ็นเอพอลิเมอเรส คือ 5′-3′ พอลิเมอเรส (สร้างสายโพลีนิวคลีโอไทป์ใหม่จาก 5′ ไป 3′) และ 3′-5′ เอกโซนิวคลีเอส (ตัดสายโพลีนิวคลีโอไทป์จาก 3′ ไป 5′) ซึ่งคุณสมบัตินี้เป็นคุณสมบัติที่ใช้ตรวจสอบความผิดพลาดของการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอได้ มีหลายชน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และดีเอ็นเอพอลิเมอเรส · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางพันธุกรรม

วามหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic diversity) เป็นจำนวนลักษณะทางพันธุกรรมทั้งหมดของสปีชีส์ ซึ่งแยกจาก "ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม" (genetic variability) ซึ่งหมายถึงความโน้มเอียงของลักษณะทางพันธุกรรมที่จะต่างกัน ความหลากหลายทางพันธุกรรมเป็นกลไกหนึ่ง ที่ประชากรสิ่งมีชีวิตปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนไป ถ้าประชากรมีความแตกต่างกันมาก หน่วยสิ่งมีชีวิตบางหน่วยในกลุ่มประชากรก็จะมีโอกาสมีอัลลีลในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า และก็จะมีโอกาสรอดชีวิตแล้วสร้างทายาทที่มีอัลลีลที่ว่ามากกว่าหน่วยอื่น ๆ กลุ่มประชากรก็จะดำเนินไปได้ในรุ่นต่อ ๆ ไปเพราะความสำเร็จของหน่วยสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น สาขาพันธุศาสตร์ประชากรมีสมมติฐานและทฤษฎีหลายอย่างเกี่ยวกับความหลากหลายทางพันธุกรรม ทฤษฎีวิวัฒนาการที่เป็นกลาง (neutral theory of evolution) เสนอว่า ความหลากหลายเป็นผลของการสะสมความต่าง ๆ ที่ไม่มีประโยชน์และไม่มีโทษ การคัดเลือกที่แตกต่าง (diversifying selection) เป็นสมมติฐานว่า สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันของกลุ่มประชากรย่อย 2 กลุ่มภายในสปีชีส์เดียวกัน จะคัดเลือกอัลลีลในโลคัสเดียวกันที่ต่างกัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในกรณีเช่น ถ้าสปีชีสนั้นมีถิ่นที่อยู่กว้างเทียบกับการเคลื่อนที่ได้ของหน่วยสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนั้น การคัดเลือกขึ้นกับความถี่ (frequency-dependent selection) เป็นสมมติฐานว่า เมื่ออัลลีลหนึ่ง ๆ สามัญมากขึ้น สิ่งมีชีวิตก็จะเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งสามารถเกิดอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวถูกเบียน-ตัวก่อโรค (host-pathogen interaction) ที่เมื่อสิ่งมีชีวิต (ตัวถูกเบียน) มีความถี่อัลลีลที่เป็นตัวป้องกันโรคสูง โรคก็มีโอกาสแพร่ไปมากขึ้นถ้ามันสามารถเอาชัยชนะต่ออัลลีลนั้นได้.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และความหลากหลายทางพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อมโยงของพันธุกรรม

วามเชื่อมโยงของพันธุกรรม (genetic linkage) คือแนวโน้มที่ยีนบนโลคัสจำนวนหนึ่งมีโอกาสที่มีถูกถ่ายทอดไปพร้อมกัน โลคัสที่มีตำแหน่งทางกายภาพอยู่ใกล้กันบนโครโมโซมเดียวกันมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ด้วยกันหลังเกิดการไขว้เปลี่ยนของโครโมโซมในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ทำให้เป็นพันธุกรรมที่มีความเชื่อมโยงกัน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และความเชื่อมโยงของพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อหลักของอณูชีววิทยา

วามเชื่อหลักของอณูชีววิทยา หรือ หลักเกณฑ์กลางสำหรับชีววิทยาโมเลกุล (central dogma of molecular biology) นั้นมีการพูดถึงครั้งแรกโดย ฟรานซิส คริก ใน ค.ศ. 1958Crick, F.H.C. (1958): Symp.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และความเชื่อหลักของอณูชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ความเด่น (พันธุศาสตร์)

แผนภาพพงสาวลีแสดงการถ่ายทอดลักษณะซึ่งเป็นลักษณะเด่น ความเด่น (dominance) เป็นความสัมพันธ์ทางพันธุศาสตร์ระหว่างรูปแบบ (อัลลีล) สองรูปแบบของยีนหนึ่งๆ ซึ่งอัลลีลแบบหนึ่งจะบดบังการแสดงออกของอีกอัลลีลหนึ่ง ส่งผลต่อการแสดงเป็นลักษณะปรากฏ ในกรณีที่ไม่ซับซ้อนซึ่งยีนที่สนใจมีอัลลีลที่เป็นไปได้เพียง 2 แบบ คือ A กับ B จะสามารถเกิดการผสมกันของอัลลีลเป็นลักษณะทางพันธุกรรมหรือจีโนไทป์ได้ 3 แบบ คือ AA, BB และ AB ซึ่งหากพบว่าคนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเป็น AB (เฮเทอโรไซกัส) มีลักษณะปรากฏหรือฟีโนไทป์เหมือนกันกับคนที่เป็น AA (โฮโมไซกัส) และคนที่เป็น BB มีลักษณะปรากฏที่แตกต่างออกไป จะถือว่า อัลลีล A มีลักษณะเด่น (dominate หรือ be dominant to) ต่ออัลลีล B และอัลลีล B ถือว่ามีลักษณะด้อย (be recessive to) ต่ออัลลีล A หลักการเบื้องต้นกำหนดให้อัลลีลที่เป็นลักษณะเด่นเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ และอัลลีลที่เป็นลักษณะด้อยเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก ดังนั้นในกรณีนี้ก็จะต้องใช้ a แทน B ทำให้ A มีลักษณะเด่นต่อ a (และ a มีลักษณะด้อยต่อ A) และลักษณะพันธุกรรมที่เป็น AA กับ Aa จะทำให้มีลักษณะปรากฏที่เหมือนกัน ส่วน aa จะทำให้มีลักษณะปรากฏที่แตกต่างออกไป.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และความเด่น (พันธุศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

คอลลาเจน

อลลาเจนเกลียวสาม คอลลาเจนเป็นโปรตีนโครงสร้างหลักในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลายชนิดในสัตว์ คอลลาเจนเป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ฉะนั้นจึงเป็นโปรตีนที่พบมากที่สุดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย โดยคิดเป็น 25% ถึง 35% ของปริมาณโปรตีนทั้งร่างกาย ส่วนใหญ่พบคอลลาเจนในรูปเส้นใยฝอยยืดในเนื้อเยื่อเส้นใย (fibrous tissue) เช่น เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) เอ็น (ligament) และผิวหนัง ทั้งพบมากในกระจกตา กระดูกอ่อน กระดูก หลอดเลือด ทางเดินอาหารและหมอนกระดูกสันหลัง เซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast) เป็นเซลล์ที่สร้างคอลลาเจนมากที่สุด ในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ คอลลาเจนเป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มใยกล้ามเนื้อ (endomysium) คอลลาเจนประกอบเป็น 1% ถึง 2% ของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเป็น 6% ของน้ำหนักกล้ามเนื้อมีเอ็นที่แข็งแรง เจลาติน ซึ่งใช้ในอาหารและอุตสาหกรรม เป็นคอลลาเจนที่ผ่านกระบวนการสลายด้วยน้ำ (hydrolysis) แบบย้อนกลับไม่ได้.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และคอลลาเจน · ดูเพิ่มเติม »

คู่กรด-เบส

ตามทฤษฎีของโยฮันน์ นิโคเลาส์ เบรินสเตดและทอมัส มาร์ติน ลาวรี หรือทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี (Brønsted-Lowry) ที่ระบุไว้ว่าคู่กรด-เบส (Conjugate acid-base pair) คือสารประกอบสองตัว โดยตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นกรดในปฏิกิริยาไปข้างหน้า กับสารที่ทำหน้าที่เป็นเบสในปฏิกิริยาย้อนกลับ หรือในทางกลับกัน โดยสารที่เป็นคู่กรด-เบสกันจะมีจำนวนโปรตอนต่างกันอยู่ 1 โปรตอน และสารที่เป็นคู่กรดจะมีโปรตอน (H+) มากกว่าสารที่เป็นคู.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และคู่กรด-เบส · ดูเพิ่มเติม »

ตัวอสุจิ

รูปแบบการปฏิสนธิ ตัวอสุจิ (sperm) คือเซลล์สืบพันธุ์ที่แบ่งตัวด้วยกระบวนการไมโอซิสจากร่างกายของสัตว์เพศผู้ในวัยเจริญพันธุ์ และไม่สามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก โดยการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อตัวอสุจิผสมกับเซลล์ไข่ในสัตว์เพศเมีย ตัวอสุจิถูกสร้างมาตัวเพศชายและหลั่งออกมาพร้อมกับน้ำเลี้ยงที่เรียกรวมกันว่า น้ำอสุจิ ตัวอสุจิจะสามารถอยู่ได้ประมาณ 3 วันในร่างกายของสัตว์เพศเมียโดยไม่สัมผัสอากาศหรือของเหลวอื่น.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และตัวอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

ตารางพันเนตต์

A Punnett square showing a typical test cross ตารางพันเนตต์ (Punnett square) เป็นแผนภาพที่ใช้ช่วยทำนายผลที่ได้จากการทดลองการผสมพันธุ์ ตั้งชื่อตาม Reginald C. Punnett ผู้คิดวิธีนี้ นักชีววิทยาใช้ตารางนี้ในการหาโอกาส (ความน่าจะเป็น) ที่รุ่นลูกจะมีลักษณะจีโนทัยป์หนึ่งๆ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และตารางพันเนตต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส

ั้นตอนการทำ PCR ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase chain reaction; ตัวย่อ: PCR) เป็นกระบวนการสังเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นเอในหลอดทดลอง ซึ่งกระบวนการนี้เลียนแบบกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิต ผู้คิดค้นเทคนิคพีซีอาร์ คือ Kary Mullis พีซีอาร์ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีสารเริ่มต้นปฏิกิริยาเรียกว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ซึ่งจะมีเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า 1 ตัวก็ได้ มาเกิดปฏิกิริยากัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน) และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี หมวดหมู่:ปฏิกิริยาเคมี หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และปฏิกิริยาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นิวคลีโอไทด์

รงสร้างของนิวคลีโอไทด์ที่พบบ่อย นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของกรดนิวคลีอิก ซึ่งประกอบด้วย นิวคลีโอไซด์ (neucleoside) กับหมู่ฟอสเฟต โดยนิวคลีโอไซด์ประกอบด้วยไนโตรจีนัสเบส (nitrogenous base; เรียกสั้นๆว่าเบส) กับน้ำตาลเพนโทส (มีคาร์บอน 5 โมเลกุล) ทั้งนี้เบสแบ่งตามโครงสร้างได้เป็นสองกลุ่มคือ ไพริมิดีน (โครงสร้างมี 1 วง) ได้แก่ ไซโตซีน (C) ไทมีน (T) และยูราซิล (U) และเบสไพรีน (โครงสร้างมี 2 วง) ได้แก่ อะดีนีน (A) กวานีน (G) ในการรวมตัวเป็นนิวคลีโอไทด์ เบสจะต่อกับคาร์บอนตัวที่ 1 ของน้ำตาลเพนโทส และฟอสเฟตต่อกับน้ำตาลตัวที่ 5 ของเพนโทส น้ำตาลเพนโทสที่พบในนิวคลีโอไทด์มีสองชนิดคือน้ำตาลไรโบสกับน้ำตาลดีออกซีไร.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และนิวคลีโอไทด์ · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แมลงวันทอง

แมลงวันทอง หรือ แมลงหวี่ เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ทำลายพืชได้หลายชนิด เช่น ชมพู่ มะม่วง กล้วย มะละกอ พุทรา น้อยหน่า ลำตัวสีน้ำผึ้งใส ดวงตาสีแดง มีลักษณะคล้ายแมลงวันทั่วไป.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และแมลงวันทอง · ดูเพิ่มเติม »

แมวไทย

แมวไทย พันธุ์วิเชียรมาศ แมวไทย คือแมวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย คุณสมบัติที่ทำให้แมวไทยเหนือกว่าแมวชนิดอื่น คือ เรื่องอุปนิสัย แมวไทยมีความฉลาด มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิด รู้จักประจบ รักบ้าน รักเจ้าของ และเหนืออื่นใด คือ รักความอิสระของตัวเองเป็นชีวิตจิตใจ อิสระที่ จะกิน จะดื่ม หรือจะไปไหนตามที่ใจชอบ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัวที่ทำให้แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่น สีสันตามตัวของแมวไทย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักรักแมวรู้สึกสุขใจยามได้มอง ไม่ว่าจะเป็น วิเชียรมาศ เก้าแต้ม ขาวมณีหรือขาวปลอด นิลรัตน์หรือดำปลอด ศุภลักษณ์หรือ ทองแดง สีสวาดหรือแมวไทยพันธุ์โคราช ต่างล้วนได้รับความสนใจ จากเจ้าของและผู้สนใจทั้งสิ้น.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และแมวไทย · ดูเพิ่มเติม »

โภชนาการ

ีระมิดอาหารซึ่งเผยแพร่ในปี 2548 เพื่อแนะนำปริมาณการบริโภคอาหาร โภชนาการเป็นการคัดเลือกอาหารและเตรียมอาหาร และการย่อยเพื่อให้ร่างกายดูดซึม การทานอาหารเพื่อสุขภาพสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง นักกำหนดอาหารเป็นวิชาชีพสาธารณสุขผู้มีความชำนาญพิเศษในโภชนาการมนุษย์ การวางแผนมื้ออาหาร เศรษฐศาสตร์และการเตรียม พวกเขาได้รับการฝึกเพื่อให้คำแนะนำทางอาหารที่ปลอดภัยและอิงหลักฐาน และการจัดการต่อปัจเจกบุคคล ตลอดจนสถาบัน นักโภชนาการคลินิกเป็นวิชาชีพสาธารณสุขซึ่งมุ่งเจาะจงต่อบทบาทของโภชนาการในโรคเรื้อรัง ซึ่งรวมการป้องกันหรือการรักษาโรคที่เป็นไปได้โดยการจัดการกับการพร่องสารอาหารก่อนพึ่งยา อาหารไม่ดีอาจมีผลทำร้ายสุขภาพ ทำให้เกิดโรคความพร่อง เช่น ลักปิดลักเปิด, สภาพที่ร้ายแรงถึงชีวิต เช่น โรคอ้วน และโรคเมทาบอลิก และโรคทั่วร่างกายเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจหลอดเลือด เบาหวานและกระดูกพรุน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโภชนาการ · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุล

โครงสร้างสามมิติ (ซ้ายและกลาง) และโครงสร้างสองมิติ (ขวา) ของโมเลกุลเทอร์พีนอย โมเลกุล (molecule) เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังและยังคงความเป็นสารดังกล่าวไว้ได้ โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุมาเกิดพันธะเคมีกันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง ๆ ใน 1 โมเลกุล อาจจะประกอบด้วยอะตอมของธาตุทางเคมีตัวเดียว เช่น ออกซิเจน (O2) หรืออาจจะมีหลายธาตุก็ได้ เช่น น้ำ (H2O) ซึ่งเป็นการประกอบร่วมกันของ ไฮโดรเจน 2 อะตอมกับ ออกซิเจน 1 อะตอม หากโมเลกุลหลายโมเลกุลมาเกิดพันธะเคมีต่อกัน ก็จะทำให้เกิดสสารขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ เช่น (H2O) รวมกันหลายโมเลกุล เป็นน้ำ มโลเกุล มโลเกุล หมวดหมู่:โมเลกุล.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิตเภท

รคจิตเภท เป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งทำให้มีการแตกแยกของกระบวนการคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ ส่วนใหญ่แสดงอาการเป็นหูแว่ว หวาดระแวง หลงผิดแบบแปลกประหลาด หรือมีการพูดและการคิดที่เสียโครงสร้าง และมักนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมหรือการประกอบอาชีพ มักเริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีความชุกตลอดชีวิตอยู่ที่ประมาณ 0.3-0.7% การวินิจฉัยทำโดยการสังเกตพฤติกรรมและรายงานประสบการณ์ที่ได้จากตัวผู้ป่วยเอง เชื่อกันว่าปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก ประสาทชีววิทยา ปัจจัยทางจิตใจ และกระบวนการทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโรค ยาเสพติดและยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการแย่ลงได้ งานวิจัยในปัจจุบันเน้นไปทางบทบาทของประสาทชีววิทยา แม้จะยังไม่สามารถหาสาเหตุทางกายที่เป็นสาเหตุเดี่ยวๆ ของโรคได้ก็ตาม เนื่องจากโรคนี้มีการแสดงออกของอาการได้หลายรูปแบบ จึงยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำวินิจฉัยโรคจิตเภทนี้เป็นโรคเพียงโรคเดียวหรือเป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ถึงแม้คำภาษาอังกฤษของ schizophrenia จะมาจากภาษากรีกที่แปลว่าการแบ่งแยกของจิตใจ แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ทำให้มีหลายบุคลิกอย่างที่สังคมบางส่วนเข้าใจ แนวทางการรักษาในปัจจุบันคือการใช้ยาต้านโรคจิต ส่วนใหญ่ทำงานโดยยับยั้งผลของโดปามีน การใช้จิตบำบัดและการบำบัดการเข้าสังคมก็มีส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท ในกรณีป่วยรุนแรงจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นอาจจำเป็นต้องได้รับการกักตัวไว้ในโรงพยาบาล อย่างไรก็ดีการนอนโรงพยาบาลในปัจจุบันใช้เวลาสั้นกว่าในสมัยก่อนมาก เชื่อว่าโรคนี้มีผลต่อการรู้เป็นสำคัญ แต่หลายครั้งก็ทำให้เกิดปัญญาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์อย่างเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจิตเภทมักมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล มีอัตราการใช้สารเสพติดรวมตลอดชีวิตถึง 50% ของผู้ป่วย ปัญหาทางสังคม เช่นการว่างงาน ความยากจน และไม่มีที่อยู่อาศัยนั้นพบได้บ่อย อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยน้อยกว่าคนทั่วไปอยู่ 12-15 ปี ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสุขภาพและอัตราการฆ่าตัวตายที่มากขึ้น (ประมาณ 5%).

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโรคจิตเภท · ดูเพิ่มเติม »

โรคทางพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรมเป็นโรคซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม แม้โรคบางชนิดเช่นมะเร็งจะมีสาเหตุส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับความผิดปกติของพันธุกรรม แต่ก็ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้วย โรคทางพันธุกรรมส่วนใหญ่เป็นโรคที่พบได้น้อย อาจมีผู้ป่วยเพียงหนึ่งในหลายพันหรือหลายล้านคน ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดเป็นลักษณะด้อยบางชนิด อาจทำให้ผู้ที่เป็นพาหะหรือเป็นเฮเทอโรไซกัสเกิดภาวะได้เปรียบทางพันธุกรรมในสภาพแวดล้อมบางแบบได้ เช่นที่พันธุกรรมทาลัสซีเมียทำให้มีโอกาสรอดชีวิตในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียมากขึ้น เป็นต้น หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:โรคทางพันธุกรรม หมวดหมู่:เวชพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโรคทางพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

รคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (ชื่อพ้อง sickle-cell anaemia (SCA), drepanocytosis เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านทางกระแสเลือด เกิดบนโครโมโซมร่างกาย แบบด้อย (Autosomal recessive)ในปี 1994 สหรัฐฯ ได้ค้นพบว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอายุขัยโดยเฉลี่ย คืออายุ 42 ปีในผู้ชายและ 50 ปีในผู้หญิง แต่ปัจจุบันสามารถอยู่ได้เกินอายุ 50 ปี เนื่องจากผู้ป่วยมีการดูแลรักษาตัวที่ดี และในสหราชอาณาจักรคาดว่าจะมีอายุขัยสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ คือ 53-60 ปี ส่วนใหญ่โรคนี้จะเกิดกับเด็กมากกว่าคนทั่วไป และจะเกิดในภูมิภาคเขตร้อน (tropical) และบริเวณที่อาจจะเกิดโรคมาลาเรีย เช่น ชาวพื้นเมืองในทวีปแอฟริกา ซึ่งโรคมาลาเรียเป็นโรคพื้นฐานของบริเวณนี้.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว · ดูเพิ่มเติม »

โรซาลินด์ แฟรงคลิน

รซาลินด์ เอลซี แฟรงคลิน (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 — 16 เมษายน พ.ศ. 2501) เป็นนักเคมีและผลึกวิทยาชาวอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ ตลอดจนศึกษาโครงสร้างของ อาร์เอ็นเอ และไวรัส แม้ในตอนแรกเธอจะทำงานวิจัยด้านถ่านหินและการศึกษาด้วยรังสีเอกซ์ แต่เทคนิคที่เธอใช้ก็ได้นำมาศึกษาโครงสร้างของสารชีวโมเลกุลจนทำให้เพื่อนร่วมงานของเธอได้รับรางวัลโนเบล อย่างไรก็ตาม ด้วยการทำงานในสถานที่ที่มีรังสีเอกซ์อยู่มาก ทำให้เธอต้องถึงแก่กรรมก่อนวัยอันควร ผลงานที่รู้จักกันดีของโรซาลินด์ แฟรงคลิน คือ โฟโต 51 หรือภาพถ่ายจากการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของดีเอ็นเอ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบโครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ เจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้นำข้อมูลของเธอไปใช้ในการตั้งสมมติฐานว่าด้วยโครงสร้างของดีเอ็นเอบทความของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ Watson JD, Crick FHC (1953).

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโรซาลินด์ แฟรงคลิน · ดูเพิ่มเติม »

โลคัส (พันธุศาสตร์)

ในทางพันธุศาสตร์และการประมวลผลทางวิวัฒนาการ โลคัส (locus, loci) หมายถึงตำแหน่งหนึ่งๆ บนยีนหรือลำดับดีเอ็นเอซึ่งอยู่บนโครโมโซม ลำดับดีเอ็นเอบนโลคัสหนึ่งๆ อาจมีได้หลายแบบแต่ละแบบเรียกว่าอัลลีล รายการลำดับทั้งหมดของโลคัสบนจีโนมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นที่รู้ เรียกว่าแผนที่พันธุกรรม (genetic map), กระบวนการทำแผนที่ยีน (gene mapping) คือกระบวนการที่หาโลคัสของลักษณะถ่ายทอดทางชีวภาพหนึ่งๆ หมวดหมู่:โครโมโซม หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโลคัส (พันธุศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

โลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ

ลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ (quantitative trait) หมายถึงฟีโนไทป์บางชนิดที่มีระดับแสดงออกแตกต่างกันไปหลายระดับ เช่น ส่วนสูง สีผิว ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยผลของการมียีนควบคุมลักษณะหลายยีนและสิ่งแวดล้อม และโลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ (quantitative trait locus, QTL) เป็นชุดของดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยลำดับของยีนหรือชุดของการเชื่อมโยงของยีนหลายตัวซึ่งทำให้เกิดลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณดังกล่าว การสร้างแผนที่แสดงตำแหน่งของยีนบนจีโนมซึ่งทำให้เกิดลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณลักษณะหนึ่งๆ ทำได้โดยใช้ป้ายชื่อโมเลกุลเช่น AFLP หรือ SNP ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่า ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกเริ่มในการระบุและถอดรหัสลำดับของยีนจริงๆ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างของลักษณะถ่ายทอดนั้นๆ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:สถิติพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ · ดูเพิ่มเติม »

โครมาติน

'''Fig. 1:''' The major structures in DNA compaction; DNA, the nucleosome, the 10nm "beads-on-a-string" fibre, the 30nm fibre and the metaphase chromosome. โครมาติน เป็นโครงสร้างย่อยของนิวเคลียส โครโมโซม 1 แท่งประกอบด้วยโครมาตินหรือโครมาทิด (Chromatid) ที่เหมือนกันซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเองขึ้นมาโดยโครมาตินหรือโครมาทิดทั้งสองจะติดกันตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere) โครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin) คือ สายของดีเอ็นเอ(DNA)สายยาวเพียงสายเดียวที่พันตัวรอบโปรตีนที่ชื่อ“ฮิสโตน(histone)”เอาไว้ ทำให้รูปร่างของโครมาทิน(chromatin) มีรูปร่างคล้ายลูกปัดที่มีลักษณะเรียงต่อๆกัน โดยมีสายของดีเอ็นเอ (DNA) พันรอบลูกปัดนั้นอยู่ โครมาทิน(chromatin) จึงเป็นสารประเภท “นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein)” นอกจากนี้ในโครมาทิน(chromatin)ยังประกอบด้วยโปรตีนที่ไม่ใช่ฮิสโตน (nonhistone)อีกด้วย โดยโครมาทิน(chromatin) จะพบในส่วนของนิวเคลียส เมื่อทำการย้อมสีเซลล์ของเซลล์แบบทั่วๆไป ในส่วนของโครมาทิน(chromatin) จะสามารถติดสีได้ดีและมีรูปร่างคล้ายเส้นใยตาข่าย (chromatin network) ละเอียดๆ จึงทำให้เห็นส่วนของนิวเคลียสได้ชัดเจน โดยโครมาทิน(chromatin)มักพบได้ในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase) หมวดหมู่:อณูพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโครมาติน · ดูเพิ่มเติม »

โครงการจีโนมมนุษย์

รงการจีโนมมนุษย์ (The Human Genome Project; ตัวย่อ: HGP) เป็นอภิมหาโครงการทางเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ได้ศึกษาจัดทำแผนที่ของจีโนมของมนุษย์ ซึ่งมีความละเอียดระดับนิวคลีโอไทด์ หรือ คู่เบส เพื่อที่จะวิเคราะตำแหน่งของหน่วยพันธุกรรม หรือ ยีนของมนุษ.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโครงการจีโนมมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซม

ซนโทรเมียร์ คือจุดที่โครมาทิดทั้งสองอันสัมผัสกัน, (3) แขนข้างสั้น และ (4) แขนข้างยาว โครโมโซมมนุษย์ โครโมโซม (chromosome) เป็นที่เก็บของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซมวาย

รโมโซม Y เป็นอัลโลโซมที่เป็นโครโมโซมเพศอันหนึ่งในจำนวนสองอันของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกหลายชนิด อีกอันหนึ่งคือโครโมโซม X.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโครโมโซมวาย · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซมเพศ

รโมโซมเพศคือโครโมโซมประเภทหนึ่งที่ช่วยกำหนดเพศของสิ่งมีชีวิต เป็นวิธีการกำหนดเพศแบบหนึ่ง เช่น ในมนุษย์ มีโครโมโซม 23 คู่ เป็นออโตโซม 22 คู่ และเป็นโครโมโซมเพศ 1 คู่ มนุษย์เพศหญิงจะมีโครโมโซม X สองอัน ส่วนมนุษย์เพศชายมีโครโมโซม X หนึ่งอัน และโครโมโซม Y หนึ่งอัน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโครโมโซมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซมเอกซ์

Scheme of the X chromatid CCD camera. The Barr body is indicated by the arrow, it identifies the inactive X (Xi). โครโมโซมเอกซ์ เป็นโครโมโซมเพศหนึ่งในสองตัวสำหรับสัตว์หลายชนิดซึ่งรวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย เป็นส่วนหนึ่งของระบบกำหนดเพศ XY และระบบกำหนดเพศ X0 ชื่อโครโมโซมเอกซ์ ได้มาจากลักษณะเฉพาะที่นักวิจัยที่ค้นพบโครโมโซมในระยะแรกสังเกตพบ ต่อมาจึงมาการกำหนดชื่อโครโมโซม Y ที่พบต่อมาในภายหลัง เพื่อให้เป็นอักษรที่ต่อจาก X.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโครโมโซมเอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไมโอซิส

แผนภาพการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) เป็นการแบ่งเซลล์ที่พบในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในยูคาริโอต การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสแบ่งเป็นระยะได้ 2 ระยะ ดังนี้.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และไมโอซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไมโทซิส

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ไมโทซิส (Mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์แบบแบ่งตัวโดยตรง คือ นิวเคลียสค่อยๆ ยาวออกและเกิดคอดลงแล้วแบ่งไซโตพลาสซึมเป็น 2 ส่วนกลายเป็น 2 เซลล์ โดยทั้ง 2 เซลล์ต่างมีคุณสมบัติเหมือนเซลล์เดิม จำนวนโครโมโซม หลังการแบ่งจะเท่าเดิม (2n) เพราะไม่มีการแยกคู่ ของโฮโมโลกัสโครโมโซม การแบ่งเซลล์แบบนี้จะพบมากในสัตว์เซลล์เดียว.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และไมโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครอาร์เอ็นเอ

รงสร้างแบบแตกกิ่งและเป็นห่วงของชิ้นส่วนเริ่มต้นของ microRNA จาก ''Brassica oleracea'' ไมโครอาร์เอ็นเอ (microRNA ย่อว่า miRNA) เป็นอาร์เอ็นเอโมเลกุลขนาดเล็ก ไม่เกิน 20 – 22 นิวคลีโอไทด์ สร้างมาจากอาร์เอ็นเอขนาดใหญ่ประมาณ 90 – 100 นิวคลีโอไทด์ ที่ถูกตัดให้มีขนาดเล็กลง ทำหน้าที่ในการควบคุมการแสดงออกของยีนโดยเข้าไปจับกับ mRNA ที่ตำแหน่งที่เป็นคู่สมกัน ซึ่งทำให้กระบวนการอ่านรหัสและถอดรหัสจาก mRNA นั้นๆถูกยับยั้ง.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และไมโครอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ

rRNA ชิ้นเล็ก, 5' domain จากฐานข้อมูลRfam http://www.sanger.ac.uk/cgi-bin/Rfam/getacc?RF00177 RF00177 http://www.sanger.ac.uk/cgi-bin/Rfam/getacc?RF00177 RF00177 ไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ (Ribosomal RNA; rRNA) เป็นองค์ประกอบสำคัญของไรโบโซม ที่มีหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์ การทำงานของ rRNA เกี่ยวข้องกับกลไกการถอดรหัสจาก mRNA ไปเป็นกรดอะมิโน และทำปฏิกิริยากับ tRNAs ที่นำกรดอะมิโนเข้ามาต่อกันระหว่างทรานสเลชัน ด้วยการเร่งปฏิกิริยา peptidyl transferase.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไทมีน

สำหรับวิตามินที่ชื่อสะกดคล้ายกัน ดูที่ ไทอะมีน ไทมีน (Thymine) เป็นเบสชนิดหนึ่ง มักพบได้ในกรดนิวคลีอิก ตัวย่อ T ซึ่งในกรดนิวคลีอิกที่เป็นสายคู่พบว่าไทมีนจะจับคู่กับเบส Adenine (A) หมวดหมู่:สารเคมี.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และไทมีน · ดูเพิ่มเติม »

ไซโกซิตี

ซโกซิตี (zygosity) คือความเหมือนหรือไม่เหมือนของยีนทั้งสองของลักษณะหนึ่งๆ ของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ หากยีนทั้งสองเหมือนกัน สิ่งมีชีวิตนั้นก็จะมีลักษณะนั้นๆ แบบเป็นฮอโมไซกัส (homozygous) หรือเป็นพันธุ์แท้ หากไม่เหมือนกัน สิ่งมีชีวิตนั้นจะมีลักษณะนั้นๆ แบบเป็นเฮเทอโรไซกัส (heterozygous) หรือเป็นพันทางหรือพันธุ์ผสม หากหายไปยีนหนึ่งเหลือเพียงยีนเดียวเรียกว่าเฮมิไซกัส (hemizygous) หากหายไปทั้งสองยีนเรียกว่านัลลิไซกัส (nullizygous).

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และไซโกซิตี · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์โน

อร์โน (Brno) หรือ บรึนน์ (Brünn) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศเช็กเกีย (รองจากกรุงปราก เมืองหลวงของประเทศ) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ถูกค้นพบใน..1243 มีประชากรประมาณ 405,337 คน เบอร์โนเป็นเมืองหลวงของเขตเซาท์มอเรเวีย นอกจากนี้ Villa Tugendhat ในเมืองเบอร์โนได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลก เบอร์โนเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมาซารึกและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเบอร์โน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และเบอร์โน · ดูเพิ่มเติม »

เกรกอร์ เมนเดล

กรเกอร์ โยฮันน์ เมนเดล (Gregor Johann Mendel; 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 - 6 มกราคม พ.ศ. 2427) เป็นนักวิทยาศาสตร์และภราดาคณะออกัสติเนียนชาวโมราเวียที่พูดภาษาเยอรมัน ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงจากการก่อตั้งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่สาขาพันธุศาสตร์ แม้ว่าชาวสวนทั่วไปจะทราบถึงลักษณะปรากฏที่แตกต่างกันของพืชชนิดต่าง ๆ อยู่แล้ว โดยเมนเดลได้เริ่มศึกษาจากต้นถั่ว จนสามารถตั้งเป็นกฎทางพันธุกรรมมากมาย และภายหลังรู้จักกันในชื่อว่า พันธุศาสตร์ของเมนเดล เมนเดลเสียชีวิตด้วยโรคไตในวันที่ 6 มกราคม..

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และเกรกอร์ เมนเดล · ดูเพิ่มเติม »

เกลียวคู่กรดนิวคลีอิก

ริเวณของโมเลกุลกรดนิวคลีอิกที่เข้าคู่กันจะถูกเชื่อมเข้าด้วยกันและสร้างโครงสร้างเกลียวคู่ซึ่งยึดเข้าด้วยกันโดยคู่เบส ในชีววิทยาโมเลกุล คำว่า เกลียวคู่ หมายถึงโครงสร้างซึ่งเกิดขึ้นจากโมเลกุลกรดนิวคลีอิกสองเส้น อย่างเช่น ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ โครงสร้างเกลียวคู่ของกรดนิวคลีอิกเป็นผลมาจากโครงสร้างทุติยภูมิ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดโครงสร้างตติยภูมิของมัน คำดังกล่าวได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางภายหลังการตีพิมพ์บทความ เกลียวคู่: การบรรยายส่วนบุคคลการค้นพบโครงสร้างของดีเอ็นเอ (The Double Helix: A Personal Account of the Discovery of the Structure of DNA) โดยเจมส์ วัตสัน เกลียวคู่ดีเอ็นเอเป็นพอลิเมอร์ที่หมุนกันเป็นวงของกรดนิวคลีอิก ซึ่งเชื่อมเข้าด้วยกันด้วยนิวคลีโอไทด์ ในบี-ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นโครงสร้างดีเอ็นเอที่พบได้มากที่สุด เกลียวคู่จะเวียนไปทางขวามือโดยมีนิวคลีโอไทด์ 10-15 นิวคลีโอไทด์ต่อรอบ โครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอประกอบด้วยร่องใหญ่และร่องเล็กอย่างละหนึ่งที่ ซึ่งร่องใหญ่จะมีความกว้างมากกว่าร่องเล็ก ความแตกต่างของความกว้างของร่องใหญ่และร่องเล็กนั้นเป็นผลมาจากโปรตีนจำนวนมากซึ่งเชื่อมกับดีเอ็นเอทำให้ร่องใหญ่กว้างขึ้น.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และเกลียวคู่กรดนิวคลีอิก · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชพันธุศาสตร์

ัชพันธุศาสตร์ แปลจากคำอังกฤษว่า Pharmocogenetics ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า Pharmacogenomics โดยยังไม่มีการกำหนดนิยามคำสองคำนี้แน่ชัด โดยทั่วไป เภสัชพันธุศาสตร์ มักใช้ในความหมายว่าเป็นการศึกษาหรือการตรวจทางคลินิกเพื่อตรวจหาความแปรผันทางพันธุกรรมที่ทำให้ผู้รับยามีการตอบสนองต่อยาแตกต่างกันไป ในขณะที่ pharmocogenomics มักเป็นคำกว้างกว่าหมายถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางจีโนมิคส์ในการค้นหายาใหม่ๆ และทำให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ๆ ของยาเดิม เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าการใช้ยาเพื่อรักษาโรคในผู้ป่วยแต่ละรายถึงแม้จะเป็นชนิดเดียวกันแต่อาจให้ผลในการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างในการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยอาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆหลายปัจจัย เช่น พยาธิสรีรวิทยา สิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย (เช่น อาหาร การสูบบุหรี่) รวมทั้งลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วยเช่นความผิดแผกทางพันธุกรรมของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงยา (metabolism) หรือความผิดแผกของความไว (sensitivity) ในการตอบสนองต่อยา ซึ่งศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางพันธุกรรมกับการตอบสนองต่อยาหรือการเกิดพิษของยานี้เรียกว่าเภสัชพันธุศาสตร์ (pharmacogenetics หรือ pharmacogenomics) ซึ่งปัจจุบันนี้เภสัชพันธุศาสตร์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเภสัชพันธุศาสตร์นี้เป็น การศึกษาความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรม (genetic polymorphisms) ในจีโนมมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ครอบคลุมตั้งแต่การนำความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์มาใช้ ในการทำนายการตอบสนองต่อยา การเลือกใช้ยาและขนาดยาที่เหมาะสม การค้นหา และ การพัฒนายาใหม่ที่เหมาะสมเฉพาะกลุ่มประชากร ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาจากองค์ความรู้พื้นฐานว่ามนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างของรหัสดีเอ็นเอในยีนที่เกี่ยวข้องกับวิถีพยาธิกำเนิดของโรค (pathogenesis pathways) ยีนที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ของยาหรือเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamic) และยีนที่เกี่ยวข้องกับเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) การทราบความแตกต่างเหล่านี้โดยละเอียด ย่อมจะนำไปสู่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของโรค การเลือกใช้ยาตามความเหมาะสมกับโรค การเลือกขนาดยาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษาสูงสุด และ ลดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยากับผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้ความรู้ทางเภสัชพันธุศาสตร์ในเวชปฏิบัติ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับอิทธิพลของยีนที่ทำให้เกิดลักษณะทางคลินิก และการตอบสนองต่อยา ในแง่ของความจำเพาะของความแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละเชื้อชาติ ไม่เพียงแพทย์เท่านั้นที่ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับความก้าวหน้าที่เกิดขึ้น บุคลากรอื่นๆ ทางสาธารณสุข รวมถึงนักวิจัยสาขาต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยความรู้บูรณาการในศาสตร์แต่ละแขนง เช่น การใช้ความรู้ทางชีวสารสนเทศ (bioinformatics) มาจัดเก็บ รวบรวม เปรียบเทียบ สืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลทางชีววิทยาอย่างเป็นระบบ การศึกษาการแสดงออกของยีนในระดับ mRNA ภายในเซลล์ (transcriptomics) การศึกษาโปรตีโอมิกส์ (proteomics) ในด้านโครงสร้าง ประเภท ปริมาณ และหน้าที่ของโปรตีนที่แต่ละเซลล์สร้างขึ้น ร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นๆ อีกจำนวนมาก เช่น metabolomics, phenomics, infectomics เป็นต้น เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่จำเพาะของลักษณะทางพันธุกรรมในเชิงลึกจนนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยในเวชปฏิบัติได้.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และเภสัชพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดแดง

ซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดง (red blood cell, Erythrocyte: มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เวชพันธุศาสตร์

เวชพันธุศาสตร์ (medical genetics) เป็นการแพทย์เฉพาะทางอย่างหนึ่ง มุ่งวินิจฉัยและให้การดูแลโรคพันธุกรรม ต่างจาก มนุษยพันธุศาสตร์ (human genetics) ตรงที่ human genetics จะศึกษาพันธุศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งหมดโดยอาจเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับโรคก็ได้ หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และเวชพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มอาร์เอ็นเอ

วงชีวิตของ '''mRNA''' ในยูคาริโอต เอ็มอาร์เอ็นเอ (Messenger ribonucleic acid; mRNA เป็นโมเลกุลของอาร์เอ็นเอที่บรรจุรหัสหรือพิมพ์เขียวของโปรตีน mRNA สร้างโดยการทรานสคริปชันจากแม่แบบที่เป็นดีเอ็นเอ จากนั้นจะนำข้อมูลทางพันธุกรรมมาสู่การสังเคราะห์โปรตีนโดยไรโบโซม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนข้อมูลจากลำดับนิวคลีโอไทด์ไปสู่ลำดับกรดอะมิโน ข้อมูลทางพันธุกรรมใน mRNA จะอยู่ในรูปลำดับเบสของนิวคลีโอไทด์ที่เรียงเป็นรหัสพันธุกรรม ซึ่งหนึ่งรหัสประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สามเบส ซึ่งรหัสพันธุกรรมแต่ละตัวจะกำหนดกรดอะมิโนหนึ่งชนิดยกเว้นรหัสพันธุกรรมหยุด ซึ่งจะทำให้การสังเคราะห์โปรตีนสิ้นสุดลง กระบวนการนี้ต้องทำงานร่วมกับอาร์เอ็นเออีกสองชนิดคือ tRNA ที่จดจำรหัสพันธุกรรมและนำกรดอะมิโนเข้ามาต่อกัน กับ rRNAที่เป็นองค์ประกอบหลักของไรโบโซม โครงสร้างของ mRNA ที่สมบูรณ์ในยูคาริโอต ประกอบด้วย 5' cap, 5' UTR, coding region, 3' UTR, and poly(A) tail.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และเอ็มอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

เฮโมโกลบิน

ีโมโกลบินหรือเฮโมโกลบิน คือส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญจะอยู่ในเม็ดเลือดแดงและช่วยนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย องค์ประกอบสำคัญของเฮโมโกลบินคือ ฮีม (Heme) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ และทำหน้าที่จับและปล่อยออกซิเจน องค์ประกอบที่ 2 คือ สายโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนเส้นยาวขดพันกันอยู่ โดยแต่ละสาย มีฮีมติดอยู่ 1 อณู เฮโมโกลบิน 1 โมเลกุล จึงประกอบด้วยฮีม 4 อณู และสายโกลบิน 4.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และเฮโมโกลบิน · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ ดี. วัตสัน

มส์ ดี. วัตสัน เจมส์ ดิวอี วัตสัน (James Dewey Watson; 6 เมษายน พ.ศ. 2471) นักอณูชีววิทยาชาวอเมริกัน ได้รับการยอบรับว่าเป็นผู้ค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของดีเอ็นเอร่วมกับฟรานซิส คริกและมอริส วิลคินส์ โดยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ มีผลงานการตีพิมพ์คือบทความ โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และเจมส์ ดี. วัตสัน · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ (ชีววิทยา)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป คำว่าเซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และเซลล์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

Caenorhabditis elegans

Caenorhabditis elegans เป็นหนอนนีมาโทดาที่โปร่งใส มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร C. elegans อาศัยอยู่ในดินในเขตอบอุ่น และเริ่มถูกใช้ในงานวิจัยทางด้านอณูชีววิทยาและชีววิทยาการเจริญ มาตั้งแต่ ปี..

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และCaenorhabditis elegans · ดูเพิ่มเติม »

Escherichia coli

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของ ''E. coli'' กำลังขยาย 10,000 เท่า Escherichia coli ("เอสเชอริเชีย โคไล" หรือ ") หรือเรียกโดยย่อว่า E. coli (อี. โคไล) เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรง เพราะทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจาก ได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือ มือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไร มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย เป็นต้น ถูกค้นพบโดย Theodur Escherich มีลักษณะเป็นรูปท่อน ติดสีแดง เป็นแกรมลบ เป็น Facultative aerobe.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และEscherichia coli · ดูเพิ่มเติม »

Gene flow

ในสาขาพันธุศาสตร์ประชากร gene flow (การไหลของยีน, การโอนยีน) หรือ gene migration เป็นการโอนความแตกต่างของยีน (genetic variation) ของประชากรกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง ถ้าอัตราการโอนยีนสูงพอ กลุ่มประชากรทั้งสองก็จะพิจารณาว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ที่เหมือนกัน และดังนั้น จึงเท่ากับเป็นกลุ่มเดียวกัน มีการแสดงแล้วว่า ต้องมี "ผู้อพยพหนึ่งหน่วยต่อหนึ่งรุ่น" เป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มประชากรเบนออกจากกันทางพันธุกรรมเนื่องจากการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) กระบวนการนี้เป็นกลไกสำคัญเพื่อโอนความหลากหลายของยีนในระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ หน่วยที่ "อพยพ" เข้ามาหรือออกจากกลุ่มประชากรอาจเปลี่ยน ความถี่อัลลีล (allele frequency, สัดส่วนของสมาชิกกลุ่มประชากรที่มีรูปแบบหนึ่งเฉพาะของยีน) ซึ่งก็จะเปลี่ยนการแจกแจงความหลากหลายของยีนระหว่างกลุ่มประชากร "การอพยพ" อาจเพิ่มรูปแบบยีนใหม่ ๆ ให้กับสปีชีส์หรือประชากรกลุ่ม ๆ หนึ่ง อัตราการโอนที่สูงสามารถลดความแตกต่างของยีนระหว่างสองกลุ่มและเพิ่มภาวะเอกพันธุ์ เพราะเหตุนี้ การโอนยีนจึงเชื่อว่าจำกัด การเกิดสปีชีสใหม่ (speciation) เพราะรวมยีนของกลุ่มต่าง ๆ และดังนั้น จึงป้องกันพัฒนาการความแตกต่างที่อาจนำไปสู่การเกิดสปีชีสใหม่ '''gene flow''' ก็คือการโอนอัลลีลจากประชากรกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่งผ่าน "การอพยพ" ของสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วย มีปัจจัยต่าง ๆ ต่ออัตราการโอนยีนข้ามกลุ่มประชากร อัตราคาดว่าจะต่ำในสปีชีส์ที่กระจายแพร่พันธุ์หรือเคลื่อนที่ไปได้ในระดับต่ำ ที่อยู่ในที่อยู่ซึ่งแบ่งออกจากกัน ที่มีกลุ่มประชากรต่าง ๆ อยู่ห่างกัน และมีกลุ่มประชากรเล็ก การเคลื่อนที่ได้มีบทบาทสำคัญต่ออัตราการโอนยีน เพราะสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้มีโอกาสอพยพไปที่อื่นสูงกว่า แม้สัตว์มักจะเคลื่อนที่ได้มากกว่าพืช แต่พาหะที่เป็นสัตว์หรือลมก็อาจจะขนละอองเรณูและเมล็ดพืชไปได้ไกล ๆ เหมือนกัน เมื่อระยะแพร่กระจายพันธุ์ลดลง การโอนยีนก็จะถูกขัดขวาง การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding) วัดโดย สัมประสิทธิ์การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding coefficient ตัวย่อ F) ก็จะเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มประชากรบนเกาะจำนวนมากมีอัตราการโอนยีนที่ต่ำ เพราะอยู่ในภูมิภาคแยกต่างหากและมีขนาดประชากรเล็ก ตัวอย่างโดยเฉพาะอย่างหนึ่งก็คือ จิงโจ้สกุล Petrogale lateralis (Black-footed Rock-wallaby) ที่มีกลุ่มซึ่งผสมพันธุ์ภายในสายพันธุ์บนเกาะต่าง ๆ แยกต่างหาก ๆ นอกชายฝั่งของออสเตรเลีย นี่เนื่องจากไปมาหาสู่กันไม่ได้ การโอนยีนจึงเป็นไปไม่ได้ และทำให้ต้องผสมพันธุ์กันในสายพัน.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และGene flow · ดูเพิ่มเติม »

Non-coding RNA

non-coding RNA (ncRNA) หรือ RNA ที่ไม่มีการแปลรหัส เป็นส่วนหนึ่งของโมเลกุล RNA ที่จะไม่ถูกแปลเป็นโปรตีน DNA ที่เป็นต้นแบบของ RNA ชนิดนี้ มักถูกเรียกว่า "ยีน RNA" ซึ่ง non-coding RNA นี้ มีหลายชนิด ชนิดที่พบมากที่สุดและอาจถือได้ว่าสำคัญที่สุดคือ tranfer RNA (tRNA) และ ribosomal RNA (rRNA) นอกจากนี้ยังรวมถึง RNA ขนาดเล็กอื่นๆ อีกมาก เช่น microRNA, siRNA, piRNA, snoRNA, snRNA, exRNAs, scaRNAs และ ncRNA ขนาดยาว อื่นๆ เช่น Xist และ HOTAIR.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และNon-coding RNA · ดูเพิ่มเติม »

Pangenesis

Pangenesis เป็นทฤษฎีที่ Charles Darwin เสนอว่าน่าจะเป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตใช้ในการสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรม ทฤษฎี pangenesis เชื่อว่า อวัยวะต่างๆ ทั้งหมด ของสิ่งมีชีวิต จะไปมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดพันธุกรรม ผ่านทางอนุภาคของการถ่ายทอดที่เรียกว่า gemmule ดาร์วินเชื่อว่าอนุภาค gemmule มีขนาดระดับอะตอม จะถูกแยกออกมาจากอวัยวะต่างๆ แล้วไปรวมในอวัยวะสืบพันธุ์ หมวดหมู่:ชีววิทยาวิวัฒนาการ หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ของชีววิทยา หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ของมโนคติ หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และPangenesis · ดูเพิ่มเติม »

Saccharomyces cerevisiae

Saccharomyces cerevisiae เป็นสปีชีส์ของยีสต์ที่ใช้ทำขนมปังและเบเกอรี่อื่นๆ ช่วยให้ขึ้นฟู และใช้เป็นสิ่งมีชีวิตแม่แบบสำหรับการศึกษาเซลล์ของยูคาริโอต"Saccharomyces" มาจากภาษากรีกที่ถูกทำให้เป็นละตินหมายถึงราในน้ำตาล (sugar mold) saccharo- หมายถึงน้ำตาล และmyces หมายถึงรา Cerevisiae มาจากภาษาละตินหมายถึงเกี่ยวกับเบียร.

ใหม่!!: พันธุศาสตร์และSaccharomyces cerevisiae · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Geneticsพันธุกรรม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »