เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จี้กง

ดัชนี จี้กง

รูปปั้นของพระจี้กง เต้าจี้ฉานซือ (1130–1207) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ จี้กง (อาจารย์จี้) หรือ จี้กงหัวฝอ ("จี้กงพุทธะผู้ยังมีชีวิต") เป็นพระภิกษุชาวจีน นิกายฉาน (เซน) สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีนามเดิมว่า หลี่ ซิวหยวน (李修元 บางแห่งเขียนเป็น 李修缘).

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: ชาวจีนภิกษุราชวงศ์ซ่งลัทธิเต๋าหางโจวเซน

  2. บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 1752
  3. ศาสนาพุทธในประเทศจีน

ชาวจีน

รูปวาดในกรุงปักกิ่งแสดงถึงชนเผ่าทั้ง 56 ของจีน ชาวจีน อาจหมายถึง.

ดู จี้กงและชาวจีน

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ดู จี้กงและภิกษุ

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ.

ดู จี้กงและราชวงศ์ซ่ง

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ดู จี้กงและลัทธิเต๋า

หางโจว

หางโจว ทิวทัศน์ในปัจจุบันของทะเลสาบซีหู เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ซึ่งในอดีตคือเมืองหลินอันราชธานีของซ่งใต้ หางโจว (จีน: 杭州; Hangzhou) เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหางโจว ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ 1 ใน 6 ของประเทศจีน ปัจจุบันหางโจว ถือเป็นเมืองที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดแล้ว ดังนั้นหางโจวจึงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน และเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่สวยสดงดงามเมืองหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งมั่งคั่งไปด้วยเภสัชอุตสาหกรรม และสถาบันศิลปะมากมาย เมืองหางโจวถือว่าเมืองดิจิตอลไร้สายได้ครอบคลุมถึงทางหลวงและตรอกเล็กซอยน้อยต่างๆในเมือง.

ดู จี้กงและหางโจว

เซน

ระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) เซน (禅, ぜん; Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น.

ดู จี้กงและเซน

ดูเพิ่มเติม

บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 1752

ศาสนาพุทธในประเทศจีน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ พระจี้กง