โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายพระนามเทวดาจีน

ดัชนี รายพระนามเทวดาจีน

ทความนี้รวบรวมเทพเจ้าของจีนต่าง.

84 ความสัมพันธ์: ชิงสุ่ยโจวซือบุ่นเชียงตี่กุนพระพรหมพระพุทธเจ้าพระกษิติครรภโพธิสัตว์พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์พระมัญชุศรีโพธิสัตว์พระยมพระลักษมีพระวิหารบาลโพธิสัตว์พระศิวะพระสมันตภัทรโพธิสัตว์พระสุรัสวดีพระอมิตาภพุทธะพระธรณีพระถังซัมจั๋งพระทีปังกรพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์พระโพธิธรรมพระโคตมพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุพระเวทโพธิสัตว์พระเทวันเฉากวนอิมกวนอูมหามยุรีมารีจีม่าจ้อโป๋ลหฺวี่ ต้งปินลุ่ยกงหลัน ไฉ่เหอหลิมกอเหนี่ยวหลินไท่ซือหลี่จิ้งหลี่ขาเหล็กหาริตีองค์หญิงพัดเหล็กฮก ลก ซิ่วฮุ่ยเหนิงจือนฺหวี่จุ้ยบ้วยเนี้ยจี้กงธรรมบาลธิดาพญามังกรท้าววิรุฬหกท้าววิรูปักษ์ท้าวสักกะท้าวธตรฐท้าวเวสวัณขงจื๊อ...งักฮุยตือโป๊ยก่ายตี๋ ชิงฉางเอ๋อซัวเจ๋งซิ ยิ่นกุ้ยซีหวังหมู่ปราชญ์หัน เซียงปึงเถ่าม่านาจานางฟ้าเหอนฺหวี่วาโพสพโกยเซ่งอ๋องโป๊ยเซียนไตฮงโจวซือไฉ่สิ่งเอี้ยไซอิ๋วเม่งจื๊อเล่าจื๊อเห้งเจียเอ้อร์หลัง เสินเจียง จื่อหยาเจ้าแม่กิมฮวยเนี่ยเนี้ยเจ้าแม่มั่วโกวเจ้าแม่จูแซเนี้ยเจ้าแม่ตี่บ้อเนี้ยเจ้าแม่เก้าเทียงเหี่ยงนึ่งเทพเจ้าเตาไฟเด็กแดงเง็กเซียนฮ่องเต้เตียนบ๊อเตียนฮู้หง่วนโส่ยเปาบุ้นจิ้น ขยายดัชนี (34 มากกว่า) »

ชิงสุ่ยโจวซือ

งสุ่ยโจวซือ (清水祖師) เป็นเทพเจ้าจีนที่สำคัญองค์หนึ่งของชาวจีนฮกเกี้ยน แม้ว่าจะเป็นบรรพชิตในศาสนาพุทธนิกายฌาน แต่โดยมากคนทั่วไปจะนับถือท่านในฐานะเทพเจ้าสายศาสนาเต๋ามากกว่า ท่านมีชีวิตอยู่จริงในสมัยราชวงศ์ซ่งช่วงรัชกาลจักรพรรดิซ่งเหรินจง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและชิงสุ่ยโจวซือ · ดูเพิ่มเติม »

บุ่นเชียงตี่กุน

thumbnail บุ่นเชียงตี่กุน (文昌帝君)หรือเรียกตามสำเนียงจีนกลางว่า เหวินชาง เป็นเทพเจ้าจีน โดยนับถือว่าเป็นเทพแห่งการอำนวยประโยชน์ในด้านการศึกษา, งานประพันธ์, อักษรศาสตร์, การรับราชการ และการสอบเข้ารับราชการ (ฝ่ายพลเรือน)โดยมีชีวิตอยู่จริงในสมัยราชวงศ์จิ้นในสมัยจักรพรรดิจิ้นเซี่ยวหวู่และเป็นเทพเจ้าจีนที่รู้จักและนับถือในประเทศไทยโดยเรียกตามสำเนียงแต้จิ้วว่า พระเจ้าหมั่นเช้ง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและบุ่นเชียงตี่กุน · ดูเพิ่มเติม »

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระกษิติครรภโพธิสัตว์

ระกษิติครรภโพธิสัตว์ (อ่านว่า /พฺระ-กะ-สิ-ติ-คับ-พะ-โพ-ทิ-สัด/, क्षितिगर्भ;; กฺษิติครฺภ) เป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาพุทธนิกายมหายานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มักมีรูปลักษณ์เป็นพระภิกษุมหายาน นามของพระโพธิสัตว์องค์นี้อาจแปลได้ว่า "ขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Treasury"), คลังแห่งแผ่นดิน ("Earth Store"), "บ่อเกิดแห่งแผ่นดิน"("Earth Matrix"), หรือ "ครรภ์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Womb") พระกษิติครรภโพธิสัตว์ได้รับมอบหมายจากพระศากยมุนีพุทธเจ้าให้เป็นผู้แสดงธรรมโปรดสัตว์ในกามภูมิ 6 ในช่วงที่พระองค์ปรินิพพานไปแล้วและพระศรีอริยเมตไตรยยังไม่ได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระกษิติครรภมีปณิธานสำคัญในการช่วยสัตวโลกทั้งหมดให้พ้นจากนรกภูมิ หากนรกยังไม่ว่างจากสัตว์นรกก็จะยังไม่ขอตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสัตว์ผู้ทุกข์ยากในอบายภูมิ มีนรกทั้งปวง เป็นต้น เช่นเดียวกับการเป็นผู้คุ้มครองเด็กทั้งหลาย และเทพอุปถัมภ์ของเด็กที่เสียชีวิตและทารกที่ตายจากการแท้งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น รูปลักษณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ปกติมักทำเป็นรูปพระภิกษุมหายาน มีรัศมีเปล่งรอบพระเศียรซึ่งปลงพระเกศาแล้ว หัตถ์หนึ่งทรงจับไม้เท้าซึ่งใช้เปิดประตูนรก อีกหัตถ์หนึ่งทรงถือแก้วจินดามณี (แก้วสารพัดนึก) เพื่อประทานแสงสว่างท่ามกลางความมืด สำหรับในประเทศไทยเอง มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย (佛眼禪林弘法基金會:地藏道場) พุทธมณฑลสาย 6 ได้สร้างวัดหรือธรรมสถาน เพื่ออุทิศแด่องค์พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์โดยเฉพาะ โดยสร้างองค์พระกษิติครรภ์ ด้วยหินแกรนิตแกะสลักสูงรวมฐาน 13.99 เมตร และพระกษิติครรภ์ 6 ปาง ที่มีคติมาจากปุณฑริกสมาธิสูตร (蓮華三昩經) ที่ว่าพระกษิติครรภ์นิรมาณกายไปโปรดสัตว์ทั้ง 6 ภูมิ พร้อมพญายมราชทั้ง 10 ซึ่งในสูตรฝ่ายมหายานกล่าวว่า เป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์สำคัญ 10 พระองค์ นิรมาณกายมาโปรดสัตว์ และปฏิมากรรมหินแกะสลักนายนิรยบาล เป็นหินแกะสลักสูงใหญ่กว่าคนอีกรวมทั้งสิ้น 25 องค์โดยช่างฝีมือจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคติของพุทธมหายานแบบจีน และเผยแพร่กษิติครรภโพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร (地藏本願經) และ กษิติครรภ์โพธิสัตว์ทศจักรสูตร (地藏十輪經) ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของพระกษิติครรภ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกษิติครรภมณฑล ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระกษิติครรภโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์

ระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์อัครสาวกของพระอมิตาภพุทธะเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า ถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ด้านกำลัง สะท้อนพลังจิตที่เข้มแข็งของพระพุทธเจ้า ใกล้เคียงกับความหมายของพระสมันตภัทรโพธิสัตว.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์

ระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (मञ्जुश्री Mañjuśrī; 文殊 Wénshū หรือ 文殊師利菩薩 Wénshūshili Púsà; もんじゅ Monju; འཇམ་དཔལ་དབྱངས། Jampelyang; मंजुश्री Manjushree) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของท่านแปลว่า แสงอันอ่อนหวานหรืออ่อนโยน เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือในทิเบตรองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อของท่านมีปรากฏในพระสูตรต่างๆมากมาย เช่น สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายปัญญาและมีหน้าที่คุ้มครองนักปราชญ.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระยม

ระยม พระยมราช หรือ มัจจุราช คือเทพเจ้าแห่งนรกและความตาย ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดี.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระยม · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่ลักษมีประดับเทวสถานมุนีศวรัม ประเทศศรีลังกา เทวรูปพระลักษมีสำริด ศิลปะโจฬะ อินเดียใต้ พระลักษมี (ลกฺษฺมี) หรือ พระมหาลักษมี เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพของพระแม่ลักษมีนั้นนอกจากจะพบในศาสนสถานของศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบในศาสนสถานของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ ในบางแห่งอีกด้วย พระลักษมีนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับเทพีของกรีกองค์หนึ่ง คือเทพีอะโฟร์ดิตี้ โดยที่เทพีทั้งสองนี้ ถือกำเนิดจากมหาสมุทรเหมือนกัน และเป็นตัวแทนของความสวยงามเหมือนกันอีกด้วย นอกจากนั้น พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร น้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (พระธิดาแห่งพระสมุทร) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤๅษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว พระแม่ลักษมี เป็นชายาของ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์ กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนัก.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระลักษมี · ดูเพิ่มเติม »

พระวิหารบาลโพธิสัตว์

ระวิหารบาลโพธิสัตว์ หรือ พระสังฆารามโพธิสัตว์ เป็นกลุ่มของพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการยกย่องจากชาวพุทธมหายานในจีนว่าเป็นผู้ดูแลพระพุทธศาสนา ที่มาของพระโพธิสัตว์กลุ่มนี้มาจากเทพเจ้าดั้งเดิมก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้าไปถึง รวมทั้งบุคคลที่เมื่อมีชีวิตอยู่ได้อุปถัมภืพระศาสนาไว้มาก เมื่อตายไปจึงได้รับการยกย่องให้เป็นพระวิหารบาลโพธิสัตว์ รูปลักษณ์ของท่านมีหลากหลายตามแต่ความเชื่อของผู้สร้าง แต่นิยมสร้างเป็นรูปของเทพเจ้ากวนอูซะมากกว่า ในวัดพุทธมหายานแบบจีนจะตั้งรูปของท่านไว้คู่กับพระเวทโพธิสัตว.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระวิหารบาลโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์

ระสมันตภัทรโพธิสัตว์ (समन्तभद्र Samantabhadra; ཀུན་ཏུ་བཟང་པོ། Kun-tu bzang-po; Qamugha Sain, 普賢菩薩 Pŭxián púsà; ふげん Fugen; Phổ Hiền Bồ Tát) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของพระองค์ท่านแปลว่า ดี รุ่งเรือง หรือเป็นมงคล ท่านมักปรากฏในพุทธมณฑลในฐานะตัวแทนของพระไวโรจนพุทธะ จึงเป็นตัวแทนของความกรุณาและสมาธิที่ดิ่งลึก.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระสุรัสวดี

ระสุรัสวตี เทวีอักษรศาสตร์(ตราสัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทพสตรีในศาสนาฮินดู ทรงอุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้Kinsley, David (1988).

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระสุรัสวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระอมิตาภพุทธะ

ระอมิตาภพุทธะ (अमिताभ बुद्ध) เป็นพระธยานิพุทธะที่ประทับในแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นพุทธเกษตรแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พระองค์มีรูปกายเป็นสีแดง นับถือกันมากในนิกายสุขาวดี ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หรือเจ้าแม่กวนอิม แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในนิกายเถรวาท เพราะไม่มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกภาษาบาลี.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระอมิตาภพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระธรณี

วัดท่าสุทธาวาส พระแม่ธรณี หรือ พระศรีวสุนธรา ภาษากะเหรี่ยงว่า ซ่งทะรี่ เป็นเทพีแห่งพื้นแผ่นดิน ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในคติของศาสนาฮินดูให้ความเคารพนับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า "ธรณิธริตริ" แปลว่า "ผู้ค้ำจุนพระธรณี" แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่นแต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของแม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ในพระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณีให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครองวิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุก ๆ เดือนชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้ เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของพระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็นชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ ในพุทธศาสนา พระแม่ธรณีปรากฏกายเพื่อบีบน้ำจากมวยผมให้ท่วมทัพท้าววสวัตตีที่มาผจญพระโคตมพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระธรณี · ดูเพิ่มเติม »

พระถังซัมจั๋ง

วาดพระถังซัมจั๋ง เหี้ยนจึง หรือสำเนียงกลางว่า เสวียนจั้ง (ประมาณ ค.ศ. 602 – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 664) หรือที่รู้จักในนิยายไซอิ๋วว่า ถังซัมจั๋ง (唐三藏) เป็นพระภิกษุที่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจึงได้ออกเดินทาง โดยได้เขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งเขียนขึ้นในปี..

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระถังซัมจั๋ง · ดูเพิ่มเติม »

พระทีปังกรพุทธเจ้า

ระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในโลกเมื่อ 4 อสงไขยแสนกัปที่แล้ว.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระทีปังกรพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิธรรม

'''"พระโพธิธรรม"''' โดยโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) พระโพธิธรรม (โพธิธรฺม, เทวนาครี बोधिधर्म; อักษรโรมัน (NLAC): bōdhidharma; 菩提達摩, พินอิน: Pútídámó, Dámó) แต่ในนิยายกำลังภายในในประเทศไทยมักเรียก ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว ตรงกับจีนกลางว่า ต๋าหมอ) เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานนิกายเซน มีประวัติไม่ชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่ามีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้สถาปนาวัดเส้าหลิน ในจีน ทั้งยังได้เผยแพร่วิชามวยจีนในหมู่พระเณรของวัดเส้าหลิน จนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้ ตามตำนานระบุว่า ท่านเกิดเมื่อราว..

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระโพธิธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระไภษัชยคุรุ

วัดโฮรีว พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน ไม่พบในฝ่ายเถรวาท พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีสีน้ำเงินดังไพฑูรย์ พระนามอื่นๆของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระไภษัชยคุรุ · ดูเพิ่มเติม »

พระเวทโพธิสัตว์

ระเวทโพธิสัตว์ เป็นเทพธรรมบาลผู้ปกป้องพุทธศาสนาตามความเชื่อของชาวพุทธมหายานในจีน ตรงกับพระขันธกุมารของศาสนาฮินดู มีหน้าที่กำราบผู้จะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย คอยดูแลวัดวาอารามต่างๆ ลักษณะของพระองค์จะแต่งกายแบบนักรบจีน ในมือถือคทา โดยในสมัยโบราณ ผู้เดินทางที่จะไปค้างคืนตามวัดจะสังเกตรูปปั้นของพระเวทโพธิสัตว์ในวัดว่าถือคทาอย่างไร ถ้าถือไว้ในมือหรือประนมมือแสดงว่าอนุญาตให้เข้าพักได้ แต่ถ้าถือจรดพื้นแสดงว่าไม่อนุญาตให้เข้าพัก ในคัมภีร์ปัจจุบันสมัยภัทรกัลป์สหัสพุทธนามสูตร ได้ระบุว่าพระเวทโพธิสัตว์จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายในกัปป์ปัจจุบันคือภัทรกัปปป์ มีพระนามเมื่อตรัสรู้แล้วว่า พระรุจิพุทธเจ้.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระเวทโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเทวันเฉา

ระเทวันเฉา (Royal Brother-in-law Cao) เป็นเทพองค์หนึ่งในกลุ่มแปดเทพของลัทธิเต๋าเกิดในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีศักดิ์เป็นน้องชายของพระนางเฉา มเหสีพระเจ้าซ่งเหรินจง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและพระเทวันเฉา · ดูเพิ่มเติม »

กวนอิม

กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์" เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและกวนอิม · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

มหามยุรี

ระมหามยุรีโพธิสัตว์ พระมหามยุรี (孔雀明王; Mahamayuri) เป็นวิทยาราชองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาพุทธนิกายมหายานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มักมีรูปลักษณ์เป็นที่สังเกตได้ง่าย โดยปรากฏเป็นเทวดาประทับบนนกยูง มีตำนานปรากฏในธารณีชื่อมหามยุรีวิทยาราชามหาธารณี.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและมหามยุรี · ดูเพิ่มเติม »

มารีจี

ระแม่มาริจีโพธิสัตว์ มารีจี (摩利支天Marici bodhisattva)เป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงตามความเชื่อของพุทธศาสนามหายาน พุทธศาสนาวัชรยานและศาสนาเต๋า โดยนับถือว่าพระโพธิสัตว์แห่งแสงอาทิตย์ยามเช้า ทรงรถที่ลากด้วยหมูป่าเจ็ดตัว รูปลักษณ์ของพระนางมีหลากหลายมีตั้งแต่พักตร์เดียว 2 กรไปจนถึงหกพัตร์ 12 กร ในอินเดียจะพบรูปปั้นแบบพักตร์เดียว 2 กร และ 3 พักตร์ 6 กร พระโพธิสัตว์องค์นี้เป็นที่นิยมนับถือในทิเบตและจีน ญี่ปุ่น และทรงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตำนานเทศกาลกิน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและมารีจี · ดูเพิ่มเติม »

ม่าจ้อโป๋

ม่าจ้อโป๋ หรือ ม่าโจ้ว หรือ ไฮตังม่า (媽祖 มาจู่) เป็นเทพเจ้าสตรีของจีนที่ได้รับความเคารพในหมู่ของชาวฮกเกี้ยน ชาวแต้จิ๋ว และชาวจีนโพ้นทะเล ที่ประกอบอาชีพประมงและเดินเรือ ม่าจ้อโป๋ มักจะถูกเข้าใจผิดในหมู่ชาวไทยว่าคือ เจ้าแม่ทับทิม ซึ่งความจริงแล้วเจ้าแม่ทับทิมแท้ที่จริงแล้ว คือ จุ้ยบ้วยเนี้ย (水尾聖娘) เทพสตรีอีกองค์หนึ่งที่ถือว่าเป็นเทพแห่งท้องทะเลหรือการเดินเรือเช่นเดียวกัน โดยจุ้ยบ้วยเนี้ยนั้นจะเป็นที่นับถือของชาวไหหลำ ในขณะที่ม่าจ้อโป๋จะเป็นที่นับถือของชาวฮกเกี้ยน และชาวแต้จิ๋ว ซึ่งในอดีตยุคที่ยังมีการค้าขายกันระหว่างไทยกับจีนด้วยเรือสำเภา ชาวไหหลำจะเดินทางมาถึงประเทศไทยในช่วงต้นปี คือ ราวเดือนมกราคม เนื่องจากเกาะไหหลำนั้นมีทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ประเทศไทยกว่า และจะทำการสักการะบูชาจุ้ยบ้วยเนี้ย เมื่อชาวฮกเกี้ยนและแต้จิ๋วเดินทางมาถึงจะอยู่ในราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม เนื่องจากมณฑลกวางตุ้งและฮกเกี้ยนนั้นตั้งอยู่ในแผ่นดินใหญ่ซึ่งไกลกว่า และก็ทำการสักการะม่าจ้อโป๋ด้วยเช่นกัน จึงทำให้เกิดความสับสนระหว่างเทพสตรีทั้งสอง อีกทั้งเครื่องประดับยังใกล้เคียงกันอีกด้วย คือ เป็นเครื่องทรงสีแดง ทั้งนี้เกิดจากฝีมือช่างที่เกิดในประเทศไท.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและม่าจ้อโป๋ · ดูเพิ่มเติม »

ลหฺวี่ ต้งปิน

right ลหฺวี่ ต้งปิน เป็นสมาชิกแปดเทพในลัทธิเต๋า และเป็นนักรสายนเวทซึ่งมีชีวิตอยู่จริงในสมัยราชวงศ์ซ่งตามความใน พงศาวดารซ่ง (Book of Song) ส่วนในศิลปกรรมนั้น ลหฺวี่มักได้รับการแสดงภาพเป็นบัณฑิตชายเหน็บกระบี่กายสิทธิ์ไว้ที่หลัง กระบี่นี้มีอำนาจขับไล่ภูตผีปิศาจ หมวดหมู่:แปดเทพ.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและลหฺวี่ ต้งปิน · ดูเพิ่มเติม »

ลุ่ยกง

ทวรูปเทพลุ่ยกง ลุ่ยกง หรือสำเนียงจีนกลางว่า เหล่ย์กง ("เจ้าสายฟ้า") หรือ เหล่ย์เฉิ่น ("อสุนีเทพ") เป็นเทพเจ้าแห่งสายฟ้า ตามความเชื่อปรัมปราของจีน โดยเป็นเทพผู้บันดาลให้ฝนตก โดยทำหน้าที่กับเทพเตียนบ๊อและยังเป็นหนึ่งในห้าแม่ทัพสวรรค์ร่วมกับ เอ้อร์หลัง เสิน นาจา คังหง่วนโส่ย จิ่วหง่วนโส่ย โดยเป็นแม่ทัพประจำทิศตะวันออก มีธงสีเขียวเป็นสีประจำกองทัพคุมกำลังทัพสวรรค์ 99,000 นาย ในการรักษาทิศทางของโลกมนุษย์และสวรร.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและลุ่ยกง · ดูเพิ่มเติม »

หลัน ไฉ่เหอ

หลัน ไฉ่เหอ หลัน ไฉ่เหอ เป็นเทพองค์หนึ่งในกลุ่มแปดเซียนของลัทธิเต๋า เซียนองค์นี้ได้ชื่อว่า เซียนแห่งมวลบุปผาชาติ ความอุดมสมบูรณ์ ในสมัยยุคแผ่นดินไซฮั่น มีชายขอทานคนหนึ่งชื่อ หลัน ไฉ่เหอ มีร่างสูงเพียงสี่ศอก ตามประวัติว่า เชียะคาไต้เซียนจุติลงมาเกิด เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่มนุษย์ แต่ตามประวัติในตำนาน มิได้กล่าวไว้ว่า เป็นลูกเต้าเหล่ากอตระกูลใด เพราะเหตุที่หลัน ไฉ่เหอได้ท่องเที่ยวขอทานเตร็ดเตร่มาหลายสิบหัวเมือง เครื่องแต่งกายที่สวมใส่เป็นเสื้อกางเกงสีน้ำเงิน แต่ก็เก่าขาดปะแทบไม่มีเนื้อดี สวมรองเท้าทำด้วยฟางหุ้มผ้าเพียงข้างเดียว เที่ยวร้องเพลงขอทานเขาเรื่อยมา ไม่ทำมาหากินอย่างอื่นใด เมื่อได้เงินทองพอสมควรแล้ว ก็เข้าร้านเหล้ากิน แล้วก็ขยับกรับในมือเสียงก้องกังวาล พลางขับเพลงประสานด้วยน้ำเสียงท่วงทำนองอันไพเราะ เพลงที่ร้องก็ล้วนแต่เป็นเพลงภาษิตแทรกธรรมะเตือนใจคน ทั้งเพราะทั้งน่าฟัง เป็นที่ชอบและเพลินใจแก่ผู้คนทั้งหลายทุกหัวเมืองที่ผ่านมา กรับประจำตัวหลัน ไฉ่เหอนั้นมีรูปลักษณะผิดกับกรับธรรมดา คือยาวถึงสี่คืบครึ่ง กว้างประมาณ หนึ่งฝ่ามือ หนาครึ่งองคุลี เนื้อกรับเป็นมันเงาวาววามคล้ายเนื้อหยก เวลาหลัน ไฉ่เหอขยับกรับ เสียงดังกังวาลน่าฟังยิ่งนัก ถ้าวันใดขอทานได้เงินมามาก ก็แจกจ่ายให้แก่คนแก่คนเฒ่าที่ยากจนทั้งหญิงชาย บางคราวนึกขลังขึ้นมา พอได้เงินอีแปะมามาก หลัน ไฉ่เหอก็เอาร้อยเชือกเป็นพวงยาวแล้ววิ่งลามไปตามถนน มิใยเชือกที่ร้อยพวงอีแปะจะขาดก็ไม่เอาใจใส่ คงวิ่งลากไปจนเงินหมดพวง พวกคนยากจนและเด็กตามถนนก็พากันวิ่งตามเก็บกันอย่างชุลมุนสนุกสนาน ความประพฤติของหลัน ไฉ่เหอที่ไม่เหมือนใครมีอยู่อย่างหนึ่ง คือเวลาหน้าร้อนก็สวมใส่เนื้อหนา ทำเป็นเสื้อชั้นใน ถึงจะเป็นเวลาหน้าร้อนแดดจัดปานใด ก็ไม่ปรากฏว่ามีเหงื่อไหลอย่างคนธรรมดาสามัญ เวลาหน้าหนาวจัดหิมะลงท่วมเข่าก็ใส่เสื้อชั้นในบาง ๆ ตัวเดียว ทั้งตามหูตาปากจมูกก็ปรากฏมีไอประดุจไอน้ำร้อนที่เดือดพลุ่งออกมา คราวหนึ่ง ขณะที่หลัน ไฉ่เหอเสพสุราพอตึงหน้าครึกครื้น ก็ออกเดินรัวกรับร้องรำทำเพลง ผู้คนพากันตามมุงดูเต็มท้องถนนอยู่นั้น มีชายชราผู้หนึ่งพูดว่า หลัน ไฉ่เหอผู้นี้เราเคยเห็นมา ตั้งแต่เราจำความได้ จนตัวเรามีอายุแก่ชราจนบัดนี้ ก็ไม่เห็นหลัน ไฉ่เหอมีรูปร่างผิดไปกว่าแต่ก่อนเลย อย่างไรก็อย่างนั้น ดูเหมือนกับคนอายุสี่สิบปีเท่านั้น เสื้อกางเกงที่สวมใส่ ทั้งเกือกฟางที่หุ้มผ้า ก็สำรับเก่านั้นเอง ช่างน่าประหลาดอัศจรรย์เสียเหลือเกิน คนทั้งหลายได้ฟังต่างก็เห็นด้วยดังที่ชายชราพูดนั้น ต่างก็มองแลดูหลัน ไฉ่เหอด้วยความอัศจรรย์ใจและเคารพ ครั้งหนึ่ง หลัน ไฉ่เหอได้เที่ยวไปตามแนวป่าตำบลหนึ่ง ได้พบกับทิก๋วยลี้ในระหว่างทางต่าง ก็กระทำคำนับสนทนาปราศัยเป็นที่ถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกันแล้ว ต่างก็ลาจากกันไป ในตำนานมิได้กล่าวไว้ว่าทั้งสองได้สนทนาเรื่องอะไรกันบ้าง มาวันหนึ่ง เป็นเพลาตกเย็น อากาศแจ่มใน หลัน ไฉ่เหอกำลังนั่งเสพสุราอยู่ในร้านขายสุราบนสะพานคูเมือง พอได้ยินเสียงมโหรีดังไพเราะมาจากอากาศเบื้องบน บรรดาฝูงคนชาวเมืองตลอดจนเจ้าของร้านสุราต่างก็พากันออกไปแหงนดู เมื่อหลัน ไฉ่เหอเห็นผู้คนกำลังเพลิน มิได้เอาใจใส่แก่ตัวเช่นนั้นเห็นเป็นโอกาสอันดี ก็เดินออกจากร้านสุรา หลัน ไฉ่เหอโยนกรับขึ้นไป กรับก็กลายเป็นนกกระเรียนใหญ่ยืนอยู่ตรงหน้า หลัน ไฉ่เหอก็ขึ้นขี่หลังนกกระเรียน บินเข้ากลีบเมฆหายไป เสียงมโหรีก็พลอยหายไปด้วย เจ้าของร้านสุราและเหล่าประชาชนเห็นดังนั้น ต่างก็พากันเข้าไปดูในร้าน เห็นแต่เสื้อกางเกงสีเขียวและรองเท้าฟางกองอยู่ แต่พอเข้าไปใกล้ สิ่งของเหล่านั้นก็กลายเป็นหยก แล้วอันตรธานหายไป คนทั้งหลายจึงรู้ว่าหลัน ไฉ่เหอได้สำเร็จเป็นเซียนไปแล้ว จึงพากันคำนับกระทำความเคารพ หลัน ไฉ่เหอได้ไปกับทิก๋วยลี้เป็นเซียนในลำดับที่ห้าในคณะโป๊ยเซียน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและหลัน ไฉ่เหอ · ดูเพิ่มเติม »

หลิมกอเหนี่ยว

ลิ้มโกวเนี้ย (林府姑娘)หรือเรียกตามสำเนียงจีนกลางว่า หลินฝูกูเหนียง เป็นเทพเจ้าจีนที่ปรากฏและมีเรื่องราวอยู่นอกประเทศจีน โดยมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับจังหวัดปัตตานี โดยมีชีวิตอยู่จริงในสมัยราชวงศ์หมิงในสมัยจักรพรรดิหมิงซื่อจงและเป็นเทพเจ้าจีนที่รู้จักและนับถือในประเทศไทยเป็นอันมาก.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและหลิมกอเหนี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

หลินไท่ซือ

หลิ่มไท่ซือ หลินไท่ซือ หรือ หลินไท่ซือกง (林太师公) หรือ หลิมฮู้ไท่ซู (ฮกเกี้ยน: 林府太师) เกิดเมื่อวันที่สี่ เดือนสี่ (四月初四) ปี ค.ศ. 1537 หรือปีพุทธศักราชที่ 2080 ณ บ้านหยุนเซียว มณฑลฟู่เจี้ยน หรือฮกเกี้ยน (福建云霄 - Fújiàn yúnxiāo) ในปีที่ 16 ของรัชสมัยฮ่องเต้เจียจิ้งราชวงศ์หมิง ซึ่งตรงกับปีเกิดปีเดียวกับ King Edward ที่หก ของอังกฤษ, โชกุน อาชิกาย่า โยชิอากิของญี่ปุ่น และกษัตริย์จอนห์ที่3 ของประเทศสวีเดน ท่านมีชื่อจริงว่า หลินเสียชุน (林偕春 - lín xié chūn) หรือฉายาว่า หลินฝู๋หยวน (林孚元 - lín fú yuán) โดยในปี..

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและหลินไท่ซือ · ดูเพิ่มเติม »

หลี่จิ้ง

หลี่จิ้ง หรือ ถักทะลีทีอ๋อง ("โลกบาลหลี่ผู้ถือเจดีย์", Pagoda-Bearing Heavenly King Li) เป็นหนึ่งในจตุโลกบาลจีนซึ่งตรงกับท้าวเวสสุวรรณ หลี่จิ้งมีบุตรสามคน คือ จินจา มูจา และนาจา เดิมหลี่จิ้นเป็นแม่ทัพสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนต้น ได้ออกมาล่าสัตว์กับองค์ฮ่องเต้ พระนามว่า จ้าวอ๋อง ทั้งคู่จะดักจับกวางหนุ่มตัวหนึ่ง ขณะนั้นนาจาเป็นเทพเจ้าเด็ก ชอบลงมาบนโลกมนุษย์มาเล่นกับสัตว์ในป่า เมื่อรู้ว่าจ้าวอ๋องผู้มีนิสัยโหดร้ายมาล่าสัตว์ จึงสั่งให้กวางตัวนี้หนีไป แต่กวางตัวนี้ไม่หนี นาจาจึงเอาตัวเข้ารับแทนธนูของแม่ทัพหลี่จิ้งแทน และไปเกิดใหม่ในครรภ์ของภรรยาหลี่จิ้ง เป็นบุตรชายคนที่สามชื่อว่า นาจา ภายหลังจากเสียชีวิต หลี่จิ้งได้รับการแต่งตั้งจากองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ได้เป็นขุนพลสวรรค์ มีอาวุธคู่กายคือ เจดีย์ 7 ชั้น ที่เคยจับซุนหงอคงขังเอาไว้ เจดีย์นี้สามารถกักขังได้ทั้งวิญญาณ ภูตผีปีศาจ หรือแม้แต่เทพเจ้า เมื่อหลี่จิ้งจะลงมาโปรดสัตว์โลกจะมีนาจาตามมาด้วยทุกครั้ง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและหลี่จิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

หลี่ขาเหล็ก

หลี่ขาเหล็ก หลี่ขาเหล็ก (Iron-Crutch Li) เป็นเทพองค์หนึ่งในกลุ่มแปดเทพของลัทธิเต๋า เป็นเจ้าแห่งยาและการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ในภาพวาดของจีน มักวาดหลี่ขาเหล็กเป็นชายชรา รูปร่างน่าเกลียด หน้าตามอมแมม มีหนวดเครารุงรัง ผมกระเซิง เดินถ่อไม้เท้าเหล็ก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขาว่า "หลี่ขาเหล็ก" หมวดหมู่:แปดเทพ.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและหลี่ขาเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

หาริตี

หารีตี (Hārītī) เป็นยักขินีในเมืองเปศวาร์และในเทพปกรฌัมทางภูมิภาคต้าเซี่ยซึ่งมีที่มาจากเทวีสวัสวดีในวัฒนธรรมฮินดู แต่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงตรงที่นางหารีตีเป็นปอบกินคน นางมีบุตรนับร้อยและรักบุตรเป็นอันมาก แต่จับบุตรของผู้อื่นมาเป็นภักษาหารให้แก่บุตรนาง ครั้นพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่แว่นแคว้นดังกล่าวจากทางแม่น้ำสินธุ ก็เกิดเรื่องเล่าใหม่ว่า สตรีผู้หนึ่งซึ่งบุตรถูกนางหาริตีลักไปได้วอนขอให้พระโคตมพุทธเจ้าทรงช่วยปกป้องบุตรนางด้วย พระองค์จึงทรงลักพาไอชี (Aiji) บุตรสุดท้องของนางหารีตีไปซ่อนไว้ได้บาตร นางหารีตีออกตามหาบุตรไปทั่วท้องจักรวาลแต่ก็ไม่พบ ที่สุด นางจึงมาอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า นางเองบุตรหายไปหนึ่งเวลายังเป็นทุกข์ร้อนถึงเพียงนี้ แล้วบิดามารดาผู้อื่นซึ่งบุตรถูกนางลักไปฆ่ากินนั้นจนล่วงลับตลอดไปนั้นจะไม่ร้อนรนเป็นร้อยเท่าพันเท่าหรือ นางหารีตีเมื่อเข้าใจถึงความทุกข์ทรมานใจของบิดามารดาผู้อื่น จึงปวารณาตัวเป็นผู้คุ้มครองเด็กและเป็นอุบาสิกา ทั้งหันไปบริโภคผลมณีพืชแทนเนื้อเด็ก ภายหลัง นางกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการพิทักษ์รักษาเด็ก การคลอดง่าย การเลี้ยงดูอุ้มชูเด็กอย่างมีความสุข ชีวิตคู่ผัวตัวเมียสุขสันต์ปรองดอง และชีวิตครอบครัวร่มเย็นมั่นคง นางหาริตียังคุ้มครองพุทธศาสนิกชนผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑรีกสูตร และสตรีไร้บุตรยังมักกราบไหว้นางหาริตีเพื่อขอบุตรด้วย กล่าวได้ว่า เมื่อพระพุทธศาสนามาถึงดินแดนเปศวาร์แล้ว นางหาริตีก็เปลี่ยนจากยักขินีตามวัฒนธรรมเปอร์เซียดั้งเดิมไปเป็นผู้อภิบาลพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ทำนองเดียวกับที่ในช่วงต้นพระพุทธศาสนาใช้กลืนลัทธิวิญญาณนิยม ต่อมา วัฒนธรรมเกี่ยวกับนางหาริตีก็แพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเช่นญี่ปุ่น และหาริตีในวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นเรียก "คิชิโมะจิง" หรือ "คิชิโบะจิง".

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและหาริตี · ดูเพิ่มเติม »

องค์หญิงพัดเหล็ก

ระราชวังฤดูร้อนในกรุงปักกิ่ง องค์หญิงพัดเหล็ก (Princess Iron Fan หรือ Steel Fan Princess) หรือ นางรากษส (จีนกลางว่า หลัวชา จีนฮกเกี้ยนว่า ล่อซั่วพระโสภณอักษรกิจ (เล็ก สมิตะศิริ). (2547). ไซอิ๋ว. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา. ISBN 9749207769. หน้า 525.) เป็นตัวละครจากนวนิยายคลาสสิกของจีนเรื่องไซอิ๋ว นางเป็นภริยาของราชาปีศาจกระทิง และเป็นมารดาของเด็กแดง โดยปรกติ นางจะปรากฏกายเป็นเทพธิดามีรูปโฉมงดงาม แต่ที่จริงแล้ว นางเป็นรากษสี (รากษสตัวเมีย) นางอาศัยอยู่ในถ้ำใต้ดินร่วมกับครอบครัว มักจะรอสามีกลับบ้านเสมอ แต่จะเกรี้ยวกราดเป็นอันมากเมื่อทราบว่าสามีไปยุ่งเหยิงกับบรรดานางจิ้งจอก นางยังเป็นเจ้าของพัดที่เรียกว่า "พัดเหล็ก" ซึ่งอันที่จริงแล้วทำจากใบตอง ในโอกาสทั่วไป พัดนี้จะมีขนาดเล็ก และองค์หญิงพัดเหล็กจะอมเก็บไว้ในปาก แต่เมื่อจะใช้ พัดสามารถขยายรูปได้มหาศาลตามต้องการ และมีคุณวิเศษ เมื่อใช้โบกแล้วจะบันดาลลมสลาตัน ในเรื่องไซอิ๋ว คณะจาริกของพระถังซัมจั๋งได้เดินทางมาถึงจุดแห่งเทือกเขาไฟที่ลุกเป็นเพลิงอย่างใหญ่หลวง และจะผ่านเส้นทางนั้นได้ก็แต่โดยให้เทือกเขาสงบลง เห้งเจียต้องการยืมพัดเหล็กขององค์หญิงพัดเหล็กมาดับเทือกเขาเพลิง แต่นางบอกปัด เพราะเห้งเจียคงเคยทำร้ายสามีและลูกของนางมาก่อน เห้งเจียจึงแปลงตัวเป็นแมลงวันบินเข้าไปในปากนาง จากลำคอลงสู่กระเพาะ แล้วถีบถองทุบเตะนางอยู่ข้างใน จนนางเจ็บปวดมิอาจทนได้ และยอมส่งพัดให้ ทว่า เป็นพัดที่ใช้โบกแล้วจะโหมให้ไฟลุกทวีขึ้น คณะจารึกจึงต้องผจญเพลิงหนักยิ่งกว่าเดิม เห้งเจียกลับไปหานางอีกครั้ง โดยแปลงตัวเป็นราชาปีศาจกระทิง แล้วล่อหลอกขอยืมพัดเหล็กมา องค์หญิงพัดเหล็กจึงส่งพัดให้ หลังจากนั้นไม่นาน ราชาปีศาจกระทิงกลับบ้าน และโมโหเป็นอันมากเมื่อทราบเรื่อง เขาจึงแปลงกายเป็นตือโป๊ยก่าย แล้วเดินไปบอกเห้งเจียว่าจะช่วยถือพัดเหล็กให้ แต่เห้งเจียจับได้ จึงเกิดต่อสู้กัน ราชาปีศาจกระทิงแพ้ เห้งเจียยึดพัดเหล็กไปได้ ในคำแปลเรื่องไซอิ๋ว จัดพิมพ์โดย พระโสภณอักษรกิจ (เล็ก สมิตะศิริ) ในสมัยรัชกาลที่ 5 บรรยายว่า "นางล่อซั่วผู้นี้ กำเนิดเดิมนางเป็นยักษ์รากษส นางมีพัดเหล็กวิเศษอยู่พัดหนึ่ง มีฤทธาอานุภาพมาก อาจพัดให้บังเกิดเป็นลมพายุใหญ่และห่าฝนตกลงมาได้ในที่ใช่ฤดูแห่งฝน และจะพัดให้ไฟติดขึ้นจนไม่รู้จักดับก็ได้ นางเป็นภรรยาของงู้ม่ออ๋อง และเป็นมารดาของอั้งฮั้ยยี้ซึ่งมีฤทธิ์เดชมาก ปากพ่นเป็นไฟได้ ที่สำนักของนางอยู่ที่เขาม่อฮุ่นซัว ถ้ำปอเจียวต๋อง แต่งู้ม่ออ๋องไปมีภรรยาใหม่ นางอยู่ในสำนักแต่ผู้เดียว".

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและองค์หญิงพัดเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ฮก ลก ซิ่ว

ก ลก ซิ่ว (พินอินกวางตุ้ง: Fuk1 Luk6 Sau6; Fu Lu Shou) เป็น 3 เทพเจ้าจีน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นมงคล 3 ประการของจีน แห่งการอวยพร ปัจจุบันนิยมสร้างเป็นเทวรูปประดับตั้งวางอยู่ภายในบ้าน คนไทยส่วนมากรวมถึงคนจีนส่วนหนึ่งก็มักเข้าใจผิด คิดว่าเทพฮก คือเทพองค์กลางที่เป็นขุนนาง แท้จริงเทพฮกคือเทพองค์ที่อุ้มเด็ก เพราะคำว่า ลก หมายถึง ยศถาบรรดาศักดิ์ จึงหมายถึงเทพองค์กลางที่เป็นขุนนาง บางทีจะถูกวาดคู่กับกวาง เพราะในภาษาจีน คำว่ากวางพ้องเสียงกับคำว่า ยศถาบรรดาศักดิ์ ส่วนเทพฮกจะอุ้มเด็ก หมายถึงความสุขต่างๆในชีวิต พึงระวังการจำสับสนกัน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและฮก ลก ซิ่ว · ดูเพิ่มเติม »

ฮุ่ยเหนิง

รีระที่ไม่เน่าเปื่อยของพระฮุ่ยเหนิง พระฮุ่ยเหนิง (慧能 หรือ 惠能) หรือ ท่านพุทธทาสภิกษุ ออกเสียงว่า "เว่ยหลาง" เป็นภิกษุที่มีชีวิตสมัยราชวงศ์ถัง เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ในนิกายเซนนับจากพระโพธิธรรม หลังจากสืบทอดบาตรจีวรและธรรมจากพระสังฆปริณายกองค์ก่อน คือ หวางยั่น (ฮ่งยิ้ม) เป็นพระสังฆปริณายกแห่งนิกายเซนองค์ที่ 5 เจ้าอาวาสวัดตุงซั่น เว่ยหล่างมักถูกนำไปอ้างถึงในลัทธิอนุตตรธรรมว่าเป็นบรรพจารย์แห่งอนุตตรธรรมด้วย ลัทธินี้กล่าวว่ามีคำสอนเร้นลับเผยแพร่ได้เฉพาะผู้ได้รับอาณัติสวรรค์ โดยสืบต่อกันจากจิตถึงจิต เป็นการเฉพาะตัว รับช่วงต่อได้ทีละหนึ่งคนจากวิสุทธิอาจารย์ และจะเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วไปไม่ได้ จนกระทั่งปัจจุบันจึงถึงยุคที่เผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษา ซึ่งขัดกับหลักคำสอนของเว่ยหล่าง ในหมวดคำสอนครั้งสุดท้ายของท่าน ใจความว่า "สำหรับคำสอนของฉันทั้งหมด นับแต่ได้กล่าวเทศนาในวัดไทฟันตราบจนบัดนี้ จงคัดลอกเป็นเล่มแล้วแจกจ่ายกันไปก็ได้ แต่ให้ชื่อว่า สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์แห่งธรรมรถ จงทะนุถนอม ไว้ให้ดี แล้วมอบต่อกันไปตามอนุชนแต่ละรุ่น เพื่อช่วยเหลือสัตว์ทั้งปวง บุคคลที่สั่งสอนตามคำสอนนี้ เป็นผู้ที่สั่งสอนตามธรรมแท้ พอแล้วสำหรับธรรม ส่วนการรับช่วงจีวรนั้น ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัน เพราะเหตุใดหรือ? เพราะว่าท่านทั้งหลายต่างก็ศรัทธาต่อคำสอนของฉันโดยพร้อมมูล ทั้งท่านก็ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ แล้ว ท่านย่อมสามารถสืบต่อจุดประสงค์อันสูงยิ่งของสำนักเราให้ลุล่วงไปได้ นอกจากนั้นตามความหมายในโศลกของท่านโพธิธรรม พระสังฆปริณายกองค์แรกผู้ถ่ายทอดพระธรรมและบาตรจีวรท่านก็ไม่ประสงค์จะให้มอบแก่ใครต่อไปอีก โศลกนั้นคือ:- จุดประสงค์ในการมาดินแดนนี้ ก็เพื่อถ่ายทอดพระธรรม สำหรับปลดปล่อยสัตว์ที่ถูกครอบงำไว้ ด้วยความหลงผิด เมื่อมีกลีบครบห้ากลีบ ดอกไม้นั้นก็สมบูรณ์ หลังจากนั้นไป ผลจะปรากฏขึ้นเองตามธรรมชาติ" และเมื่อมีคำถามในเรื่องการถ่ายทอดธรรมอันเร้นลับที่ว่าไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามที่อนุตรธรรมกล่าวอ้าง ก็ได้กล่าวถึงในที่ประชุมก่อนเว่ยหล่างมรณภาพเช่นกัน ใจความว่า ที่ประชุมถามว่า "ใครครับ พระคุณท่าน ที่ท่านได้ถ่ายทอดขุมกำเนิดแห่งดวงตาของธรรมแท้?" พระสังฆปริณายกตอบว่า "มนุษย์ในหลักธรรมย่อมได้รับ และบรรดาผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้วจากความคิดเห็นอันเฉียบขาด ย่อมเข้าใจ" ซึ่งจะเห็นได้ว่าธรรมนั้นมิใช่สิ่งเร้นรับอันใดเลย ปัจจุบันประเทศไทยเอง ก็มีการจัดสร้างรูปเหมือนของของพระฮุ่ยเหนิง ที่สร้างตามรูปแบบสรีระที่ไม่เน่าเปื่อยของท่าน ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเททองหล่อรูปเหมือนของพระฮุ่ยเหนิง เพื่อประดิษฐานบนหอบูรพาจารย์ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2558 ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่อาจาริยคุณ ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ต่อมาพระธรรมาจารย์หมิงเซิงมหาเถระ รองประธานสำนักพุทธศาสนาแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประธานสำนักพุทธศาสนามณฑลกวางตุ้ง เจ้าอาวาสวัดกวางเซี้ยว เมืองกวางโจว ได้เมตตามอบรูปหล่อพระสังฆนายก "หุ่ยเหนิง" เนื้อทองเหลือง สูง 1.98 เมตร จากวัดกวงเซี้ยว ที่จัดสร้างเพียง 3 องค์ (วัดกวงเซี้ยว แห่งนี้เป็นวัดที่ท่านหุ้ยเหนิง ได้ปลงผมใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ และได้นำเกศาบรรจุไว้ในสถูป 7 ชั้น ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่ และยังเป็นสถานที่พระอาจารย์โพธิธรรม(ตั๊กม้อ) ได้เคยพักอาศัยเมื่อ 2 พันกว่าปีก่อนด้วย) โดยรูปปฏิมานี้ ได้ปั้นและหล่อโดยช่างฝีมือ ชื่อ พ่านเคอ เป็น 1 ใน 4 ช่างปั้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน เพื่ออัญเชิญกลับสู่ประเทศไทย และประดิษฐานเป็นการถาวร เปิดให้สาธุชนได้เข้ากราบสักการะ ภายในหอบูรพาจารย์ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย พุทธมณฑลสาย 6 ถือเป็นนิมิตหมายมงคล แห่งการเผยแผ่พระพุทธธรรมมหายาน สายฌาน(เซ็น) และบารมีธรรมแห่งพระบูรพาจารย์ จากต้นกำเนิดสู่ประเทศไท.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและฮุ่ยเหนิง · ดูเพิ่มเติม »

จือนฺหวี่

ือนฺหวี่ เป็นธิดาลำดับที่ 7 ของซีหวังหมู่กับเง็กเซียนฮ่องเต้.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและจือนฺหวี่ · ดูเพิ่มเติม »

จุ้ยบ้วยเนี้ย

217x217px จุ้ยบ้วยเนี้ย (水 尾 聖 娘.; พินอิน: Shuǐ wěi shèng niáng) เป็นเทวนารีตามความเชื่อปรัมปราของจีน จุ้ยบ้วยเนี้ย หรือแปลตรงตัวได้ว่า เจ้าแม่ท้ายน้ำ หรือที่ชาวไทยรู้จักกันในนาม เจ้าแม่ทับทิม เป็นเทวนารี ที่รู้จักและนิยมบูชาเช่นเดียวกับม่าจ้อโป๋ หรือไฮตังม่า เป็นเทพเจ้าที่ได้รับความเคารพในหมู่ของชาวฮกเกี้ยน และ ชาวไหหลำ และชาวจีนโพ้นทะเล ที่ประกอบอาชีพเป็นชาวประมงที่เดินเรือ โดยส่วนใหญ่ชาวไทยมักเข้าใจผิดว่าจุ้ยบ้วยเนี้ยกับม่าจ้อโป๋เป็นองค์เดียวกัน จึงนิยมเรียกรวมกันว่า "เจ้าแม่ทับทิม" ซึ่งแท้ที่จริงแล้วตามความเชื่อของจีนเป็นคนละองค์กัน โดยศาลเจ้าของจุ้ยบ้วยเนี้ย เฉพาะในประเทศไทยมีกันหลายแห่ง ที่โด่งดังมีชื่อเสียง ได้แก่ ศาลเจ้าจุ้ยโบเนี้ยว เชิงสะพานซังฮี้, เป็นศาลเจ้าแม่ทับทิมที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย โดยสร้างมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและจุ้ยบ้วยเนี้ย · ดูเพิ่มเติม »

จี้กง

รูปปั้นของพระจี้กง เต้าจี้ฉานซือ (1130–1207) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ จี้กง (อาจารย์จี้) หรือ จี้กงหัวฝอ ("จี้กงพุทธะผู้ยังมีชีวิต") เป็นพระภิกษุชาวจีน นิกายฉาน (เซน) สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีนามเดิมว่า หลี่ ซิวหยวน (李修元 บางแห่งเขียนเป็น 李修缘).

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและจี้กง · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมบาล

นาพุทธในประเทศจีนนับอดีตกาลมา นับถือกันว่า ธรรมบาลยี่สิบสี่พระองค์ คือเหล่าพระโพธิสัตว์กลุ่มหนึ่งตั้งจิตปรารถนาให้ปวงสรรพสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีโดยสะดวก จึงพร้อมกันตั้งปณิธานเป็นผู้คุ้มครองอารักขาพระธรรมแห่งพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพุทธบริษัทผู้ดำเนินตามพระรัตนตรัย พระโพธิสัตว์ผู้เป็นธรรมบาลคุ้มครองพระศาสนาเหล่านี้ มีปรากฏพระนามอยู่ในสุวรรณประภาโสตตมราชาสูตร(กิมกวงเม้งจุ้ยเส่งอ้วงเก็ง) ฝ่ายมหายาน พระสูตรนี้ กล่าวถึงเหล่าพระโพธิสัตว์ ท้าวจตุโลกบาลและเหล่าทวยเทพทั้งหลายซึ่งปรากฏชื่อทั้งหมดมี 24 พระองค์ พร้อมกันตั้งปณิธานต่อเบื้องหน้าพระพักตร์แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอถึงรัตนตรัยเป็นที่พึ่งและประกาศตนเป็นธรรมบาลคุ้มครองพระสัทธรรมและเหล่าพุทธบริษัท ให้บำเพ็ญบุญบารมีโดยยิ่งขึ้น พระสูตรนี้จึงเป็นที่มาของพิธีบูชาเทพธรรมบาลโพธิสัตว์ (พิธีก้งจูเทียน)ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและธรรมบาล · ดูเพิ่มเติม »

ธิดาพญามังกร

ทวรูปของธิดาพญามังกร ธิดาพญามังกร หรือที่ชาวไทยนิยมเรียกทับศัทพ์ภาษาจีนว่า เง็กนึ้ง เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์โดยนิยมประดิษฐานนับถือคู่กันกับสุธนกุมาร.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและธิดาพญามังกร · ดูเพิ่มเติม »

ท้าววิรุฬหก

ท้าววิรุฬหก ท้าววิรุฬหก (Viruḷhaka; विरूढक) หนึ่งในสี่ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นชั้นล่างสุดในฉกามาพจรเป็นเทพเจ้าผู้ปกครองทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่ครุฑมีเทพกลุ่มกุมภัณฑ์เป็นบริวาร มีรูปร่างท้องป่องพุ่งใหญ่ ขาสั้น กำยำล่ำสัน ตามความเชื่อบางคติจะพบได้ว่าท้าววิรุฬหกคือผู้ปกครองครุฑและนก ท้าววิรุฬหกปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิการ่วมกับ 1.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและท้าววิรุฬหก · ดูเพิ่มเติม »

ท้าววิรูปักษ์

กว่างมู่เทียน (ท้าววิรูปักษ์) ศิลปะจีน, ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน วัดโทได ท้าววิรูปักษ์ หนึ่งในสี่จาตุมหาราชผู้ปกครองทิศตะวันตก เป็นเทพเจ้าแห่งพญานาคทั้งปวง ในเทวตำนานยุคต้นทรงดำรงตำแหน่งท้าวสักกะ นอกจากนี้ยังมีกล่าวถึงในขันธปริตร (โบราณเรียกพระปริตรกันงู) บทสวดเจ็ดตำนาน สวดเพื่อให้สวัสดิภาพจากพวกสัตว์มีพิษทั้งหลาย เพราะท้าวมหาราชพระองค์นี้ทรงมีพญานาคเป็นบริวาร.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและท้าววิรูปักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวสักกะ

การดำเนินตามทางสายกลางน่าจะเป็นทางที่จะทำให้ตรัสรู้ได้มากกว่าการทรมานตนเอง สักกะ (สกฺก) หรือ ศักระ (शक्र ศกฺร; ความหมาย: ผู้องอาจ ผู้สามารถ) เป็นชื่อของเทพผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในจักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ ปรากฏนามในภาษาบาลีว่า สกฺโก เทวานํ อินฺโท (शक्रो देवानं इन्द्रः ศกฺโร เทวานํ อินฺทฺรห์) หมายถึง "สักกะผู้เป็นใหญ่เหนือทวยเทพทั้งหลาย" ในคัมภีร์ทางศาสนาพุทธ คำว่า "สักกะ" ถือเป็นวิสามานยนาม ไม่อาจใช้เรียกเทพองค์อื่นได้ ในทางตรงกันข้าม คำว่า อินฺท (ภาษาบาลี) หรือ อินฺทฺร (ภาษาสันสกฤต) ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่" ใช้หมายถึงท้าวสักกะอยู่บ่อยครั้ง เทพสักกะมักเรียกขานว่า "ท้าวสักกเทวราช" หรือย่อว่า "ท้าวสักกะ" ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก ท้าวสักกะเป็นที่รู้จักในนาม "ตี้ซื่อเทียน" (帝釋天) หรือ "ซื่อถีหฺวันอิน" (釋提桓因) ในภาษาจีน และ "ไทชะกุเท็น" (帝釈天) ในภาษาญี่ปุ่น สำหรับในประเทศจีนแล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบว่าท้าวสักกะคือเง็กเซียนฮ่องเต้ (玉皇大帝) หรือจักรพรรดิหยกในลัทธิเต๋า ด้วยถือว่าเทพทั้งสององค์นี้มีวันประสูติเป็นวันเดียวกัน คือ ในวันที่ 9 เดือนที่ 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (โดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตามปฏิทินสุริยคติ) ในฤคเวท อันเป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตในศาสนาฮินดู คำว่า "ศักระ" อันเป็นนามของท้าวสักกะในภาษาสันสกฤตนั้น ใช้แทนตัวเทพอินทระหรือพระอินทร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ในศาสนาพุทธ ตำนานและบุคลิกลักษณะของท้าวสักกะแตกต่างไปจากพระอินทร์ในพระเวทอย่างสิ้นเชิง สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นที่สถิตของท้าวสักกะตั้งอยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งตามคติเรื่องไตรภูมิ ถือว่าภูเขาแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของโลก อันมีพระอาทิตย์และพระจันทร์เวียนโคจรโดยรอบ สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสวรรค์ชั้นที่สูงที่สุดที่เชื่อมต่อกับมนุสสภูมิ (โลกมนุษย์) โดยตรง ท้าวสักกะมีชีวิตที่ยาวนานเช่นเดียวกับเทพทั้งหลาย หากแต่ก็มีวาระที่จะหมดอายุขัยตามแรงบุญของตนเองเช่นกัน ในยามที่ท้าวสักกะจะต้องจุติ (ตาย) เมื่อจิตดับไปแล้ว จะบังเกิดท้าวสักกะองค์ใหม่ (ซึ่งอาจเป็นเทพองค์อื่น) ขึ้นแทนที่ท้าวสักกะองค์เดิมทันที เรื่องราวของท้าวสักกะในทางพระพุทธศาสนาทั้งไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน (ในช่วงที่บันทึกพระไตรปิฎก) ปรากฏอยู่ในชาดกและพระสูตรต่าง ๆ ซึ่งโดยมากจะอยู่ในหมวดสังยุตตนิกาย ชื่อท้าวสักกะปรากฏในพระสูตรหลายตอน และมักมีบทบาทเป็นผู้กราบทูลขอคำปรึกษาจากพระโคดมพุทธเจ้าในปัญหาธรรมต่าง ๆ ถือกันว่าพระองค์เป็นธรรมบาล (ผู้คุ้มครองธรรม) ในพุทธศาสนาร่วมกับเหล่าพรหมทั้งหล.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและท้าวสักกะ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวธตรฐ

ีกุกชอนวาง (ท้าวธตรฐ), ปูซาน, เกาหลีใต้ ท้าวธตรฐ (Dhataraṭṭha; Dhṛtarāṣṭra) เป็นหนึ่งในสี่จาตุมหาราช เทพเจ้าแห่งคนธรรพ์ ผู้ปกครองทิศตะวันออก ฤดูร้อน ธาตุไฟ ทรงพิณเป็นสัญลักษณ.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและท้าวธตรฐ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวเวสวัณ

ตัวเหวินเทียนหวัง (ท้าวเวสวัณ) ศิลปะจีน ตราประจำจังหวัดอุดรธานี แสดงรูปท้าวเวสวัณ ท้าวเวสวัณ ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดโทได ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสวัณ (वैश्रवण Vaiśravaṇa ไวศฺรวณ; वेस्सवण Vessavaṇa เวสฺสวณ) เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ เป็นหนึ่งในจาตุมหาราช ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตรว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาน ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณนั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวท้าวเวสวัณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสวัณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่าท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก "กุเวร" ว่า "กุเปรัน" ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาว มีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสวัณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ "อลกา" อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า "สวนไจตรต" หรือ "มนทร" มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกว่า "โต้เหวน" หรือ "โต้บุ๋น" คนญี่ปุ่นเรียกว่า "พสมอน" ท้าวกุเวรนี้สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสวัณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและท้าวเวสวัณ · ดูเพิ่มเติม »

ขงจื๊อ

งจื๊อ (Confucius; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงบรมครูจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ วันที่ 27 เดือน 8 (八月廿七日) ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย".

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

งักฮุย

งักฮุย (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ เยว่ เฟย์ (สำเนียงจีนกลาง) (24 มีนาคม ค.ศ. 1103 - 27 มกราคม ค.ศ. 1142) เป็นนักรบกู้ชาติคนสำคัญซึ่งมีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งในประวัติศาสตร์ประเทศจีน มีชีวิตอยู่ในยุคราชวงศ์ซ่งใต้ เป็นแม่ทัพผู้ต่อต้านการรุกรานของชนเผ่าจิน ถูกใส่ความโดยศัตรูทางการเมืองจนต้องโทษประหารชีวิต หลังจากนั้นจึงได้รับยกย่องเป็นแบบอย่างแห่งความซื่อสัตย์ในวัฒนธรรมจีน ในปี..

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและงักฮุย · ดูเพิ่มเติม »

ตือโป๊ยก่าย

ตือหงอเหนง หรือสำเนียงกลางว่า จู อู้เหนิง หรืออีกชื่อว่า ตือโป๊ยก่าย หรือสำเนียงกลางว่า จู ปาเจี้ย เป็นหนึ่งในตัวละครเอกเรื่องไซอิ๋ว เป็นลูกศิษย์คนที่สองของพระถังซัมจั๋ง แต่เดิมคือแม่ทัพสวรรค์นาม เทียนเผิงหยวนซ่วย เคยเป็นแม่ทัพอยู่บนสวรรค์มีหน้าที่ดูแลลำน้ำสวรรค์และมีคุมทหารจำนวน 85,000 นาย อยู่มาวันหนึ่งในงานชุมนุมท้อเซียนของเจ้าแม่แห่งตะวันตกซีหวังหมู่ แม่ทัพเทียนเผิงได้เมาและลวนลามเทพธิดาพระจันทร์ฉางเอ๋อร์ ต่อมาเง็กเซียนฮ่องเต้ ได้สั่งนำตัวแม่ทัพเทียนเผิงไปลงโทษโดยการโบยด้วยฆ้อนทองแดงทั้งหมด 2,000 ครั้งและให้นำตัวแม่ทัพเทียนเผิงไปจุติยังโลกมนุษย์โดยให้เกิดในครรภ์สุกร ภายหลังเจ้าแม่กวนอิมได้ให้ตือโป๊ยก่ายเป็นศิษย์และติดตามพระถังไปยังชมพูทวีป เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฏก ทำความดีเพื่อไถ่บาปที่ได้ก่อไว้ ตือโป๊ยก่าย มีอาวุธเป็นคราด 9 ซี่หลอมจากเตาปากว้าของไท่ซ่างเหล่าจวิน มีวิชาแปลงกายได้ 36 อย่าง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและตือโป๊ยก่าย · ดูเพิ่มเติม »

ตี๋ ชิง

ตี๋ ชิง ตามสำเนียงกลาง หรือ เต็ก เช็ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 1008–1057) เป็นแม่ทัพในยุคราชวงศ์ซ้องที่มีชื่อเสียงปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์และพงศาวดารของจีน ตี๋ ชิง เกิดในครอบครัวที่ยากจน ณ บริเวณซึ่งปัจจุบันคือ เมืองเฟิงหยาง มณฑลซานซี ไต่เต้าจนกระทั่งได้มาเป็นแม่ทัพใหญ่ในยุคของเหรินจงฮ่องเต้ เรื่องราวของตี๋ ชิง ปรากฏอยู่ในพงศาวดารจีนชื่อว่า 萬花樓 แต่เป็นการเอาประวัติศาสตร์จริง ๆ มาแต่งเติมว่า เป็นขุนทหารที่จงรักภักดีต่อฮ่องเต้อย่างสูง แม้เป็นแม่ทัพ แต่เมื่อออกรบ จะอยู่แนวหน้าพร้อมทหารเลว จึงเป็นที่เคารพของไพร่พล และเมื่อออกรบจะสวมหน้ากากปิศาจที่ทำจากหนังสัตว์เพื่อปกปิดใบหน้าตน เพราะเคยกระทำผิดจนถูกสักที่ใบหน้า และเพื่อข่มขวัญข้าศึกด้วย ต่อมา ตี๋ ชิง ถูกใส่ความ และได้เปาบุ้นจิ้น ชำระคดีให้ ทั้งยังระบุว่า ตี๋ ชิง เป็นดาวบู๊จุติมาคู่กับเปาบุ้นจิ้นซึ่งเป็นดาวบุ๋น โดยตี๋ ชิง เป็นผู้ที่ไต่เต้าขึ้นมาจนเป็นบัณฑิตและแม่ทัพใหญ่ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักกิจการทหาร (樞密副使) โดยมีผลงานการรบทั้งหมด 25 ครั้ง การรบที่เป็นที่เลื่องลือรู้จักดีที่สุด คือ การบุกจู่โจมที่ช่องเขาคุนหลุนในเวลากลางคืน ในวันแรกตามปฏิทินจันทรคติเมื่อ..

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและตี๋ ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ฉางเอ๋อ

วาดฉางเอ๋อเหาะกลับไปยังดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ เป็นเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ตามความเชื่อปรัมปราของจีน โดยที่นางประทับเฉพาะแต่บนดวงจันทร์เท่านั้น ฉางเอ๋อ เป็นคนรักของโฮวอี้ ซึ่งเป็นนักยิงธนูแห่งสวรรค์ ในยุคพระเจ้าเหยา ดวงอาทิตย์พร้อมกันส่องแสงอย่างสนุกสนานพร้อมกันถึง 10 ดวง ยังความเดือดร้อนแก่ผู้คนบนโลกมนุษย์อย่างมาก เง็กเซียนฮ่องเต้จึงมีบัญชาให้โฮวอี้ไปจัดการ ด้วยความคะนองโฮวอี้จึงใช้ธนูยิงดวงอาทิตย์ตกลงไปถึง 9 ดวงด้วยกัน เป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ จึงมีบัญชาให้เนรเทศโฮวอี้และฉางเอ๋อลงไปอยู่บนโลกมนุษย์ เฉกเช่นมนุษย์ธรรมดาทั่วไป ทั้งคู่จึงตกลงกันที่จะไปใช้ชีวิตอยู่บนโลกเช่นมนุษย์ธรรมดาทั่วไป แต่โฮวอี้ได้ใช้ฝีมือยิงธนูปราบปรามสัตว์ร้ายต่าง ๆ ราบคาบจนผู้คนยกย่องให้เป็นผู้นำ โฮวอี้ลำพองใจจนลืมตัว ฉางเอ๋อสังเกตเห็นการเปลี่ยนไปอันนี้ แต่มิอาจทัดทานได้ วันหนึ่ง โฮวอี้ได้น้ำอมฤตมาจากเจ้าแม่หว่างมู่ หากใครได้ดื่มกินแล้วจะมีชีวิตเป็นอมตะ เป็นหนุ่มสาวตลอดไป แต่โฮวอี้ได้ถูกเฟิงเมิ่ง ชายผู้แอบอิจฉาเขามาตลอดดักยิงตายที่หน้ากระโจมที่พัก ส่วนฉางเอ๋อเศร้าโศกเสียใจต่อการตายของโฮวอี้ และนางก็ได้ดื่มน้ำอมฤตนี้แต่เพียงผู้เดียว และเหาะกลับไปยังดวงจันทร์เหมือนเดิม แต่เพียงผู้เดียวด้วยความเศร้าสร้อย ซึ่งเรื่องราวของนางเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นที่มาของเทศกาลไหว้พระจันทร์ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 (กันยายนตามปฏิทินสากล) แต่อย่างไรก็ดี เรื่องราวเกี่ยวกับนางก็มีแตกต่างกันออกไป เช่น ดั้งเดิมฉางเอ๋อมิใช่เทพธิดา แต่เป็นมนุษย์ธรรมดาบนโลก เป็นต้น ปัจจุบัน ได้มีการตั้งชื่อดาวเทียมของจีนตามชื่อของนาง คือ ฉางเอ๋อ 1 และฉางเอ๋อ 2.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและฉางเอ๋อ · ดูเพิ่มเติม »

ซัวเจ๋ง

ซัวเจ๋ง ตัวละครจากไซอิ๋ว ซัวหงอเจ๋ง หรือสำเนียงกลางว่า ชา อู้จิ้ง หรือ ซัวเจ็ง (沙僧) เป็นตัวละครในเรื่อง ไซอิ๋ว เดิมเป็นเทวดาบนสวรรค์ แต่ทำความผิดจึงถูกสาปให้ทรมานทุกวันโดยให้มีด 7 ด้ามตามแทงหัวใจ อยู่มาวันหนึ่งคิดการใหญ่จึงหนีดำลงไปใต้บาดาล และกลายเป็นพรายน้ำชอบจับผู้คนกินเป็นอาหาร ต่อมาได้พบพระถังซัมจั๋ง ได้รับฟังพระธรรมเทศนาจึงกลับตัวเป็นคนดี ออกติดตามไปอัญเชิญพระไตรปิฎกด้วย โดยมากจะรับหน้าที่แบกสัมภาระ มีอาวุธคือ พลั่วพระธรรม เป็นท่อนยาวด้านหนึ่งคล้ายเสี้ยวพระจันทร์ อีกด้านหนึ่งเป็นเหล็กสี่เหลี่ยมคล้ายจอบ หรือพลั่ว ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจไปอัญเชิญพระไตรปิฏกแล้ว จึงพ้นโทษกลับไปเป็นเทวดาบนสวรรค์ตามเดิม.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและซัวเจ๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ซิ ยิ่นกุ้ย

ซิ ยิ่นกุ้ย (อังกฤษ: Xue Rengui) เป็นบุคคลที่ตัวตนจริง ๆ ในพงศาวดารของจีน เป็นเรื่องราวของแม่ทัพที่มีพละกำลังมาก และไม่เคยแพ้ใคร และเป็นแม่ทัพที่งัก ฮุย วีรบุรุษอีกคนในวัฒนธรรมจีนรุ่นต่อมานับถืออีกด้วย แต่เรื่องราวของซิ ยิ่นกุ้ยมักถูกเล่าจนเป็นตำนานจนคล้ายเป็นเรื่องแต่งมากกว่าเรื่องจริง เรื่องราวของซิ ยิ่นกุ้ยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง แต่ได้มีการแต่งเนื้อเรื่องต่อมาในรุ่นลูกและรุ่นหลาน คือ ซิ ติงซาน (薛丁山, Xue Dingshan) และซิ กัง (薛剛, Xue Gang) ซิ ยิ่นกุ้ย เกิดที่มณฑลซานซี ในปี ค.ศ. 614 ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้สุย หยางตี้ แห่งราชวงศ์สุย โดยไม่ทราบประวัติก่อนหน้านี้ ทราบแต่เพียงว่าซิ ยิ่นกุ้ยและภรรยามี แซ่เล่า (柳) มีชื่อเดิมว่า ซิ หลี่ (Xue Li, 薛禮) และมาจากครอบครัวชาวนาที่ยากจน ก่อนจะสมัครเป็นทหารจนเติบโตในหน้าที่จนถึงเป็นแม่ทัพใหญ่ รับราชการถึง 2 รัชกาล ในรัชกาลฮ่องเต้ถัง ไท่จง และฮ่องเต้ถัง เกาจง เป็นแม่ทัพที่มีบทบาทสำคัญในยุคราชวงศ์ถังกับการทำสงครามกับอาณาจักรทางทิศตะวันออก ในปี ค.ศ. 640 (อาณาจักรโกคูรยอ) และอาณาจักรทางทิศตะวันตก ในปี ค.ศ. 670 (ทิเบตในปัจจุบัน) ก่อนที่จะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 683.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและซิ ยิ่นกุ้ย · ดูเพิ่มเติม »

ซีหวังหมู่

250px ซีหวังหมู่ ("พระพันปีตะวันตก") เป็นเทวีตามความเชื่อจีนซึ่งปรากฏมาแต่โบราณกาล บันทึกแรกสุดเกี่ยวกับนางปรากฏบนกระดูกเสี่ยงทายอายุราวหนึ่งร้อยห้าสิบปีก่อนคริสต์ศักราชซึ่งมีเนื้อหาเป็นการสังเวย "นางพระยาตะวันตก" แต่แม้บันทึกเหล่านี้มีขึ้นก่อนลัทธิเต๋า นางก็มักได้รับการจัดเข้าอยู่ในลัทธิเต๋า ชื่อของนางเองบ่งบอกว่านางเป็นสตรี เป็นราชนิกุล และสัมพันธ์กับภาคตะวันตก นางเริ่มได้รับความนิยมและเริ่มเชื่อถือกันว่าเป็นผู้ประทานอายุ โภคะ และสุขะตั้งแต่ช่วงสองร้อยปีก่อนคริสต์ศักราชในคราวที่ภาคตะวันตกและภาคเหนือของจีนสามารถติดต่อกันได้ดีขึ้นเพราะมีการเปิดเส้นทางสายไหม ชื่ออย่างเป็นทางการของนางตามฝ่ายเต๋าคือ "เหยาฉือจินหมู่" ("สุวรรณเทวีแห่งนทีอันรุ่งเรือง") ส่วนในปัจจุบัน นางเป็นที่รู้จักในชื่อ "หวังหมู่เหนียงเนียง" ตามสำเนียงกลาง หรือ "อ๋องโป๊เนี่ยเนี้ย" ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("พระนางหวังหมู่") หมวดหมู่:เทพเจ้าจีน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและซีหวังหมู่ · ดูเพิ่มเติม »

ปราชญ์หัน เซียง

thumb ปราชญ์หัน เซียง (Philosopher Han Xiang) เป็นเทพองค์หนึ่งในกลุ่มแปดเทพของลัทธิเต๋า เป็นเจ้าแห่งการพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และการดนตรี.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและปราชญ์หัน เซียง · ดูเพิ่มเติม »

ปึงเถ่าม่า

ลเจ้าปึงเถ้าม่า ประเทศไทย ถนนนบางรัก ติดกับวัดยานนาวา ปึงเถ้าม่า หรือ เทพธิดารักษาชุมชน (本頭媽) เป็นเทพธิดาแห่งชุมชุน และหมู่บ้าน และดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน ตามความเชื่อปรัมปราของจีน โดยเป็นเทพนารีแห่งชุมชน โดยทำหน้าที่กับเทพปึงเถ้ากงและเจ้าหลักเมือง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและปึงเถ่าม่า · ดูเพิ่มเติม »

นาจา

นาจา หรือ หน่าจา (จีน: 哪吒, พินอิน: Nézhā หรือ Núozhā) เทพเจ้าตามคติความเชื่อของจีน บางตำราเชื่อว่าเป็นบุตรของเจ้าแม่กวนอิมอีกด้วย นาจาประสูติเมื่อวันที9เดือน9(ตามปฎิทินจีน).

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและนาจา · ดูเพิ่มเติม »

นางฟ้าเหอ

หอ ฉฺยง เหอ ฉฺยง หรือมักเรียก นางฟ้าเหอ (Immortal Woman He) เป็นสมาชิกหญิงเพียงหนึ่งเดียวในกลุ่มแปดเทพ เพราะเพศของหลัน ไฉ่เหอ สมาชิกอีกองค์นั้น เคลือบคลุม.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและนางฟ้าเหอ · ดูเพิ่มเติม »

นฺหวี่วา

250px นฺหวี่วา ตามสำเนียงกลาง หรือ หนึ่งออ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นนางฟ้าในเทพปกรณัมจีน เป็นที่รู้จักว่าสร้างสรรค์มนุษยชาติและซ่อมกำแพงสวรรค์ (ท้องฟ้า) นอกจากนี้ ยังอาจนับเป็นประมุขคนที่สองของประเทศจีนด้ว.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและนฺหวี่วา · ดูเพิ่มเติม »

โพสพ

ระแม่โพสพ thumb โพสพ บ้างเรียก โพสี ภาษาถิ่นพายัพและอีสานว่า โคสก หรือ เสื้อนา เสื้อไร่ ภาษาไทลื้อว่า ย่าขวัญข้าว ภาษากะเหรี่ยงว่า ภี่บือโหย่ หรือ ผีบือโย ภาษามลายูปัตตานีว่า มะฮียัง (Mak Hiang) เป็นเทพเจ้าแห่งข้าวตามคติความเชื่อของไทย โพสพตามความเชื่อแต่เดิมเป็นเทวสตรี แต่ภายหลังได้มีคติปรากฏเป็นบุรุษเพศคู่กัน มีปลาเป็นพาหนะ นอกจากนี้ยังปรากฎใน โคลงทวาทศมาส ออกนามว่า "พระไพศภ" "พระไพศพ" หรือ "พระไพสพ" และปรากฎอยู่ในพระอายการเบ็ดเสร็จ ในกฎหมายตราสามดวง ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้ชำร.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและโพสพ · ดูเพิ่มเติม »

โกยเซ่งอ๋อง

กยเซ่งอ๋อง (廣澤尊王)หรือ กงเต็กชุนอ๋อง (光澤尊王) เรียกนามได้อีกหลายสำเนียงคือ เปาอันจุนหวาง หรือ โป๋อันชุนอ๋อง หรือ ก่วงเจ๋อจุนหวาง (保安尊王)หรือ หาวจื่อกง หรือ ก๊วกเส้งอ๋อง เป็นเทพเจ้าท้องถิ่นจีนภาคใต้ โดยเฉพาะทรงคุ้มครองอำเภอหนานอัน จังหวัดเฉียนโจว มณฑลฮกเกี้ยน เดิมเป็นคนแซ่โก้ย (ก๊วย) และเป็นเทพเจ้าจีนที่รู้จักและนับถือมากในประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและโกยเซ่งอ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

โป๊ยเซียน

ป๊ยเซียน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและโป๊ยเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ไตฮงโจวซือ

ตฮงกง (大峰祖师)เป็นเทพเจ้าจีนองค์หนึ่งโดยเป็นบรรพชิตใน ศาสนาพุทธมหายานโดยมีชีวิตอยู่จริงในสมัยราชวงศ์ซ่งช่วงรัชกาลจักรพรรดิซ่งเหรินจงจนถึงถึงแก่มรณภาพในช่วงประมาณรัชกาลจักรพรรดิซ่งเกาจง.โดยเป็นบรรพชิตผู้เริ่มต้นบุกเบิกสงเคราะห์ชาวบ้านเกี่ยวกับการเก็บศพที่ไร้ญาติ ซ่อมแซมถนนหนทางที่ชำรุด และสร้างสะพานในที่ที่ควรสร้างเป็นหลักใหญ่ โดยเป็นจุดกำเนิดของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งอันเป็นมูลนิธิการกุศลของจีน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและไตฮงโจวซือ · ดูเพิ่มเติม »

ไฉ่สิ่งเอี้ย

ฉ่สิ่งเอี้ย หรือ จ่ายสินเอี้ย (财神; พินอิน: Cái-shén; Cai Shen, God of wealth, God of fortune) เป็นเทพเจ้าของจีนที่ให้คุณทางด้านเงินทอง และโชคลาภ (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) ซึ่งสำหรับชาวจีนแล้วถือเป็นเทพเจ้าที่มีความสำคัญมากที่สุดในการเริ่มเข้าสู่ปีนักษัตรใหม่ (ตรุษจีน) เนื่องจากเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการกราบไหว้เป็นองค์แรกทีเดียว โดยคำว่า "ไฉ่สิ่ง" หรือ "ไฉซิ้ง" มีความหมายว่า "ทรัพย์สิน" หรือ "สิริมงคล" "เอี้ย" หมายถึง "เทพเจ้า" โดยเทพที่ได้รับการนับถือว่าเป็นไฉ่ซิ้งเอี้ย มีด้วยกันหลายองค์ แต่องค์ที่ได้รับการบูชามากที่สุด คือ ฟ่านหลี และปี่ กั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ โดยถือว่าเป็นไฉ่สิ่งเอี้ยฝ่ายบุ๋น ขณะที่จ้าวกงหมิง และกวนอู ถือเป็นไฉ่สิ่งเอี้ยฝ่ายบู๊ การบูชาไฉ่สิ่งเอี้ย สามารถพบได้ในหลายประเทศในทวีปเอเชีย เช่น ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย, ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเก๊า, ฮ่องกง เป็นต้น ไฉ่สิ่งเอี้ยที่มีความเก่าแก่ที่สุดพบที่บนหน้าผาในทิเบต เรียกว่าปางชัมภล เชื่อว่าไฉ่สิ่งเอี้ย จะเสด็จมายังโลกมนุษย์เพียงปีละครั้ง คือ ในวันตรุษจีน ดังนั้น ชาวจีนตั้งแต่โบราณเมื่อเข้าสู่วันตรุษจีน (นับตั้งแต่ 0.00 น.) จะทำการตั้งโต๊ะบูชาไฉ่สิ่งเอี้ย โดยการหันหน้าไปทิศต่าง ๆ ที่เชื่อว่าไฉ่สิ่งเอี้ยจะเสด็จลงมา ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยเวลาที่จะทำการบูชา คือ 23.00–01.00 น. ของวันตรุษจีน โดยทำการบูชาที่ดาดฟ้าบ้านหรือหลังคาบ้าน หรือระเบียงบ้านชั้นสองหรือสาม หรือหน้าบ้านก็ได้ ซึ่งของที่ทำการบูชาใช้ของหวาน เช่น ผลไม้, อาหารเจ, บัวลอย, สาคู หรือของรับประทานต่าง ๆ ที่มีสีสันสดใส แต่ไม่ใ้ช้ของคาวหรือเนื้อสัตว์ พร้อมกับนำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเงินทอง เช่น สมุดบัญชีธนาคาร, เช็ค หรือกระเป๋าเงิน มาตั้งวางไว้ด้วย เป็นต้น และเมื่อธูปที่ใช้บูชาใกล้มอดให้รีบนำเข้าบ้าน และปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เพื่อให้ควันธูปที่เหลือนั้นตลบอบอวลอยู่ภายในบ้าน เชื่อว่าเป็นการอัญเชิญไฉ่สิ่งเอี้ยเข้ามาประทับในบ้าน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและไฉ่สิ่งเอี้ย · ดูเพิ่มเติม »

ไซอิ๋ว

วาดเรื่องไซอิ๋ว จากพระราชวังฤดูร้อน ที ประเทศจีน แสดงภาพตัวละครเอกของเรื่อง (จากซ้าย) ซุนหงอคง, ม้ามังกร, พระถังซัมจั๋ง, ตือโป๊ยก่าย, ซัวเจ๋ง ไซอิ๋ว (ซีโหยวจี้; Journey to the West แปลตรงตัวว่า บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก) เป็นนิยายคลาสสิกของจีน แต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1590 ช่วงราชวงศ์หมิง ประพันธ์โดย อู๋เฉิงเอิน ไซอิ๋วเป็นเรื่องของการเดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดีย) เพื่ออัญเชิญคัมภีร์พระพุทธศาสนาของหลวงจีนชื่อ พระถังซำจั๋ง (อ้างอิงจากผู้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ มีนามว่าพระเสวียนจั้ง 玄奘大師) โดยมีสัตว์ 3 ตัวเป็นเพื่อนร่วมทาง คือ เห้งเจีย (ลิง) ตือโป๊ยก่าย (หมู) และซัวเจ๋ง (ปีศาจปลา) ซึ่งระหว่างการเดินทางต้องพบกับการขัดขวางของเหล่าปิศาจมากมาย ด้วยเนื้อหาที่เป็นการผจญภัย และมีสัตว์เป็นตัวเอก ทำให้ไซอิ๋วได้รับความนิยมจากหมู่เยาวชนมากที่สุดในวรรณกรรมเอกทั้ง 4 เรื่อง เป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับสามก๊ก(三國演義) ความฝันในหอแดง (紅樓夢) และซ้องกั๋ง (水滸傳) การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ดราก้อนบอล เป็นหนึ่งในงานที่ได้รับอิทธิพลจากไซอิ๋ว หลักฐานภาพจิตรกรรมฝาฝนังตุนหวง พระเสวียนจั้ง เดินทางมีสัมภาระจูงเสือเดินทางไปด้ว.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและไซอิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

เม่งจื๊อ

ม่งจื๊อ เม่งจื๊อ หรือในทางตะวันตกรู้จักในชื่อ เมนเชียส (Mencius) ปีเกิดที่ได้รับการยอมรับที่สุดคือประมาณ 372 - 289 ก่อนคริสตกาล หรืออาจราว 385 - 303/302 ก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญาชาวจีน เป็นคนเมืองจูทางตอนใต้ของมณฑลชานตง เม่งจื๊อได้รับถ่ายทอดแนวความคิดของขงจื๊อมาจากหลานชายของขงจื๊อเอง จึงถือว่าเป็นลูกศิษย์ของขงจื๊อคนหนึ่ง เม่งจื๊อชอบเดินทางออกสั่งสอนหลักความคิดของเขาและก่อนที่เขาจะลาออกจากราชการ เขาแต่งหนังสือขึ้นรวม 7 เล่ม เป็นบันทึกคำสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเขา มีการรวมรวบเข้าเป็น 4 เล่มใหญ่ และได้กลายเป็นรากฐานการศึกษาหลักปรัชญาของเม่งจื๊อในเวลาต่อมา แนวคิดของเม่งจื๊อ กล่าวว่า "โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนมีพื้นฐานเป็นคนดีมาแต่กำเนิด แต่สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีต่าง ๆ ทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงไป" เม่งจื๊อเชื่อว่า ความดีทั้งหมดสามารถต่อเติมให้กับมนุษย์ได้ด้วยการศึกษาศิลปะวิทยาการต่าง ๆ การศึกษาสามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ได้เกิดจากประชาชนเป็นผู้กระทำ แต่เกิดจากบรรดาผู้ปกครองที่ไม่มีการศึกษา ฉะนั้นผู้ปกครองควรเป็นนักปรัชญาหรือไม่ก็ควรให้นักปรัชญามาเป็นปกครอง ในกรณีที่นักปกครองไม่มีคุณสมบัติเช่นนั้น ในข้อนี้เขาเน้นว่าชนชั้นบริหารรัฐบาลควรเป็นผู้ที่มีการศึกษา ผู้มีการศึกษาจะสามารถเข้าใจถึงความต้องการของประชาชนได้ดีกว่าQuale, G.Robina: Eastern Civilization (Prentice Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey, 1975) P. 383 แนวคิดในส่วนนี้ของเม่งจื๊อตรงกันข้ามกับศิษย์ของขงจื๊ออีกคน คือ ซุนจื๊อ โดยสิ้นเชิง ซุนจื๊อเห็นว่ามนุษย์มีธรรมชาติที่ชั่วร้ายเป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะขจัดความชั่วร้ายนั้น ต้องมีการควบคุมและอบรมสั่งสอนให้ยึดมั่นคุณธรรมอย่างจริงจัง นอกจากนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับชนชั้นในสังคม เม่งจื๊อสนับสนุนให้มีชนชั้น คือ ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง เม่งจื๊อกล่าวว่า "ทั้ง 2 ชนชั้น มีหน้าที่ที่จะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ถ้าขาดผู้หนึ่งผู้ใดไป สังคมก็จะไม่สมบูรณ์".

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเม่งจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าจื๊อ

ล่าจื๊อ, จาก ''ไมท์แอนด์ลีเจนส์ออฟไชน่า'', ค.ศ. 1922 โดย อี.ที.ซี. เวอร์เนอร์ เล่าจื๊อ (Lao Zi หรือ Lao Tzu) นักปรัชญาชาวจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดท่านหนึ่ง เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในช่วง 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงของสงครามปรัชญา และสงครามการเมืองยุคชุนชิว เล่าจื๊อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนในทางเต๋า นั่นคือ "เต๋าเต็กเก็ง" (Tao Te Ching) (道德經) ซึ่งเป็นผลงานทางลัทธิเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้ เล่าจื๊อเป็นนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญทางเต๋า ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเล่าจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

เห้งเจีย

alt.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเห้งเจีย · ดูเพิ่มเติม »

เอ้อร์หลัง เสิน

ลเอ้อร์หลัง เสิน ในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน เอ้อร์หลัง เสิน หรือ ยี่หนึงจินกุน เป็นเทวดาตามความเชื่อของจีน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเอ้อร์หลัง เสิน · ดูเพิ่มเติม »

เจียง จื่อหยา

วาดเจียง จื่อหยา จาก''สมุดภาพไตรภูมิ'' ภาพวาดเจียง จื่อหยาตกปลาที่ริมฝั่งแม่น้ำเว่ยสุ่ย และได้พบกับ โจวเหวินหวัง เจียงจื่อหยา (ตามสำเนียงกลาง) หรือ เกียงจูแหย (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ เจียงไท่กง เป็นนักยุทธศาสตร์คนสำคัญของโจวเหวินหวังและโจวอู่หวัง ผู้นำในการก่อรัฐประหารเพื่อล้มล้างราชวงศ์ซาง และสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 3,000 กว่าปีที่แล้ว ในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ และนักวิชาการ หลายสำนักต่างลงความเห็นว่า เจียง จื่อหยา คือ 1 ใน 2 นักยุทธศาสตร์การสงครามที่เก่งกาจที่สุดในประวัติศาสตร์จีน โดยอีกผู้หนึ่งได้แก่ เตียวเหลียง (มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็นคนละคนกับเตียวเหลียงในเรื่องสามก๊ก) เสนาบดีแห่งราชวงศ์ฮั่นของหลิวปัง หรือปฐมจักรพรรดิฮั่นเกา ซึ่งบางตำราอ้างว่าเตียวเหลียงศึกษาการสงครามมาจากตำราพิชัยสงครามที่ เจียงจื่อหยา เขียนขึ้น.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเจียง จื่อหยา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าแม่กิมฮวยเนี่ยเนี้ย

กิมฮวยเนี่ยเนี้ย หรือที่คนไทยรู้จักและเรียกกันติดปากว่า เจ้าแม่ดอกไม้ทอง นั้นเอง ชื่อมีเรียกมากมายแล้วแต่ถิ่นนั้นๆ ท่านเป็นเทพเจ้าประทานบุตร ที่มีคนเคารพนับถือกันมาก ที่กวางตุ้งและฮ่องกง และจะมีการจัดงานวันรำลึกท่านวันขึ้น 17 เดือน 4 (ตามปฏิทินจีน) ชาวจีนมักจะมีกลอนบทหนึ่งที่ใช้สรรเสริญเจ้าแม่ว่า “求子求孙有求必应, 愿男愿女无愿不成。” แปลเป็นไทยว่า  “ อยากมีลูกหลาน สมดั่งปราถนา อยากได้ชายหรือหญิง ท่านมิเคยปฏิเสธ” เจ้าแม่กิมฮวยหรือเจ้าแม่ดอกไม้ทอง เป็นเทพเซียนถิ่นกวางตุ้ง จะเรียกนามท่านในถิ่นกวางตุ้งว่า “ก๊ำฟ้าเหนื่อง “หรือ “ก๊ำฟ้าฟูหยั่น” มีศาลเจ้าของท่านหลายแห่งโดยเฉพาะมณฑลกวางตุ้งและเกาะฮ่องกง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเจ้าแม่กิมฮวยเนี่ยเนี้ย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าแม่มั่วโกว

ทพธิดาหมากู หรือ เจ้าแม่มั่วโกว (麻姑.Ma_Gu) เป็นเทวนารีตามความเชื่อปรัมปราของจีน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเจ้าแม่มั่วโกว · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าแม่จูแซเนี้ย

ูแซเนี้ย หรือ เจ้าแม่ประทานบุตร (註生娘娘Songzi Niangniang) เป็นเทวนารีตามความเชื่อปรัมปราของจีนและเป็นนิยมบูชาในลัทธิเต๋.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเจ้าแม่จูแซเนี้ย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าแม่ตี่บ้อเนี้ย

ตี่บ้อเนี่ยเนี้ย (地母娘娘) เป็นเทวนารีแห่งผ่นดิน หรือ พระแม่ธรณีตามความเชื่อปรัมปราของจีนและเป็นนิยมบูชาในลัทธิเต๋.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเจ้าแม่ตี่บ้อเนี้ย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าแม่เก้าเทียงเหี่ยงนึ่ง

กิวเทียนเหี่ยงนึ่ง หรือ จิ่วเทียนเสวียนนี่ (九天玄女, Xuan Nü) เป็นเทวนารีตามความเชื่อปรัมปราของจีนและเป็นนิยมบูชาในลัทธิเต๋.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเจ้าแม่เก้าเทียงเหี่ยงนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เทพเจ้าเตาไฟ

เทพเจ้าเตาไฟ หรือ จ้าวฮุ่นก้อง หรือ ซีเบ่งจ้าวกุน (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) แต่ก่อนมีชายตัดฟืนคนหนึ่งแซ่จาง ชื่อติ้งฟุ (จางตัน) กำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก เขาเป็นคนซื่อตรงและกตัญญูต่อมารดามาก เมื่อมีเงินก็จะให้มารดาเป็นคนเก็บ วันหนึ่งจางติ้งฟุได้ช่วยสาวน้อยคนหนึ่งไว้ได้ ขณะกำลังถูกสองสมุนโจรฉุดไปให้หัวหน้า สองโจรสู้ไม่ได้หนีไปรายงานหัวหน้า หัวหน้าโจรจึงให้พวกสมุน 20-30 คนมาล้อมจับจางติ้งฟุไปลงโทษที่ชุมโจร จางติ้งฟุตัวคนเดียว น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ จึงถูกจับไปเผาทั้งเป็นในเตาไฟยักษ์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ฟุต ตอนนั้นเผอิญเทพตรวจการณ์ผ่านมาพบ จึงนำวิญญาณจางติ้งฟุ ขึ้นสวรรค์รายงานองค์เง็กเซียน เมื่อตรวจบันทึกจากเทวทูตพบว่าจางติ้งฟุเป็นคนซื่อตรงกตัญญูมีคุณธรรมน่าชมเชย เหตุที่ถูกเผาทั้งเป็นนั้นเกิดจากผลกรรมเนื่องจากสมัยเป็นเด็ก ขณะเติมฟืนใส่เตาไม่ระวังมีลูกแมวซึ่งกำลังหลับสนิทติดอยู่ในฟืนด้วย องค์เง็กเซียนเห็นว่า จางติ้งฟุเป็นลูกกตัญญู มีคุณธรรม จึงมีราชโองการแต่งตั้งจางติ้งฟุเป็นเทพเตาไฟ มีหน้าที่คอยรายงานความประพฤติที่ดีและชั่วของชายหญิงทุกครัวเรือน โดยวันที่ 24 เดือน 12 ของทุกปีจะต้องไปรายงานที่สวรรค์ จากนั้นก็มีพระบัญชาให้เทพอัคคีลงไปเผาผลาญชุมโจรจนวอดเป็นจุณ ประชาชนในแถบนั้นจึงได้อยู่อย่างสงบสุขเรื่อยมา หมวดหมู่:เทพเจ้าจีน.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเทพเจ้าเตาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เด็กแดง

right เด็กแดง หรือ หง ไหเอ๋อร์ ตามสำเนียงกลาง หรือ อั้งฮั้ยยี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (Red Boy) เป็นตัวละครจากนวนิยายคลาสสิกของจีนเรื่อง ไซอิ๋ว เป็นบุตรขององค์หญิงพัดเหล็กกับราชาปีศาจกระทิง เนื่องจากบำเพ็ญพรตมากว่าสามร้อยปี จึงมีพละกำลังวิเศษ บิดาจึงให้ไปคอยรักษาภูเขาเพลิงไว้ เด็กแดงจึงมี "เพลิงสมาธิ" ("ซันเม่ย์เจินหั่ว" ตามสำเนียงกลาง หรือ "ซิมม้วยฮวย" ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) ซึ่งทำให้เขาสามารถปล่อยกระแสไฟจากดวงตา รูจมูก และปาก ซึ่งเป็นไฟที่มิอาจดับด้วยน้ำได้ เด็กแดงมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น "ยุวธีรราช" ("เชิ่งยิงต้าหวัง" ตามสำเนียงกลาง หรือ "เซี้ยเองไต้อ๋อง" ตามสำเนียงฮกเกี้ยน; Boy Sage King) ต่อมาสถาปนาเป็นสุธนกุมาร อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระโพธิสัตว์กวนอิม.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเด็กแดง · ดูเพิ่มเติม »

เง็กเซียนฮ่องเต้

ง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นเทพเจ้าสูงสุดของจีน เทวรูปและรูปวาดขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้จะทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับจักรพรรดิจีน คือมีพระมาลา ด้านหน้ามีเส้นร้อยไข่มุกเป็นแถวห้อยลงมาหน้าพระพักตร์ พระหัตถ์ทรงพระป้ายซือฮุดหน้าพระอุระ ด้านหลังมีพนักงานสองคนคอยโบกพัด ด้านหน้ามีองครักษ์สององค์ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น พระองค์ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าสูงสุดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นม.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเง็กเซียนฮ่องเต้ · ดูเพิ่มเติม »

เตียนบ๊อ

ทวรูปพระแม่เทียนมู่ เจ้าแม่เตียนบ๊อ หรือ พระแม่เทียนมู่ (金光聖母, Dian Mu) เป็นเทพธิดาแห่งสายฟ้า ตามความเชื่อปรัมปราของจีน โดยเป็นเทพนารีแห่งเสียงฟ้าร้อง โดยทำหน้าที่กับเทพลุ่ยกง.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเตียนบ๊อ · ดูเพิ่มเติม »

เตียนฮู้หง่วนโส่ย

ตี่ยนฮู้หง่วนโส่ย (田都元帥) เป็นเทพเจ้าจีน โดยส่วนมากนับถือว่าเป็นเทพแห่งการศิลปะการแสดง โดยมีชีวิตอยู่จริงในสมัยราชวงศ์ถังในสมัยจักรพรรดิถังเสฺวียนจงและเป็นเทพเจ้าจีนที่รู้จักและนับถือมากในประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต.

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเตียนฮู้หง่วนโส่ย · ดูเพิ่มเติม »

เปาบุ้นจิ้น

ปา เจิ่ง ในภาษาจีนมาตรฐาน หรือ เปาจิ้น ในภาษาจีนฮกเกี้ยน (11 เมษายน ค.ศ. 999 — 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1062) วรรณกรรมเรียก เปา เหวินเจิ่ง ในภาษาจีนมาตรฐาน หรือ เปาบุ้นจิ้น ในภาษาจีนฮกเกี้ยน (包文拯) เป็นข้าราชการชาวจีนในรัชสมัยจักรพรรดิเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งของจักรวรรดิจีน ตลอดเวลา 25 ปีที่รับราชการนั้น เปา เจิ่ง แสดงออกซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางอย่างเสมอหน้า ในระหว่าง..

ใหม่!!: รายพระนามเทวดาจีนและเปาบุ้นจิ้น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อเทพเจ้าของจีนเทพเจ้าของจีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »