โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พจนานุกรม

ดัชนี พจนานุกรม

นานุกรม พจนานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่ง โดยทั่วไป หมายถึง หนังสือที่รวบรวบคำศัพท์ในวงศัพท์ที่กำหนด และนิยามความหมายเอาไว้ เพื่อใช้เป็นที่ค้นหาความหมายของคำ โดยมีการเรียงลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร ตามเสียง หรือตามลำดับอื่นๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้พจนานุกรมนั้นๆ พจนานุกรมยังมีนัยถึงหนังสือที่ให้รายละเอียด ครอบคลุมวงศัพท์ที่กว้าง ขณะที่หนังสือรวบรวมและอธิบายคำศัพท์ในวงแคบและมีจำนวนจำกัด มักจะเรียกว่า ปทานุกรม อย่างไรก็ตาม คำว่าปทานุกรมและพจนานุกรมอาจใช้สลับกันได้ คำว่า พจนานุกรม เป็นการคิดคำขึ้น จาก พจน (คำพูด) และ อนุกรม (ลำดับ ระเบียบ ชั้น) รวมกันด้วยวิธีสมาส เป็น “พจนานุกรม” หมายถึง หนังสือที่รวบรวมและเรียงลำดับคำ(พูด) เอาไว้ อย่างไรก็ตาม คำว่า “พจนานุกรม” เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อแปลศัพท์ dictionary ในภาษาอังกฤษนั่นเอง.

10 ความสัมพันธ์: พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดพจนานุกรมภาษาไทยวงศัพท์สารานุกรมสตาร์ดิกต์อภิธานอรรถาภิธานอักขรานุกรมภูมิศาสตร์นามานุกรม

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ห้องประชุมภายในราชบัณฑิตยสถาน (ที่ทำการเดิม) หลังการประชุมชำระพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นพจนานุกรมอธิบายศัพท์ภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสภา (หรือราชบัณฑิตยสถานเดิม) จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน ไม่ลักลั่น โดยมีการปรับปรุงแก้ไขตามลำดับเรื่อยมา เมื่อราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์พจนานุกรมรุ่นหนึ่ง ๆ แล้วเสร็จ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ออก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด ให้หนังสือราชการและการศึกษาเล่าเรียนใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรมรุ่นนั้น ๆ เสมอไป.

ใหม่!!: พจนานุกรมและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด

''พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด'' ฉบับตีพิมพ์ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary; OED) เป็นพจนานุกรม ที่ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ปกติถือเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษเชิงวิชาการและละเอียดที่สุด โดยมีรายการหลักประมาณ 301,100 รายการ (สถิติล่าสุด 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005) และมีตัวอักษรทั้งหมดมากกว่า 350 ล้านตัว นอกจากคำหลักของรายการหลักแล้ว ยังมีคำประสม และคำแผลงพิมพ์ตัวหนา 157,000 คำ ขณะที่มีวลีและวลีย่อยพิมพ์ตัวหนา 169,000 รายการ ทำให้มีลูกคำทั้งหมด 616,500 คำ นอกจากนี้ยังมีการเขียนคำอ่าน 137,000 คำ, รากศัพท์หรือที่มา 249,300 คำ ศัพท์เชื่อมโยง (cross-references) 577,000 มีจำนวนหน้า 21,730 หน้า และรายการศัพท์ทั้งหมด 291,500 รายการ นโยบายของพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือ พยายามที่จะบันทึกการใช้งานและลักษณะแปรผันทั้งหมดเท่าที่ทราบ ในทุกลักษณะของปลีกย่อยของภาษาอังกฤษ ที่ใช้กันทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของคำนำฉบับพิมพ์ ค.ศ. 1933 มีดังนี้ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือจุดเริ่มต้นของงานที่เน้นวิชาการที่เข้มข้น ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ การเลือกลำดับในการสะกดแบบต่างๆ ของคำหลักนั้น มีอิทธิพลต่อการเขียนภาษาอังกฤษในหลายประเท.

ใหม่!!: พจนานุกรมและพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรมภาษาไทย

นานุกรมภาษาไทย หมายถึงพจนานุกรมที่เรียงลำดับตามดัชนีของศัพท์ภาษาไทย หรือพจนานุกรมที่ให้การจำกัดความเป็นภาษาไทย หรือทั้งสองอย่าง พจนานุกรมภาษาไทยที่เป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบันคือ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: พจนานุกรมและพจนานุกรมภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

วงศัพท์

ำศัพท์ ของบุคคล หมายถึงกลุ่มของคำในภาษาหนึ่ง ๆ อันเป็นที่คุ้นเคยต่อบุคคลนั้น วงศัพท์โดยปกติจะพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ และทำหน้าที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานและมีประโยชน์ เพื่อการสื่อสารตและการเรียนรู้ การได้วงศัพท์ที่กว้างขวางเป็นความท้าทายยิ่งใหญ่ที่สุดในการเรียนรู้ภาษาที่สอง.

ใหม่!!: พจนานุกรมและวงศัพท์ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรม

ษณาสารานุกรมบริเตนนิกา ฉบับ ค.ศ. 1913 สารานุกรม คือเรื่องคัดย่อที่ถูกเขียนขึ้นสำหรับการรวบรวมความรู้จากทุกสาขาวิชาหรือจากสาขาวิชาหนึ่งสารานุกรมแบ่งออกเป็นบทความหรือรายการที่มักเรียงตามตัวอักษรของชื่อบทความ และบางทีอาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามแก่นเรื่อง แต่ละบทความในสารานุกรมมักยาวและละเอียดกว่าในพจนานุกรม กล่าวได้ว่าบทความในสารานุกรมเน้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ ต่างกับพจนานุกรมที่มักเน้นเกี่ยวกับข้อมูลทางภาษาศาสตร์เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ความหมาย การอ่าน การใช้ และรูปแบบตามหลักไวยากรณ์Béjoint, Henri (2000).

ใหม่!!: พจนานุกรมและสารานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

สตาร์ดิกต์

ตาร์ดิกต์ (StarDict) เป็นโปรแกรมพจนานุกรมหลายภาษา เขียนโดยชาวจีนชื่อ หู เจิ้ง (胡正) สามารถใช้งานได้กับหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาต่อยอดจากโปรแกรม สตาร์ดิก (StarDic) สตาร์ดิกต์เป็นซอฟต์แวร์เสรีเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต GPL รุ่นล่าสุด 3.0.3 เผยแพร่เมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 อย่างไรก็ตามโครงการสตาร์ดิกต์ได้ถูกถอดออกจาก sourceforge.net เนื่องจากได้รับรายงานว่าซอฟต์แวร์นั้นละเมิดลิขสิท.

ใหม่!!: พจนานุกรมและสตาร์ดิกต์ · ดูเพิ่มเติม »

อภิธาน

อภิธาน โดยทั่วไปหมายถึงรายการของการอธิบายความหมายเพิ่มเติมของคำศัพท์เฉพาะศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง ซึ่งมิได้เป็นที่รู้จักกันโดยคนทั่วไป หรือเป็นคำใหม่หรือคำโบราณ เนื้อหาเป็นการให้นิยาม แนวคิดหรือที่มาที่เกี่ยวข้องคำหรือวลีนั้นๆ ซึ่งอาจมีการยกตัวอย่างหรือมีการเปรียบเทียบเกี่ยวกับคำศัพท์เฉพาะคำนั้นๆ ให้กระจ่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น อภิธานพุทธศาสนา อภิธานประวัติศาสตร์ไทย ส่วนคำว่า อภิธานศัพท์ แปลตามศัพท์ว่า ศัพท์ที่มาจากอภิธาน ซึ่งก็คือศัพท์เฉพาะเรื่อง บ่อยครั้งที่มีการใช้คำนี้แทนความหมายของอภิธานข้างต้น ปกติอภิธานจะเป็นรูปเอกสารอยู่ที่ท้ายหนังสือเฉพาะเรื่อง หรือเป็นตัวเล่มหนังสือที่มีเฉพาะอภิธาน หรือเป็นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อภิธานของกูเกิล อภิธานของวิกิพีเดี.

ใหม่!!: พจนานุกรมและอภิธาน · ดูเพิ่มเติม »

อรรถาภิธาน

อรรถาภิธาน คือ เอกสารอ้างอิงที่รวบรวมรายชื่อคำต่าง ๆ ที่มีความหมายคล้ายกัน (ประกอบไปด้วยคำเหมือนและคำตรงข้าม ในบางครั้ง) ในทางกลับกัน พจนานุกรม จะประกอบไปด้วยคำจำกัดความและการอ่านออกเสียงของคำต่าง ๆ อรรถาภิธานที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ อรรถาภิธานทางประวัติศาสตร์ของพจนานุกรมภาษาอังกฤษออกซ์ฟอร์ด มีคำบรรจุมากกว่า 920,000 คำ หมวดหมู่:การแทนความรู้ หมวดหมู่:งานอ้างอิง หมวดหมู่:พจนานุกรม.

ใหม่!!: พจนานุกรมและอรรถาภิธาน · ดูเพิ่มเติม »

อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ (gazetteer) เป็นพจนานุกรมหรือสารบบที่ใช้ร่วมกับแผนที่หรือแผนที่เล่ม ตรงแบบมีสารสนเทศเกี่ยวกับลักษณะภูมิศาสตร์ สถิติสังคมและลักษณะกายภาพของประเทศ ภูมิภาคหรือทวีป เนื้อหาของอักขรานุกรมภูมิศาสตร์อาจมีที่ตั้งของเรื่อง มิติยอดเขาและทางน้ำ ประชากร ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้นและอัตราการรู้หนังสือ สารสนเทศนี้โดยทั่วไปแบ่งเป็นหัวข้อโดยมีการแสดงรายการหน่วยตามลำดับตัวอักษร ทราบว่ามีอักขรานุกรมภูมิศาสตร์กรีกโบราณตั้งแต่สมัยเฮลเลนิสติก อักขรานุกรมภูมิศาสตร์จีนเล่มแรกเท่าที่ทราบมีการเปิดเผยในคริสต์ศตวรรษที่ 1 และด้วยยุคสื่อพิมพ์ในประเทศจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 9 คหบดีจีนลงทุนผลิตอักขรานุกรมสำหรับพื้นที่ท้องถิ่นของพวกตนเป็นแหล่งสารสนเทศและเป็นความภูมิใจท้องถิ่น นักภูมิศาสตร์ สเตฟานัสแห่งไบแซนทิอุม (Stephanus of Byzantium) เขียนพจนานุกรมภูมิศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้รวบรวมชาวยุโรปสมัยหลัง อักขรานุกรมภูมิศาสตร์สมัยใหม่พบได้ในส่วนอ้างอิงของห้องสมุดส่วนใหญ่ ตลอดจนบนอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: พจนานุกรมและอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นามานุกรม

นามานุกรม (directory) คือ รายชื่อของบุคคล องค์การสถาบัน โดยมีการจัดเรียงอย่างเป็นระบบ โดยทั่วไปจะเรียงตามลำดับตัวอักษรหรือตามลำดับหมวดหมู่ โดยให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานที่อยู่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ ในภาษาไทยใช้คำว่า นามานุกรม หรือ ทำเนียบนาม.

ใหม่!!: พจนานุกรมและนามานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พจนานุกรมเคมีปทานุกรม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »